นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
เว็ปไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานของท่านมายัง midarticle(at)yahoo.com หรือ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work and immediately places it in the public domain... [copyleft] กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร

The Midnight University

ความรู้จากพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์
ความรุนแรงในคัมภีร์อัลกุรอานและคัมภีร์ไบเบิล??
อ.อับดุชชะกูร์ บินชาฟิอีย์ดินอะ(อับดุลสุโก ดินอะ)
นักศึกษาปริญญาเอก-ศาสนาเปรียบเทียบ
มหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติมาเลเซีย

บทความเพื่อความเข้าใจในศาสนา

หมายเหตุ
บทความนี้กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับมาจากผู้เขียน และขอบคุณเอาไว้ ณ ที่นี้
ชื่อเดิมของบทความ
คัมภีร์อัลกุรอาน : ปัญหาการก่อการร้ายในภาคใต้และโลก...?

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
บทความฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 705
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๘

(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 7.5 หน้ากระดาษ A4)

......................................

ด้วยพระนามของอัลลอฮผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่ง มวลการสรรเสริญแด่พระองค์
ขอความสันติจงมีแด่ท่านศาสดามุฮำมัดและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน

ปัจจุบันมีการพูดและแสดงความคิดเห็นกันมากเกี่ยวกับคัมภีร์อัลกุรอานเป็นต้นเหตุแห่งความรุนแรง นำไปสู่ ปัญหาการก่อการร้ายในภาคใต้และโลก เพราะมีมุสลิมหลายกลุ่มนำคำสอนในคัมภีร์ไปตีความอย่างผิดๆหรือใช้เพื่อบิดเบือน เพื่อเป้าหมายของตนเอง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้รู้ที่จะต้องชี้แจงเพื่อความกระจ่างและขจัดความสับสนของสังคม

คัมภีร์อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่รวบรวมวจนะของอัลลอฮ์ที่ทรงมีต่อมนุษย์โดยผ่านศาสดามุฮัมมัด ทั้งนี้โดยวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทางนำสำหรับมนุษยชาติ คัมภีร์นี้มิใช่คัมภีร์ที่มีไว้เพื่อสักการะบูชา และมิใช่เป็นคัมภีร์ที่มีวัตถุประสงค์ทางไสยศาสตร์ หากแต่เป็นคัมภีร์เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตในทุกๆด้านและมิติทีเกี่ยวข้องกับมนุษย์ สำหรับมุสลิมแล้วบทบัญญัติที่มีอยู่ในคัมภีร์คือบทบัญญัติที่ทุกคนต้องปฏิบัติ ด้วยเหตุนี้ทุกคนต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจเพื่อที่จะนำมาใช้อย่างถูกต้องตามเจตนารมณ์ของอัลกุรอาน

การรวบรวม พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน
การประทานอัลกุรอานของอัลลอฮ์แก่ศาสดามูฮัมมัด ได้ทยอยโองการต่างๆเรื่อยๆ ตามมูลเหตุและสถานการณ์รวมระยะเวลา 23 ปี ( ขณะที่ท่านอยู่ ณ เมืองเมกกะ 13 ปี และเมืองมะดีนา ประเทศซาอุดิอารเบีย 10 ปี) และเมื่อท่านศาสดาได้รับโองการแต่ละครั้ง ท่านจะอ่านให้อัครสาวกผู้ใกล้ชิดฟังเพื่อให้ท่องจำและบันทึกไว้

คัมภีร์อัลกุรอานแบ่งออกเป็นบท ทั้งหมด 114 บท แต่ละบทเรียกว่าซูเราะห์ซึ่งมีความยาวไม่เท่ากัน โดยจำนวนวรรคมากบ้างน้อยบ้างต่างกัน แต่ละวรรคเรียกว่าอายะห์ โดยมีทั้งหมด 6666 วรรค

ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต (วะฟาต) ท่านได้อ่านอัลกุรอานทั้งหมดต่อหน้าเทวเทตญิบรีลในเดือนรอมฎอนสุดท้ายของชีวิตท่าน 2 ครั้ง ซึ่งเดิมแล้วท่านจะอ่านต่อหน้าญิบรีลทุกๆ ปีในเดือนรอมฎอน 1 ครั้ง และการอ่านครั้งสุดท้ายนี้ ท่านได้อ่านอัลกุรอานเรียงตามอายะฮฺเหมือนดังรูปเล่มอัลกุรอานที่เราได้อ่านกันทุกวันนี้ นอกจากนี้ญิบรีลยังได้สอนการอ่านอัลกุรอานทั้ง 7 สำเนียงอีกด้วย

