บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 631 หัวเรื่อง
ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน
สุภัตรา
ภูมิประภาส และ
กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืน
บทความบริการฟรี ม.เที่ยงคืน
The
Midnight 's free article
Website
ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
26
คำถาม"ยูเอ็น" ปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยนชนในไทย
สุภัตรา
ภูมิประภาส
และกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หมายเหตุ
: ข้อมูลเกือบทั้งหมดของงานชิ้นนี้ ได้รับมาจากคุณ สุภัตรา ภูมิประภาส
ซึ่งทางกองบรรณาธิการได้นำมาเรียบเรียงและจัดหาข้อมูลเพิ่มเติม
ในส่วนที่จำเป็นต่อการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมาของข้อคำถาม 26 ข้อโดย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน"
(Human Rights Committee) ของสหประชาชาติ
ที่มีหน้าที่กลั่นกรองตรวจสอบรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับ
ICCPR ของประเทศที่เป็นรัฐภาคี
ลำดับของข้อมูลที่นำเสนอประกอบด้วย
๑. ประเทศไทยกับการเป็นภาคีฯ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
๒. ประเด็นคำถาม
๒๖ คำถามของคณะกรรมการฯ (ภาษาไทย)
๓. ประเด็นคำถาม
๒๖ คำถามของคณะกรรมการฯ (ภาษาอังกฤษ)
๔.
กรรมการสิทธิมนุษยชนตอบ 26 คำถามยูเอ็น และความกังวลของ กสม.
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๔ สิงหาคม ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 17 หน้ากระดาษ A4)
๑.
ประเทศไทยกับการเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ความเป็นมา
ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
นับตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2539 โดยมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยเมื่อวันที่
30 มกราคม 2540
ในการเข้าเป็นภาคี รัฐบาลไทยมีพันธกรณี ที่จะต้องส่งรายงานต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (Human Rights Committee) ฉบับแรกภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่กติกามีผลใช้บังคับกับประเทศไทย โดยรายงานจะต้องระบุถึงสถานการณ์ความก้าวหน้าในการส่งเสริมและ คุ้มครองสิทธิด้านต่างๆ ที่รับรองในกติการะหว่างประเทศ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคที่ปรากฏ
ประเทศไทยได้ส่งรายงานฉบับแรกแก่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2547 ซึ่งคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นอิสระจำนวน 18 คน ได้มีคำถามเพิ่มเติมจำนวน 26 ข้อมายังประเทศไทย โดยทางคณะกรรมการจะมีการตรวจสอบรายงานดังกล่าวในระหว่างวันที่ 19-20 กรกฎาคม 2548 นี้ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
2. ประเด็นคำถาม 26 คำถามของคณะกรรมการฯ มีดังนี้ (ฉบับภาษาไทย)
กรอบการทำงานของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ได้มีการปฏิบัติตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
[International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR]
Constitutional and legal framework within which the Covenant is implemented
ประเด็นคำถามที่ 1. กรุณาให้ตัวอย่างคดีต่างๆ (ถ้ามี) ที่มีการอ้างถึงบทบัญญัติต่างๆของกติกา [ICCPR] โดยตรงในศาล และมีผลอย่างไรบ้าง
ประเด็นคำถามที่ 2. รัฐภาคีกำลังดำเนินการพิจารณาเพื่อรับรองพิธีสารเลือกรับ ฉบับที่ 1 แห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือไม่
ประเด็นคำถามที่ 3.
กรุณาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง
(ย่อหน้าที่187-189 ของรายงาน) ในการส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามกติกา [ICCPR]
กรุณาแจ้งตัวเลขจำนวนการร้องเรียนที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับ
และได้มีการดำเนินการสอบสวนไปกี่กรณีแล้ว รวมทั้งผลการสอบสวน
การเหยียดหยาม
(Derogations)
ข้อ 4,6,7,8,9 ของ ICCPR
(a) ประเทศไทยได้ประกาศภาวะฉุกเฉินโดยมีการปฏิบัติตามบทบัญญัติข้อ 4 ของ ICCPR หรือไม่
(b) ในรายงานเกี่ยวกับการขยายความรุนแรงและสถานการณ์ตึงเครียดในภาคใต้ และการให้อำนาจพิเศษแก่ทหารโดยการใช้กฎอัยการศึก (อ้างในย่อหน้า 471) และมาตรา 6 ของกฎหมายทหาร (the Military Law- อ้างในย่อหน้า 472) กรุณาอธิบายว่า รัฐภาคีมีหลักประกันใดที่เคารพต่อสิทธิ [ของพลเมือง] ที่จะไม่ถูกเหยียดหยาม [เลือกปฏิบัติ] ตามที่มีบัญญัติไว้ในข้อ 4 ของ ICCPR เมื่อมีการประกาศภาวะฉุกเฉิน และกรุณาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขยายเวลาของการใช้กฎอัยการศึก (อ้างถึงย่อหน้า 236 (a); 471-3; 490 (d) (ii)) รวมถึงการประกาศใช้คำสั่งนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2547 กรุณาระบุว่าข้อใดของกฎอัยการศึกที่ได้มีการขยายการใช้ในพื้นที่ใดเป็นการเฉพาะและในสถานการณ์ใด
(c) โดยพิจารณาถึงเหตุการณ์ต่างๆในจังหวัดภาคใต้ กรุณาแจ้งตัวเลขผู้เสียชีวิต และตัวเลขของผู้ที่สิทธิตามข้อ 7 และขอ 10 [ของ ICCPR] ถูกกระทบ รวมทั้งขอทราบการดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐในเรื่องนี้ด้วย
ประเด็นคำถามที่ 5. กรุณาให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายที่รัฐภาคีรับรอง (ถ้ามี ) และข้อต่างๆของ [กฎหมายเหล่านี้] ที่สอดคล้องกับกติกาฉบับนี้ [ICCPR] โดยเฉพาะข้อ 6,7,9 และ 14
การไม่เลือกปฏิบัติ
และความเท่าเทียมแห่งเพศสภาพ สิทธิของบุคคลที่เป็นชนกลุ่มน้อยต่างๆ
(Non-discrimination and gender equality; rights of persons belonging to
minorities)
ข้อ 2 (1), 3, 26, 27
ประเด็นคำถามที่ 6. กรุณาแจ้งให้คณะกรรมการฯ ทราบว่าสิทธิทั้งปวงที่ได้รับการประกันภายใต้กฎหมายไทย รวมถึงหลักประกันตามรัฐธรรมนูญนั้น ได้ครอบคลุมถึงบุคคลทุกคนภายใต้เขตอำนาจศาล รวมถึง ผู้ที่มิใช่พลเมือง (non-citizens) ผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย และผู้แสวงหาที่หลบภัย ด้วยหรือไม่
ประเด็นคำถามที่ 7. ขอให้เพิ่มเติมข้อมูลที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 56 และ 57 ของรายงาน กรุณาแจ้งต่อคณะกรรมการด้วยว่า มีข้อห้ามในกฎหมายไทย ที่ได้มีการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศสภาพ โดยเฉพาะในกรณีการทำงาน การเข้าถึงบริการทางสังคม การสมรส และสิทธิในมรดก หรือไม่
ประเด็นคำถามที่ 8. กรุณาแจ้งให้คณะกรรมการฯทราบเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของการเกิดความรุนแรงในครอบครัว โดยเฉพาะความรุนแรงต่อผู้หญิงในประเทศไทย และมาตรการทางกฎหมายและมาตรการอื่นๆที่ใช้ในการแก้ปัญหา
ประเด็นคำถามที่ 9. ตามข้อมูลที่คณะกรรมการฯได้รับ มีการแพร่ขยายของการค้ามนุษย์เพื่อวัตถุประสงค์ในการค้าบริการทางเพศ ที่อาจเพิ่มจำนวนของผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ (HIV/AIDS victims) กรุณาให้ข้อมูลคณะกรรมการด้วยว่ารัฐบางมีมาตรการเฉพาะใดที่ใช้ในการดำเนินการต่อต้านการค้ามนุษย์ และใช้คุ้มครองผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์
สิทธิในชีวิต
การป้องกันการทรมาน
Rights to life; prevention of torture ข้อ 6 และ 7
ประเด็นคำถามที่ 10. กรุณาระบุว่าความผิดใดที่ต้องได้รับโทษประหารชีวิต (อ้างในย่อหน้า 158) กรุณาอธิบายจุดยืนของรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดโทษประการชีวิตสำหรับความผิดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด โดยพิจารณาถึงข้อ 6 (2) ของกติกา [ICCPR]
ประเด็นคำถามที่ 11. กรุณาแจ้งข้อมูลล่าสุดของมาตรการและการปฏิบัติของรัฐภาคีในการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหา ที่ถูกสังหารโดยเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย (อ้างถึงในย่อหน้า 156) โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนของรัฐในการสอบสวนกรณีที่มีผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกฆ่าเป็นจำนวนมากในระหว่าง "สงครามยาเสพติด" และผลการสอบสวนอย่างเป็นทางการ
