ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
210648
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 596 หัวเรื่อง
เส้นทางที่ยาวไกลเกี่ยวกับ
ประชาธิปไตยในพม่า
โครงการวิจัยไทย

มูลนิธิส่งเสริมสันติวิถี-เบอร์ม่าอิชชู่

บทความ
ฟรีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
The Midnight 's article

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 21,878 สูงสุด 32,795 สำรวจเมื่อเดือน พ.ค. 48
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

เนื่องในการฉลองครบรอบวันเกิด ออง ซาน ซูจี
เส้นทางอันไม่รู้จบของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่า
รวบรวมข่าวรอบสัปดาห์ โดย โครงการวิจัยไทย
มูลนิธิส่งเสริมสันติวิถี-เบอร์ม่าอิชชู่

หมายเหตุ: รวบรวมข่าวเกี่ยวกับ ออง ซาน ซูจี
เนื่องในการฉลองครบรอบวันเกิด 60 ปี
จำนวน 6 ข่าว โดย โครงการวิจัยไทย ส่งมาให้กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 11 หน้ากระดาษ A4)



1. พม่าคุมเข้มความปลอดภัยครบรอบวันเกิดซูจี
- การฉลองครบรอบวันเกิดครบ 60 ปี "ซูจี" ในพม่า ดำเนินไปแบบเงียบๆ สมาชิก NLD ปล่อยนักพิราบ กล่าวสดุดีวีรกรรม ผู้นำการเรียกร้องประชาธิปไตย

วานนี้ (19 มิถุนายน)เป็นวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 60 ปีของนางออง ซาน ซูจี ผู้นำเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า ซึ่งทั่วโลกได้จัดการชุมนุมประท้วงและกิจกรรมต่างๆ เพื่อดึงให้ผู้คนสนใจในชะตากรรมของซูจี แต่การฉลองในพม่าเป็นไปอย่างสงบเงียบ ที่สำนักงานใหญ่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) มีการนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ให้พร 10 รูป ตั้งแต่ช่วงก่อนสว่าง

ผู้บริหารพรรคเอ็นแอลดีได้ปล่อยนกพิราบและลูกโป่ง พร้อมกล่าวสุนทรพจน์ว่า หลังจากเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในพม่า ดอว์ออง ซาน ซูจี ไม่เพียงเป็นผู้นำในอุดมคติสำหรับคนพม่า แต่ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในโลก

ด้านปีกสตรีของพรรคเอ็นแอลดี ปฏิบัติตามธรรมเนียมที่ทำกันมาหลายปี ด้วยการเฉลิมฉลองวันเกิดซูจีในฐานะวันสตรีพม่า โดยมีการกล่าวสุนทรพจน์และพิธีบริจาคเงินเพื่อสมาชิกของพรรคและนักโทษการเมืองคนอื่นๆ ขณะที่กลุ่มนักการเมืองสูงวัย ชื่อกลุ่มนักการเมืองรุ่นเก่า ซึ่งบางคนเคยร่วมกับนายพลออง ซาน บิดาของนางซูจี ต่อสู้เรียกร้องอิสรภาพของพม่าช่วงศตวรรษ 70 ได้ประกอบพิธีสงฆ์แยกต่างหาก พวกเขากล่าวชื่นชมการอุทิศตนเพื่อชาติและประชาชนของนางซูจี และเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวเธอ รวมถึงเปิดการเจรจากับพรรคเอ็นแอลดี นอกจากนั้น กลุ่มนักการเมืองดังกล่าวยังได้ส่งจดหมายถึงผู้นำรัฐบาลทหาร ขอให้ปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมด รวมทั้งซูจีกับพรรคพวก

สำหรับซูจีนั้น ไม่ได้รับอนุญาตให้ผู้คนเข้าพบในวาระครบรอบวันเกิด ขณะที่รายงานข่าวระบุว่ารัฐบาลกล่าวเป็นนัยว่า ซูจีจะถูกกักบริเวณไปจนถึงวันที่ 27 พ.ย.2548 เป็นอย่างน้อย

ด้านรัฐบาลทหารได้รักษาความปลอดภัยเข้มงวดมากขึ้น บริเวณบ้านพักรอบทะเลสาบในกรุงย่างกุ้ง ซึ่งใช้ควบคุมตัวซูจีในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รวมถึงบริเวณรอบๆ สำนักงานใหญ่ของพรรคเอ็นแอลดี ซึ่งชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลายเมื่อปี 2533 แต่รัฐบาลทหารซึ่งปกครอง ประเทศมาตั้งแต่ปี 2505 เมินเฉยต่อผลการเลือกตั้ง

ในส่วนของหลายประเทศในเอเชีย ได้จัดการชุมนุมให้ซูจีเช่นกัน อย่างในฟิลิปปินส์ อดีตประธานาธิบดีคอราซอน อคิโน และกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตย ได้ร่วมกันสวดมนต์เพื่อให้มีการปล่อยตัวซูจีอย่างไม่มีเงื่อนไข พร้อมสัญญาจะช่วยเหลือการดิ้นรนของซูจีเพื่อนำประชาธิปไตยมาสู่พม่า

ส่วนมาเลเซีย นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและชาวพม่าในมาเลเซีย ได้รวมตัวกันพร้อมเรียกร้องให้เลิกกักบริเวณซูจี ขณะที่อดีตนายกรัฐมนตรีมหาธีร์ โมฮัมหมัด กล่าวว่า รัฐบาลทหารไม่ควรกลัวการปล่อยตัวแกนนำเรียกร้องประชาธิปไตยหรือกลัวการปฏิรูป

ในบังกลาเทศ ผู้อพยพชาวพม่าจำนวนหนึ่งชุมนุมกันในกรุงธากา พร้อมถือป้ายที่มีข้อความอาทิ "ปล่อยตัวออง ซาน ซูจี" และ "เราต้องการประชาธิปไตย"
(กรุงเทพธุรกิจ 20/06/2548)

