บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 618 หัวเรื่อง
ขบวนการภาคประชาชนของโลก
อ.ใจ อึ้งภากรณ์ : เขียน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทความฟรีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
The Midnight 's article
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 600 เรื่อง หนากว่า 8000 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
สนใจสั่งซื้อที่ midnightuniv(at)yahoo.com - midnight2545(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง สมเกียรติ
ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง
สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์
(การจัดส่งทางไปรษณีย์ จะลงทะเบียนทุกฉบับ)
ภาคประชาชนโลกไปถึงไหนกันแล้ว
รายงานจากสมัชชาสังคมโลก
2005 บราซิล
อาจารย์
ใจ อึ้งภากรณ์
คณะรัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทความชิ้นนี้ได้รับมาทาง
email
เผยแพร่เฉพาะในวารสาร
กปร.
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม
๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 4.5 หน้ากระดาษ A4)
รายงานจากสมัชชาสังคมโลก 2005 บราซิล
งานสมัชชาสังคมโลก หรือ World Social Forum นั้นได้ถูกจัดขึ้นอีกครั้งที่เมืองปอร์โต
อาร์เลกเกรย์ ประเทศบราซิล ภายใต้คำขวัญเดิมก็คือ "โลกใบใหม่สร้างได้"
ในงานนี้มีผู้เข้าร่วมมากถึง 2 แสนคน ส่วนมากเป็นคนหนุ่มสาวที่เป็นนักศึกษาจากทั่วทั้งภูมิภาคลาตินอเมริกา
และจากประเทศต่างๆทั่วโลก
ภายใต้เวทีนับพันเวทีผู้เข้าร่วมของทุกๆเวทีคือคนหนุ่มสาวนักศึกษาที่สนใจปัญหาการเมือง และทุกๆคนตะโกนคำขวัญ "โลกใบใหม่สร้างได้" "ปลดปล่อยปาเลสไตน์" "ไม่เอากลไกตลาดและนโยบายเสรีนิยมใหม่" "โลกเราไม่ได้มีไว้ขาย" ตลอดงานที่จัดขึ้น 7 วัน
เวทีสมัชชาสังคมโลกเป็นเวทีที่มีความหลากหลายภายในทั้งในแง่ประเด็น เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องสุขภาพ เรื่องการศึกษา เรื่องขบวนการเคลื่อนไหว และในแง่แนวทางการต่อสู้ เช่น ฝ่ายปฏิรูป ปฏิวัติ พวกอนาธิปัตย์ ที่เข้ามาถกเถียงกันในแง่ยุทธศาสตร์ของการต่อสู้ แม้เราจะเห็นความหลากหลายมาก แต่ภายใต้ความหลากหลายนั้น มีการเชื่อมโยงประเด็นต่างๆ หรือเข้าใจร่วมกันว่า ประเด็นต่างๆที่แต่ละกลุ่มแต่ละคนสนใจนั้นมันเชื่อมโยงกันอย่างไร ทุกๆประเด็นล้วนพูดถึงศัตรูร่วมกันของภาคประชาชนโลก คือ ระบบทุนนิยมตลาดเสรี ที่เชิดชูกลไกตลาด เน้นกำไรของนายทุนโดยไม่สนใจสวัสดิการและชีวิตของคนธรรมดา
