ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
210648
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 595 หัวเรื่อง
อิทธิพลทางการเมืองต่อวิทยาศาสตร์
สมเกียรติ ตั้งนโม
โครงการมองการเมือง-วิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความ
ฟรีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
The Midnight 's article

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 21,878 สูงสุด 32,795 สำรวจเมื่อเดือน พ.ค. 48
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทวิจารณ์หนังสือเรื่อง
การสวมกอดระหว่างการเมืองกับวิทยาศาสตร์
สมเกียรติ ตั้งนโม : เก็บความ
โครงการมองการเมืองและวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

หมายเหตุ: บทความนี้เก็บความจาก
David Guston's Between Politics and Science:
Assuring the Integrity and Productivity of Research


Reviewed by Kimarie R. Stratos, J.D.
Bioethics and Research Counsel, Miami Children's Hospital, Miami, Florida.

เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 13 หน้ากระดาษ A4)


 

วิจารณ์หนังสือเรื่อง "ระหว่างการเมือง กับ วิทยาศาสตร์"ของ David Guston
การยืนยันถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความมีประสิทธิผลของงานวิจัย


INTRODUCTION
แทนที่จะเป็นระเบียบโลกใหม่(a new world order) เรากลับมี"โลกใหม่ที่ไร้ระเบียบ"แทน(a new world of inordinate disorder), Norman Neureiter ได้กล่าวคำนี้ออกมาให้แก่ผู้เข้าฟังการบรรยายที่มหาวิทยาลัย Georgetown ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ น้อยกว่าหนึ่งเดือนหลังจากเกิดเหตุการณ์ 11 กันยา

การอ้างอิงถึงเรื่องดังกล่าวที่มีอยู่ในใจของเราทุกคน นับจากวันอันน่าเศร้าสลด - ความมั่นคงของประเทศสหรัฐอเมริกา, Neureiter, ที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของ Colin Powell รัฐมนตรีว่าการประทรวงต่างประเทศ(ในเวลานั้น) ได้ยอมรับว่า บทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฐานของทุกองค์ประกอบของภารกิจความมั่นคง[1]

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับความฉลาดและสติปัญญา เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์คิดค้นทางชีววิทยา ชีวเคมี และเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งใช้เพื่อต่อต้านการโจมตีของผู้ก่อการร้าย อันนี้ทำให้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลายเป็นแนวหน้าของความมั่นคงของมาตุภูมิ ปัจจุบันกลายเป็นกระทรวงหนึ่งขึ้นมา[2]

หัวเรื่องต่างๆเหล่านี้ จะรวมเอาประเด็นปัญหาก่อนเกิดเหตุการณ์ 11 กันยาที่เด่นๆมาไว้ รวมถึงเรื่องของการวิจัยเกี่ยวกับสเตมเซลล์(stem cell), การโคลนิ่ง(Cloning), เรื่องของ HIV/AIDS, เรื่องโลกร้อน(global warming), เรื่องสิทธิบัตรเกี่ยวกับยีน(gene patenting), อาหารจีเอ็มโอ(genetic modification of food), การขจัดกากนิวเคลียร์(nuclear waste clean-up) และจริยธรรมทางการแพทย์และการวิจัยทางชีววิทยา(bioethics) ที่แน่นอนว่า ได้วางวิทยาศาสตร์และการเมืองให้มีความจำเป็นที่จะต้องคล้องแขนไปด้วยกัน ในการเป็นแนวหน้าเกี่ยวกับข้อถกเถียงทางปัญญาไปทั่วประเทศ

บรรดานักการเมืองทั้งหลายได้ออกมาปรากฏตัวตอนกลางคืนในรายการข่าวทางเคเบิลทีวี เพื่อแสดงออกและถกเถียงกันถึงการสนับสนุนและคัดค้านนโยบายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนมากมักจะเข้าข้างพวกเดียวกัน. แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่ได้มีการพูดจากันเลยในพื้นที่สาธารณะก็คือ กรอบโครงร่างที่ไม่น่าจะมาร่วมเรียงเคียงหมอนกันได้ของทั้งสองฝ่าย - นั่นคือ วิทยาศาสตร์และการเมือง - ในศตวรรษที่ผ่านมา ซึ่งได้กลับกลายมาโอบรัดกันอย่างเหนียวแน่นในความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อน ที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของสังคม

ในหนังสือของเขา Between Politics and Science, David H. Guston รับหน้าที่ในภารกิจอันยากลำบากนี้ โดยการสำรวจถึงความสัมพันธ์ดังกล่าวในบริบทของทัศนียภาพทางประวัติศาสตร์โดยละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาได้โฟกัสลงไปยังพื้นที่ต่างๆของผลประโยชน์ทั้งสองฝ่ายในโครงการขนาดใหญ่ของทั้งคู่ รวมไปถึงการรับรองและยืนยันถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความมีประสิทธิผล

โดยที่ยอมรับกันทั่วไปในปัจจุบัน การเพ่งจุดสนใจของรัฐบาลตั้งอยู่บนการยกระดับเทคโนโลยี เนื่องจากการตื่นตัวเกี่ยวกับเหตุการณ์ 11 กันยา. หนังสือของ Guston ได้จัดหาเค้าโครงอันหนึ่งขึ้นมาอย่างถูกกาละเทศะสำหรับการทบทวนเรื่องราวเหล่านี้ โดยบรรดานักวิชาการทั้งหลาย บรรดานักวิจัย นักการเมืองต่างๆ ผู้วางนโยบาย และนักค้นคว้าอื่นๆ เพื่อขยับขยายจุดประสงค์ของพวกเขาเกี่ยวกับเรื่องนี้

Guston เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์คนหนึ่งทางด้านนโยบายสาธารณะ ณ มหาวิทยาลัย Rutgers และเป็นนักเขียนที่มีผลงานตีพิมพ์อย่างกว้างขวาง ในด้านความรู้เกี่ยวกับนโยบายทางด้านวิทยาศาสตร์. ความเป็นผู้รู้ที่กว้างขวางของเขาเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ และองค์ประกอบทางปรัชญาที่เกี่ยวข้อง ได้รับการเผยออกมาอย่างชัดเจนในหนังสือเล่มดังกล่าว ซึ่งได้จัดหาภาพกว้างให้กับผู้อ่านอย่างเต็มที่ เพื่อให้เห็นถึงอิทธิพลของ"การเมือง"กับ"วิทยาศาสตร์"ที่มีต่อกันมาเกือบหนึ่งศตวรรษแล้ว