2. ทั่วโลกร่วมเรียกร้องขออิสรภาพ"ซูจี"
- ทั่วโลกพร้อมใจใช้วาระ ครบรอบวันเกิดปีที่ 60 ของออง ซาน ซูจี เรียกร้องรัฐบาลทหารมอบอิสรภาพแก่ซูจี หลังถูกกักบริเวณเป็นครั้งที่ 3 ขณะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มอบปริญญารัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจำปี 2534 ผ่านผู้แทน หลังสภามหาวิทยาลัยอนุมัติตั้งแต่ปี 2534 ผู้แทนซูจี เผย ไม่เสียใจที่ถูกจองจำ แต่ห่วงชนกลุ่มน้อยเป็นเหยื่อละเมิดสิทธิมนุษยชน

กลุ่มสิทธิมนุษยชน นักร้องเพลงป๊อป และผู้นำชาติต่างๆ ทั่วโลก ต่างพากันเรียกร้องให้รัฐบาลพม่า ปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้การปราบปรามแบบอหิงสาไปแล้ว โดยในฟิลิปปินส์ อดีตประธานาธิบดีคอราซอน อคิโน และกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตย ได้ร่วมกันสวดมนต์เพื่อให้มีการปล่อยตัวซูจีอย่างไม่มีเงื่อนไข พร้อมสัญญาจะช่วยเหลือการดิ้นรนของซูจี เพื่อนำประชาธิปไตยมาสู่พม่า

"ข้าพเจ้ายังสวดมนต์ให้เธอเสมอและภาวนาให้ความยุติธรรมบังเกิดกับเธอในที่สุด" อคิโน ซึ่งขึ้นบริหารประเทศหลังเป็นผู้นำพลังประชาชน โค่นล้มจอมเผด็จการ เฟอร์ดินันด์ มาร์กอส ระบุ

ส่วนมาเลเซีย นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและชาวพม่าในมาเลเซีย ได้รวมตัวกัน พร้อมเรียกร้องให้เลิกกักบริเวณซูจี ขณะที่อดีตนายกรัฐมนตรีมหาธีร์ โมฮัมหมัด กล่าวว่า รัฐบาลทหารไม่ควรกลัวการปล่อยตัวแกนนำเรียกร้องประชาธิปไตย หรือกลัวการปฏิรูป

ที่บังกลาเทศ ผู้อพยพชาวพม่าจำนวนหนึ่งชุมนุมกันในกรุงธากา พร้อมถือป้ายที่มีข้อความอาทิ "ปล่อยตัวออง ซาน ซูจี" และ "เราต้องการประชาธิปไตย"

ส่วนที่กรุงโตเกียว ประชาชนประมาณ 300 คนรวมตัวกันที่วายเอ็มซีเอ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิด ซึ่งจัดรายการต่างๆ อาทิ ฉายภาพยนตร์เกี่ยวกับซูจี และมีการแสดงของนักเคลื่อนไหวชาวพม่าที่แสดงเหตุการณ์ที่ผู้เรียกร้องประชาธิปไตย ถูกทหารปราบปราม ขณะที่สวนสาธารณะนอกกรุงโซล เกาหลีใต้ กลุ่มชนประมาณ 100 คน รวมถึงชาวพม่าพลัดถิ่น 60 คน ชุมนุมถือป้ายเรียกร้องให้ปล่อยตัวซูจี และให้รัฐบาลยุติการกดขี่

นอกจากการจัดชุมนุมแล้ว ผู้นำระดับสูงหลายคนยังออกแถลงการณ์ร่วมกัน อาทิ ประธานาธิบดีริคาร์โด ลากอส แห่งชิลี, ประธานาธิบดีธาโบ เบกิ แห่งแอฟริกาใต้, ประธานาธิบดีโกราน เปอร์สัน แห่งสวีเดน และนายกรัฐมนตรีเฮเลน คลาร์ก แห่งนิวซีแลนด์ ที่เรียกซูจี ว่า เป็นสตรีผู้กล้า และสัญญาจะสนับสนุนให้ชาวพม่ามีเสรีภาพ

ขณะที่ น.ส.คอนโดลีซซา ไรซ์ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ เขียนจดหมายถึงซูจี ว่า "การแสดงออกอย่างอหิงสาและการสนับสนุนประชาธิปไตยให้บังเกิดขึ้นในพม่าของท่าน ทั้งที่ต้องเผชิญการปราบปรามจากรัฐบาลทหารทั้งยังถูกกักบริเวณ เป็นแรงกระตุ้นผู้คนทั่วโลก เรารอคอยวันที่ท่านจะได้ฉลองวันเกิดในประเทศพม่าที่มีประชาธิปไตยและเสรีภาพ"

ด้าน ประธานาธิบดีคาร์โล อาเซกลิโอ ไซอัมปิ แห่งอิตาลี ได้ส่งข้อความอวยพรวันเกิด พร้อมระบุว่า ตัวเขาและชาวอิตาลีขอแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับซูจี ทั้งยังชมเชยซูจีที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนอย่างกล้าหาญ

อังกฤษมอบกุญแจเมืองลูกชายซูจี
ในอังกฤษ ซึ่งถือเป็นบ้านอีกแห่งของซูจี เพราะเธอมีสามีเป็นคนอังกฤษ อีกทั้งลูกชายก็อาศัยอยู่ในอังกฤษด้วยนั้น ได้มีการมอบกุญแจเมืองให้แก่บุตรชายของซูจี ขณะที่ผู้สนับสนุนซูจีได้กักบริเวณตัวเองในบ้านพักเป็นเวลา 24 ชม.เพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงซูจี

นอกจากนั้น เดเมียน ไรซ์ นักร้องชาวไอริช ยังแต่งเพลง "Unplayed Piano" อันเป็นเพลงเกี่ยวกับความเพลิดเพลินใจไม่กี่อย่างที่ซูจีได้รับระหว่างถูกกักบริเวณ จนกระทั่งเปียโนของเธอพังลง

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันศุกร์ (17 มิ.ย.) ผู้ชุมนุมได้ไปรวมตัวกันหน้าสถานทูตพม่าทั่วโลก ทั้งในกรุงลอนดอน และวอชิงตัน และประเทศอื่นๆ อีก โดยในสหรัฐนั้น นักเคลื่อนไหวได้มอบบัตรอวยพร 6,000 ใบแก่สถานทูตพม่าในกรุงวอชิงตัน ขณะที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช กล่าวว่า ชาวพม่าควรได้รับอิสรภาพจากการต่อสู้ของซูจี

