บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 636 หัวเรื่อง
ฐานันดรที่สี่และฟาสซิสม์ไทย
ชำนาญ
จันทร์เรือง : เขียน
นักวิชาการอิสระ
สมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความบริการฟรี
ม.เที่ยงคืน
The
Midnight 's free article
Website
ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ความเป็นมาเชิงเปรียบเทียบ
ศักดิ์ศรีฐานันดรที่สี่
และ ฟาสซิสม์ไทย
ชำนาญ
จันทร์เรือง : เขียน
นักวิชาการอิสระ สมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หมายเหตุ
: บทความชิ้นนี้ได้รับมาจากผู้เขียน ประกอบด้วยบทความ ๒ ชิ้น
๑. เกียรติยศและศักดิ์ศรีแห่งฐานันดรที่สี่
๒. ไทยกับฟาสซิสม์
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๙ สิงหาคม ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 6.5 หน้ากระดาษ A4)
๑. เกียรติยศและศักดิ์ศรีแห่งฐานันดรที่สี่
ในยุคที่สื่อซึ่งเราถือกันว่าเป็นฐานันดรที่สี่
กำลังตกเป็นจำเลยว่าเป็นต้นเหตุของความวุ่นวายทั้งหลายที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองในปัจจุบัน
โดยไม่รู้ว่าวันใดจะถูกกฎหมายบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯเล่นงานเอานั้น
ผมจึงอยากจะนำเรื่องที่เกี่ยวกับสื่อที่ถูกมาตรการทางกฎหมายเล่นงานจนถึงกับต้องติดคุกติดตารางมาเล่าสู่กันฟัง
อันว่าอาชีพนักข่าวหรือนักหนังสือพิมพ์นั้นเป็นอาชีพที่เกิดขึ้นใหม่เมื่อประมาณร้อยกว่าปีมานี้เอง ซึ่งชาวยุโรปในสมัยโบราณมีการนับ "ฐานันดรศักดิ์" โดยแบ่งการนับคนออกเป็น 3 ฐานันดรศักดิ์ หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า ESTATE นั่นเอง
ฐานันดรที่หนึ่ง "ขัตติยะ"หรือ "กษัตริย์"(นักรบ)
ฐานันดรที่สอง "สมณะ" ได้แก่บรรพชิตผู้ทรงศีล
ฐานันดรที่สาม "บุคคลธรรมดา" ได้แก่ผู้ที่ทำการงานค้าขายหรือเพาะปลูก ฯลฯ
ส่วนที่จะมาเกี่ยวข้องกับนักข่าวหรือนักสือพิมพ์ก็คือ ในส่วนของการประชุมรัฐสภาของอังกฤษซึ่งในรัฐสภาของอังกฤษจะประกอบไปด้วยฐานันดรศักดิ์ทั้งสามคือ
ฐานันดรที่หนึ่ง ประกอบด้วยสภาขุนนางอันมี พวกขุนนางทั้งหลายที่สืบตระกูลกันมา
ฐานันดรที่สอง ประกอบด้วยบรรพชิต พระราชาคณะ
ฐานันดรที่สาม ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งคนธรรมดาที่ได้รับเลือกตั้งให้เป็นตัวแทนของตน
