บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 632 หัวเรื่อง
กติกาว่าด้วยสิทธิพลเมือง
สุภัตรา
ภูมิประภาส และ
กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืน
บทความบริการฟรี ม.เที่ยงคืน
The
Midnight 's free article
Website
ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
สุภัตรา
ภูมิประภาส
และกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หมายเหตุ
: ข้อมูลเกือบทั้งหมดของงานชิ้นนี้ ได้รับมาจากคุณ สุภัตรา ภูมิประภาส
ซึ่งทางกองบรรณาธิการได้นำมาเรียบเรียงและจัดหาข้อมูลเพิ่มเติม
ในส่วนที่จำเป็นต่อการทำความเข้าใจ
ประเทศไทยกับการเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน"
(Human Rights Committee) ของสหประชาชาติ
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๔ สิงหาคม ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 12.5 หน้ากระดาษ A4)
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
[International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR]
ข้อมูลเหล่านี้ต่อเนื่องจากบทความลำดับที่
631 เรื่อง 26 คำถามยูเอ็น ปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยนชนในไทย
ในส่วนที่เกี่ยวกับการอ้างอิงบทบัญญัติต่างๆของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
[ICCPR - International Covenant on Civil and Political Rights] หลังจากที่ประเทศไทยได้ส่งรายงานฉบับแรกแก่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2547 ซึ่งคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นอิสระจำนวน
18 คน ได้มีคำถามเพิ่มเติมจำนวน 26 ข้อมายังประเทศไทย โดยทางคณะกรรมการจะมีการตรวจสอบรายงานดังกล่าวในระหว่างวันที่
19-20 กรกฎาคม 2548 นี้ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ประเด็นคำถามที่ 1,2,3 ของคณะกรรมการฯ เกี่ยวกับกรอบการทำงานของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ได้มีการปฏิบัติตามกติกาฯ
ข้อ 2
1. รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่ง กติกาฉบับนี้รับที่จะเคารพและประกันแก่ปัจเจกบุคคลทั้งปวงในดินแดนของตนในสิทธิทั้งหลายที่ได้รับรองไว้ในกติกานี้ โดยปราศจากการแบ่งแยกใดๆ อาทิ เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นๆ
2. ในกรณีที่ยังไม่มีมาตรการทางนิติบัญญัติหรือมาตรการอื่นใด รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกานี้รับที่จะดำเนินการตามขั้นตอนที่จำเป็น ตามกระบวนการรัฐธรรมนูญของตนและบทบัญญัติแห่งกติกาฉบับนี้ เพื่อให้มีมาตรการทางนิติบัญญัติหรือมาตรการอื่นใดที่อาจจำเป็น เพื่อให้สิทธิทั้งหลายที่รับรองไว้ในกติกาฉบับนี้เป็นผล
3. รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกานี้รับที่จะ
(ก) ประกันว่า บุคคลใดที่สิทธิหรือเสรีภาพของตนซึ่งรับรองไว้ในกติกานี้ถูกละเมิด ต้องได้รับการเยียวยาอย่างเป็นผลจริงจัง โดยไม่ต้องคำนึงว่าการละเมิดนั้นจะกระทำโดยบุคคลผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่
(ข) ประกันว่า บุคคลใดที่เรียกร้องการเยียวยาดังกล่าวย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาจากฝ่ายตุลาการ ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายนิติบัญญัติที่มีอำนาจ หรือ จากหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจตามที่กำหนดไว้โดยระบบกฎหมายของรัฐ และจะพัฒนาหนทางการเยียวยาด้วยกระบวนการยุติธรรมทางศาล
