ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
related topic
100848
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 637 หัวเรื่อง
สงครามอาณานิคมอัลจีเรีย
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความบริการฟรี ม.เที่ยงคืน
The Midnight 's free article

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 30,779 สูงสุด 51,792 สำรวจเมื่อเดือน มิ.ย. 48
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ความไม่สงบในอาณานิคมอัลจีเรียของฝรั่งเศส
สงครามมุสลิมอัลจีเรีย ภาพรำไรเมืองใต้ไทย
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้แปลและเรียบเรียงหลังจากที่ได้ชมภาพยนตร์เรื่อง The Battle of Algiers
และต้องสนทนาเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ให้กับผู้เข้าร่วมประชุม
เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทยครั้งที่ ๒
คืนวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๘
ณ โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว เชียงใหม่
ประกอบด้วยบทความ ๒ ชิ้น
๑. ภาพยนตร์เรื่องสงครามในอัลเจียร์ส ๒. สงครามอัลเจียร์สกับการปลดปล่อยเพื่ออิสรภาพ

เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 22 หน้ากระดาษ A4)



๑. ภาพยนตร์เรื่องสงครามในอัลเจียร์ส
Battle of Algiers


สงครามในอัลเจียร์ส
(หมายเหตุ: อัลเจียร์ส เป็นชื่อเมืองท่าซึ่งตั้งอยู่ที่อ่าวอัลเจียร์ส ในประเทศอัลจีเรีย ตอนเหนือของแอฟริกา)

บทความชิ้นนี้เป็นการแนะนำและการให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาพยนตร์ สำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับการต่อสู้จริง ให้ดูที่ Algerian War of Independence ซึ่งนำมาเรียบเรียงต่อจากบทความชิ้นนี้

สงครามในอัลเจียร์ส - The Battle of Algiers (ในภาษาอิตาเลียน, La Battaglia di Algeri) คือภาพยนตร์ขาวดำที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1966 โดย Gillo Pontecorvo (ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาเลียน)นำมาจากรากฐานของสงครามปลดปล่อยเพื่ออิสระของชาวอัลจีเรีย ต่อการเข้ามาครอบครองของฝรั่งเศส(the Algerian War of Independence against the French occupation from 1954 until 1962). ภาพยนต์เรื่องนี้ได้หยิบเอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1954 จนกระทั่งปี ค.ศ.1962 มานำเสนอ

การปฏิวัติเขย่าโลก ! (The Revolt that Stirred the World!)

เนื้อหาตามลำดับ (Contents)
1. Subject matter - เนื้อหาเรื่องราว
2. Style and release details - สไตล์และรายละเอียดการออกเผยแพร่
3. Reputation - ความมีชื่อเสียง
4. Proposed remake - การเสนอให้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นมาใหม่

1. เนื้อหาเรื่องราว (Subject matter)
ภาพยนตร์เรื่องนี้พูดถึงสงครามปลดปล่อยเพื่ออิสระจากการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสของอัลจีเรีย. แนวเรื่องของภาพยนตร์มีพื้นฐานมาจากหนังสือเล่มหนึ่งในชื่อเดียวกัน เขียนโดย Saadi Yacef ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาผู้นำของการปฏิวัติของชาวอัลจีเรีย แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้บอกเล่าเรื่องราวมาจากมุมมองของทั้งสองฝ่าย นั่นคือจากฝ่ายทหารฝรั่งเศส และจากฝ่ายก่อการอัลจีเรียน

การปฏิวัติของชาวอัลจีเรียได้รับการเรียกโดยผู้คนจำนวนมากว่า "เป็นการปฏิวัติที่นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์โลก" และบ่อยครั้ง ได้รับเกียรติในฐานะที่เป็นการเริ่มต้นของการปฏิวัติเพื่อปลดปล่อยจากการเป็นอาณานิคมอันโชกเลือดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งอันนี้หมายรวมถึงการปฏิวัติต่อฝรั่งเศสในสงครามเวียดนามด้วย. แม้ว่าในท้ายที่สุด พลังปฏิวัติจะถูกทำให้พ่ายแพ้โดยทหารฝรั่งเศส แต่ความยาวนาน ความขัดแย้งอันนองเลือด ได้นำไปสู่การถอนตัวของฝรั่งเศสออกจากอัลจีเรีย. การสูญเสียอันนี้ของฝรั่งเศส ถือเป็นครั้งแรกสุดในความน่าอับอายที่ฝรั่งเศสต้องพ่ายแพ้ต่อสงครามอาณานิคมต่างๆต่อมา

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้แสดงถึงเหตุการณ์ต่างๆในเดือนกันยายน 1954 ถึงธันวาคม 1960 ในอัลเจียร์ส ช่วงระหว่างสงครามเกี่ยวกับการปลดปล่อยเพื่ออิสรภาพ จากขบวนการปฏิวัติเล็กๆใน Casbah, โดยผ่านการใช้ระเบิดและการต่อสู้ด้วยวิธีการก่อการร้าย จากทั้งฝ่ายปฏิวัติและฝ่ายที่เฝ้าระวังรักษาอาณานิคม, การเข้ามาของกองทหารพลร่มฝรั่งเศสในเดือนมกราคม และเหตุการณ์ที่ตามมาเกี่ยวกับการสไตร์คและการโจมตีไปทั่ว สู่เหตุการณ์ต่อมาเกี่ยวกับการทำลายล้าง การก่อความไม่สงบ และส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จในการเผชิญหน้ากับการต่อสู้และการจลาจล. ภาพยนตร์เรื่องนี้จบลงตรงที่มีการเดินขบวนต่างๆในปี 1960 ที่แสดงให้เห็นถึงชัยชนะในท้ายที่สุดของการกบฎและการจลาจลต่างๆ รวมไปถึงการปลดปล่อยของอัลจีเรีย ในวันที่ 2 กรกฎาคม 1962

ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงตำรวจฝรั่งเศสที่ทำการทรมาน, ข่มขู่คุกคาม, และการฆาตกรรม เพื่อต่อสู้กับขบวนการกบฎและจลาจล FLN (Front de Lib?ration Nationale) และ MNA (Movement National Algerien). นโยบายต่างๆเหล่านั้นไม่เคยได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการโดยรัฐบาลฝรั่งเศส แม้ว่านายพล Massu ของฝรั่งเศสที่อยู่ในเหตุการณ์จะได้เขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง ซึ่งพยายามตำหนิและประณามภาพยนตร์เรื่องนี้ในปี 1971, แต่เขาก็ยอมรับนโยบายเกี่ยวกับการทรมาน ซึ่งเขาเรียกมันว่า "ความจำเป็นอันโหดร้าย"

2. สไตล์และรายละเอียดการออกเผยแพร่ (Style and release details)
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการถ่ายทำในสไตล์ของ Italian neorealism โดยมีพื้นฐานอยู่บนเหตุการณ์จริง นอกจากนี้ยังมีการนำเอาตัวละครต่างๆมาประกอบ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อจริงไปจากประวัติศาสตร์ (ยกตัวอย่างเช่น Jacques Massu, ผู้บัญชาการทหารที่นำการต่อสู้และเผชิญหน้ากับขบวนการจลาจล ซึ่งถูกแปลงไปเป็นนายพัน Mathieu). ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการต้อนรับจากผู้ชม สำหรับผลกระทบของมันที่น่าตื่นตะลึง รวมถึงหลายๆฉากของชีวิตผู้คนชาวอัลจีเรียในเมือง และการประท้วงขนาดใหญ่ตามสถานที่สาธารณะต่างๆ แม้ว่ามันจะไม่รวมเอาหลักฐานเอกสารที่เป็นจริงและภาพถ่ายเหตุการณ์จากข่าวจริงมาใช้ก็ตาม

ในส่วนของเสียงประกอบภาพยนตร์ ประพันธ์โดย Ennio Marricone, ซึ่งได้เพิ่มเติมความรู้สึกเครียดเข้าไปให้เกิดความรู้สึกเร่งเร้าและตื่นเต้นแก่ผู้ชม. ภาพยนตร์เรื่องนี้มีการนำมาพิมพ์ขึ้นใหม่และออกจำหน่ายในวันที่ 12 ตุลาคม 2004, ฉากส่วนใหญ่ในภาพยนตร์ได้รับการถ่ายทำในอิตาลีและอัลจีเรีย ในปี 1965, ความยาวประมาณ 136 นาที

3. ความมีชื่อเสียง (Reputation)
บรรดานักวิจารณ์ทั้งหลายได้ให้การยกย่องภาพยนตร์เรื่องนี้ สำหรับการเสนอภาพของนักต่อสู้ทั้งสองฝ่ายอย่างค่อนข้างเท่าเทียมกันเกี่ยวกับการต่อสู้ในอัลเจียร์ส. ในปี ค.ศ.1971, Massu ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งที่ท้าทายการเสนอภาพของมันเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ แม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะได้รับการป่าวประกาศโดยบรรดานักวิจารณ์จำนวนมากว่า ได้เสนอภาพความเป็นจริงสูงมาก เกี่ยวกับเหตุและผลที่ตามมาของลัทธิก่อการร้าย และสงครามเผชิญหน้ากับขบวนการล้มล้าง

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ถูกห้ามฉายในประเทศฝรั่งเศสเป็นเวลาหลายปี เริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1966 และฉากบางฉากเกี่ยวกับการทรมาน ได้ถูกตัดออกไปจากการจัดจำหน่ายและเผยแพร่ในฉบับอเมริกันและอังกฤษ. กล่าวกันว่า มันได้ถูกนำมาใช้ในฐานะที่เป็นวิดีโอฝึกฝนสำหรับองค์การก่อการ้าย Weathermen ที่ต่อต้านสงครามอเมริกัน และ Black Panther Party ซึ่งเป็นกลุ่มชาตินิยมผิวดำเพื่อการปฏิวัติ ในช่วงทศวรรษที่ 1960s.

นอกจากนี้ ภาพยนตร์เรื่อง Battle of Algiers ยังถูกเรียกว่าเป็นการโฆษณาชวนเชื่อของคอมมิวนิสต์โดยพวกฝ่ายขวาเป็นจำนวนมาก ดังที่ผู้กำกับภาพยนตร์ Gillo Pontecorvo, เป็นสมาชิกคนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสท์อิตาลี และแสดงออกอย่างเปิดเผยถึงความเห็นอกเห็นใจเกี่ยวกับการต่อสู้ของอัลจีเรีย. ยิ่งกว่านั้น ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้รับการต้อนรับจากเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ได้รางวัลใหญ่สุดในการประกวดมหกรรมภาพยนตร์ที่เมืองเวนิส(Venice File Festival) และได้รับการเสนอชื่อสำหรับรางวัล Academy Awards 3 รางวัล คือ

1. บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Gillo Pontecorvo and Franco Solinas)
2. ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Gillo Pontecorvo), และ
3. ภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม (Best Foreign Language Film)

ในปี ค.ศ.2003 ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เป็นข่าวขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากที่ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการพิเศษสหรัฐฯ (the US Directorate for Special Operations and Low-Intensity Conflict) ได้เสนอให้เป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่งซึ่งหายาก ที่สัมพันธ์กับการที่อเมริกันบุกเข้าไปยึดครองในอิรัค เพื่อที่จะแสดงให้ผู้ชมเห็นว่า "ทำอย่างไร จึงจะเอาชนะสงครามต่อต้านการก่อการร้าย และทำอย่างไรจึงพ่ายแพ้สงครามทางความคิดต่างๆ"

ตามความเห็นของเจ้าหน้าที่กระทรงกลาโหมสหรัฐฯ ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการกลั่นกรอง กล่าวว่า

"การนำเสนอภาพยนตร์เรื่องนี้จะทำให้เข้าใจประวัติศาสตร์อย่างชัดเจน ต่อการชี้นำเกี่ยวกับปฏิบัติการของฝรั่งเศสในอัลจีเรีย และได้รับความตั้งใจเพื่อกระตุ้นให้มีการพูดคุยกันทางด้านข้อมูล เกี่ยวกับการเผชิญหน้าอันท้าทายโดยฝรั่งเศส" ส่วนรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับการสนทนา ไม่ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณชน

