ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
080748
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 609 หัวเรื่อง
ความไม่ซื่อสัตย์ของวิทยาศาสตร์
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความบริการฟรี ม.เที่ยงคืน
The Midnight 's free article

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 21,878 สูงสุด 32,795 สำรวจเมื่อเดือน พ.ค. 48
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

วิทยาศาสตร์กับความหลอกลวง
ความไม่ซื่อสัตย์และการฉ้อฉลของวิทยาศาสตร์
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้อาศัยงานต้นฉบับเรื่อง
Dishonesty in Science. By Richard C. Lewontin
มาใช้เป็นหลักในการเรียบเรียง
หลักคุณธรรมทางวิทยาศาสตร์ในการสร้างนโยบาย : การสืบสวนเกี่ยวกับการไม่สมควรของวิทยาศาสตร์ในการบริหารของ Bush
รายงานโดยสหพันธ์นักวิทยาศาสตร์ที่มีความห่วงใย. กุมภาพันธ์ 2547, 42 pp.

เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 14 หน้ากระดาษ A4)



ตอนที่ 1.
บรรดาผู้ก่อสร้างรัฐอเมริกันขึ้นมาต่างเข้าใจดีว่า บทบาทหน้าที่ที่เหมาะสมของประชาธิปไตยก็คือ ต้องการคนเลือกตั้งซึ่งเป็นคนที่มีการศึกษา ด้วยความเข้าใจนี้ที่ให้เหตุผลต่อระบบการศึกษาแก่สาธารณชน แต่ในเวลาเดียวกัน ก็ทำให้พวกนายทาสทั้งหลายต่อต้านการแพร่กระจายของการอ่านออกเขียนได้ ในท่ามกลางหมู่ทาสทั้งหลายของพวกเขา

อย่างไรก็ตาม ความหมายของ"การให้การศึกษา"ได้เปลี่ยนแปลงไปจากการรับรู้ในช่วงสองร้อยปีที่ผ่านมานี้ การอ่าน การเขียน และเลขคณิตไม่ได้เป็นตัวตัดสินที่มากพออีกต่อไปแล้วเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ ปัจจุบันเราต้องการความรู้เรื่องกลศาสตร์ควันตัม และชีววิทยาระดับโมเลกุล ความรู้ดังกล่าวเรียกร้องต้องการความมีเหตุผลทางการเมือง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยใช้ได้กับมวลชน และปัจจุบันนี้มันอยู่ในการครอบครองของชนชั้นสูงที่มีการศึกษาเป็นพิเศษ อันนี้เป็นสถานการณ์หนึ่งซึ่งได้สร้างแรงตึงเครียดขึ้นมา และความไม่ลงรอยกันกับการปฏิบัติการเกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน

ปัญหาเกี่ยวกับบทบาทของความรู้ระดับหัวกระทิในระบอบประชาธิปไตย ถือเป็นเรื่องเก่าแก่ที่มีมานมนาน เรื่องเล่าโบราณกาเลเรื่องหนึ่งในพระคัมภีร์ทอลมุด(Talmud)บาบีโลเนียน พูดถึงเกี่ยวกับแรบไบ(พระในศาสนายิว) 4 รูป ซึ่งได้เดินเล่นอยู่ในสวนแห่งหนึ่ง และกำลังทุ่มเถียงกันเกี่ยวกับเตาที่ออกแบบขึ้นมาโดยเฉพาะเตาหนึ่ง ว่ามันสามารถที่จะชำระล้างเพื่อความบริสุทธิ์ได้หรือไม่? แรบไบสามรูปมีความเห็นร่วมกันเป็นเอกภาพ ส่วนแรบไบคนที่สี่มีทัศนะที่ต่างออกไปในเชิงตรงข้าม

ผู้แข็งขืนไม่ยอมอ่อนข้อคนเดียวนั้นอ้อนวอนต่อพระผู้เป็นเจ้า ขอร้องพระองค์ให้ส่งสัญญานเป็นเสียงฟ้าคำราม ถัดจากนั้นได้ขอให้พระองค์ทรงบรรดาให้เกิดฟ้าแลบ และต่อมาแสงฟ้าแลบนั้นได้กระทบกับต้นไม้ที่ตั้งตระหง่านอยู่ต้นเดียวในสวนแห่งนั้น แม้ว่าคำอ้อนวอนของแรบไบนี้จะได้รับการสนองตอบแต่แรบไบคนอื่นๆก็หาได้เชื่อไม่ แท้จริงแล้ว ฟ้าร้องและฟ้าแลบเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติปกติ และในฟ้าแลบที่โหมกระหน่ำ อะไรคือธรรมชาติมากกว่ากัน ระหว่างต้นไม้ต้นหนึ่งที่หยัดยืนในท่ามกลางสวนแห่งนั้น

ในภาวะที่ล่อแหลม ผู้คัดค้านเรียกร้องต่อพระผู้เป็นเจ้าให้ตรัสกับพวกเขาโดยตรง แน่นอนพอพระสุรเสียงหนึ่งจากเบื้องบนได้คำรามกึกก้องจนได้ยินว่า "มันเป็นดั่งที่เขาพูด". "ดังนั้น", แรบไบที่คัดค้านจึงถามว่า, "ท่านทั้งสามคนยังต้องการจะพูดอะไรอีกไหมตอนนี้?" "แน่นอน", พวกเขาตอบ, "มันยังคงเป็นเรื่องของสามต่อสองอยู่ดี"

วิทยาศาสตร์ได้เข้ามาแทนที่เจโฮวาหรือพระผู้เป็นเจ้า ในฐานะที่เป็นแหล่งความรู้พิเศษ แต่ทว่าปัญหาก็ยังคงมีอยู่. ความรู้ที่อยู่ในการครอบครองของพวกชนชั้นหัวกระทิทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างไร และถูกทำให้เป็นเงื่อนไขเข้ามาในกระบวนการตัดสินใจในการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องราวทางเศรษฐกิจ อุดมคติ และอำนาจทางการเมืองอย่างไรบ้าง?

ความรู้ชั้นสูงอันนี้มันมีสิทธิพิเศษอย่างเบ็ดเสร็จใช่ไหม? ทำไมเราจึงวางใจในบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย แล้วคนพวกนี้เป็นใครกัน? ท้ายที่สุดก็คือ ทำไมคนเหล่านี้จึงมีวาระเกี่ยวข้องกับการเมืองและเศรษฐกิจ? ในอีกด้านหนึ่ง เราสามารถตัดสินใจโดยการออกเสียงได้อย่างไร เมื่อบรรดาผู้ออกเสียงและบรรดาตัวแทนของพวกเขา ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อเท็จริงต่างๆทางธรรมชาติเลย?

รัฐบาลอเมริกันก็คล้ายๆกับรัฐบาลอื่นๆ นั่นคือ พยายามแก้ไขปัญหาโดยเกณฑ์เอาบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย
เข้ามาเป็นกลไกของรัฐด้วยกัน 3 ทางคือ

1. อย่างตรงไปตรงมามากที่สุด ได้มีการสร้างกลไกการบริหารขึ้นมาโดยให้บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายเป็นที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ของประธานาธิบดี มีการสร้างหน่วยงานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้น และได้สร้างกฎระเบียบต่างๆ อย่างเช่น หลักการปกป้องสิ่งแวดล้อมขึ้นมา เป็นต้น

2. มีการสร้างหน่วยงานกึ่งรัฐบาลที่ก่อตัวขึ้นมาจากบรรดานักวิทยาศาสตร์อาวุโส อย่างเช่น สถาบันวิชาการวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และสภาวิจัยแห่งชาติ ซึ่งทำหน้าที่ในการช่วยจัดหาข้อแนะนำและให้คำปรึกษาอย่างเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ และทำหน้าที่ประเมินคำร้องจากหน่วยงานรัฐบาลต่างๆ

3. ท้ายสุด หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา รัฐได้กลายเป็นผู้อุปถัมภ์หลักที่สำคัญทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งปัจจุบัน ได้ให้เงินอุดหนุนงบประมาณถึง 35 พันล้านเหรียญสหรัฐโดยตรง แก่การวิจัยขั้นพื้นฐาน และการวิจัยประยุกต์เป็นประจำทุกปี