(ค) ประกันว่า เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจต้องบังคับการให้การเยียวยานั้นเป็นผล
ข้อ 4
1. ในภาวะฉุกเฉินสาธารณะซึ่งคุกคามความอยู่รอดของชาติ และได้มีการประกาศภาวะนั้นอย่างเป็นทางการ
รัฐภาคีแห่งกติกานี้อาจใช้มาตรการที่เป็นการพันธกรณีของตนภายใต้กติกานี้ได้เพียงเท่าที่จำเป็นตามความฉุกเฉินของสถานการณ์
ทั้งนี้ มาตรการเช่นว่านั้นจะต้องไม่ขัดแย้งต่อพันธกรณีอื่นๆ ของตน ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
และไม่เป็นการเลือกปฏิบัติเพียงเหตุแห่งเชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา หรือเผ่าพันธุ์ทางสังคม
2. การเลี่ยงพันธกรณีตามข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 (วรรค 1 และ 2) ข้อ 11 ข้อ 15 ข้อ 16 และ ข้อ18 ไม่อาจทำได้ภายใต้บทบัญญัติของข้อนี้
3. รัฐภาคีใดแห่งกติกานี้ที่ใช้สิทธิการเลี่ยงดังกล่าวต้องแจ้งรัฐภาคีอื่นแห่งกติกานี้โดยทันที เพื่อให้ทราบถึงบทบัญญัติซึ่งตนได้เลี่ยงและเหตุผลแห่งการเลี่ยงดังกล่าว โดยให้เลขาธิการสหประชาชาติเป็นสื่อกลาง ให้มีการแจ้งโดยผ่านสื่อเดิม ในวันที่รัฐนั้นยุติการเลี่ยงดังกล่าว
ข้อ 6
1. มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตมาแต่กำเนิด สิทธินี้ต้องได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมาย
บุคคลจะต้องไม่ถูกทำให้เสียชีวิตโดยอำเภอใจ
2. ในประเทศที่ยังมิได้ยกเลิกโทษประหารชีวิต การลงโทษประหารชีวิตอาจกระทำได้เฉพาะคดีอุกฉกรรจ์ที่สุด ตามกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำผิด และไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกติกานี้ และอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและการลงโทษอาชญากรรมล้างเผ่าพันธุ์ การลงโทษเช่นว่านี้ จะกระทำได้ก็แต่โดยคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลที่มีอำนาจ
3. ในกรณีที่การทำให้เสียชีวิตมีลักษณะเป็นอาชญากรรมล้างเผ่าพันธุ์ ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าข้อนี้มิได้ให้อำนาจรัฐภาคีใดแห่งกติกานี้ ในอันที่จะเลี่ยงจากพันธกรณีใดที่มีตามบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมล้างเผ่าพันธุ์
4. บุคคลใดต้องคำพิพากษาประหารชีวิต ย่อมมีสิทธิขออภัยโทษหรือลดหย่อนผ่อนโทษตามคำพิพากษา การนิรโทษกรรม การอภัยโทษ หรือการลดหย่อนผ่อนโทษตามคำพิพากษาประหารชีวิตอาจให้ได้ในทุกกรณี
5. บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่กระทำความผิดจะถูกพิพากษาประหารชีวิตมิได้ และจะดำเนินการประหารชีวิตสตรีขณะมีครรภ์มิได้
6. รัฐภาคีใดแห่งกติกานี้จะยกข้อนี้ขึ้นอ้างเพื่อประวิง หรือขัดขวางการยกเลิกโทษประหารชีวิตมิได้
ข้อ 7
บุคคลจะถูกทรมาน หรือได้รับการปฏิบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม
หรือต่ำช้ามิได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคคลจะถูกใช้ในการทดลองทางการแพทย์ หรือทางวิทยาศาสตร์
โดยปราศจากความยินยอมอย่างเสรีของบุคคลนั้น
ข้อ 8
1. บุคคลจะถูกเอาตัวลงเป็นทาสมิได้ การเอาคนลงเป็นทาสและการค้าทาสทุกรูปแบบจะต้องถูกห้าม
2. บุคคลจะถูกบังคับให้ตกอยู่ในภาวะเยี่ยงทาสมิได้
3.(ก)
บุคคลจะถูกเกณฑ์แรงงานหรือบังคับใช้แรงงานมิได้
(ข) ในประเทศที่การลงโทษจำคุกควบกับการทำงานหนักเป็นโทษทางอาญาอย่างหนึ่ง
ความในวรรค 3 (ก) มิได้ห้ามการทำงานหนักตามคำพิพากษาที่ให้ลงโทษเช่นว่านั้นของศาลที่มีอำนาจ
