บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 625 หัวเรื่อง
การเมืองเรื่องการใช้น้ำ
สุมนมาลย์
สิงหะ : เขียน
โครงการสิทธิชุมชนภาคเหนือ
ตอนบน ลุ่มน้ำแม่แตงล่าง
บทความบริการฟรี ม.เที่ยงคืน
The
Midnight 's free article
Website
ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
วิกฤตอนาคตอันใกล้
การเมืองเรื่องการใช้น้ำ-รัฐบาลที่ชอบเล่นของแพง
สุมนมาลย์
สิงหะ : เขียน
โครงการสิทธิชุมชนภาคเหนือตอนบน ลุ่มน้ำแม่แตงล่าง
หมายเหตุ
: บทความนี้ได้รับมาจากผู้เขียน เดิมชื่อ
ทักษิโนมิกค์ : รัฐบาลที่ชอบเล่นของแพง
200,000-400,000 ล้านบาท
กับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ : เกษตรกรไทยได้อะไร ?
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 5.5 หน้ากระดาษ A4)
แผนงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบูรณาการ ประกอบด้วย
1. แผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ, 23 กรกฎาคม 2546 (คณะกรรมการน้ำแห่งชาติ)
2. แผนรวมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง 2546 (กรมทรัพยากรน้ำ)
3. แผนโครงข่ายระบบท่อส่งน้ำ 2548 (กรมทรัพยากรน้ำ)
4. โครงการพัฒนาโครงข่ายน้ำและการเกษตรแบบบูรณาการ หรือโครงการน้ำแก้จน 2546 (กระทรวงเกษตร - กรมชลประทาน)
5. แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 2547 โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ทั้งนี้หากเจาะลึกแผนรวมการจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำปิง อันเป็นแผนนำร่องที่มีความก้าวหน้าที่สุดในแง่ระยะเวลาแผนงานถึง
20 ปี ตลอดจนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีการจัดประชุมกับชาวบ้านลุ่มน้ำปิงเพื่อประชาสัมพันธ์ถึงแผนงาน
แผนรวมการจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำปิงคิดจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นหลัก ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากเงินกู้เอดีบี
(Asian Development Bank) เมื่อปี 2542 เริ่มศึกษาโดย สำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
(ตุลาคม 2544) สิ้นสุดโดยกรมทรัพยากรน้ำ (พฤษภาคม 2546) บริษัทที่ปรึกษา
คือ บริษัทปัญญา คอนซัลแตนต์ จำกัด ได้มีข้อเสนอดังนี้
1. แผนงานระยะยาว 20 ปี (2547-2566) 6 แผนงาน (10,632 โครงการ) ได้แก่ แผนการพัฒนาแหล่งน้ำ, แผนการบรรเทาน้ำท่วม, แผนการบรรเทาปัญหาภัยแล้ง, แผนการบริหารจัดการน้ำ, แผนอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำ, แผนการจัดการมลพิษทางน้ำ แต่ละแผนงานประกอบด้วยมาตรการที่ใช้สิ่งก่อสร้างและไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง ในวงเงินรวม 128,479.98 ล้านบาท
* แผนระดับลุ่มน้ำ 103,489.75 ล้านบาท
* แผนระดับท้องถิ่น 24,990.23 ล้านบาท
* งบประมาณสำหรับการก่อสร้างรวม 101,931.72 ล้านบาท(79%)
2. แผนบริหารจัดการน้ำ (มาตรการที่ไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง): ตัวอย่างโครงการ
- โครงการศึกษาเพื่อกำหนดราคาค่าน้ำ ค่าบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมสำหรับการใช้น้ำเพื่อกิจกรรมต่างๆ (15 ล้านบาท)
- โครงการศึกษาลุ่มน้ำวิกฤตด้านการใช้น้ำ เพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่การจัดสรรน้ำตามสิทธิและความต้องการใช้น้ำในกิจกรรมต่างๆและจัดทำบัญชีผู้ใช้น้ำ (25 ล้านบาท)
- โครงการศึกษาแนวทางในการกำหนดสิทธิ์การใช้น้ำ กฎระเบียบข้อบังคับ (40 ล้านบาท)
