ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
110648
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 587 หัวเรื่อง
วิทยาศาสตร์กับอิทธิพลครอบงำ
ทางการเมือง (กรณีสหรัฐฯ)
สมเกียรติ ตั้งนโม
: เรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

The Midnight 's article

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 14119-26256 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 47
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

วิทยาศาสตร์กับการเมือง
วิทยาศาสตร์กับการถูกครอบงำทางการเมือง
สมเกียรติ ตั้งนโม
เรียบเรียงจาก
"Science, Money, and Politics: Political Triumph and Ethical Erosion. "
Greenberg, Daniel S.


หมายเหตุ : นอกจากบทความข้างต้นแล้ว เรื่องที่สองเป็นข้อเขียนสั้นๆ เรื่อง
การยอมรับการเมืองในวิทยาศาสตร์ - Accepting Politics In Science
By Roger A. Pielke Jr.
Monday, January 10, 2005; Page A17

เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 10 หน้ากระดาษ A4)



1. วิทยาศาสตร์กับการถูกครอบงำทางการเมือง
บทความที่จะอ่านต่อไปนี้เป็นการแนะนำภาพกว้างของหนังสือ ผลงานของ
Greenberg, Daniel S. ในเรื่อง Science, Money, and Politics: Political Triumph and Ethical Erosion. 528 p.

ในแต่ละปี รัฐสภาอเมริกันได้จัดสรรเงินเป็นพันๆล้านเหรียญสำหรับงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์. ในหนังสือเล่มนี้ผู้รายงานข่าวทางวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์ Daniel S. Greenberg จะนำพาเราไปสู่ด้านหลังของประตูที่ปิดสนิท เพื่อแสดงให้เราเห็นว่า ใครได้เงินที่จัดสรรให้กับงานวิจัยฯเหล่านั้นไป และทำไมจึงได้. สิ่งที่เขาเปิดเผยเป็นเรื่องที่น่าตกใจ เราจะได้พบกับโลกที่ถูกมองข้าม, ข้ออ้างต่างๆที่ผิด, เงินทุนสำหรับโครงการและคนใกล้ชิด, ความลำเอียงทางการเมืองที่ที่วิทยาศาสตร์, เงิน, และการเมือง, ทั้งหมดต่างมีอิทธิพลต่อกันและกัน

TABLE OF CONTENTS - สารบัญของหนังสือเล่มนี้
Acknowledgments and a Note on Sources and Methods
Introduction

1. The Metropolis of Science
2. The Ossified Enterprise
3. Vannevar Bush and the Myth of Creation
4. The Glorious Past
5. The Whimpering Giant
6. Money, More Money, Statistics, and Science
7. The Malthusian Imperative and the Politics of Trust
8. Ph.D. Production: Shortfall, Scarcity, and Shortage
9. The Congressional Griddle
10. Detour into Politics
11. Nixon Banishes the Scientists
12. The Sciences' Way of Politicking
13. The Public Understanding of Science
14. The TV Solution
15. Science and the Illusion of Political Power
16. The Political Few
17. The Scientific Ghetto
18. Connecting to Politics
19. Politicking by Report
20. Science in the State Department: You Need Us
21. From Social and Political Passion to Grubbing for Money
22. The Ethical Erosion of Science
23. Post-Cold War Chills
24. What Future for the National Science Foundation?
25. Clinton, Atom Smashing, and Space
26. Caught between Clinton and Congress
27. Science versus the Budget Cutters
28. The Political Triumph of Science

Epilogue
Appendix
Glossary
Bibliography
Index

Subjects:
- HISTORY: American History
- HISTORY OF SCIENCE
- POLITICAL SCIENCE: Public Policy


พลวัตซ่อนเร้นเกี่ยวกับโครงการขนาดใหญ่ทางวิทยาสตร์อเมริกัน
The Hidden Dynamics of the Great American Scientific Enterprise
ข้อค้นพบ 10 ประการจากการตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน เกี่ยวกับความน่าอัปยศ ความน่าเจ็บแค้น ความไร้สาระ และความสูญเปล่าในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ โดย Daniel S. Greenberg ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Science, Money, and Politics: Political Triumph and Ethical Erosion (วิทยาศาสตร์, เงิน, และการเมือง: ชัยชนะทางการเมืองและความสึกกร่อนทางจริยธรรม)

1. คุณคงได้ยินซ้ำซากกันมาแล้วว่า รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้ตัดเงินสนับสนุนการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ลงไป และด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้อเมริกากำลังสูญเสียความเป็นเจ้าโลกทางวิทยาศาสตร์ของตนลง. ข่าวสารที่เป็นลางร้ายนั้น ได้ส่งต่อไปถึงสภาคองเกรสส์หรือรัฐสภาสหรัฐ โดยบรรดานักวิทยาศาสตร์กระหายเงินทั้งหลาย และเรื่องนี้ได้มีการกล่าวซ้ำอย่างนกแก้วนกขุนทอง โดยบรรดาหนังสือพิมพ์ปัญญาอ่อนและขาดวิจารณญานทั้งหลาย ที่ถูกหลอกง่าย และมันเป็นเรื่องเหลวไหลเกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว

การสนับสนุนของรัฐบาลสหรัฐ เกี่ยวกับการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ในหลายทศวรรษที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้นโดยตลอด และปัจจุบันยังมากเกินกว่าเงินสนับสนุนการวิจัยของยุโรปและญี่ปุ่นรวมกันเสียอีก อันนี้เป็นเรื่องที่น่าละอายของบรรดากระต่ายตื่นตูมทางวิทยาศาสตร์เหล่านี้ และการพยากรณ์ที่ผิดพลาดของพวกเขาซึ่งทำนายถึงหายนภัยที่เกิดขึ้น

โดยมาตรวัดที่ยอมรับร่วมกันทั่วไปเกี่ยวกับความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์ สหรัฐคือเจ้าโลกในงานวิจัยทุกๆด้านอย่างแท้จริง บ่อยครั้งการเป็นผู้นำโลกได้มาโดยเงินทุนจำนวนมหาศาล ด้วยเหตุนี้ข้อตระหนกและหวั่นเกรงข้างต้น จึงเป็นมายาคติเกี่ยวกับการสูญเสียความเป็นผู้นำ

2. อันนี้เป็นไปทำนองเดียวกันกับความเศร้าโศกอยู่เสมอ ที่บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายรู้สึกไปเองว่าสาธารณชนอเมริกันทั้งหลายกำลังเป็นปรปักษ์อย่างรุนแรงต่อวิทยาศาสตร์ และความเป็นศัตรูที่อ้างถึงนั้น ได้ไปขัดขวางและชลอเงินทุนสำหรับงานวิจัยของพวกเขา

ความมากมายของงบประมาณต่างๆที่เพิ่มสูงขึ้นคือความจริงทางการเงินในวงการวิทยาศาสตร์ ขณะเดียวกันได้มีการสำรวจซ้ำๆถึงท่าทีและทัศนคติต่างๆของสาธารณชนต่อวิทยาศาสตร์ ซึ่งผลปรากฏออกมาว่าขัดแย้งหรือไม่ตรงกับข้ออ้างเกี่ยวกับความเป็นศัตรูดังกล่าว ผลสำรวจที่ออกมาต่างเห็นพ้องต้องกันว่า สาธารณชนต่างหลงใหลในวิทยาศาสตร์ และนิยมชมชอบอย่างมากต่อการสนับสนุนด้วยเงินก้อนโตจากรัฐบาลที่มีให้กับการวิจัย รวมไปถึงการลงทุนต่างๆในระยะยาวในงานวิจัยขั้นพื้นฐาน ดังนั้นการลดลงของเงินทุนสนับสนุนจึงเป็นมายาคติอีกอันหนึ่งที่ผนวกเข้ามา

3. อย่างไรก็ตาม ข้ออ้างเกี่ยวกับความต้องการเร่งด่วนต่อการเอาชนะใจสาธารณชนสำหรับวิทยาศาสตร์ ได้เปิดโอกาสให้กระทรวงการคลังสหรัฐ มีการจัดสรรแผนการสนับสนุนต่างๆในนามของวิทยาศาสตร์ - รวมทั้งในหลายปีที่ผ่านมา โครงการด้านการเงินของรัฐบาลที่ฉูดฉาด นำโดยผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลคนหนึ่งในทางฟิสิกส์ ได้ใช้จ่ายไปในการสร้างสรรค์รายการทีวีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และกลายไปเป็นภาพยนตร์ทีวี อย่างเช่น L.A. Law และ NYPD Blue.

วีรบุรุษมายาของเรื่องราวผจญภัยอย่างกล้าหาญได้รับการวางตำแหน่งยอดสุดของห้องทดลอง ในฐานะผู้นำของการวิจัยในขอบเขตความรู้ที่เลียงลำดับจากอาวุธนิวเคลียร์ต่างๆไล่เรียงไปสู่ความสำนึกของมนุษย์ - อันนี้ได้ไปร้อยรัดกอดกวัดกับเรื่องโรมานซ์ และการขันแข่งต่างๆทางด้านอาชีพ. ผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นความโชคดีสำหรับชื่อเสียงที่ดีของวิทยาศาสตร์ นับจากต้นฉบับที่ค่อนข้างน่ารำคาญเอามากๆ ซึ่งบรรดาที่ปรึกษาทั้งหลายทางวิทยาศาสตร์ที่โดดเด่นในโครงการดังกล่าวได้กระตุ้นให้เกิดข้อผูกมัด และเคารพต่อความจริงทางวิทยาศาสตร์