ประเด็นคำถามที่ 12. ขอให้แจ้งสถิติการประหารชีวิตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และข้อมูลของคดีที่มีการตัดสินประหารชีวิตแต่คดียังไม่ยุติ
ประเด็นคำถามที่ 13. มีการเยียวยาใดๆทางกฎหมายหรือไม่ต่อผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายและสมาชิกของกองกำลังรักษาความมั่นคง กรุณาแจ้งสถิติจำนวนกรณีเหล่านี้และผลของการเยียวยา
สิทธิในเสรีภาพและความปลอดภัยของบุคคล
การปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ความเป็นอิสระของศาล สิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม
Rights of liberty and security of persons; treatment of detainees; independence
of judiciary; rights to a fair trial
ข้อ 9, 10, 14
ประเด็นคำถามที่ 14. กรุณาอธิบายว่าทำไมการการใช้โซ่ตรวนนักโทษประหารยังถูกพิจารณาว่าจำเป็น โดยพันธกรณีของรัฐภาคีภายใต้ข้อ 10 ของกติกา [ICCPR] และกรุณาให้คำอธิบายต่อกรณีที่มีการกล่าวหาว่ารัฐจงใจที่จะเผยแพร่ภาพการประหารชีวิตและสภาพของนักโทษที่รอการประหาร เพื่อกำราบให้ [สาธารณชน] เกิดความกลัว
ประเด็นคำถามที่ 15. กรุณาให้ข้อมูลเรื่องการปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้าย และผู้ติดยาเสพติดที่อยู่ในการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ว่าการปฏิบัติต่อบุคคลเหล่านี้เป็นไปตาม ข้อ 9 และ 10 ของกติกา [ICCPR] หรือไม่
ประเด็นคำถามที่ 16. กรุณาแจ้งให้คณะกรรมการฯทราบถึงการดำเนินการต่างๆของรัฐภาคี เพื่อสอบสวน ข้อกล่าวหาว่าเป็นอุปสรรค และเป็นการคุกคามต่อองค์กรสิทธิมนุษยชน และนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และการดำเนินการตามกระบวนยุติธรรมต่อผู้ที่พบว่าต้องรับผิดชอบต่อกรณี [ที่ถูกกล่าวหา]
ประเด็นคำถามที่ 17. มีกลไกใดหรือไม่ในการตรวจสอบการปฏิบัติงานอย่างเป็นอิสระของผู้พิพากษาในรัฐภาคี กรุณาระบุว่าผู้พิพากษามีผลประโยชน์จากการอยู่ในตำแหน่งหรือไม่
เสรีภาพในการเคลื่อนย้าย
การกำจัดคนต่างด้าว
Freedom of movement; expulsion of aliens ข้อ 12 และ 13
ประเด็นคำถามที่
18. ในรายงานได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้อพยพจากประเทศลาว กัมพูชา และเวียดนาม
(อ้างถึงในย่อหน้า 337-354)แต่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้อพยพจากประเทศพม่าเพียงเล็กน้อย
ในส่วนของคณะกรรมการฯมีข้อมูลที่ได้รับ [จากที่อื่นๆ] เกี่ยวกับสถานการณ์ของแรงงานอพยพ
ผู้แสวงหาที่หลบภัย และผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่าด้วย กรุณา ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์และการปฏิบัติ
รวมทั้งหลักการและเงื่อนไขในการเนรเทศแรงงานอพยพ ผู้แสวงหาที่หลบภัย และผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่า
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก
Freedom of opinion and expression ข้อ 19
ประเด็นคำถามที่ 19. กรุณาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีของสื่อมวลชนไทย เพื่อประกอบการพิจารณาข้อมูลส่วนที่คณะกรรมการฯได้รับว่ารัฐบาลได้เพิ่มแรงกดดันที่กระทบต่อเสรีภาพของสื่อมวลชน
ประเด็นคำถามที่ 20. กรุณาให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการฯเกี่ยวกับกรณีที่มีการฟ้องร้องทางกฎหมายต่อผู้ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์นายกรัฐมนตรี รวมถึงคดีที่บริษัทที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ก่อตั้งดำเนินการฟ้องบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ และนักรณรงค์ด้านการปฏิรูปสื่อ
เสรีภาพในการรวมกลุ่ม
Freedom of association ข้อ 22
ประเด็นคำถามที่ 21. กรุณาให้คำอธิบายเพิ่มเติมว่าทำไมสภาพเศรษฐกิจสังคมปัจจุบันยังไม่เป็นไปตามพันธกรณีที่ระบุไว้ในข้อ 22 ของกติกา [ICCPR] กรุณาให้ข้อมูลด้วยว่ารัฐภาคีกำลังดำเนินการใดในการปรับปรุงสภาพดังกล่าวนี้
ประเด็นคำถามที่ 22. กรุณาอธิบายเหตุผลของการไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าระดับของการใช้กำลังและลักษณะของกลวิธีที่ใช้โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและกลุ่มอาสาสมัครพลเรือน เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2547 ในการปราบปรามการประท้วงอย่างสงบของเกษตรกรที่ไร้ที่ทำกินนั้น เป็นการไม่เหมาะสม