เพราะฉะนั้นอายะฮฺแต่ละอายะฮฺจึงได้รับการตรวจสอบจากท่านนบียฺเองโดยตรง บรรดาเศาะฮาบะฮฺจำนวนหลายร้อยคนที่จดจำอัลกุรอานทั้งเล่ม อย่างไรก็ดีอัลกุรอานยังไม่มีการจัดพิมพ์ให้อยู่ในเล่มเดียวเหมือนปัจจุบัน เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีกระดาษและระบบการพิมพ์ บรรดาเศาะฮาบะฮฺแต่ละท่านก็มีการรวบรวมอัลกุรอานกันเป็นการส่วนตัว ซึ่งแน่นอนว่ามีการจัดลำดับก่อนหลังที่ไม่ตรงกัน

ภายหลังท่านนบีได้จากไปท่านอุมัรได้สนับสนุนให้ท่านอบูบักร (ค.ศ.632-634) คอลีฟะฮฺ(กาหลิบ)แห่งอิสลาม รวบรวมอัลกุรอานให้อยู่ในเล่มเดียวกันอย่างเป็นสากล ให้เป็นไปตามลำดับที่ท่านนบี(ศาสดา)ได้อ่านให้ญิบรีล(ชื่อเทวฑูต) ก่อนจากโลกนี้ไป เนื่องจากว่าได้มีเศาะฮาบะฮฺ (สหายศาสดา) ที่จำอัลกุรอานทั้งเล่มเสียชีวิตไปในสงครามยะมามะฮฺหลายท่าน ท่านอบูบักรได้มอบงานนี้ให้กับซัยดฺ บิน ษาบิต เศาะฮาบะฮฺที่เชี่ยวชาญอัลกุรอาน ทำการรวบรวมอัลกุรอานตามที่ท่านนบีได้อ่านเป็นครั้งสุดท้ายกับญิบรีล อัลกุรอานฉบับนี้ได้รับการเก็บรักษาไว้ที่บ้านของฮับเซาะฮฺ บุตรสาวของท่านอุมัร

ในสมัยของท่านเคาะลีฟะฮฺคนที่สามแห่งอิสลามคือท่านอุษมาน บิน อัฟฟาน รัฐอิสลามได้ขยายตัวออกไปกว้างไกล ท่านจึงต้องการที่จะทำการคัดลอกต้นฉบับของอัลกุรอานส่งไปตามหัวเมืองต่างๆ เพื่อการเผยแผ่อัลกุรอานที่เป็นระบบ มีการจัดเรียงลำดับซูเราะฮฺอย่างถูกต้อง รวมไปถึงการออกเสียงที่สอดคล้องกันทั้งรัฐ ท่านได้มอบงานนี้ให้ซัยดฺ บิน ษาบิต และเศาะฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่งทำการคัดสำเนาจากอัลกุรอานของท่านหญิงฮับเซาะฮฺส่งออกไปทั่วโลกมุสลิม ต้นฉบับชุดนี้บางเล่มยังคงมีอยู่ในโลกมุสลิม

เมื่อเราทราบประวัติความเป็นมาของอัลกุรอานโดยย่อ เราก็พอจะเห็นเป็นเค้าโครงว่าอัลกุรอานได้รับการบันทึกเป็นเล่มอย่างเคร่งครัด แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการเด่นที่รักษาอัลกุรอานไว้ได้อย่างไม่มีใครเถียงนั่นก็คือ "การท่องจำ" ที่ดำเนินผ่านศตวรรษแล้วศตวรรษเล่า บุคคลแรกที่จำอัลกุรอานทั้งเล่มก็คือ ท่านนบีมุฮัมมัด ซึ่งท่านได้รับอัลกุรอานทะยอยลงมา 22.5 ปี และคนรุ่นแรกที่จดจำต่อจากท่านก็คือ บรรดาเศาะฮาบะฮฺจำนวนหลายร้อยคน จากนั้นก็ถ่ายทอดสู่คนรุ่นต่อไป

จนถึงทุกวันนี้ ชาวมุสลิมแทบทุกคนจะจำอัลกุรอานได้บางส่วน และมีบางคนสามารถจดจำได้ตลอดทั้งเล่ม ฉะนั้นเป็นที่ยอมรับกันว่าวิธีการจดจำอัลกุรอานแบบท่องจำ กลายเป็นวิธีการหลักในการรักษาอัลกุรอานเอาไว้ตลอดระยะเวลาของประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา

อัลกุรอานและหนังสือทั่วไป
ถึงแม้คัมภีร์อัลกุอานจะแบ่งเป็นบท เป็นวรรค แต่ แต่ละบทของอัลกุอานจะต่างกับหนังสือทั่วไป ที่แบ่งแยกหัวข้อเรื่องต่างๆไว้ตามลำดับ ในทางกลับกันแต่ละบทของคัมภีร์อัลกุรอานจะมีเรื่องต่างๆปะปนกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักศรัทธา ศีลธรรม กฎหมาย ประวัติศาสตร์ ในบางแห่งเรื่องเดียวกันจะถูกนำมากล่าวทวนในลักษณะต่างๆกัน และเรื่องหนึ่งจะตามอีกเรื่องหนึ่งโดยไม่มีการเกี่ยวเนื่องกันให้เห็นได้ชัดในขณะที่มีการนำเสนอเรื่องหนึ่งอยู่ บางครั้งมีการนำเสนออีกเรื่องหนึ่งในบทหรือตอนเดียวกันโดยไม่มีเครื่องหมายหรือการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