เนื่องจากความกลัวที่ว่า การสนับสนุนจากส่วนกลางเกี่ยวกับการวิจัย จะเข้ามาแทรกแซงหรือสอดแทรกกระบวนการวิจัยโดยแบบแผนที่สร้างขึ้นมาโดยสภาคองเกรส สำหรับการให้เงินอุดหนุนงานวิจัยซึ่งให้กับตัวแทนๆต่างๆของชุมชนวิทยาศาสตร์ ในตัวของมันเองมีอำนาจวันต่อวันที่ได้เข้ามากำหนดว่า งานวิจัยแบบใดที่ควรจะต้องทำ แม้แต่ในการตัดสินใจให้ทุนสนับสนุนของกระทรวงกลาโหม และกระทรวงพลังงาน (ก่อนหน้านี้คือ คณะกรรมมาธิการการพลังงานปรมาณู) เกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณดังกล่าว ก็ถูกตัดสินจากระบบประเมินผลโดยพวกมืออาชีพ ซึ่งบรรดาผู้ประเมินผลและตัวแทนผู้บริหารทั้งหลาย ก็ถูกดึงมาจากชุมชนนักวิจัยและต่างมีส่วนร่วมอยู่ในวัฒนธรรมทั่วๆไปอันนี้

ผลที่ตามมา แทนที่จะสร้างผลผลิตให้กับผู้รับที่ชื่นชมหรือการอุปถัมภ์ของรัฐ การสนับสนุนงานวิจัยสาธารณะกลับสร้างชุมชนที่รุ่งเรืองขนาดใหญ่ของการค้นคว้าอิสระขึ้นมา - ส่วนใหญ่ของชุมชนนั้นผูกพันอยู่กับมหาวิทยาลัยต่างๆ - ด้วยชื่อเสียงเกียรติคุณที่มากมาย และด้วยการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางการแพร่กระจายของเงินทุนสำหรับการวิจัย จึงไม่เป็นที่ประหลาดใจว่า ความพยายามดังกล่าวโดยการบริหารอันหลากหลายที่จะทำให้วิทยาศาสตร์ มารับใช้นโยบายทางการเมืองและเศรษฐกิจ จึงต้องเผชิญหน้ากับการต่อต้านของสาธารณชน จากคำพูดของบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง ในนามของวัตถุประสงค์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์


ตัวอย่างล่าสุดก็คือ รายงานที่ออกมาในราวเดือนกุมภาพันธ์ 2004 โดยสหพันธ์นักวิทยาศาสตร์ที่มีความห่วงใย(the Union of Concerned Scientists) ซึ่งคนที่ร่วมลงชื่อนั้น รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบล 20 คน และในทางตรงข้ามมีนักวิทยาศาสตร์ 19 คน ซึ่งได้รับเหรียญอัศวินจากหน่วยงานวิทยาศาสตร์แห่งชาติของรัฐบาล ร่วมลงชื่ออยู่ด้วย

หลักคุณธรรมทางวิทยาศาสตร์ในการทำนโยบาย ได้กล่าวหาการบริหารของประธานาธิบดี Bush ว่า

อันดับแรก, เกี่ยวกับเจตนาในการระงับยับยั้งการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ ในเรื่องผลประโยชน์เกี่ยวกับเป้าหมายเชิงอุดมคติและทางการเมืองของตัวมันเอง และ

อันดับที่สอง, เกี่ยวกับกฎเกณฑ์อันหลากหลาย และคณะกรรมการพิจารณาที่ไม่มีคุณภาพพอซึ่งดำรงตำแหน่งสมาชิกต่างๆ คณะกรรมการเหล่านี้ค่อนข้างที่จะเห็นแก่ประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรม หรือให้ความสำคัญกับอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมเหนือกว่าปัญหาด้านสุขภาพ และความปลอดภัยของสาธารณชน

อันดับที่สาม, มีการจัดการควบคุม บิดเบือน และยับยั้งการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ภายใต้ผลประโยชน์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมต่างๆ รายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า มันได้ส่งผลกระทบต่องานวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ ส่งผลต่อการแพร่กระจายของพิษสารตะกั่ว และสิ่งสกปรกรวมถึงมลภาวะอื่นๆ อันมีผลต่อแบคทีเรียที่ลอยอยู่ในอากาศ มีผลต่อสายพันธุ์สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ และการจัดการป่า. และพยานหลักฐานที่ชัดเจนของรัฐบาลก็คือ เรื่องของอุโมงค์อะลูมิเนียมอันมีชื่อเสียงของอิรัคที่ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวาง ถือเป็นตัวอย่างผิดๆในผลประโยชน์เกี่ยวกับการก่อสงครามกรณีหนึ่งขึ้นมา

นอกจากตัวอย่างที่พูดถึงข้างต้น เกี่ยวกับหนทางที่การศึกษาและข่าวสารข้อมูล เกี่ยวกับการค้นคว้าต่างๆทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว ยังมีการยักย้ายเปลี่ยนแปลงวิทยาศาสตร์ไปสู่การสนับสนุนอุดมการณ์ทางศาสนาแบบอนุรักษ์นิยมด้วย อันนี้มีตัวอย่างเช่น โปรแกรมการหลีกเลี่ยงเรื่องทางเพศซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่มีประสิทธิภาพ การบริหารงานของ Bush ได้มีการให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะแก่ศูนย์ควบคุมโรคต่างๆ ที่มิได้ดำเนินรอยตามอัตราการเกิดของประชากรตามความเป็นจริง สำหรับผู้มีส่วนร่วมในโปรแกรมทดสอบการหลีกเลี่ยงเรื่องทางเพศ จะมีก็แต่เพียงผู้ร่วมโครงการและคนที่มีท่าทีเห็นด้วยกับโปรแกรมดังกล่าวเท่านั้นที่คิดว่ามันได้ผล

เพื่อที่จะปิดบังซ่อนเร้นความมีประสิทธิภาพของการใช้ถุงยางอนามัย ในการป้องกันการติดเชื้อ HIV, CDC(the Centers for Disease Control - ศูนย์ควบคุมโรค) ได้ถูกกำกับให้เน้นถึงความล้มเหลวเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยในเนื้อหาการศึกษาของมัน ท้ายที่สุด สถาบันมะเร็งแห่งชาติก็ถูกกำกับให้ปิดประกาศบนเว็ปไซต์ของสถาบันว่า การทำแท้งได้ไปกระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านม แม้ว่าการศึกษาส่วนใหญ่ได้แสดงให้เห็นว่า มันไม่มีความเชื่อมโยงกันระหว่างการทำแท้งและการป่วยเป็นมะเร็งเต้านมเลยก็ตาม

รายงานดังกล่าวยังสนทนาถึงกรณีอื่นๆอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งกฎเกณฑ์ของรัฐบาลและคณะกรรมการพิจารณาต่างๆประกอบไปด้วยสมาชิกที่นิยมชมชอบต่อการบริหารดังกล่าว ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีรายงานว่า ผู้ซึ่งมีท่าทีว่าจะได้รับการเสนอชื่อขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลกลาง ได้ถูกซักถามเกี่ยวกับทัศนะทางการเมือง เท่าๆกับว่าพวกเขาเลือก Bush เป็นประธานาธิบดีหรือไม่?

การเข้ามาบริหารจัดการที่ชัดเจนมากที่สุดเกิดขึ้นในปี ค.ศ.2002 เมื่อคณะกรรมการที่ปรึกษาศูนย์ควบคุมโรคเกี่ยวกับพิษสารตะกั่วในเด็ก ได้พิจารณาถึงเกณฑ์บรรทัดฐานเกี่ยวกับพิษสารตะกั่วอย่างคับแคบ ด้วยเหตุดังนั้น ต้นตอต่างๆของความเป็นพิษที่ก่อนหน้านี้ได้ถูกห้าม กลับกลายเป็นที่ยินยอมหรืออนุญาตได้

คณะกรรมการชุดหนึ่งที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งใหม่ให้เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาได้รับการเสนอแต่งตั้งโดยศูนย์ควบคุมโรค และนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์คณะกรรมการดังกล่าว ที่ผู้ได้รับการเสนอชื่อได้ถูกปฏิเสธด้วยการแทรกแซงโดยตรงจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและการบริการชุมชน, Tommy Thompson, ซึ่งได้แต่งตั้งคน 5 คนเข้ามาแทน ผู้ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกรับรู้ว่าคัดค้านต่อความเข้มงวดเกี่ยวกับมาตรฐานดังกล่าว สองในห้าคนมีความเกี่ยวพันทางด้านการเงินกับอุตสาหกรรมตะกั่ว