การคุ้มครองเด็ก
Protection of children ข้อ 24
ประเด็นคำถามที่ 23. กรุณาให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการที่ใช้แก้ปัญหาการบังคับใช้แรงงานเด็ก รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการตามกฎหมายและการลงโทษที่เกี่ยวข้องกับการเอารัดเอาเปรียบแรงงานเด็ก
สิทธิในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะ
Rights to take part in public affairs ข้อ 25
ประเด็นคำถามที่ 24. กรุณาให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการที่รัฐใช้เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่ากฎหมายเลือกตั้งของประเทศไทยสอดคล้องกับข้อ 25 ของกติกา [ICCPR] รวมถึงมาตรการเฉพาะใดๆที่ถูกนำมาใช้เพื่อให้เกิดความแน่ใจในความโปร่งใสของกระบวนการเลือกตั้ง และความยุติธรรมในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2548
สิทธิของชนกลุ่มน้อย
Rights of minorities ข้อ 27
ประเด็นคำถามที่ 25. กรุณาให้ข้อมูลแก่คณะกรรมการฯเกี่ยวกับสถานการณ์ของสมาชิกของกลุ่มชาวเขาต่างๆ/ผู้อาศัยบนที่ราบสูง ("Highlanders") โดยเคารพต่อสิทธิภายใต้ข้อ 27 ของกติกา [ICCPR] และสิทธิของบุคคลกลุ่มนี้ในเรื่องเสรีภาพในการเคลื่อนย้าย การเป็นพลเมือง และสิทธิในที่ดิน/ทรัพย์สิน
การเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกติกา
[ICCPR]
Dissemination of information relating to the Covenant ข้อ 2
ประเด็นคำถามที่ 26. กรุณาให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการโครงการให้การศึกษา ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม และการบังคับใช้กฎหมาย และเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ในเรื่องสิทธิมนุษยชนที่มีการรับรองในกลไกสากลและกฎหมายของประเทศ
(แปลโดย : สุภัตรา
ภูมิประภาส)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
หมายเหตุ
1. รัฐภาคี (ในที่นี้) หมายถึง "รัฐบาลไทย"
2. กติกาฯ หรือ กติกา ICCPR หมายถึง "กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง"
3. คณะกรรมการฯ หมายถึง "คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน" (Human Rights Committee) ของสหประชาชาติ แต่งตั้งมาจากผู้เชี่ยวชาญอิสระให้ มีหน้าที่กลั่นกรองตรวจสอบรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับ ICCPR ของประเทศที่เป็นรัฐภาคี
4. กติกา ICCPR ได้รับการรับรองโดยมติของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติเมื่อวันที่
16 ธันวาคม พ.ศ.2509 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2519
5. รัฐภาคีของกติกาฯ มีพันธกรณีที่ต้องรายงานต่อคณะกรรมารฯว่าได้มีการปฏิบัติตามกติกาฯอย่างไร
6. รัฐภาคีต้องส่งรายงานเบื้องต้นให้กับคณะกรรมการฯ ภายในหนึ่งปีหลังจากการเข้าเป็นภาคี หรือเมื่อคณะกรรมการฯต้องการ(ปกติ คือทุก 4 ปี)
7. คณะกรรมการฯจะตรวจสอบรายงานแต่ละฉบับ และแสดงความเห็นและข้อแนะนำต่อรัฐภาคี ในรูปแบบของ "สรุปข้อสังเกตการณ์"
8. คณะกรรมการฯจะประชุมกัน (โดยปกติ ปีละ 3 ครั้ง) ที่นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ หรือนครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา
9. รัฐบาลไทยเข้าเป็นภาคีของกติกา ICCPR เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2539 และมีพันธกรณีในฐานะรัฐภาคีที่ต้องปฏิบัติตามกติกาฯ ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2540
10. รายงานของประเทศไทยที่กำลังอยู่ในการพิจารณาตรวจสอบของคณะกรรมการฯ เป็นรายงานฉบับแรกของรัฐบาลไทยที่ยื่นตามพันธะกรณีในฐานะรัฐภาคีของกติกาฯ
11. คณะกรรมการกำหนดการประชุมพิจารณารายงานของ 5 ประเทศ คือ สโลเวอเนีย (Slovenia) ซีเรีย (Syrian Arab Republic) ตาจิคสถาน (Tajukistan) เยเมน (Yemen) และประเทศไทย ระหว่างวันที่ 11-29 กรกฎาคามนี้ ที่นครเจนีวา
12. คณะกรรมการฯกำหนดพิจารณารายงานฉบับแรกของรัฐบาลไทยในวันที่ 19-20 กรกฎาคม
โดยตามที่ได้ข้อมูลจาก David Arnott กระบวนการพิจารณาจะเริ่มต้นจากคำตอบของรัฐบาลไทยต่อ 26 ประเด็นคำถาม และคณะกรรมการฯกำหนดการประชุมไว้ 3 ช่วง คือ ในวันที่ 19 ก.ค. เวลา 10.00-13.00 น. และ 15.00-18.00 น. และในวันที่ 20 ก.ค. เวลา 11.00-13.00 น.