(ค) เพื่อวัตถุประสงค์ของวรรคนี้ คำว่า "แรงงานที่ถูกเกณฑ์หรือถูกบังคับ" ไม่หมายรวมถึง
(1) งานหรือการบริการใด ซึ่งมิได้อ้างถึงในอนุวรรค (ข) ซึ่งโดยปรกติบุคคลผู้ถูกควบคุมโดยผลของคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของศาล หรือบุคคลผู้อยู่ระหว่างการปล่อยตัวจากการควบคุมโดยมีเงื่อนไขต้องกระทำตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(2) การปฏิบัติงานใดในลักษณะทางทหาร และการรับใช้ชาติตามที่กฎหมายกำหนด ให้ผู้คัดค้านการเป็นทหารเพราะขัดกับมโนธรรมต้องปฏิบัติ ในประเทศที่ยอมรับการคัดค้านเช่นว่านั้น
(3) การเกณฑ์ให้ปฏิบัติงานใดในกรณีฉุกเฉินหรือกรณีภัยพิบัติที่คุมคามความอยู่รอดหรือความผาสุกของชุมชน
(4) งานหรือบริการใดอันเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ปกติชองพลเมือง
2. ในขณะจับกุม บุคคลใดที่ถูกจับกุมจะต้องได้รับแจ้งถึงเหตุผลในการจับกุม และจะต้องได้รับแจ้งถึงข้อหาที่ถูกจับกุมโดยพลัน
3. บุคคลใดที่ถูกจับกุมหรือควบคุมตัวในข้อหาทางอาญา จะต้องถูกนำตัวโดยพลันไปยังศาล หรือเจ้าหน้าที่อื่นที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะใช้อำนาจทางตุลาลาการ และจะต้องมีสิทธิได้รับการพิจารณาคดีภายในเวลาอันสมควร หรือได้รับการปล่อยตัวไป มิให้ถือเป็นหลักทั่วไปว่าจะต้องควบคุมบุคคลที่รอการพิจารณาคดี แต่ในการปล่อยตัวอาจกำหนดให้มีการประกันว่าจะกลับมาปรากฎตัวในการพิจารณาคดี ในขั้นตอนอื่นของการพิจารณา และจะมาปรากฎตัวเพื่อการบังคับตามคำพิพากษา เมื่อถึงวาระนั้น
4. บุคคลใดที่ถูกลิดรอนเสรีภาพโดยการจับกุมหรือการควบคุม มีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาล เพื่อให้ศาลตัดสินโดยไม่ชักช้าถึงความชอบด้วยกฎหมายของการควบคุมผู้นั้น และหากการควบคุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวไป
5. บุคคลใดที่ถูกจับกุมหรือถูกควบคุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทน
ประเด็นคำถามที่ 6,7,8,9 ของคณะกรรมการเกี่ยวกับเรื่องการไม่เลือกปฏิบัติ และความเท่าเทียมแห่งเพศสภาพ สิทธิของบุคคลที่เป็นชนกลุ่มน้อยต่างๆ ตามกติกาฯ ข้อ 2 (1), 3, 26, 27
ข้อ 2 (1)
รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกาฉบับนี้รับที่จะเคารพ และประกันแก่ปัจเจกบุคคลทั้งปวงในดินแดนของตน
ในสิทธิทั้งหลายที่ได้รับรองไว้ในกติกานี้ โดยปราศจากการแบ่งแยกใดๆ อาทิ
เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด
เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นๆ
ข้อ 3
รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับที่จะประกันสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรี ในการที่จะอุปโภคสิทธิพลเมือง
และสิทธิทางการเมืองทั้งปวงดังที่ได้ระบุไว้ในกติกานี้
ข้อ 26
บุคคลทั้งปวงย่อมเสมอภาคกันตามกฎหมาย และมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันตามกฎหมาย
โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใดๆ ในกรณีนี้กฎหมายจะต้องห้ามการเลือกปฏิบัติใดๆ
และต้องประกันการคุ้มครองบุคคลทุกคนอย่างเสมอภาคและเป็นผลจริงจังจากการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลใด
เช่น เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด
เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นๆ
ข้อ 27
ในรัฐทั้งหลายซึ่งมีชนกลุ่มน้อยทางเผ่าพันธุ์ ศาสนา หรือภาษาอยู่ บุคคลผู้เป็นชนกลุ่มน้อยดังกล่าว