สำหรับใบปลิวโฆษณาภาพยนตร์เรื่องนี้มีข้อความว่า:
ทำอย่างไรจึงจะชนะสงครามการก่อการร้าย และแพ้สงครามทางความคิดต่างๆ. เด็กๆจ่อยิงทหารในระยะเผาขน. ผู้หญิงวางระเบิดในร้านกาแฟ. ในไม่ช้าประชาชนชาวอาหรับทั้งหมดก็เกิดความชื่นชมอย่างบ้าคลั่ง. ฟังดูแล้วรู้สึกคุ้นเคยไหม ? ฝรั่งเศสมีแผนการณ์อันหนึ่ง พวกเขาประสบความสำเร็จในเชิงยุทธวิธี แต่ล้มเหลวในเชิงยุทธศาสตร์. เพื่อเข้าใจว่าทำไม, ให้มาดูภาพยนตร์ที่หายากเรื่องนี้กันด้วยตัวเอง

ฉากของภาพยนตร์เรื่องนี้ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้ทำให้เกิดการข้อโต้เถียงใหม่ๆขึ้นเกี่ยวกับการที่อเมริกันบุกเข้าไปยึดครองอิรัค และสงครามก่อวินาศกรรม, อย่างที่เจ้าหน้าที่ทางการอเมริกันได้ถูกกล่าวหาซ้ำซากเกี่ยวกับการสนับสนุนการทรมาน และที่ถูกเรียกว่า "การสอบสวนแบบก้าวร้าว"(aggressive interrogation)กับบรรดานักโทษทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับนักโทษเหล่านั้นที่อยู่ในคุกอาบู การ์อิบ และในคุกที่อ่าวกวนตานาโม

4. การเสนอให้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นมาใหม่ (Proposed remake)
การทำขึ้นมาใหม่ในฉบับบอเมริกันเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ ปัจจุบันได้รับการดำเนินการโดยผู้ผลิต Basil Wanyk. ภาพยนตร์ใหม่เรื่องนี้จะรวมเอาตัวละครอเมริกันเข้าไปด้วย โดยสมมุติให้เป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ หรือคนที่ทำงานให้กับองค์การสหประชาชาติ

ความคิดเกี่ยวกับการสร้างขึ้นมาใหม่ ไม่ค่อยได้รับการยอมรับและชื่นชมเท่าใดนัก โดยบรรดาคนที่ชื่นชมกับภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว ทั้งนี้เพราะพวกเขาเกรงว่ามันจะถูกทำให้เป็นฮอล์ลีวูดมากเกินไป และด้วยเหตุนี้จะทำให้มันสูญเสียแง่มุมและเหลี่ยมคมของการปฏิวัติไปนั่นเอง. หลักฐานสำหรับข้อยืนยันดังกล่าวคือ ข้อพิจารณาเกี่ยวกับบรรดานักแสดงทั้งหลาย ที่ค่อนข้างมีบทบาทแบบอเมริกัน ด้วยชื่อดาราอย่างเช่น Tom Cruise, Brad Pitt, Leonardo di Caprio, และ Sean Penn ดังที่ได้มีการร่ำลือกัน

ข้อมูลจาก http://en.wikipedia.org/wiki/The_Battle_of_Algiers
From Wikipedia, the free encyclopedia.
(Redirected from The Battle of Algiers)


๒. สงครามอัลเจียร์สกับการปลดปล่อยเพื่ออิสรภาพ
Algerian War of Independence

สงครามอัลจีเรียเกี่ยวกับการปลดปล่อยเพื่ออิสรภาพ (1954-62) เป็นช่วงเวลาหนึ่งของการก่อกบฎและการโจมตีโดยกลุ่มสมาชิกกองโจรต่างๆ, การต่อสู้ของขบวนการใต้ดิน, การก่อการร้ายต่อพลเรือนของทั้งสองฝ่าย, และการจลาจลระหว่างทหารฝรั่งเศสกับผู้คนในอาณานิคม, หรือ the Colons ดังที่พวกมันได้รับการเรียกขานในอัลจีเรีย และในขบวนการ FLN (Front de Lib?ration Nationale - แนวหน้าเพื่อเสรีภาพแห่งชาติ) รวมถึงชาวอัลจีเรียที่ให้การสนับสนุนการปลดปล่อยต่างๆ

ถึงแม้ว่ารัฐบาลฝรั่งเศสในช่วงเวลานั้น จะพิจาณาถึงความรุนแรงของชาวอัลจีเรียทั้งหมด รวมทั้งความรุนแรงที่มีต่อทหารฝรั่งเศส ในฐานะที่เป็นเพียงอาชญากรรมหรือการก่อการร้าย แต่คนฝรั่งเศสบางส่วน อย่างเช่นผู้ที่เคยต่อต้านกองโจรนาซีมาก่อนและนักกฎหมาย Jacques Verges ได้เปรียบเทียบเหตุการณ์นี้กับการต่อต้านของฝรั่งเศสต่อการยึดครองของนาซีเยอรมัน ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการต่อต้านของชาวอัลจีเรียกับการเข้ายึดครองของฝรั่งเศส

การต่อสู้ดังกล่าวได้รับการก่อขึ้นโดยขบวนการปฏิวัติ FLN (แนวหน้าเพื่อเสรีภาพแห่งชาติ)ในปี ค.ศ.1954 ก่อนที่ฝรั่งเศสจะถูกบีบบังคับให้ยกเลิกการควบคุมเหนือตูนีเซียและโมร็อคโค

คู่ขนานหลักของกลุ่ม FLN ซึ่งมีเป้าหมายอย่างเดียวกันในการปลดปล่อยชาวอัลจีเรียให้มีอิสระภาพคือ "ขบวนการเคลื่อนไหวแห่งชาติอัลจีเรีย"หรือมีชื่อย่อว่า MNA (Movement National Algerien) ซึ่งผู้สนับสนุนหลักของพวกเขาคือ บรรดาคนงานอัลจีเรียในฝรั่งเศส. ทั้ง FLN และ MNA ต่างต่อสู้กับฝรั่งเศสคนละด้าน ส่วนหนึ่งต่อสู้ในฝรั่งเศส อีกส่วนต่อสู้ในอัลจีเรีย สำหรับสงครามการก่อการร้ายที่มีมายาวนานเกือบทั้งหมดของความขัดแย้งนี้

เนื้อหาตามลำดับ (Contents)

1 Beginning of Hostilities, 2 FLN, 3 Philippeville, 4 Conduct of the War,
5 Committee of Public Safety, 6 De Gaulle, 7 The Evian Accords,
8 The pieds-noirs' and harkis' exodus - 8.1 Pieds-noirs -8.2 Harkis
9 War dead, 10 Lasting effects in Algerian politics

1. การเริ่มต้นของการเป็นปฏิปักษ์ (Beginning of Hostilities)
ในชั่วโมงเช้ามากๆของวันที่ 1 พฤศจิกายน 1954, ขบวนการ FLN (ที่ต่อสู้แบบกองโจร) ได้เริ่มโจมตีในหลายๆส่วนของที่ตั้งทางทหารของฝรั่งเศส ในอัลจีเรีย, รวมทั้งสถานีตำรวจ, คลังสินค้า, สถานีสื่อสารต่างๆ, และศูนย์บริการสาธารณชนหลายแห่ง

จากกรุงไคโร, สถานีวิทยุกระจายเสียงของ FLN ได้ออกแถลงการณ์ฉบับหนึ่ง เรียกร้องให้บรรดาชาวมุสลิมทั้งหลายในอัลจีเรีย ร่วมกันในการต่อสู้แห่งชาติเพื่อการฟื้นฟูรัฐอัลจีเรียขึ้นมาใหม่, "เพื่อฟื้นฟูอำนาจอธิปไตย, เพื่ออำนาจประชาธิปไตย, และอำนาจสังคม, ภายในกรอบโครงร่างของหลักการของอิสลาม"

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีแนวคิดสังคมนิยม Fran?ois Mitterrand, ได้ขานรับเรื่องนี้อย่างเฉียบขาดว่า "การเจรจาต่อรองที่เป็นไปได้เพียงอย่างเดียวคือสงคราม". มันคือปฏิกริยาของนายกรัฐมนตรี Pierre Mend?s-France, ผู้ซึ่งก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่เดือน เพิ่งจะเสร็จสิ้นจากภารกิจการชำระสะสางจักรวรรดิ์ฝรั่งเศสในอินโดจีนมมาหมาดๆ อันทำให้ต้องมีการปรับแต่งนโยบายของฝรั่งเศสสำหรับอีก 5 ปีต่อไปข้างหน้า

วันที่ 12 พฤศจิกายนปีเดียวกัน เขาได้ประกาศในการประชุมแห่งชาติ ว่า

"ไม่มีใครที่จะประนีประนอมได้ เมื่อมันมาถึงเวลาที่จะต้องปกป้องความสงบสันติภายในชาติ เพื่อความเป็นเอกภาพและบูรณาการของสาธารณะรัฐ. ภาคอัลจีเรียเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐฝรั่งเศส. ดินเแดนแห่งนี้เป็นของฝรั่งเศสมาเป็นเวลาช้านาน และพวกเขาเป็นของฝรั่งเศสอย่างไม่อาบลบล้างได้… ระหว่างพวกเขากับความเป็นมหานครฝรั่งเศส พวกเขาไม่อาจคิดที่จะถอนตัวหรือแบ่งแยกดินแดนออกไปได้"

2. ขบวนการแนวหน้าเพื่อเสรีภาพแห่งชาติ (FLN)
ขบวนการปฏิวัติ FLN ได้ตั้งคำถามกับกลุ่มรักชาติต่างๆ ด้วยคำถามเกี่ยวกับการนำเอาอาวุธมาใช้เพื่อการปฏิวัติ ในฐานะที่เป็นวิธีการหลักของการเคลื่อนไหว. ช่วงระหว่างปีแรกของสงคราม กลุ่ม UDMA ของ Abbas, (ulama - ปราชญ์ชาวมุสลิม) และกลุ่ม PCA ได้ธำรงรักษามิตรภาพความเป็นกลางกับขบวนการ FLN. บรรดาพวกคอมมิวนิสท์ ผู้ซึ่งไม่ได้มีส่วนในการเคลื่อนไหวใดๆเกี่ยวกับการ่วมมือในการปฏิวัติมาแต่ต้น ภายหลังต่อมาได้พยายามที่จะแทรกซึมเข้าไปในขบวนการ FLN, แต่บรรดาผู้นำของ FLN ปฏิเสธต่อที่สาธารณะเกี่ยวกับการสนับสนุนนของพรรคดังกล่าว

ในเดือนเมษายน 1956, Abbas ได้บินไปยังกรุงไคโร, ที่ซึ่งเขาได้เชื่อมต่อกับ FLN อย่างเป็นทางการ. การกระทำครั้งนี้ นำมาซึ่งการผนวกเข้ากับผู้คนจำนวนมากผู้ซึ่งเคยให้การสนับสนุนต่อ UDMA มาในอดีต. กลุ่ม AUMA ได้ใช้อำนาจอย่างเต็มที่ในชื่อเสียงของกลุ่ม เพื่อสนับสนุนและอยู่เบื้องหลังขบวนการ FLN. ส่วนBendjelloul และพวกที่เป็นกลางที่ให้การสนับสนุนการบูรณาการ ก็ได้ละทิ้งความพยายามของพวกตนไปในการประนีประนอมระหว่างฝรั่งเศสกับฝ่ายกบฎ

ภายหลังจากการล่มสลายของ MTLD, Messali Hadj ได้ก่อตั้งขบวนการฝ่ายซ้ายของ MNA ขึ้น ซึ่งให้การสนับสนุนนโยบายอันหนึ่งเกี่ยวกับการปฏิวัติด้วยวิธีการอันรุนแรง และการปลดปล่อยเพื่อความเป็นอิสระทั้งหมดมีความคล้ายคลึงกับขบวนการ FLN