การนำเสนอประวัติศาสตร์ในคัมภีร์อัลกรุอานต่างกับหนังสือประวัติศาสตร์ทั่วไป การกล่าวถึงวิทยาศาสตร์ในอัลกรุอานจะใช้สำนวนต่างจากภาษาทางวิทยาศาสตร์ ในทำนองเดียวกันคัมภีร์อัลกรุอานก็จะมีวิธีของตัวเองในการแก้ปัญหาทางวัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจและสังคม และที่สำคัญคัมภีร์อัลกรุอานมิใช่คัมภีร์ว่าด้วย "ศาสนา" ในความเข้าใจของคนทั่วไป ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้เริ่มศึกษาอัลกุรอานหรืออ่านคำแปลอัลกรุอาน อาจทำให้รู้สึกงงและไม่เข้าใจได้

ศ.ด.ร.อับดุลลอฮ. บิน อับดุลมุห์ซิน อัตตุรกีย์ รมว. ศ า สนสมบัติของซาอุดิอารเบีย ผู้จัดทำโครงการ แปลอัลกุรอานเป็นภาษาต่างๆทั่วโลกร่วมถึงประเทศไทย กล่าวว่า "ข้าพเจ้าทราบดีว่า การแปลความหมายอัลกุรอานนั้น แม้จะใช้ความละเอียดถี่ถ้วนอย่างไรก็ยังไม่สามารถสื่อถึงความหมายอันยิ่งใหญ่ของตัวบทที่มีความมหัศจรรย์ได้ ความหมายต่างๆที่แปลออกมาจึงเป็นเพียงผลของความรู้และความเข้าใจของผู้แปลที่มีต่ออัลกรุอาน แน่นอนย่อมมีความผิดพลาด และขาดตกบกพร่องได้เหมือนงานอื่นๆของมนุษย์บุถุชนทั่วไป"

มูลเหตุหรือภูมิหลังแห่งการประทานโองการต่างๆในคัมภีร์อัลกุรอาน
ผู้อ่านคัมภีร์อัลกุรอาน จะไม่สามารถเข้าใจความหมายเรื่องราวและบทบัญญัติที่แท้จริงและถูกต้อง หากผู้อ่านขาดความรู้เกี่ยวมูลเหตุหรือภูมิหลังของการประทานคัมภีร์ ซึ่งศัพท์ทางวิชาการศาสนา เรียกว่า " อัซบาบุนนุซูล "ทั้งนี้เพราะคัมภีร์อัลกุรอานมิได้ถูกประทานลงมาเป็นเล่มอย่างสมบูรณ์ในที่เดียว เวลาเดียว แต่มันถูกประทานมาแต่ละโองการ ล้วนแล้วแต่มีสาเหตุและความเหมาะสม ซึ่งใช้เวลาทั้งหมด 23 ปี

ประโยชน์ของการรู้ถึงมูลเหตุหรือภูมิหลัง

ก. ทำให้ผู้อ่านรู้ถึงวิทยปัญญา(ภาษาอาหรับเรียกว่าหิกมะฮ์)ที่ก่อให้เกิดหลักการ

ข. ทำให้รู้ถึงสำนวนและความมุ่งหมายของอัลกรุอาน ซึ่งบางครั้งมีมาในลักษณะที่กว้าง ครอบคลุมไปถึง สิ่งที่อยู่ในแวดวงเดียวกันทั้งหมด แต่มีหลักฐานบ่งบอกเพียงเฉพาะเหตุการณ์ นั้นๆ

ค. ทำให้รู้ถึงความหมายอันแท้จริง เช่น อัลลอฮได้ดำรัสว่า"ทั้งทิศตะวันออกและตะวันตกนั้นเป็นสิทธิแห่งอัลลอฮ์ ดังนั้นไม่ว่าท่านทั้งหลายจะผินหน้าไปทางทิศไหนท่านก็จะพบกับพระพักตร์แห่งอัลลอฮ์

ตามความหมายของโองการนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ละหมาดไม่จำเป็นต้องผินหน้าไปทางบัยตุลลอฮ(กิบละฮ์)เมืองเมกกะฮประเทศซาอุดิอารเบีย แต่เมื่อพิจารณาถึงมูลเหตุและภูมิหลังของการประทานโองการนี้จะพบว่า มีชนกลุ่มหนึ่งไม่รู้แน่ชัดว่า ทางไหนหรือทิศไหนคือตำแหน่งบัยตุลลอฮ์ ดังนั้นต่างคน ต่างหันไปยังทิศที่ต่างได้วินิจฉัยด้วยสติปัญญาว่าน่าจะเป็นตำแหน่งบัยตุลลอฮ เพราะช่วงเวลานั้นเป็นเวลากลางคืน ท้องฟ้ามืดมิดและไม่มีเข็มทิศด้วยในสมัยนั้น พอรุ่งเช้าก็เป็นที่แน่ชัดว่า บางคนนั้นวินิฉัยผิด ซึ่งในโอง การนี้อัลลอฮได้แจ้งแก่ศาสดามูฮัมมัดให้ทราบว่า อัลลอฮทรงผ่อนปรน ในการหันไปทางบัยตุลลอฮ เมื่อมีเหตุการณ์ความจำเป็น

นี่เป็นเพียง 1ตัวอย่างจากอัลกุรอานทั้งเล่มว่า การเข้าใจและสามารถอธิบายอัลกุรอานซึ่งเป็นภาษาอาหรับ ไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย ท่านอีหม่ามอัลวาฮิดีย์ ปราชญ์ด้านวิชาการการอธิบายอัลกุรอานกล่าวว่า"ไม่เป็นที่อนุญาตให้อธิบายอัลกุรอาน สำหรับผู้ที่ไม่ทราบมูลเหตุแห่งการประทานอัลกุรอาน"

หนังสือศาสนาและวิชาการหรือบทความเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม
จากเหตุผลที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถเข้าใจอัลกรุอานอย่างครบถ้วนสมบูรณ์และถูกต้อง ในขณะที่อัลกรุอานเป็นบทบัญญัติที่มุสลิมทุกคนจะ ต้องนำมาปฏิบัติ จึงเป็นหน้าที่ของปราชญ์มุสลิมสาขาต่างๆ จะต้องแต่งตำราโดยดึงโองการบางโองการที่มีความเกี่ยวข้องมาเป็นหลักฐาน ดังนั้นเราจะพบตำราทางวิชาการหรือบทความซึ่งเขียนโดยผู้รู้มากมาย จะมีหลักฐานอัลกรุอานประกอบเพื่อความหนักแน่น ส่วนความถูกต้องหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพทางวิชาการของผู้รู้แต่ละท่าน ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้มีมาตั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน

อัลกุรอานสอนความรุนแรงจนนำไปสู่ ปัญหาการก่อการร้ายกระนั้นหรือ ?
มีบางข้อความในกุรอานสอนความรุนแรงจริง เช่น อัลลอฮฺได้ตรัสความว่า "และจงฆ่าพวกเขา ณ ที่ใดก็ตามที่สูเจ้าพบพวกเขา" (กุรอาน 2:191)
และ "แต่ถ้าพวกเขาหันหลังให้ ก็จงจับพวกเขาและฆ่าพวกเขา ณ ที่สูเจ้าจับพวกเขาได้ และ(ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม)จงอย่าเอาพวกเขามาเป็นมิตรและผู้ช่วยเหลือ" (กุรอาน 4:89)

ทำไมคัมภีร์กุรอานถึงได้กล่าวเช่นนั้น?
ความเป็นจริงข้อความข้างต้นยังมีข้อความก่อนหน้านี้และข้อความต่อท้ายอีกหลายประโยค หากนำเพียงข้อความข้างต้นอย่างเดียวจะทำให้เข้าใจว่าอิสลามหรืออัลกุรอานสอนให้ฆ่าได้ทุกคน
ข้อความทั้งหมดมีดังนี้

อัลลอฮฺได้ตรัสความว่า
"และพวกเจ้าจงต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺต่อบรรดาผู้ที่ทำร้ายพวกเจ้า และจงอย่ารุกราน แท้จริง อัลลอฮฺมิทรงรักผู้รุกราน และจงฆ่าพวกเขา ณ ที่ใดก็ตามที่สูเจ้าพบพวกเขา และจงขับไล่พวกเขาออกไปจากที่ที่พวกเขาเคยขับไล่พวกเจ้าออกไป เพราะการกดขี่ข่มเหงนั้นร้ายแรงยิ่งกว่าการฆ่า และจงอย่าสู้รบกับพวกเขาในมัสญิดอัลฮะรอม เว้นเสียแต่ว่าพวกเขาจะทำร้ายพวกเจ้าในที่นั้น ถ้าหากพวกเขาต่อสู้พวกเจ้า ก็จงฆ่าเขาเสีย เช่นนั้นแหละคือการตอบแทนผู้ปฏิเสธศรัทธา แล้วถ้าหากพวกเขายุติ แน่นอน อัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ และจงต่อสู้พวกเขาจนกว่าจะไม่มีการก่อความวุ่นวายและการกดขี่เกิดขึ้น และจนกว่าความยุติธรรมและการเคารพภักดีทั้งหมดจะเป็นสิทธิของอัลลอฮฺเท่านั้น

