นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
เว็ปไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานของท่านมายัง midarticle(at)yahoo.com หรือ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work and immediately places it in the public domain... [copyleft] กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร

The Midnight University

พลังอุดมคติ พลังการปฏิวัติ
Pemuda - ขบวนการคนหนุ่ม
ศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์
นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความเพื่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ภาคใต้

หมายเหตุ
บทความชิ้นนี้เคยตีพิมพ์แล้วบนหน้าสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
บทความฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 718
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๘

(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 4 หน้ากระดาษ A4)


นิธิ เอียวศรีวงศ์
Pemuda - ขบวนการคนหนุ่ม

ผมไม่ทราบว่าข่าวลือเรื่อง pemuda หรือขบวนการวัยรุ่นของฝ่ายก่อความไม่สงบมาจากหน่วยงานไหน แต่ในข่าวที่ปรากฏตามสื่อในวันแรกได้บอกด้วยว่า ทางตำรวจได้วางมาตรการด้านมวลชนสัมพันธ์อย่างไร เพื่อดึงวัยรุ่นมลายูมุสลิมไม่ให้ไปร่วมกับฝ่ายก่อความไม่สงบ ต่อมาข่าวลือเรื่องนี้ก็ขยายไปถึงขั้นบอกจำนวนตัวเลขของวัยรุ่นที่ร่วมในขบวนการว่ามี 3,000 ได้รับการฝึกในลิเบีย มีขีดความสามารถเท่ากับทหารระดับ elite corps หรือกองกำลังชั้นนำของเรา

ดังที่เห็นกันอยู่แล้วนะครับว่า การข่าวของหน่วยงานไทยตามหน้าหนังสือพิมพ์จะสามารถเจาะลึกและคลุมได้กว้างอย่างน่าอัศจรรย์ แต่เละเทะไม่เป็นโล้เป็นพายอะไรในสนาม ทั้งนี้ ล้วนมีเหตุมีผลทั้งนั้นนะครับ ข่าวกรองประเภทมโหฬารพันลึกในสื่อย่อมขยายงบประมาณ, ขยายอำนาจ และขยายความสำคัญของหน่วยงานหรือคนให้ข่าว

ในขณะที่ข่าวกรองที่ดีในสนามจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชน จนกระทั่งเกิดความไว้วางใจกันในระดับหนึ่ง จึงสามารถวางสายลงไปได้ลึกและกว้าง แต่เราก็รู้อยู่แล้วว่าเจ้าหน้าที่รัฐได้รับความไว้วางใจจากประชาชนในพื้นที่แค่ไหน จึงเป็นธรรมดาที่หา "ข่าว" ไม่ได้ และหมดสมรรถนะในการกรองข่าวทุกชนิด เหลืออยู่วิธีเดียวที่สามารถรักษาบทบาทของตัวไว้ได้คือหาข่าวที่กรองมาเรียบร้อยแล้วจากหนังฮอลลีวู้ด

ด้วยเหตุดังนั้น ผู้ใหญ่ในวงการท่านจึงให้สัมภาษณ์ขัดกันเองตลอด เดี๋ยวคนนี้ให้ข่าว เดี๋ยวอีกคนออกมาปฏิเสธ ก็ดูหนังฮอลลีวู้ดกันคนละเรื่องนี่ครับ

แม้ผมไม่เชื่อข่าวฮอลลีวู้ดเรื่อง pemuda หรือวัยรุ่น-"หนุ่ม" ในภาษาไทยเดิม-แต่ผมกลับคิดเตลิดเปิดเปิงไปถึงแนวคิดเกี่ยวกับวัยรุ่นในวัฒนธรรมไทยและอุษาคเนย์ คิดอะไรไม่ค่อยออกหรอกครับ ต้องวิ่งกลับไปหาครูคือกลับไปดูหนังสือ Jave in a Time of Revolution ของ "ครูเบน" แอนเดอร์สัน ซึ่งเป็นงานศึกษาบทบาทของกลุ่ม pemuda ในชวา ช่วงที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามและกำลังปฏิวัติประชาชาติเพื่อสร้างชาติอินโดนีเซียขึ้น