กลุ่ม ALN ปีกทหารของขบวนการ FLN ต่อมาภายหลังได้ลบล้างปฏิบัติการกองโจรของ MNA ออกไป และความเคลื่อนไหวของ Messali Hadj ก็ได้สูญเสียอิทธิพลของตนที่มีอยู่ในอัลจีเรียไม่มากนักไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่ม MNA ได้รับการสนับสนุนจากบรรดาคนงงานส่วนใหญ่ชาวอัลจีเรียในฝรั่งเศส โดยผ่านสหภาพแรงงานอัลจีเรีย(the Union of Algerian Workers) [Union Syndicale des Travailleurs Alg?riens]

ขบวนการ FLN ได้สร้างองค์กรที่เข้มแข็งขึ้นมาองค์กรหนึ่งในฝรั่งเศสเพื่อต่อต้านกลุ่ม MNA. "สงครามร้านกาแฟ"ที่ไร้ความปรานี, เป็นผลให้มีคนตายเกือบ 5,000 คน, เป็นค่าตอบแทนในฝรั่งเศสระหว่างกลุ่มกบฎ 2 กลุ่ม ตลอดเวลาหลายปีของสงครามการปลดปล่อยเพื่ออิสรภาพ

แนวรบทางด้านการเมือง ขบวนการ FLN ทำงานเพื่อเชิญชวน - และเพื่อบีบบังคับ - มวลชนชาวอัลจีเรียให้การสนับสนุนเป้าหมายต่างๆของขบวนการปลดปล่อยของตนเอง. สหภาพแรงงานต่างๆได้รับการปรับตัวเข้ากับ FLN, สมาคมวิชาชีพ, องค์การนักศึกษา และองค์กรกลุ่มสตรีต่างๆได้ถูกจัดตั้งอย่างเป็นระบบ เพื่อฟื้นฟูภาคส่วนต่างๆอันหลากหลายของประชาชนขึ้นมา

Frantz Fanon, จิตแพทย์คนหนึ่งจาก Martinique ผู้ซึ่งกลายเป็นนักทฤษฎีชั้นนำทางการเมืองของขบวนการปฏิวัติ FLN, ได้นำเสนอหลักการและเหตุผลทางปัญญาอย่างแคล่วคล่อง เพื่อใช้ประโยชน์เกี่ยวกับความรุนแรงในการบรรลุถึงเสรีภาพแห่งชาติ. จากไคโร, Ahmed Ben Bella สั่งให้มีการกวาดล้างพวกที่มีศักยภาพในการเจรจา รวมถึงตัวแทนการปลดปล่อยเหล่านั้นของชุมชนมุสลิมที่ยอมรับฝรั่งเศส โดยผ่านการไกล่เกลี่ยประนีประนอมหรือการปฏิรูปภายในระบบซึ่งอาจทำให้บรรลุผลได้

ขณะที่การต่อสู้ของ FLN แผ่ขยายไปยังภาคชนบท ชาวนาชาวยุโรปจำนวนมากในประเทศ(เรียกว่า pieds-noirs) ได้ขายทรัพย์สินสิ่งของพวกเขาถือครองอยู่ และแสวงหาหนทางที่ลี้ภัยไปจากอัลเจียร์ส, คนพวกนี้ร่ำร้องให้ใช้มาตรการรุนแรงเป็นการตอบโต้, รวมถึงให้มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน(state of emergency), การลงโทษประหารชีวิต(capital punishment)สำหรับอาชญากรรมทางการเมือง, และการประณามพวกแบ่งแยกดินแดนทั้งหมดที่ขยายตัวมากขึ้น

พวกนิยมทำโทษด้วยวิธีการศาลเตี้ยในชุมชนผู้ตั้งถิ่นฐาน ซึ่งไม่มีอำนาจหน้าที่ในกิจกรรมใดๆ ถูกชักนำให้ร่วมมือแบบสมยอมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจฝรั่งเศสซึ่งมีอำนาจในมือ ให้ทำการไล่ล่าที่เรียกว่า ratonnades (ตามตัวอักษรคือ rat-hunts [ล่าหนู]; ซึ่งเป็นคำพ้องกับ Arab-killings [การฆ่าพวกอาหรับ]) เพื่อต่อสู้กับพวกผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกขบวนการ FLN ในหมู่ชุมชนมุสลิม

โดยในปี ค.ศ. 1955 กลุ่มปฏิบัติการทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพต่างๆภายในชุมชนผู้ตั้งถิ่นฐาน ได้ประสบความสำเร็จในการข่มขู่คุกคามบรรดาผู้ปกครองที่มีอำนาจสูงสุดทั้งหลาย ที่ถูกส่งมาจากปารีสเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง. ความสำเร็จครั้งสำคัญอันหนึ่งคือการเปลี่ยนแปลงของ Jacques Soustelle, ซึ่งมาที่อัลจีเรียในฐานะผู้ปกครองที่มีอำนาจสูงสุดในเดือนมกราคม 1955 และตั้งใจจะฟื้นฟูสันติภาพให้เกิดขึ้น

Soustelle ครั้งหนึ่งเคยเป็นพวกฝ่ายซ้าย และในช่วงปี ค.ศ. 1955 เป็นชาวกอลคนหนึ่งที่มีอารมณ์เร่าร้อน มีความคิดรุนแรง ริเริ่มโครงการปฏิรูปด้วยความรู้สึกทะเยอทะยาน(the Soustelle Plan) ที่มีเป้าหมายในการปรับปรุงเงื่อนไขทางเศรษฐกิจในท่ามกลางประชากรมุสลิม

3. Philippeville เมืองท่าทางตะวันออกเฉียงเหนือของอัลจีเรีย
บริเวณลุ่มน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งในสงครามปลดปล่อยเพื่ออิสรภาพ เป็นสถานที่ฆาตกรรมหมู่พลเรือนโดยขบวนการปฏิวัติ FLN ซึ่งใกล้กับเมือง Philippeville ในเดือนสิงหาคม 1955. ก่อนการปฏิบัติการนี้ นโยบายของ FLN ต้องการที่จะโจมตีเพียงเป้าหมายทางทหารและเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลเท่านั้น. แต่อย่างไรก็ตาม ผู้สั่งการในพื้นที่เขต Constantine ตัดสินใจโดยต้องการที่จะยกระดับปฏิบัติการถึงขั้นสูงสุด

การฆ่าโดยขบวนการปฏิวัติ FLN และบรรดาผู้สนับสนุนขบวนการดังกล่าว ทำให้ผู้คนล้มตายถึง 123 คน รวมไปถึงผู้หญิงแก่และเด็กด้วย ซึ่งได้ช็อคความรู้สึกของ Soustelle เป็นอย่างยิ่ง เขาเรียกหามาตรการปราบปรามกบฎต่างๆโดยใช้ความรุนแรงมากขึ้น. รัฐบาลอ้างว่าได้ฆ่าพวกกบฎกองโจรไป 1,273 คนในการแก้เผ็ดนี้; ตามคำกล่าวของขบวนการ FLN, มุสลิม 12,000 คนต้องย่อยยับไปในความสับสนปนเปของการล้างเลือดดังกล่าว โดยกำลังทหารและตำรวจ เช่นเดียวกับกลุ่มแก๊งต่างของ colons (หมายถึงผู้ตั้งถิ่นฐาน)

ภายหลังเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นที่ Philippeville, Soustelle สั่งให้ใช้มาตรการที่แข็งกร้าว และเริ่มต้นใช้กองกำลังทั้งหมดที่มีอยู่ในสงครามดังกล่าว. การเดินขบวนทางการเมืองในปี ค.ศ. 1956 ของผู้คนในอาณานิคมฝรั่งเศส ต้องการที่จะบีบให้รัฐบาลฝรั่งเศสเลิกล้มความคิดเกี่ยวกับการปฏิรูป

ผู้สืบทอดตำแหน่งของ Soustelle คือ ผู้ว่าการสูงสุด Robert Lacoste, นักสังคมนิยมคนหนึ่ง ซึ่งเขาได้ยกเลิกการประชุมที่เรียกว่า Algerian Assembly (การประชุมใหญ่อัลจีเรียน) ลง. Lacoste มองว่าการประชุมดังกล่าวถูกครอบงำโดย pieds-noirs (พวกที่สืบเชื้อสายมาจากฝรั่งเศสและชาวยิว), เป็นการกีดขวางหน้าที่การบริหารของเขา และเขาได้ทำการปกครองอัลจีเรียโดยพระราชกฤษฎีกาและกฎหมายพิเศษ. เขาเห็นพ้องที่จะยกระดับปฏิบัติการต่างๆทางด้านการทหาร และยอมให้ทหารมีอำนาจพิเศษต่างๆเหนือตำรวจ - มีการผ่อนผันอันหนึ่งทางด้านกฎหมายที่น่าแคลงใจภายใต้กฎหมายฝรั่งเศส - อันเกี่ยวกับความรุนแรงทางการเมืองที่เพิ่มขึ้น

ในเวลาเดียวกัน, Lacoste เสนอโครงสร้างการบริหารใหม่อันหนึ่งขึ้นมา ที่จะให้อัลจีเรียมีอิสระในระดับหนึ่ง และกระจายอำนาจจากรัฐบาลกลางไปสู่ท้องถิ่น. ถึงแม้ว่ายังคงเป็นส่วนหนึ่งอย่างบริบูรณ์ของฝรั่งเศส แต่อัลจีเรียได้ถูกแบ่งออกเป็น 5 เขต และแต่ละเขตจะมีสมัชชาปกครองดินแดนที่ถูกเลือกมาจากรายชื่อของผู้สมัครรับเลือกตั้ง 1 คน. บรรดาสมาชิกสภาผู้แทน Colon ทั้งหลายถูกถ่วงเวลาออกไปจนกระทั่งปี 1958 จึงได้มีการผ่านกฎหมายโดยที่ประชุมแห่งชาติของฝรั่งเศส

ในเดือนสิงหาคมและกันยายน ค.ศ. 1956 บรรดาผู้นำภายในของขบวนการปฏิวัติ FLN ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดทำนโยบายที่เป็นทางการอย่างเป็นระบบ เพื่อทำให้กิจกรรมต่างๆทางการเมืองและการทหาร มีความสอดคล้องดำเนินการไปในจังหวะเดียวกัน. อำนาจสูงสุดของ FLN ได้รับการมอบให้กับสมาชิก 34 คน(ในรูปองค์คณะ)ของ "สภาการปฏิวัติแห่งชาติของอัลจีเรีย"(National Council of the Algerian Revolution)(CNRA) ซึ่งคณะกรรมการ 5 คนจะทำหน้าที่ประสานงานและการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งได้ก่อรูปการบริหารขึ้นมา. บรรดาผู้นำภายนอก(ประเทศ) รวมทั้ง Ben Bella ทราบถึงการประชุมดังกล่าวที่กำลังเกิดขึ้น แต่โดยโอกาสและการออกแบบในส่วนของผู้นำภายใน(ประเทศ) ทำให้ไม่สามารถเข้าไปอยู่ในส่วนของการบริหารนี้ได้

เวลาระหว่างนั้น ในเดือนตุลาคม 1956, Lacoste ได้ทำการจับกุมบรรดาผู้นำทางการเมืองชั้นนอกของขบวนการ FLN ซึ่งอยู่ในอัลจีเรียได้ และได้คุมขังคนเหล่านี้ในช่วงระหว่างสงคราม. การกระทำดังกล่าวเป็นมูลเหตุให้บรรดาผู้นำการก่อกบฎ ต้องคงท่าทีของตนเองให้เข้มแข็งมากขึ้น