จะไม่ถูกปฏิเสธสิทธิในอันที่จะมีวัฒนธรรมของตนเอง หรือนับถือและประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของตนเอง
หรือใช้ภาษาของตนเอง ภายในชุมชนร่วมกับสมาชิกอื่นๆ ของชนกลุ่มน้อยด้วยกัน
ประเด็นคำถามที่ 10,11,12,13 ของคณะกรรมการเกี่ยวกับสิทธิในชีวิต การป้องกันการทรมาน ตามกติกาฯ ข้อ 6 และ 7
ข้อ
6
1. มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตมาแต่กำเนิด สิทธินี้ต้องได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมาย
บุคคลจะต้องไม่ถูกทำให้เสียชีวิตโดยอำเภอใจ
2. ในประเทศที่ยังมิได้ยกเลิกโทษประหารชีวิต การลงโทษประหารชีวิตอาจกระทำได้เฉพาะคดีอุกฉกรรจ์ที่สุดตามกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำผิดและไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกติกานี้ และอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและการลงโทษอาชญากรรมล้างเผ่าพันธุ์ การลงโทษเช่นว่านี้ จะกระทำได้ก็แต่โดยคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลที่มีอำนาจ
3. ในกรณีที่การทำให้เสียชีวิตมีลักษณะเป็นอาชญากรรมล้างเผ่าพันธุ์ ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าข้อนี้มิได้ให้อำนาจรัฐภาคีใดแห่งกติกานี้ในอันที่จะเลี่ยงจากพันธกรณีใดที่มีตามบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมล้างเผ่าพันธุ์
4. บุคคลใดต้องคำพิพากษาประหารชีวิต ย่อมมีสิทธิขออภัยโทษหรือลดหย่อนผ่อนโทษตามคำพิพากษา การนิรโทษกรรม การอภัยโทษ หรือการลดหย่อนผ่อนโทษตามคำพิพากษาประหารชีวิตอาจให้ได้ในทุกกรณี
5. บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่กระทำความผิดจะถูกพิพากษาประหารชีวิตมิได้ และจะดำเนินการประหารชีวิตสตรีขณะมีครรภ์มิได้
6. รัฐภาคีใดแห่งกติกานี้จะยกข้อนี้ขึ้นอ้างเพื่อประวิง หรือขัดขวางการยกเลิกโทษประหารชีวิตมิได้
ข้อ 7
บุคคลจะถูกทรมาน หรือได้รับการปฏิบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม
หรือต่ำช้ามิได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคคลจะถูกใช้ในการทดลองทางการแพทย์ หรือทางวิทยาศาสตร์
โดยปราศจากความยินยอมอย่างเสรีของบุคคลนั้นมิได้
ประเด็นคำถามที่ 14,15,16,17 ของคณะกรรมการเกี่ยวกับสิทธิในเสรีภาพและความปลอดภัยของบุคคล การปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ความเป็นอิสระของศาล สิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม ตามกติกาฯ ข้อ 9, 10, 14
ข้อ
9
1. บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพและความปลอดภัยของร่างกาย บุคคลจะถูกจับกุมหรือควบคุมโดยอำเภอใจมิได้
บุคคลจะถูกลิดรอนเสรีภาพของตนมิได้ ยกเว้นโดยเหตุและโดยเป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
2. ในขณะจับกุม บุคคลใดที่ถูกจับกุมจะต้องได้รับแจ้งถึงเหตุผลในการจับกุม
และจะต้องได้รับแจ้งถึงข้อหาที่ถูกจับกุมโดยพลัน
3. บุคคลใดที่ถูกจับกุมหรือควบคุมตัวในข้อหาทางอาญา จะต้องถูกนำตัวโดยพลันไปยังศาล
หรือเจ้าหน้าที่อื่นที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะใช้อำนาจทางตุลาลาการ และจะต้องมีสิทธิได้รับการพิจารณาคดีภายในเวลาอันสมควร
หรือได้รับการปล่อยตัวไป มิให้ถือเป็นหลักทั่วไปว่าจะต้องควบคุมบุคคลที่รอการพิจารณาคดี
แต่ในการปล่อยตัวอาจกำหนดให้มีการประกันว่าจะกลับมาปรากฎตัวในการพิจารณาคดี