สาเหตุที่ทำให้เกิดมีคำว่า ฐานันดรที่สี่ อันหมายถึงผู้ประกอบอาชีพหนังสือพิมพ์ หรือนักข่าวมีที่มา คือ วันหนึ่งเมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมาได้มีการประชุมรัฐสภาอังกฤษ นายเอ็ดมันด์ เบิร์ก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่ง ลุกขึ้นอภิปรายในรัฐสภา โดยในการอภิปรายมีตอนหนึ่งที่นายเอ็ดมันด์ เบิร์ก ได้กล่าวขึ้นว่า "ในขณะที่เราทั้งหลายที่เป็นฐานันดรใดฐานันดรหนึ่ง ทั้งสามกำลังประชุมกันอยู่นี้เราพึงคำนึงไว้ด้วยว่า บัดนี้ได้มีฐานันดรที่สี่เกิดขึ้นแล้ว และฐานันดรนั้นกำลังฟังการประชุมของเราอยู่ ณ ที่นี้ด้วย"
เมื่อนายเอ็ดมันด์ เบิร์ก ได้พูดขึ้นดังนี้แล้วเขาก็ชี้มือไปยังกลุ่มคนหนังสือพิมพ์ ซึ่งได้พากันมานั่งฟังการประชุม ณ ที่ที่ทางการได้จัดให้ไว้โดยเฉพาะ นับแต่นั้นมากลุ่มบุคคล หรือ คณะบุคคลที่ประกอบอาชีพหนังสือพิมพ์หรือนักข่าวก็ได้ชื่อว่าพวก "ฐานันดรที่สี่" จนตราบเท่าทุกวันนี้
ที่ยกเรื่องฐานันดรทั้งสี่มาเสียยืดยาวก็เนื่องเพราะว่าผมได้อ่านข่าวที่น่าสนใจอย่างยิ่งข่าวหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่ศาลแขวงวอชิงตัน สั่งขังนักข่าวของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ เพราะเหตุไม่ยอมเปิดเผยแหล่งข่าว โดยเมื่อวันพุธที่ 6 กรกฎาคม ที่ผ่านมา หัวหน้าผู้พิพากษาศาลแขวงวอชิงตัน ทอมัส โฮแกน ได้สั่งจำคุกนางจูดิธ มิลเลอร์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ หลังจากเธอยืนยันรักษาคำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้กับแหล่งข่าวว่า เธอจะไม่เปิดเผยตัวคนให้ข่าว
โดยคณะลูกขุนกำลังพยายามไต่สวนว่าเจ้าหน้าที่คนใดในรัฐบาลบุช เป็นผู้เปิดเผยชื่อของจารชนซีไอเอให้แก่สื่อมวลชน ผู้พิพากษาโฮแกนบอกว่านางมิลเลอร์ต้องอยู่ในคุกไปจนกว่าจะยอมบอกว่าใครเป็นคนให้ข่าว หรือจนกว่าจะพ้นสมัยของลูกขุนชุดนี้ ซึ่งจะดำรงตำแหน่งไปจนสิ้นเดือนตุลาคม
คดีนี้เป็นที่ถกเถียงกันมากในเรื่องเสรีภาพของสื่อมวลชน เพราะนางมิลเลอร์บอกกับผู้พิพากษาว่า นางไม่ต้องการถูกจำคุก แต่ไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากปกป้องแหล่งข่าวด้วยจิตสำนึกส่วนตน และยืนหยัดในเสรีภาพของสื่อมวลชน "หากนักข่าวไม่ได้รับความเชื่อมั่นไว้วางใจในเรื่องการรักษาความลับ นักข่าวก็ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ แล้วสื่อเสรีก็จะไม่มี" นางกล่าวชัดถ้อยชัดคำด้วยน้ำเสียงเด็ดเดี่ยวภายในห้องพิจารณาคดี ซึ่งมีผู้เข้าฟังแน่นขนัด ซึ่งรวมถึงสามีและหัวหน้ากองบรรณาธิการของนางด้วย