4. แต่ไม่ใช่ว่า สหรัฐกำลังเผชิญหน้ากับความขาดแคลนอย่างรุนแรง เกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร? บรรดากระต่ายตื่นตูมทั้งหลายที่ตกใจกับความตกต่ำของวิทยาศาสตร์ และการไม่เอาใจใส่ต่อวิทยาศาสตร์ได้ประกาศอย่างเปิดเผยถึงอันตรายเหล่านี้มา 40 ปีแล้ว อย่างไรก็ตาม ความจริงก็คือบรรดาด็อกเตอร์หรือ Ph.D.ทั้งหลายกำลังล้นงาน เนื่องจากมีการผลิตมากเกินความต้องการในหลายๆขอบเขตของความรู้นั่นเอง ทำให้คนเหล่านี้ไม่สามารถหางานทำที่เหมาะสมกับการร่ำเรียนมาของพวกเขาได้

ในด้านชีววิทยาทางการแพทย์ การผลิตด็อกเตอร์หรือ Ph.D.ในสาขาดังกล่าว ได้ล้นเกินงานที่เปิดให้เป็นจำนวนมาก ผลที่ตามมาอันหนึ่งก็คือ การเจริญเติบโตในเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษาต่อในตำแหน่งหลังด็อกเตอร์(post-doctoral appointments)ต่างๆ - ซึ่งได้เงินเดือนต่ำ อันนี้คือแบบแผนที่ยึดครองกันมาสำหรับดอกเตอร์ที่ล้นเกินทั้งหลาย

สำหรับเหตุผลทั้งหลายในทางเศรษฐกิจที่ฟังดูดี การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักศึกษาอเมริกันกำลังหลบหลีกการเรียนทางวิทยาศาสตร์ และโอกาสที่ยังชวนสงสัยและเป็นปัญหาที่จะมารับใช้หรือให้บริการ ในฐานะแรงงานที่หดตัวลงทางวิทยาศาสตร์ สำหรับศาสตราจารย์ที่เป็นภาระเงินทุนสนับสนุนต่างๆ

5. โครงการขนาดใหญ่ทางวิทยาศาสตร์เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาจากการยอมรับของสาธารณชน และการยอมรับทางการเมืองเกี่ยวกับคุณค่าของงานวิจัย - สำหรับด้านสุขภาพ, ด้านความเจริญ, ด้านความมั่นคงของประเทศ, และด้านสิ่งแวดล้อมที่สะอาด. แต่ในการไล่ตามการอยู่ดีกินดีทางเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์มิได้สร้างความเชื่อมั่นโดยลำพังบนเจตนาที่ดี กล่าวคือมีการล็อบบี้อย่างรุนแรงและได้ผลสำหรับการได้มาซึ่งเงินทุนจากรัฐบาล

การล็อบบี้สำหรับวงการวิทยาศาสตร์ ถือเป็นส่วนสำคัญอันหนึ่งของอุตสาหกรรมการล็อบบี้ที่เจริญเติบโตและก้าวหน้ามากของวอชิงตัน. ค่าตอบแทนอย่างน้อย 2 หมื่นเหรียญต่อเดือน(8 แสนบาท), สำหรับในการว่าจ้างบรรดาล็อบบียิสท์ ให้เร่งรัดเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลที่จัดสรรให้กับลูกค้าขาประจำทางวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ถือเป็นเรื่องปกติ

สมาคมต่างๆทางวิทยาศาสตร์ธำรงรักษาบรรดาสต๊าฟล็อบบี้ เพื่อรักษาเงินที่ไหลสู่ขบวนแถวและแฟ้มเอกสารของพวกเขา ขณะที่บรรดาสมาชิกรัฐสภา ก็กระหายที่จะสร้างความพึงพอใจแก่บรรดานักวิชาการให้กลับบ้านไป จัดการกับบิลค่าใช้จ่ายด้วยการช่วยเหลือเป็นพิเศษของเงินทุนสนับสนุน(หรือชิ้นเนื้อ)ที่กำหนดให้. บรรดามหาวิทยาลัยไม่ค่อยจะคุยอวด เกี่ยวกับการได้มาซึ่งเงินทุนสนับสนุนโดยเส้นทางประตูหลังอันนี้เท่าใดนัก เนื่องจากเงินทุนดังกล่าวได้ไปทำลายหรือฝ่าฝืนข้อผูกพันที่เคร่งครัดเกี่ยวกับความยุติธรรม และวัตถุประสงค์ในการให้รางวัลจากเงินกองกลางเกี่ยวกับการวิจัย. แต่บรรดาโรงเรียนชั้นนำและมหาวิทยาลัยจำนวนมากต่างแสวงหา และไล่ล่าเงินทุนสนับสนุนก้อนนี้กันอย่างแข็งขัน คำถามคือว่า คุณได้กลิ่นชอบกลอันนี้ไหม? อันนี้ไม่ต้องสงสัยเลย

