บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 614 หัวเรื่อง
อนาคตของอาหาร
พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ : แปล
นักแปล และนักวิชาการอิสระ
บทความบริการฟรี ม.เที่ยงคืน
The
Midnight 's free article
Website
ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เรื่องของพืชตัดต่อพันธุกรรม
อนาคตของอาหาร
(๒) : อนาคตอาณานิคมยุคใหม่ในระดับยีน
พิภพ
อุดมอิทธิพงศ์ : เขียน
นักเขียน นักแปล และนักวิชาการอิสระ
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้เป็นการแปลมาจากบทบรรยาย DVD
เรื่อง
The Future of Food : There's a revolution happening
A film by Deborah Koons Garcia
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 14.5 หน้ากระดาษ A4)
("มอนซานโต้ไม่มีหน้าที่รับรองความปลอดภัยของอาหารไบโอเทค เราสนใจแต่จะขายสินค้าเราให้มากที่สุดเท่านั้น หน้าที่รับรองความปลอดภัยเป็นของ อย.ต่างหาก" ฟิล แองเจล ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์มอนซานโต้ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ 25 ตุลาคม 2541)
นอกจากจะอ้างว่าสินค้าของพวกเขาปลอดภัยแล้ว อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพยังอ้างว่ามันช่วยให้เกิดผลผลิตมากขึ้น พวกเขาอ้างว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพ ช่วยให้เราผลิตอาหารได้มากขึ้นในที่ดินที่เราทำเกษตรอยู่ หรือในที่ดินที่ไม่เหมาะสมกับการเกษตรในปัจจุบัน
(ดร. ชาร์ล เอ็ม เบนบรูก อดีตผู้อำนวยการ คณะกรรมการเกษตรกรรม, สภาวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ) "มอนซานโต้เสนอมาตรการควบคุมสำหรับถั่วเหลืองราวน์อัพเรดดี้ ให้กับ อย. และกระทรวงสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือว่าเป็นพืชจีเอ็มโอในเชิงพาณิชย์ที่แพร่หลายที่สุดชนิดแรก แต่หลักการทางวิทยาศาสตร์ที่พวกเขาเสนอตื้นเขินมาก พวกเขาไม่ได้พิจารณาถึงปัจจัยกดดันทางธรรมชาติ ภาวะแห้งแล้ง ระบาดวิทยาของพืช และปัจจัยอื่น ๆ เลย ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ถั่วเหลืองต้องเผชิญในสภาพแวดล้อมจริง
ในปี 2543 คณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอาร์คันซอเก็บข้อมูลพบว่า รากของพืชมีขนาดลดลงภายใต้สภาพแห้งแล้ง ลดลงถึงร้อยละ 25 การลดลงของขนาดรากร้อยละ 25 จะทำให้ผลผลิตลดลงในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งถือว่าเป็นผลกระทบที่ร้ายแรง"
"ช่องว่างอีกอย่างหนึ่งในมาตรการตรวจสอบที่มอนซานโต้เสนอก็คือ ไม่มีการสำรวจถึงผลกระทบของการฉีดพ่นยาราวน์อัพ ที่มีต่อความสามารถในการผลิตไนโตรเจนให้กับดินของถั่ว ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมสำคัญที่สุดของถั่วเหลือง การปลูกถั่วจะช่วยเพิ่มไนโตรเจนให้กับที่ดินของคุณ"
"เรากำลังเริ่มศึกษาเรื่องนี้เพราะว่าเกษตรกรเริ่มสังเกตเห็นปัญหาในแปลงที่มีการปลูกถั่วเหลืองราวน์อัพเรดดี้ มันเกิดผลลัพธ์ที่แย่มาก และเราบอกไม่ได้ว่าเป็นเพราะอะไร"
ปัจจัยที่คุกคามต่อผลผลิตมากที่สุด ได้แก่ วัชพืชชนิดใหม่ที่ทนทานกับยาฆ่าหญ้าอย่างเช่น ราวน์อัพ. ในปี 2546 หญ้ามาริสเทลแพร่กระจายไปทั่ว 21 รัฐ เป็นเหตุให้เกษตรกรต้องใช้สารเคมีอันตรายอย่างเช่น สาร 2-4D ซึ่งคล้าย ๆ กับสารเอเจนออเรนท์ ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติของทารกที่เกิดมา แทนที่จะฉีดพ่นน้อยลงพวกเขาต้องฉีดพ่นยามากขึ้น
แล้วทำไมรัฐบาลจึงอนุญาตให้มีการใช้เทคโนโลยีที่อื้อฉาวนี้ได้ล่ะ?
(แอนดรู คิมเบรล ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยด้านอาหาร) "ในช่วงปลายสมัยแรกของรัฐบาลนายบุช
แดน เควล ทำการรณรงค์เพื่อจัดตั้งสภาเพื่อความสามารถในการแข่งขัน"
(นายแดน เควล รองประธานธิบดีและรองประธานสภาเพื่อความสามารถในการแข่งขัน ปี 2535) "เราจะทำให้สินค้าไบโอเทคได้รับการดูแลเช่นเดียวกับสินค้าอื่น ๆ แทนที่จะต้องเจอกับอุปสรรคเนื่องจากมาตรการที่ไม่จำเป็น"
(แอนดรู คิมเบรล ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยด้านอาหาร) "สภาของเควลเสนอแนะว่า ไม่ควรมีการออกมาตรการใด ๆ เพื่อควบคุมอาหารจีเอ็มโอเลย ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์ของ อย.โกรธมาก พวกเขาบอกว่าอาหารเหล่านี้จะต้องได้รับการทดสอบ เพราะอาจเป็นพิษและอาจเป็นสารชนิดใหม่ที่ทำให้เกิดอาการแพ้ กระบวนการด้านพันธุวิศวกรรม เทคนิคการรุกรานเซล อาจทำให้มีสารอาหารต่ำลง และอาจทำให้เกิดปัญหาต่อระบบภูมิต้านทานกับสัตว์ทดลอง เราต้องทดสอบปัญหาเหล่านี้นอกเหนือไปจากผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
แต่แดน เควล และสภาของเขาบอกว่า
"ไม่มีทาง เราต้องการเป็นคนแรกในโลกที่จะจำหน่ายอาหารเหล่านี้"
อย.ก็ยังปฏิเสธ แล้วพวกเขาต้องทำอย่างไรล่ะ ? พวกเขาก็เอาผู้ช่วยกรรมาธิการด้านนโยบายอาหารคนหนึ่งซึ่งชื่อว่าไมเคิล
เทเลอร์มาเป็นพวก เขาเคยทำงานกับคิงและสแปลดลิง ในฐานะที่ปรึกษาอาวุโสของมอนซานโต้
เขาเป็นคนเขียนมาตรการด้านอุตสาหกรรม ซึ่งกำหนดให้ไม่มีการควบคุมอาหารจีเอ็มโอ
และกำหนดให้นโยบายเหล่านี้มีการใช้อย่างเป็นทางการในปี 2535"
(รอดนีย์ เนลสัน เกษตรกรในรัฐนอร์ธดาโกต้า) "ลูกจ้างของมอนซานโต้และเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานควบคุมของรัฐบาลเป็นบุคคลเดียวกัน ยกตัวอย่างจากหลาย ๆ ชื่อที่มีอยู่ คนหนึ่งที่สำคัญที่สุดได้แก่ ลินดา ฟิชเชอร์ ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา เธอทำงานเป็นรองประธานบริหารของบริษัทมอนซานโต้ แต่ในตอนนี้เธอเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม และยังเป็นรัฐมนตรีช่วยภายใต้รัฐบาลของนายบุชผู้พ่อมาก่อน ก่อนหน้านั้นเธอก็ทำงานกับมอนซานโต้ และก่อนหน้านั้นไปอีก เธอก็อยู่กระทรวงสิ่งแวดล้อม เธอเข้าออกกระทรวง 3-4 ครั้ง และยังมีคนแบบนี้อีกมากมายที่อยู่ในรัฐบาลกลาง" อย่างเช่น
- ผู้พิพากษาศาลฎีกา แคลเรนซ์ โธมัส ดำรงตำแหน่งเป็นนักกฎหมายด้านมาตรการรัฐ
- มิกกี้ แคนเตอร์ รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารของมอนซานโต้