หนังสือของ Guston จะนำผู้อ่านเดินทางย่ำเข้าไปในประวัติศาสตร์ และได้นำยกข้อถกเถียงทางวิทยาศาสตร์และแบบจำลองทางปรัชญามาใช้ประโยชน์ เพื่อสาธิตให้เห็นถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับ"สัญญาประชาคมสำหรับวิทยาศาสตร์"(social contract for science). มีการกล่าวถึงการประยุกตใช้เกี่ยวกับทฤษฎีตัวแทน-ตัวการใหญ่(the principal-agent theory) ในการสำรวจถึงเค้าโครงที่เหมาะสม สำหรับความสัมพันธ์กันระหว่าง"การเมือง"กับ"วิทยาศาสตร์" และความเปลี่ยนแปลงที่ถูกทำให้เกิดขึ้นมาโดยงานวิจัยที่ผิดพลาดหรือไม่เหมาะสม รวมถึงความไม่สมหวังทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผิวหน้าในช่วงทศวรรษที่ 1980s.

ณ ตอนแรก Guston ได้ทำให้หัวข้อต่างๆเด่นชัดขึ้นมา โดยการบันทึกว่า วิทยาศาสตร์ได้ถูกนำไปผูกติดอยู่กับการไล่ตามความจริง(the pursuit of truth), และการเมืองทำหน้าที่ดำเนินรอยตามผลประโยชน์ต่างๆ(pursuit of interests). แม้ว่าทั้งสองฝ่ายอาจปรากฏภาพว่า"เป็นขั้วตรงข้ามกัน" แต่เขาอธิบายว่า อันที่จริงพวกมันมีบทบาทที่ค่อนข้างใกล้ชิดกันมาก

"เส้นแบ่งระหว่างการเมืองและวิทยาศาสตร์เป็นเส้นที่บางมาก", Guston กล่าว, และบนเส้นแบ่งนี้ที่นโยบายวิทยาศาสตร์พักพิงอยู่[3]

หนังสือเล่มนี้อธิบายถึงบรรดาผู้มีบทบาทได้อย่างมีชีวิตชีวา - กล่าวคือ "ด้านหนึ่งนั้นเป็นเรื่องหยาบๆและยุ่งเหยิง การค้าม้าและตระกร้าใส่หมู นั่นคือด้านที่เต็มไปด้วยสีสรรของการเมือง; ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นเรื่องของหอคอยงาช้าง การพิจารณาใคร่ครวญด้วยเหตุผล และการดำเนินรอยตามความจริงอย่างมีระเบียบวิธี"[4]

นโยบายในด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวพันกับการกำกับเงินทุน; วิทยาศาสตร์ในเชิงนโยบายเกี่ยวข้องกับการจัดหาความรู้ความชำนาญนับจากวิทยาศาสตร์จนถึงการเมือง. ด้วยเหตุดังนั้น เค้าโครงพื้นฐานจึงถูกจัดตั้งขึ้นมา: มันเป็นการต่อสู้กันอย่างไม่หยุดยั้งระหว่างอิทธิพลอันเลวร้ายที่เป็นปกติของการเมือง และการควบคุมตนเองที่อธิบายไม่ได้อย่างมีศักยภาพเกี่ยวกับชุมชนวิชาชีพที่มีอำนาจ[5]

ขณะที่สำรวจถึงการต่อสู้กันนี้ Guston ได้ใช้ประวัติศาสตร์ ปรัชญา และข้อมูลภววิสัยหรือข้อมูลความจริงอื่นๆ เพื่อตรวจสอบเส้นเขตแดนระหว่างการเมืองและวิทยาศาสตร์. ภารกิจของเขาคือกำหนดว่า ที่ใดที่แต่ละฝ่ายเริ่มต้นและสิ้นสุด โดยผ่านการตรวจสอบถึงประเด็นที่สำคัญต่อทั้งสองฝ่าย - การยืนยันรับรองเกี่ยวกับการวิจัยที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความมีประสิทธิผล

ทัศนียภาพทางประวัติศาสตร์: หนึ่งศตวรรษของการเมืองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
Historical Perspectives: A Century of Politics Regarding Science
ขณะที่การคลี่คลายปัญหาเป็นเรื่องที่มีอยู่ทั่วไป ทัศนียภาพทางประวัติศาสตร์บ่อยครั้งได้พิสูจน์ถึงความล้ำค่า. หนังสือ Between Politics and Science ได้จัดหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ไว้ให้อย่างพอเพียง โดยเคารพต่อเหตุการณ์ต่างๆทางการเมืองที่ได้ก่อรูปนโยบายวิทยาศาสตร์ขึ้นมา และแบบจำลองทางปรัชญาทั้งหลายที่พัฒนารายรอบสิ่งเหล่านี้

ในความสำนึกถึงเรื่องการสร้างความรู้ในเชิงสหวิทยาการ Guston ได้จัดหารายละเอียดต่างๆที่ตรงประเด็นกับประวัติศาสตร์การเมืองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ มาให้กับคนที่ไม่ได้ศึกษามาทางประวัติศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์เหมือนๆกัน. เริ่มต้นด้วยพันธกิจ Allison ในปี ค.ศ.1880 ตลอดจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2, ที่ซึ่งการถกเถียงสำคัญๆยังผลให้เกิดบทบาทที่เหมาะสมของรัฐบาลและวิทยาศาสตร์ขึ้นมา

จนกระทั่งยุคทศวรรษที่ 1980s งานวิจัยที่ไม่เหมาะสมและการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากตรงนั้น Guston ได้จัดหาพื้นฐานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ดีเยี่ยม ซึ่งวิเคราะห์ถึงพัฒนาการทางด้านนโยบายมาให้. เขาอธิบายว่า เรื่องราวเกี่ยวกับนโยบายวิทยาศาสตร์ จะต้องถูกนำหน้าโดยเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างนโยบาย และเรื่องราวของวิทยาศาสตร์ก่อน