13. คณะกรรมการฯ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ 15 คน จาก 15 ประเทศ คือ ตูนิเซีย ญี่ปุ่น อินเดีย ปานามา ฝรั่งเศส เบนิน (Benin) สวิสเซอร์แลนด์ เมอริทุส (Mauritius) โคลัมเบีย อังกฤษ ออสเตรเลีย อาร์เจนติน่า อียิปต์ สหรัฐอเมริกา และ โปแลนด์
14. รายงานของรัฐบาลไทยที่ยื่นต่อคณะกรรมการฯ มีจำนวน 135 หน้า (692 ย่อหน้า)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
3. ประเด็นคำถาม 26
คำถามของคณะกรรมการฯ มีดังนี้ (ฉบับภาษาอังกฤษ)
List
of Issues : Thailand. 13/04/2005.
CCPR/C/84/L/THA. (List of Issues)
Convention Abbreviation:
CCPR
ADVANCE UNEDITED VERSION
HUMAN RIGHTS COMMITTEE
CONSIDERATION
OF REPORTS SUBMITTED BY STATES PARTIES
UNDER ARTICLE 40 OF THE COVENANT
List of issues to be taken up in connection with
the consideration of the initial report of Thailand
(CCPR/C/THA/2004/1)
Constitutional and legal framework within
which the Covenant is implemented (Art. 2)
1. Please provide examples of cases, if any, in which the provisions of the Covenant were directly invoked before the courts, and with what results.
2. Is the State party considering the ratification of the first Optional Protocol to the Covenant?
3. Please inform the Committee about action taken by the National Human Rights Commission since its establishment (paras. 187-189 of the report) in the implementation of the Covenant rights. Please provide figures on how many complaints have been received, and how many investigations have been made by the NHRC, and with what results.
Derogations (Art.4, 6, 7, 8, 9)
4.
a) Has a state of emergency been declared by Thailand and have the provisions of article 4 been complied with?
b) In the light of the reports about the escalating violence and tensions in the Southern provinces, and the special powers given to the military personnel by way of the Martial Law (para. 471) and section 6 of the Military Law (para. 472), please explain how the State party intends to guarantee respect for the non-derogable rights mentioned in article 4 when a state of emergency is declared. In this connection, please provide information on the extent of the application of Martial Law in the State party (paras. 236(a); 471-3; 490(d)(ii)), including the extension of its application as declared by the Prime Minister in June 2004. Please specify which articles of Martial Law are extended to which particular geographical areas of the State party and under what circumstances.
c) With regard to the incidents in the southern province, please indicate the number of deaths that have occurred and the number of persons whose rights under articles 7 and 10 have been affected, including any consequent action taken by the authorities in this regard.
5. Please provide information about the anti-terrorism laws adopted in the State party, if any, and their compatibility with the Covenant, in particular articles 6, 7, 9 and 14.
Non-discrimination and gender equality; rights of persons belonging to minorities (Art. 2(1), 3, 26, 27)
8. Please inform the Committee of the extent of domestic violence, particularly against women, in Thailand, and of the measures taken, legislative or otherwise, to combat this problem.
9. According to information received by the Committee, there is widespread human trafficking for the purpose of prostitution, which may add to the increase of HIV/AIDS victims. Please comment on specific measures taken by the Government to combat human trafficking and to protect HIV/AIDS victims.
Right to life; prevention of torture (Art. 6 and 7)
10. Please indicate the crimes for which the death penalty is mandatory (para.158). Please explain the position of the State party regarding the imposition of death penalty on drug-related crimes in light of article 6 (2) of the Covenant.
11. Please provide up-to-date information on the measures taken and implemented by the States party to protect the rights of suspects killed by law enforcement personnel acting in an official capacity (para. 156). In particular, please provide information on steps taken by the State party to investigate the large number of alleged killings during the "war on drugs", and on the results of the formal enquiry that was initiated.
12. Please provide statistics on the executions that have taken place in the last 5 years, and information on pending cases.
13. What judicial remedies are available to victims of human rights violations committed by law enforcement officers and members of security forces? Please provide statistics on the number of such cases and their results.
Right
of liberty and security of persons; treatment of detainees;
independence of the judiciary; right to a fair trial (Art. 9, 10, 14)
14. Please clarify whether and why the practice of continued shackling of death row prisoners is considered necessary, in the light of the State party's obligations under article 10 of the Covenant. Also, please provide explanation on the allegation that the State party intends to broadcast executions and prison conditions of death row inmates as a deterrence measure. Similarly, please comment on the use of flogging as a penalty for breach of prison regulations and its application to children.