ท่านยอมรับว่าขบวนการ "คนหนุ่ม" ของชวาขยายตัวอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นกำลังสำคัญของการปฏิวัติเนื่องจากการกระทำของญี่ปุ่นระหว่างการยึดครอง แต่ในขณะเดียวกันมีรากฐานทางวัฒนธรรมชวาบางอย่างเกี่ยวกับ "คนหนุ่ม" ที่ช่วยเสริมบทบาทนั้น

ในวงจรชีวิตของชาวชวา (เด็ก-วัยรุ่น-ผู้ใหญ่-คนแก่) นั้น วัยรุ่นเป็นช่วงที่ชีวิตหลุดออกมาอยู่เหนือวัฏจักรของวงจร เพราะชีวิตช่วงนั้น (ของผู้ชาย) หลังจากผ่านพิธีสุหนัดแล้ว จะเข้าไปอยู่ใน pesantren หรือปอเนาะ อันเป็นสถาบันที่ตั้งใจจะแยกตัวออกจากสังคม (เช่น ตั้งอยู่ห่างจากชุมชน) ใช้ชีวิตที่แปลกแยกจากชีวิตปรกติของคนอื่น เช่น อยู่กับผู้ชายล้วน, เชื่อฟังและภักดีต่อครูอย่างสุดจิตสุดใจ, มีชีวิตที่เรียบง่าย, มีเป้าหมายอันสูงส่งในชีวิต (บางคนอาจเป็นเป้าหมายทางไสยศาสตร์ บางคนอาจเป็นเป้าหมายทางศาสนา) มีระเบียบวินัย, ถือประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนตน

จะเห็นได้นะครับว่า ทั้งหมดเหล่านี้อยู่เหนือ "วัย" คือเป็นเงื่อนไขทางสังคมที่เราสร้างขึ้น หรือพูดอีกอย่างหนึ่งเป็น "วัฒนธรรม" ไม่ได้มากับธรรมชาติของสังขาร และด้วยเหตุดังนั้น ในยามที่สังคมประสบปัญหาปั่นป่วนวุ่นวาย ผู้คนขาดความมั่นใจต่ออนาคต จึงเกิดความโหยหาวัฒนธรรมอันนั้น โหยหาทั้งคนที่เคยผ่านชีวิตอันนั้นมา และทั้งสังคมโดยรวม เป็นฐานให้วัยรุ่นคิดว่าตัวมีภาระหน้าที่ต่อสังคมเป็นพิเศษ

จากคำอธิบายของครูเบน ผมมาคิดตามประสาของผมต่อไปว่า อันที่จริงวัยที่ไม่ใช่เด็ก และวัยที่ไม่ใช่ผู้ใหญ่นั้นเป็นวัยพิเศษในหลายวัฒนธรรม และที่น่าประหลาดก็คือการเปลี่ยนผ่านไปสู่วัยผู้ใหญ่ของหลายวัฒนธรรมนั้น มักต้องประกอบด้วยการอยู่ห่างจากสังคม และการเข้าใกล้อุดมคติเสมอ

เช่น อินเดียนแดงและชาวแอฟริกันบางเผ่าพันธุ์ เด็กหนุ่มถูกบังคับให้ออกไปนอกหมู่บ้านเพียงลำพัง หรือถูกนำไปใช้ชีวิตร่วมกันในค่ายนอกชุมชน เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเปลี่ยนผ่านจาก (ผู้ชาย) วัยรุ่นไปสู่ผู้ใหญ่ การบวชเรียน ไม่ว่าจะเป็นสามเณรหรือพระภิกษุ ในสังคมพุทธเถรวาท คือการออกไปอยู่วัด ซึ่ง "ห่าง" จากสังคมทั้งในแง่ระยะทางและในแง่วิถีชีวิต