ด้วยความคิดในใจอันนี้ Guston ได้ทำให้ทฤษฎีตัวแทน-ตัวการใหญ่(the principal-agent theory)เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ที่สำคัญอันหนึ่ง สำหรับการนิยามความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับนโยบาย. ทฤษฎีตัวแทน-ตัวการใหญ่ ดังที่ประยุกต์ใช้กับนโยบายวิทยาศาสตร์ เสนอว่า รัฐบาล(government = the principal = ตัวการใหญ่) ต้องการตัวแทน = วิทยาศาสตร์(an agent = science) ปฏิบัติภารกิจดังกล่าว ซึ่งตัวการใหญ่ไม่สามารถปฏิบัติการได้โดยตรง

กรณีศึกษา: พันธกิจ Allison
A Case Study: The Allison Commission
ปฏิบัติการเกี่ยวกับ"พันธกิจ Allison" ของหนังสือเล่มนี้ ได้ยกตัวอย่างวิธีการที่ผู้เขียนใช้ประโยชน์ประวัติศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์ถึงหลักการต่างๆที่อยู่ข้างใต้นโยบายทางวิทยาศาสตร์. Guston อธิบายถึงการสร้างสรรค์พันธกิจ และบทบาทหน้าที่ด้วยดวงตาที่มุ่งสู่วันเวลาสมัยใหม่ดังนี้ :

พันธกิจ Allison ได้รับการสถาปนาขึ้นโดยรัฐสภาในปี ค.ศ.1884 เพื่อสำรวจถึงองค์กรเกี่ยวกับหน่วยงานการวิจัยต่างๆของรัฐบาลกลาง ซึ่งในช่วงเวลานั้นได้รวมทั้งหน่วยงานแผนภูมิ แผนที่ และบทบาทหน้าที่ในเชิงธรณีวิทยาและอุตินิยมวิทยา ที่ปฏิบัติการโดยตัวแทนต่างๆของรัฐบาลและทางการทหาร[6]

มีการทบทวนพิจารณาอย่างเปิดเผยถึงคำถามเกี่ยวกับขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่ทับซ้อนกัน คณะกรรมการสำหรับในช่วงแรกได้รับหลักฐานมาจากบรรดานักวิทยาศาสตร์ และข้าราชการเกี่ยวกับธรรมชาติและคุณภาพของงานวิจัยของพวกเขา. อย่างไม่น่าประหลาดใจ ประเด็นปัญหาต่างๆเกี่ยวกับอาณาบริเวณและผลประโยชน์ส่วนตัวทางการเมือง เป็นเรื่องที่ปรากฏอยู่บนผิวหน้า

ไม่เหมือนกับตัวแทนต่างๆที่หลากหลายในทุกวันนี้ พันธกิจดังกล่าวได้ตั้งคำถามขั้นพื้นฐาน และความเหมาะสมเกี่ยวกับการตัดสินใจในการบริหารที่ส่งผลกระทบต่อการวิจัย. ด้วยเหตุดังนั้น สำหรับในช่วงแรกๆ ประเด็นเกี่ยวกับความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน(integrity) ซึ่งมีอยู่แต่เดิมในการเป็นตัวแทนของวิทยาศาสตร์จากตัวการใหญ่สู่ตัวแทน จึงกลายเป็นประเด็นหนึ่งไป

นอกจากนั้น สารัตถะของความมีประสิทธิผล(productivity)ซึ่งแสดงออกบนผิวหน้า ในฐานะที่เป็นธรรมชาติและเรื่องของจำนวนพิมพ์เกี่ยวกับงานวิจัย ถือเป็นตัวแทนต่างๆในความพยายามอันหนึ่งที่จะบอกถึงความมีประสิทธิภาพ ซึ่งอันนี้เป็นพันธกิจดังกล่าวที่จะสืบสาวเข้าไปสู่สิ่งต่างๆ

บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายต่างใส่ความสภาคองเกรสส์เกี่ยวกับความไม่รู้เรื่องรู้ราว และการมีท่าทีหรือทัศนคติในการต่อต้านวิทยาศาสตร์ - การกล่าวหาต่างๆยังคงเป็นเรื่องธรรมดาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่ง Guston ได้หมายเหตุเอาไว้[7] เขาใช้ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ต่างๆในโครงร่างของทฤษฎีตัวแทน-ตัวการสำคัญ เพื่อน้อมนำให้ผู้อ่านไปสู่การวิเคราะห์เกี่ยวกับนโยบายทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม โดยปราศจากความลังเลใจ Guston ยอมรับว่า เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการเป็นตัวแทนเกี่ยวกับการวิจัยจากรัฐบาลสู่ชุมชนวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีนี้ อันที่จริงค่อนข้างจะเป็นนามธรรม[8]

ผู้เขียนได้ดำเนินต่อไปโดยการสนับสนุนความต้องการสำหรับการแบ่งแยกงาน เมื่อมันปฏิบัติการในโครงสร้างตัวแทน-ตัวการใหญ่ การเน้นถึงการกำหนดเขตแดนที่ไม่แน่นอนของ"วิทยาศาสตร์"จาก"สิ่งที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์", Guston บันทึกว่า ในปีทศวรรษ 1880s มันยังไม่มี"องค์กรแบ่งเขต"(boundary organization) ซึ่งแก่นแท้อันหนึ่งขององค์กรนี้คือ คอยทำหน้าที่ในฐานะตัวกลางระหว่างวิทยาศาสตร์กับสภาคองเกรส และให้คำตอบต่อทั้งสองฝ่าย [9]

ในเวลานั้น เมื่อสภาคองเกรสส์มีคำถามอันหนึ่งขึ้นมา บรรดาสมาชิกรัฐสภาที่อยู่ ณ เวที และบรรดานักวิทยาศาสตร์ - ซึ่งอยู่ที่เดียวกัน ผู้ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมตัวอย่างต่างๆ และกำหนดเขตแดนต่างๆ - จะนั่งตรงข้ามกับนักการเมืองและให้คำตอบ. อีกหนึ่งศตวรรษต่อมา ระเบียบวิธีเดียวกันนี้ ได้ถูกนำมาใช้เพื่อทำการสอบสวนงานวิจัยที่ไม่เหมาะสม ดังที่ Guston แสดงให้เห็นภาพ และองค์กรแบ่งเขตได้ถือกำเนิดขึ้นมา