ฝรั่งเศสมีทัศนะที่เป็นปรปักษ์อย่างเปิดเผยมาก เกี่ยวกับการช่วยเหลือทางการเมืองและความคิดของประธานาธิบดีอิยิปต์ Gamal Nasser ที่มีต่อขบวนการปฏิวัติ FLN, ซึ่งนักวิเคราะห์บางคนของฝรั่งเศสเชื่อว่า มันเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการประคองหรือให้การสนับสนุนการก่อกบฎให้มีอยู่อย่างต่อเนื่องในอัลจีเรีย. ทัศนคติอันนี้เป็นเงื่อนไขหนึ่งในการเชิญชวนฝรั่งเศสเข้ามามีส่วนร่วมในเดือนพฤศจิกายน 1956 ซึ่งอังกฤษพยายามจะครอบครองคลองสุเอซ ในช่วงระหว่างวิกฤตคลองสุเอซ

ระหว่างปี 1957 ถือเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ส่งให้ขบวนการ FLN อ่อนแอลงด้วยการแตกร้าว ระหว่างผู้นำภายใน(ประเทศ)และภายนอก(ประเทศ)ที่ถูกขยายกว้างขึ้น. เพื่อยุติภาวะเลื่อนลอยดังกล่าว, ขบวนการปฏิวัติ FLN ได้แผ่ขยายคณะกรรมการบริหารของตนเองโดยรวม Abbas เข้ามา เช่นเดียวกับบรรดาผู้นำทางการเมืองทั้งหลายที่ถูกคุมขังอยู่ อย่างเช่น Ban Bella. นอกจากนี้ยังได้มีการชักชวนให้สมาชิกประเทศคอมมิวนิสท์และสมาชิกประเทศอาหรับขององค์การสหประชาชาติ ใช้วิถีทางการทูตในการกดดันต่อรัฐบาลฝรั่งเศสให้มีการเจรจาตกลงเพื่อให้มีการหยุดยิง

ปัญญาชนฝรั่งเศส Albert Camus ซึ่งเกิดในอัลจีเรีย พยายามชักชวนทั้งสองฝ่ายให้อย่างน้อยที่สุดละทิ้งพลเมืองให้อยู่โดยลำพัง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ. ขบวนการ FLN มองว่าเขาเป็นคนโง่ และส่วนใหญ่ของ pieds-noirs (พวกที่สืบเชื้อสายมาจากฝรั่งเศส)พิจารณาว่า เขาเป็นผู้ทรยศหักหลังคนหนึ่ง

4. ปฏิบัติการของสงคราม (Conduct of the War)
นับจากจุดเริ่มต้นของมันในปี ค.ศ.1954 ในฐานะนักต่อสู้กองโจรใต้ดินชั้นเลวที่มีจำนวนเป็นร้อย และติดอาวุธที่หลายหลากสับสน เช่น ปืนไรเฟิลสำหรับล่าสัตว์ และอาวุธเบาต่างๆที่ถูกทิ้งแล้วของฝรั่งเศส เยอรมัน และสหรัฐฯ, ขบวนการ ALN (ปีกทหารของการปฏิวัติ) ได้พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ.1957 เข้าสู่กองกำลังต่อสู้ที่มีวินัยซึ่งมีจำนวนเกือบ 40,000 คน

ในจำนวนนี้มากกว่า 30,000 คนได้ถูกจัดตั้งอย่างเป็นระบบ ตามแนวพรมแดนในหน่วยต่างๆภายนอก(ประเทศ)ที่มีฐานที่มั่นอยู่ ณ ที่สถานที่ลี้ภัยในโมรอคโคและตูนีเซีย ใกล้ๆพรมแดนอัลจีเรีย ที่ซึ่งพวกเขาแต่แรกนั้น ทำหน้าที่เบี่ยงเบนกองกำลังทหารของฝรั่งเศสจากพื้นที่หลักของกิจกรรมแบบกองโจร เพื่อเป็นยามเฝ้าระวังต่อการแทรกซึม. การโจมตีอย่างรุนแรงของการต่อสู้ ถูกทำให้เกิดขึ้นมาโดยขบวนการภายในต่างๆใน Wilayat, มีการประเมินเกี่ยวกับจำนวนของผู้ก่อการร้ายว่า เริ่มจาก 6,000 คนถึงมากกว่า 25,000 คน พร้อมด้วยกองกำลังชั่วคราวนับเป็นพันๆคน

ในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1956-1957 ขบวนการ ALN ประสบความสำเร็จในการใช้ยุทธวิธีตีแล้วถอยตามคัมภีร์การต่อสู้แบบกองโจรคลาสสิค. พวกเขามีความชำนิชำนาญเกี่ยวกับซุ่มโจมตีและการจู่โจมตอนกลางคืน และหลีกเลี่ยงที่จะปะทะกับปืนไฟของฝรั่งเศสที่เหนือกว่า กองกำลังภายในมีเป้าหมายอยู่ที่กองทหารลาดตระเวน, ค่ายทหารต่างๆ, สถานีตำรวจ, และไร่นาของ colon(settler ผู้ตั้งถิ่นฐาน), เหมืองต่าง, และโรงงานทั้งหลาย เช่นเดียวกับสถานีบริการขนส่ง และศูนย์บริการการสื่อสาร

เมื่อข้อตกลงได้ถูกทำให้สิ้นสุดลง กองโจรทั้งหลายได้ร่วมกันกับประชาชนในแถบชนบท. เรื่องการลักพาตัวเป็นเรื่องธรรมดา เช่นเดียวกับฆาตกรรมป่าเถื่อนทั้งหลายที่ปฏิบัติกันเป็นพิธีกรรม มีการตัดแขนตัดขาทหารฝรั่งเศสที่ถูกจับมาได้, ชาว colon ทุกเพศทุกวัยถูกสงสัยในการให้ความร่วมมือ และเป็นพวกที่ทรยศหักหลัง

แรกสุด กองกำลังปฏิวัติมีเป้าหมายเพียงเจ้าหน้าที่ทางการมุสลิมของระบอบการปกครองอาณานิคม แต่ต่อมาภายหลัง พวกเขาได้คุกคามและฆ่าพลเรือนทั้งหลายด้วย ผู้ซึ่งเพียงปฏิเสธที่จะให้การสนับสนุนพวกเขา ยิ่งไปกว่านั้นช่วงระหว่างสองปีแรกของความขัดแย้ง พวกกองโจรได้ฆ่าชาวมุสลิมไปประมาณ 6,000 คน และคนยุโรปประมาณ 1,000 คน

ถึงแม้ว่าจะประสบความสำเร็จในการก่อให้เกิดบรรยากาศอันหนึ่งของความหวาดกลัว และความไม่แน่นอนขึ้นมาทั้งภายในชุมชนต่างๆและในอัลจีเรีย แต่กลยุทธการบีบบังคับต่างๆในการปฏิวัติเสนอว่า พวกเขายังไม่สามารถกระตุ้นคนส่วนใหญ่ในหมู่มุสลิม เพื่อให้เอาใจออกห่างจากการปกครองอาณานิคมของฝรั่งเศสได้. แต่อย่างไรก็ตาม อย่างค่อยเป็นค่อยไป ขบวนการ FLN และ ALN ก็ได้ควบคุมบางส่วนของ Aures, Kabylie, และพื้นที่บนภูเขาอื่นๆรายรอบ Constantine และทางใต้ของ Algiers และ Oran ได้

ในสถานที่เหล่านี้ ขบวนการ ALN ได้สถาปนาการบริหารและบังคับบัญชาแบบทหารที่ง่ายๆขึ้นมา แต่มีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะมีลักษณะชั่วครั้งชั่วคราวอยู่บ่อยๆก็ตาม ที่ทำให้สามารถรวบรวมภาษีและเสบียงอาหาร และสามารถเกณฑ์กำลังทหารได้. แต่ก็ไม่เคยที่จะสามารถธำรงรักษาสถานะอันมั่นคงตายตัวขนาดใหญ่นั้นได้. บรรดาชนชาวมุสลิมทั่วประเทศเริ่มที่จะก่อตั้งองค์กรทางสังคม, องค์กรพลเรือน, องค์กรพิพากษาใต้ดินขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ค่อยๆก่อตัวรวมกันเป็นรัฐของเขาเองขึ้นมาทีละน้อย ๆ

การสูญเสียผู้นำที่มีความสามารถในสนามรบหลายคน ทั้งในช่วงสงครามและโดยการเอาใจออกห่าง รวมไปถึงการกวาดล้างทางการเมือง ได้ก่อให้เกิดความยุ่งยากต่างๆนาๆสำหรับขบวนการปฏิวัติ FLN. ยิ่งไปกว่านั้น พลังอำนาจการต่อสู้ในช่วงปีแรกๆของสงคราม ยังได้แบ่งแยกความเป็นผู้นำใน wilayat ออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน Aures

ผู้นำขบวนการบางคนได้สร้างพื้นที่และองค์กรของตนเองขึ้นมา ใช้หน่วยต่างๆภายใต้การบัญชาการของพวกเขา เพื่อชำระหนี้เก่าและต่อสู้ในสงครามส่วนตัวกับคู่แข่งทางทหารภายในขบวนการ ALN. แม้ว่าจะได้รับการจำแนกและตักตวงประโยชน์โดยความเฉลียวฉลาดของฝรั่งเศส แต่ความแตกแยกภายในกลุ่มก็ไม่ได้ทำให้ความมีประสิทธภาพทั้งหมดของ ALN ในปฏิบัติการทางทหารต่างๆ เลวลงมากมายนัก

เพื่อเพิ่มความสนใจให้กับฝรั่งเศสและนานาชาติต่อการต่อสู้ของพวกเขามากขึ้น ขบวนการปฏิวัติ FLN ตัดสินที่จะนำความขัดแย้งไปสู่เมืองต่างๆ และเรียกร้องการโจมตีไปทั่วประเทศ. การแสดงออกที่เด่นชัดมากที่สุดเกี่ยวกับการต่อสู้ใหม่ในเขตเมืองก็คือ สงครามในอัลเจียร์ส(Battle of Algiers) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในเดือนกันยายน วันที่ 30 ปี ค.ศ.1956, เมื่อผู้หญิงสามคนได้วางระเบิดในที่ 3 แห่ง รวมทั้งย่านตัวเมืองซึ่งเป็นที่ทำการของสายการบิน Air France ด้วย

ขบวนการ ALN ได้ยิงคนและวางระเบิดประมาณ 800 ครั้งต่อเดือน ตลอดจนถึงช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ.1957, ซึ่งเป็นผลลัพธ์ทำให้พลเมืองจำนวนมากบาดเจ็บล้มตาย และเชื้อเชิญการตอบโต้ด้วยการบดขยี้จากฝ่ายอำนาจอย่างรุนแรง. การก่อการสไตร์คไปทั่วในปี 1957 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับการถกเถียงของ UN ต่อประเด็นอัลจีเรีย ได้ถูกกำหนดลงไปที่บรรดาคนงานและธุรกิจต่างๆของชาวมุสลิม

นายพล Jacques Massu, ซึ่งได้รับการสอนให้ใช้วิธีการทุกรูปแบบที่จำเป็น เพื่อฟื้นฟูกฎระเบียบของเมืองขึ้นมา ได้ทำการต่อสู้กับการก่อการร้ายด้วยการกระทำต่างๆในลักษณะเดียวกันกับการก่อการร้ายอยู่บ่อยๆ. มีการใช้ทหารพลร่มต่างๆ และได้ยับยั้งการโจมตีและทำลายโครงสร้างพื้นฐานของขบวนการปฏิวัติ FLN อย่างเป็นระบบ. แต่ขบวนการ FLN ก็ประสบความสำเร็จในการแสดงให้เห็นความสามารถด้วยการโจมตี ณ ใจกลางของเขตอัลจีเรียฝรั่งเศส(French Algeria) และมีการระดมมวลชนโต้ตอบกับสิ่งยั่วยวนใจของมันในท่ามกลางชุมชนเมืองมุสลิม

กองทหารของ Massu ได้ลงโทษหมู่บ้านทั้งหลายที่ถูกสงสัยว่าให้ที่พักพิงและที่หลบซ่อนแก่ฝ่ายกบฎ โดยการโจมตีหมู่บ้านเหล่านั้นด้วยกองทหารเคลื่อนที่เร็ว หรือการระดมยิงมาจากเครื่องบินและปืนใหญ่ (ชวนให้ระลึกถึงยุทธวิธีต่างๆของพวกนาซี ที่ต่อสู้กับการต่อต้านของฝรั่งเศส) และได้รวบรวมประชากรท้องถิ่น 2 ล้านคนไปเข้าค่ายกักกันต่างๆ(concentration camps)