ในขณะเดียวกัน การแยกตัวของวัยรุ่นออกไปก็เพื่อแสวงหา หรือได้ค้นพบสิ่งที่เป็นอุดมคติของสังคม อาจเป็นแววความสามารถในการล่าสัตว์ หรือเทพประจำเผ่า หรือพลังลี้ลับบางอย่างรวมทั้ง "ปัญญา" ในพุทธศาสนาด้วย

ฉะนั้น ความเป็นหนุ่ม (ซึ่งแม้ภาษาไทยโบราณจะมีความหมายว่า "สาว" ด้วย แต่ที่จริงแล้วเป็นอุดมคติที่ฝากไว้กับผู้ชายอย่างปฏิเสธได้ยาก) จึงมีมนต์ขลังบางอย่างในหลายสังคม เป็นสัญลักษณ์ของพลัง (vitality) ของการเสียสละเพื่อส่วนรวม ของความเป็นระเบียบและความสงบสุขของสังคม (แม้จะกดระเบิดทุกวัน แต่เป็นระเบิดของความเป็นหนุ่ม จึงแฝงความเป็นระเบียบไว้ในตัว ไม่ในปัจจุบันก็อนาคต) และการกลับคืนไปสู่สภาวะอุดมคติ ซึ่งถูกเบี่ยงเบนไปโดยพลังที่ไม่มีความเป็นหนุ่มทั้งหลาย

ฉะนั้น ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองของอุษาคเนย์ ไม่ว่าจะเรียกชื่อขบวนการว่าอะไรก็ตาม จึงมักแฝงความหมายของความเป็นหนุ่มอยู่ในนั้นด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเป็นธะขิ่นในพม่า, "แรงงาน" ในเวียดนาม และอีกหลายชื่อในอินโดนีเซีย ซึ่งบางชื่อใช้คำว่า pemuda อยู่ด้วยเลย

และคนไทยคงไม่ลืมการเคลื่อนไหวของวัยรุ่นชั้นสูง ซึ่งแวดล้อมพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการแย่งชิงอำนาจกับผู้สำเร็จราชการเมื่อต้นรัชกาล คนเหล่านี้เรียกกลุ่มตัวเองว่า "สยามหนุ่ม"

พลังของความเป็นหนุ่มดังที่กล่าวแล้วนั้นเป็นพลังที่นำไปสู่อะไร? ผมอยากสรุปว่าเป็นพลังของความเปลี่ยนแปลง พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อไรที่คุณอัญเชิญความเป็นหนุ่มมาใช้ในการเคลื่อนไหว เมื่อนั้นคุณกำลังเรียกร้องผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลง

ในชีวิตผมเคยผ่านบรรยากาศอย่างนั้น คือเมื่อก่อนจะเกิด 14 ตุลา คนซึ่งยังคิดว่ามีความเป็นหนุ่มอยู่โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัย ต่างคิดว่าตัวเป็นส่วนหนึ่งของหัวหอกแห่งความเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทย ความระแวงที่มีต่อคนซึ่งไม่ประกาศความเป็นหนุ่มมีอยู่สูงมาก จึงมักถูกเรียกว่าพวก "หัวรุนแรง" ซึ่งก็จริง เพราะต่างก็คิดถึงการถอนรากถอนโคนทั้งนั้น (ซึ่งไม่ได้แปลว่าใช้ความรุนแรงทำลายทุกอย่างลงให้หมด แต่หมายถึงการเปลี่ยนระดับรากโคน)

คำพูดที่มักได้ยินเสมอก็คือ "อย่าไว้ใจใครที่อายุเกิน 35 ไปแล้ว"
อันที่จริง คำพูดนี้ลอกมาจากนักเคลื่อนไหวทางสังคมอเมริกันซึ่งพาคนหนุ่มสาวออกมาสู่ท้องถนนเพื่อต่อต้าน The Establishment ใครที่อายุเกิน 35 ในสังคมอเมริกัน ย่อมลงหลักปักฐานกับระบบไปแล้ว ฝากอนาคตทั้งหมดของตัวไว้กับระบบอย่างไม่คิดเลือกอีก ฉะนั้น คนเหล่านี้จึงไม่คิดจะถอนรากถอนโคนระบบอย่างแน่นอนเป็นธรรมดา