สัญญาประชาคมสำหรับวิทยาศาสตร์
A Social Contract for Science
ดำเนินรอยตามกรณีศึกษาพันธกิจ Allison ของเขา, Guston ได้อธิบายถึงพัฒนาการเกี่ยวกับ"สัญญาประชาคม"สำหรับวิทยาศาสตร์, การนิยามถึงปัญหาในเชิงอุดมคติเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนในวิทยาศาสตร์ จากการทำให้เป็นสถาบันขึ้นมาของมัน ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มานี้เอง และได้มาลงเอยในปีทศวรรษที่ 1980s

Guston ชี้แจงถึงสัญญาประชาคมในฐานะที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ในเชิงทฤษฎีที่มีอยู่ทุกหนแห่ง ซึ่งถูกนำมาใช้เพื่อสำรวจตรวจสอบตัวการใหญ่(รัฐบาล)ของพลเมือง และความสัมพันธ์ต่างๆทางการเมือง[10]. โดยการอ้างถึงทฤษฎีต่างๆของ Locke, Rousseau และ Rawls, ผู้เขียนให้เหตุผลว่า สัญญาประชาคมนี้สำหรับวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ โดยวิทยาศาสตร์ทำเพื่อยกระดับสังคมให้ดีขึ้น

เขาอรรถาธิบายถึงบรรยากาศที่วิทยาศาสตร์ได้รับการสนับสนุนส่วนใหญ่ ผ่านเงินช่วยเหลือและข้อสัญญาต่างๆต่อสถาบันเอกชนทั้งหลาย และปล่อยให้ควบคุมกันเองภายใน รวมทั้งกำหนดวิธีการและขอบเขตของการวิจัยโดยสถาบันต่างๆเหล่านั้น. ความสัมพันธ์กันเช่นนี้ เขาเสนอว่า ได้ให้การสนับสนุนแนวความคิดเกี่ยวกับสัญญาประชาคมระหว่าง"ชุมชนวิทยาศาสตร์"กับ"ประชาชนอเมริกัน ซึ่งมีตัวแทนของพวกเขาคือสภาคองเกรสส์

ดังที่กล่าวมานี้ ข้อสัญญาที่ให้คำมั่นว่า จะกระจายผลประโยชน์ต่างๆอย่างกว้างขวางไปสู่สังคมเป็นการตอบแทน สำหรับการให้อิสระทางวิชาการ และการปกครองตนเองภายใน ในฐานะผู้รับกาสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง[11]. เช่นเดียวกับประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพันธกิจ Allison, Guston ได้เรียงร้อยคำอธิบายของเขาเกี่ยวกับทฤษฎีสัญญาประชาคมด้วยความเห็นต่างๆ และโดยการยอมรับเกี่ยวกับนักปรัชญาทั้งหลายที่มีชื่อเสียง, นักรัฐศาสตร์ต่างๆ, นักสังคมวิทยา, และนักวิชาการอื่นๆ อย่าง Vannevar Bush, ผู้เขียนเรื่อง Science: The Endless Frontier (วิทยาศาสตร์: พรมแดนอันไม่สิ้นสุด) ซึ่งดังที่ Guston เสนอว่ามัน "ค่อยๆปรากฏขึ้นอย่างใหญ่โตในมายาคติเกี่ยวกับโยบายวิทยาศาสตร์ของอเมริกัน"[12]

ความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายต่อสัญญาประชาคม:
การยืนยันความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความมีประสิทธิผลในการวิจัย

Changes and Challenges to the Social Contract: Assuring Integrity and Productivity in Research
หลังจากการอรรถาธิบายเกี่ยวกับสัญญาประชาคมและความผันแปรของมันแล้ว Guston ก็ดำเนินการต่อไปด้วยการสนทนาอย่างท้าทายถึงทฤษฎีดังกล่าว เขาพอใจที่ว่า สัญญาประชาคมยังคงไม่เสื่อมสลายลงในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้ว่าจะมีคำถามต่างๆเกี่ยวกับความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในการวิจัยที่ได้รับการส่งเสริมหรือสปอนเซอร์โดยรัฐบาลกลางอยู่ก็ตาม ทั้งนี้เพราะระเบียบวิธีขั้นพื้นฐานสำหรับการเกี่ยวข้องกับความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และความมีประสิทธิผลยังคงเป็นเช่นเดิม

จากจุดนั้น Guston ได้อธิบายถึงการยกเครื่องเกี่ยวกับนโยบายวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกิดขึ้นมาในช่วงปีทศวรรษที่ 1980s ในฐานะที่เป็นข้อกล่าวหาเกี่ยวกับความไม่เหมาะสมและความผิดพลาดที่เริ่มเกิดขึ้น. ในปี ค.ศ.1981 ในช่วงเวลานั้น ผู้แทน Al Gore และวุฒิสมาชิก Orin Hatch ได้นำให้มีการสืบสวนของรัฐสภาเกี่ยวกับความไม่เหมาะสมและความผิดพลาดของวิทยาศาสตร์ ด้วยการพาดพิงถึงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ(the National Cancer Institute). และจากจุดนั้นเองที่ได้ก่อให้เกิดการสืบสวนต่างๆต่อมาเกี่ยวกับความไม่เหมาะสม ซึ่งได้ดำเนินการต่อเนื่องไปยังพื้นที่อื่นๆด้วย

ผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นเรื่องที่มีนัยสำคัญ ทำให้ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการวิจัยในเรื่องความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ที่ถูกจัดการอย่างไม่เป็นทางการภายในชุมชนวิทยาศาสตร์ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้. ในอีกด้านหนึ่ง สภาคองเกรสส์ได้สร้างองค์กรแบ่งเขตต่างๆ(boundary organizations)ในช่วงแรกขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำนักงานเกี่ยวกับความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของการวิจัยภายในสถาบันสุขภาพแห่งชาติ(the National Institutes of Health [NIH]) และสำนักงานตรวจสอบทั่วไปภายในมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ(the National Science Foundation [NSF]) เพื่อช่วยรับรองและให้ความมั่นใจในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของการวิจัย

Guston ได้อธิบายว่า บทบาทหน้าที่ซึ่งเป็นแก่นแท้เหล่านี้ ได้รับใช้หรือบริการ"ตัวการใหญ่"ในสภาคองเกรสส์ และ"ตัวแทน"ของมันหรือชุมชนวิทยาศาสตร์อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น the ORI จะทำหน้าที่ให้นิยามนโยบายต่างๆและวิธีการปฏิบัติ ซึ่งองค์กรทั้งหลายที่ได้รับทุนจะต้องธำรงความรับผิดชอบในเบื้องต้นไว้ นอกจากนี้ ORI ยังรับหน้าที่การสืบสวนเกี่ยวกับข้อกล่าวหาต่างๆ และความพลั้งเผลอของวิทยาศาสตร์ด้วย

การปฏิบัติในฐานะตัวแทนของตัวการใหญ่, ORI สามารถกระทำได้ ทั้งในส่วนเหตุการณ์ภายหลังที่ตามมา หรือก่อนหน้าการสืบสวนของสถาบันอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อยืนยันรับรองในบูรณภาพหรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เกี่ยวกับการสืบสวนและหน้าที่ทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่ข้างใต้

ORI ยังปฏิบัติการเป็นตัวแทนวิทยาศาสตร์ด้วย โดยการจัดหาความช่วยเหลือทางการศึกษาในด้านจริยธรรมการวิจัย และทำให้นโยบายต่างๆของสถาบันมีผลบังคับใช้ต่อการวิจัยที่ไม่เหมาะสม เพื่อว่านักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย จะได้กระทำการด้วยความมั่นใจว่า โปรแกรมการวิจัยต่างๆของพวกเขามีภารกิจเข้าข่ายปัจจัยที่กำหนดอย่างเหมาะสม และเพื่อที่จะธำรงรักษาเงินทุนจากส่วนกลางเอาไว้ต่อไปได้[13]

องค์กรแบ่งเขตต่างๆ
Boundary Organizations
Guston ยังทำการสำรวจถึงการเปลี่ยนแปลงไปของสัญญาประชาคมของวิทยาศาสตร์ด้วย ซึ่งได้รับการนิยามโดยความต้องการสำหรับความมีประสิทธิผลในส่วนของรัฐบาล. การเคลื่อนย้ายไปจากความเหมาะสมในฐานะที่เป็นแรงกระตุ้นในการสร้างผลลัพธ์ต่างๆ Guston ได้อธิบายว่า รัฐบาลได้ให้การยอมรับสิ่งที่ภาคเอกชนรู้กันมานานแล้วว่า ระบบรางวัลตอบแทนตามขนบประเพณีที่จัดให้กับความสัมฤิทธิผล ได้ไปกระตุ้นและสนับสนุนความมีประสิทธิผลได้อย่างไรบ้าง

บทบัญญัติทางกฎหมายได้รับการผ่านความเห็นชอบ และได้ไปเสริม"แรงกระตุ้น"และได้ให้การสนับสนุนบรรดานักวิจัยทั้งหลาย[14] ในการเป็นหุ้นส่วนกับรัฐบาล เพื่อผลิต และถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยก่อให้เกิดองค์กรแบ่งเขตอีกอันหนึ่งขึ้นมานั่นคือ สำนักงานเกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคโนโลยี[15]

การเปลี่ยนแปลงอันนี้ในเชิงนโยบาย, Guston อธิบายว่า ไปสัมพันธ์กับการประกาศใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องตามมา อย่างเช่นการใช้ข้อสัญญาผูกพันต่างๆและการพัฒนาเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการสนับสนุน ซึ่งได้รับการผนึกรวมกันโดยองค์กรเกี่ยวกับการแบ่งเขต ที่ทำให้การถ่ายทอดและการตอบแทนสำหรับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์เป็นไปได้สะดวกมากขึ้น ท่ามกลางภาคส่วนต่างๆของสังคมและเอกชน

ด้วยการปรากฏขึ้นมาของระบบกลไกส่วนที่สาม ที่กระตุ้นทั้งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความมีประสิทธิผล, ทำให้ Guston รู้สึกพอใจว่า สัญญาประชาคมได้ถูกแทนที่โดยแบบจำลองนโยบายอันหนึ่งซึ่งได้ใช้องค์กรแบ่งเขตให้เป็นประโยชน์ อันเป็นที่มาเกี่ยวกับการรับรองหรือยืนยันถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความีประสิทธิผลของวิทยาศาสตร์

คำว่า "incentivize"(เครื่องกระตุ้น) ได้เข้ามาสู่ท้องถิ่นสังเวียนวิทยาศาสตร์ด้วยความเร็วสูง ขณะเดียวกันกฎเกณฑ์ดังกล่าวได้มองข้ามหรือพลั้งเผลอในเรื่องจริยศาสตร์ของการวิจัยไป ซึ่งได้กลายมาเป็นแนวหน้าของทั้งวิทยาศาสตร์และนโยบายสาธารณะ. Guston เขียนว่า เราทั้งหลายต้องการเพียงแค่จ้องมองไปที่ความก้าวหน้าของยุคสมัย - อย่างเช่น การถอดระหัสจีโนมของมนุษย์(Human Genome), ความเจริญก้าวหน้าของอินเตอร์เน็ต, การสร้างสรรค์เกี่ยวกับเจเนติคบำบัดต่างๆ(genetic therapies), และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอื่นๆ - เพื่อวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบอย่างเด่นชัดในนโยบายวิทยาศาสตร์ ที่ตั้งอยู่บนความมีประสิทธิผลของวิทยาศาสตร์ และผลลัพธ์ของมันซึ่งส่งผลต่อความเป็นอยู่ของเรา

อันที่จริง, ในหลายเดือนตามมาหลังจากเหตุการณ์ 11 กันยา ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ และความต้องการความก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป เป็นสิ่งเด่นชัดของความเจ็บปวดที่ประเทศต้องต่อสู้ดิ้นรน ในความพยายามที่จะปกป้องและต่อต้านโรคแอนแธรค(anthrax) และรูปแบบอื่นๆของการก่อร้ายทางชีวภาพ(หรือที่เรียกว่า bioterrorism) เพื่อเตรียมการและยกระดับการป้องกันความปลอดภัย โดยผ่านการตรวจตราที่เชี่ยวชาญและช่ำชองมากขึ้น และเพื่อใช้ประโยชน์และยกระดับเทคโนโลยีทางด้านกลาโหมมากขึ้น(defense technology )[16]