- ลินดา วาทรูด จากกระทรวงคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ดำรงตำแหน่งเป็นนักวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพให้กับมอนซานโต้- แอน เวเนแมน รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารของคาลยีน ซึ่งถูกซื้อโดยมอนซานโต้
- ไมเคิล ฟรีดแมน รักษาการกรรมาธิการประจำ อย. ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงในบริษัท Searle ซึ่งเป็นบริษัทลูกของมอนซานโต้
- วิลเลียม รุกเกลเฮาส์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสิ่งแวดล้อม ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารของมอนซานโต้
- โดนัลด์ รัมเฟลด์ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ดำรงตำแหน่งเป็นประธานบริษัท Searle ซึ่งเป็นบริษัทลูกของมอนซานโต้
ต่อมาผมรู้ว่านายจอห์น แอชครอฟต์ เคยยื่นข้อมูลให้กับศาลฎีกาเกี่ยวกับคดีละเมิดสิทธิบัตร ซึ่งจะมีการพิจารณาในเดือนตุลาคม เขาเกลี้ยกล่อมให้ศาลฎีกาคุ้มครองสิทธิบัตรใหม่เหล่านี้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของบรรษัท พร้อมกันนั้น ผมก็ได้รู้ว่านายแอชครอฟต์เคยได้รับเงินสนับสนุนให้ลงเลือกตั้งจากมอนซานโต้ ซึ่งมีการจ่ายให้กับผู้สมัคร 2,000 ราย แม้ว่าเขาจะล้มเหลวในการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สว.อีกครั้ง"
("เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรจะได้รับเสียงสนับสนุนเต็มที่จากทำเนียบขาว ไม่ว่าพรรคไหนจะชนะการเลือกตงในเดือนพฤศจิกายนนี้" จากจดหมายข่าวภายในของมอนซานโต้ 6 ตุลาคม 2543)
(ดร. อิกนาซิโอ ชาเปลา นักนิเวศจุลินทรีย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งเบิร์กเลย์) "คำว่า "ลดการควบคุม" อันที่จริงก็หมายถึงการบอกให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง หันหน้าไปอีกทางหนึ่ง ทำเป็นมองไม่เห็น" บริษัทต่าง ๆ ทดสอบพืชด้วยตนเองและรายงานผลให้รัฐบาลทราบ ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างสมัครใจ
(ดร. อิกนาซิโอ ชาเปลา นักนิเวศจุลินทรีย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งเบิร์กเลย์) "ถ้าเราตั้งคำถามที่ถูกจริง ๆ เราจะต้องหยุดเทคโนโลยีนี้ในช่วง 50 หรือ 100 ปีข้างหน้า" แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับตรงข้าม เฉพาะในสหรัฐฯ การปลูกเมล็ดคาโนลา ข้าวโพด ฝ้าย และถั่วเหลืองจีเอ็มโอ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนเลยในช่วงทศวรรษ 1980 ในปี 2539 มีการลูกพืชจีเอ็มโอเหล่านี้มากถึง 9.25 ล้านไร่ และเพิ่มเป็น 250 ล้านไร่ในปี 2546
ในปี 2541 เม็กซิโกห้ามการปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอเพื่อปกป้องมรดกทางเกษตร (ดร. จอร์จ โซเบรอน ผู้อำนวยการคณะกรรมาธิการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติ เม็กซิโก) "ในเม็กซิโก เรามีพันธุ์ข้าวโพดหลายร้อยพันธุ์ บางพันธุ์สามารถปรับตัวให้ทนสภาพอากาศหนาว บางพันธุ์เข้ากับอากาศแห้งแล้ง บางพันธุ์สามารถทนทานต่อแมลงบางชนิด บางพันธุ์มีรสชาติที่แตกต่างไป และบางพันธุ์เหมาะกับการทำข้าวโพดคั่ว ซึ่งเป็นอารยธรรมเก่าแก่ของชาวอัซเต็ค บางพันธุ์เหมาะที่จะทำโรตีพื้นเมือง หรือใช้เลี้ยงวัวควาย เรามีข้าวโพดมากมายหลายพันธุ์ในเม็กซิโก"
เมื่อ 7,000 กว่าปีที่แล้ว
ชาวเม็กซิโกเริ่มปลูกข้าวโพดเป็นอาหาร และมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพืชชนิดนี้
ข้าวโพดไม่ได้เป็นแค่อาหาร แต่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมด้วย
(ดร. เอกเซเควล เอสคิวรา ผู้อำนวยการสถาบันนิเวศวิทยาแห่งชาติ เม็กซิโก) "ในแถบเทือกเขาฮาลิสโก เกษตรกรจงใจปลูกไร่ข้าวโพดใกล้กับแหล่งข้าวโพดตามธรรมชาติ เหตุผลก็เพราะเขารู้ว่ามันจะช่วยให้ข้าวโพดทนทานต่อแมลง เนื่องจากมีการผสมข้ามพันธุ์กับพันธุ์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ"
(ดร. อิกนาซิโอ ชาเปลา นักนิเวศจุลินทรีย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งเบิร์กเลย์) "เราไม่รู้ว่าสายพันธุ์ไหนจะมีประโยชน์ เราจึงรักษาไว้ทุกสายพันธุ์ ความหลากหลายของพืชได้รับการรักษาโดยชาวนา ที่เรียกว่าพันธุ์ดั้งเดิม ชาวนารายย่อยมักเป็นผู้ปลูกพืชสายพันธุ์เหล่านี้ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งหลายพันธุ์มีความทนทานต่อภูมิอากาศบนที่สูง อากาศที่เป็นน้ำแข็ง หรือแห้งแล้ง หรือสภาพอากาศที่สุดโต่ง ทั้งหมดเป็นพื้นฐานของความหลากหลายที่เราใช้ประโยชน์ เพื่อให้มีผลผลิตมากเพียงพอสำหรับเลี้ยงโลก"
ในปี 2513 โรคระบาดของข้าวโพดในอเมริกาทำลายพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่นี่หลายล้านไร่ โชคดีที่สหรัฐฯ ค้นพบสายพันธุ์ข้าวโพดพื้นเมืองจากเม็กซิโก ที่สามารถต้านทานกับโรคนี้ได้
ในปี 2543 ดร.ชาเปลา พบว่ามีการปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอในชนบทบางแห่ง เกษตรกรในเม็กซิโกได้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดจีเอ็มโอจากอเมริกาซึ่งไม่ได้ติดฉลาก โดยได้รับมาจากรัฐบาลในท้องถิ่นเพื่อมากิน และส่วนหนึ่งก็นำมาปลูก แบบที่เขาเคยทำมาหลายพันปี
(ดร. เอกเซเควล เอสคิวรา ผู้อำนวยการสถาบันนิเวศวิทยาแห่งชาติ เม็กซิโก) "เกษตรกรไม่รู้ถึงความแตกต่างระหว่างเมล็ดพันธุ์กับเมล็ดธัญพืช อันที่จริงเมล็ดธัญพืชกับเมล็ดพันธุ์ก็เหมือนกัน กล่าวคือเมล็ดธัญพืชเป็นเมล็ดที่กำลังจะงอก เหมือนมีตัวอ่อนเล็ก ๆ เหมือนมีทารกเล็ก ๆ อยู่ในเมล็ด และถ้าเราเอาไปใส่ในดิน มันก็จะงอกขึ้น"
เมล็ดจีเอ็มโอผสมข้ามพันธุ์กับข้าวโพดพื้นเมือง ทำให้เกิดการปนเปื้อนของสายพันธุ์โบราณ "ข้าวโพดพวกนี้กินได้ ข้าวโพดเป็นอาหารที่คนทุกคนในเม็กซิโกกิน ข้าวโพดเป็นอาหารของมนุษย์ แล้วมันจะไม่ดีได้ยังไง. ในเม็กซิโก การซื้อข้าวโพดที่นำเข้าจากอเมริกามีราคาถูกกว่าการปลูกข้าวโพดพื้นเมืองกินเอง เพราะข้าวโพดจากอเมริกาได้รับการอุดหนุนราคาจากภาษี ในขณะที่ไม่มีการอุดหนุนราคาข้าวโพดจากเม็กซิโก อย่างไรก็ตาม ชาวเม็กซิกันจำนวนมากชอบปลูกข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง
"ทำไมคุณถึงเอาเมล็ดพันธุ์เดิมมาปลูกซ้ำทุกปี?
ทำไมถึงไม่ซื้อข้าวโพดจากอเมริกากินล่ะ?"