การเมืองบราซิล
เมืองปอร์โต อาเลกเกรย์ เป็นเมืองที่ใช้สำหรับจัดการประชุมสมัชชาสังคมโลกมาแล้วถึง
4 ครั้ง ถือได้ว่าเมืองนี้เป็นเมืองที่มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีที่สุดในประเทศบราซิล
สาเหตุสำคัญที่สมัชชาสังคมโลกสามารถเกิดขึ้นได้ในเมืองนี้ก็คือ การที่พรรคแรงงาน
(P.T.) คุมพื้นที่ในเมืองนี้อยู่ และการต่อสู้ของแรงงานในเมืองนี้มีความต่อเนื่องยาวนาน
งานเวทีสมัชชาสังคมโลกจึงถือกำเนิดจากภาคประชาชนสากลโดยแท้
ในปัจจุบันพรรคแรงงานบราซิลได้รับการเลือกตั้งย่างท่วมท้น จนสามารถจัดตั้งเป็นพรรครัฐบาล มีอดีตกรรมกรโรงประกอบรถยนต์ คือ ลูล่า เป็นประธานาธิบดี พรรคแรงงานบราซิล เป็นการรวมตัวของขบวนการหลายขบวนการ โดยเฉพาะ ขบวนการเกษตรกรไร้ที่ดิน (M.S.T.) และสหภาพแรงงาน (C.U.T.) ที่มีความเข้มแข็งมากในการเมืองภาคประชาชนบราซิล แต่ปัจจุบันพรรคแรงงานที่นำโดยลูล่ากลับประนีประนอมกับชนชั้นนายทุน โดยเสนอนโยบายเสรีนิยม ที่ขัดแย้งกับผลประโยชน์กับคนชั้นล่างทั่วไป
ในการเลือกตั้งปี 2000 ที่พรรคแรงงานได้รับชัยชนะอย่างท้วมท้นนั้น ประชาชนคาดหวังมากว่า ลูล่าจะเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ดีขึ้นอย่างถอนรากถอนโคน แต่เมื่อได้รับชัยชนะ รัฐบาลของลูล่ากลับใช้นโยบายเสรีนิยมเต็มตัว ซึ่งทำลายผลประโยชน์ของประชาชนธรรมดา ส่งผลให้มีหลายกลุ่มผิดหวังกับลูล่า ถอนการสนับสนุนพรรค และออกมาตั้งพรรคใหม่ที่เรียกว่า"พรรคสังคมนิยมและสันติภาพ (P-Sol)" ที่ปฏิเสธแนวกลไกตลาดและวิจารณ์ลูล่าอย่างเต็มที่
ในงานสมัชชาสังคมโลกนั้นเราจะเห็นภาพขบวนเปิดงานที่ยิ่งใหญ่ของ P-Sol ที่สมาชิกล้วนเป็นคนหนุ่มสาวที่ไม่พอใจลูล่า และออกมาสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่ถอนรากถอนโคน การเมืองของบราซิลจึงเป็นเรื่องของพรรคการเมืองที่สร้างจากขบวนการมาแข่งขันกัน ข้อถกเถียงในขบวนการภาคประชาชนบราซิล จึงไม่ใช่จะสร้างพรรคหรือไม่สร้างพรรค แต่ข้อถกเถียงสำคัญคือ พรรคที่สร้างจะมีนโยบายอย่างไรมากกว่า
สมัชชาสังคมโลก
เป็นแค่พื้นที่เสรี หรือขบวนการของขบวนการ ?