ลือรัฐบาลทหารพม่าจะปล่อยซูจี
การรณรงค์ของหลายประเทศทั่วโลกนี้ คล้ายคลึงกับกรณีของปี 2531 ซึ่งทั่วโลกรณรงค์เรียกร้องให้ปล่อยตัวนายเนลสัน แมนเดลา และการที่ทั่วโลกพร้อมใจกันจัดงานให้ซูจี ครั้งนี้ ก่อให้เกิดข่าวลือในกรุงย่างกุ้ง ว่า ซูจี อาจได้รับอิสรภาพ แต่ไม่มีเครื่องบ่งชี้ว่ารัฐบาลจะปล่อยตัวเธอ สมาชิกพรรคเอ็นแอลดีคนหนึ่ง กล่าวว่า การรักษาความปลอดภัยรอบบ้านซูจี ยังเหมือนเดิม บ่งว่า ข่าวลือการปล่อยตัวไม่เป็นความจริง

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มอบ"ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์"
ที่ประเทศไทย เนื่องในวาระครบรอบ วันเกิด 60 ปี ของนางออง ซาน ซูจี มีพิธีส่งมอบใบปริญญาบัตรรัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ที่สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีมติไว้ตั้งแต่ปี 2534 ให้กับนางออง ซาน ซูจี โดย ศ.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) มอบให้กับผู้แทน คือ นางดอว์ ซาน ซาน เลขานุการสหภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งพม่า

ศ.สุรพล กล่าวว่า ฐานะที่นางซูจี เป็นแบบอย่างที่ดีในการมุ่งมั่น และมีจิตใจที่ยึดแนวทางการต่อสู้และสันติวิธี เพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนให้แก่ชาวพม่า การเรียกร้องเพื่อเกียรติ ศักดิ์ศรี และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษยชาติอย่างมีศักดิ์ศรี อย่างผู้มีสิทธิที่จะกำหนดการปกครองของตนเองตามเจตนารมณ์ของปวงชน อันส่งผลให้ได้รับรางวัลระดับนานาชาติหลายรางวัล นับเป็นการประกาศให้ชาวโลกได้รับรู้ถึงสัจธรรมอันยิ่งใหญ่ของแบบอย่างแห่งการต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย

"ซูจี"ไม่เสียใจที่ถูกขัง-ห่วงย่ำยีชนกลุ่มน้อย
ต่อมาเป็นการจัดงาน "60 ปี ออง ซาน ซูจี : การต่อสู้ของผู้หญิงแห่งลุ่มน้ำอิรวดี-สาละวิน" เนื่องในวาระครบรอบวันเกิด 60 ปี ของออง ซาน ซูจี โดยผู้แทนของนางซูจี กล่าวว่า เธอไม่รู้สึกเสียใจกับอิสรภาพการสูญเสีย เธออุทิศดวงใจให้กับประชาชนพม่า ที่กำลังทุกข์ทนอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร เธอเข้าใจต่อผู้ที่ลี้ภัยออกนอกประเทศว่า เป็นไปด้วยความกลัว การถูกจองจำ เธอห่วงใยประชาชนผู้ยากไร้ที่พลัดถิ่นมาอาศัยอยู่ในประเทศไทย อินเดีย และบังกลาเทศ เพราะคนเหล่านี้กลัวการถูกฆ่า ข่มขืน และการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยทหารของรัฐบาล

ด้านการจัดเสวนาหัวข้อ "มองไปข้างหน้า ... พม่ากับอาเซียน" จัดโดยคณะกรรมการจัดงาน 60 ปี นางอองซานซูจี เพื่อสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับพม่า และอาเซียนในการเดินควบคู่ก้าวไปข้างหน้า จะไปในทิศทางใด ซึ่งนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา กล่าวว่า นักเคลื่อนไหวในพม่าควรใช้วันพิเศษนี้จัดกิจกรรมที่จะนำไปสู่การผลักดัน ให้ปล่อยตัวนางอองซาน และให้เกิดกระบวนการปรองดองแห่งชาติพม่า

นอกจากนี้ พม่ายังมีปัญหาชนกลุ่มน้อย ถูกขับไล่ออกจากประเทศแบบไม่มีมนุษยธรรม หลายประเทศ กำลังใช้วิธีตอบโต้กับผู้ลี้ภัยชาวพม่า โดยการไม่ให้สิทธิเสรีภาพเหมือนแต่เคยจึงอยากเรียกร้องให้ไทย และประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน กลับมาใช้มาตรฐานในการปฏิบัติกับผู้อพยพชาวพม่าด้วยหลักสิทธิมนุษยชน การอยู่อย่างสันติ และการให้สิทธิเหมือนคนในประเทศ

ด้านอาจารย์พรพิมล ตรีโชติ นักวิจัยสถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า อาเซียนให้ความสำคัญกับพม่าในเรื่องเศรษฐกิจ เพราะมีทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ ส่วนความเคลื่อนไหวที่อาเซียนมีต่อพม่าเพิ่งจะมามีในช่วงหลังทั้งในด้านการเรียกร้องให้ปล่อยตัวออง ซาน ซูจี ซึ่งแรงต่อรองของอาเซียนไม่ส่งผลระคายเคืองต่อพม่า เนื่องจากพม่ามีพันธมิตร เป็นประเทศจีน และอินเดีย ซึ่งพม่าไม่ต้องหวังพึ่งใครอีกแล้ว

ขณะที่ นายอัษฎา ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูตถาวรประจำสหประชาชาติ กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน กับพม่า ว่า เหตุที่พม่าเข้ามาเป็นสมาชิกอาเซียน เพราะไม่ต้องการอยู่อย่างโดดเดี่ยว และใช้อาเซียน เป็นเกราะป้องกันตนเอง จากการโจมตีจากชาติตะวันตก ขณะเดียวกัน การที่อาเซียนเปิดรับพม่า เนื่องจากหวังว่าส่วนหนึ่งจะช่วยลดความรุนแรงในพม่าให้ทุเลาลง แต่ความจริงพม่ากลับสร้างปัญหาให้กับอาเซียน ที่สำคัญแทนที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมให้พม่าดีขึ้น กับทำให้อาเซียนต้องเสียภาพพจน์จากสายตาประชาคมโลก
(กรุงเทพธุรกิจ 20/06/2548)