6. บางครั้งบางคราว วิทยาศาสตร์ก็ต้องเผชิญกับความไม่สมหวังอย่างรุนแรงในการแสวงหาเงินทุนของตนจากวอชิงตัน ตัวอย่างเช่น โครงการอะตอมที่ยิ่งใหญ่ซึ่งเคยวางแผนไว้ - Superconducting Super Collider (SSC) อันมหึมา - ที่ต้องพบกับความล้มเหลวในปี ค.ศ. 1993 เมื่อสภาคองเกรสส์ได้ยุติเงินทุนหลังจากที่จ่ายไปแล้ว 2 พันล้านเหรียญในโครงการดังกล่าว

บรรดาผู้อยู่เบื้องหลังโครงการ SSC ให้เหตุผลความพ่ายแพ้ของพวกเขาว่า เป็นเพราะความโง่เขลาและความเป็นปรปักษ์ต่อวงการวิทยาศาสตร์ แต่มูลเหตุที่แท้จริงก็คือ การมองข้ามหรือไม่สนใจของพวกเขาเองต่อความรับผิดชอบในประโยชน์ของเงินทุนที่ได้จากบรรดาผู้เสียภาษีทั้งหลายนั่นเอง. โครงการดังกล่าวได้ถูกขายต่อสภาคองเกรสส์ด้วยสนนราคาต่อท้าย 4 พันล้านเหรียญ และการรับรองที่ไร้เหตุผลว่า ประเทศอื่นๆได้ใช้จ่ายเงินก้อนโตสำหรับการนี้. เมื่อสภาคองเกรสส์ดึงปล๊กออก ต้นทุนที่ประเมินสูงขึ้นถึง 12 พันล้านเหรียญและกำลังสูงขึ้นเรื่อยๆ และไม่มีประเทศใดสามารถให้การช่วยเหลือทางการเงินได้อีกต่อไป

7. แต่เราต้องไม่มองข้ามบทบาทของประธานาธิบดี Bill Clinton ในการพังทะลายของโครงการ SSC. ขณะที่กำลังแสวงหาหนทางเพื่อแสดงออกถึงความกระเหม็ดกระแหม่ในปีแรกของการทำงานของเขา Clinton ต้องเผชิญหน้ากับโครงการที่ใช้เงินทุนสูงที่เรียกว่า mega-projects อยู่ 2 โครงการ นั่นคือ อภิมหาโครงการสถานีอวกาศ กับอภิมหาโครงการ SSC

สำหรับโครงการ SSC นั้นอยู่ในระหว่างการก่อสร้างอยู่ที่มลรัฐเท็กซัส - เมืองของ Bush (ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน) - ขณะที่สัญญาและข้อตกลงต่างๆเกี่ยวกับสถานีอวกาศถูกทำให้แพร่กระจายไปทั่วประเทศ โดยส่วนแบ่งที่ใหญ่สุดในการโหวดมาจากแคลิฟอร์เนีย

ในการพบปะกันที่ทำเนียบขาวครั้งหนึ่งกับที่บรรดาที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ของเขา และเจ้าหน้าที่ในการจัดสรรงบประมาณทั้งหลาย, Clinton ได้พยักหน้าเห็นด้วยอย่างเต็มที่กับการพยายามขับเคลื่อนให้มีการประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอภิมหาโครงการสถานีอวกาศ ขณะเดียวกันอภิมหาโครงการ SSC ก็ได้ถูกทิ้งให้อ่อนเปลี้ยลง และในท้ายที่สุดก็ตายตกไปในทำเนียบรัฐบาลนั่นเอง

8. ดังที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งได้นำเราสู่คำแนะนำทางวิทยาศาสตร์แก่ประธานาธิบดี - หัวข้อหนึ่งซึ่งได้ให้กำเนิดเรื่องตลกปนเศร้าเกี่ยวกับคำแก้ตัวต่างๆที่จริงจังของ Dr. Strangelove และ C.P. Snow สำหรับการที่บรรดานักการเมืองได้เอาใจใส่ต่อบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ในความเป็นจริง บทบาทดังกล่าวเป็นเรื่องทางโลกย์อย่างตรงไปตรงมา นับตั้งแต่ที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์เต็มเวลาคนหนึ่ง ได้รับการแต่งตั้งสู่ทำเนียบขาวโดยประธานาธิบดี Eisenhower ซึ่งก่อนหน้านั้น ไม่มีที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์คนใด ที่เคยเข้าไปสู่วงในของท่านประธานาธิบดีมาก่อน