- แผนงานศึกษาปรับปรุงร่างกฎหมาย พรบ.น้ำแห่งชาติ เพื่อให้สามารถรองรับการจัดสรรน้ำตามสิทธิ3. แผนการพัฒนาแหล่งน้ำ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่แตง, โครงการเพิ่มปริมาณน้ำให้อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวง(โดยการผันน้ำจากน้ำแม่แตง), โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล(ผันน้ำจากน้ำเมย-สาละวิน), เขื่อนคลองวังเจ้า, เขื่อนคลองสวนหมาก, ฝายกำแพงเพชร
4. แผนการบรรเทาปัญหาภัยแล้ง เช่น เขื่อนแก่งเสือเต้น อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่ขาน, อ่างเก็บน้ำแม่หอย, อ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยหวาย, อ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยหก รวมมูลค่าแผนงานทั้งสิ้น 270,000 ล้านบาท
จึงนำเสนอ โครงการชลประทานน้ำท่อ (water grid system) วงเงินเรือน 400,000 ล้านบาท ให้ประโยชน์ 579,000 ครัวเรือน มีรายได้ 1 แสน 9 หมื่นบาท ต่อปี อันเป็นอภิมหาโปรเจคที่ต้องมีการพัฒนาระบบท่อซึ่งมีต้นทุนค่าใช้จ่ายเรื่องการลงทุนค่าท่อ และพลังงานในการสูบน้ำเพิ่มขึ้น
ความเห็นนี้สอดคล้องกับร่างความเห็นกับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ :water grid: ความเป็นไปได้และความคุ้มค่าในการลงทุนของสภาที่ปรึกษาระบุว่า การจำแนกสมรรถนะที่ดินที่เหมาะสมสำหรับการชลประทาน ปรากฎว่ามีอยู่เพียง 38 ล้านไร่เท่านั้น ดังนั้นประเด็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกร ควรต้องมีการตรวจสอบและยอมรับจากเกษตรกรในพื้นที่อย่างจริงจัง ก่อนการพัฒนาโครงการต่อเนื่องจากสมัยนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรัฐบาลทักษิณชุดหนึ่ง
กรณีภาคเหนือการผันน้ำจากสาละวินไปเขื่อนภูมิพล และการผันน้ำกก อิง น่านไปเขื่อนสิริกิตต์ ประกอบด้วยแผนงานโครงข่ายน้ำ13 ข่าย ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนเรื่องงบประมาณ แต่คาดการณ์ได้ว่าในช่วง 20-30 ปีต่อไปนี้ จะมีคนมีงานทำเพิ่มขึ้น 24,000 คน โดยเฉพาะคนทำงานสาขาวิศวกรรม และการก่อสร้าง
ปัจจุบันความพยายามผลักดันโครงการผันน้ำแม่แตง-แม่งัด-แม่กวง และเขื่อนแม่ขาน จ.เชียงใหม่ ได้สร้างความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ใช้น้ำแตง และน้ำกวง ชาวบ้านแม่ขนิลใต้กับชาวบ้านสันป่าตอง กล่าวอีกทางคือ กลุ่มคนได้รับผลกระทบและกลุ่มคนได้ประโยชน์ ขยับเข้าใกล้จุดประทุที่แหลมคมมากขึ้น
ข้อสังเกตุประเด็นร่วมงบประมาณ 4 แสนล้าน
หนึ่ง มีมูลค่าสูงมาก งบประมาณก่อสร้างทั้งหมด 76% แต่ไม่เสนอให้ชัดถึงแผนงาน และรีบเร่ง ดำเนินการ ทุกแผนงานพูดถึงการนำน้ำไปรองรับการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม
สอง กระบวนการกำหนดแผนงาน โครงการยังคงเป็นกระบวนการของหน่วยงานราชการ
สาม แผนงานอ้างประโยชน์ด้านการชลประทานและการยกระดับรายได้ โขง ชี มูล water grid system และอีกหลายโครงการในทำนองเดียวกัน
สี่ ศักยภาพการผลิตภาคเกษตรเรามีไม่ถึง เกษตรกรมีรายได้สุทธิเท่าไหร่ ต้นทุนผันน้ำกก-อิง-น่าน มีราคา13บาทเมื่อมาที่เจ้าพระยา หากโครงการผันน้ำเป็นจริง ทั้งยังไม่แก้ปัญหาเก่า ท่ามกลางการคัดค้านทักท้วง ทวงถามของภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะภาคเกษตรที่ต้องพึ่งพาความสมบูรณ์ทรัพยากรน้ำ คำถามต่อภาคเกษตรว่า1. การรับผิดชอบต่อความล้มเหลว