15. Please provide information on the treatment of terrorist suspects and drug addicts who have been taken into police custody, and whether their treatment in detention complies with the requirements of articles 9 and 10 of the Covenant.
16. Please inform the Committee on steps undertaken by the State party to investigate allegations of threats to and attacks on non-governmental human rights organisations and human rights defenders, and to bring to justice those found responsible. Please provide information on the individual outcomes of each case.
17. Does any mechanism exist to monitor the independent operation of judges in the State party? Please indicate whether judges benefit from security of tenure.
Freedom of movement; expulsion of aliens (art. 12 & 13)
18. The report contains information on migrants from Laos, Cambodia and Vietnam (paras. 337-354), but little on those from Burma. In light of information before the Committee about the situation of Burmese migrant workers, asylum seekers and refugees, please provide information on the situation, treatment, as well as the grounds and conditions of deportation of Burmese migrant workers, asylum-seekers and refugees.
Freedom of opinion and expression (Art. 19)
19. Please provide information on the actual exercise of the right to freedom of opinion and expression by the Thai media, in light of information before the Committee of increasing government pressure on independent media.
20. Please inform the Committee on the status of the recent libel suit against critics of the Thai Prime Minister, as well as suits filed against editors of the Thai Post and a media-reform campaigner by a corporation founded by the Prime Minister.
Freedom of association (Art. 22)
21. Please explain in further detail how the present economic and social conditions are not congenial to full compliance by the State party with requirements of article 22 of the Covenant. Please also provide information on how the State party is working towards improvement of these conditions.
22. Please explain
the reasons for the State party's dismissal of the findings of the National
Human Rights Commission that the level of force and type of tactics used
by the police and voluntary militias in the crackdown on 16 October 2004
of peaceful protestors made up of landless farmers were disproportionate.
Protection
of children (Art. 24)
23. Please provide information on measures taken to deal with the problem
of forced child labour exploitation, including information on prosecutions
and convictions related to forced child labour.
Right to take place in public affairs (Art. 25)
24.
Please provide information on measures undertaken by the State party to
ensure the conformity of Thai electoral laws with article 25 of the Covenant,
including any specific measures introduced to ensure the transparency
of the electoral process and the fairness of the general election that
took place on 6 February 2005.
Rights of minorities (Article 27)
25. Please provide
the Committee with information on the situation of the members of hill
tribes ("Highlanders") in their enjoyment of their rights under
article 27 of the Covenant and their rights to freedom of movement, right
to citizenship and right to land/property.
Dissemination of information relating to the Covenant (Art. 2)
26. Please provide detailed information on programmes for education and trainings of members of the judiciary, law enforcement and security officials about human rights as recognized in international instruments and national law.
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
4. กรรมการสิทธิมนุษยชนตอบ
26 คำถามยูเอ็น
และความกังวลของ กสม.ในปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยนชนในไทย
หมายเหต : เป็นรายงานประเมินผลการปฏิบัติตามพันธกรณีกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองในประเทศไทย ของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) ที่นำไปชี้แจง และหารือต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(ยูเอ็น) ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 ณ สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