นางบอกกับผู้พิพากษาว่าจะไม่ให้การในคดีนี้
"ดิฉันไม่ได้ให้คำมั่นเรื่องการปกปิดชื่อแหล่งข่าวอย่างชุ่ยๆ เมื่อดิฉันให้สัญญากับแหล่งข่าวแล้ว
ดิฉันต้องยึดมั่นในคำสัญญา หากดิฉันไม่ยึดมั่น ดิฉันจะคาดหวังให้ใครๆ เชื่อในคำพูดของดิฉันได้อย่างไร"
นางกล่าว "ข้าแต่ศาลที่เคารพ ในคดีนี้ดิฉันไม่สามารถสับปลับเพื่อให้ตัวเองพ้นคุกได้
คำมั่นสัญญาที่จะปกปิดแหล่งข่าวต้องได้รับการเคารพ มิฉะนั้น นักข่าวจะสูญเสียความน่าเชื่อถือ
แล้วสังคมจะเป็นฝ่ายสูญเสียในท้ายที่สุด"
นายแพทริก ฟิตซ์เจอรัลด์ อัยการ ต้องการรู้ว่าใครในรัฐบาลบุชเป็นผู้เปิดเผยชื่อ นางวาเลอรี พลาเม เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการลับของซีไอเอแก่สื่อมวลชนเมื่อปี 2546 ทั้งนี้ สามีนักการทูตของนางพลาเมกล่าวว่า เจ้าหน้าที่ในรัฐบาลบุชเป็นผู้เปิดเผยชื่อภรรยาของตน เพราะตนวิจารณ์รัฐบาลในเรื่องสงครามอิรัก
ข่าวล่าสุดของคดีนี้ปรากฏว่าถึงแม้ว่า แหล่งข่าวของนางมิลเลอร์ยินยอมที่จะให้เปิดเผยชื่อของตนแล้วก็ตาม แต่นางมิลเลอร์ยังยืนหยัดในหลักการที่จะไม่เปิดเผยชื่อแหล่งข่าวต่อไป เพราะวงการสื่อมวลชนถือว่า การใช้แหล่งข่าวที่ปกปิดนามจริงเป็นสิ่งสำคัญในการรายงานข่าว เช่น การเปิดโปงพฤติกรรมไม่ชอบมาพากลอย่างกรณีคดีวอเตอร์เกต ซึ่งได้โค่นเก้าอี้ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ตลอดจนการเผยแพร่เอกสารของเพนตากอนว่าด้วยสงครามเวียดนาม
จากคดีตัวอย่างนี้เมื่อหันย้อนกลับมาดูฐานันดรสี่ของไทยเราก็พบว่าได้มีการประกาศจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ โดยสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติเช่นกันเมื่อปี ๒๕๔๑ ซึ่งมีบางข้อเกี่ยวกับการปกปิดแหล่งข่าว หรือแนวทางการเสนอข่าวไว้อย่างน่าสนใจ คือ
".......................
ข้อ ๑๓ หนังสือพิมพ์ต้องไม่เสนอข่าวโดยเลื่อนลอยปราศจากแหล่งที่มา พึงระบุชื่อบุคคลที่ให้สัมภาษณ์ หรือให้ข่าวอย่างเปิดเผย เว้นแต่จะมีเหตุผลอันควรปกปิดเพื่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของแหล่งข่าว และต้องเป็นประโยชน์ต่อสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของสาธารณชน
ข้อ ๑๔ หนังสือพิมพ์ต้องปกปิดชื่อ และฐานะของบุคคลที่ให้ข่าวไว้เป็นความลับ หากได้ให้คำมั่นแก่แหล่งข่าวนั้นไว้ หนังสือพิมพ์ต้องปกปิดนามปากกาหรือนามแฝง ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์นั้นไว้เป็นความลับ
........................