ค่อนข้างชัดในกรณีของไทยนะครับว่า ความเป็นหนุ่มซึ่งยังสืบเนื่องมาถึงหลัง 14 ตุลา ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของพลังความเปลี่ยนแปลงสังคมชนิดที่สังคมไทยไม่เคยจินตนาการไกลแค่นั้น

อีกข้อหนึ่งซึ่งค่อนข้างเห็นชัดในเรื่องของความเป็นหนุ่มและความเปลี่ยนแปลงก็คือ เมื่อไรที่เราประกาศความเป็นหนุ่ม เมื่อนั้นเราต้องรู้สึกว่ามีอะไรที่เป็นความขัดแย้งกับความไม่หนุ่มด้วย ที่สำคัญก็คือความไม่หนุ่มนั้นไม่ได้เป็นนามธรรมเฉยๆ แต่หมายถึงกลุ่มคนที่ไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มหนุ่มนั่นเอง

"สยามหนุ่ม" คือประกาศโดยนัยะว่าไม่เอาด้วยกับ "สยามแก่" หรือที่เรียกในโคลงว่า "โคแก่" กลุ่มที่ประกาศว่าความหวังของประชาชนอินโดนีเซียอยู่กับ pemuda หรือความ-คนหนุ่ม บอกอย่างชัดแจ้งเลยว่าคนมีการศึกษากลุ่มอื่น คือพวกที่สมรู้ร่วมคิดกับจักรวรรดินิยมวิลันดาหรือญี่ปุ่น จึงไม่เคยมองเห็นประโยชน์ของอินโดนีเซียเลย

ความเป็นหนุ่มเป็นสัญญาณของความขัดแย้งระหว่างกลุ่มนำเก่ากับกลุ่มนำใหม่ด้วย ผมไม่ได้ติดตามเกี่ยวกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยดีพอ จึงไม่ทราบว่าในระยะท้ายๆ ของพรรคนั้น มีการใช้ความหนุ่มกับไม่หนุ่มในการเผชิญหน้ากันหรือไม่อย่างไร แต่แน่ใจว่าในระยะหนึ่ง พคท. เคยใช้ความเป็นหนุ่มผลักดันความเปลี่ยนแปลงในสังคมอย่างแน่นอน เพื่อแยกตัวเองออกจากระบบเดิมของ "ผู้ใหญ่" ไทย

ฉะนั้น ถ้ามีขบวนการ pemuda ในกลุ่มก่อความไม่สงบในภาคใต้จริง ก็น่าสนใจมากนะครับว่า เส้นแบ่งแยกระหว่าง pemuda กับไม่ใช่ pemuda อยู่ตรงไหน (ไม่ใช่แค่เรื่องอายุนะครับ)

อีกข้อหนึ่งเกี่ยวกับความเป็นหนุ่มซึ่งผมมีความประทับใจ ก็คือ ไม่ว่าความเป็นหนุ่มจะเป็นพลังแห่งความเปลี่ยนแปลงแค่ไหนก็ตาม ท้ายที่สุดแล้ว ความเป็นหนุ่มจะถูกขจัดออกไปเสมอ พูดกันตรงๆ คือไม่เคยชนะถึงที่สุดหรือแพ้ทุกที

แม้ว่าความเป็นหนุ่มหรือขบวนการคนหนุ่มอาจช่วยสร้างรัฐชาติ หรือสร้างสาธารณรัฐประชาชน, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ฯลฯ ขึ้นมาสำเร็จ หรือยุติสงครามที่ไม่เป็นธรรมลงได้ แต่ในที่สุดก็จะสูญเสียอำนาจการนำอุดมคติของตัวไปให้แก่คนกลุ่มอื่น หรือถูกระบบซึ่งปรับตัวได้สำเร็จดูดกลืนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งจนต้องลืมอุดมคติของความเป็นหนุ่มไปหมด