2. การยอมรับภาระการจ่ายน้ำ เกษตรกรต้องรู้ว่าตนเองต้องรับผิดชอบเท่าไหร่ หากไม่มีของฟรีอีกต่อไป แล้วมันเท่าไหร่ละ เมื่อทิศทางของการผลักให้เกษตรกรผู้ใช้น้ำต้องรับภาระ
3. การยกระดับรายได้สุทธิเท่าไหร่
4. ความโปร่งใสต่อโครงการ การป้องกันการคอร์รัปชั่นอย่างเป็นระบบ
5. สำหรับการผันน้ำทั้งในและนอกประเทศ มันต้องส่งผลกระทบด้านอุทกวิทยา การไหลของปลายน้ำ การทำประชาพิจารณ์ (EIA) มันไม่สามารถทำเป็นจุดๆ ควรทำประชาพิจารณ์เป็นชุด ทั้งหมด
6. สิทธิการใช้น้ำในระบบท่อจะเปลี่ยนไปอย่างไร บทเรียนรูปธรรม เมื่อบริษัทอีสวอร์เตอร์ บริษัทแปรรูปน้ำขยายไปยังเขตอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ได้สัมปทานอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล อ่างเก็บน้ำดอกกราย สิทธิการใช้น้ำของเกษตรกรถูกเบียดบังจากระบบท่อ ที่เชื่อมโยงถึงกันหมด มีระบบท่อเชื่อมลุ่มน้ำไปยังอีกลุ่มน้ำหนึ่ง ท่อใหญ่ขนาดรถสิบล้อ 2-3 คันวิ่ง สิทธิการใช้น้ำอยู่ที่ใคร น้ำในท่อเป็นของใคร7. กระบวนการมีส่วนร่วมจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะว่าเป็นแผนที่หน่วยงานต่างๆ เขียนขึ้น
8. แผนทั้งหมดดึงน้ำในระบบมาใช้เพื่อภาคเกษตร และอุตสาหกรรม ประชาชนที่คนอาศัยความสมบูรณ์ของการใช้น้ำ ริมแม่น้ำ ป่าบุงป่าทาม พวกนี้จะถูกทำลาย และไม่มีการพูดถึงการชดเชยสิ่งที่สูญเสียไป ไม่มีแผนไหนพูดถึงเรื่องนี้
ล่าสุดบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออกจำกัด (มหาชน) หรืออีสวอร์เตอร์ โดยนางธิดารัชต์ ไกรประสิทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและทรัพยากรบุคคล เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนปรับโครงสร้างรายได้ให้สมดุลมากขึ้น จากปัจจุบันที่รายได้ส่วนใหญ่มาจากการขายน้ำดิบและน้ำประปา ปีหน้าบริษัทจะผลิตและจำหน่ายเครื่องกรองภายใต้ตราสินค้าตนเอง เพื่อเจาะถึงผู้บริโภคภายในครัวเรือนโดยตรง
นอกจากนี้บริษัทยังเสนอตัวเข้าไปเป็นผู้ก่อสร้างและบริหารระบบประปาตามเกาะสำคัญต่างๆ เช่น เกาะช้าง เกาะกูด เกาะพีพี เกาะเต่ารวมทั้งภูเก็ต และแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ เพื่อรองรับการใช้น้ำประปาที่สูงขึ้น (ข่าวสด, วันที่ 20 มิถุนายน 48, หน้า 8) ขณะเดียวกันกับปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำดอกราย และหนองปลาไหลลดลง ได้มีการตกลงต้องให้ภาคอุตสาหกรรมลดการใช้น้ำลง 40% (ข่าวสด, 20 มิ.ย. 2548)
เหตุผลเบื้องหลังของแผนงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ ผูกโยงทางด้านการเมืองไม่พ้นหาเสียงหรือขายฝัน โดยใช้คำว่า "แล้ง" ลืมความจริงแง่หนึ่งที่ว่า ภูมิภาคเขตร้อนชื้นบ้านเราตามเส้นละติจูด อย่างน้อยหนึ่งปี 3-4 เดือนเราจะแล้งฝนกันตามปกติ
ประกอบกับสภาพแวดล้อมที่ประเทศเพื่อนบ้านกำลังสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำกันครึกโครมคือ จีน เวียดนาม และลาว การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของรัฐบาล แม้ว่าดำเนินไปบนพื้นฐานรัฐธรรมนูญมาตรา 84 ที่ว่าภารกิจของรัฐในการจัดหาน้ำให้กับภาคเกษตรและภาคการผลิตอื่นๆ และอีกหลายมาตราที่ระบุว่าการดำเนินงานของรัฐบาลต้องตั้งอยู่บนความโปร่งใส และกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชนและภาคประชาสังคม (มาตรา 56 58 59 79)