3. ชาวพม่าในไทยจัดฉลอง 60 ปี"ซูจี" ร้องรัฐบาลหม่องปล่อยตัวผู้นำฝ่ายค้าน
- เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันครบรอบวันคล้ายวันเกิด 60 ปีของนางออง ซาน ซูจี อดีตหัวหน้าพรรคเอ็นแอลดี และผู้นำฝ่ายค้านของรัฐบาลทหารพม่า มีการจัดกิจกรรมต่างๆ หลายแห่ง เช่น ที่วัดภาวนานิยมาราม(วัดป่าเก่า) ถนนสายแม่สอด-แม่ระมาด เขตเทศบาลเมืองแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก มีชาวพม่ากว่า 100 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสตรี ไปรวมตัวกันเพื่อร่วมกันจัดงานครบรอบ 60 ปีของวันสตรีพม่า หรือวันออง ซาน ซูจี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของนางออง ซาน ซูจี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การจัดงานดังกล่าวถือเป็นครั้งที่ 9 ณ เขตชายแดนไทย-พม่า อ.แม่สอด โดยมีนักการเมืองพม่า นักศึกษา และชาวพม่าทั่วไปต่างเดินทางไปร่วมพิธีดังกล่าว และมีการจัดนิทรรศการ โดยมีรูปของนางออง ซาน ซูจี รูปนักการเมืองพม่า และชาวพม่าที่ถูกทหารรัฐบาลทารุณกรรมต่างๆ นานา

ระหว่างการจัดงานดังกล่าว มีชาวพม่าทั้งชาย-หญิงผลัดกันลุกขึ้นไปกล่าวปราศรัย ยกย่องนางออง ซาน ซูจี และเรียกร้องให้กลุ่มสตรีพม่าหันมาสนใจติดตามสถานการณ์ทางการเมืองในพม่าอย่างต่อเนื่อง

วันเดียวกัน ที่บริเวณหน้าสวนสาธารณะหนองบวกหาด จ.เชียงใหม่ ตัวแทนจากองค์กรภาคเอกชน ประกอบด้วย กลุ่มแนวร่วมเพื่อสันติภาพ จ.เชียงใหม่ กลุ่มแนวร่วมเพื่อเพื่อนพม่า และสมาคมผู้หญิงกฎหมายแห่งเอเชียกว่า 100 คน ร่วมกันจัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสครบรอบวันคล้ายวันเกิดนางออง ซาน ซูจี ที่มีอายุครบ 60 ปี โดยมีกลุ่มแรงงานชาวพม่า ไทยใหญ่ กะเหรี่ยง และบรรดานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประมาณ 100 คน เข้าร่วมกิจกรรม เช่น

การนั่งมาราธอนในชุดพื้นเมืองเชียงใหม่ นั่งเรียกร้องสันติภาพ ด้วยการกางร่มกระดาษสาเอกลักษณ์ของชาวล้านนาสีม่วง ตั้งแต่เวลา 07.00 - 12.00 น. เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและสนับสนุนนางออง ซาน ซูจี ที่ถูกรัฐบาลทหารพม่าควบคุมตัว การเขียนข้อความอวยพรในบัตรอวยพรที่ติดลูกกุญแจ เพื่อให้รัฐบาลทหารพม่าปลดปล่อยนางออง ซาน ซูจี หลังจากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมได้ร้องเพลงและตัดเค้กวันเกิดขนาด 5 ปอนด์ เพื่อฉลองให้กับนางออง ซาน ซูจี ด้วย

น.ส.ปรานม สมวงศ์ แกนนำกลุ่มแนวร่วมเพื่อสันติภาพ จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ขอให้รัฐบาลไทยใช้มาตรการกดดันรัฐบาลทหารพม่าปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี โดยเร็วด้วย

วันเดียวกัน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะกรรมการจัดงานครบรอบ 60 ปี ออง ซาน ซูจี จัดงาน "60 ปี ออง ซาน ซูจี : การต่อสู้ของผู้หญิงแห่งลุ่มน้ำอิระวดี-สาละวิน" เนื่องในวาระครบรอบวันเกิด 60 ปี ของนางออง ซาน ซูจี ซึ่งในโอกาสนี้ สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีมติมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่นางซูจี เพื่อเชิดชูคุณงามความดี เกียรติคุณ ความสามารถ เพื่อเป็นแบบอย่างแก่ชาวโลกและเป็นที่ประจักษ์สืบไป โดย ศ.ด.ร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้มอบปริญญาบัตรผ่านนางดอว์ ซานซาน เลขานุการสหภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งพม่า ซึ่งเป็นตัวแทนของนางซูจี โดยนางดอว์กล่าวว่า ขอขอบคุณสำหรับปริญญาบัตรนี้ เกียรติยศนี้เป็นที่ซาบซึ้งไม่เพียงแต่ผู้ที่อยู่เคียงข้างนางซูจีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประชาชนทั่วโลกที่สนับสนุนการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ และประชาธิปไตยในพม่าด้วย

วันเดียวกัน ที่สำนักงานใหญ่ของพรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือเอ็นแอลดี ในกรุงร่างกุ้ง ประเทศพม่า สมาชิกพรรคพร้อมด้วยแขกราว 400 คนจัดงานฉลองวันเกิดครบ 60 ปีให้กับซูจี ที่ต้องฉลองวันเกิดในปีนี้อย่างเงียบเหงาเช่นเดิม เนื่องจากยังคงถูกกักบริเวณอยู่ในบ้านพัก แม้นานาประเทศและเอ็นจีโอจะช่วยกันเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าให้อิสระกับซูจีก็ตาม
(มติชน 20/06/2548)

4. อเมริกันอวยพร 'ซูจี' ล่วงหน้า ร้องพม่าคืนเสรีสู่ประชาชน
- "บุช" อวยพรวันเกิด "ซูจี" ล่วงหน้า ขณะทั่วโลกเตรียมงานฉลองคึกคัก ท่ามกลางกระแสกดดันรัฐบาลพม่าปล่อยตัวผู้นำฝ่ายค้าน และคืนเสรีภาพสู่ประชาชนโดยเร็ว

ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช แห่งสหรัฐ มีจดหมายเมื่อวันศุกร์ (17 มิ.ย.) อวยพรวันเกิดอายุครบ 60 ปีของนางออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านพม่าที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์นี้ (19 มิ.ย.) พร้อมยกย่องว่าชาวพม่าควรได้รับเสรีภาพ จากการบากบั่นต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตยของนางซูจีเป็นเวลานาน

"ความเข้มแข็ง กล้าหาญ และเสียสละในการยืนเคียงข้างประชาชนพม่า เป็นแรงบันดาลใจแก่บรรดาผู้ต่อสู้เพื่อเสรีภาพ" บุชกล่าวพร้อมประกาศว่า สหรัฐจะเฝ้ารอวันที่พม่าเป็นประชาธิปไตย และรวมเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก ซึ่งเป็นเสรีภาพและความสำเร็จที่ชาวพม่าสมควรได้รับ

ขณะเดียวกัน ทั่วโลกเตรียมจัดงานฉลองวันเกิดของนางซูจีอย่างคึกคัก โดยบริเวณหน้าสถานทูตพม่าประจำกรุงวอชิงตัน มีชาวพม่าพลัดถิ่นและผู้สนับสนุนนางซูจีร่วมร้องเพลงอวยพรวันเกิด และวางกล่องบรรจุจดหมายและการ์ดอวยพรกว่า 6,000 ใบ

นายทอม ลานโทส ส.ส.พรรคเดโมแครต กล่าวต่อผู้มาชุมนุมโดยเปรียบเทียบนางซูจี ว่า เหมือนกับนายเนลสัน แมนเดลา ผู้นำแอฟริกาใต้ และนายวัคลาฟ ฮาเวล อดีตผู้นำสาธารณรัฐเช็ก ในด้านการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย พร้อมทั้งหวังว่า นางซูจีจะได้รับชัยชนะในที่สุด

ด้านสถานทูตพม่าในกรุงลอนดอนของอังกฤษ มีกลุ่มผู้ประท้วงราว 130 คน เดินขบวนตั้งแต่วันศุกร์ (17 มิ.ย.) เรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัวนางซูจี ที่ถูกทางการกักบริเวณถึง 9 ปีในช่วง 14 ปีมานี้ พร้อมถือป้ายเขียนข้อความว่า "คืนเสรีภาพสู่พม่า" และ "ทำไมผู้ชาย 400,000 คนกลัวสตรีเพียงคนเดียว" ผู้ประท้วงส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในอังกฤษ หลังผู้นำทหารไม่ยอมลงจากอำนาจ เมื่อครั้งพรรคฝ่ายค้านของนางซูจีได้รับชัยชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลายในปี 2533

ขณะเดียวกัน กรรมาธิการโนเบลออกแถลงการณ์เรียกร้องให้พม่าปล่อยตัวนางซูจีเช่นกัน หลังเคยดำเนินการไปครั้งหนึ่งก่อนหน้านี้ โดยนายกิแอร์ ลูเด็นสแต็ด เลขาธิการของกลุ่ม อ้างความปลอดภัยและสุขภาพของนางซูจี พร้อมเรียกร้องให้ประเทศเพื่อนบ้านของพม่า โดยเฉพาะจีนและอินเดีย กดดันรัฐบาลทหารพม่ามากกว่านี้
(กรุงเทพธุรกิจ 19/06/2548)

5. "มหาธีร์" แนะเปิดทางผู้นำพม่าลงหลังเสือ
- อดีตผู้นำมาเลย์แนะให้มีการรับประกันว่าจะไม่เอาผิดผู้นำพม่า เพื่อแลกกับการลงจากอำนาจ เปิดทางให้เกิดประชาธิปไตย พร้อมเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนางซูจี แกนนำต่อต้านรัฐบาลที่จะมีอายุครบ 60 ปีในวันอาทิตย์นี้

อดีตนายกรัฐมนตรีมหาธีร์ โมฮัมเหม็ด แห่งมาเลเซีย ให้ความเห็นเมื่อวานนี้ (17 มิ.ย.) ว่า หนทางที่ง่ายที่สุดที่จะนำไปสู่การปฏิรูปประชาธิปไตยในพม่าคือ การรับประกันว่าจะไม่ดำเนินการเอาผิดทางกฎหมายกับบรรดาแกนนำรัฐบาลพม่าหากยอมลงจากอำนาจ ขณะที่รัฐบาลพม่าก็ควรรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและต่างชาติ และปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านที่กำลังถูกกักบริเวณ และมีกำหนดฉลองวันเกิดครบรอบ 60 ปี ที่บ้านพักในวันอาทิตย์ (19 มิ.ย.) นี้

"ผมไม่เชื่อแนวคิดที่ว่า เมื่อเผด็จการปล่อยมือจากอำนาจ คุณควรเอาตัวเขาขึ้นศาลและโยนเข้าคุก ทำอย่างนั้นไม่ช่วยให้เผด็จการคนไหนยอมวางมือ จะต้องมีการรับประกันในบางระดับ ว่าจะไม่มีการดำเนินการใดๆ กับผู้นำพม่า" ดร.มหาธีร์กล่าว

ที่ผ่านมา รัฐบาลพม่าไม่ยอมมอบประชาธิปไตยให้ประชาชน แม้รับปากว่าจะปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าว รวมถึงยังคุมขังนางซูจีเอาไว้ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นสร้างความอับอายกับสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ที่รับพม่าเข้าเป็นสมาชิก ขณะที่สหรัฐและสหภาพยุโรปพยายามกดดันให้มีการปฏิรูปในพม่า ผ่านการขู่จะคว่ำบาตรที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในปีหน้า ซึ่งพม่ามีกำหนดเป็นเจ้าภาพตามระบบเวียน

สมาชิกกลุ่มต่อต้านพม่าจำนวนหนึ่งได้ไปชุมนุมประท้วงสถานทูตพม่าในกรุงกัวลาลัมเปอร์วานนี้ โดยมีการชูป้ายประท้วงและเตรียมขนมเค้ก เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวนางซูจี

ด้านนายโคฟี อันนัน เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้ออกมาเรียกร้องให้พม่าปล่อยตัวนางซูจี ผู้คว้ารางวัลโนเบลสันติภาพ ซึ่งใช้เวลา 9 ปี จากช่วง 16 ปีที่ผ่านมา ภายใต้คำสั่งกักบริเวณของรัฐบาลพม่า
"โชคไม่ดีที่ซูจีต้องฉลองวันเกิดในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีใครอวยพรให้กับเธอ ผมต้องการให้เธอออกมาอยู่ท่ามกลางผู้คน เพื่อผลักดันให้เกิดเสถียรภาพและประชาธิปไตยในสังคม" นายอันนันกล่าว พร้อมเรียกร้องให้นายพลตัน ฉ่วย ผู้นำพม่าปล่อยตัวนางซูจี เพื่อนำไปสู่การสร้างความปรองดองในชาติ

ด้านกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐออกแถลงการเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนางซูจีทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข ขณะที่วุฒิสมาชิกมิตช์ แมคคอนเนลล์ เแห่งพรรครีพับลิกันประกาศจะทบทวนกฎหมาย เพื่อคงมาตรการคว่ำบาตรพม่าเอาไว้

ส่วนประธานาธิบดีมิคคาฮิล ซาคาชวิลิ แห่งประเทศจอร์เจีย เขียนสาสน์เรียกร้องให้แนวคิดเรื่อง "การปฏิรูปกุหลาบ" ซึ่งเป็นกระบวนการปฏิรูปด้านประชาธิปไตย ที่ช่วยให้เขาขึ้นสู่อำนาจในปี 2546 และเป็นแรงบันดาลใจในยูเครนและคีร์กีซถาน แพร่เข้าไปในพม่า
(กรุงเทพธุรกิจ 18/06/2548)

6. "นักวิชาการ-ส.ว." เรียกร้องรัฐบาลกดดันพม่าปล่อยตัว "ซูจี"
- "นักวิชาการ-ส.ว." เรียกร้องให้รัฐบาลไทยกดดัน "พม่า" เพื่อปล่อยตัว "อองซาน ซูจี" เชื่อหากอาเซียนกดดันหนักส่งผลพม่าปฏิเสธเป็นประธาน-เจ้าภาพจัดประชุมอาเซียน ชี้ชัดประชาธิปไตยไม่เกิด-หากอาเซียนสนใจแต่ผลประโยชน์เศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว

วันนี้ (19 มิ.ย.) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิด 60 ปี ของนางอองซาน ซูจี คณะกรรมการจัดงาน 60 ปี ได้จัดพิธีส่งมอบปริญญาบัตร รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้กับ ดอว์ ซาน ซาน เลขาธิการสหภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งพม่า ผู้แทนของนางอองซาน ซูจี จากนั้นได้จัดเสวนาในหัวข้อ "มองไปข้างหน้า...พม่ากับอาเซียน" โดยนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัน ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา กล่าวว่า

การริเริ่มของนักการเมืองชั้นนำทั้งในมาเลเซีย สิงคโปร์ และเขมร ที่ปฏิเสธพม่า รวมถึงปรากฏการณ์ที่รัฐสภาฟิลิปปินส์ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ ยื่นหนังสือผ่านรัฐบาลของตัวเอง เพื่อเรียกร้องไม่ให้สนับสนุนรัฐบาลพม่าในการเป็นประธานอาเซียน และเป็นเจ้าภาพจัดประชุมอาเซียนหากไม่ยอมปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี ถือว่าน่าสนใจ และรัฐบาลไทยก็ควรที่จะมีท่าทีในทำนองเดียวกัน

เพราะการที่พม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนแล้วไม่เกิดการเปลี่ยนในทิศทางที่ดี ก็เนื่องจากประเทศสมาชิกไม่ร่วมมือกันกดดัน โดยเฉพาะไทย จีน และอินเดีย ล้วนแต่คิดในเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ตัวเองจะได้เท่านั้น
นายไกรศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่า เวลานี้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพม่าน่าห่วงมาก โดยเฉพาะเรื่องสาธารณสุข โรคภัยที่เคยหายไป เช่น มาลาเรีย และเท้าช้าง เริ่มกลับมา ซึ่งค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขในพม่าลดลงเหลือไม่ถึงร้อยละ 2 ทำให้คนพม่าที่ป่วยไข้ต้องเข้ามารักษาตัวในไทย เช่น ที่โรงพยาบาลแม่ฮ่องสอน มีอัตราการเกิดของเด็กที่เป็นชนกลุ่มน้อยพม่าสูง อีกทั้งการที่ประเทศเพื่อนบ้านเริ่มมีนโยบายไม่ต้อนรับชาวพม่าที่ลี้ภัยเหมือนแต่ก่อน เช่น อินเดียมีนโยบายไม่เป็นมิตรกับผู้ลี้ภัยชาวพม่า เพราะกลัวว่ารัฐบาลพม่าจะไปสนับสนุนชนกลุ่มน้อยของอินเดียที่รัฐบาลอินเดียพยายามปราบปรามอยู่

"ขณะที่จีนซึ่งเป็นประเทศที่สนับสนุนรัฐบาลพม่ามากที่สุด หากจีนพิจารณาให้ดีก็จะเห็นว่าสิ่งที่จีนได้อย่างมากที่สุดจากพม่าก็คือยาเสพติดที่ไหลทะลักเข้าไป และการที่ชาวจีนเข้าไปทำการค้าขายที่มัณฑะเลย์มากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้ ถ้ามีการรวมหัวกันระหว่างไทย อินเดีย และจีน การเปลี่ยนแปลงก็อาจจะเกิดขึ้นในพม่า ซึ่งเวลานี้เราต้องเริ่มที่จะเรียกร้องรัฐบาลจีนเป็นอันดับแรกให้ออกมากดดันพม่าให้ปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี เพื่อเป็นของขวัญในวันคล้ายวันเกิดนี้ ที่สำคัญคือยังต้องเรียกร้องในเรื่องมาตรฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพด้วย ซึ่งจะต้องมีการร่วมเรียกร้องเรื่องนี้กันทุกปี เพื่อให้ประเทศเพื่อนบ้านเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น" นายไกรศักดิ์ กล่าว