ส่วนฝ่ายกบฎนั้น ได้ใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการใช้วิธีการอันเหี้ยมโหดของพวกทหารเพื่อเอาชนะสงครามอัลเจียร์ส รวมถึงการทรมานที่กระทำกันอย่างแพร่หลาย เพื่อสร้างความสงสัยคลางแคลงใจในบทบาทของฝรั่งเศสในอัลจีเรีย. มาถึงตอนนี้การรักษาความสงบและสันติ ได้เปลี่ยนไปสู่สงครามอาณานิคมแล้ว

ทั้งๆที่มีการร้องทุกข์จากการออกคำสั่งทางทหารในอัลเจียร์ส แต่รัฐบาลฝรั่งเศสก็ไม่สู้เต็มใจนักอยู่เป็นเวลาหลายเดือนที่จะยอมรับว่า สถานการณ์ที่เกิดกับอัลจีเรียนอยู่นอกเหนือการควบคุม และนั่นเป็นสิ่งที่ได้รับการมองอย่างเป็นทางการในฐานะที่เป็น"การปฏิบัติการเพื่อรักษาความสงบ" ซึ่งได้พัฒนาไปสู่"สงครามอาณานิคม"อย่างสำคัญ

ในปี ค.ศ.1956 ฝรั่งเศสได้ส่งทหารกว่า 4 แสนคนเข้าไปในอัลจีเรีย. แม้ว่าหน่วยทหารอากาศชั้นยอด และโดยเฉพาะกองทหารผสมนานาชาติจะได้รับการโจษขานถึงชื่อเสียงไปในทางที่ไม่ดี แต่ทหารประจำการปกติประมาณ 170,000 คนในอัลจีเรียเป็นชาวอัลจีเรียนมุสลิม ส่วนใหญ่ในหมู่คนเหล่านี้เป็นอาสาสมัคร. นอกจากนี้ ฝรั่งเศสได้ส่งหน่วยกองทัพอากาศ และกองทัพเรือเข้าสู่สมรภูมิอัลจีเรียด้วย

ทหารฝรั่งเศสได้เข้าครองบทบาทสำคัญอันหนึ่งในการบริหารท้องถิ่นอัลจีเรีย โดยผ่านส่วนราชการพิเศษทางการบริหาร(the Special Administration Section - SAS), ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาในปี ค.ศ.1955. ภารกิจของ SAS คือพยายามสร้างความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์กับประชากรชาวมุสลิม และสถาปนาความคิดชาตินิยมและอิทธิพลอื่นๆที่ถูกทำให้อ่อนแอลงขึ้นมาในอาณาเขตท้องถิ่นต่างๆ โดยการยืนยัน"การมีอยู่ของฝรั่งเศส" ณ ที่นั่น

เจ้าหน้าที่ SAS ทั้งหลายได้รับการเรียกขานว่า"หมวกน้ำเงิน"(blue caps) - มีการเกณฑ์ทหารใหม่และฝึกฝนภายใต้ตราของทหารเกณฑ์มุสลิมที่ซื่อสัตย์(ไม่ใช่ทหารอาชีพ) และถูกรู้จักักนในนาม Harkis. พวกนี้ติดอาวุธคือปืนสั้น และใช้ยุทธวิธีแบบกองโจรในทำนองเดียวกับขบวนการ ALN ของฝ่ายตรงข้าม. พวก Harkis ในท้ายที่สุด ซึ่งเป็นอาสาสมัครราวๆ 150,000 คน ได้กลายเป็นเครื่องมือในเชิงอุดมคติอันหนึ่งของสงครามประชาชนที่คิดก่อการ (harkis - ชาวมุสลิมอัลจีเรียน ซึ่งอยู่ฝ่ายเดียวกับทหารฝรั่งเศส)

ปลายปี ค.ศ.1957 นายพล Raoul Salan ซึ่งมีอำนาจบังคับบัญชาทหารฝรั่งเศสในอัลจีเรีย ได้สร้างระบบการปกครองรูปสี่เหลี่ยมขึ้นมาโดยแบ่งประเทศออกเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนมีการส่งทหารเข้าไปประจำการโดยทหารเหล่านั้น จะต้องรับผิดชอบในการปราบปรามการปฏิบัติการต่างๆของฝ่ายกบฎ ในพื้นที่ที่ถูกกำหนดไว้แล้วของตน. วิธีการของนายพล Salan ได้ลดทอนกรณีการก่อการร้ายของขบวนการ FLN ลงอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันก็ไปหยุดยั้งทหารจำนวนมากให้มีการตั้งรับแบบอยู่กับที่

นอกจากนี้ นายพล Salan ยังได้สร้างระบบการลาดตระเวนขนานใหญ่ด้วย ตามแนวกีดขวางพรมแดนต่างๆเพื่อจำกัดการแทรกซึมจากตูนีเซียและโมร็อคโค ที่รู้จักกันดีมากๆเกี่ยวกับกับเรื่องเหล่านี้คือ the Morice Line (อันเป็นชื่อของรัฐมนตรีกลาโหมฝรั่งเศส, Andre Morice) ซึ่งประกอบด้วยรั้วไฟฟ้า, ลวดหนาม, และทุ่นระเบิดที่มีความยาว 320 กิโลเมตร ที่ขึงตลอดตามแนวชายแดนตูนิเซีย

การบัญชาการกองทัพฝรั่งเศสได้ใช้หลักการที่ไร้ความปรานี เกี่ยวกับความรับผิดชอบของหมู่บ้านต่างๆโดยรวม ที่ถูกสงสัยว่าเป็นที่ซ่องสุม, ส่งเสบียง, หรือร่วมมืออย่างหนึ่งอย่างใดกับพวกกองโจรต่างๆ. สำหรับหมู่บ้านที่ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยกองทหารเคลื่อนที่เร็ว จะถูกยิงด้วยปืนใหญ่ หรือกราดยิงมาจากบนเครื่องบิน. ฝรั่งเศสเริ่มโครงการอันหนึ่ง เกี่ยวกับการเฝ้าจับตาส่วนต่างๆของประชากรท้องถิ่นขนาดใหญ่ รวมไปถึงหมู่บ้านทั้งหมด และได้มีการจัดตั้งแคมป็ขึ้นภายใต้การดูแลควบคุมของกองทัพ เพื่อป้องกันคนเหล่านี้จากการให้ความช่วยเหลือพวกกบฎต่างๆ - หรือตามคำอธิบายของทางการคือ …เพื่อปกป้องพวกเขาจากการถูกขู่เข็ญและคุกคามของขบวนการ FLN

ใน 3 ปี(จากปี 1957-60) ช่วงระหว่างโครงการรวมกลุ่มใหม่(regroupment)ได้รับการนำมาปฏิบัติ ชาวอัลจีเรียนประมาณ 2 ล้านคนได้ถูกโยกย้ายจากหมู่บ้านของพวกตน ส่วนมากบนเขตพื้นที่สูงบนภูเขา และได้ถูกนำไปยังดินแดนใหม่เพื่อตั้งรกรากบนพื้นที่ราบ ที่ซึ่งผู้คนจำนวนมากพบว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างเศรษฐกิจและสภาพสังคมต่างๆขึ้นมาใหม่ดังที่พวกเขาคุ้นเคยได้เลย

เงื่อนไขการดำรงชีวิตในแคมป์เป็นไปอย่างยากลำบากและข้นแค้น. หมู่บ้านอันว่างเปล่าเป็นร้อยๆถูกทำลายล้าง และสวนผลไม้รวมทั้งไร่นานับร้อยแห่งถูกทำให้พินาศลงเช่นกัน. วิถีชีวิตของประชากรเหล่านี้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง และมันมีผลในเชิงยุทธศาสตร์เพียงเล็กน้อยเท่านั้นต่อทางออกของสงคราม แต่ผลกระทบที่ตามมาในทางชะงักงันต่อเศรษฐกิจและสังคม เกี่ยวกับโครงการขนาดใหญ่นี้ ยังคงรู้สึกได้สำหรับคนรุ่นหลังต่อๆมา

ทหารฝรั่งเศสได้เปลี่ยนยุทธวิธีของตนเองในช่วงสิ้นสุดปี ค.ศ.1958 จากการพึ่งพาอาศัยระบบสี่เหลี่ยม ไปสู่การใช้กำลังรบเคลื่อนที่เร็วเพื่อปฏิบัติการขนาดใหญ่ ในพันธกิจการค้นหาและทำลายศูนย์บัญชาการของขบวนการ ALN. ในปีถัดมา, ผู้รับช่วงต่อจากนายพล Salan คือนายพล Maurice Challe ปรากฏว่า เขาได้ยับยั้งการต่อต้านของฝ่ายกบฎลงได้อย่างสำคัญ. แต่พัฒนาการทางการเมืองได้ตามมาทันความสำเร็จต่างๆของทหารฝรั่งเศสแล้ว

5. คณะกรรมการเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยประชาชน (Committee of Public Safety)
วิกฤตกาลต่างๆของคณะรัฐมนตรีที่เกิดขึ้นเสมอๆ ซึ่งได้เพ่งความสนใจลงไปที่ความไร้เสถียรภาพที่มีอยู่ตลอดของสาธารณรัฐที่สี่ของฝรั่งเศส และการเพิ่มขึ้นมาของความรู้สึกซึ่งไม่ไว้วางใจเกี่ยวกับทหารและเกี่ยวกับ colons (ผู้คนที่ตั้งรกราก) ในด้านความปลอดภัยของอัลจีเรีย อันนี้กำลังถูกกัดเซาะทำลายลงทีละน้อยๆโดยพรรคการเมืองต่างๆ

บรรดาผู้บัญชาการทหารทั้งหลายรู้สึกโกรธและร้อนรน ต่อการที่พวกเขาได้รับงบประมาณไม่เพียงพอและไม่จริงใจ ที่จะให้การสนับสนุนความพยายามทางด้านการทหารแก่พวกเขาในการจะยุติการก่อกบฎ. ความรู้สึกอันนี้ได้แผ่ไปถึงการพังทะลายลงอีกที่หนึ่งซึ่งคล้ายๆกันนั้น นั่นคืออินโดจีนในปี ค.ศ. 1954 และรัฐบาลจะต้องเร่งทำให้เกิดการถอนตัวและบูชายัญเกียรติยศของฝรั่งเศสต่อไป เพื่อผลทางการเมืองเฉพาะหน้า. คนจำนวนมากมองไปที่ De Gaulle ผู้ซึ่งไม่ได้รับหน้าที่อะไรมานับตั้งแต่ปี 1946 เขาเป็นเพียงบุคคลสาธารณะ ซึ่งมีความสามารถที่จะระดมผู้คนภายในชาติ และกำหนดทิศทางรัฐบาลฝรั่งเศสได้

หลังจากการตระเวณของ Soustelle ในฐานะตัวแทนผู้ปกครองสูงสุด เขาได้คืนกลับมาสู่ฝรั่งเศสเพื่อรวบรวมแรงสนับสนุนให้ de Gaulle หวนคืนสู่อำนาจ ขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาความผูกพันอย่างใกล้ชิดกับทหารและ colons (บรรดาผู้ตั้งรกราก)เอาไว้. โดยช่วงต้นปี 1958 เขาได้ทำรัฐประหาร, ได้ทำให้พวกทหารที่ไม่เห็นด้วยและ colons มาร่วมมือกันในฐานะ Gaullists ที่เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน

ทหารกลุ่มเล็กๆภายใต้การนำของนายพล Massu ได้เข้ายึดอำนาจในอัลเจียร์ส ในคืนวันที่ 13 พฤษภาคม. นายพล Salan ได้เข้ารับตำแหน่งผู้นำของคณะกรรมการรักษาความปลอดภัยประชาชน ซึ่งได้รับการก่อตั้งขึ้นมาเพื่อแทนที่อำนาจฝ่ายพลเรือน และตีพิมพ์ข้อเรียกร้องต่างๆของกลุ่มก่อการรัฐประหาร ซึ่ง de Gaulle ได้ถูกแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีฝรั่งเศส Rene Coty สู่หัวหน้ารัฐบาลแห่งชาติสหพันธรัฐ ที่มีอำนาจพิเศษที่จะปกป้องขัดขวางการละทิ้งอัลจีเรียไป. De Gaulle กลายเป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนมิถุนายน และได้ให้อิสรภาพที่จะกระทำการใดๆในสถานการณ์ที่มีลักษณะเฉพาะอันนั้นเกี่ยวกับอัลจีเรียได้

6. เดอ โกลล์ (De Gaulle)
บรรดาชาวยุโรปเช่นเดียวกับชนชาวมุสลิมเป็นจำนวนมาก ต่างต้อนรับทักทาย Charles de Gaulle ในการหวนคืนสู่อำนาจ ในฐานะก้าวย่างที่สำคัญยิ่งที่ต้องการให้ภาวะสงครามสิ้นสุดลง. ในวันที่ 4 มิถุนายนซึ่งเขาได้เดินทางไปยังอัลจีเรีย, อย่างที่คาดไว้ de Gaulle ได้สร้างความดึงดูดใจทางอารมณ์อย่างเต็มที่ และในเวลาเดียวกัน เขาก็สร้างความรู้สึกคลุมเครือต่อพลเมืองทั้งหมด ด้วยการประกาศว่า "ข้าพเจ้าเข้าใจพวกท่าน("Je vous ai compris")

De Gaulle ได้ยกระดับความหวังของ colons (บรรดาผู้ตั้งรกราก)และทหารอาชีพขึ้นมา, เนื่องมาจากความรู้สึกไม่พอใจในความไม่เด็ดขาดเกี่ยวกับรัฐบาลต่างๆก่อหน้านั้น ด้วยการอุทานของเขาที่ว่า "Vive l'Algerie francaise" (long live French Algeria - เขตอัลจีเรียฝรั่งเศส จงเจริญ) ต่อบรรดาฝูงชนที่โห่ร้องแสดงความยินดีใน Mostaganem (เมืองท่าทางตะวันตกเฉียงเหนือของอัลจีเรีย)

ในเวลาเดียวกันนั้น เขาได้เสนอให้มีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพื่อปรับปรุงสถานการณ์ของชนชาวมุสลิมทั้งหลายให้ดีขึ้น. แต่อย่างไรก็ตาม ต่อมาภายหลัง de Gaulle ได้ยอมรับว่า เขาได้ซ่อนเร้นการมองโลกในแง่ร้ายอย่างลึกซึ้งเอาไว้ เกี่ยวกับสิ่งที่จะปรากฏออกมาในสถานการณ์ของอัลจีเรียในช่วงเวลาดังกล่าว. ช่วงเวลานั้น เขาพยายามค้นหา"อำนาจที่สาม"(third force)ท่ามกลางชาวมุสลิมและชาวยุโรป ที่ไม่ถูกเจือปนโดยขบวนการ FLN หรือ ("ultras" - พวกสุดขั้วของ colon) - โดยผ่านคนที่อาจจะค้นพบทางออกอันหนึ่งขึ้นมาได้

De Gaulle ได้รีบแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ สำหรับสาธารณรัฐที่ห้าของฝรั่งเศสขึ้นมาทันที ซึ่งจะได้รับการประกาศใช้ในช่วงต้นของปีถัดไป โดยที่อัลจีเรียจะถูกโยงเข้ามาร่วม แต่ก็จะไม่ก่อตัวขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งอย่างสมบูรณ์. ชนชาวมุสลิม รวมทั้งผู้หญิง จะถูกขึ้นทะเบียนเป็นครั้งแรกร่วมกับชาวยุโรปในรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมกัน สำหรับการมีส่วนร่วมในการลงประชามติที่จะได้รับการยึดถือในรัฐธรรมนูญใหม่ในเดือนกันยายน 1958

การคุกคามของ De Gaulle ต่อขบวนการปฏิวัติ FLN ด้วยความคาดหวังเกี่ยวกับโอกาสของความสูญเสียการสนับสนุนของจำนวนคนมุสลิมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเบื่อหน่ายต่อสงคราม และไม่รู้สึกกระตือรือร้นไปกว่านี้แล้ว ในเรื่องข้อผูกพันของพวกเขากับอัลจีเรียที่เป็นอิสระทั้งหมด ได้เริ่มต้นขึ้น. ในปฏิกริยาโต้ตอบของขบวนการ FLN พวกเขาได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวของสาธารณรัฐอัลจีเรียนขึ้น (Provisional Government of the Algerian Republic) (Gouvernement Provisionel de la Republique Algerienne, GPRA), ซึ่งเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นที่มีหัวหน้าคือ Abbas และมีฐานที่มั่นอยู่ในตูนีเซีย

ก่อนที่จะมีการลงประชามติ, Abbas ได้ล็อบบี้เพื่อแสวงหาการสนับสนุนจากนานาชาติสำหรับ the GPRA, ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็วโดยโมร็อคโค, ตูนีเซีย, และประเทศอาหรับอื่นๆอีกหลายหลาก นอกจากนี้ยังได้รับการส่งเสริมโดยชาติเอเชียจำนวนหนึ่ง และรัฐต่างๆในทวีปแอฟริกาด้วย รวมถึงสหภาพโซเวียตและรัฐยุโรปตะวันออกต่างๆ

คอมมานโดของ ALN ได้ถูกมอบหมายหน้าที่ให้กระทำการมากมาย เกี่ยวกับการก่อวินาศกรรมในฝรั่งเศสในเดือนสิงหาคม, และขบวนการ FLN ได้เพิ่มการต่อสู้ที่รุนแรงเกี่ยวกับการก่อการร้ายในอัลจีเรีย เพื่อขู่ขวัญบรรดาชาวมุสลิมให้บอยคอทท์การลงประชามติ. ทั้งๆที่มีการคุกคามด้วยกำลังทหาร แต่อย่างไรก็ตาม ชาวมุสลิม 80 เปอร์เซนต์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง กลับปรากฏว่าไปออกเสียงเลือกตั้งในเดือนกันยายน และคนเหล่านี้ 96 เปอร์เซนต์ยอมรับรัฐธรรมนูญดังกล่าว

ในเดือนกุมภาพันธ์ 1959, de Gaulle ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐที่ห้าใหม่นี้. เขาได้ไปเยี่ยมเยือน Constantine ในเดือนตุลาคม เพื่อประกาศถึงโครงการอันหนึ่งเกี่ยวกับการสิ้นสุดสงคราม และการสร้างสรรค์อัลจีเรียที่มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับฝรั่งเศส ซึ่งชนชาวฝรั่งเศสและมุสลิมจะร่วมมือกันเป็นหุ้นส่วน

De Gaulle เรียกร้องต่อบรรดาผู้นำกบฎทั้งหลายให้ยุติภาวะสงครามลง และเข้ามามีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง แต่ต้องพบกับการปฏิเสธอย่างไม่มีเยื่อใย. "ปัญหาของการหยุดยิงในอัลจีเรียไม่ใช่เรื่องง่ายๆเกี่ยวกับปัญหาทางทหาร" Abbas ซึ่งเป็นหัวหน้า GPRA กล่าว, "โดยสาระแล้ว มันเป็นเรื่องทางการเมือง และการเจรจาต่อรองจะต้องครอบคลุมปัญหาทั้งหมดของอัลจีเรียด้วย" การสนทนากันอย่างลับๆที่ได้มีการเริ่มต้นขึ้นแล้ว ได้ถูกทำให้ชะงักงันลง

ในปี ค.ศ.1958-1959 ทหารฝรั่งเศสได้ชัยชนะในการควบคุมอัลจีเรียทางด้านการทหารเอาไว้ได้ และเป็นความใกล้เคียงที่สุดที่มันจะประสบชัยชนะ. แต่อย่างไรก็ตาม ช่วงระหว่างเวลานั้นในฝรั่งเศส ฝ่ายตรงข้ามกับความขัดแย้งก็กำลังเจริญเติบโตขึ้นในท่ามกลางภาคส่วนต่างๆมากมายของประชาชน. บรรดาญาติพี่น้องของทหารเกณฑ์นับเป็นพันๆและทหารกองหนุนที่ประสบกับความสูญเสียและเจ็บปวด; การเปิดเผยออกมาต่างๆของการทรมานและความโหดร้ายตามอำเภอใจอย่างไม่เลือกหน้า เมื่อทหารได้ไปตรวจตราและกระทำการอันรุนแรงต่อชาวมุสลิมได้กระตุ้นความรู้สึกขยะแขยงไปทั่ว; และบรรดาผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่สำคัญ ได้สนับสนุนหลักการเกี่ยวกับการปลดปล่อยชาติให้เป็นอิสระ

นอกจากนี้ แรงกดดันจากนานาชาติก็กำลังทำให้ฝรั่งเศสยินยอมปลดปล่อยอัลจีเรียด้วย. ทุกๆปีนับจากปี ค.ศ. 1955 การประชุมใหญ่ขององค์การสหประชาชาติได้พิจารณาถึงปัญหาเกี่ยวกับอัลจีเรีย และฐานะของขบวนการปฏิวัติ FLN ก็กำลังได้รับการสนับสนุนมากขึ้น. การไม่ยอมอ่อนข้อเท่าที่ปรากฏของฝรั่งเศสในการจัดการกับสงครามอาณานิคม ได้ทำให้กำลังทหารและกำลังอาวุธครึ่งหนึ่ง ต้องไปผูกพันอยู่กับเรื่องดังกล่าว และได้กลายเป็นต้นตอที่มาเกี่ยวกับความกังวลใจของพันธมิตรนาโต้ทั้งหลายที่ฝรั่งเศสมีส่วนร่วม

ในแถลงการณ์เดือนกันยายนปี ค.ศ. 1959, de Gaulle ได้พลิกกลับท่าทีหรือจุดยืนของเขาอย่างกระทันหัน และเปล่งคำพูดว่า"การกำหนดชะตากรรมของตนเอง" ซึ่งเขาได้จินตภาพโดยการน้อมนำไปสู่กฎของคนส่วนใหญ่ในอัลจีเรียที่มีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับฝรั่งเศส. ในตูนิส, Abbas ยอมรับว่า ถ้อยแถลงของ de Gaulle อาจได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นพื้นฐานอันหนึ่งสำหรับการตกลงกันในการแก้ปัญหา แต่รัฐบาลฝรั่งเศสปฏิเสธที่จะยอมรับรัฐบาลพลัดถิ่น GPRA ในฐานะที่เป็นตัวแทนของชุมชนชาวมุสลิมในอัลจีเรีย

ข้ออ้างที่ว่า de Gaulle ได้ทรยศพวกเขา, the colons (บรรดาผู้ตั้งรกราก)ได้หวนกลับมาโดยกองกำลังทหาร และได้ทำการกบฎในอัลเจียร์สในเดือนมกราคม 1960 ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างมากในยุโรป. ขณะที่มีการเตรียมพร้อมของตำรวจและทหาร, การจลาจลของ colons ได้ทำลายเครื่องกีดขวางบนท้องถนนและเข้ายึดครองอาคารสถานที่ของรัฐบาล. ในกรุงปารีส, de Gaulle ขอร้องให้ทหารยังคงจงรักภักดี และระดมประชาชนสนับสนุนต่อนโยบายอัลจีเรียของเขาในการปราศรัยทางโทรทัศน์