ในเดือนเมษายน ที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของท่านประธานาธิบดี, John Marburger ได้ตีพิมพ์คำตอบต่อสหพันธ์นักวิทยาศาสตร์ที่มีความห่วงใย โดยการให้คำอธิบายแต่ละประเด็นเกี่ยวกับคำหลอกลวงที่อ้างถึง รวมทั้งการปกป้องว่ารายงานต่างๆไม่ได้ถูกยับยั้งไว้ เพียงแต่ยึดเอาไว้ ก่อนที่จะมีการศึกษาสมบูรณ์ยิ่งกว่านี้[1]. ในกรณีของโปรแกรมการหลีกเลี่ยงเรื่องทางเพศ, Marburger กล่าวว่า มันไม่เคยถูกออกแบบขึ้นมาในฐานะที่เป็นการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์เลย แต่มันได้รับการทำขึ้นในฐานะที่เป็นขั้นตอนเบื้องต้นของการประเมินผลในระยะยาว เกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงเรื่องทางเพศ

การกล่าวหาอันนั้นดูเหมือนว่าจะถูกขจัดทิ้งไปอย่างง่ายดาย กล่าวคือ การตัดสินดังกล่าวเกี่ยวข้องกับข้อผูกพันทางการเมือง ค่อนข้างมากกว่าคุณสมบัติทางวิทยาศาสตร์ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ เมื่อมีผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่คณะกรรมการที่ปรึกษา อย่างชัดเจน,คำหลอกลวงที่อ้างถึงแต่ละอันนั้นสามารถได้รับการอธิบายไกลออกไป แต่ไม่ว่าคำอธิบายต่างๆจะได้รับความเชื่อถือ หรือแบบแผนของนโยบายวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เป็นการเมืองจะสร้างแถลงการณ์ของมันขึ้นมาหรือไม่ก็ตาม อันนี้จะขึ้นอยู่กับสิ่งที่ผู้อ่านถูกโน้มน้าวให้เชื่อถือเป็นอันดับแรก

ในเดือนกรกฎาคมยังมีกรณีเกี่ยวกับอคติทางการเมืองอีกกรณีหนึ่งซึ่งได้ถูกรายงานต่อสาธารณชน[2]. เมื่อ Torsten Wiesel, ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาและการแพทย์ ได้ถูกปฏิเสธจากสำนักงานของ Tommy Thompson (กระทรวงสาธารณสุข) (ในฐานะผู้ได้รับการเลือกเพื่อให้เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาของ the Fogarty Center at the NIH), ผู้อำนวยการของศูนย์ดังกล่าว ได้รับคำบอกเล่าจากเจ้าหน้าที่คนหนึ่งจากกระทรวงสาธารณสุขและการบริการชุมชนว่า, Wiesel ได้เซ็นชื่อลงในจดหมายจำนวนมากในนิตยสาร The New York Times ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับประธานาธิบดี Bush

อันที่จริง รัฐบาลไม่ได้แสดงการขอโทษสำหรับการใช้บรรทัดฐานดังกล่าว ยิ่งกว่าที่จะใช้คุณสมบัติทางวิทยาศาสตร์ในนโยบายการแต่งตั้งตำแหน่งดังกล่าว. ตามรายงานในนิตยสาร Nature, โฆษกของ the DHHS ได้ยืนยันว่า นอกจากคุณสมบัติทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว ความหลากหลายของเพศสภาพ, เชื้อชาติ, ภูมิศาสตร์, และความเห็นทางการเมืองถือเป็นประเด็นที่มีเหตุมีผล ของการแต่งตั้งในการดำรงตำแหน่งคณะกรรมการที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ด้วย

การยืนยันนี้ได้นำเราย้อนกลับไปสู่ปัญหาแรกเริ่ม เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของความรู้ชั้นสูงกับกระบวนการทางการเมือง. การศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพบรรยากาศ สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ ระดับมลภาวะที่สามารถรับได้ หรือผลเกี่ยวกับปฏิบัติการทางเพศ ไม่ได้ถูกทำให้เกิดขึ้นมาโดยความอยากรู้อยากเห็นทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างบริสุทธิ์

คล้ายคลึงกับกระบวนการต่างๆทั้งหมด ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสอดคล้องต้องกันโดยตรงต่อสวัสดิการทางด้านกายและจิตของชุมชน ต้นทุนต่างๆและผลประโยชน์ของการตัดสินใจที่แตกต่างจะขึ้นอยู่กับบุคคลที่ต่างกันไป ตัวอย่างเช่น จำนวนของสารตะกั่วเท่าใดที่มันเลวร้ายต่อสุขภาพของประชาชน ดังนั้น อะไรที่ควรจะเป็นระดับที่รับได้ต่ำสุดของสารตะกั่วในกระแสเลือด? คำถามต่อมาคือกระแสเลือดของใคร? และใครยอมรับได้?

คนงานทั้งหลายซึ่งทำงานอยู่ในโรงงานสารตะกั่ว ที่อาศัยอยู่ในย่านสิ่งสกปรกอันเลวร้ายใกล้ๆโรงงานดังกล่าว ครอบครัวของใครจะต้องแบกรับต้นทุนต่อสุขภาพของพวกเขา และในระยะยาว จะต้องเป็นผู้รับเอาสารตะกั่วไว้มากจนเกินไป? เจ้าของโรงงานตะกั่ว ผู้ซึ่งในช่วงฤดูหนาวอยู่ที่ Sedona และในฤดูร้อนพำนักอยู่ที่ Cape Cod, สุขภาพของเขาไม่ใช่ประเด็นปัญหา แต่ใครจะแบกรับต้นทุนทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับการควบคุมมลภาวะเหล่านี้ไว้? สติกเกอร์ซึ่งติดอยู่ที่กันชนรถที่นิยมแพร่หลายไปทั่ว เขียนไว้ว่า "ชาวเวอร์มอนต์อีกคนสำหรับภาวะโลกร้อน". (แน่นอน นั่นอาจเป็นความผิดพลาดของวิทยาศาสตร์ ในเมื่อภาวะโลกร้อนทั่วๆไปอาจทำให้เวอร์มอนต์หนาวเย็นลง)

เพื่อนของผมหลายคนที่เป็นนักกฎหมายยืนยันว่า หลักเกณฑ์ทั่วไปสำหรับการโต้เถียงกันเกี่ยวกับการตัดสินทางกฎหมายคือ "มันขึ้นอยู่กับอำนาจการตัดสินคดี" และกฎเกณฑ์อันนั้นประยุกต์ใช้อย่างเท่าเทียมกันกับการตัดสินต่างๆ เกี่ยวกับคำถามทั้งหลายทางวิทยาศาสตร์ของสาธารณชนที่มีขึ้นมา. มันไม่ตรงไปตรงมาเท่าใดนักกับคำอ้างที่ว่า บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ได้ทำงานทางด้านวิทยาศาสตร์ของพวกเขาโดยปราศจากค่านิยมและแรงกระตุ้นทางจริยธรรม เศรษฐกิจ และสังคม

ทุกๆคนที่ผมรู้จักซึ่งศึกษาเรื่องสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ต่างห่วงกังวลเกี่ยวกับการช่วยเหลือพวกมันให้อยู่รอด แต่ไม่มีใครเคยได้ยินว่า ปรสิตเชื้อมาเลเรียกำลังใกล้จะสูญพันธุ์. ถ้าจะมีการทำให้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องการเมือง ก็เพียงเพราะว่า เป็นการตัดสินใจทางการเมืองเพื่อที่จะใช้จ่ายพลังงานของมนุษย์บางอย่าง และทรัพยากรทางสังคมที่มีอยู่อย่างจำกัดไปบนคำถามใดคำถามหนึ่งโดยเฉพาะ

บรรดานักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ อย่างน้อยที่สุด ต่างมีเสรีภาพ แม้ว่ามันจะไม่เป็นที่ชัดเจนว่า ทำไมควรที่จะเป็นเช่นนั้น ทั้งๆที่ข้อเท็จจริงที่ว่าบรรดานักชีววิทยาระดับโมเลกุลทั้งหมด ที่ผู้เขียนรู้จักคุ้นเคยต่างถือหุ้นอยู่ใน หรือเป็นที่ปรึกษาอยู่กับบริษัทต่างๆทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