โดยเฉพาะประธานาธิบดี Richard Nixon ต้องรู้สึกทุกข์ใจมาก เมื่อนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งในบรรดาที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ของเขา ได้ท้าทายต่อข้อผูกพันของประธานาธิบดี ที่มีต่อเครื่องบินซูเปอร์โซนิค(เครื่องบินความเร็วเหนือเสียง) ซึ่งประธานาธิบดีได้แถลงไว้กับสภาคองเกรสส์ ด้วยความสงสัยและคลางแคลงใจเกี่ยวกับบรรดาที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของเขา ทำให้ Nixon ต้องเหวี่ยงพวกเขาทั้งหมดออกไปจากทำเนียบขาว และกล่าวว่า เขาจะเรียกหาคนเหล่านั้นเข้ามาอีก หากว่าเขาต้องการคำปรึกษาในอนาคต

ด้วยเหตุผลข้างต้น Nixon จึงอยู่ในตำแหน่งโดยไม่มีที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์อีกต่อไป ดังการเปิดเผยเทปลับทำเนียบขาว, Nixon มีความเห็นในเชิงลบมากเกี่ยวกับบรรดาที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ของเขา เขากล่าวกับบรรดาผู้ช่วยของตนว่า เขาต้องการ"พวกอัจฉริยะ"เพื่อแนะนำเขาในเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ แต่กลับกลายเป็นว่า เขาได้รับบริการจากบรรดาอธิการบดีที่ปลดประจำการจากมหาวิทยาลัยแล้วจำนวนมากแทน

9. บรรดานักวิทยาศาสตร์ชั้นนำซึ่งเป็นที่รักใคร่ และปรารถนาที่จะได้มาเป็นหนึ่งในสต๊าฟของประธานาธิบดี ได้ทำการชักนำประธานาธิบดี Ford ให้ฟื้นฟูงานดังกล่าวขึ้นมาหลังจากที่ถูกเลิกล้มไปโดยประธานาธิบดี Nixon. ด้วยเหตุนี้ ที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของประธานาธิบดีจึงหวนคืนกลับสู่ทำเนียบขาวอีกครั้ง แต่บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ได้เรียนรู้บทเรียนที่ร้อนแรงกันแล้วว่า ความซื่อสัตย์จงรักภักดีและความมีวินัยถือเป็นคุณค่าสูงสุดในทางการเมือง ไม่อีกแล้วที่จะมีนักวิทยาศาสตร์คนใด ซึ่งทำหน้าที่รับใช้ประธานาธิบดี ที่จะพูดจาสวนทางกันกับฐานะและตำแหน่งของท่านประธานาธิบดีต่อสาธารณชนอีกต่อไป

หลักประกันทางการเงินสำหรับการวิจัย กลายเป็นวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญของนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างวิทยาศาสตร์และรัฐบาล. และด้วยเป้าหมายอันนี้จึงเป็นประเด็นสำคัญที่บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ได้ถอยห่างจากการมีส่วนร่วมในเรื่องราวสาธารณะ. การควบคุมอาวุธและสิทธิมนุษยชน ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นประเด็นหลักในชุมชนวิทยาศาสตร์อเมริกัน แต่ปัจจุบัน พวกเขาไม่สะท้อนถึงความเป็นผู้นำนี้อีกแล้ว…

เมื่อ Gingrich น้อมนำการปฏิวัติพรรครีพับบลิกัน ด้วยการคุกคามงบประมาณกลางด้านวิทยาศาสตร์ บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายได้ลุกขึ้นมาอย่างพร้อมเพรียงกัน และระดมโจมตีรัฐสภาด้วยการเรียกร้องอย่างโกรธแค้น เพื่อที่จะปกปักรักษางบประมาณของพวกเขาเอาไว้ แต่เมื่อมองเข้าไปในในเรื่องราวทางการเมืองด้านอื่นๆ บรรดานักวิทยาศาสตร์กลับมีแนวโน้มสงบเงียบ เรียบร้อย และเงื่องหงอยเอามากๆ

10. การแสวงหาเงินทุนอย่างเข้มข้นได้กระจายตัวและแผ่ซ่านไปทั่ววงการวิทยาศาสตร์ - และเกือบทุกสิ่งมุ่งสู่การให้ได้เงินมา รวมถึงการติดต่อและข้อตกลงเชิงพาณิชย์ระหว่างบรรดานักวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆกับวงการอุตสาหกรรมทั้งหลาย ที่ซึ่งการค้าถือเป็นจารีตพื้นฐานของวิทยาศาสตร์เสมอมา…

ในนิตยสารต่างๆทางวิทยาศาสตร์และในการประชุม บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่มีหิริโอตตัปปะรู้สึกละอายและสิ้นหวังกับหลักจริยธรรม ซึ่งกำลังสึกกร่อนในวงวิชาชีพของพวกเขา การถกเถียงกันอย่างเดือดดาลบนหลักการแห่งพฤติกรรม เพื่อทำให้มั่นใจเกี่ยวกับหลักการจริยธรรมถือเป็นประเด็นร้อน แต่เหยื่อล่อของทรัพย์ศฤงคารก็ยังคงมีอิทธิพลและพลังอำนาจอย่างเต็มที่ในการมีชีวิตของวิทยาศาสตร์

2. การยอมรับการเมืองในวิทยาศาสตร์
Accepting Politics In Science

By Roger A. Pielke Jr.