Guston คาดคะเนถึงระดับความรู้บางอย่างในส่วนของผู้อ่านงานของเขา ด้วยการเกี่ยวข้องกับทฤษฎีต่างๆ และทัศนะทางปรัชญาซึ่งอ้างถึงในงานของเขา ขณะเดียวกัน ผู้ที่ยังใหม่ต่อเรื่องนโยบายทางด้านวิทยาศาสตร์ก็สามารถที่จะตรวจตราอย่างละเอียดโดยผ่านบทต่างๆ และด้วยความพยายามบางอย่าง ที่จะสรุปว่าใครปกป้องทัศนะอันไหนและทำไม ซึ่งภารกิจในเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เป็นเรื่องพื้นๆ. สำหรับกลุ่มนี้ ดัชนีคำย่อต่างๆของหนังสือ เป็นไปได้ที่จะพิสูจน์ถึงการช่วยเหลือที่เป็นประโยชน์ต่อการถอดระหัสโลกของวิทยาศาสตร์และรัฐบาลเกี่ยวกับคำย่อทั้งหลาย ที่ถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางตลอดหนังสือเล่มนี้[17]

สำหรับผู้ที่ไม่ใช่นักวิชาการ คำอธิบายในหนังสือ Between Politics and Science เกี่ยวกับทฤษฎีตัวแทน-ตัวการใหญ่(the principal-agent theory) และพรมแดนต่างๆ เชื่อมโยงกับการวิเคราะห์เกี่ยวกับสัญญาประชาคมสำหรับวิทยาศาสตร์ ไม่ได้เอื้อต่อความสว่างในการอ่านเท่าใดนัก. แต่สำหรับผู้มีความชำนิชำนาญในขอบเขตความรู้นี้อยู่แล้ว ข้อคิดเห็น คำวิจารณ์ต่างๆ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะเป็นการส่องสว่างและเติมเชื้อไฟแก่การวิเคราะห์ของคนเหล่านั้นได้มากยิ่งขึ้น

นโยบายวิทยาศาสตร์: วันนี้และวันพรุ่งนี้
Science Policy: Today and Tomorrow
ในผลที่ตามมาเกี่ยวกับเหตุการณ์ 11 กันยา ความเหมาะสมและพัฒนาการของการวิจัยได้ไต่ปีนสูงขึ้นไปอย่างรวดเร็วและน่าประหลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่เกี่ยวกับการวิจัยทางด้านชีววิทยาและเทคโนโลยี งบประมาณทางการเงินในปี ค.ศ.2003 ของประธานาธิบดี Bush เสนอเงินทุนเพิ่มให้กับ NIH (the National Institutes of Health สูงถึง 27.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นจำนวนสองเท่าที่ได้รับในปี ค.ศ.1998 ในเรื่องค่าใช้จ่าย[18] ส่วนการจัดสรรเงินงบประมาณสำหรับกระทรวงพลังงานสูงเกือบ 21 พันล้านเหรียญ[19]

บางทีจำนวนตัวเลขงบประมาณเหล่านี้ ได้ไปให้การสนับสนุนการใช้วาทศิลป์ของพวกเขาเสียมากกว่า ในการชักเย่อเพื่อให้ได้เงินทุนมา การแข่งขันในผลประโยชน์ต่างๆ มาถึงตอนนี้ จะต้องพิสูจน์ถึงความคุ้มค่าของพวกเขาขึ้นมาแล้ว ในบริบทนั้น ความสำคัญเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพของวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันตามเหตุผลของ Guston ไม่ค่อยเข้าตาสักเท่าไหร่

สำนักงบประมาณกลางและการจัดการสหรัฐฯ ได้วางกรอบเค้าโครงคำถามใหม่อันหนึ่งขึ้นมา นั่นคือ "เดินไปข้างหน้า, ให้คำถามที่เราถกเถียงกันไม่เป็นเพียงแค่ - รัฐบาลกลางจะใช้จ่ายกับเรื่องอะไร? - แต่ให้รวมไปถึงเรื่องที่ว่า - รัฐบาลกลางจะได้รับอะไร? ด้วย"

ในเนื้อหาที่ตามมา เป็นรายงานงบประมาณเกี่ยวกับ OMB ที่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการ, โดยตัวแทนต่างๆทางด้านวิทยาศาสตร์แถลงถึงความมีประสิทธิผลของตนเองอย่างภาคภูมิ ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับปริมาณและคุณภาพ. โปรแกรมที่ได้รับการเลือกสรรจะถูกประเมินตามปัจจัยเกี่ยวเนื่องกับ"ประสิทธิผล"และ"ไร้ประสิทธิผล" และปฏิบัติการจะถูกเปรียบเทียบ"ทั้งหมด"ภายในส่วนย่อยๆต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกัน[20]

ความเอิกเกริกและโอกาสดังกล่าวมักมีอยู่เสมอ. โดยเกรงว่าจะสร้างความสับสนทางการเมืองเกี่ยวกับว่าใครรับผิดชอบอะไร สำหรับการสร้างสรรค์เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต, the NSF จึงให้ความกระจ่างอย่างมั่นใจในประเด็นนี้. โดยผ่านข้อมูลงบประมาณของ the NSF, การสนับสนุนช่วยเหลือขององค์กรดังกล่าวเกี่ยวกับการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ได้นำไปสู่การสร้างบราวเซอร์กราฟิกขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างสรรค์เว็ปขึ้นมา[21]. กระทรวงพลังงาน, the NIH, NASA, สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานอื่นๆต่างเน้นความสำเร็จของหน่วยงานตนเองด้วย

ตั้งแต่นี้ต่อไป ดูเหมือนเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า การพูดคุยกันเกี่ยวกับงบประมาณใดๆก็ตาม จะรวมเอาการวิเคราะห์เกี่ยวกับบทบาทของรัฐบาลเข้าไปด้วยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ในการพัฒนาและให้เงินทุนเกี่ยวกับการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ รวมตลอดไปถึงการพูดคุยกันเกี่ยวกับองค์กรแบ่งเขตต่างๆ ที่จะทำหน้าที่ในฐานะผู้เจรจาไกล่เกลี่ย หรือคนกลางเชื่อมโยงระหว่าง"วิทยาศาสตร์"กับ"รัฐบาล" เพื่อธำรงให้กระบวนการดังกล่าวมีความมั่นคงหรือเสถียรภาพ