ข้อโต้เถียงหลักทางการเมืองที่สำคัญในชุมชนทางวิทยาศาสตร์ ดูเหมือนว่าจะถือว่าเป็นการฉลาดที่จะลงคะแนนเสียงให้กับ Ralph Nader ดีหรือไม่ในยามนี้. พวกเราอาจคาดหวังว่า ปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารงานที่เข้มแข็งในการปกป้องเกี่ยวกับผลประโยชน์ต่างๆของพวกที่เป็นเจ้าของทุน และการจำแนกอัตลักษณ์ของตัวเองในทางวัฒนธรรมด้วยลัทธิมูลรากศาสนา(religious fundamentalism) ควรจะเป็นมูลเหตุของการประท้วง

ถ้าความรู้เกี่ยวกับโลกธรรมชาติเป็นเรื่องของอำนาจเหตุผล การตัดสินใจต่างๆของคนๆหนึ่งที่มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งถูกให้ข้อมูล และรวมถึงผู้คนทั่วไปจะต้องเชื่อว่า บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายได้พูดความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติเท่าที่พวกเขารู้เกี่ยวกับกับมัน. ขณะเดียวกันเราทั้งหลายต่างยอมรับว่า ข้อผูกพันทางการเมืองที่มีอยู่ก่อนหน้านี้จะน้อมนำเราให้ถามคำถามอันหนึ่ง มากกว่าที่จะตั้งคำถามอีกอันหนึ่ง หรือวางน้ำหนักลงบนผลลัพธ์ของการศึกษาที่สอดคล้องลงรอยกับอคติของเรา มากกว่าที่จะปฏิเสธหรือโต้แย้งมัน

นักวิทยาศาสตร์ทุกคนจะต้องเห็นด้วยที่ว่า ความฉ้อฉลอย่างสมบูรณ์เป็นสิ่งที่พ้นไปจากรั้วที่ล้อมรอบ. ในอีกด้านหนึ่งที่เป็นประเด็นเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรม การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์จะถูกทำลายในฐานะความพยายามอันเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ และนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายก็จะสูญเสียข้อเรียกร้องทั้งหมดในทรัพยากรทางสังคม ถ้าหากว่าความผิดพลาดโดยเจตนาไม่ได้ถูกเปิดเผยออกมา. ดังนั้นบรรดานักวิทยาศาสตร์จะต้องตื่นตัว พร้อมที่จะค้นหาคำโกหกต่างๆที่ผุดขึ้นมาจากภายในสถาบันของพวกเขาเอง แต่แน่นอน อันนี้จะน้อมนำไปสู่ความขัดแย้งกันอันหนึ่ง

เพื่อความอยู่รอด วิทยาศาสตร์จะต้องเปิดเผยถึงความไม่ซื่อสัตย์ แต่การเปิดเผยต่อสาธารณะทุกครั้ง จะผลิตลัทธิซีนิก(cynicism - ลัทธิที่สลัดกิเลส-ตัณหาทิ้งไป)เกี่ยวกับความบริสุทธิ์ขึ้นมา และการไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของสถาบัน และตระเตรียมเชื้อเพลิงให้กับการต่อต้านลัทธิเหตุผลในเชิงอุดมคติ

การเปิดเผยอันนั้น เกี่ยวกับซากกระโหลกฟอสซิลของมนุษย์ฟิลท์ดาวน์ ในเชิงประติทรรศน์ อันที่จริงเป็นการหลอกลวงหรือเล่นตลก ซึ่งเป็นการปลดเปลื้องอันยิ่งใหญ่ต่อบรรดานักชีววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิตพืชและสัตว์โบราณที่ต่างพากันงุนงง แต่เป็นมูลเหตุอันหนึ่งของความรื่นเริงยินดีเป็นอย่างยิ่งในกระโจมที่เท็กซัส

ตอนที่ 2.
Horace Freeland Judson, นักเขียนในหน้านิตยสารวิทยาศาสตร์ฉบับหนึ่ง ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เขียนเล่าถึงพัฒนาการเกี่ยวกับเรื่องราวชีววิทยาระดับโมเลกุล มาตอนนี้ เขาได้ผลิตผลงานที่ช่ำชองและเข้าใจง่ายเกี่ยวกับความผิดพลาดของวิทยาศาสตร์ขึ้นมา[3] ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทรยศหลอกลวงอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ใช่เรื่องเล่าธรรมดาเกี่ยวกับความฉาวโฉ่ แต่ได้ให้ตัวอย่างที่หลากหลายเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เลวร้ายของวิทยาศาสตร์ ในบริบทของแรงกดดันทั่วไปของสาธารณชน และการแสดงอย่างเปิดเผยในชุมชนวิทยาศาสตร์

เขาได้ตักเตือนเราว่า แรงขับเพื่อความสำเร็จทางเศรษฐกิจ, อำนาจส่วนบุคคล, และการทำให้อีโก้ของใครบางคนได้รับความพอใจได้นำไปสู่ความไม่สัตย์ซื่อ ความผิดพลาดครั้งแล้วครั้งเล่า และส่งผลถึงความโหดร้ายทางธุรกิจ, ศาสนา, รวมทั้งรัฐบาลด้วย. ทำไมเราจึงคิดว่าผู้มีใจศรัทธาต่อกฎของนิวตัน จะมีใจการุณมากกว่าคนเหล่านั้นที่ถูกปกครองโดยกฎของคาร์ดินัล?

Judson ได้สนทนาถึงความหลอกลวง 3 ชนิดคือ

1. การเสกสรรค์ปั้นแต่ง(fabrication)
2. การทำให้ผิดพลาด(falsification) และ
3. การขโมยความคิด(plagiarism)

ในส่วนของการเสกสรรค์ปั้นแต่ง(fabrication) เป็นการประกอบสร้าง"การสังเกตการณ์"และ"ข้อเท็จจริงต่างๆ"ที่อ้างถึงขึ้นมานอกเหนือจากวิชาชีพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือการโกหกอย่างชัดเจน

ในส่วนของการทำให้เกิดความผิดพลาด(falsification) คือการประดับประดาและปรุงแต่งแก้ไขเกี่ยวกับผลลัพธ์ของการทดลองที่แท้จริงต่างๆ เพื่อว่ามันจะได้ไปด้วยกันกับข้อสรุปตามที่ต้องการ

การทดลองเป็นจำนวนมากได้ถูกปรับแก้ มันอาจเป็นความไม่ซื่อสัตย์อย่างจงใจ หรือละเอียดอ่อนกว่านั้นคือ การสังเกตการณ์ต่างๆที่ไม่สอดคล้องลงรอยพอกับทฤษฎี อาจได้รับการลดความสำคัญลงหรือไม่นำมาคิดคำนวณ บ่อยครั้งบนพื้นฐานเกี่ยวกับหลักเกณฑ์หรือบรรทัดฐานของสิ่งนั้น ซึ่งผู้ค้นคว้าเชื่อว่า ข้อเท็จจริงมีเหตุผลใช้ได้อย่างสมบูรณ์เพียงพอแล้ว

เมื่อได้พิจารณาอย่างรอบคอบ การสังเกตทดลองเป็นจำนวนมากต่างมีข้อบกพร่องหรือช่องโหว่ด้วยกันทั้งสิ้น ด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง ซึ่งควรที่จะถูกลดความสำคัญลงหรือลบทิ้งไป และนั่นคือปัญหาเกี่ยวกับการคัดเลือกการสังเกตการณ์ต่างๆอย่างสัตย์ซื่อ ว่าจะได้รับความเชื่อถือหรือไว้วางใจได้หรือไม่ อย่างไร? ซึ่งอันนี้เป็นการยึดถืออย่างเหนียวแน่นอันหนึ่งของบรรดานักสถิติ และนักศึกษาระเบียบกฎเกณฑ์ที่ต้องการให้มันเป็นไปตามมาตราฐานต่างๆอย่างถูกต้อง

ในส่วนของการขโมยความคิด(plagiarism) Judson ได้จัดแยกหมวดหมู่เกี่ยวกับเรื่องการขโมยความคิดมารวบรวมไว้ ซึ่งไม่เพียงเป็นเรื่องของการคัดลอก หรือสำเนาตำรับตำรางานเขียนของคนอื่นๆโดยไม่ได้กล่าวอ้างเท่านั้น แต่ยังหมายรวมไปถึงการหยิบยืมวิธีการทดลองหรือข้อมูลของคนอื่นมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือนำเอาเนื้อหาหรือความน่าเชื่อถือของการทดลองของบุคคลอื่นมาทำเป็นงานของตน