Roger A. Pielke Jr. ซึ่งเป็นผู้เขียนบทความนี้ เป็นผู้อำนวยการ ศูนย์กลางการวิจัยเชิงนโยบายทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด ข้อมูลจาก http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/articles/A61928-2005Jan9.html

การบริหารงานของประธานาธิบดี Bush (เกี่ยวกับงานด้านวิทยาศาสตร์) ได้รับการต่อว่าต่อขานในไม่กี่ปีหลังมานี้ ซึ่งข้อกล่าวหาส่วนใหญ่คือ"ทำให้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องการเมืองไป" เฉพาะอย่างยิ่ง โดยผ่านการปฏิบัติการของคณะกรรมการและที่ปรึกษาจำนวนมาก ซึ่งเป็นสมัครพรรคพวกทางการเมืองของตนเอง ยกตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ.2002 ศาสตราจารย์คนหนึ่งแห่งมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก อ้างว่า คำเชื้อเชิญที่มีมาถึงเขาให้เข้าร่วมกับสภาที่ปรึกษาแห่งชาติในเรื่อง "โทษของยาเสพติด" ได้รับการยกเลิกไป ทั้งนี้เพราะเขาไม่ต้องการที่จะแสดงออกถึงการเป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการ ที่ให้การสนับสนุนต่อประธานาธิบดี Bush นั่นเอง

การสั่งสมประสบการณ์ต่างๆเหล่านั้น ได้น้อมนำไปสู่การสืบสวนและรายงานต่างๆจำนวนหนึ่ง เกี่ยวกับกระบวนการสรรหาสมาชิกคณะกรรมการกลางที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์. คณะกรรมการเหล่านี้จะเป็นผู้ตระเตรียมและจัดหาข้อมูลต่างๆเพื่อป้อนให้กับรัฐบาล ในประเด็นต่างๆซึ่งเลียงลำดับจากมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ไปจนกระทั่งถึงเรื่องกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ยา

แต่ทางออกที่เด่นชัดสำหรับปัญหานี้ - เพื่อแยกวิทยาศาสตร์ให้สะอาดบริสุทธิ์จากการเมือง - เป็นเรื่องซึ่งเป็นไปไม่ได้ และการจะเยียวยารักษาโรคการคุกคามทางการเมืองที่แพร่หลายอยู่ทั่วไปในเวลานี้ต่อวงการวิทยาศาสตร์ ดูจะเป็นสิ่งเลวร้ายกว่าตัวโรคเสียอีก รายงานเดือนพฤศจิกายนฉบับหนึ่ง ของคณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับชาติซึ่งไม่ใช่ตัวแทนรัฐบาล - หรือที่เรียกว่า สภาวิจัยแห่งชาติ(the National Research Council [NRC]) - ได้ให้ข้อมูลว่า บรรดาผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่ได้ถูกถามถึงเรื่องราวเกี่ยวกับมุมมองเชิงนโยบายและมุมมองทางการเมืองของพวกเขาแต่อย่างใด

ในรายงานของสภาวิจัยแห่งชาติ(The NRC) ได้อธิบายว่า ทัศนะทางการเมืองและมุมมองเชิงนโยบายของบรรดาคณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ในอนาคต เป็น"ข้อมูลที่ไร้แก่นสาร" เพราะมุมมองต่างๆดังกล่าว "ไม่ได้ทำนายหรือพยากรณ์อย่างจริงจังถึงตำแหน่งของพวกเขาภายใต้นโยบายต่างๆที่มีลักษณะเฉพาะ." วิธีการ "ไม่ถาม, ไม่บอก" ได้รับการเห็นพ้องและรับรองโดยผู้ทำการตัดสินใจต่างๆเกี่ยวกับประชาธิปไตย เช่นเดียวกันกับโดยสหภาพนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องทั้งหลาย

ผู้แทนราษฎร Brian Baird (D-Wash) ได้แสดงความเห็นว่า "เมื่อคุณเริ่มปล่อยให้การเมืองเป็นผู้เลือกนักวิทยาศาสตร์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้คำแนะนำ คุณก็ทุจริตหรือทำผิดต่อกระบวนการที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อให้ได้มาซึ่งคำแนะนำที่ดีแล้ว"

แต่ตามข้อเท็จจริง การเมืองไม่อาจหลีกเลี่ยงกระบวนการเลือกสรรตำแหน่งดังกล่าวได้ คำถามที่จริงจังคือว่า เราต้องการเผชิญกับความเป็นจริงนี้อย่างเปิดเผย หรือยินยอมให้มันแสดงออกมาจากห้องข้างหลังอันเลื่องชื่อเกี่ยวกับการตัดสินใจทางการเมืองกันแน่