"มันช่วยให้เก็บเงินได้ มันเป็นการประหยัดเงิน แล้วรสชาติของข้าวโพดพื้นเมืองก็อร่อยกว่าข้าวโพดจากอเมริกาด้วย
งานที่คุณทำที่นี่ มีความสำคัญต่อโลกมาก"
"พวกเกษตรกรที่นี่ถามว่า "ถ้าเรามียีนที่ผสมข้ามมาในพันธุ์ข้าวโพดของเรา แล้วเราจะโดนเล่นงานเหมือนพรรคพวกในแคนาดาหรือเปล่าล่ะ ? พวกบรรษัทจะมาที่นี่และรีดไถเงินจากการที่มียีนของพวกเขาในข้าวโพดของเราหรือเปล่าล่ะ ?" ในเดือนพฤศจิกายน 2544 ดร.ชาเปลาตีพิมพ์งานวิจัยในนิตยสารทางวิทยาศาสตร์ชื่อเนเจอร์ เปิดเผยถึงการปนเปื้อนของข้าวโพดจีเอ็มโอ
(ดร. เอกเซเควล เอสคิวรา ผู้อำนวยการสถาบันนิเวศวิทยาแห่งชาติ เม็กซิโก) "เราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น และเราได้ศึกษาและสุ่มตัวอย่าง และส่งตัวอย่างไปยังที่ต่าง ๆ ตอนแรกเราพยายามเลียนแบบสิ่งที่ดร.ชาเปลาทำ แต่ตอนนี้เราก้าวไปอีกขั้นและพยายามค้นหาว่าอะไรคือปัญหา"
(ดร. จอร์จ โซเบรอน ผู้อำนวยการคณะกรรมาธิการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติ เม็กซิโก) "เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ยุ่งยากเล็กน้อย เพราะเราไม่ต้องการทำลายสายพันธุ์พื้นเมืองของเรา เราไม่อยากให้มันเกิดขึ้น ไม่ว่ามันจะมีผลลัพธ์อย่างไร ก็เป็นเรื่องที่ต้องว่ากันอีกทีหนึ่ง ประเด็นก็คือยีนเหล่านั้นไม่ควรมาอยู่ในข้าวโพดพวกนี้ แต่มันได้มาอยู่แล้ว และกลายเป็นปัญหาใหญ่ของพวกเรา"
(ดร. อิกนาซิโอ ชาเปลา นักนิเวศจุลินทรีย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งเบิร์กเลย์) "จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราเอาพืชชนิดเดียวมาส่งเสริมในพื้นที่นี้ เป็นพืชเพื่ออุตสาหกรรม และถ้ามีการปนเปื้อนทางพันธุกรรมเกิดขึ้น สายพันธุ์พืชที่ผลิตแบบอุตสาหกรรมก็จะทำลายความหลากหลายทางธรรมชาติไป และจะเป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อความมั่นคงด้านอาหาร มันไม่กระทบเฉพาะคนซึ่งอยู่ที่นี่ แต่พวกเราด้วย รวมทั้งการผลิตอาหารในเชิงอุตสาหกรรม ถ้าเราไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมเหล่านั้น เราจะเผชิญกับปัญหาที่เราไม่สามารถแก้ไขได้"
ไม่ใช่แค่ข้าวโพดจีเอ็มโอเท่านั้นที่ทำให้เกิดปัญหาเนื่องจากการจดสิทธิบัตรในเม็กซิโก
(ดร. เอกเซเควล เอสคิวรา ผู้อำนวยการสถาบันนิเวศวิทยาแห่งชาติ เม็กซิโก)
"ระบบสิทธิบัตรสากลในปัจจุบันไม่คุ้มครองความรู้ที่สืบทอดมาดั้งเดิม
ทำให้เกิดปัญหามากมายในเม็กซิโก ผมคิดว่ามีอยู่ 3-4 ครั้งที่พยายามมีการจดสิทธิบัตรโรตีพื้นเมือง
ยังกับว่ามันเป็นของใหม่ ทั้ง ๆ ที่มันดำรงอยู่มากว่า 3,000 หรือ 5,000 ปีแล้ว"
"หลายคนจึงเริ่มอภิปรายแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญ นั่นคือเราควรให้มีการจดสิทธิบัตรชีวิตหรือไม่ ? นั่นเป็นประเด็นที่พวกเราในฐานะเผ่าพันธุ์มนุษย์ยังไม่ได้พูดคุยอย่างดีพอ มันเป็นเหมือนการบ้านที่ยังไม่เสร็จ ซึ่งเราต้องทำให้เสร็จ"
"แผนที่เม็กซิโกเหมือนกับรูปทรงข้าวโพด"
ในปี 2546 สหรัฐฯ ขายข้าวโพดจีเอ็มโอหลายล้านปอนด์ให้กับเม็กซิโกในราคาต่ำกว่าต้นทุน
ในขณะเดียวกัน มีกระแสต่อต้านการส่งออกพืชจีเอ็มโอของสหรัฐฯ ไปทั่วโลก ข้าวโพดชุดสุดท้ายที่ส่งออกไปยุโรปมีมูลค่าประมาณ
300 ล้านเหรียญต่อปี
ทำให้วิกฤติของเกษตรกรในอเมริกาเหนือแย่ลง
(แดริน เควลแมน สหภาพชาวนาแห่งชาติ แคนาดา) "ด้านหนึ่งเรามีชาวไร่ชาวนา
อีกด้านหนึ่งเรามีบริษัทน้ำมันและก๊าซ บริษัทผลิตปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ และเครื่องจักรกล
รวมทั้งสารเคมี ธนาคาร โดยที่เกษตรกรอยู่ตรงกลางของห่วงโซ่เกษตรกรรมอาหาร
และที่ด้านล่างของห่วงโซ่จะเป็นผู้ประกอบอาหาร การรถไฟฯ บริษัทธัญพืช ร้านอาหาร
บริษัทบรรจุหีบห่อ ฯลฯ"
"สิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละจุดเชื่อมของห่วงโซ่นี้ ยกเว้นจุดเชื่อมในด้านเกษตร ถูกครอบงำด้วยบริษัทขนาดใหญ่ที่มีจำนวนน้อยลง บรรษัทขนาดใหญ่ที่ไม่ต้องเผชิญกับการแข่งขันมากนัก สามารถมีรายได้และผลกำไรมากมายจากห่วงโซ่เช่นนี้ และปล่อยให้มีผลประโยชน์ตกลงไปถึงกลุ่มเกษตรกรรายย่อยเพียงเล็กน้อย สิ่งที่ชาวนารายย่อยได้รับก็ถูกขโมยไปอย่างรวดเร็วโดยบริษัทสารเคมี บริษัทเมล็ดพันธุ์และบริษัทผลิตปุ๋ย ซึ่งกลายเป็นผู้มีอำนาจทางการตลาดอย่างมาก"
(ดร. ชาร์ล เอ็ม เบนบรูก
อดีตผู้อำนวยการ คณะกรรมการเกษตรกรรม, สภาวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ)
"เกษตรกรที่อยู่ตรงกลางไม่ได้รับผลกำไรมากนัก ในขณะที่คนซึ่งอยู่อีกสองข้างกลับได้ประโยชน์มากกว่า"
(แดริน เควลแมน สหภาพชาวนาแห่งชาติ แคนาดา) "เมื่อเราเอาเงิน 1.50 เหรียญวางบนเคาเตอร์เพื่อแลกกับขนมปังแถวหนึ่ง เงินก็จะเปลี่ยนมือไปที่ผู้ขายปลีก แต่นี่เป็นบรรษัทที่มีมูลค่าค้าขายหลายพันล้านเหรียญ ซึ่งมีคู่แข่งเพียงหนึ่งหรือสองราย และยังโรงโม่ที่ผลิตแป้งที่ผูกขาดแบบเดียวกัน และบริษัทค้าขายธัญพืชก็ทำแบบเดียวกัน จนเหลือเพียงเศษเงินเล็กน้อยที่ไหลลงไปจนถึงมือเกษตรกร และแม้เป็นเศษเงินเพียงเล็กน้อย เกษตรกรก็ยังต้องถูกแย่งเงินเหล่านี้ไปโดยบรรดาผู้ผลิตรายใหญ่"
(ดร. ชาร์ล เอ็ม เบนบรูก อดีตผู้อำนวยการ คณะกรรมการเกษตรกรรม, สภาวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ) "ผมเพิ่งทำการศึกษาต้นทุนและประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของข้าวโพดบีที ข้อมูลอย่างเป็นทางการจากกระทรวงเกษตรแสดงให้เห็นว่า ต้นทุนการปลูกข้าวโพดต่อ 1 บุชเชล คิดเป็น 3.20 หรือ 3.40 เหรียญสหรัฐฯ และเกษตรกรจะมีรายได้สุทธิประมาณ 2.20 เหรียญเท่านั้น หมายถึงว่าในการผลิตข้าวโพดหนึ่งถัง พวกเขาจะขาดทุนหนึ่งเหรียญ คือยิ่งผลิตเท่าไร พวกเขาก็ยิ่งขาดทุน มันก็เหมือนกับนักธุรกิจ เวลาที่ยิ่งขายแล้วยิ่งขาดทุน อย่างเช่น ถ้าเราปลูกข้าวโพดและต้องขาดทุนเอเคอร์ละ 140 เหรียญ คุณก็ไม่สามารถอยู่ในธุรกิจนั้นได้ คำตอบจึงอยู่ที่การพึ่งพาการอุดหนุนราคาของรัฐบาล"
การอุดหนุนราคามักทำกับพืชเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นข้าวโพด ข้าวสาลี ฝ้ายและถั่วเหลือง ซึ่งล้วนเป็นเป้าหมายการทำให้เป็นพืชจีเอ็มโอของบริษัท
(ดร. ชาร์ล เอ็ม เบนบรูก อดีตผู้อำนวยการ คณะกรรมการเกษตรกรรม, สภาวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ) "ถ้าคุณเป็นบริษัทเกษตรอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าป้อนตลาด และถ้าคุณรู้ว่าราคาที่ขายจะแพง คุณจะมั่นใจยิ่งขึ้นเมื่อทราบว่ารัฐบาลจะให้ความอุดหนุนส่วนต่างของราคาตรงนั้น โดยไม่สนใจว่าเกษตรกรจะได้รายได้เท่าไร และจะต้องมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตเท่าไร"
ในปี 2545 ประธานาธิบดีบุช
ลงนามในพระราชบัญญัติอุดหนุนราคาสินค้าครั้งใหญ่ที่สุด
(ดร. ชาร์ล เอ็ม เบนบรูก อดีตผู้อำนวยการ คณะกรรมการเกษตรกรรม, สภาวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ)
"แม้ว่ามันไม่ถึงกับจะเป็นการติดป้ายว่าเป็นเงินอุดหนุนด้านราคา แต่มาตรการนี้ก็ทำให้เกษตรกรสนใจเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอ
ทั้ง ๆ ที่มีต้นทุนการผลิตสูง"
ทำให้ผู้เสียภาษีชาวอเมริกันทุกคนต้องจ่ายเงินอุดหนุนอุตสาหกรรมไบโอเทคถึง 20 ล้านเหรียญ เมื่อสหรัฐฯ อุดหนุนราคาพืชผล ยุโรปก็อุดหนุนชาวนาบ้าง แต่ทั้งแคนาดาและเม็กซิโกไม่ได้อุดหนุนทั้งราคาและตัวชาวนา
(แดริน เควลแมน สหภาพชาวนาแห่งชาติ แคนาดา) "เกษตรกรผู้ผลิตไม่เข้าใจว่า ทำไมยิ่งผลิตเท่าไรพวกเขาก็ยิ่งขาดทุน ราคาที่ได้ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต หลายครอบครัวแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยการที่ตัวสามีหรือภรรยาต้องออกไปหางานอย่างอื่นทำ ที่น่าหัวเราะก็คือพวกเขาเอาเงินที่ได้เพื่อมาจ่ายต้นทุนในการผลิตด้านการเกษตร ทำให้ครอบครัวของชาวนารายย่อยทำงานนอกภาคเกษตร เพื่อเอาเงินมาอุดหนุนมอนซานโต้และบริษัทสารเคมีอื่น ๆ สำหรับเงินรายได้ที่ขาดทุนไป"
(ดร. ชาร์ล เอ็ม เบนบรูก อดีตผู้อำนวยการ คณะกรรมการเกษตรกรรม, สภาวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ) "ถ้าคุณได้คุยกับคนในวงการเกษตรถึงทักษะที่สำคัญในการเกษตร คุณจะพบว่าทักษะด้านการตลาดเป็นส่วนสำคัญของโครงการที่รัฐบาลส่งเสริม ทั้งทักษะการติดต่อกับธนาคาร ติดต่อกับผู้ที่ให้เราเช่าที่ดิน การจัดการกับอุปกรณ์ได้เป็นอย่างดี แต่กลับไม่รวมถึงความรู้ในเชิงชีววิทยาเกี่ยวกับดิน หรือระบบการผลิต หรือภูมิปัญญาดั้งเดิม คุณสมบัติของเกษตรกรในอเมริกาในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการกระบวนการด้านชีวภาพ หรือที่เราเรียกว่าทักษะในการผลิตเลย"
"ตามชนบทในอเมริกา ชาวบ้านให้ความสำคัญกับชุมชน เพื่อนบ้าน และความสัมพันธ์กับเพื่อนฝูง แต่เมื่อขนาดไร่นาใหญ่ขึ้น มีการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมากขึ้น การตัดสินใจในการบริหารเงินทุนก็ถูกเปลี่ยนมือไปที่ตามเมืองหลวงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเซ็นหลุยส์ หรือมินิอาโปลิส หรือแคนซัสซิตี้ เหมือนกับเราไปยืมมือพวกเขามาบริหาร ซึ่งทำให้ความมั่งคั่งของชุมชนน้อยลงไป และเราสูญเสียหลายสิ่งหลายอย่างไป"
(รอดนีย์ เนลสัน เกษตรกรในรัฐนอร์ธดาโกต้า) "ครอบครัวของผมมีชีวิตเหมือนอยู่ในนรกตั้งแต่สิ่งนี้เกิดขึ้น ผมเชื่อว่านี่เป็นสาเหตุที่ทำให้พ่อผมเป็นโรคหัวใจเมื่อเร็ว ๆ นี้ ท่านถูกทำร้ายทั้งทางร่างกายและอารมณ์นับแต่วกฤตนี้เกิดขึ้น มันเป็นเรื่องทรมานใจที่เห็นชื่อเสียงของเราถูกทำลายไปพร้อมกับชุมชน เนื่องจากสิ่งที่เราไม่ได้เป็นผู้กระทำ ผมเชื่อว่าการจดสิทธิบัตรพืชพันธุ์ที่มีผลครอบคลุมมาถึงที่นาของเรา หมายถึงครอบคลุมถึงเมล็ดหรือพันธุ์ของถั่วเหลืองที่เข้ามาอยู่ในที่ของเรา ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องสุดจะควบคุมหรือจัดการได้ เรื่องแบบนี้เป็นการกระทำของคนที่ไม่ปรกติ"
ในเดือนตุลาคม 2545 มอนซานโต้ถอนฟ้องคดีต่อครอบครัวเนลสัน โดยมีข้อตกลงไม่ให้เปิดเผยรายละเอียดของการประนอมคดี
(แอนดรู คิมเบรล ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยด้านอาหาร) "คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมจำนวนมากพยายามเสนอภาพรวมที่เกิดขึ้น พวกเขาบอกว่าก็ในเมื่อร้อยละ 60 ของอาหารยังไม่มีส่วนผสมของจีเอ็มโอ ถ้าเราจะต่อต้านไปก็เหมือนกับไร้ประโยชน์ ลืมมันไปเสียเถอะ นี่เป็นความคิดที่ไร้สาระ แม้ว่าอาหารส่วนใหญ่ของเรายังไม่ได้พัฒนาเป็นจีเอ็มโอ แต่ประเด็นที่ดูเหมือนจะสำคัญที่สุดในปัจจุบันคือเรื่องของข้าวสาลีจีเอ็มโอ"
(แดริน เควลแมน สหภาพชาวนาแห่งชาติ แคนาดา) "แม้แต่เกษตรกรที่เดิมเคยสนใจเมล็ดคาโนลาจีเอ็มโอ ในตอนนี้พวกเขาปฏิเสธข้าวสาลีจีเอ็มโอ ในปี 2544 คณะกรรมการข้าวสาลีแห่งแคนาดานั่งประชุมร่วมกับกลุ่มกรีนพีซ พันธมิตรเพื่อสุขภาพในแคนาดา สภาประชาชนชาวแคนาดา และองค์กรด้านเกษตรกรรม และมีการแถลงข่าวและยื่นจดหมายกับนายกรัฐมนตรีบอกว่า เราไม่ต้องการข้าวสาลีจีเอ็มโอ เป็นจดหมายที่มีองค์กรต่าง ๆ มากกว่า 200 แห่งร่วมลงนาม"
(เฟรด เคอร์เซนแมน เกษตรกรและผู้อำนวยการศูนย์ลีโอโปลเพื่อเกษตรกรรมยั่งยืน) "ข้าวสาลีจีเอ็มโอเป็นปัญหาใหญ่สำหรับพวกเราในแถบรัฐนอร์ธดาโกต้า เรามีแปลงทดลองข้าวสาลีจีเอ็มโอ 310 ไร่ทั่วรัฐแห่งนี้ เราไม่รู้ว่ามันอยู่ที่ตรงไหนบ้าง มันเป็นข้อมูลของเอกชน ซึ่งเป็นเหตุให้มีความเสี่ยงว่าจะมีการปนเปื้อนกับสายพันธุ์อื่น"
(ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ เริ่มตึงเครียดอันเป็นผลมาจากการตรวจพบว่ามีข้าวสาลีจีเอ็มโอที่ส่งมาจากเมืองปอร์ทแลนด์ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีการอนุญาตให้วางจำหน่ายข้าวสาลีจีเอ็มโอแต่อย่างใด)
(เฟรด เคอร์เซนแมน เกษตรกรและผู้อำนวยการศูนย์ลีโอโปลเพื่อเกษตรกรรมยั่งยืน) "ฝ่ายหนึ่งบอกว่ามันเป็นข้าวสาลีจีเอ็มโอ อีกฝ่ายบอกว่าไม่ใช่ แต่การปนเปื้อนจะเกิดขึ้นแน่นอน และเมื่อเกิดขึ้น เราจะสูญเสียตลาดไป""
(รอดนีย์ เนลสัน เกษตรกรในรัฐนอร์ธดาโกต้า) "สิ่งที่มอนซานโต้บอกกับ สส.ของรัฐนอร์ธดาโกต้าก็คือ ถ้าเกษตรกรอย่างเราสามารถเรียกร้องให้ยุติการทดลองปลูกข้าวสาลีจีเอ็มโอได้ พวกเขาก็จะถอนเงินสนับสนุนการวิจัยที่ให้กับรัฐบาลและมหาวิทยาลัย ซึ่งผมก็รู้สึกยินดีที่เป็นอย่างนั้น และสอง พวกเขาจะฟ้องร้องต่อรัฐนอร์ธดาโกต้ากล่าวหาว่าต่อต้านการค้า นั่นเป็นวิธีที่พวกเขาพยายามขายสินค้าใหม่ ๆ ให้กับเรา ขายให้กับรัฐ"
ในอดีต หน่วยงานในพรรครีพับริกันมีบทบาทวิเคราะห์อย่างเป็นกลางเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อให้ความรู้กับชาวนา
(ดร. อิกนาซิโอ ชาเปลา นักนิเวศจุลินทรีย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งเบิร์กเลย์) "มหาวิทยาลัยเริ่มตั้งคำถามกับสิ่งเหล่านี้ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 แต่พวกเขาไม่อยากให้มหาวิทยาลัยตั้งคำถามเหล่านี้ เป็นเหตุให้อุตสาหกรรมทุ่มเงินจำนวนมากเพื่อสนับสนุนการวิจัยในมหาวิทยาลัย เป็นเหตุให้เกิดการวิจัยที่สนับสนุนการพัฒนาของอุตสาหกรรม และการเผยแพร่ข้อมูลที่ล้วนแต่สนับสนุนเทคโนโลยี"
(ดร. ชาร์ล เอ็ม เบนบรูก อดีตผู้อำนวยการ คณะกรรมการเกษตรกรรม, สภาวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ) "ตามห้องสมุดในมหาวิทยาลัย และในกระทรวงเกษตรเอง พวกเขาจะไม่พอใจเลยถ้ามีคนที่กล้าทำวิจัยเพื่อท้าทายกับความรู้กระแสหลัก"
(ดร. อิกนาซิโอ ชาเปลา นักนิเวศจุลินทรีย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งเบิร์กเลย์) "ที่น่าหัวเราะก็คือ การวิจัยเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายของยีนในข้าวโพดเมื่อเร็ว ๆ นี้ของเรา ซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวกับความหลากหลาย ทำสำเร็จด้วยเงินแค่ 2,000 เหรียญ เทียบกับงบวิจัย 25 ล้านเหรียญ ซึ่งมหาวิทยาลัยของผมได้จากอุตสาหกรรมเกษตร และดูเหมือนว่าจะเป็นงานวิจัยแค่ชิ้นเดียวที่เกิดขึ้น"
(สถาบันวิจัยโรเว็ต
เมืองอาร์เบอร์ดีน สก็อตแลนด์)
อุตสาหกรรมไบโอเทค เริ่มโจมตีนักวิทยาศาสตร์ที่ตั้งคำถามต่อความปลอดภัยและผลกระทบของพืชจีเอ็มโออย่างหนักหน่วง.
ดร.อาปัด ปุสไตซ์ ผู้มีชื่อเสียง ถูกคำสั่งภาคทัณฑ์ภายใน 2 วันหลังจากที่เปิดเผยงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า
หนูที่กินมันสำปะหลังจีเอ็มโอเข้าไปมีภูมิคุ้มกันและการเติบโตลดลง
จอห์น โลซี นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลพบว่า เมื่อมีการนำเกสรข้าวโพดบีทีไปเลี้ยงตัวดักแด้ของผีเสื้อโมนาคในห้องทดลอง
พบว่าร้อยละ 40 ของดักแด้จะตายอย่างกะทันหัน อุตสาหกรรมไบโอเทคโจมตีงานวิจัยของเขา.
นิตยสารเนเจอร์ ถอนบทความของโลซีหลังจากที่ตีพิมพ์งานวิจัยของเขา ผู้สนับสนุนไบโอเทคต่างตั้งคำถามต่อการตีความผลการวิจัยของเขา
(ดร. อิกนาซิโอ ชาเปลา นักนิเวศจุลินทรีย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งเบิร์กเลย์) "ชีววิทยาเป็นการตั้งคำถามอย่างหลากหลาย แต่การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีนี้ ทำให้การตั้งคำถามเหล่านี้แคบลง ทำให้ความรู้ทางชีววิทยาแคบลง มุ่งไปที่ประโยชน์ของยาฆ่าหญ้า ซึ่งผมเห็นว่าไม่ถูกต้อง และเรากำลังสูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรมไป เรากำลังสูญเสียความหลากหลายทางภูมิปัญญาที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับอนาคต"
"คนทั่วไปในอเมริกาคิดว่าอุตสาหกรรมเกษตรและไบโอเทคเป็นความก้าวหน้าอย่างหนึ่ง ทำให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ๆ ไม่กล้าทำวิจัยที่เป็นการตั้งคำถามกับสมมติฐานเหล่านั้น"
การควบคุมงานวิจัยด้านพันธุกรรมของบรรษัทไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะด้านเกษตรกรรม
(แอนดรู คิมเบรล ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยด้านอาหาร) "เมื่อมีการเปิดให้จดสิทธิบัตรยีนที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม
นักวิจัยที่กำลังค้นหาวิธีใช้ยีนเหล่านั้นเพื่อการรักษามะเร็ง ก็ไม่สามารถใช้ยีนที่ถูกจดสิทธิบัตรในการวิจัยได้อีกต่อไป
เพราะมีการจดสิทธิบัตรไปแล้ว และมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจำนวนมาก พวกบริษัทยาก็ไปฟ้องร้องกับห้องทดลองทั้งหลายตามมหาวิทยาลัย
ฟ้องร้องนักวิจัยที่ใช้ยีนของพวกเขาในการทดลอง เป็นการเข้าครอบครองสมบัติที่ควรเป็นของสาธารณะครั้งใหญ่
ทั้ง ๆ ที่มันควรเป็นสิทธิร่วมกันของเราทุกคน ซึ่งทำให้เกิดกระแสเศรษฐกิจที่ไม่น่าพิสมัยมากที่สุดในยุคของเรา"
ในขณะที่บริษัทไบโอเทคครอบงำภูมิปัญญาในระดับต่าง ๆ และพันธุวิศวกรรมเข้าครอบงำพื้นที่ในระดับเซล บรรษัทข้ามชาติก็เริ่มเข้าครอบงำสายพานการผลิตอาหารทั่วโลก
"บริษัทต่าง ๆ อย่างเช่น คราฟต์ และนาบิสโก ทำให้เกิดกระแสขึ้นในอุตสาหกรรมอาหาร ทำให้มีการเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการผลิต..."