สรุป
บรรดานักการเมืองทั้งหลายยังคงเรียกหาหลักฐานที่เป็นตัวเป็นตนต่อไป เกี่ยวกับความมีประสิทธิผลของการวิจัย และยังคงเรียกร้องต้องการข้อพิสูจน์และความมีเหตุมีผลของกฎระเบียบในความแน่นอน บ่อยครั้งเกิดการโต้เถียงกัน เกี่ยวกับขอบเขตความรู้ต่างๆในการวิจัย และเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่มีต่อองค์ประกอบต่างๆ (อย่างเช่น การวิจัยเรื่องสเตมเซลล์ หรือการโคลนนิ่ง เป็นต้น)

ไม่ว่าจะถูกระตุ้นโดยคอมพิวเตอร์ หรือการปฏิวัติเทคโนโลยีชีวภาพ หรือโดยเหตุการณ์ 11 กันยา, ประเด็นนโยบายวิทยาศาสตร์ก็จะไม่เป็นเพียงผลประโยชน์ต่อบรรดานักการเมืองและนักวิทยาศาสตร์เท่านั้น ทั้งนี้เพราะประชาชนทั้งหลาย ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตั้งคำถามต่างๆนั่นเอง เช่น ทำไมการบำบัดรักษาสำหรับโรคแอนแทรกส์ จึงยังไม่มีการค้นพบ? ที่ใดบ้างที่เทคโนโลยีทางด้านการตรวจตราเพื่อป้องกันการวางระเบิด และปกป้องการทำลายล้างบนเครื่องบินและพื้นที่สาธารณะยังล้มเหลวอยู่? พ้นไปจากความต้องการปัจจุบันสำหรับการวิจัยและการพัฒนา ก็คือความต้องการการสร้างสรรค์และการกลั่นกรองเกี่ยวกับนโยบายต่างๆที่ใช้ควบคุมมัน

อะไรที่เกี่ยวกับความไว้เนื้อเชื่อใจได้ สำหรับยุคสมัยที่การมีส่วนร่วมในงานวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ สามารถรวมเอาธนาคารเนื้อเยื่อและความห่วงใยมาอยู่ด้วยกันได้ อันนี้ได้ไปเกี่ยวข้องกับการครอบครอง DNA ของมนุษย์คนหนึ่ง? ยีนต่างๆสามารถมีสิทธิบัตรได้ไหม? หรือการใช้กฎหมายสิทธิบัตรในพื้นที่ของเทคโนโลยีชีวภาพและเกี่ยวกับยีน เป็นความพยายามที่ขาดความรอบคอบ หรือขาดคำปรึกษาที่ดีพอในส่วนของผู้วางนโยบายทั้งหลายใช่ไหม? เราควรจะเกี่ยวข้องกับโลกาภิวัตน์ของการวิจัยในยุคข่าวสารข้อมูลนี้อย่างไร?

ก่อนหน้านี้ ถังความคิดต่างๆและสิ่งเหล่านั้นซึ่งมีผลกระทบโดยตรงจากหัวข้อดังกล่าว มันถูกสงวนเอาไว้ในชั้นเรียน แต่ปัจจุบันนโยบายวิทยาศาสตร์ ได้มีอยู่ในใจสาธารณชนทุกคน. ไม่ว่าความคิดจำนวนมากจะถูกให้ไว้เกี่ยวกับหัวข้อดังกล่าวอย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนสูงสุดต่อการลงทุนสำหรับวันนี้ในด้านวิทยาศาสตร์ จะยังคงความลึกลับกระทั่งทุกวันนี้[22] กระนั้นก็ตาม เป็นที่ชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์วันนี้จะยังน้อมนำเราไปสู่ที่ที่เราไม่รู้จัก; นโยบายวิทยาศาสตร์และโครงสร้างพื้นฐานที่สัมพันธ์กันของมัน จะต้องพร้อมสำหรับการเดินทาง

สำหรับนักการเมือง นักวิจัย หรือผู้ทำนโยบาย ซึ่งอาจมีความช่ำชองและชำนิชำนาญทางการเมือง หรือวิทยาศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่คนที่ใหม่ต่อความแตกต่างในรายละเอียดเกี่ยวกับความสัมพันธ์กันของทั้งสองศาสตร์ หนังสือเรื่อง Between Politics and Science จะให้ความเข้าใจแท้จริงในส่วนของเบื้องหลังของนโยบายวิทยาศาสตร์ในปัจจับันได้อย่างดีเลิศ

นอกจากนี้ หนังสือเล่มดังกล่าวยังจัดหาโครงเหล็ก หรือบันไดให้ป่ายปีนพ้นไปจากแท่นฐานงบประมาณและการเลือกตั้ง ในการวิเคราะห์ถึงการพัฒนาและการบำรุงรักษาเกี่ยวกับนโยบายวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์ โดยผ่านโครงสร้างพื้นฐานของมัน รวมถึงเรื่อองค์กรแบ่งเขตต่างๆ. Guston ไม่ได้สรุปลงไปแน่นอนเกี่ยวกับโครงร่างความสัมพันธ์ในปัจจุบันระหว่างวิทยาศาสตร์และการเมืองว่า จะประสบความสำเร็จสูงสุดในปฏิบัติเพื่อประโยชน์สาธารณะมากน้อยแค่ไหน

เขาบันทึกว่า แม้นโยบายทั้งหมดจะได้รับการดำเนินตามและโครงสร้างพื้นฐานได้ถูกใช้เป็นประโยชน์ แต่มันยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่เกี่ยวกับการวิจัยที่สนทนาถึง ซึ่งจะพิสูจน์ว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย. ความไม่แน่นอนนั้น, Guston กล่าว, อาจยอมให้ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง และตามโอกาสเป็นครั้งคราว ที่ได้แกว่งไกวองค์กรแบ่งเขตไปๆมาๆ

Guston ดูเหมือนจะมองเห็นอันนี้ในฐานะที่เป็นอัตลักษณ์ที่มีอยู่แต่กำเนิดในความสัมพันธ์ดังกล่าว และเสนอว่า องค์กรต่างๆต้องการที่จะได้รับความมั่นคงแข็งแรงอยู่ข้างใต้ลมพายุ. ใครคนหนึ่งอาจเพียงหวังว่า Guston ทำถูกต้องแล้ว เพราะพายุอาจกำลังจะมา

 

อ้างอิง

[1] FYI: The AIP Bulletin of Science Policy News, Number 131: October 23, 2001. Neureiter identified this task as having three elements: intelligence, diplomacy and military preparedness.