มีตัวอย่างที่น่าสนใจเกี่ยวกับการขโมยความคิดอันนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ในใจของข้าพเจ้าคือ เรื่องของนักชีววิทยาซึ่งถูกปฏิเสธงานค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับไวรัสสายพันธุ์หนึ่ง ไวรัสสายพันธุ์นั้นถูกครอบครองโดยนักค้นคว้าที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง และเขาได้ส่งจดหมายไปยังนักชีววิทยาคนดังกล่าว แต่นักชีววิทยาคนนั้นกลับนำเอาจดหมายปฏิเสธใส่ลงไปในของเหลวที่หยิบยืมมาโดยไม่ได้รับอนุญาต และทำการฟื้นสภาพไวรัสขึ้นมาใหม่ เพื่อเริ่มต้นการเพาะเลี้ยงที่เป็นของเขาเองขึ้นมา

ประวัติศาสตร์แห่งความฉ้อฉลของวิทยาศาสตร์
Judson เริ่มต้นการเดินทางของเขาผ่านประวัติศาสตร์แห่งความฉ้อฉล ด้วยการนำเรื่องราวไปผูกกับการยอมรับวีรบุรุษและวายร้ายของวงการวิทยาศาสตร์ นั่นคือเหล่าบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย อาทิเช่น Isaac Newton, Gregor Mendel, Louis Pasteur, Robert Millikan, Sigmund Freud, และ Cyril Burt. บางคนอย่างเช่น Burt และ Freud อย่างชัดเจน ได้ทำการสังเกตการณ์อย่างง่ายๆของตนขึ้นมาโดยสิ่งที่อยู่นอกหัวสมองของพวกเขา เพื่อพิสูจน์ถึงทฤษีต่างๆของตนเอง


การเสกสรรค์ปั้นแต่งของ Burt เป็นเรื่องของลักษณะทางพันธุกรรมเกี่ยวกับ IQ ซึ่งค่อนข้างเป็นเรื่องที่เปิดเผยว่าเขาได้คิดค้นมันขึ้นมาร่วมกันกับผู้ร่วมงานของเขาเอง เพื่อนำเสนอพยาธิวิทยาที่แท้จริงบางอย่าง. ส่วนการตรวจวัดของ Millikan เกี่ยวกับประจุของไฟฟ้าสถิตในอิเล็กตรอน ถือเป็นกรณีคลาสสิคเกี่ยวกับการลดทอนความสำคัญหรือการตัดทอนข้อมูลบางอย่างทิ้งไป ในฐานะของการเบี่ยงเบนจากการสังเกตการณ์ ที่มันไม่เข้ากันกับทฤษฎีของเขา

ส่วนกรณีของ Mendel ก็น่าสนใจมาก แม้ว่าพวกเราเพียงแต่คาดเดาเกี่ยวกับพฤติกรรมของเขาเท่านั้น นั่นคือ จำนวนรายงานของ Mendel เกี่ยวกับตัวอย่างที่แตกต่างของหน่ออ่อนจากการทดลองผสมข้ามพันธุ์อย่างหลากหลาย ที่ค่อนข้างใกล้เคียงมากกับอัตราส่วนทางพันธุกรรมที่คาดหวังคือ 3:1 และ 1:1 ซึ่งข้อสรุปอันนี้เป็นเป็นผลลัพธ์ที่ออกมาเกี่ยวกับการทดลองที่ค่อนข้างน้อยมาก เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์หรือพืชในตัวอย่างของการทดลองจริง อุปมาอุปมัยเหมือนกับการโยนเหรียญขึ้นไปในอากาศ 100 ครั้ง มันไม่น่าจะเป็นไปได้ที่จะต้องออกหัวและก้อย 50:50, 51:49 หรือ 49:51 แน่ๆ ทุกๆ ครั้งที่เราทำเช่นนั้น. เป็นไปได้มากทีเดียวว่า Mendel น่าจะไม่ซื่อสัตย์ในการทดลองจนมากพอที่จะได้ข้อสรุปข้างต้น

ข้อปฏิบัติที่เป็นจริงมีอยู่ว่า ถ้าหากว่าคุณทำการทดลองเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยการนับวัตถุต่างๆของตัวอย่างที่หลากหลายโดยไม่มีการกำหนดแน่นอนลงไปว่า จะนับมันทั้งหมดจริงๆ อย่างเช่น 500 ครั้ง ในท้ายที่สุดคุณจะรู้สึกเหนื่อยหน่ายที่จะนับมันให้ครบทั้งหมด และตัดสินใจว่าคุณได้ทำมามากพอแล้วที่จะได้ข้อสรุปที่น่าเชื่อถืออันนั้น

และถ้าเผื่อว่าคุณมีทฤษฎีอยู่ก่อนแล้วเกี่ยวกับว่า ผลลัพธ์ต่างๆควรจะเป็นอย่างไร และคุณจำเป็นต้องรักษาให้การนับนั้นดำเนินไปตามแนวโน้มดังกล่าว การทำเช่นนั้นจะเตือนให้คุณรู้สึกว่า"พอแล้ว!" เมื่อผลลัพธ์มันออกมาดี. อันที่จริงนั้นมันน่าจะไม่ใช่การหลอกลวง แต่เป็นปฏิบัติการเกี่ยวกับการทดลองที่เลวต่างหาก ซึ่งง่ายมากที่จะตกไปสู่ความผิดพลาดและการปั้นแต่ง เมื่อสถิติและจิตวิทยาไม่ได้รับการพัฒนาอย่างดีพอ

Baltimore Affair
ส่วนใหญ่ของการทรยศหลอกลวงที่ยิ่งใหญ่ ได้ถูกทำให้เป็นไปพร้อมกับกรณีของความฉ้อฉลต่างๆสมัยใหม่อันมีชื่อเสียง และในท่ามกลางความมดเท็จเหล่านั้น มีเรื่องที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งซึ่งเรียกว่า"Baltimore Affair" นั่นคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์คนหนึ่งที่ MIT (Massachusetts Institute of Technology), Thereza Imanishi-Kari, ได้รับการมอบหมายให้ทำงานชิ้นหนึ่งร่วมกันกับบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่โดดเด่นที่สุดในห้องทดลอง, David Baltimore, ผู้ได้รับรางวัลโนเบล และเป็นผู้อำนวยการของสถาบันวิจัยขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง และเมื่อเร็วๆนี้ได้เป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัย Rockefeller

งานความร่วมมือจริงๆนั้น เกี่ยวพันกับบรรดานักศึกษาระดับ postdoctoral ต่างๆซึ่งได้มาช่วยทำวิจัยบางอย่าง เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นเรื่องเอกสารที่ต้องมีการเขียนร่วมกัน โดยนักค้นคว้าหลายหลากเหล่านี้ได้ขึ้นตรงกับ Imanishi-Kari และ Baltimore สำหรับเรื่องดังกล่าวได้ทำให้เกิดการร้องเรียนที่น่าสนใจขึ้นมา เกี่ยวกับธรรมชาติของระบบต่างๆของภูมิคุ้มกันหรือการปกป้องทางวิชาชีพ

นักศึกษา postdoctoral คนหนึ่งในห้องทดลองของ Imanishi-Kari นามว่า Margot O'Toole, ได้ค้นพบในวันหนึ่ง ขณะที่มองไปที่บันทึกรายงานต่างๆที่ Imanishi-Kari ซึ่งได้ทำการสังเกตการณ์บางอย่างเกี่ยวกับการทดลองซึ่งขัดแย้งกับข้ออ้างที่มีอยู่ในเอกสารดังกล่าว ส่วนของ O'Toole เองนั้น ก็ได้ทำการสังเกตการณ์และได้ผลลัพธ์ออกมาในทำนองเดียวกัน แต่สิ่งเหล่านี้ได้ถูกยกเลิกและไม่ได้รับพิจารณาจาก Imanishi-Kari พร้อมทั้งยังแสดงอาการโกรธเกรี้ยว