ข้อ ๑๖ การพาดหัวข่าวและความนำของหนังสือพิมพ์ต้องไม่เกินไปจากข้อเท็จจริงในข่าว
และต้องสะท้อนใจความสำคัญหรือเนื้อหาหลักของข่าว
........................ "
ส่วนความหมายของคำว่าฟาสซิสม์ (fascism) นั้นมาจากศัพท์ภาษาลาตินว่า Fasces แปลว่า การผูกไว้ด้วยกัน ซึ่งมุสโสลินีให้ความหมายว่า คือการผูกมัดอำนาจรัฐกับอำนาจบรรษัท (Fascism should be called corporation since it is the merger of state and corporate power)
แนวความคิดของฟาสซิสม์พอสรุปใจความสำคัญได้ดังนี้
1.แนวความคิดเรื่องรัฐ
ฟาสซิสม์มีแนวความคิดที่ว่า รัฐมีความสำคัญกว่าปัจเจกบุคคล ซึ่งอยู่คนละขั้วกับเสรีนิยม เพราะเสรีนิยมมองว่าหน้าที่ของรัฐคือ การปฏิบัติต่อปัจเจกบุคคล แต่ฟาสซิสม์มองกลับกันคือ ปัจเจกบุคคลจะต้องปฏิบัติรับใช้รัฐ
รัฐในความหมายของฟาสซิสม์จึงมีอำนาจเผด็จการ มุสโสลินีมองประเด็นนี้ว่า ประชาชนและกลุ่มธุรกิจต้องทำงานเพื่ออุทิศแก่รัฐ รัฐบาลจะเป็นผู้ชี้ขาดและมีอำนาจสูงสุด เป็นการแบ่งแยกชนชั้นกันชัดเจนระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง นอกจากนี้รัฐบาลของฟาสซิสม์ยังควบคุมทุกอย่างไม่ว่า จะเป็นการศึกษา การสื่อสาร และองค์ความรู้ต่างๆ
2.ชาตินิยม
ฟาสซิสม์มุ่งเน้นความเป็นชาติที่มีความหมายถึงประชาชนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน ลัทธิฟาสซิสม์สนับสนุนให้ประชาชนอุทิศตนเองให้กับชาติเหนือสิ่งอื่นใดๆทั้งมวล
3.ต่อต้านเสรีนิยม
ฟาสซิสม์ไม่ได้ต่อต้านรัฐที่เป็นเสรีนิยมเท่านั้น แต่ฟาสซิสม์ยังต่อต้านแนวความคิดของพวกเสรีนิยมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นระบบการเมืองแบบรัฐสภา ฟาสซิสม์มองว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีพรรคฝ่ายค้าน เพราะจะทำให้ประเทศพัฒนาไปอย่างเชื่องช้าเพราะมัวแต่ถกเถียงกัน
4.ลัทธิทหารนิยม
ลัทธิทหารนิยมถูกนำมาเพื่อสร้างอำนาจเด็ดขาดสำหรับผู้นำของประเทศ ในกรณีของนโยบายระหว่างประเทศลัทธิฟาสซิสม์ มักจะรุกรานประเทศอื่นๆเพื่อขยายดินแดนเพิ่มเติม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อิตาลีรุกรานเอธิโอเปีย เช่นเดียวกับ ฮิตเลอร์ที่ฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายและบุกประเทศโปแลนด์ในช่วงเดียวกัน ส่วนภายในประเทศลัทธิทหารนิยมก็จะถูกนำมาใช้ปราบปรามผู้ที่มีความเห็นขัดแย้งกับผู้นำ
5.ความเป็นเผด็จการ
ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งของลัทธิฟาสซิสม์คือ ความเป็นเผด็จการของผู้นำประเทศแต่เพียงผู้เดียว นอกจากนี้ยังมีการเชิดชูผู้นำหลายวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นการติดรูปขนาดใหญ่ การสร้างรูปปั้นของผู้นำทั่วประเทศ การนำชื่อผู้นำไปตั้งเป็นชื่อสถานที่สำคัญๆและ ผู้นำจะมีความเชื่อมั่นว่าตนเองเป็นผู้มีความฉลาดสูงสุด และมักจะทำอะไรถูกไปหมด
6.ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์