[2] National Science Foundation Director Rita Colwell acknowledged the importance of science and technology in combating terrorism, stating: "(e)very discussion about airline safety, contaminated by disease, failure of communication links, poisoning of food and drinking water, assessment of damaged infrastructure and countless other concerns depends on our scientific and technical knowledge." Colwell, in a November 7, 2001 speech to the Woodrow Wilson International Center for Scholars entitled "Science: before and After September 11." The full text of this speech can be found at www.nsf.gov/od/lpa/forum/colwell/rc011107wodrowilson.htm.

[3] Guston, Preface, p. xv.
[4] Guston, Preface, p. xv.
[5] Guston, Preface, p. xv.

[6] The budget then for federal research was about $3 million in annual appropriations.

[7] "It is a shame," quotes Guston of one scientist "that a Congressman whose brain is not more than two kitten power can kick (the Coast survey) around like a foot ball (sic)." (quoting Guston 1994a: 30). Among others, Major John Wesley Powell appeared before the Commission espousing what he believed to be the primary analytical fact of science policy: scientists know things about the conduct of research that politicians do not-an argument used as an apology for and acceptance of a laissez faire policy for science. Powell advanced the "pure-science ideal," stating that "(s)cientific men are, as a class, the most radical democrats in society" who become "restive and rebellious when their judgments are coerced by superior authority". Guston, p. 33-34.

[8] "The public is like a very rich man," quotes Guston of E.E. Schattschneider (1960: 139), "who is unable to supervise closely all of his enterprise. His problem is to learn how to compel his agents to define his options." Guston, p. 19.

[9] More specifically, Guston states that a "…boundary organization is more specifically identified because it provides space that legitimates the creation and use of boundary objects and standardized packages; involves the participation of principals and agents, as well as specialized mediators; and exists on the frontier of two relatively distinct social worlds with definite lines of accountability to each." Guston, p. 109.

[10] Guston, p. 40-42.
[11] Guston, p. 45, quoting Harvey Brooks, (1990b: 12).
[12] Guston, p. 52.
[13] Guston, p. 88-112.

[14] While not a new concept in principal-agent theory, the idea of "incentivizing," by providing economic benefits or sharing of potential profits in research was indeed novel. By the 1980s, creation of public-private partnerships to share in both risk and reward, including lucrative patent rights, became a reality.

[15] Legislation included the Technology Innovation Act of 1980, the Patent and Trademark Amendments Act of 1980, the Small Business Innovation Development Act and others. See Guston, p. 113-126.

[16] "It is abundantly clear that there is a concurrent need for increased scientific and engineering knowledge. In times such as these, we are acutely cognizant of living in a society defined by and dependent on science and technology." Rita Colwell, Director of the National Science Foundation, infra, footnote 2.

[17] As Guston travels deeper within the confines of the "NSF," the "NIH" and other science organizations to discuss the substantive groups and methodologies within, acronyms abound. In discussing the ORI and OTT in comparison to the OIG or the issues of productivity and integrity within the context of the functions of the APA, ILO, OSI, RIAB, DAB, PHS and HHS, among others, the Abbreviations Index will be appreciated.

[18] Office of Management and Budget, Budget of the United States, Fiscal Year 2003. The government's budget is published at www.whitehouse.gov/omb/budget/fy2003.

[19] ?Id.
[20] Id.
[21] Id.

[22] Said Ken Olsen-founder and chairman of Digital Equipment Corporation-in 1977: "(t)here is no reason for any individuals to have a computer in their home." (Dr. Neal Lane, Director of NSF, "Science: Stepchild or Superstar," delivered at the AAAS Annual Meeting on Engaging Science, Sustaining Society, February 14, 1997, at www.nsf.gov/od/lpa/forum/lane/nl3astl.htm).

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 590 เรื่อง หนากว่า 7800 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

แทนที่จะเป็นระเบียบโลกใหม่(a new world order) เรากลับมี"โลกใหม่ที่ไร้ระเบียบ"แทน(a new world of inordinate disorder), Norman Neureiter ได้กล่าวคำนี้ออกมาให้แก่ผู้เข้าฟังการบรรยายที่มหาวิทยาลัย Georgetown ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ น้อยกว่าหนึ่งเดือนหลังจากเกิดเหตุการณ์ 11 กันยา 2001(ระหว่างการเมือง กับ วิทยาศาสตร์)

คำว่า "incentivize"(เครื่องกระตุ้น) ได้เข้ามาสู่ท้องถิ่นสังเวียนวิทยาศาสตร์ด้วยความเร็วสูง ขณะเดียวกันกฎเกณฑ์ดังกล่าวได้มองข้ามหรือพลั้งเผลอในเรื่องจริยศาสตร์ของการวิจัยไป ซึ่งได้กลายมาเป็นแนวหน้าของทั้งวิทยาศาสตร์และนโยบายสาธารณะ. Guston เขียนว่า เราทั้งหลายต้องการเพียงแค่จ้องมองไปที่ความก้าวหน้าของยุคสมัย - อย่างเช่น การถอดระหัสจีโนมของมนุษย์(Human Genome), ความเจริญก้าวหน้าของอินเตอร์เน็ต, การสร้างสรรค์เกี่ยวกับเจเนติคบำบัดต่างๆ(genetic therapies), และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอื่นๆ - เพื่อวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบอย่างเด่นชัดในนโยบายวิทยาศาสตร์ ที่ตั้งอยู่บนความมีประสิทธิผลของวิทยาศาสตร์

ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ : บทความทั้งหมดของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ
เจ้าของพื้นที่ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ
เว็ปไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้กับ Display properties : screen area 600 X 800 pixels ซึ่งจะให้ภาพที่คมชัดและสมบูรณ์ที่สุด
H

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 580 เรื่อง หนากว่า 7500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com

หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50202 และอย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์

บทความที่ผ่านมา หากนักศึกษาและสมาชิกสนใจให้คลิกไปอ่านได้จากที่นี่...