ในเกือบทุกๆพื้นที่ทางการเมือง ข้อแนะนำต่างๆได้รับการเสนอด้วยมุมมองเชิงนโยบายและมุมมองทางการเมืองออกมาตรงหน้า ไม่ว่าจะเป็นศาลสูง, รายชื่อพยานที่รับฟังโดยรัฐสภา, หรือพันธกิจ 11 กันยา, ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนเล็กน้อยเท่านั้น. ไม่มีพื้นที่ใดที่คำแนะนำที่ให้กับรัฐบาล และข้อพิจารณาที่เป็นไปได้ต่างๆที่การเมืองสามารถจะเมินเฉย(หรือควรจะถูกเมินเฉย)ได้ ขณะที่วิทยาศาสตร์เป็นปฏิบัติการของพัฒนาการทางความรู้อย่างเป็นระบบ บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายในฐานะที่เป็นมนุษย์และพลเมือง ทัศนะต่างๆของพวกเขาซึ่งมักจะแสดงออกในที่ประชุมสาธารณะ จึงมีคุณค่าเสมอ

ด้วยเหตุดังนั้น ไม่ว่าพวกเขาจะถามหรือไม่ก็ตามในระหว่างการคัดสรรรายชื่อเพื่อดำรงตำแหน่งคณะกรรมการฯชุดดังกล่าว ทัศนะต่างๆของบรรดานักวิทยาศาสตร์เป็นจำนวนมากในเรื่องเกี่ยวกับนโยบายและมุมมองทางการเมืองก็เป็นที่รู้กันทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น ต้องขอขอบคุณจดหมายฉบับหนึ่งที่มีการลงชื่อร่วมกัน ซึ่งทำให้เราทราบว่า ผู้ได้รับรางวัลโนเบลจำนวน 48 คนนั้น ได้ให้การสนับสนุน John Kerry ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี อันนี้จึงเป็นเรื่องง่ายในการที่นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ จะรวมกันเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งพวกเขาได้ลงนามเอาไว้แล้วในจดหมายฉบับนี้ โดยไม่มีการซักถามอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับทัศนะทางการเมืองของพวกเขาแต่อย่างใด

ยิ่งไปกว่านั้น ในการประเมินเกี่ยวกับนโยบายอันหนึ่ง ซึ่งโฟกัสลงไปบนการรักษาข้อพิจารณาต่างๆทางการเมืองเอาไว้ นอกเหนือไปจากกระบวนการที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่กำลังทำงานอยู่ มันมีความจำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า องค์ประกอบของคณะกรรมการชุดเฉพาะกิจต่างๆ จะไม่มีอคติเกี่ยวกับทัศนะเชิงนโยบายและการเมืองของคณะกรรมการต่างๆ ซึ่งในลำดับต่อมาจะต้องรู้ว่า ทัศนะต่างๆเหล่านั้นคืออะไร อันนี้คือ Catch-22 อย่างหนึ่ง (หมายถึงสถานการณ์ที่ยุ่งยาก และลำบากในการแก้ไข)

ในท้ายที่สุด คณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์จึงไม่เคยเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างบริสุทธิ์เลย พวกเขาได้ถูกนำมารวมกันเพื่อจัดหาคำแนะนำในเชิงนโยบาย หรือในการให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องโดยตรงกับนโยบาย และดังที่ Dan Sarewitz แห่งมหาวิทยาลัยรัฐอริโซนาให้เหตุผลเอาไว้อย่างน่ารับฟังว่า…

"เมื่อประเด็นปัญหาใดปัญหาหนึ่ง เป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงกับข้อถกเถียงทางวิทยาศาสตร์และทางการเมือง ในกรณีนั้น ความคิดเห็นของใครคนหนึ่ง มักจะได้รับการสนับสนุนด้วยขบวนแถวเกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่างๆที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งดูเหมือนว่าจะมีผลบังคับไม่น้อยไปกว่าข้อเท็จจริง ที่รวบรวมขึ้นมาโดยคนเหล่านั้นด้วยมุมมองที่แตกต่าง"

อย่างข้อพิจารณาในประเด็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านบรรยากาศ ดูเหมือนว่าบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ได้มาถึงความเห็นที่สอดคล้องต้องกันอย่างแข็งขันว่า กิจกรรมต่างๆของมนุษย์มีผลกระทบต่อบรรยากาศโลกอย่างมีนัยสำคัญ ข้อถกเถียงและการอภิปรายในเรื่องความถูกต้องทางกฎหมาย ต่อเนื่องไปถึงเรื่องต้นทุนและผลประโยชน์เกี่ยวกับนโยบายที่ได้วางไว้ อย่างเช่น สนธิสัญญาเกียวโต(the Kyoto Protocol) และการประเมินเกี่ยวกับต้นทุนและผลกำไรต่างๆ ได้ไปเกี่ยวพันกับการพิจารณาถึงมูลค่าและเรื่องทางการเมือง