แต่ถ้าพวกเขายุติ ก็จงอย่าให้การเป็นศัตรูใดๆเกิดขึ้น เว้นแต่พวกที่สร้างความอธรรมเท่านั้น เดือนต้องห้ามก็ด้วยเดือนต้องห้าม และบรรดาสิ่งที่จำเป็นต้องเคารพนั้นก็มีกฎแห่งความเท่าเทียมกัน ดังนั้น ถ้าผู้ใดละเมิดต่อสูเจ้า ก็จงตอบโต้(การป้องกันตัว)การละเมิดของเขาเช่นเดียวกับที่เขาละเมิดพวกเจ้า แต่จงเกรงกลัวอัลลอฮฺและจงรู้เถิดว่าอัลลอฮฺนั้นทรงอยู่กับบรรดาผู้ยำเกรง" (กุรอาน 2:190-194)

ส่วนข้อความที่สองมีข้อความทั้งหมดดังนี้ :

"พวกเขาชอบถ้าหากพวกเจ้าปฏิเสธศรัทธาเหมือนดังพวกเขา ดังนั้น พวกเขาจะได้กลายเป็นผู้ที่เท่าเทียมกัน ดังนั้น จงอย่าได้ยึดเอาใครในหมู่พวกเขาเป็นมิตรจนกว่าพวกเขาจะอพยพในหนทางของอัลลอฮฺ (จากสิ่งที่ต้องห้าม) แต่ถ้าพวกเขาผินหลังให้ก็จงจับพวกเขาไว้และฆ่าพวกเขา ณ ที่ที่สูเจ้าพบพวกเขา และไม่ว่ากรณีใดก็ตามจงอย่าเอาผู้ใดในหมู่พวกเขามาเป็นมิตรและผู้ช่วยเหลือ นอกจากบรรดาผู้ที่เข้าร่วมกับกลุ่มที่พวกเจ้ามีสัญญาสันติภาพระหว่างกัน หรือบรรดาผู้ที่เข้ามาหาเจ้าด้วยหัวใจที่ยับยั้งพวกเขามิให้ต่อสู้เจ้าเช่นเดียวกับที่จะต้องต่อสู้กับพวกเขาเอง และถ้าหากอัลลอฮฺทรงประสงค์แล้ว พระองค์ทรงสามารถที่จะให้พวกเขามีอำนาจเหนือสูเจ้าและพวกเขาจะต่อสู้เจ้า

ดังนั้น ถ้าหากพวกเขาถอนตัวออกไปจากพวกเจ้าและไม่ต่อสู้พวกเจ้าแล้ว และให้หลักประกันสันติภาพแก่พวกเจ้าแล้ว ดังนั้น อัลลอฮฺก็มิทรงเปิดหนทางใดสำหรับเจ้า(ที่จะทำสงครามต่อพวกเขา) พวกเจ้าจะพบพวกอื่นๆที่ต้องการจะได้รับความปลอดภัยจากพวกเจ้าเช่นเดียวกับจากพวกเขาเอง คราใดที่พวกเขาถูกส่งกลับไปสู่การล่อลวงอีก พวกเขาก็จะกลับไปสู่สิ่งนั้นตามเดิม ดังนั้น ถ้าหากพวกเขามิได้ถอนตัวออกไปจากพวกเจ้า และมิได้ให้(หลักประกัน)สันติภาพแก่พวกเจ้าและมิได้ยับยั้งมือของพวกเขาไว้แล้ว ก็จงจับพวกเขาไว้และจงฆ่าพวกเขา ณ ที่ใดก็ตามที่พวกเจ้าพบพวกเขา ในกรณีของพวกเขาเหล่านี้แหละที่เราได้ให้อำนาจที่ชัดเจนต่อพวกเขา" (กุรอาน 4:89-91)

เมื่ออ่านข้อความจากกุรอานทั้งหมดนี้แล้ว ไม่มีข้อความใดอนุญาตให้ฆ่าใครได้อย่างเสรี และปราศจากเหตุผล
เมื่อพิจารณาภูมิหลังโองการดังกล่าวจะพบว่า พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงประทานข้อความ กุรอานดังกล่าวข้างต้นแก่ท่านศาสดามุฮัมมัด ในตอนที่ผู้ปฏิเสธศรัทธาแห่งมักก๊ะฮฺ (ประเทศซาอุดิอารเบียในปัจจุบัน)โจมตีมุสลิมอยู่เป็นประจำ นอกจากนั้นแล้ว คนพวกนี้สร้างความตื่นตระหนกให้แก่ประชาคมมุสลิมในนครมะดีนะฮฺด้วย มุสลิมจึงได้รับอนุญาตให้ตอบโต้ "ผู้รุกราน" เพื่อป้องกันตัวแต่ต้องอยู่ภายใต้จริยธรรมในการทำสงคราม(โปรดดู ญิฮาดหรือก่อการร้าย: อับดุลสุโก ดินอะ, มติชน , 8/04/48,หน้า 6-7)