ในขั้นตอนอื่นของการพิจารณา และจะมาปรากฎตัวเพื่อการบังคับตามคำพิพากษา เมื่อถึงวาระนั้น
4. บุคคลใดที่ถูกลิดรอนเสรีภาพโดยการจับกุมหรือการควบคุม มีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาล เพื่อให้ศาลตัดสินโดยไม่ชักช้าถึงความชอบด้วยกฎหมายของการควบคุมผู้นั้น และหากการควบคุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวไป
5. บุคคลใดที่ถูกจับกุมหรือถูกควบคุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทน
ข้อ 10
1. บุคคลทั้งปวงที่ถูกลิดรอนเสรีภาพต้องได้รับการปฏิบัติด้วยความมีมนุษยธรรมและความเคารพในศักดิ์ศรีแต่กำเนิดแห่งความเป็นมนุษย์
2. (ก) ยกเว้นในสภาพการณ์พิเศษ
ผู้ต้องหาต้องได้รับการจำแนกออกจากผู้ต้องโทษ และต้องได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างออกไปให้เหมาะสมกับสถานะที่ไม่ใช่เป็นผู้ต้องโทษ
(ข) ต้องแยกผู้ต้องหาที่เป็นเด็กและเยาวชนออกจากผู้ต้องหาที่เป็นผู้ใหญ่
และให้นำตัวขึ้นพิจารณาพิพากษาคดีให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
3. ระบบราชทัณฑ์ต้องประกอบด้วยการปฏิบัติต่อนักโทษ โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะให้นักโทษกลับตัวและฟื้นฟูทางสังคม
ผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนต้องได้รับการจำแนกออกจากผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่
และต้องได้รับการปฏิบัติให้เหมาะสมกับวัยและสถานะทางกฎหมาย
ข้อ 14
1. บุคคลทั้งปวงย่อมเสมอภาคในการพิจารณาของศาลและคณะตุลาการ ในการพิจารณาคดีอาญาซึ่งตนต้องหาว่ากระทำผิด
หรือการพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของตน บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิได้รับการพิจารณาอย่างเปิดเผยและเป็นธรรมโดยคณะตุลาการซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย
มีอำนาจ มีความเป็นอิสระ และเป็นกลาง สื่อมวลชนและสาธารณชนอาจถูกห้ามเข้าฟังการพิจารณาคีทั้งหมด
หรือบางส่วนก็ด้วยเหตุผลทางศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือความมั่นคงของชาติในสังคมประชาธิปไตย
หรือเพื่อความจำเป็นเกี่ยวกับส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องชีวิตส่วนตัวของคู่กรณี หรือในสภาพการณ์พิเศษซึ่งศาลเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่ง เมื่อการพิจารณาโดยเปิดเผยนั้นอาจเป็นการเสื่อมเสียต่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แต่คำพิพากษาในคดีอาญา หรือคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยข้อพิพาทในคดีอื่นที่เปิดเผย เว้นแต่จำเป็นเพื่อประโยชน์ของเด็กและเยาวชน หรือเป็นกระบวนกระบวนพิจารณาเกี่ยวด้วยข้อพิพาทของคู่สมรสในเรื่องการเป็นผู้ปกครองเด็ก
2. บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดอาญา ต้องมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด
3. ในการพิจารณาคดีอาญา บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดย่อมมีสิทธิที่จะได้รับหลักประกันขั้นต่ำดังต่อไปนี้โดยเสมอภาค
(ก) สิทธิที่จะได้รับแจ้งโดยพลันซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพและเหตุแห่งความผิดที่กล่าวหา ในภาษาซึ่งบุคคลนั้นเข้าใจได้(ข) สิทธิที่จะมีเวลา และได้รับความสะดวกเพียงพอแก่การเตรียมการเพื่อสู้คดี และติดต่อกับทนายความที่ตนเลือกได้
(ค) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโดยไม่ชักช้าเกินความจำเป็น