ส่วนกรณีของประเทศไทยนั้น นายไกรศักดิ์ได้เรียกร้องให้รัฐบาลสนใจกับปัญหาชาวไทยใหญ่ที่เข้ามาลี้ภัยโดยตั้งหมู่บ้านที่ดอยไตแลน จ.แม่ฮ่องสอน และถูกกองทัพภาคที่ 3 ขับไล่โดยอ้างว่าคนเหล่านี้เป็นชนกลุ่มน้อยที่เข้าออกแผ่นดินไทยทุกปี และพื้นที่ที่คนเหล่านี้ตั้งหมู่บ้านเป็นพื้นที่อันตราย ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด ดังนั้นกรรมาธิการต่างประเทศวุฒิสภาจะเข้าไปเก็บข้อมูลเรื่องนี้ในสัปดาห์หน้า

ด้าน นายกวี จงกิจถาวร อดีตนายกสมาคมนักข่าวฯ กล่าวว่า ถ้า 5 ปีที่ผ่านมา นโยบายต่างประเทศของไทยไม่เปลี่ยนแปลงจะมี 3 อย่างที่เปลี่ยน คือ 1.พม่าจะเป็นประชาธิปไตย 2.พม่าจะเป็นสมาชิกที่ดีของอาเซียน และประชาคมโลก และ 3.พม่าซึ่งมีปรัชญาความเป็นกลางที่เหนียวแน่นจะเป็นตัวประสานงานที่ดีในอาเซียน แต่ 5 ปีนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลทักษิณปั่นป่วน มุ่งแต่เศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ทำให้ฐานการเมืองในพม่าเข้ม การปกครองโดยรัฐบาลเผด็จการทหารไม่อ่อนแอลง

"ผมเชื่อว่าพม่าจะยอมถอนตัวออกจากการเป็นประธานอาเซียน และจากการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมอาเซียน แต่เรื่องก็จะยังไม่จบ เพราะขณะนี้กำลังจะมีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้น ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จก็จะมีการจัดตั้งรัฐบาล จึงคิดว่าในปี 2007 นี้ พม่าจะบอกกับอาเซียนว่าพร้อมที่จะเป็นประธานอาเซียน และเป็นเจ้าภาพจัดประชุม ซึ่งภาวะของอาเซียนในตอนนั้นจะลำบากมาก ถ้าแรงกดดันอาเซียนยังคงอยู่ พม่าก็อาจจะไม่จัด แต่ถ้าแรงกดดันเบาลงก็มีสิทธิ ดังนั้นนักการเมืองในประเทศต่างๆ จะต้องร่วมมือกันกดดันเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี ต่อไป"

นายกวี กล่าวต่อว่า เหตุที่อาเซียนมีท่าทีอย่างนี้ เป็นผลมาจากนโยบายต่างประเทศของไทยส่วนหนึ่งที่ไม่ได้เป็นแกนนำในการเรียกร้องรัฐบาลทหารพม่า ทั้งที่เราเป็นเมืองหน้าด่านก็ว่าได้ แต่รัฐบาลไทยไปสนับสนุนรัฐบาลพม่า ตรงนี้เองที่ทำให้นักการเมืองในมาเลเซีย สิงค์โปร์ ต้องกลายมาเป็นทัพหน้าแทน ซึ่งขณะนี้ถือว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ประเทศสมาชิกอาเซียนโดยเฉพาะ 5 ประเทศหลักต้องรวมพลังกดดันพม่าต่อไป ขณะที่ประชาคมโลกทั้งอียู สหรัฐ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น จะต้องรวมกันมากกว่านี้ เพราะพม่าเข้าใจดีว่าแรงกดดันจากประเทศเหล่านี้ค่อนข้างกระจัดกระจาย แต่ถ้าร่วมมือกันเหนียวแน่นคิดว่าพม่าต้องเปลี่ยนแน่ๆ ส่วนกับจีนในฐานะที่เป็นผู้สนับสนุนรัฐบาลพม่ามากที่สุด คิดว่าอาเซียนจะต้องเข้าหาเจรจากับจีนอย่างเป็นทางการ เพื่อให้จีนร่วมกับอาเซียนในการกดดัน

ขณะที่ อาจารย์พรพิมล ตรีโชติ จากสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า อาเซียนสนใจพม่าในมิติเดียว คือ เศรษฐกิจ เพราะพม่ามีทรัพยากรมากที่สุด แต่ในเรื่องของการเมืองอาเซียนแทบไม่เคยสนใจ และเพิ่งจะการเรียกร้องก็หลังเกิดเหตุการณ์ เด พายิน เมื่อวันที่ 30 พ.ค.46 เพราะมีการนำตัวนางอองซาน ซูจี ไปกักบริเวณที่บ้านพักอีกครั้งเท่านั้น ดังนั้น คิดว่าการที่อาเซียนจะทำหรือไม่ทำอะไรกับพม่า ก็ไม่ได้ระคายอะไรเลย

เพราะอาเซียนทำอะไรให้พม่า ก็ไม่เท่ากับประเทศมหามิตรอย่างอินเดีย และจีน ถึงแม้พม่าจะได้รับประโยชน์จากจีน และอาเซียน ก็ไม่สามารถจะหยุดการเข้าไปในพม่าของจีนได้ แต่ก็คิดว่าพม่าก็ไม่ไว้ใจจีนเช่นเดียวกัน เนื่องจากเวลานี้พื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวินเกือบทั้งหมดอยู่ภายใต้อิทธิพลจีนหมดแล้ว อีกทั้งที่พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ชนกลุ่มน้อยที่รัฐบาลทหารพม่าเองก็ยังเข้าไปไม่ได้

"อิทธิพลจีนในพม่าขณะนี้น่ากลัวมาก เพราะพื้นที่ที่จีนเข้าไปมีอิทธิพลมันเป็นประตูสู่เซาท์อีสต์เอเชียของพม่า ซึ่งอิทธิพลจีนตรงนี้คิดว่า จะทำให้พม่าต้องฟังอาเซียน และคิดว่าอาเซียนเป็นทางออก วันนี้อาเซียนก็ต้องคิดว่าแล้วว่าควรมีท่าที และคบกับพม่าแบบไหน เพราะถ้าจะว่ากันไปแล้วนับแต่พม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน ก็ไม่ได้ทำอะไรทั้งในเรื่องประชาธิปไตยในพม่า หรือการทำให้พม่าพึ่งพาจีนน้อยลง และทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับพม่าวันนี้ตรงกันข้ามหมด