กสม.ได้มอบหมายให้ คุณหญิงอัมพร มีศุข กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นผู้แทนเพื่อหารือถึงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย หรือข้อสังเกตและปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น พร้อมแนวทางการพัฒนาให้เกิดสิทธิมนุษยชนเพื่อ ส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) จึงได้จัดทำรายงานประเมินผลการปฏิบัติตามพันธกรณีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมืองในประเทศไทยขึ้น และกำหนดที่จะพบปะแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 ณ สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
** กสม.ได้ประเมินผลในภาพรวมรายงานการประเมินผลฉบับนี้ ใช้ข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติหน้าที่ของ กสม.นับตั้งแต่เริ่มปฏิบัติหน้าที่ การตรวจสอบ การลงพื้นที่ การศึกษา การจัดเวทีสัมมนา รายงานประจำปี และงานของอนุกรรมการชุดต่างๆ รวมทั้งข้อมูลที่ได้รับจากองค์กรเครือข่ายในประเทศและระหว่างประเทศ รายงานแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ถ้อยแถลงตีความและกระบวนการ จัดทำรายงาน
ส่วนที่ 2 การปฏิบัติตามพันธกรณีหลักที่ปรากฏในสนธิสัญญาต่างๆ ที่ไทยเป็นภาคี
ส่วนที่ 3 เรื่องสำคัญที่อยู่ในความกังวลของ กสม. และ
ส่วนที่ 4 ได้แก่ ข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินการในอนาคต
จากการประเมินการปฏิบัติตามพันธกรณีหลัก ที่ปรากฏในสันธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี กสม.มีข้อกังวลต่อสิทธิและสถานการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมา ซึ่งยังมี "ช่องว่าง" ระหว่างสิ่งที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ และพันธกรณีระหว่างประเทศกับการปฏิบัติจริงในหลายด้าน ได้แก่
1. ยังมิได้มีการออกกฎหมายเพื่อรองรับสิทธิตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ และพันธกรณีระหว่างประเทศ กฎหมายที่ล้าสมัยและขัดกับรัฐธรรมนูญยังมิได้มีการแก้ไขให้ สอดคล้อง และกฎหมายใหม่ที่บังคับใช้ต้องมีการประกันว่าจะไม่ไปลดทอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
2. ปัญหาในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะในหลายส่วนของระบบราชการ ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีการใช้กำลังและอาวุธที่เกินกว่าเหตุหลายครั้ง โดยไม่คำนึงถึงการเคารพสิทธิมนุษยชน และไม่มีการนำ ผู้รับผิดชอบมาลงโทษ ซึ่งจะนำไปสู่วัฒนธรรมการไม่ต้องรับผิด (Culture of Impunity)
3. นโยบายและโครงการสาธารณะมักให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และความมั่นคง มากกว่าการเคารพสิทธิมนุษยชน ทั้งที่เป็นเรื่องที่มีผลระหว่างกัน ทำให้กระบวนการกำหนดนโยบายและปฏิบัติ ขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชนและท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบ
4. ยังมีกลุ่มบุคคลที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานในประเทศไทย เนื่องจากสถานะหรือสภาพ ทำให้ถูกเลือกปฏิบัติซ้ำซ้อน ซึ่งรัฐบาลควรมีนโยบายและให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของกลุ่มคนเหล่านั้น
ส่วนที่ 1 ถ้อยแถลงตีความ
เนื่องจากตอนที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น
รัฐบาลได้ทำถ้อยแถลงตีความเรื่องการห้ามการลงโทษผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
( ข้อบทที่ 6 วรรค 5) ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยได้แก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องแล้ว
จึงควรถอนถ้อยแถลงตีความดังกล่าว นอกจากนี้ ประเทศและการนำตัวผู้ต้องหาเข้าสู่การพิจารณาคดีโดยพลัน
โดยยังให้อำนาจพนักงาน สอบสวนควบคุมตัวผู้ต้องหาก่อนนำตัวไปศาลได้ 48 ชั่วโมง
นับตั้งแต่เวลาที่ผู้ถูกจับเดินทางถึงที่ทำการพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
และสามารถขยายเวลาการควบคุมตัวได้ไม่เกิน 7 วัน หลังจากนั้นต้องนำตัวมาขออนุญาต
ศาลเพื่อฝากขังต่อไป ซึ่งต่อมารัฐธรรมนูญได้กำหนดให้เจ้าพนักงานสอบสวนควบคุมตัวผู้ต้องหาได้เพียง
48 ชั่วโมง ซึ่งรัฐบาลควรแจ้งให้รัฐภาคีอื่นได้ทราบ โดยแก้ไขหรือถอนถ้อยแถลงตีความดังกล่าว
สำหรับกระบวนการจัดทำรายงาน
กสม.ได้ให้ความสำคัญว่า กระบวนการจัดทำรายงานได้มีกระบวนการที่เปิดกว้างมากขึ้น
โดยให้ภาคประชาสังคมได้เข้ามีส่วนร่วมในการจัดทำรายงาน เพื่อเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
และร่วมมือกันในการเคารพสิทธิมนุษยชนต่อไป
ส่วนที่ 2 การปฏิบัติตามพันธกรณีหลักที่ปรากฏในสนธิสัญญาต่างๆ
ที่ไทยเป็นภาคี ในรายงานได้มีการกล่าวถึงปัญหาสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยยังเผชิญอยู่
เช่น ปัญหาในสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเอง การเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะต่อกลุ่มเสี่ยง
ทั้งในด้านกฎหมาย และการปฏิบัติ ได้แก่ ชนกลุ่มน้อย สตรี ผู้ที่รับผลกระทบจาก