ข้อความดังกล่าวข้างต้นนั้นมิใช่การอนุญาตให้มี "ลัทธิก่อการร้าย" แต่อย่างใด แต่มันเป็นการเตือน "ผู้รุกรานหรือผู้ก่อการร้าย" ต่างหาก แต่แม้จะเป็นการเตือนก็ตาม ผู้อ่านจะได้เห็นว่าคำสั่งในกุรอานเน้นให้มีการยับยั้งและระมัดระวังในการตอบโต้

ถ้าผู้อ่านศึกษาเนื้อหาคำสอนของอัลกุรอานแล้ว ท่านจะต้องศึกษาเรื่องราวภูมิหลังของคำสอนดังกล่าวด้วย เพราะมันเป็นเรื่องสำคัญมาก มิเช่นนั้น คำสอนของศาสนาจะถูกนำไปตีความอย่างผิดๆหรือใช้เพื่อบิดเบือน

เป็นเรื่องจริงที่มุสลิมบางคนและบางกลุ่มที่มีแนวคิดสุดโต่งได้นำเอาข้อความเหล่านี้ไปใช้เพื่อเป้าหมายของตนเอง เรื่องนี้มิได้เกิดขึ้นกับมุสลิมจากการตีความคำสอนของอัลกุรอานอย่างผิดๆเท่นั้น แต่มันยังเกิดขึ้นกับศาสนิกอื่นๆด้วย แม้แต่ในคัมภีร์ไบเบิล ผู้อ่านจะเห็นว่ามีข้อความมากมายที่ดูเหมือนว่ารุนแรงมาก ถ้าหากไม่อ่านควบคู่ไปกับภูมิหลังทางประวัติศาสตร์

ชาวยิวและชาวคริสเตียนที่มีแนวคิดรุนแรงและสุดโต่ง
ชาวยิวและชาวคริสเตียนที่มีแนวคิดรุนแรงและสุดโต่งหลายกลุ่มได้ใช้ข้อความหลายตอนจากคัมภีร์ไบเบิลไปรับใช้เป้าหมายของตน พวกครูเสดได้ใช้มันต่อต้านมุสลิมและชาวยิว พวกนาซีใช้มันต่อต้านชาวยิว เมื่อสิบปีที่ผ่านมา ชาวคริสเตียนเซิร์บก็ได้ใช้มันต่อต้านมุสลิมบอสเนีย และขณะนี้พวกไซออนิสต์กำลังใช้มันต่อต้านชาวปาเลสไตน์อยู่

ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างบางข้อความจากคัมภีร์ไบเบิลทั้งภาคพันธสัญญาเก่าและพันธสัญญาใหม่มาให้เป็นตัวอย่าง ดังข้อความต่อไปนี้

"เมื่อพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านทั้งหลายจะทรงพาท่านเข้าในแผ่นดิน ซึ่งท่านทั้งหลายกำลังจะเข้ายึดครองและกวาดไล่ประชาชาติหลายชาติให้ออกไปให้พ้นท่าน คือคนฮิตไทต์ คนเกอร์กาชี คนอาโมไรต์ คนคานาอัน คนเปริสซี คนฮีไวต์และคนเยบุสเป็นประชาชาติซึ่งใหญ่โตกว่าและมีกำลังมากกว่าท่าน และเมื่อพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านจะทรงมอบเขาทั้งหลายไว้ในมือของท่านและท่านจะตีเขาให้พ่ายแพ้ไปนั้น พวกท่านต้องทำลายเขาให้สิ้นทีเดียว อย่าได้กระทำพันธสัญญาใดๆกับเขาเลย และอย่ามีความเมตตาต่อเขาด้วย

พวกท่านอย่าสัมพันธ์กับเขาโดยการแต่งงาน อย่ายกบุตรีของท่านให้แก่บุตรชายของเขาหรือรับบุตรหญิงของเขามาให้แก่บุตรชายของท่าน เพราะว่าจะทำให้บุตรชายของพวกท่านหันเหไปจากเรา ไปปฏิบัติพระอื่นๆ พระเจ้าจะทรงพระพิโรธต่อท่านทั้งหลายและจะทรงทำลายท่านโดยเร็ว แต่จงกระทำแก่เขาทั้งหลายอย่างนี้ ท่านทั้งหลายจงทำลายแท่นบูชาของเขาเสีย และหักทำลายเสาศักดิ์สิทธิ์ของเขาเสีย...." (เฉลยธรรมบัญญัติ 7:1-5)