มันเป็นความไร้เดียงสาและดูสิ้นหวังกับการคิดว่า คณะกรรมการที่ปรึกษาคณะหนึ่งในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศโลกจะสามารถถูกเลือกสรรรายชื่อ โดยปราศจากการพิจารณาเกี่ยวกับทัศนะดังกล่าวข้างต้น จากบรรดาสมาชิกทั้งหลายซึ่งวางเอาไว้บนข้อถกเถียงทางการเมืองที่มีอยู่

ยิ่งไปกว่านั้น การขจัดข้อพิจารณาทางการเมืองในองค์ประกอบคณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์, นโยบายอันหนึ่งเกี่ยวกับการไม่ถาม, ไม่บอก, ทำให้มันยุ่งยากมากขึ้นที่จะมองเห็นบทบาทที่แสดงโดยการเมือง ซึ่งจะมีอยู่ไปตลอด

สิ่งสำคัญยิ่งกว่าองค์ประกอบของคณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ก็คือ ความรับผิดชอบดังที่ พวกเขาได้รับการกำหนดให้มี และขบวนการที่พวกเขาใช้ในการจัดหาหรือตระเตรียมข้อมูลอันเป็นประโยชน์เพื่อคนที่ทำการตัดสินใจ. ข้อถกเถียงทั่วไปเหนือคณะกรรมการเหล่านี้ได้เสริมเพิ่มพลังมายาคติเก่าๆที่ว่า บางครั้งบางคราว เราสามารถแยกแยะวิทยาศาสตร์ออกจากการเมืองได้ และกรณีนั้นจึงมั่นใจได้ว่า วิทยาศาสตร์ในบางโอกาส ไม่ถูกทำให้แปดเปื้อนโดยความไม่บริสุทธิ์ของส่วนที่เหลือของสังคม

กระนั้นก็ตาม ในเชิงประติทรรศน์หรือสวนทางกับความรู้สึกของคนทั่วไป เราต้องการให้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่สอดคล้องกับนโยบายด้วย. วิธีการที่ดีกว่าอันหนึ่งก็คือ จะต้องโฟกัสความสนใจของเราลงไปบนพัฒนาการที่โปร่งใส ความรับผิดชอบ และกระบวนการที่มีประสิทธิภาพที่จะจัดการกับเรื่องการเมืองในวิทยาศาสตร์ - และจะต้องไม่เสแสร้างว่ามันไม่มีอยู่อีกต่อไป



 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 580 เรื่อง หนากว่า 7500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

คุณคงได้ยินซ้ำซากกันมาแล้วว่า รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้ตัดเงินสนับสนุนการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ลงไป และด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้อเมริกากำลังสูญเสียความเป็นเจ้าโลกทางวิทยาศาสตร์ของตนลง. ข่าวสารที่เป็นลางร้ายนั้น ได้ส่งต่อไปถึงสภาคอง
เกรสส์หรือรัฐสภาสหรัฐ โดยบรรดานักวิทยาศาสตร์กระหายเงินทั้งหลาย และเรื่องนี้ได้มีการกล่าวซ้ำดั่งนกแก้วนกขุนทอง โดยบรรดาหนังสือพิมพ์ปัญญาอ่อน

ประธานาธิบดี Richard Nixon ต้องรู้สึกทุกข์ใจมาก เมื่อนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งในบรรดาที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ของเขา ได้ท้าทายต่อข้อผูกพันของประธานาธิบดี ที่มีต่อเครื่องบินซูเปอร์โซนิค ซึ่งประธานาธิบดีได้แถลงไว้กับสภาคองเกรสส์ ด้วยความสงสัยและคลางแคลงใจเกี่ยวกับบรรดาที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของเขา ทำให้ Nixon ต้องเหวี่ยงพวกเขาทั้งหมดออกไปจากทำเนียบขาว และกล่าวว่า เขาจะเรียกหาคนเหล่านั้นเข้ามาอีก หากว่าเขาต้องการคำปรึกษาในอนาคต ด้วยเหตุผลข้างต้น Nixon จึงอยู่ในตำแหน่งโดยไม่มีที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์อีกต่อไป ดังการเปิดเผยเทปลับทำเนียบขาว, Nixon มีความเห็นในเชิงลบมากเกี่ยวกับที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์

ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ : บทความทั้งหมดของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ
เจ้าของพื้นที่ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ
เว็ปไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้กับ Display properties : screen area 600 X 800 pixels ซึ่งจะให้ภาพที่คมชัดและสมบูรณ์ที่สุด
H

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 580 เรื่อง หนากว่า 7500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com

หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50202 และอย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์

บทความที่ผ่านมา เกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตา หากนักศึกษา และสมาชิกสนใจ สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...