ข้อถกเถียงเกี่ยวกับทิศทางของเวทีสมัชชาสังคมโลก เป็นข้อถกเถียงใหญ่ที่หลายๆเวทีในสมัชชาสังคมโลกพูดถึง
ซึ่งดูคล้ายกับข้อถกเถียงในภาคประชาชนไทย ก็คือ ฝ่ายหนึ่งเสนอว่า สมัชชาสังคมโลกนั้นควรเป็นแค่
"พื้นที่เสรี" ที่กลุ่มไหนอยากมาใช้แสดงออก พูดคุยทางความคิด ซึ่งเป็นข้อเสนอของฝ่ายอนุรักษ์นิยมในสมัชชาสังคมโลก
บวกกับแนวอนาธิปัตย์ที่ปฏิเสธการจัดตั้ง พวกนี้ต้องการรักษาภาพพจน์และหลักการของสมัชชาสังคมโลกไว้จนเป็นประเพณี
ส่วนกลุ่มก้าวหน้าในสมัชชาสังคมโลก เช่น วอลเดน เบลโล จาก โฟกัส และอเล็กซ์ คาลินิคอส จากสากลสังคมนิยมมาร์คซิสต์ I.S.T.(แนว กปร.) เสนอว่า เวทีสมัชชาสังคมโลก จะต้องพัฒนาไปสู่การเป็น "ขบวนการของขบวนการ" คือ เป็นการรวมตัวของขบวนการภาคประชาชนทั่วโลก โดยมีเป้าหมาย กิจกรรม ยุทธศาสตร์ ที่เป็นรูปธรรมร่วมกัน เช่น การมีมติร่วมกันว่าวันที่ 19-20 มีนาคม เป็นวันต้านสงครามสากลในปีนี้ หรือการที่ภาคประชาชนโลกจะไปรวมตัวกันที่ฮ่องกงในปลายปีนี้เพื่อประท้วงการประชุม WTO ดังที่เคยจัดขึ้นที่ ซีแอตเติล เจนัว และแคนคูน
สหายคริส ฮาร์แมน จาก I.S.T. ที่อังกฤษ เสนอว่า เรากำลังอยู่ในยุคของการถกเถียงเรื่องยุทธศาสตร์ของขบวนการภาคประชาชนโลก ไม่ควรปล่อยให้แต่ละกลุ่มต่างคนต่างสู้แบบแยกส่วนอย่างเสรี แต่ควรร่วมมือกันและถกเถียงกันว่า เราจะมียุทธศาสตร์และมีเป้าหมายร่วมกันในการต่อสู้กับทุนนิยมเสรีอย่างไร
เช่นเดียวกัน เรากำลังพูดถึงประเด็นนี้ในภาคประชาชนไทย ฝ่ายภาคประชาชนไทยที่ถูกครอบงำโดยการต่อสู้ที่แยกส่วน มองว่า การเมืองภาคประชาชน คือ พื้นที่อิสระ ที่กลุ่มหรือขบวนการที่หลากหลายเข้ามาใช้ร่วมกัน ไม่ต้องช่วงชิงพื้นที่ทางการเมืองจากฝ่ายชนชั้นปกครอง ไม่ต้องร่วมมือกันสร้างขบวนการให้เข้มแข็ง แต่ทิศทางนี้นำไปสู่ความอ่อนแอที่เห็นชัดที่สุดใน "ยุทธศาสตร์หมากัดกัน" และการรับแนวกลไกตลาดไม่สู้กับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของภาคประชาชนไทย
ดังนั้นถ้าเราจะแก้ความอ่อนแอนี้เราต้องทำงานเพื่อสร้างขบวนการที่ใหญ่ขึ้นที่รวมเอากลุ่มต่างๆเข้ามามียุทธศาสตร์ มีเป้าหมาย และมีข้อเสนอร่วมกัน ในลักษณะที่ ฮาร์แมนเรียกว่า "ขบวนการของขบวนการ" ไม่ใช่พึงพอใจกับแค่พื้นที่อิสระที่แยกส่วน อ่อนแอ
เปลี่ยนโลกโดยไม่ต้องยึดอำนาจรัฐ?
สร้างพรรคการเมือง?