ส่วนใหญ่ของทหารให้ความเอาใจใส่ต่อการเรียกร้องของเขา และในอัลเจียร์ส นายพล Challe ได้ปลดชนวนการจลาจลลงอย่างรวดเร็ว. ความล้มเหลวของการจลาจลของ colons และการสูญเสียบรรดาผู้นำ ultra จำนวนมากซึ่งถูกจับกุมคุมขังอยู่ หรือได้ถูกส่งตัวไปยังที่อื่นๆ ไม่ได้ขัดขวางการสู้รบของ colons. กลุ่มที่ได้รับการจัดตั้งอย่างดีและกลุ่มที่นิยมวิธีการแบบศาลเตี้ย ซึ่งมีอาวุธอย่างดีได้เพิ่มกิจกรรมการก่อวินาศกรรมของพวกตนมากขึ้น ซึ่งได้ถูกกำกับให้สู้กับทั้งชนชาวมุสลิมและชาวยุโรปทั้งหลายที่ให้การสนับสนุนรัฐบาล ดังที่ได้มีการเคลื่อนไปสู่การเจรจาแก้ปัญหาเกี่ยวกับสงครามและการกำหนดชะตากรรมของตนเองที่ได้พัฒนาเข้มแข็งขึ้น. สำหรับขบวนการ FLN ที่มีการกบฏต่อฝรั่งเศส ได้ไปช่วยทำให้สงครามกลางเมืองระหว่างพวกสุดขั้วในสองชุมชน และระหว่างพวก ultra กับรัฐบาลฝรั่งเศสในอัลจีเรียเพิ่มเติมความรุนแรงมากขึ้น

7. ข้อตกลง Evian (The Evian Accords)
"การก่อจลาจลทั่วๆไป" เป็นเครื่องหมายของจุดเปลี่ยนท่าทีหรือทัศนคติที่เป็นทางการต่อสงครามอัลจีเรีย. มาถึงตอนนี้ De Gaulle ได้รับการตระเตรียมให้ละทิ้ง colons ไป. กลุ่มคนที่รัฐบาลฝรั่งเศสก่อนหน้านี้ไม่สามารถที่จะแก้ไขหรือเยียวยาได้. ทหารได้ถูกทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงและความไว้วางใจไปโดยการจลาจล และไม่เป็นที่ดึงดูดความสนใจทางการเมืองอีกต่อไป ตลอดเวลาที่เหลือในความเกี่ยวพันของฝรั่งเศสกับอัลจีเรีย

การเจรจากับขบวนการ FLN ได้เปิดขึ้นที่ Evian อีกครั้งในเดือนพฤษภาคม 1961; ภายหลังจากการเริ่มต้นที่ล้มเหลวมาแล้วหลายครั้ง รัฐบาลฝรั่งเศสออกคำสั่งว่า การหยุดยิงจะต้องมีผลในเดือนมีนาคม วันที่ 19 ปี 1962. ในรูปแบบสุดท้ายของพวกเขา, ข้อตกลง Evian ยินยอมให้ colons (ผู้ตั้งถิ่นฐาน)ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายอย่างเท่าเทียมกับชาวอัลจีเรียนตลอดช่วงเวลา 3 ปี. สิทธิต่างๆเหล่านี้รวมถึงการให้ความเคารพต่อทรัพย์สิน การมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะ และมีสิทธิต่างๆทางวัฒนธรรมและสิทธิในฐานะพลเมืองอย่างเต็มที่

แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงสิ้นสุดของเวลาดังกล่าว บรรดาชาวยุโรปได้ถูกบีบบังคับให้เป็นพลเมืองของอัลจีเรีย หรือถูกจัดแยกหมวดหมู่ในฐานะคนต่างด้าวกับการสูญเสียตามมาเกี่ยวกับสิทธิต่างๆของตนไป. ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งฝรั่งเศสเห็นด้วยกับข้อตกลง Evian โดยการลงคะแนนเสียงสนับสนุนอย่างท่วมท้นถึง 91 เปอร์เซนต์ในการลงประชามติที่จัดให้มีขึ้นในเดือนมิถุนายน 1962

ช่วงเวลา 3 เดือนระหว่างการหยุดยิง และการลงประชามติของฝรั่งเศสต่ออัลจีเรีย, The OAS ได้ปล่อยให้มีการต่อสู้กับการก่อการร้ายใหม่ขึ้นมา. The OAS หาหนทางปลุกเร้าให้เกิดการละเมิดในการหยุดยิงโดยขบวนการ FLN แต่มาถึงตอนนี้ การก่อการร้ายได้ถูกเล็งเป้าไปยังทหารและตำรวจฝรั่งเศสที่กำลังบังคับใช้ข้อตกลงดังกล่าว เช่นเดียวกันกับชนชาวมุสลิมทั้งหลาย

มันเป็นการนองเลือดที่ปราศจากความรับผิดชอบที่สุดในอัลจีเรียที่มีให้เห็นใน 8 ปีของสงครามอันป่าเถื่อน. โดยเฉลี่ยเกี่ยวกับปฏิบติการของ OAS คือมีการวางระเบิดประมาณวันละ 120 ครั้งในเดือนมีนาคม โดยมีเป้าหมายรวมถึงโรงเรียนและโรงพยาบาลต่างๆด้วย. ในท้ายที่สุด การก่อการร้ายก็ล้มเหลวในเป้าประสงค์ของมันเอง, และ OAS กับขบวนการ FLN ได้ลงเอยด้วยการตัดสินใจสงบศึกในวันที่ 17 มิถุนายน ปี 1962

ในเดือนเดียวกัน ผู้คน colons (ผู้ตั้งถิ่นฐาน) มากกว่า 350,000 คนได้ละทิ้งจากอัลจีเรียไป. ในปีนั้น ผู้อพยพ 1.4 ล้านคน รวมทั้งชุมชนชาวยิวเกือบทั้งหมด และชาวมุสลิมที่สนับสนุนฝรั่งเศส ได้ไหลบ่าเข้าสู่ประเทศฝรั่งเศส. มีชาวยุโรปน้อยกว่า 30,000 คนเลือกที่จะยังคงอยู่ในอัลจีเรียต่อไป

วันที่ 1 มิถุนายน 1962, 6 ล้านคนในจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งของอัลจีเรียทั้งหมด 6.5 ล้านคน ได้หย่อนบัตรเลือกตั้งของพวกเขา ในการลงประชามติให้อัลจีเรียเป็นอิสระ. การลงคะแนนเสียงเกือบจะเป็นเอกฉันท์. De Gaulle ได้ประกาศให้อัลจีเรียเป็นประเทศอิสระในวันที่ 3 มิถุนายนปีนั้น. อย่างไรก็ตาม การบริหารงานชั่วคราวได้รับการประกาศในวันที่ 5 มิถุนายน, อันเป็นปีที่ 132 ของการเฉลิมฉลองเกี่ยวกับการที่ฝรั่งเศสได้เข้าไปยึดครองอัลจีเรีย และในวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็นวันประกาศอิสรภาพแห่งชาติ

8. การอพยพของ Pieds-noirs และ harkis (The pieds-noirs' and harkis' exodus)
Pieds-noirs (รวมถึงชาวยิว) และ harkis คือจำนวนประชากรประมาณ 13 เปอร์เซนต์ของประชากรทั้งหมดของอัลจีเรียในปี 1962. เพื่อความชัดเจนในที่นี้ กลุ่มอพยพแต่ละกลุ่มจะได้รับการแยกอธิบายเพื่อความเข้าใจ ถึงแม้ว่าชะตากรรมอันทุกข์ทรมานของพวกเขาจะมีร่วมกันในหลายส่วนก็ตาม

8.1 Pieds-noirs
Pied-noir (literally "black foot") เป็นศัพท์คำหนึ่งซึ่งใช้อธิบายถึงประชากรที่สืบสายโลหิตมาจากชาวยุโรปที่อาศัยอยู่ในอัลจีเรียมาหลายชั่วรุ่น; บางครั้งหมายรวมถึงประชากรชาวยิวด้วย ซึ่งนอกจากนั้นยังหมายถึงผู้ที่อพยพออกจากอัลจีเรียหลังจากปี 1962

บรรดาชาวยุโรปได้มาถึงในฐานะชาวอาณานิคมจากทั่วเมดิเตอร์เรเนียน(โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝรั่งเศส, สเปน, และมอล์ต้า), เริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1830. ส่วนชาวยิวนั้นได้มาถึงหลายละลอกด้วยกัน บ้างก็มาตั้งแต่สมัยโรมัน ขณะที่ส่วนใหญ่ได้มาถึงในฐานะผู้อพยพหลบหนีการไต่สวนของพระชาวสเปน(ซึ่งกล่าวกันว่ามีความทารุณโหดร้ายมาก) และส่วนใหญ่อยู่ในอ้อมกอดพลเมืองและเอกลักษณ์ของชาวฝรั่งเศส หลังจาก the decret Cremieux ในปี ค.ศ.1871

ในปี ค.ศ.1959, the pieds-noirs มีจำนวนราว 1,025,000 คน (85 เปอร์เซ็นต์ของผู้สืบเชื้อสายมาจากชาวยุโรป, และ 15 เปอร์เซ็นต์ ของพวกที่สืบเชื่อสายมาจากชาวยิว) ซึ่งถือว่าเป็นประชากรราว 10.4 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดของอัลจีเรีย. เพียงไม่กี่เดือนในปี 1962 เท่านั้น คนยุโรปและชาวยิวเหล่านี้ประมาณ 9 แสนคนได้ละทิ้งจากประเทศนี้ไป. แรกทีเดียวอพยพก่อนมีการลงประชามติ การหาที่ตั้งรกรากใหม่ของมวลประชากรส่วนใหญ่ไปยังยุโรป นับจากสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา. คำขวัญหรือคติพจน์ท่ามกลางชุมชนชาวยุโรปและชาวยิวเหล่านี้คือ "Suitcase or coffin" ("La valise ou le cercueil") คือ "จะเตรียมกระเป๋าหรือจะเตรียมโลงศพ"

รัฐบาลฝรั่งเศสไม่มีการตระเตรียมแผนการสำหรับมวลชนจำนวนมากเหล่านี้ที่จะละทิ้งไป ซึ่งส่วนใหญ่มีการประมาณว่า อาจจะราว 2 แสนหรือ 3 แสนคน อาจเลือกที่จะไปยังมหานครฝรั่งเศสเป็นการชั่วคราว. ผลที่ตามมา ของการไม่มีแผนเตรียมตัวใดๆไว้สำหรับการอพยพครั้งใหญ่นี้ ทำให้ผู้คนจำนวนมากต้องนอนกันบนท้องถนน หรือละทิ้งไร่นาสำหรับการมาถึงมหานครฝรั่งเศส. พวก pieds-noirs ที่จากไปบางคนได้ทำลายข้าวของและทรัพย์สินของพวกตนลง แต่ทรัพย์สมบัติและบ้านเรือนของพวกเขาส่วนใหญ่ยังคงถูกทิ้งล้างโดยไม่บุบสลายอีกจำนวนมาก

ฉากต่างๆของผู้คนนับพันๆที่ตื่นตกใจและเสียขวัญ ได้ตั้งค่ายนับเป็นสัปดาห์ๆตามท่าเรือต่างๆของอัลจีเรีย เพื่อรอคอยพื้นที่ว่างบนเรือซึ่งจะไปยังฝรั่งเศส ถือเป็นภาพชินตานับจากเดือนเมษายนถึงสิงหาคมในปี 1962. สำหรับส่วนใหญ่ การจากไปเป็นเจตนาที่แน่วแน่โดยปราศจากความคิดที่จะหวนคืนกลับมา และความสิ้นหวังเป็นเรื่องทั่วไป ซึ่งก่อให้เกิดการละทิ้งผืนแผ่นดินถิ่นเกิดของพวกเขา. พวก pieds-noirs ประมาณ 1 แสนคนเลือกที่จะยังคงอยู่ต่อไป แต่ส่วนมากของคนเหล่านั้น ก็ค่อยๆทะยอยจากไปเช่นกันนับจากทศวรรษที่ 1960s ถึง 1970s