HIV/AIDS หรือการที่ถูกเลือกปฏิบัติเพราะเป็นผู้ลี้ภัย ผู้พลัดถิ่น และผู้แสวงหาที่พักพิง
หรือแรงงานย้านถิ่นฐาน ปัญหาของสิทธิในการมีชีวิต เกี่ยวกับการลงโทษด้วยการประหารชีวิต
โดยเฉพาะมีความกังวลเกี่ยวกับแนวความคิดของกรมราชทัณฑ์ที่จะมีการถ่ายทอดการประหารชีวิต
ซึ่งเป็นการละเมิดศักดิ์ศรี ของความเป็นมนุษย์อย่างร้ายแรง
ส่วนที่ 3 เรื่องสำคัญที่อยู่ในความกังวลของ
กสม.ในรายงานได้กล่าวถึงความกังวลใจเรื่องเสรีภาพในความคิด การแสดงออก และการชุมนุมโดยสันติ
และเห็นว่าในปัจจุบันมีกฎหมายใหม่หลายฉบับที่มีแนวโน้ม จะกระทบ/จำกัดสิทธิในการชุมนุมอย่างสันติ
เช่น ร่าง พ.ร.บ.ทางหลวง การที่เจ้าหน้าที่ใช้กำลังเกินกว่าเหตุในการสลายการชุมนุมต่างๆ
เช่น กรณีการสลายการชุมนุมคัดค้านท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย
กสม.ยังมีความกังวลในเรื่องการห้ามการทรมาน
และการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย และควรมีการประกันว่า การทรมานเป็นการกระทำผิดตามกฎหมายอาญา
รวมทั้งให้มีการสอบสวนที่เป็นอิสระ การห้ามการนำคนลงเป็นทาสและปัญหาการค้ามนุษย์
ซึ่งยังเป็นปัญหาที่พบในสังคมไทย ปัญหาโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ซึ่งเป็นตัวอย่างของโครงการสาธารณะขนาดใหญ่ที่ขาดการคำนึงถึงผลกระทบทางด้านสังคม
และสิทธิของบุคคล รวมถึงชุมชนท้องถิ่น ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากสงครามยาเสพติด
ที่มีผลกระทบต่อหลักนิติรัฐและกระบวนการยุติธรรม และปัญหาความรุนแรงในภาคใต้
ส่วนที่ 4 ข้อเสนอแนะเพื่อการดำเนินต่อไป
กสม.ได้เสนอให้รัฐบาลและรัฐสภาพิจารณาให้มีกฎหมาย/แก้ไขกฎหมาย เพื่อคุ้มครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
และพันธกรณีระหว่างประเทศ และให้มีการปฏิบัติตามแผน ปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง
รวมทั้งขอให้รัฐบาลดำเนินการในเรื่องสิทธิมนุษยชนศึกษา ให้สิทธิมนุษยชนศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
และรัฐบาลควรจัดตั้งกลไกระดับชาติที่มีความเป็นอิสระ ในการประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐในการปฏิบัติตามพันธกรณี
ICCPR รวมทั้งการประเมินสถานการณ์ และการเสนอมาตรการที่จำเป็นแก่รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิมีผลในทางปฏิบัติต่อไป รวมถึงการจัดทำรายงาน ให้มีกระบวนการที่เปิดกว้าง
ให้ประชาสังคมเข้าร่วม เพื่อที่จะได้สะท้อนปัญหาที่แท้จริง และเป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้
และทำงานร่วมกันต่อไป
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
15 กรกฎาคม
2548
ที่มา : http://www.matichon.co.th
สนใจอ่านรายละเอียดหัวข้อเกี่ยวเนื่องกับเรื่องข้างต้น
คลิก
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา
3
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
e-mail
: midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 620 เรื่อง หนากว่า 8200 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(จะมีการปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง
จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
กสม.ยังมีความกังวลในเรื่องการห้ามการทรมาน และการลงโทษอื่นที่โหดร้าย และควรมีการประกันว่า การทรมานเป็นการกระทำผิดตามกฎหมายอาญา รวมทั้งให้มีการสอบสวนที่เป็นอิสระ การห้ามการนำคนลงเป็นทาสและปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งยังเป็นปัญหาที่พบในสังคมไทย ปัญหาโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ซึ่งเป็นตัวอย่างของโครงการสาธารณะขนาดใหญ่ที่ขาดการคำนึงถึงผลกระทบทางด้านสังคม...
กสม.ได้เสนอให้รัฐบาลและรัฐสภาพิจารณาให้มีกฎหมาย/แก้ไขกฎหมาย เพื่อคุ้มครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และพันธกรณีระหว่างประเทศ และให้มีการปฏิบัติตามแผน ปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง รวมทั้งขอให้รัฐบาลดำเนินการในเรื่องสิทธิมนุษยชนศึกษา ให้สิทธิมนุษยชนศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต และรัฐบาลควรจัดตั้งกลไกระดับชาติที่มีความเป็นอิสระ ในการประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐในการปฏิบัติตามพันธกรณี ICCPR รวมทั้งการประเมินสถานการณ์ และการเสนอมาตรการที่จำเป็นแก่รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิมีผลในทางปฏิบัติต่อไป รวมถึงการจัดทำรายงาน ให้มีกระบวนการที่เปิดกว้างให้ประชาสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 620 เรื่อง หนากว่า 8200 หน้า
ในรูปของ CD-ROM ในราคา 150 บาทสนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง สมเกียรติ
ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง
สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
50202 และอย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์