O'Toole ได้นำเอาการค้นพบของเธอไปนำเสนอต่อบรรดาผู้มีอำนาจที่ MIT และที่ Tufts University, ซึ่ง Imanishi-Kari เพิ่งจะได้รับการแต่งตั้งให้ทำงานที่นั่น และผลลัพธ์ที่ออกมาคือมีการนัดพบกันระหว่างเธอ กับ Baltimore, Imanishi-Kari, และบรรดาผู้บริหารของมหาวิทยาลัย. O'Toole เรียกเอกสารที่ได้รับการตีพิมพ์ซึ่งถูกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงและไม่ถูกยอมรับนั้น แต่ดูเหมือนว่าเรื่องมันจะจบลงด้วยความไม่พอใจ

ต่อจากนั้นเรื่องราวดังกล่าวก็ไปถึงบนหน้าสิ่งพิมพ์สาธารณะ และเรื่องราวนั้นได้ถูกต่อเติมเพิ่มขยายด้วยการสืบสวนโดยคณะกรรมการ NIH, การรับฟังและการพิจาณาของสภาคองเกรสส์, และที่น่าสนใจมากไปกว่านั้นก็คือ เรื่องดังกล่าวได้ไปปรากฏตัวบนหน้าสิ่งพิมพ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ และสิ่งพิมพ์ยอดนิยมที่ประชาชนทั่วๆไปอ่าน

ในช่วงระหว่างการสืบสวน และการอุทธรณ์ Imanishi-Kari ได้นำเสนอหลักฐานเอกสารฉบับใหม่เกี่ยวกับบันทึกรายงานผลการวิจัย ซึ่งตั้งใจที่จะให้มันมาสนับสนุนข้ออ้างของเธอ แต่อย่างไรก็ตาม หน่วยสืบราชการลับที่ดำเนินการรับผิดชอบต่อข้อร้องเรียนของคณะกรรมการสภาคองเกรสส์ ได้ประกาศว่า เอกสารต่างๆเหล่านี้เป็นการสร้างหลักฐานเท็จขึ้นมาหลอกลวง มีการเพิ่มเติมข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการเสกสรรปั้นแต่งโดยเจตนาในข้อสงสัยเดิมด้วยการอำพรางข้อมูล.

อย่างไรก็ตาม ด้วยคุณสมบัติของความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสำนวนทางกฎหมายอย่างสูงโดยทนายความซึ่งได้รับการว่าจ้างมาโดย Imanishi-Kari ทนายความได้ทำการตรวจสอบเอกสารหลักฐานดังกล่าวต่างๆ และสรุปว่า การวิเคราะห์ของหน่วยสืบราชการลับเป็นความเข้าใจผิด และไม่สนับสนุนข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการปลอมปน หรือการเสกสรรปั้นแต่งเรื่องขึ้นมาแต่อย่างใด

ผลลัพธ์ที่ตามมาเกี่ยวกับความสับสนวุ่นวายของเรื่องนี้ ทำให้ O'Toole ไม่ได้รับการแต่งตั้งเข้าดำรงตำแหน่ง postdoctoral ของเธอ, ส่วน Imanishi-Kari ก็ถูกยกเลิกตำแหน่งงานที่ Tufts University และ Baltimore ได้ถูกบีบบังคับให้ลาออกจากตำแหน่งอธิการบดีของมหาวิทยาลัย Rockefeller

แต่อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุดหลังจากนั้น 10 ปีของการโต้แย้งกัน เรื่องราวข้างต้นก็จบลงด้วยการตัดสินที่ชาญฉลาดของคณะกรรมการอุทธรณ์แห่ง NIH ซึ่งการกล่าวหาที่ฟ้องร้องต่อ Imanishi-Kari ไม่ได้รับการพิสูจน์ "โดยความเหนือกว่าและอำนาจของพยานหลักฐาน". ในตอนจบ O'Toole ได้รับตำแหน่งนักวิจัย ณ สถาบันวิจัยแห่งหนึ่ง, ส่วน Imanishi-Kari ก็ได้รับการคืนสิทธิ์ในการดำรงตำแหน่งที่ Tufts University, และ David Baltimore ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอธิการบดีที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย[4]

เรื่อง The Baltimore Affair และเรื่องอื่นๆอีกเล็กๆน้อยๆถือเป็นตัวอย่างอันลือชื่อที่ดังกระฉ่อนไปทั่ว เกี่ยวกับกรณีของความไม่ซื่อสัตย์ทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ของเรื่องราวเหล่านี้ไม่ได้เป็นที่สนใจของสาธารณชนเท่าใดนัก ทั้งนี้เพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่ทราบเลยว่า บ่อยมากแค่ไหนที่การหลอกลวงหรือความฉ้อฉลทางวิทยาศาสตร์ในหลายๆระดับ และความไม่ซื่อสัตย์โดยเจตนาได้เกิดขึ้นมา

ผลงานทางวิทยาศาสตร์บางอย่างตรงประเด็นมากกับความผิดพลาดที่อ้างถึงโดยทั่วๆไป ซึ่งในท้ายที่สุดจะได้รับการโต้แย้งโดยการสังเกตการณ์อื่นๆ และในตอนจบ หลังจากการสะดุดหรือความพลั้งพลาดไปแล้ว ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติก็จะปรากฏขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น การทำให้เกิดความผิดพลาดบางอย่างยังอยู่ภายใต้การสนับสนุนของสิ่งที่ปรากฏเป็นทฤษฎีจริง ดังเช่นในกรณีต่างๆของ Pasteur และ Millikan.

แต่อย่างไรก็ตาม วิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกันหรือมีข้อยกเว้นต่อการพิสูจน์ว่า จริงหรือไม่จริงในอนาคต เพราะความเชื่อมโยงระหว่างการค้นพบที่ถูกรายงาน กับ กิ่งก้านสาขาต่างๆที่กระตือรือร้นของการค้นคว้า ซึ่งค่อนข้างอ่อนแอที่จะยอมให้สำหรับการโต้แย้ง หรือเป็นเพราะว่าผลลัพธ์ต่างๆที่ถูกรายงานต่างอยู่ในการสนับสนุนของปรากฏการณ์ที่ได้มีการพิสูจน์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หรือเป็นเพราะว่าหัวข้อนั้นๆค่อนข้างที่จะลึกลับ มีลักษณะเฉพาะ และคับแคบเกินไป ซึ่งไม่มีใครเลยที่จะให้ความใส่ใจหรือกังวลใจมากพอที่จะสืบสวนต่อในเรื่องนั้นๆ

Judson ได้ให้ข้อมูลจากการสำรวจต่างๆทางสังคมวิทยาไม่มากนัก ซึ่งการโต้ตอบต่างๆจะถูกถาม ถ้าเผื่อว่าพวกเขารู้เกี่ยวกับกรณีต่างๆที่เกิดมีความผิดพลาดขึ้น หรือมีการเสกสรรปั้นแต่งกันขึ้นมา แต่ผลลัพธ์ดังกล่าวไม่สามารถถูกนำมาใช้เพื่อประเมินความถี่ของเหตุการณ์นั้นๆได้ ท่ามกลางรายงานทั้งหลายทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการตีพิมพ์ทั้งหมดซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก

ข้อเรียกร้องโดยบรรณาธิการคนก่อนของนิตยสาร Science, ซึ่งเป็นนิตยสารของสมาคมวิทยาศาสตร์อเมริกันเพื่อความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ว่า "เราจะต้องตระหนักว่า 99.9999 เปอร์เซ็นต์ ของรายงานต่างๆเป็นสิ่งที่ถูกต้องแม่นยำและเป็นความจริงที่สมบูรณ์" อันนี้เป็นเรื่องที่เสกสรรขึ้นมาหรือการทำให้เกิดความผิดพลาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ขึ้นอยู่กับว่า เขาคิดมันขึ้นมาเพียงแค่ชั่ววูบ หรือว่ากำลังหลอกลวงหรือบิดเบือนข้อมูลจริงบางอย่างโดยการขว้างลูกไปไกลเป็นพิเศษ [5]

แม้ว่าการวิเคราะห์ของ Judson จะเต็มไปด้วยความช่ำชองและชำนิชำนาญ แต่เขาก็พลั้งเผลอความไม่ซื่อสัตย์ที่มันแพร่กระจายอยู่ในปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้ระดับที่แน่นอนอันหนึ่งเกี่ยวกับความทุจริตทางปัญญา ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสถาบันดังกล่าวถูกละเลยไป. ความไม่ซื่อสัตย์นั้นดำรงอยู่ในหนทางความเชื่อมั่นต่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้รับการให้เหตุผลอย่างผิดๆต่อนักเขียนบางคนที่ลงชื่อร่วมกันในเอกสารทางวิทยาศาสตร์. เขาเพียงสบัดปากกาถึงปฏิบัติการนี้โดยอิงถึง"พรสวรรค์ของความเป็นนักเขียน" แต่ไกลห่างจากพรสวรรค์ที่ตั้งใจ มันเป็นการบีบบังคับหรือการเรียกร้องต้องการ ซึ่งพลังอำนาจอันเต็มเปี่ยมนั้นได้เรียกร้องบนความอ่อนแอดังกล่าว

ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการกับการเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาของกลุ่ม
งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ได้รับการดำเนินการจนสำเร็จลุล่วง ด้วยการรวมตัวกันของกลุ่มการทำงานที่เรียกว่า"ห้องปฏิบัติการต่างๆ" มันคล้ายคลึงกับอุตสาหกรรมภายในบ้าน และนั่นคือการลดทอนอย่างหนึ่ง(synecdoche) กลุ่มดังกล่าวได้ถูกหันหัวโดยนักวิทยาศาสตร์อาวุโส บางครั้งก็คลอเคลียไปกับนักวิทยาศาสตร์อ่อนอาวุโสจำนวนมาก, เพื่อนร่วมงานและรวมทั้งนักศึกษา postdoctoral จำนวนหนึ่ง, สมาคมนักวิจัย, นักศึกษาปริญญาโท, บรรดานักวิทยาศาสตร์เยี่ยมเยือน, และผู้ช่วยทางด้านเทคนิคทั้งหลาย ซึ่งต่างร่วมทำงานอยู่ในที่ทำงานและห้องปฏิบัติการต่างๆ ซึ่งรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนรายรอบพื้นที่ของผู้อำนวยการห้องทดลอง

เกือบจะเป็นเช่นนี้เสมอที่ว่า ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการไม่ได้เป็นคนที่ทำงานทดลองจริงจังแต่อย่างใด อันนี้เป็นการพิจารณาตามความเป็นจริงจากห้องปฏิบัติการหนึ่งไปยังห้องปฏิบัติการอีกแห่งหนึ่ง และจากโครงการหนึ่งสู่อีกโครงการหนึ่งในห้องทดลอง ซึ่งปรากฏว่าในความเป็นจริงแล้ว ในระดับของนักวิทยาศาสตร์อาวุโสส่วนใหญ่ ไม่ได้มีส่วนร่วมในแนวความคิด การวางแผน ให้คำปรึกษา และท้ายที่สุดการเขียนรายงานเอกสารต่างๆขึ้นมาเท่าใดนัก

ในหลายต่อหลายกรณี โครงการทั้งหมดนับจากแนวคิดเป็นต้นมา จนไปถึงการนำออกเผยแพร่หรือการตีพิมพ์ จะไม่มีสิ่งที่ป้อนเข้าไปในโครงการอย่างมีนัยสำคัญใดๆจากผู้อำนวยการเลย แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กระทำกันจนเป็นธรรมเนียมส่วนใหญ่ ห้องปฏิบัติการทั้งหลายต่างได้รับการสนับสนุนโดยเงินทุนจากแหล่งทุนช่วยเหลือที่หลากหลาย และสัญญาต่างๆที่รับมาเหล่านั้น ถูกรับมาในนามของผู้อำนวยการภายใต้ชื่ออันสละสลวยว่า"หัวหน้านักวิจัย"

โดยไม่คำนึงถึงความเกี่ยวพันจริงจัง ของผู้อำนวยการห้องทดลองในทางสติปัญญาและงานทางด้านกายภาพของโครงการวิจัย เขาหรือเธอไม่เคยถูกเรียกร้องในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในโครงการ จำนวนมากของผู้อำนวยการห้องทดลองมีลักษณะคล้ายคลึงกับขุนนางหรือเจ้าที่ดิน ที่ไม่เคยปรากฏว่ามีการท้าทายหรือเรียกร้องสิทธิในทรัพยสินทางปัญญาในผลผลิตของบรรดาทาส หรือข้าแผ่นดินที่เป็นเกษตรกรซึ่งครอบครองผืนแผ่นดินนั้นอยู่

ผลผลิตที่สำคัญของห้องทดลองจะอยู่ในรูปของเอกสารที่ได้รับการตีพิมพ์ และการแสดงออกที่สำคัญของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อำนวยการ ซึ่งเขาหรือเธอจะเป็นผู้ร่วมเขียนอยู่ในงานตีพิมพ์ทุกชิ้นจากห้องปฏิบัติการของพวกเขา บางครั้งรวมไปถึงเอกสารทบทวนหรือบทวิจารณ์แสดงความคิดเห็นทั่วๆไป และบทต่างๆของหนังสือที่ได้รับการเขียนขึ้นโดยสมาชิกใต้บังคับบัญชาหรือระดับรองของกลุ่ม

สิทธิต่างๆในทรัพย์สินดังกล่าวนั้นอธิบายถึงอะไร ยกตัวอย่างเช่น ศาสตราจารย์ Eugene Braunwald แห่ง the Harvard Medical School กลายเป็นนักเขียนคนหนึ่งในวัย 50, ที่มีผลงานตีพิมพ์มากกว่า 600 ชิ้น[6]. โชคไม่ดีสำหรับ Braunwald ตรงที่ว่า หนึ่งในคนที่เขาให้การอุปถัมภ์และผู้ร่วมงาน, John Darsee, กลายเป็นนักเขียนที่เสกสรรปั้นแต่งเรื่องราวขึ้นมาและถูกตรวจพบ. ใครบางคนอาจเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า กี่คืนกันที่ Braunwaid ต้องนอนไม่หลับ อันเนื่องมาจากพิษแห่งความกังวลใจเกี่ยวกับงานพิมพ์ชิ้นอื่นๆในจำนวน 600 ชิ้นเหล่านั้น

แต่ถ้าเผื่อว่าบรรดาผู้อำนวยการห้องทดลอง ในฐานะที่มีเหตุที่จะต้องเป็นเช่นนั้นในการอ้างความเป็นผู้เขียนผลงาน ซึ่งพวกเขาไม่ได้มีส่วนช่วยเหลือทางสติปัญญาใดๆ หรือเป็นเพียงให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่ไม่เป็นสาระสักเท่าใดนักอย่างที่พวกเขาเป็น ปีแล้วปีเล่าอย่างต่อเนื่อง คนเหล่านี้ต่างต่างผูกพันอยู่กับความหลอกลวงทางสติปัญญา และพวกเขาได้เก็บเกี่ยวเอารางวัลอันใหญ่โตมโหฬารเหล่านั้น, ซึ่งรวมถึงชื่อเสียงเกียรติคุณ, รายได้, และพลังอำนาจทางสังคมไปโดยลำพัง และยิ่งไปกว่านั้น โดยการยืนยันอย่างปราศจากสำนึกในส่วนของชุมชนวิทยาศาสตร์ทั้งหมด รางวัลต่างๆเหล่านี้ได้บ่มเพาะตัวตนของพวกเขาขึ้นมาให้เข้มแข็ง

Matthew Effect
Robert Merton ผู้ก่อตั้งการศึกษาสังคมสมัยใหม่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์(modern social studies of science) เรียกร้องความสนใจต่อปรากฏการณ์อันหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งชื่อมันว่า "Matthew Effect" ดัง Matthew 25:29: ที่ว่า…

For unto every one that hath shall be given, and he shall have abundance; but from him that hath not shall be taken away even that which he hath.
ด้วยว่าผู้ใดมีอยู่แล้ว จะเพิ่มเติมให้ผู้นั้นจนมีเหลือเฟือ แต่ผู้ที่ไม่มี แม้ว่าซึ่งเขามีอยู่ก็จะต้องเอาไปจากเขา

โดยไม่คำนึงถึงแบบแผนของนักเขียนทั้งหลาย เกี่ยวกับการได้รับการอ้างถึงอย่างไม่เป็นทางการและบางครั้งเป็นทางการ ในนามของนักเขียนอันเป็นที่รู้จักอย่างดี. ในห้องสมุดต่างๆของห้องปฏิบัติการ เอกสารทั้งหลายจะถูกใส่แฟ้มภายใต้ชื่อของนักเขียน"อาวุโส" และความทรงจำหรือการสนทนาเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ จะอยู่ภายใต้ชื่อของเขาหรือเธอ(ที่เป็นนักเขียนอาวุโสคนนั้น)