ฟาสซิสม์มักจะต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อยู่เสมอ ถึงแม้ว่าฟาสซิสม์จะมีอะไรหลายอย่างคล้ายคลึงกับลัทธิคอมมิวนิสต์ก็ตาม ด้วยฟาสซิสม์เป็นศัตรูโดยตรงกับลัทธิคอมมิวนิสต์นี่เอง ในช่วงสงครามเย็นประเทศสหรัฐอเมริกาจึงใช้ประเทศเผด็จการทหารแบบฟาสซิสม์ เป็นเครื่องมือในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์
เคมาล อตาเติร์ก ผู้เผด็จการชาวตุรกี ก็ใช้ชาตินิยมผนึกชาวเติร์กแล้วเข่นฆ่าชาวกรีกและอาร์เมเนียนเป็นเรือนแสน บังคับให้ประชาชนแต่งตัวแบบสากลนิยม เลิกประเพณีเก่าแก่เปลี่ยนอักษรจากอาหรับเป็นโรมัน ฯลฯ จนเป็นเหตุในตุรกีไม่สงบมาจนถึงปัจจุบัน
ส่วนในของเอเชียเราก็เริ่มด้วยญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลก ทหารได้ยึดอำนาจรัฐ ยกเลิกระบบประชาธิปไตย รุกรานจีนแล้วนำประเทศเข้าสู่ความพินาศในสงครามโลกครั้งที่ 2
หันกลับมาดูประเทศไทยเรา จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ก่อตั้งรัฐเผด็จการทหารแบบญี่ปุ่นขึ้น แล้วใช้วิธีการโฆษณาชวนเชื่อปลุกระดมความหลงชาติ คลั่งชาติ สร้างรัฐนิยม เช่น การใส่หมวกแบบฝรั่ง รณรงค์ให้เลิกกินหมากหรือแม้กระทั่งปลุกความเชื่อว่า "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" ห้ามการเรียนการสอนภาษาจีน เพราะหวาดกลัวอิทธิพลของคอมมิวนิสต์จีน
ที่ร้ายที่สุดก็คือการนำประเทศไทยเข้าฝ่ายอักษะ ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร แล้วยังส่งกองทัพเข้ายึดดินแดนบางส่วนของประเทศเพื่อนบ้าน ภายหลังเมื่อฝ่ายอักษะแพ้สงคราม หากไม่มี"เสรีไทย"มาช่วยกอบกู้สถานการณ์ไว้แล้ว ไทยเราก็คงอยู่ในภาวะการณ์ของการเป็นประเทศผู้แพ้สงครามตกเป็นเชลยศึกของฝ่ายอักษะเป็นแน่
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง มุสโสลินีถูกจับยิงเป้าแล้วแขวนศพประจาน ฮิตเลอร์ฆ่าตัวตาย และนายพลโตโจถูกแขวนคอ บ้านเมืองของเขากลับสู่ภาวะประชาธิปไตย แต่ของไทยเรากลับไม่เป็นเช่นนั้น จอมพล ป. กลับคืนสู่อำนาจและถูกรัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ จนต้องหนีออกนอกประเทศไป และเมื่อจอมพลสฤษดิ์สิ้นชีวิตลงก็ถูกยึดทรัพย์โดยจอมพลถนอมที่ครองอำนาจคู่กับจอมพลประภาส จวบจนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จึงได้สิ้นอำนาจลง และก็ถูกยึดทรัพย์อีกเช่นกัน
เหตุการณ์ต่างๆก็ทำท่าว่าจะไปด้วยดี หากไม่มีเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และรสช.เกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดเหตุพฤษภาทมิฬ 2535 แล้วก็ดูเหมือนว่าลัทธิฟาสซิสม์จะสิ้นชีพไปจากเมืองไทยแล้ว แต่เมื่อมาพิเคราะห์ถึงสถานการณ์บ้านเมืองของไทยในปัจจุบันแล้ว จะเห็นได้ว่าแทบไม่ต่างกับเหตุการณ์ในอดีตแต่อย่างใดเลย เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบใหม่จากการยึดอำนาจโดยทหาร มาเป็นการยึดอำนาจแบบเบ็ดเสร็จโดยนายทุนไม่กี่ตระกูลเท่านั้นเอง