ในงานสมัชชาสังคมโลกครั้งนี้ หัวข้อที่ได้รับความสนใจอย่างมาก หรือจะเรียกว่ามากที่สุดก็คือ
ข้อถกเถียงระหว่าง แนวอิสระอนาธิปัตย์ (Autonomous) กับ แนวปฏิวัติมาร์กซิสต์
โดยที่แนวอนาธิปัตย์ เสนอว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงโลก หรือต่อสู้กับระบบทุนนิยมได้โดยไม่จำเป็นต้องยึดอำนาจรัฐ
หรือสร้างพรรคการเมือง
จอห์น ฮอลโลเวย์ นักคิดคนสำคัญของแนวนี้เสนอว่า เราสามารถสร้างสังคมนิยมได้เดี๋ยวนี้ โดยไม่จำเป็นต้องล้มระบบทุนนิยมและรัฐทุนนิยม โดยมองว่า ระบบทุนนิยมจะล่มสลายไปเองเมื่อกลุ่มอิสระอนาธิปัตย์ขยายตัวขึ้น มากไปกว่านั้น แนวคิดนี้ยังปฏิเสธที่จะถกเถียงเรื่องยุทธศาสตร์ของการต่อสู้ โดยนอกจากปฏิเสธองค์กรจัดตั้งแบบพรรคการเมืองและสหภาพแรงงานแล้ว กลับไม่มีข้อเสนอในเชิงยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน ทำให้สุดท้ายแนวนี้นำไปสู่การพึ่งพา หรือให้การสนับสนุนรัฐบาลทุนนิยม หรือพรรคนายทุน เช่นที่เกิดขึ้นแล้วในอาร์เจนตินา ที่กลุ่มอนาธิปัตย์ที่พูดเสมอว่า ไม่ชอบอำนาจรัฐ หันหลังให้รัฐ แต่สุดท้ายก็เข้าไปร่วมสนับสนุนรัฐบาลปฏิกิริยา
รูปธรรมอีกอันหนึ่ง คือ องค์กรเอ็นจีโอในไทย และแนวชุมชนของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนที่ใช้แนวอนาธิปัตย์ในการต่อสู้ แต่ในการเลือกตั้งที่ผ่านมากลับเสนอ "ยุทธศาสตร์หมากัดกัน" ที่เสนอให้เลือกพรรคนายทุนอีกพรรคไปคานอำนาจพรรคไทยรักไทย ซึ่งสะท้อนความอ่อนแอ ที่ในด้านหนึ่งปฏิเสธองค์กรจัดตั้ง และอำนาจรัฐ แต่ในรูปธรรมกลับมีข้อเสนอให้เลือกพรรคนายทุนเข้าไปคานอำนาจกันเอง เพื่อที่ภาคประชาชนจะได้มี "พื้นที่" ขยับเขยื้อนได้
หรือกรณีที่รัฐบาลทักษิณใช้มาตรการรุนแรงเข่นฆ่าพี่น้องมุสลิมใน 3 จังหวัดภาคใต้ เราจะพบว่า แกนนำของขบวนการเอ็นจีโอ แทบจะไม่มีจุดยืนหรือออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในด้านหนึ่งสะท้อนความอ่อนแอที่แนวอนาธิปัตย์ไม่สนใจอำนาจรัฐ แต่ก็ปฏิเสธการใช้ความรุนแรงของรัฐที่เกิดขึ้นไม่ได้ แนวอนาธิปัตย์ไม่สามารถนำเอาความไม่พอใจของคนธรรมดาๆที่มีต่อการใช้ความรุนแรงของรัฐ มาสร้างเป็นพลังทางการเมืองเพื่อต่อสู้กับอำนาจรัฐและความไม่เป็นธรรม
แนวคิดอนาธิปัตย์ในประเทศบราซิล ไม่ค่อยมีบทบาทเหมือนส่วนอื่นๆ ของโลก ดังที่กล่าวไปแล้วว่า ข้อถกเถียงเรื่องจะสร้างพรรคหรือไม่นั้น ไม่มีใครพูดถึง แต่จะสร้างพรรคอย่างไร ใช้นโยบายแบบไหน เป็นเรื่องสำคัญกว่า ซึ่งไปไกลกว่าข้อเสนอของแนวอนาธิปัตย์ที่พยายามดึงถอยหลังกลับไปที่การสร้างเครือข่ายหลวมๆหรือขบวนการที่กระจัดกระจาย
แต่การเมืองภาคประชาชนที่มีความก้าวหน้า เช่น ในบราซิล ภาคประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจดีว่า การมีองค์กรจัดตั้งเช่น พรรค เป็นสิ่งจำเป็น และเราหลีกเลี่ยงอำนาจรัฐไม่พ้น เพราะฉะนั้นเราต้องสู้กับอำนาจรัฐผ่านการมีพรรคของเราเอง จึงไม่เป็นเรื่องน่าแปลกใจที่คนหนุ่มสาวส่วนใหญ่สังกัดพรรคการเมือง และพูดคุยเรื่องการเมืองเป็นปกติ