"เมื่อพวกท่านเข้าไปใกล้เมืองซึ่งท่านจะไปสู้รบนั้น จงเสนอหลักสันติภาพแก่เมืองนั้นก่อน ถ้าเขาตอบท่านอย่างสันติและเปิดประตูเมืองให้แก่ท่าน ก็จงให้ประชาชนทั้งปวงที่พบอยู่ในนั้นทำงานโยธาให้แก่ท่าน ปรนนิบัติท่าน ถ้าเมืองนั้นไม่ร่วมสันติกับท่าน แต่กลับออกมารบ ก็ให้ท่านเข้าล้อมตีเมืองนั้นได้ เมื่อพระเยโฮวาห์พระเจ้าประทานเมืองนั้นไว้ในมือท่านแล้ว ท่านจงฆ่าชายทุกคนเสียด้วยคมดาบ แต่ผู้หญิงและเด็ก สัตว์และทุกสิ่งในเมืองนั้นคือของที่ริบไว้ทั้งหมด ท่านจงยึดเอาเป็นของตัว ท่านจงอิ่มใจในของที่ริบมาจากศัตรูของท่านซึ่งพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านประทานแก่ท่าน ท่านทั้งหลายจงกระทำเช่นนี้แก่ทุกหัวเมืองที่อยู่ไกลจากท่าน ซึ่งไม่ใช่หัวเมืองของประชาชาติใกล้ๆนี้ แต่ในหัวเมืองของชนชาติทั้งหลายนี้ ซึ่งพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านประทานแก่ท่านเป็นมรดก ท่านอย่าไว้ชีวิตสิ่งใดๆที่หายใจได้เลย แต่จงทำลายเขาเสียให้สิ้นเชิง" (เฉลยธรรมบัญญัติ 20:10-17)

"เพราะฉะนั้น จงประหารชีวิตด็กผู้ชายเล็กเสียทุกคน และประหารชีวิตผู้หญิงซึ่งได้ร่วมกับผู้ชายเสียทุกคน แต่จงไว้ชีวิตเด็กผู้หญิงที่ยังไม่ได้ร่วมกับผู้ชายไว้สำหรับท่านทั้งหลายเอง" (กันดารวิถี 31:17-18)

แม้แต่ในพันธสัญญาใหม่ เราก็พบข้อความต่อไปนี้ซึ่งอ้างว่าพระเยซูกล่าวแก่สานุศิษย์ของท่าน :
"เราบอกเจ้าทั้งหลายว่า ทุกคนที่มีอยู่แล้วจะเพิ่มเติมให้เขาอีก แต่ผู้ที่ไม่มี แม้ว่าซึ่งมีอยู่นั้น จะต้องเอาไปจากเขา ฝ่ายพวกศัตรูของเราที่ไม่ต้องการเราครอบครองเขานั้น จงพาเขามาที่นี่และฆ่าเสียต่อหน้าเรา" (ลูกา 19:26-27)

การฆ่าผู้หนึ่งผู้ใดโดยปราศจากความผิดเป็นถือเป็นบาปใหญ่
ในอัลกุรอานไม่อนุญาตให้ฆ่าคนบริสุทธิ์โดยไม่คำนึงว่าเขาหรือเธอจะนับถือศาสนาใด ชีวิตของมนุษย์ทุกคนมีค่าตามคำสอนของกุรอาน และทางนำของศาสดามุฮัมมัด

คัมภีร์กุรอานกล่าวถึงเรื่องการห้ามฆ่าไว้ ความว่า " และจงอย่าฆ่าชีวิตที่อัลลอฮฺทรงห้ามไว้ นอกจากด้วยสิทธิอันชอบธรรมเท่านั้น ที่พระองค์ได้ทรงบัญชาแก่สูเจ้านั้นก็เพื่อสูเจ้าจะได้ใช้สติปัญญา" (กุรอาน 6:151) และอัลลอฮฺยังได้ตรัสไว้อีกความว่า "และจงอย่าฆ่าชีวิตที่อัลลอฮฺทรงห้ามไว้ เว้นแต่เพื่อความยุติธรรม และผู้ใดถูกฆ่าอย่างไม่เป็นธรรม ดังนั้น เราได้ให้อำนาจแก่ผู้ปกครอง (ที่จะลงโทษอย่างเท่าเทียมกันหรือให้อภัย) ดังนั้น จงอย่าได้ล่วงเกินขอบเขตในเรื่องการฆ่า เพราะเขา (ผู้ถูกอธรรม) จะได้รับความช่วยเหลือ" (กุรอาน 17:33)

และการฆ่าผู้หนึ่งผู้ใดโดยปราศจากความผิดเป็นถือเป็นบาปใหญ่เหมือนกับการฆ่ามนุษยชาติทั้งหมด และการไว้ชีวิตใครคนหนึ่งถือเป็นความดีเหมือนกับการไว้ชีวิตมนุษย์ทั้งหมด (ดูกุรอาน 5:32)

ความเป็นจริงในคัมภีร์กุรอานมีข้อความมากมายที่กล่าวถึงการส่งเสริมคนทำความดี ละเว้นความชั่วและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างศาสนิกต่างๆ แต่ผู้คนกลับไม่กล่าวถึงและนำมาปฏิบัติ