(ง) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาต่อหน้าบุคคลนั้น และสิทธิที่จะต่อสู้คดีด้วยตนเอง หรือโดยผ่านผู้ช่วยเหลือทางกฎหมายที่ตนเลือก สิทธิที่บุคคลจะได้รับการแจ้งให้ทราบถึงสิทธิในการมีผู้ช่วยเหลือทางกฎหมาย หากบุคคลนั้นไม่มีผู้ช่วยเหลือทางกฎหมาย ในกรณีใดๆ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม บุคคลนั้นมีสิทธิที่จะมีผู้ช่วยเหลือทางกฎหมาย ซึ่งมีการแต่งตั้งขึ้นโดยปราศจากค่าตอบแทน ในกรณีบุคคลนั้นไม่สามารถรับภาระในการจ่ายค่าตอบแทน
(จ) สิทธิที่จะซักถามพยานซึ่งเป็นปรปักษ์ต่อตน และขอให้เรียกพยานฝ่ายตนมาซักถามภายใต้เงื่อนไขเดียวกับพยานซึ่งเป็นปรปักษ์ต่อตน
(ฉ) สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากล่ามโดยคิดมูลค่า หากไม่สามารถเข้าใจหรือพูดภาษาที่ใช้ในศาลได้
(ช) สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับให้เบิกความเป็นปรปักษ์ต่อตนเอง หรือให้รับสารภาพผิด
5. บุคคลทุกคนที่ต้องคำพิพากษาลงโทษในความผิดอาญา ย่อมมีสิทธิที่จะให้คณะตุลาการระดับเหนือขึ้นไปพิจารณาทบทวนการลงโทษ และคำพิพากษาโดยเป็นไปตากกฎหมาย
6. เมื่อบุคคลใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษในความผิดอาญา และภายหลังจากนั้น มีการกลับคำพิพากษาที่ให้ลงโทษบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นได้รับอภัยโทษ โดยเหตุที่มีข้อเท็จจริงใหม่หรือมีข้อเท็จจริงที่ได้ค้นพบใหม่ อันแสดงให้ให้เห็นว่าได้มีการดำเนินกระบวนการยุติธรรมที่มิชอบ บุคคลที่ได้รับความทุกข์อันเนื่องมาจากการลงโทษตามผลของการพิพากษาลงโทษเช่นว่า ต้องได้รับการชดเชยตามกฎหมาย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า การไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงที่ยังไม่รู้ให้ทันเวลาเป็นผลจากบุคคลนั้นทั้งหมดหรือบางส่วน
7. บุคคลย่อมไม่ถูกพิจารณา หรือลงโทษซ้ำในความผิดซึ่งบุคคลนั้นต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ หรือให้ปล่อยตัวแล้วตามกฎหมายและวิธีพิจารณาความอาญาของแต่ละประเทศ
ประเด็นคำถามที่
18 ของคณะกรรมการเกี่ยวกับเสรีภาพในการเคลื่อนย้าย การกำจัดคนต่างด้าว ตามกติกาฯ
ข้อ 12 และ 13
ข้อ
12
1. บุคคลทุกคนที่อยู่ในดินแดนของรัฐใดโดยชอบด้วยกฎหมาย ย่อมมีสิทธิในเสรีภาพในการโยกย้าย
และเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในดินแดนของรัฐรัฐนั้น
2. บุคคลทุกคนย่อมมีเสรีที่จะออกจากประเทศใดๆ รวมทั้งประเทศของตนได้
3. สิทธิดังกล่าวข้างตนย่อมไม่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดใดๆ เว้นแต่เป็นข้อกำกับตามกฎหมาย และที่จำเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชน หรือเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น และข้อกำกับนั้นสอดคล้องกับสิทธิอื่นๆ ที่รับรองไว้ในกติกานี้
4. บุคคลจะถูกลิดรอนสิทธิในการเดินทางเข้าประเทศของตนโดยอำเภอใจมิได้
ข้อ 13
คนต่างด้าวผู้อยู่ในดินแดนของรัฐภาคีแห่งกติกานี้โดยชอบด้วยกฎหมาย อาจถูกไล่ออกจากรัฐนั้นได้โดยคำวินิจฉัยอันได้มาตามกฎหมายเท่านั้น
และผู้นั้นย่อมได้รับอนุญาตให้ชี้แจงแสดงเหตุผลคัดค้านการขับไล่ออกจากรัฐนั้น
และขอให้มีการทบทวนเรื่องของตนโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ หรือบุคคล หรือคณะบุคคล
ที่แต่งตั้งขึ้นเฉพาะเพื่อการนี้โดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ โดยได้รับอนุญาตให้มีผู้แทนเพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้นได้
เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุผลจำเป็นอย่างอื่นด้านความมั่นคงของชาติ
ประเด็นคำถามที่
19,20 ของคณะกรรมการเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก ตามกติกาฯ
ข้อ 19
ข้อ
19
1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง
2. บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภท โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ทั้งนี้ ไม่ว่าด้วยวาจา เป็นลายลักษณ์อักษรหรือการตีพิมพ์ ในรูปของศิลปะ หรือโดยอาศัยสื่อประการอื่นตามที่ตนเลือก
3. การใช้สิทธิตามที่บัญญัติในวรรค 2 ของข้อนี้ ต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบพิเศษควบคู่ไปด้วย การใช้สิทธิดังกล่าวอาจมีข้อจำกัดในบางเรื่อง แต่ทั้งนี้ข้อกำกัดนั้นต้องบัญญัติไว้ในกฎหมายและจำเป็นต่อ
(ก) การเคารพในสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น
(ข) การรักษาความมั่นคงของชาติ หรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชน
ประเด็นคำถามที่ 21,22 ของคณะกรรมการเกี่ยวกับเสรีภาพในการรวมกลุ่ม ตามกติกาฯ ข้อ 22
ข้อ 22
1. บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิในเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม รวมทั้งสิทธิที่จะก่อตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงานเพื่อปกป้องประโยชน์ของตน
2. การจำกัดการใช้สิทธินี้จะกระทำมิได้ นอกจากจะกำหนดโดยกฎหมายและเพียงเท่าที่จำเป็นสำหรับสังคมประชาธิปไตย เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชน หรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ความในข้อนี้ไม่ห้ามการวางข้อจำกัดอันชอบด้วยกฎหมาย ในการใช้สิทธินี้ของทหารและตำรวจ
3. ความข้อนี้ไม่ให้อำนาจรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคมและว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิในการจัดตั้ง ค.ศ.1948 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ในอันที่จะมีมาตรการทางนิติบัญญัติ หรือบังคับใช้กฎหมายในลักษณะที่จะกระทบต่อประกันต่างๆที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญาดังกล่าว
ประเด็นคำถามที่
23 ของคณะกรรมการเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็ก ตามกติกาฯ ข้อ 24
ข้อ
24
1. เด็กทุกคนย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยมาตรการต่างๆที่จำเป็นตามสถานะของผู้เยาว์
จากครอบครัวของตน สังคมและรัฐ โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติอันเนื่องจากเชื้อชาติ
ผิว เพศ ภาษา ศาสนา เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน หรือกำเนิด
2. เด็กทุกคนต้องได้รับการจดทะเบียนทันทีภายหลังการเกิด และต้องมีชื่อ
3. เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้มาซึ่งสัญชาติ
ประเด็นคำถามที่ 24 ของคณะกรรมการเกี่ยวกับสิทธิในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะ ตามกติกาฯ ข้อ 25
ข้อ 25
พลเมืองทุกคนย่อมมีสิทธิและโอกาส โดยปราศจากความแตกต่างดังกล่าวไว้ในข้อ
2 และโดยปราศจากข้อกำกัดอันไม่สมควร
(ก) ในการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารรัฐกิจโดยตรง หรือผ่านทางผู้แทนซึ่งได้รับเลือกมาอย่างเสรี
(ข) ในการที่จะออกเสียงหรือได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งอันแท้จริงตามวาระ ซึ่งมีการออกเสียงโดยทั่วไปและเสมอภาค และโดยการลงคะแนนลับ เพื่อประกันการแสดงเจตนาโดยเสรีของผู้เลือก