เมื่อพิจารณาการผลักดันโครงการขนาดใหญ่ มูลค่าเป็นแสนล้านจากทั้งสามหน่วยงานได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าหน่วยงานทั้งหมดให้ความสำคัญกับการผลักดันโครงการอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด มากกว่าตระหนักเรื่องความโปร่งใส การให้ข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วน และพัฒนาการกระบวนการมีส่วนร่วมของสังคม สาเหตุสำคัญสืบเนื่องมาจากระบบบริหารงานรัฐบาลแบบเบ็ดเสร็จ ส่งผลให้ฝ่ายการเมืองและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ต่างทำงานเพื่อรักษาสถานภาพของหน่วยงานเป็นสำคัญ
เห็นได้ชัดว่านอกจากการบริหารจัดการทรัพยากรสาธารณะจะตกไปอยู่ภายใต้
การบริหารจัดการของกระทรวง ทบวง กรม ยังอ้าแขนรับให้บริษัทเอกชนข้ามชาติเข้ามาจัดการทรัพยากรทั้งๆที่ยังไม่แก้ปัญหาเก่า
ปัญหาใหม่เข้ามาซ้ำเติม เกษตรกรไทยจะได้อะไรยังมองไม่เห็น แต่สูญเสียอะไรนั้นเริ่มส่อเค้าชัดเจน
++++++++++++++++++++++
อ้างอิง
1 เอกสารเผยแพร่ประกอบการเสวนา เรื่อง "ความเห็นภาคประชาสังคมแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของรัฐ ก่อนการประชุม ค.ร.ม.สัญจร16-17 พฤษภาคม 2548"
2 แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดย สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,2547
3 แผนงบประมาณทรัพยากรน้ำเชิงบูรณาการลุ่มน้ำปิงตอนบน ประจำปีงบประมาณ2549
สำนักงานคณะอนุกรรมการลุ่มน้ำปิงตอนบน งานทรัพยากรน้ำภาคที่1 กรมทรัพยากรน้ำ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา
3
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
e-mail
: midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 620 เรื่อง หนากว่า 8200 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา
120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง
จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
สิทธิการใช้น้ำในระบบท่อจะเปลี่ยนไปอย่างไร บทเรียนรูปธรรม เมื่อบริษัทอีสวอร์เตอร์ บริษัทแปรรูปน้ำขยายไปยังเขตอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ได้สัมปทานอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล อ่างเก็บน้ำดอกกราย สิทธิการใช้น้ำของเกษตรกรถูกเบียดบังจากระบบท่อ ที่เชื่อมโยงถึงกันหมด มีระบบท่อเชื่อมลุ่มน้ำไปยังอีกลุ่มน้ำหนึ่ง ท่อใหญ่ขนาดรถสิบล้อ 2-3 คันวิ่ง สิทธิการใช้น้ำอยู่ที่ใคร น้ำในท่อเป็นของใคร
ล่าสุดบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออกจำกัด
(มหาชน) หรืออีสวอร์เตอร์ โดยนางธิดารัชต์ ไกรประสิทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและทรัพยากรบุคคล
เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนปรับโครงสร้างรายได้ให้สมดุลมากขึ้น จากปัจจุบันที่รายได้ส่วนใหญ่มาจากการขายน้ำดิบและน้ำประปา
ปีหน้าบริษัทจะผลิตและจำหน่ายเครื่องกรองภายใต้ตราสินค้าตนเอง เพื่อเจาะถึงผู้บริโภคภายในครัวเรือนโดยตรง
นอกจากนี้บริษัทยังเสนอตัวเข้าไปเป็นผู้ก่อสร้างและบริหารระบบประปาตามเกาะสำคัญต่างๆ
เช่น เกาะช้าง เกาะกูด เกาะพีพี เกาะเต่ารวมทั้งภูเก็ต และแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ
เพื่อรองรับการใช้น้ำประปาที่สูงขึ้น
(ข่าวสด, วันที่ 20 มิถุนายน 48, หน้า 8)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 600 เรื่อง หนากว่า 8000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง สมเกียรติ
ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง
สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
50202 และอย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์