ขบวนการนักศึกษาคนหนุ่มสาวเป็นความหวัง
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า คนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมงานสมัชชาสังคมโลก เป็นคนหนุ่มสาว
ซึ่งเราปฏิเสธไม่ได้ว่า ความหวังของการเปลี่ยนสังคมอยู่ที่คนหนุ่มสาวนักศึกษา
รูปธรรมในขบวนการต้านสงครามและนโยบายเสรีนิยม คัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในลาตินอเมริกา
องค์กรนักศึกษาเป็นหัวหอกสำคัญที่เข้าไปทำงานกับขบวนการแรงงาน ร่วมเรียกร้องค่าแรงที่เพิ่มขึ้น
และลดชั่วโมงการทำงาน และต่อสู้ในประเด็นต่างๆ ในอาร์เจนตินา
ภายในขบวนการนักศึกษามีการถกเถียงในเรื่องแนวคิด ทฤษฎี และยุทธศาสตร์ในการต่อสู้ มีกลุ่มศึกษาปัญหาการเมืองในมหาวิทยาลัย มีหนังสือพิมพ์ และวารสารของตัวเอง ขบวนการนักศึกษาและขบวนการกรรมกรที่เข้มแข็งนั้นมีความสำคัญ ทั้งขบวนการนักศึกษาที่มีก้าวหน้าจะช่วยหนุนเสริมและในหลายๆครั้งพวกเขานำการต่อสู้ของภาคประชาชน เช่น ตัวอย่างใกล้ตัวในยุค 14 ตุลา 2516 ขบวนการนักศึกษาที่เข้มแข็ง นำไปสู่การโค่นล้มเผด็จการในที่สุด
ดังนั้นการทำงานและการเอาแนวคิดทางการเมืองเข้าไปในมหาวิทยาลัย จึงเป็นเรื่องสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชน
โลกใบใหม่สร้างได้
(Another World is Possible)
กระแสการตื่นตัวของการต่อสู้ทั่วโลก การคัดค้าน WTO ที่ ซีแอตเติล เจนัว แคนคูน
การเกิดพรรคทางเลือกที่ปฏิเสธแนวเสรีนิยม การเกิดขบวนการต้านสงครามที่ใหญ่ที่สุดในโลก
การเกิดสมัชชาสังคมโลกขึ้นในบราซิล และอินเดีย การเกิดสมัชชาสังคมยุโรป ลาตินอเมริกา
และสมัชชาสังคมเอเชียที่อาจเกิดขึ้นในเกาหลีใต้ และการต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เกิดขึ้นในไทยของพนักงานรัฐวิสาหกิจนับแสน
สะท้อนว่าการสร้างโลกใบใหม่ที่ไม่มีชนชั้นนายทุน และการกดขี่ขูดรีดมีความเป็นไปได้
และนี่ไม่ใช่ยุคของการหดหู่ แต่เป็นยุคของการสร้างพรรคการเมืองและสร้างขบวนการให้เข้มแข็งพร้อมกัน
โลกใบใหม่สร้างได้!!!
บทความวิชาการฟรีที่ผ่านมา
ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ
สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา
3
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 600 เรื่อง หนากว่า 8000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
แนวคิดอนาธิปัตย์ในประเทศบราซิล ไม่ค่อยมีบทบาทเหมือนส่วนอื่นๆ ของโลก ... ข้อถกเถียงเรื่องจะสร้างพรรคหรือไม่นั้น ไม่มีใครพูดถึง แต่จะสร้างพรรคอย่างไร ใช้นโยบายแบบไหน เป็นเรื่องสำคัญกว่า ซึ่งไปไกลกว่าข้อเสนอของแนวอนาธิปัตย์ที่พยายามดึงถอยหลังกลับไปที่การสร้างเครือข่ายหลวมๆหรือขบวนการที่กระจัดกระจาย