(เฟรด เคอร์เซนแมน เกษตรกรและผู้อำนวยการศูนย์ลีโอโปลเพื่อเกษตรกรรมยั่งยืน) "คนทั่วไปไม่เข้าใจถึงผลกระทบและขอบเขตของการครอบงำเหล่านี้ ที่มีต่อระบบอาหารและเกษตรกรรมโดยรวม ยกตัวอย่างเช่น ร้อยละ 80 ของผลิตภัณฑ์จากเนื้อวัวผลิตโดยบริษัทเพียง 4 แห่ง บริษัทเมล็ดพันธุ์ยักษ์ใหญ่ก็มีอยู่เพียง 4 แห่งเท่านั้น ที่น่ากังวลก็คือในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีการผูกขาดแม้แต่ในภาคค้าปลีก ในอีก 10 ปีข้างหน้ากิจการค้าปลีกอาหารในโลกจะถูกควบคุมโดยบริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่เพียง 6 แห่ง และหนึ่งในนั้นเป็นบริษัทจากอเมริกาคือวอลมาร์ท ซึ่งทำให้เรามีทางเลือกในการจับจ่ายซื้อของน้อยลง ทำให้เกิดการผูกขาดของคนกลาง ซึ่งเป็นผู้กำหนดประเภทของสินค้าที่สร้างผลกำไรมากที่สุดให้กับพวกเขา"
(แอนดรู คิมเบรล ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยด้านอาหาร) "ปัญหาอย่างหนึ่งของอุตสาหกรรมไบโอเทคก็คือ มันไม่ได้ช่วยปกป้องประโยชน์ของผู้บริโภคในอเมริกาเลย ไม่มีเลย อาหารจีเอ็มโอไม่ได้มีสารอาหารมากมายสำหรับเรา แล้วพวกเขาจะขายเทคโนโลยีนี้ให้กับคนอเมริกันได้อย่างไรล่ะ ? พวกเขาก็อ้างว่าเทคโนโลยีชีวภาพจะช่วยแก้ปัญหาความอดอยากในโลก"
(ข้อมูลจากสภาเพื่อผลิตข้อมูลให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ) คาดการว่าประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นอีก 2,000 ล้านคนใน 30 ปีข้างหน้า เทคโนโลยีชีวภาพจะเป็นหนทางสำคัญที่ช่วยให้เราผลิตอาหารได้อย่างพอเพียง
(แอนดรู คิมเบรล ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยด้านอาหาร) "ปัญหาใหญ่ก็คือ เหตุผลที่คน 800 ล้านคนอดอาหารทุกวัน ไม่ได้เกี่ยวกับปริมาณอาหารที่มีอยู่ คนที่อดอยากเหล่านี้เคยเป็นเกษตรกร แต่เพราะธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟให้เงินกู้มากมายกับประเทศเหล่านี้ ทำให้พวกเขาไม่สามารถทำเกษตรแบบพอเพียงต่อไปได้ พวกเขาต้องปลูกพืชส่งออกราคาแพงให้กับประเทศโลกที่หนึ่ง เพื่อหาเงินมาใช้หนี้ ทำให้ชาวนาหลายล้านคนต้องสูญเสียที่ดิน ต้องไปทำงานอยู่ที่เมืองโภปาล กรุงเม็กซิโกซิตี้ และบราซิลเลียโดยไม่มีเงิน พวกเขาไม่สามารถผลิตอาหารได้ และยังต้องแย่งกันหางานทำในสังคมอุตสาหกรรม พวกเขาไม่สามารถผลิตอาหารได้อย่างพอเพียงและขาดแคลนอาหาร"
(เฟรด เคอร์เซนแมน เกษตรกรและผู้อำนวยการศูนย์ลีโอโปลเพื่อเกษตรกรรมยั่งยืน) "อมาตยา เสน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลซึ่งมีผลงานวิจัยเป็นเวลา 10 ปีชี้ให้เห็นว่า ปัญหาความอดอยากขาดแคลนไม่ได้เกิดจากการผลิต แต่เป็นปัญหาการเข้าถึงอาหาร เป็นปัญหาเรื่องสิทธิที่จะได้รับอาหาร ไม่ใช่ปัญหาการผลิตอาหาร" "อันที่จริงเราผลิตอาหารมากเกินไป จนกระทั่งไม่คุ้มกับต้นทุนที่เกษตรกรต้องจ่าย และเรามีการใช้เงินสนับสนุนราคาจำนวนมาก แต่กลับปล่อยให้คน 800 ล้านคนในโลกต้องขาดอาหาร เป็นยุคการผลิตอาหารที่ชาวนาไม่ได้ผลตอบแทนพอเพียง เมื่อเทียบกับต้นทุนที่สูญเสียไป"
เมื่อประเทศร่ำรวยอุดหนุนราคาพืชผล มันเป็นการทำลายตลาดในประเทศกำลังพัฒนา
(แอนดรู คิมเบรล ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยด้านอาหาร) "ในปี 2537 ช่วงหนึ่งวันก่อนวันคริสมาสต์ สหรัฐฯ ประกาศว่าเราจะต้องมีกฎสากลของการจดสิทธิบัตร สหรัฐฯ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังเรื่องนี้ เพราะถ้าเราสามารถจดสิทธิบัตรพืชหรือต้นไม้ในประเทศโลกที่สามได้ สหรัฐฯ ก็จะสามารถบอกคนในประเทศนั้นได้ว่า "ไม่ว่าใครในประเทศนี้ที่ใช้ต้นไม้ซึ่งถือกำเนิดที่นี่ ก็ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการใช้ให้กับเรา" ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงพยายามทำให้กฎหมายสิทธิบัตรมีเอกภาพแบบเดียวกันทั่วโลก ซึ่งจะเป็นการตบรางวัลครั้งใหญ่ให้กับบรรษัท ซึ่งจะทำให้เราเป็นผู้ควบคุมตลาดของสหรัฐฯ ได้ และเราสามารถนำพืชเหล่านั้นมาจากประเทศโลกที่สามได้ และเราจะไม่ยอมให้คนในประเทศโลกที่สามใช้พืชเหล่านั้นได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับสิทธิบัตร มันเหมือนกับโบนัสครั้งใหญ่ของบรรษัท"
"ความรู้สึกทั่วไปในละตินอเมริกาโดยเฉพาะในเม็กซิโกและส่วนอื่น ๆ ในโลก ระบบที่กำหนดเงื่อนไขจากฝ่ายเดียวอย่างใหม่ที่ใช้ ให้ประโยชน์กับอเมริกามากกว่าประเทศยากจนทั่วโลก"
(ดร. เอกเซเควล เอสคิวรา ผู้อำนวยการสถาบันนิเวศวิทยาแห่งชาติ เม็กซิโก) "สิ่งนี้เป็นปัญหาใหญ่เพราะเราไม่มีทางเลือกด้านการเมืองมากนัก เราอาจต้องย้อนกลับไปสู่ในยุคทุนอุปถัมภ์ ซึ่งไม่ได้ทำให้เกิดความก้าวหน้ามากนักในประเทศต่าง ๆ อย่างในละตินอเมริกา อัฟริกา หรือเอเชีย เราอยากให้คนในโลกมีความกรุณาต่อกัน เพราะมันมีน้อยลง"
"การต่อต้านโลกาภิวัตน์เกิดขึ้นจากการที่คนบางส่วนเห็นว่าบรรษัทต่าง ๆ ไปในทุกที่และมุ่งหาเงิน โดยไม่รับผิดชอบต่อสิ่งที่เป็นผลร้าย"
(แอนดรู คิมเบรล ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยด้านอาหาร)
"สิ่งที่น่าหัวเราะที่สุดอย่างหนึ่งของอุตสาหกรรมไบโอเทค คือการอ้างว่ากำลังพัฒนาเทคโนโลยีที่เขาเรียกว่า
"เทคโนโลยีผู้พิฆาต" เพื่อให้มีอาหารเลี้ยงคนในโลก ทั้ง ๆ ที่มันเป็นเหมือนการฆ่าตัวตาย
กล่าวคือการใส่ยีนที่ทำให้พืชชนิดนั้นตายหลังจากการปลูกไปหนึ่งรอบ มันเหมือนการฆ่าตัวตายมากกว่า
เกษตรกรไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไปใช้ครั้งต่อไปได้ เพราะมันจะไม่งอก ทำให้ไม่สามารถนำไปปลูกได้อีกครั้ง
บริษัทจากประเทศโลกที่หนึ่งกำลังจดทะเบียนเทคโนโลยีที่ฆ่าตัวตายนี้ถึง 15
สิทธิบัตร ลองคิดดูสิว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อสายพันธุ์พืชเหล่านี้ปนเปื้อนไปทั่วโลก
?"