นโยบายต่างๆไม่ว่า การที่ต้องเชื่อฟังท่านผู้นำตามมาตรการมงฟอร์ต หรือการใช้มาตรการรุนแรง การฆ่าตัดตอน การอุ้มฆ่าหรือล่าสุดก็คือการออกกฎหมายปิดปากที่เปรียบเสมือนกับการปิดประตูตีแมวไม่ให้คนนอกเข้าไปรู้เห็น ไม่ให้เสียงที่ร้องโหยหวนจาการทารุณกรรมดังออกไปข้างนอก ฯลฯ นั้นไม่ต่างกับยุคสมัยที่ฟาสซิสม์ครองเมืองแต่อย่างใด
กงล้อประวัติศาสตร์มักจะหมุนย้อนกลับมาเวียนรอบอีกเสมอ
หากยังปฏิบัติในรูปรอยเดิมและบทสุดท้ายของผู้นำที่ใช้อำนาจเกินขอบเขตไม่ว่าจะเป็นมุสโสลินี
ฮิตเลอร์ โตโจ จอมพล ป. จอมพลถนอม จอมพลประภาส เป็นอย่างไรบ้าง ย่อมเป็นบทเรียนที่ดีและมีตัวอย่างให้เห็นมาแล้วในอดีต
แล้วเรายังจะเดินรอยตามอยู่อีกหรือ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา
3
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
e-mail
: midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 630 เรื่อง หนากว่า 8300 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(จะมีการปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง
จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
ฟาสซิสม์มักจะต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อยู่เสมอ
ถึงแม้ว่าฟาสซิสม์จะมีอะไรหลายอย่างคล้ายคลึงกับลัทธิคอมมิวนิสต์ก็ตาม ด้วยฟาสซิสม์เป็นศัตรูโดยตรงกับลัทธิคอมมิวนิสต์นี่เอง
ในช่วงสงครามเย็นประเทศสหรัฐอเมริกาจึงใช้ประเทศเผด็จการทหารแบบฟาสซิสม์ เป็นเครื่องมือในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์
ชาติที่นำความคิดแบบฟาสซิสม์มาใช้นอกเหนือจากมุสโสลินีอิตาลีแล้ว ก็มีฮิตเลอร์เยอรมัน
สาเหตุที่ทำให้เกิดมีคำว่า
ฐานันดรที่สี่ อันหมายถึงผู้ประกอบอาชีพหนังสือพิมพ์ หรือนักข่าวมีที่มา คือ
วันหนึ่งเมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมาได้มีการประชุมรัฐสภาอังกฤษ นายเอ็ดมันด์
เบิร์ก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่ง ลุกขึ้นอภิปรายในรัฐสภา โดยในการอภิปรายมีตอนหนึ่งที่นายเอ็ดมันด์
เบิร์ก ได้กล่าวขึ้นว่า "ในขณะที่เราทั้งหลายที่เป็นฐานันดรใดฐานันดรหนึ่ง
ทั้งสามกำลังประชุมกันอยู่นี้เราพึงคำนึงไว้ด้วยว่า
บัดนี้ได้มีฐานันดรที่สี่เกิดขึ้นแล้ว และฐานันดรนั้นกำลังฟังการประชุมของเราอยู่
ณ ที่นี้ด้วย" เมื่อนายเอ็ดมันด์ เบิร์ก ได้พูดขึ้นดังนี้แล้ว
เขาก็ชี้มือไปยังกลุ่มคนหนังสือพิมพ์ ซึ่งได้พากันมานั่งฟังการประชุม
ณ ที่ที่ทางการได้จัดให้ไว้โดยเฉพาะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 630 เรื่อง หนากว่า 8300 หน้า
ในรูปของ CD-ROM ในราคา 150 บาทสนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง สมเกียรติ
ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง
สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
50202 และอย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์