แต่ต้องเข้าใจด้วยนะครับว่า ความเป็นหนุ่มนั้นคือการกลับไปหาอุดมคติของสังคม (ดูข้างต้น) ขบวนการคนหนุ่มอาจสลายไปหรือไร้ความหมาย แต่อุดมคติไม่ตายง่ายๆ อย่างนั้น เหตุดังนั้น ขบวนการคนหนุ่มจึงทิ้งมรดกเอาไว้ในทุกสังคมเสมอมา

เช่นในสังคมไทยเราเอง "ประชาชน" กลายเป็นมาตรฐานสำหรับตัดสินนโยบายสาธารณะ อย่างน้อยก็ต้องแปะไว้ที่ริมฝีปาก แต่แนวคิดเรื่อง "ประชาชน" ในสังคมไทยก่อนปี 2516 เป็นเรื่องที่ต้องชี้แจงกันปากเปียกปากแฉะ ก่อนจะโต้แย้งกันเรื่องอื่นได้

 

 



บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 700 เรื่อง หนากว่า 10000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

คำโปรย คัดลอกมาจากบทความ เพื่อให้มองเห็นเนื้อความที่น่าสนใจบางส่วน
H
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี
R
related topic
291048
release date
คลิกไปหน้าสารบัญ(1)
คลิกไปหน้าสารบัญ
(2)
คลิกไปหน้าสารบัญ(3)
คลิกไปหน้าสารบัญ(4)
เพื่อดูบทความใหม่สุด
เว็ปไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
จะช่วยแก้ปัญหาได้
ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองของอุษาคเนย์ ไม่ว่าจะเรียกชื่อขบวนการว่าอะไรก็ตาม จึงมักแฝงความหมายของความเป็นหนุ่มอยู่ในนั้นด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเป็นธะขิ่นในพม่า, "แรงงาน" ในเวียดนาม และอีกหลายชื่อในอินโดนีเซีย ซึ่งบางชื่อใช้คำว่า pemuda อยู่ด้วยเลย

Pemuda ขบวนการคนหนุ่มนักปฏิวัติ
ศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์

ในวงจรชีวิตของชาวชวา (เด็ก-วัยรุ่น-ผู้ใหญ่-คนแก่) นั้น วัยรุ่นเป็นช่วงที่ชีวิตหลุดออกมาอยู่เหนือวัฏจักรของวงจร เพราะชีวิตช่วงนั้น (ของผู้ชาย) หลังจากผ่านพิธีสุหนัดแล้ว จะเข้าไปอยู่ใน pesantren หรือปอเนาะ อันเป็นสถาบันที่ตั้งใจจะแยกตัวออกจากสังคม (เช่น ตั้งอยู่ห่างจากชุมชน) ใช้ชีวิตที่แปลกแยกจากชีวิตปรกติของคนอื่น เช่น อยู่กับผู้ชายล้วน, เชื่อฟังและภักดีต่อครูอย่างสุดจิตสุดใจ, มีชีวิตที่เรียบง่าย, มีเป้าหมายอันสูงส่งในชีวิต (บางคนอาจเป็นเป้าหมายทางไสยศาสตร์ บางคนอาจเป็นเป้าหมายทางศาสนา) มีระเบียบวินัย, ถือประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนตน

จะเห็นได้นะครับว่า ทั้งหมดเหล่านี้อยู่เหนือ "วัย" คือเป็นเงื่อนไขทางสังคมที่เราสร้างขึ้น หรือพูดอีกอย่างหนึ่งเป็น "วัฒนธรรม" ไม่ได้มากับธรรมชาติของสังขาร และด้วยเหตุดังนั้น ในยามที่สังคมประสบปัญหาปั่นป่วนวุ่นวาย ผู้คนขาดความมั่นใจต่ออนาคต จึงเกิดความโหยหาวัฒนธรรมอันนั้น โหยหาทั้งคนที่เคยผ่านชีวิตอันนั้นมา และทั้งสังคมโดยรวม เป็นฐานให้วัยรุ่นคิดว่าตัวมีภาระหน้าที่ต่อสังคมเป็นพิเศษ

R