(ผู้ที่ร่วมเป็นเจ้าของสิทธิบัตรเทอร์มิเนตอร์ยีนคือรัฐบาลสหรัฐฯ นั่นเอง)
(แดริน เควลแมน สหภาพชาวนาแห่งชาติ แคนาดา) "ไม่กี่ปีก่อนมีคนจำนวนมากบอกว่า "แล้วเทคโนโลยีเหล่านี้จะไม่ปนเปื้อนกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ หรือ ?" ฝ่ายที่สนับสนุนจีเอ็มโอบอกว่า "ไม่หรอก มันจะไม่ผสมข้ามพันธุ์ไป" แต่อีกไม่กี่ปีต่อมาพวกเขากลับบอกว่า "เออ...มันก็อาจจะผสมข้ามพันธุ์บ้าง แต่ตอนนี้เรามีเทคโนโลยีใหม่เพื่อแก้ไขปัญหานี้แล้ว" ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่า "แล้วจะเกิดอะไรขึ้นล่ะถ้ามันเป็นการผสมข้ามพันธุ์อย่างถาวรของยีนเทอร์มิเนเตอร์ ?"
พวกเขายังพัฒนาเทคโนโลยีที่ทำให้เกษตรกรต้องฉีดพ่นสารเคมีของบริษัทโดยเฉพาะ เพื่อให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้นงอกและเติบโตขึ้นได้
(ดร. อิกนาซิโอ ชาเปลา นักนิเวศจุลินทรีย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งเบิร์กเลย์) "อีกหน่อยทุ่งนาทั้งหลายอาจกลายสภาพเป็น "ทะเลทรายสีเขียว" เราจะไม่เห็นความแตกต่างจากเดิมมากนัก สิ่งแวดล้อมยังคงมีสีเขียวต่อไป แต่อันที่จริงการเปลี่ยนแปลงภายในเริ่มเกิดขึ้นแล้ว และเมื่อเกษตรเชิงเดี่ยวเริ่มพังทลายลง มันจะทำให้เกิดผลกระทบมหาศาล"
ในขณะที่เราเคลื่อนตัวไปข้างหน้า
แล้วตามร้านค้าในอนาคตจะมีสินค้าอะไรบ้าง ?
ปัจจุบัน เรามีแปลงทดลองพืชจีเอ็มโอใหม่ ๆ มากมายในสหรัฐฯ
ในปี 2545 กระทรวงเกษตรทำลายถั่วเหลือง 50 ล้านปอนด์ที่ปลูกเพื่อผลิตวัคซีน
เพราะมีการปนเปื้อนกับข้าวโพดจีเอ็มโอ
(เฟรด เคอร์เซนแมน เกษตรกรและผู้อำนวยการศูนย์ลีโอโปลเพื่อเกษตรกรรมยั่งยืน) "ที่ผมกังวลก็คือเรากำลังก้าวเข้าสู่อนาคตด้วยความเชื่อว่า พวกนักเทคนิคจะสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับอาหารได้ และเราทุกคนจะปลอดภัย ทั้ง ๆ ที่เรากำลังเผชิญกับหนทางที่ยากลำบาก"
(แอนดรู คิมเบรล ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยด้านอาหาร) "อุตสาหกรรมไบโอเทคไม่ได้สนใจเฉพาะพืชจีเอ็มโอ พวกเขากำลังขยายอำนาจเข้าไปครอบคลุมพื้นที่ของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ รัฐบาลสนใจจะปรับปรุงปลาจีเอ็มโอ ให้มีปลาอีก 15 ชนิด รวมทั้งการผสมข้ามพันธุ์กับปลาต่าง ๆ ที่เราจับมาจากมหาสมุทร"
ประมาณกันว่าถ้ามีการปล่อยปลาแซลมอนจีเอ็มโอเข้าสู่ธรรมชาติเพียง 60 ตัว จะทำให้ฝูงปลาแซลมอนสูญพันธุ์ไปในเวลา 40 รุ่นของปลา
(แอนดรู คิมเบรล ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยด้านอาหาร) "ปศุสัตว์และสัตว์ปีกจีเอ็มโอ รวมทั้งแมลงและพืชจีเอ็มโอทั้งหมด เป็นความคิดของอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อชีววิทยาของอาหาร แต่คนก็เริ่มคิดถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นต่อระบบอาหาร พวกเขาเริ่มบอกว่า "คุณรู้ไหม เราต้องการอาหารอีกแบบสำหรับอนาคต เราต้องการความสัมพันธ์อีกแบบที่มีต่ออาหาร สิ่งแวดล้อม เกษตรกรรม งาน และชีวิตของเราเอง"
แล้วอะไรจะมีส่วนช่วยเปลี่ยนแปลงระบบอาหารในอเมริกา เพื่อให้ชาวนามีชีวิตอย่างยั่งยืน ทั้งยังช่วยส่งเสริมสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของประชาชน ?
(เฟรด เคอร์เซนแมน เกษตรกรและผู้อำนวยการศูนย์ลีโอโปลเพื่อเกษตรกรรมยั่งยืน) "สิ่งที่เรากำลังส่งเสริมคือเกษตรกรรมยั่งยืนที่ใช้ทรัพยากรจากระบบนิเวศในท้องถิ่น การหมุนเวียนใช้ทรัพยากรในระบบ แทนที่จะไปเอาทรัพยากรมาจากระบบอื่น หรือจากนิเวศวิทยาอื่น แต่เราเอาทรัพยากรมาใช้จากภายใน และเราควรใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเป็นเชื้อเพลิงให้กับระบบของเราเช่นเดียวกับธรรมชาติ แทนที่จะต้องพึ่งพากับน้ำมันหรือทรัพยากรอื่น ๆ ที่นำเข้าจากที่อื่น"
เมื่อหนึ่งศตวรรษที่แล้ว ประชาชนซื้ออาหารที่ผลิตได้ในท้องถิ่นกิน แต่ปัจจุบันอาหารในซุปเปอร์มาร์เก็ตถูกขนส่งมาเป็นระยะทางไกลโดยเฉลี่ยถึง 1,500 ไมล์ มีการปลูกแอปเปิลทั่วทวีปอเมริกาและยังมีการนำเข้าจากจีน ซึ่งทำให้ต้องมีการใช้น้ำมันมากมาย ทำให้เราต้องพึ่งพากับประเทศอื่นๆ เพื่อซื้ออาหาร ในขณะที่อาหารจากไร่นาแห่งนี้เดินทางโดยเฉลี่ยเพียง 50 ไมล์ (ฟาร์มฟูลเบลลี คาเปย์วัลเลย์ แคลิฟอร์เนีย)
(จูดิธ เรดมอนด์) "ประมาณ 10 ปีที่แล้วเราเริ่มโครงการในแถบเบย์แอเรีย ทำให้แต่ละครอบครัวจะมีอาหาร 1 ตะกร้าทุกสัปดาห์ นั่นคือสิ่งที่เราเรียกว่าเกษตรกรรมที่ชุมชนเป็นผู้สนับสนุน และความสัมพันธ์กับครอบครัวเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้เราปลูกพืชหลายชนิด ถ้าคุณเดินรอบสวนแห่งนี้ คุณจะพบว่าในแต่ละแปลงเราปลูกพืชหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ ถั่ว มะนาว องุ่น รวมทั้งพืชที่ขึ้นตามร้านอย่างเช่น มะเขือเทศ มะเขือพวง และข้าวโพด"
(พอล มูลเลอร์ เกษตรกร) "เราทำเกษตรอินทรีย์มา 25 ปีแล้ว เพราะมันทำให้เราตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเกษตรกรรม เราต้องการผลิตอาหารที่ดี อาหารที่มีคุณภาพ และทำให้สุขภาพดี เป็นอาหารที่เราให้ลูก ๆ เรากินได้อย่างมั่นใจ ทำให้เราต้องหาทางพัฒนาในระบบที่มีความหลากหลาย แข็งแรง และยั่งยืน"
"เราต้องเคารพเหตุผลของธรรมชาติ เราต้องเคารพภูมิปัญญาในการผสมพันธ์ที่มีมานานหลายพันปี เป็นผลงานของบรรพชนหลายพันรุ่นคนของเรา พวกเขาคัดเลือกสายพันธุ์จากธรรมชาติ และพัฒนาให้มีผลใหญ่ขึ้น และพวกเขาไม่เคยอ้างว่าเป็นเจ้าของผลงานเหล่านี้ด้วยซ้ำ"
(ในปี 2533 ชาวอเมริกันใช้เงิน 1,000 ล้านเหรียญเพื่อซื้ออาหารอินทรีย์ ในปี 2543 พวกเขาใช้เงินเพิ่มขึ้นเป็น 13,000 ล้านเหรียญ) ในปี 2533 รัฐบาลสหรัฐฯ พยายามกำหนดมาตรฐานอาหารอินทรีย์ หลังจากใช้เวลาหลายปีเพื่อออกแบบมาตรการ ในปี 2540 มีการเปิดเผยว่า มาตรฐานอาหารอินทรีย์จะรวมไปถึงการรับรองการใช้รังสีฉายอาหาร การใช้ปฏิกูลเหลวเพื่อเป็นปุ๋ย หรือ sewage sludge และอาหารจีเอ็มโอ ซึ่งทำให้รัฐบาลต้องเผชิญกับการประท้วงของผู้บริโภคครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ประชาชน 275,000 คน เขียนจดหมายแสดงความไม่พอใจไปยังกระทรวงเกษตร และเรียกร้องให้กำหนดมาตรฐานอาหารอินทรีย์ที่ปลอดจากอาหารเป็นพิษเหล่านั้น และผู้บริโภคก็ชนะ