8.2 Harkis
สำหรับคำว่า harkis มากจากภาษาอาหรับ haraka (ความเคลื่อนไหว) คือบรรดาชาวมุสลิมอัลจีเรียน(ในฐานะที่เป็นพวกตรงกันข้ามกับชาวยุโรปและชนชาวยิว) ซึ่งต่อสู้อยู่ในฝ่ายเดียวกันกับทหารฝรั่งเศส. ศัพท์คำนี้ยังหมายรวมถึงชาวมุสลิมอัลจีเรียนที่ไม่ต่อสู้ ซึ่งได้ให้การสนับสนุนต่ออัลจีเรียฝรั่งเศส. ตามข้อมูลของฝรั่งเศส ในปี 1962 มีชาวอัลจีเรียนมุสลิมราว 236,000 คนต่อสู้เพื่อกองทหารฝรั่งเศส; บางคนได้ประมาณว่า รวมกับครอบครัวของพวกเขาแล้ว พวกเขาอาจมีจำนวนมากถึง 1 ล้านคน, แต่โดยทั่วไป 4 แสนคนได้ถูกอ้างถึงมากกว่า

ในปี 1962 พวก harkis ราว 91,000 คนได้บินไปยังฝรั่งเศส ทั้งๆที่นโยบายของฝรั่งเศสต่อต้านหรือไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้. พวก harkis ได้รับการมองว่าเป็นพวกทรยศหักหลังโดยชาวอัลจีเรียนจำนวนมาก และคนเหล่านั้นมากมายที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ต้องรับเคราะห์กรรมที่ตอบโต้อย่างรุนแรงตามมา หลังจากการปลดปล่อยอัลจีเรียให้เป็นอิสระ. บรรดานักประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสประมาณว่า บางแห่งมีพวก harkis ถูกฆ่าตายระหว่าง 50,000 ถึง 150,000 คนโดยพวก FLN หรือโดยฝูงชนที่ก่อม๊อบและจับคนขึ้นแขวนคอในอัลจีเรีย หลังจากการทรมานอย่างสาสมแล้ว

9. คนที่ตายในสงคราม (War dead)
พวกขบวนการ FLN ได้รับการประเมินในปี ค.ศ.1962 ว่า ตลอดระยะเวลาเกือบ 8 ปีของการปฏิวัติ ต้องสิ้นเปลืองผู้คนไปประมาณ 3 แสนคน จากมูลเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับสงคราม. จากต้นตอข้อมูลของอัลจีเรียนได้ให้ตัวเลขผู้สูญเสียประมาณ 1.5 ล้านคน ในขณะที่ข้อมูลของฝ่ายฝรั่งเศสประเมินว่ามีผู้เสียชีวิตราว 3 แสน 5 หมื่นคน

บรรดาเจ้าหน้าที่ทางด้านการทหารฝรั่งเศสได้จดรายชื่อผู้สูญเสียของพวกเขาเกือบ 18,000 คน (6,000 คน เสียชีวิตจากเรื่องที่ไม่ได้มาจากสาเหตุอันเกี่ยวเนื่องกับสงคราม) และมีทหารบาดเจ็บถึง 65,000 นาย. พลเรือนยุโรปที่เสียชีวิตมากกว่า 10,000 คน (รวมอีก 3,000 คน) ในเหตุการณ์ก่อการร้ายต่างๆที่ถูกบันทึกไว้รวม 42,000 คนที่ต้องตาย

ตามตัวเลขของฝรั่งเศส กองกำลังรักษาความปลอดภัยได้ฆ่าผู้ก่อกบฎไปถึง 141,000 คน และมากกว่า 12,000 คนที่เป็นชาวอัลจีเรียน ต้องตายไปในการกวาดล้างขบวนการ FLN ภายในช่วงระหว่างสงครามดังกล่าว. นอกจากนี้ยังมีผู้คนต้องเสียชีวิตอีกราว 5,000 คนในสงครามร้านกาแฟ "caf? wars"ในฝรั่งเศส ระหว่างขบวนการ FLN และกลุ่มคู่ปรับชาวอัลจีเรียนต่างๆ. แหล่งข้อมูลฝรั่งเศสยังประเมินว่า พลเรือนมุสลิมราว 70,000 คนได้ถูกฆ่าตาย หรือได้ถูกลักพาตัวไป และสันนิษฐานว่าถูกฆ่าโดยขบวนการ FLN

Alistair Horne ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์ได้ให้ข้อพิจารณาว่า จำนวนคนที่ตายในสงครามจริงๆอาจสูงกว่าตัวเลขที่ทางฝ่ายขบวนการ FLN และทางการฝรั่งเศสประเมิน แม้ว่าอาจจะไม่ถึง 1 ล้านคน ที่ยอมรับโดยรัฐบาลอัลจีเรียก็ตาม. อีกนับไม่ถ้วนเป็นพันๆของพลเรือนมุสลิม ต้องสูญเสียที่พักพิงของพวกเขาไปในการกวาดล้างของทหารฝรั่งเศส ด้วยการโจมตีด้วยระเบิดและการตอบโต้อย่างรุนแรง

สงครามได้ทำการถอนรากถอนโคนชาวอัลจีเรียนมากกว่า 2 ล้านคน ซึ่งถูกบีบบังคับให้ไปตั้งรกรากใหม่ในค่ายกักกันฝรั่งเศส หรือหลบหนีไปยังโมร็อคโค, ตูนีเซีย, และเข้าสู่เขตที่รกร้างตามชนบท ที่ซึ่งผู้คนมากมายนับเป็นพันๆต้องตายลงด้วยความอดอยากหิวโหย, เป็นโรค, และไร้ที่พักพิง. มากยิ่งไปกว่านั้น ชาวมุสลิมที่สนับสนุนฝรั่งเศสที่เรียกว่าพวก harkis ยังถูกฆ่าเมื่อขบวนการ FLN ได้มีการชำระบัญชีหลังจากการได้รับอิสรภาพ

ในปี ค.ศ.2001 นายพล Paul Aussaresses ได้เขียนในหนังสือของเขาว่า เขารู้สึกภูมิใจที่ได้รับคำสั่งให้ทรมานและประหารชีวิตชาวอัลจีเรียนในช่วงระหว่างสงคราม. ซึ่งผลจากงานเขียนนี้ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส Jacques Chirac ได้ปลดเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Legion d'Honneur ของเขาโดยทันที

10. ผลที่ตามมาอีกนานในการเมืองอัลจีเรียน (Lasting effects in Algerian politics)
หลังจากได้รับการยอมรับเกี่ยวกับอิสรภาพของอัลจีเรียแล้ว, Ahmed Ben Bella กลายเป็นผู้ได้รับความนิยมขึ้นมาอย่างรวดเร็ว และด้วยเหตุดังนั้นเขาจึงเป็นคนที่มีอำนาจมาก. ในเดือนมิถุนายน 1962 เขาได้ท้าทายต่อภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรี Benyoucef Ben Khedda ซึ่งอันนี้ได้นำไปสู่การโต้เถียงกันไปทั่ว ท่ามกลางคู่แข่งของเขาในกลุ่มขบวนการปฏิวัติ FLN, ซึ่งต่อมา ได้ถูกทำให้ยุติลงอย่างรวดเร็วโดยการสนับสนุนที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างมากในตัวของ Ben Bella, ส่วนใหญ่ปรากฏเด่นชัดในหมู่กองกำลังติดอาวุธทั้งหลาย

ในเดือนกันยายน 1962, Ben Bella ก็ได้ควบคุมอัลจีเรียทั้งหมด แม้ว่าจะไม่เป็นทางการก็ตาม และได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งวันที่ 20 กันยายน, และได้รับการยอมรับจากสหรัฐอเมริกาในวันที่ 29 กันยายนปีเดียวกันนั้น. อัลจีเรียได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติลำดับที่ 109 ในวันที่ 8 ตุลาคม 1962. หลังจากนั้น Ben Bella ก็ประกาศว่า อัลจีเรียจะดำเนินรอยตามแนวทางสายกลางในการเมืองโลก; ภายในสัปดาห์หนึ่งซึ่งเขาได้พบปะกับประธานาธิบดีสหรัฐ John F. Kennedy ซึ่งเขาได้ขอร้องให้ช่วยเหลืออัลจีเรียมากขึ้น, และได้พบกับประธานาธิบดี Fidel Casto ของคิวบา พร้อมแสดงออกถึงความเห็นพ้องกับความต้องการของ Casto สำหรับการปลดปล่อยอ่าวกวนตานาโม และหวนคืนกลับสู่อัลจีเรียโดยข้อร้องให้ฝรั่งเศสถอนตัวจากฐานที่มั่นต่างๆในอัลจีเรีย

ในเดือนพฤศจิกายน, รัฐบาลของ Ben Bella ได้ยุบพรรคการเมือง และตระเตรียมให้พรรคการเมืองเดียวคือ NLF ให้มีบทบาททางการเมืองอย่างเปิดเผย. หลังจากนั้นไม่นาน ในปี ค.ศ.1965, Ben Bella ได้ถูกปลดและถูกกักขังอยู่ในบ้าน(และต่อมาภายหลังได้ถูกเนรเทศ) โดย Houari Boum?di?nne, ผู้ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในปี 1978

อัลจีเรียยังคงมีเสถียรภาพ แม้ว่าจะเป็นรัฐที่มีพรรคการเมืองเดียวก็ตาม จนกระทั่งสงครามกลางเมืองที่รุนแรงระเบิดขึ้นอีกในทศวรรษ 1990s

 

ข้อมูลจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Algerian_War_of_Independence
From Wikipedia, the free encyclopedia.

 

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 630 เรื่อง หนากว่า 8300 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(จะมีการปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

พวกนิยมทำโทษด้วยวิธีการศาลเตี้ยในชุมชนผู้ตั้งถิ่นฐาน ซึ่งไม่มีอำนาจหน้าที่ในกิจกรรมใดๆ ถูกชักนำให้ร่วมมือแบบสมยอมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจฝรั่งเศสซึ่งมีอำนาจในมือ ให้ทำการไล่ล่าที่เรียกว่า ratonnades (ตามตัวอักษรคือ rat-hunts [ล่าหนู]; ซึ่งเป็นคำพ้องกับ Arab-killings [การฆ่าพวกอาหรับ]) เพื่อต่อสู้กับพวกผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกขบวนการ FLN ในหมู่ชุมชนมุสลิม

นับจากจุดเริ่มต้นของมันในปี ค.ศ.1954 ในฐานะนักต่อสู้กองโจรใต้ดินชั้นเลวที่มีจำนวนเป็นร้อย และติดอาวุธที่หลายหลากสับสน เช่น ปืนไรเฟิลสำหรับล่าสัตว์ และอาวุธเบาต่างๆที่ถูกทิ้งแล้วของฝรั่งเศส เยอรมัน และสหรัฐฯ, ขบวนการ ALN (ปีกทหารของการปฏิวัติ) ได้พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ.1957 เข้าสู่กองกำลังต่อสู้ที่มีวินัยซึ่งมีจำนวนเกือบ 40,000 คน ...ปี ค.ศ.1956-1957 ขบวนการ ALN ประสบความสำเร็จในการใช้ยุทธวิธีตีแล้วถอย ตามคัมภีร์การต่อสู้แบบกองโจร
คลาสสิค. พวกเขามีความชำนิชำนาญเกี่ยวกับซุ่มโจมตีและการจู่โจมตอนกลางคืน และหลีกเลี่ยงที่จะปะทะกับปืนไฟของฝรั่งเศสที่เหนือกว่า กองกำลังภายในมีเป้าหมายอยู่ที่กองทหารลาดตระเวน, ค่ายทหาร...

ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ : บทความทั้งหมดของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ
เจ้าของพื้นที่ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ
เว็ปไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้กับ Display properties : screen area 600 X 800 pixels ซึ่งจะให้ภาพที่คมชัดและสมบูรณ์ที่สุด
H

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 630 เรื่อง หนากว่า 8300 หน้า
ในรูปของ CD-ROM ในราคา 150 บาท
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50202 และอย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์

บทความวิชาการฟรีที่ผ่านมา ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพื่อประโยชน์ต่อการนำไปใช้อ้างอิง