(ค) ในการที่จะเข้าถึงการบริการสาธารณะในประเทศของตน ตามหลักเกณฑ์ทั่วไปแห่งความเสมอภาค
ประเด็นคำถามที่
25 ของคณะกรรมการเกี่ยวกับสิทธิของชนกลุ่มน้อย ตามกติกาฯ ข้อ 27
ข้อ
27
ในรัฐทั้งหลายซึ่งมีชนกลุ่มน้อยทางเผ่าพันธุ์ ศาสนา หรือภาษาอยู่ บุคคลผู้เป็นชนกลุ่มน้อยดังกล่าวจะไม่ถูกปฏิเสธสิทธิในอันที่จะมีวัฒนธรรมของตนเอง
หรือนับถือและประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของตนเอง หรือใช้ภาษาของตนเอง ภายในชุมชนร่วมกับสมาชิกอื่นๆ
ของชนกลุ่มน้อยด้วยกัน
ประเด็นคำถามที่
26 ของคณะกรรมการเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูล ตามกติกาฯ ข้อ 2
ข้อ
2
รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกาฉบับนี้รับที่จะเคารพ และประกันแก่ปัจเจกบุคคลทั้งปวงในดินแดนของตน
ในสิทธิทั้งหลายที่ได้รับรองไว้ในกติกานี้ โดยปราศจากการแบ่งแยกใดๆ อาทิ
เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด
เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นๆ
กลับไปยังหัวข้อเกี่ยวเนื่องเกี่ยวกับเรื่องนี้
คลิก
26
คำถาม"ยูเอ็น" ปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยนชนในไทย
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา
3
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
e-mail
: midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 620 เรื่อง หนากว่า 8200 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(จะมีการปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง
จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
กสม.ยังมีความกังวลในเรื่องการห้ามการทรมาน และการลงโทษอื่นที่โหดร้าย และควรมีการประกันว่า การทรมานเป็นการกระทำผิดตามกฎหมายอาญา รวมทั้งให้มีการสอบสวนที่เป็นอิสระ การห้ามการนำคนลงเป็นทาสและปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งยังเป็นปัญหาที่พบในสังคมไทย ปัญหาโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ซึ่งเป็นตัวอย่างของโครงการสาธารณะขนาดใหญ่ที่ขาดการคำนึงถึงผลกระทบทางด้านสังคม...
กสม.ได้เสนอให้รัฐบาลและรัฐสภาพิจารณาให้มีกฎหมาย/แก้ไขกฎหมาย เพื่อคุ้มครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และพันธกรณีระหว่างประเทศ และให้มีการปฏิบัติตามแผน ปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง รวมทั้งขอให้รัฐบาลดำเนินการในเรื่องสิทธิมนุษยชนศึกษา ให้สิทธิมนุษยชนศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต และรัฐบาลควรจัดตั้งกลไกระดับชาติที่มีความเป็นอิสระ ในการประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐในการปฏิบัติตามพันธกรณี ICCPR รวมทั้งการประเมินสถานการณ์ และการเสนอมาตรการที่จำเป็นแก่รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิมีผลในทางปฏิบัติต่อไป รวมถึงการจัดทำรายงาน ให้มีกระบวนการที่เปิดกว้างให้ประชาสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 620 เรื่อง หนากว่า 8200 หน้า
ในรูปของ CD-ROM ในราคา 150 บาทสนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง สมเกียรติ
ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง
สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
50202 และอย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์