(มาร์ค ลอยเซล เกษตรกร ซัสเคชาวัน แคนาดา) "เหตุผลที่ผมเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ไม่ใช่เป็นเรื่องทางเศรษฐกิจมากนัก แต่เป็นเพราะด้านสุขภาพมากกว่า ผมต้องการปกป้องสุขภาพตนเอง สุขภาพของครอบครัวและเพื่อนบ้าน เพราะว่าผมเป็นผู้ปกป้องผืนดินของผมเอง ผมจึงต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ในรั้วของที่ของผม ผู้อำนวยการศูนย์เกษตรอินทรีย์ของเราก็เห็นว่า เกษตรอินทรีย์เป็นทางเลือกอย่างแท้จริงสำหรับวิกฤตด้านเกษตร"
มีการปฏิวัติเกิดขึ้นในพันธุวิศวกรรม ขณะเดียวกันก็เกิดการต่อต้านการปฏิวัติ คนเริ่มกลับไปซื้ออาหารที่สดและปลูกโดยเกษตรกรในท้องถิ่น
(จำนวนตลาดของเกษตรกรในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 79 ในระหว่างปี 2537-2545) เกษตรอินทรีย์, ตลาดของเกษตรกร, และเกษตรกรรมที่ชุมชนสนับสนุน, เป็นทางเลือกหลัก 3 ทาง เพื่อไปพ้นจากระบบตลาดอาหารแบบอุตสาหกรรม. รัฐเซาธ์ดาโกต้าและเนบรัสก้า รวมทั้งรัฐอื่น ๆ อีก 8 แห่ง ได้แก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายในรัฐที่ห้ามไม่ให้หน่วยงานหรือบุคคลอื่นนอกจากครอบครัวชาวนาสามารถครอบครองที่ดินได้
(เดฟ เฮนสัน ผู้ก่อตั้งโครงการว่าด้วยบรรษัท กฎหมายและประชาธิปไตย) "ตอนที่บรรษัทบอกว่า "ชาวเนบรัสก้าไม่มีอำนาจห้ามไม่ให้บรรษัทครอบครองที่ดิน" ศาลฎีกาในรัฐนั้นบอกว่า "ชาวเนบรัสก้ามีสิทธิที่จะกำหนดอย่างไรก็ได้ในรัฐธรรมนูญ มันเป็นสิทธิพื้นฐานของพวกเขา และเป็นหัวใจของระบบประชาธิปไตยแบบอเมริกัน"
(เฟรด เคอร์เซนแมน เกษตรกรและผู้อำนวยการศูนย์ลีโอโปลเพื่อเกษตรกรรมยั่งยืน) "ผู้บริโภคอาจไม่คิดถึงเรื่องนี้ และพวกเขาคงทำอะไรไม่ได้ถ้าไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง สิ่งที่เราทำได้คือการช่วยกันเผยแพร่ข้อมูล ช่วยให้คนรู้ข้อมูลมากขึ้น ช่วยให้ผู้บริโภคแสดงออกถึงอำนาจในการตัดสินใจได้"
ระบบของอาหารมีความอ่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ขึ้นอยู่กับความเห็นของสาธารณะ ถ้าไม่มีการติดฉลากจำแนกอาหารจีเอ็มโอ แล้วผู้บริโภคจะใช้สิทธิของตนเองได้อย่างไร ? สิ่งที่เราเลือกเวลาไปร้านค้าเป็นปัจจัยที่กำหนดอนาคตของอาหาร
(เฟรด เคอร์เซนแมน เกษตรกรและผู้อำนวยการศูนย์ลีโอโปลเพื่อเกษตรกรมยั่งยืน) "อาหารเป็นสิ่งที่ใกล้ชิดกับชีวิตเรามากที่สุดอย่างหนึ่ง ถ้าเราไม่มีทางเลือกมากนักเกี่ยวกับอาหาร มันจะทำให้เกิดปัญหามากมายกับเรา"
(ดร. ชาร์ล เอ็ม เบนบรูก อดีตผู้อำนวยการ คณะกรรมการเกษตรกรรม, สภาวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ) "คนจำนวนมากในประเทศอื่น ไม่เคยเชื่อถือในรูปแบบเกษตรกรรมขนานใหญ่ของอเมริกาที่มีการใช้สารเคมีมากมาย และพวกเขาไม่เชื่อมั่นในเรื่องประสิทธิภาพที่จะได้รับจากการมีบริษัทผลิตเครื่องบินแค่ 2 แห่ง บริษัทผลิตรถยนต์แค่ 4 แห่ง หรือมีผู้ผลิตซอฟต์แวร์เพียงแค่ 2 แห่ง"
"พวกเขาคิดว่าคุณจะสูญเสียประสิทธิภาพไปถ้าขาดความหลากหลาย ความเปลี่ยนแปลงหรือการท้าทายที่จะเกิดขึ้นกับวัฒนธรรมหลักเหล่านี้ ความท้าทายที่มีต่อธุรกิจเกษตร ยังเป็นคำถามที่เปิดอยู่ และผมคิดว่ามันคงไม่เกิดขึ้นตราบใดที่ประชาชนและเกษตรกรอเมริกันไม่ลุกขึ้นและบอกว่า "เฮ้ยเดี๋ยวก่อน เราไม่ต้องการไปในทิศทางนี้แล้ว และเราเป็นรัฐบาลของประชาชน เพื่อประชาชน และโดยประชาชน เราเป็นประชาชนนะ เราไม่อยากไปในทางนั้นแล้ว"
อันนี้มันก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณเอง
++++++++++++++++++++++
ข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ www.futureoffood.com
เขียนบทและอำนวยการผลิต เดบรา คูนส์ การ์เซีย
ผลิต แคเธอลี นลิน บัตเลอร์ 2222222
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา
3
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
e-mail
: midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 590 เรื่อง หนากว่า 7800 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา
120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง
จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
มะเขือเทศที่เก็บได้นานเป็นพืชจีเอ็มโอชนิดแรกที่มีการวางจำหน่ายต่อสาธารณะ คาลยีน เป็นบริษัทที่ผลิตมะเขือเทศ พวกเขาทดลองเอามะเขือเทศชนิดนี้ให้หนูกิน และพบว่ามีแผลเกิดขึ้นในท้องของหนูบางตัว แม้จะมีการคัดค้านจากนักวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลหลายคน แต่กลับมีการอนุญาตให้จำหน่ายมะเขือเทศชนิดนี้ในปี 2537 แต่มะเขือเทศชนิดนี้กลับเน่าเสียในระหว่างการขนส่ง และไม่เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค
เฟรด เคอร์เซนแมน เกษตรกรและผู้อำนวยการศูนย์ลีโอโปลเพื่อเกษตรกรรมยั่งยืน กล่าวว่า... "ชุมชนเกษตรกรรมของเรามีหลักจริยธรรมบางอย่างอยู่ และผมเติบโตขึ้นมากับจริยธรรมเช่นนั้น ซึ่งบอกว่าถ้าผมจะทำการเกษตรใด ๆ ที่จะส่งผลกระทบในด้านลบต่อไร่นาของเพื่อนบ้าน อย่างเช่น ถ้าผมตัดสินใจเลี้ยงปศุสัตว์ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อพืชผลของเพื่อนบ้าน ผมก็มีหน้าที่ต้องสร้างรั้วล้อมปศุสัตว์ไว้ มันไม่ใช่หน้าที่ของเพื่อนบ้านผมที่จะสร้างรั้วป้องกันพืชผลของเขาเอง" แต่ระบบที่เป็นอยู่ในตอนนี้ ผมต้องรับผิดชอบสร้างรั้วป้องกันเทคโนโลยีที่จะทำลายพืชผลของผม และคุณก็รู้ว่าเราไม่มีทางสร้างรั้วได้สูงมากพอเพื่อป้องกันผลกระทบเหล่านั้น และเรารู้เป็นอย่างดีแล้ว"
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 600 เรื่อง หนากว่า 8000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง สมเกียรติ
ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง
สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
50202 และอย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์