แล้วก็มีคนขี่ม้าขาวมาช่วยพม่าก็คืออินเดีย ที่เข้ามาทำให้พม่าคลายการพึ่งพาจีนน้อยลง ซึ่งอินเดียเข้าไปก็เพราะต้องเบรกจีน และกลัวจีนกุมฝั่งอันดามัน โดยเข้าไปตั้งสถานีเรดาร์ตรงบริเวณที่เรียกว่า เรด โคโค่ ซึ่งอินเดียกลัวว่าถ้าจีนเข้าไปตั้งได้จะมีปัญหาเรื่องความมั่นคงในประเทศตัวเองตามมา ดั้งนั้นพม่าจะเข้าไปอยู่ระหว่างอินเดียกับจีนมากขึ้น โดยห่างจากอาเซียนไปเรื่อยๆ จนกว่าพม่าจะเห็นว่า 2 ประเทศเข้าไปคุกคามมากเท่าไร อาเซียนจึงจะเป็นคำตอบของพม่า ซึ่งเมื่อถึงจุดนั้นคิดว่าอาเซียนน่าจะมีคำตอบแล้วว่าจะคบกับพม่าในแบบใด"อาจารย์พรพิมล กล่าว

ส่วน นายอัษฎา ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำเจนีวา กล่าวว่า เหตุที่พม่ายังไม่ยอมเข้าร่วมกับประเทศกลุ่มอาเซียนในช่วงแรกนั้น เพราะพม่ายังมองว่าประเทศกลุ่มอาเซียนเอนเอียงกับต่างประเทศมากไป และเหตุที่ยอมเข้าร่วมเพราะไม่อยากถูกโดดเดี่ยว และต้องการโล่ป้องกันการรุกรานจากประเทศตะวันตก ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่าอาเซียนไม่ได้มองพม่ามิติเดียวคือเศรษฐกิจ เพราะเชื่อว่าพม่ามีความเป็นชาตินิยมสูง คงไม่ยอมให้จีนเข้ามาครอบงำง่ายๆ

ส่วนประเด็นเมื่อพม่าเข้ามาแล้วอาเซียนจะได้อะไรจากพม่านั้น คาดว่าปัญหาความรุนแรงภายในประเทศคงลดลง แต่สิ่งที่น่ากังวลคือพม่ายังไม่ยอมทำตามความคิดส่วนรวมของอาเซียน แต่กลับพยายามให้ประเทศอื่นทำตามตัวเอง ซึ่งมองแล้วน่าตลก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ควรกลับไปพิจารณา

"ส่วนไทยเองทราบดีว่าปัญหาประเทศพม่าไม่สามารถแก้ปัญหาได้ลำพัง แต่ต้องอาศัยกลุ่มประเทศอาเซียนแก้ปัญหา และเชื่อว่าการกดดันพม่ามากๆ ก็จะเลื่อนการเป็นประธานออกไปเอง เพราะหากพม่าไม่ยอมเลื่อน ประเทศตะวันตกคงไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม ซึ่งคาดว่าพม่าคงเสียสละ เพราะหากไม่เสียสละการเจรจาคงไร้ความหมาย เพราะอาเซียนต้องการเจรจากับประเทศตะวันตก"นายอัษฎา กล่าว

ด้าน นายจรัล ดิษฐาอภิชัย กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยคำนึงถึงการเป็นภาคีสมาชิกในสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิการเมืองและสิทธิพลเมือง ที่กำหนดให้ชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพแสดงความคิดเห็น เพราะขณะนี้ชาวพม่าที่เข้ามาลี้ภัยในประเทศไทย มักจะถูกจับกุมเมื่อเดินทางไปเรียกร้องประชาธิปไตยยังสถานทูตพม่าประจำประเทศไทย ดังนั้น รัฐบาลควรให้ตำรวจยึดตามกฎหมายในเรื่องดังกล่าว
(ผู้จัดการออนไลน์ 19/06/2548 19:14 น.)

 

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 590 เรื่อง หนากว่า 7800 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

ทั่วโลกพร้อมใจใช้วาระ ครบรอบวันเกิดปีที่ 60 ของออง ซาน ซูจี เรียกร้องรัฐบาลทหารมอบอิสรภาพแก่ซูจี หลังถูกกักบริเวณเป็นครั้งที่ 3 ขณะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มอบปริญญารัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจำปี 2534 ผ่านผู้แทน หลังสภามหาวิทยาลัยอนุมัติตั้งแต่ปี 2534 ผู้แทนซูจี เผย ไม่เสียใจที่ถูกจองจำ แต่ห่วงชนกลุ่มน้อยเป็นเหยื่อละเมิดสิทธิมนุษยชน

เหตุที่อาเซียนมีท่าทีอย่างนี้ เป็นผลมาจากนโยบายต่างประเทศของไทยส่วนหนึ่งที่ไม่ได้เป็นแกนนำในการเรียกร้องรัฐบาลทหารพม่า ทั้งที่เราเป็นเมืองหน้าด่านก็ว่าได้ แต่รัฐบาลไทยไปสนับสนุนรัฐบาลพม่า ตรงนี้เองที่ทำให้นักการเมืองในมาเลเซีย สิงค์โปร์ ต้องกลายมาเป็นทัพหน้าแทน ซึ่งขณะนี้ถือว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ประเทศสมาชิกอาเซียนโดยเฉพาะ 5 ประเทศหลักต้องรวมพลังกดดันพม่าต่อไป ขณะที่ประชาคมโลกทั้งอียู สหรัฐ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น จะต้องรวมกันมากกว่านี้ เพราะพม่าเข้าใจดีว่าแรงกดดันจากประเทศเหล่านี้ค่อนข้างกระจัดกระจาย แต่ถ้าร่วมมือกันเหนียวแน่นคิดว่าพม่าต้องเปลี่ยนแน่ๆ ส่วนกับจีนในฐานะที่เป็นผู้สนับสนุนรัฐบาลพม่ามากที่สุด คิดว่าอาเซียนจะต้องเข้าหาเจรจา

ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ : บทความทั้งหมดของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ
เจ้าของพื้นที่ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ
เว็ปไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้กับ Display properties : screen area 600 X 800 pixels ซึ่งจะให้ภาพที่คมชัดและสมบูรณ์ที่สุด
H

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 580 เรื่อง หนากว่า 7500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com

หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50202 และอย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์

บทความวิชาการฟรีที่ผ่านมา ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