ในเมื่ออัลกุรอานเป็นคัมภีร์เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตในทุกๆด้านและมิติทีเกี่ยวข้องกับมนุษย์ และบทบัญญัติที่มีอยู่ในคัมภีร์คือกฏหมายที่มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติ ดังนั้นมันจึงเสมือนดาบสองคมที่จะนำสู่สันติภาพของโลก หากนำไปสนับสนุนความถูกต้อง

ในทางกลับกัน มันจะนำไปสู่ "ความรุนแรงและการก่อการร้ายระดับโลก" หากคำสอนของอัลกุอานถูกนำไปตีความอย่างผิดๆหรือใช้เพื่อบิดเบือน อย่างที่มุสลิมบางคนและบางกลุ่มที่มีแนวคิดสุดโต่งได้นำเอาข้อความเหล่านี้ไปใช้เพื่อเป้าหมายของตนเอง

เพราะฉะนั้นเราต้องแยกแยะระหว่างหลักการของศาสนาทีถูกต้องกับมุสลิมผู้กระทำผิด เพราะเป็นคนละส่วนกัน ในขณะเดียวกันเราจะต้องร่วมกันประณามการก่อการร้ายทุกรูปแบบที่กระทำในนามของศาสนาอิสลาม และเป็นกำลังใจต่อผู้กระทำความดี ละเว้นความชั่ว

หมายเหตุผู้เขียนเรียบเรียงจาก
1. สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ.1999 .อัลกุรอานพร้อมคำแปล.มาดีนะฮฺ: ศูนย์กษัตร์ฟะฮัดเพื่อการพิมพ์
2. al- Zuhaili,Wahbah.1991. al-Tafsir al- Munir. Damascus : Dar al-Fikr. 2/176
3. http://www.muslimthai.com
4.บรรจง บินกาซัน : Thaimuslimshop.com

 

 




บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 700 เรื่อง หนากว่า 10000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

คำโปรย คัดลอกมาจากบทความ เพื่อให้มองเห็นเนื้อความที่น่าสนใจบางส่วน
H
ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบบทความฟรีสำหรับนักศึกษา จัดทำโดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อให้ทุกคนที่สนใจศึกษาสามารถ เข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี

คัมภีร์กุรอานกล่าวถึงเรื่องการห้ามฆ่าไว้ ความว่า " และจงอย่าฆ่าชีวิตที่อัลลอฮฺทรงห้ามไว้ นอกจากด้วยสิทธิอันชอบธรรมเท่านั้น ที่พระองค์ได้ทรงบัญชาแก่สูเจ้านั้นก็เพื่อสูเจ้าจะได้ใช้สติปัญญา" (กุรอาน 6:151) และอัลลอฮฺยังได้ตรัสไว้อีกความว่า "และจงอย่าฆ่าชีวิตที่อัลลอฮฺทรงห้ามไว้ เว้นแต่เพื่อความยุติธรรม และผู้ใดถูกฆ่าอย่างไม่เป็นธรรม ดังนั้น เราได้ให้อำนาจแก่ผู้ปกครอง (ที่จะลงโทษอย่างเท่าเทียมกันหรือให้อภัย) ดังนั้น จงอย่าได้ล่วงเกินขอบเขตในเรื่องการฆ่า เพราะเขา (ผู้ถูกอธรรม) จะได้รับความช่วยเหลือ" (กุรอาน 17:33)

และการฆ่าผู้หนึ่งผู้ใดโดยปราศจากความผิดเป็นถือเป็นบาปใหญ่เหมือนกับการฆ่ามนุษยชาติทั้งหมด และการไว้ชีวิตใครคนหนึ่งถือเป็นความดีเหมือนกับการไว้ชีวิตมนุษย์ทั้งหมด (ดูกุรอาน 5:32)

 

R
related topic
181048
release date
คลิกไปหน้าสารบัญ(1)
คลิกไปหน้าสารบัญ
(2)
คลิกไปหน้าสารบัญ(3)
คลิกไปหน้าสารบัญ(4)
เพื่อดูบทความใหม่สุด
เว็ปไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
จะช่วยแก้ปัญหาได้
ท่านจงอิ่มใจในของที่ริบมาจากศัตรูของท่านซึ่งพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านประทานแก่ท่าน ท่านทั้งหลายจงกระทำเช่นนี้แก่ทุกหัวเมืองที่อยู่ไกลจากท่าน ซึ่งไม่ใช่หัวเมืองของประชาชาติใกล้ๆนี้ แต่ในหัวเมืองของชนชาติทั้งหลายนี้ ซึ่งพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านประทานแก่ท่านเป็นมรดก ท่านอย่าไว้ชีวิตสิ่งใดๆที่หายใจได้เลย แต่จงทำลายเขาเสียให้สิ้นเชิง"
(เฉลยธรรมบัญญัติ 20:10-17)