สำหรับโดยส่วนตัวของข้าพเจ้า ได้เป็นประจักษ์พยานที่รู้สึกขุ่นเคืองเกี่ยวกับกรณีที่สุดขั้วเกี่ยวกับ the Matthew Effect อันนี้ นั่นคือ… นักศึกษาปริญญาโทในห้องปฏิบัติการของข้าพเจ้าคนหนึ่ง ได้ตีพิมพ์เอกสารสัมนาชิ้นหนึ่งขึ้นมาโดยปราศจากชื่อของข้าพเจ้าปรากฏอยู่บนเอกสารฉบับนั้น ที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ที่เรียกว่า alcohol dehydrogenase ที่ทุกๆคนยอมรับ ซึ่งข้าพเจ้าได้ทำให้การศึกษาทดลองเกี่ยวกับจำนวนประชากรของยีนส์เปลี่ยนแปลงไปอย่างขนานใหญ่ ในลักษณะที่เรียกว่าเป็นการปฏิวัติเลยทีเดียว

หลังจากนั้นในช่วงเวลาไม่นานนัก ข้าพเจ้าได้ให้การบรรยายในหัวข้อที่แตกต่างออกไปหัวข้อหนึ่ง ในตอนท้ายของการบรรยาย เพื่อนร่วมงานคนหนึ่งได้ลุกขึ้นมาในหมู่ผู้ฟังและกล่าวกับข้าพเจ้าว่า "นั่นมันน่าสนใจมาก แต่สิ่งที่ผมชื่นชมจริงๆในเอกสารของคุณก็คือเรื่อง alcohol dehydrogenase." อันนี้คือความยุติธรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้

แต่อย่างไรก็ตาม การยักยอกเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา บางครั้งบางคราวหมายความว่า ใครคนหนึ่งอาจพยายามจะแทรกผ่านการตรวจสอบที่เลวๆไป. The Matthew Effect กำลังทำงานของมัน. ความหลอกลวงฉ้อฉลของ Imanishi-Kari กลายเป็นที่รู้จักในฐานะ "Baltimore Affair." ซึ่งทำให้เราย้อนกลับไปถึง Matthew 25:29: ที่ว่า… สำหรับพวกเขาที่มี มันจะถูกให้

บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการฝึกฝน ต่างสำนึกเกี่ยวกับการหยิบยืมเครดิตสำหรับผลงานของพวกเขาไปโดยบรรดานักวิทยาศาสตร์อาวุโสทั้งหลาย และคนพวกนี้ก็รู้สึกขุ่นเคือง แต่ก็รู้ว่าพวกเขาไม่สามารถทำอะไรได้หรือไม่อาจที่จะประท้วง มันไม่ใช่ว่าพวกเขาจะไม่มีคุณค่าใดๆในรายละเอียดของความเป็นนักเขียน. พวกเขาจะต่อสู้ดันอย่างขมขื่นกับบรรดาเพื่อนร่วมงานเกี่ยวกับลำดับตำแหน่งของพวกเขาที่ว่า ใครควรจะมีรายชื่อนักเขียนเป็นคนแรกบนสิ่งพิมพ์ที่ได้มีการเขียนร่วมกัน. กระนั้นก็ตาม เมื่อพวกเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์อาวุโสขึ้นมา พวกเขาก็จะผูกพันกับการเสกสรรปั้นแต่งทำนองเดียวกันนี้ในเรื่องเครดิตทางปัญญา

การเสกสรรปั้นแต่งต่างๆและความผิดพลาดเกี่ยวกับผลลัพธ์ทั้งหลายทางวิทยาศาสตร์ ที่พวกเราตำหนิประณาม ในฐานะความฉ้อฉลหลอกลวง มันดำเนินการไปจนตลอดรอดฝั่งนับจากความปรารถนาในชื่อเสียง สถานภาพ และรางวัลทางเศรษฐกิจ. อันนี้ถือว่าเป็นการยักยอกเครดิตของคนอื่นโดยบรรดานักวิทยาศาสตร์อาวุโส ที่เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นทั้งหลายในลักษณะที่ว่ามานี้

เราสามารถที่จะคาดหวังให้บรรดานักวิทยาศาสตร์ยึดครองความจริงที่แท้เกี่ยวกับธรรมชาติ ในฐานะที่เป็นมาตรฐานที่ไม่อาจล่วงละเมิดได้อันหนึ่งได้อย่างไร ในเมื่อพวกเขาได้มีส่วนร่วมกันเป็นกลุ่มของความสำนึกเกี่ยวกับความผิดพลาดดังกล่าวอยู่ทุกวันในผลผลิตของความจริงอันนั้น? นั่นคือแง่มุมหนึ่งของสิ่งที่ Judson เรียกว่า "วัฒนธรรมของความฉ้อฉล"(the culture of fraud) ที่ไกลห่างจากประเด็นของความไม่ซื่อสัตย์ มากยิ่งกว่าพฤติกรรมของบรรดาผู้บริหารของบริษัท Enron ซึ่งบรรดานักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เรียกร้องให้มองดูมันด้วยการดูหมิ่นเหยียดหยาม

+++++++++++++++++++++++

หมายเหตุ : Notes

[1] A report of Marburger's reply is given in Nature, April 8, 2004, p. 589.
[2] Nature, July 15, 2004, p. 281.
[3] The book on molecular biology is The Eighth Day of Creation (Simon and Schuster, 1979).
[4] For a much more detailed history of the case, see David Hull's essay in The New York Review, December 3, 1998, and the book by Daniel Kevles that he was reviewing, The Baltimore Case
(Norton, 1998).
[5] Daniel E. Koshland Jr., editorial, Science, January 9, 1987.
[6] See Judson's account on p. 113.

เรียบเรียงจาก


1. Dishonesty in Science. By Richard C. Lewontin
Scientific Integrity in Policymaking: An Investigation into the Bush Administration's Misuse of Science
a report by the Union of Concerned Scientists
February 2004, 42 pp.

2. The Great Betrayal: Fraud in Science. By Horace Freeland Judson, Harcourt, 463 pp.

3. ในส่วนของคำแปล Matthew 25:29 นำมาจาก พระคริสตธรรมคัมภีร์, ฉบับปี ค.ศ. 1971, สมาคมพระคริสตธรรมไทย

 

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 590 เรื่อง หนากว่า 7800 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

Judson เริ่มต้นการเดินทางของเขาผ่านประวัติศาสตร์แห่งความฉ้อฉล ด้วยการนำเรื่องราวไปผูกกับการยอมรับวีรบุรุษและวายร้ายของวงการวิทยาศาสตร์ นั่นคือเหล่าบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย อาทิเช่น Isaac Newton, Gregor Mendel, Louis Pasteur, Robert Millikan, Sigmund Freud, และ Cyril Burt. บางคนอย่างเช่น Burt และ Freud ค่อนข้างชัดเจนมาก

สิทธิต่างๆในทรัพย์สินดังกล่าวนั้นอธิบายถึงอะไร ยกตัวอย่างเช่น ศาสตราจารย์ Eugene Braunwald แห่ง the Harvard Medical School กลายเป็นนักเขียนคนหนึ่งในวัย 50, ที่มีผลงานตีพิมพ์มากกว่า 600 ชิ้น[6]. โชคไม่ดีสำหรับ Braunwald ตรงที่ว่า หนึ่งในคนที่เขาให้การอุปถัมภ์และผู้ร่วมงาน, John Darsee, กลายเป็นนักเขียนที่เสกสรรปั้นแต่งเรื่องราวขึ้นมาและถูกตรวจพบ. ใครบางคนอาจเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า กี่คืนกันที่ Braunwaid ต้องนอนไม่หลับ อันเนื่องมาจากพิษแห่งความกังวลใจเกี่ยวกับงานพิมพ์ชิ้นอื่นๆในจำนวน 600 ชิ้นเหล่านั้น (คัดมาจากหัวเรื่อง : ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการกับการเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาของกลุ่ม)

ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ : บทความทั้งหมดของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ
เจ้าของพื้นที่ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ
เว็ปไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้กับ Display properties : screen area 600 X 800 pixels ซึ่งจะให้ภาพที่คมชัดและสมบูรณ์ที่สุด
H

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 600 เรื่อง หนากว่า 8000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com

หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50202 และอย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์

บทความวิชาการฟรีที่ผ่านมา ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพื่อประโยชน์ต่อการนำไปใช้อ้างอิง