H
back to midnight's home
This article release in July 2001
contents page
member page
main webboard
เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช
ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)

สหรัฐอเมริกามองว่า การปล่อยให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบบเปิดนั้นจะทำให้ประเทศทั้งหลายขาดเอกภาพ และเท่ากับเปิดช่องให้พลังคอมมิวนิสต์เข้าแทรกแซงได้โดยง่าย ดังนั้นสหรัฐอเมริกาจึงสนับสนุนให้เหล่าอำนาจนิยมพากันยึดอำนาจ สหรัฐฯ ได้เลือกสนับสนุนเหล่าเผด็จการทหารเช่น จอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ ในประเทศไทย ซูฮาโต้ในอินโดเนเซีย มาร์กอส ในฟิลิปปินส์ ยึดอำนาจจากรัฐบาลประชาธิปไตย โดยมุ่งหวังจะใช้อำนาจเผด็จการสร้างเอกภาพขึ้น ทั้งนี้เพื่อจะได้เกิดพลังในการต่อสู้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์เสียแต่ต้นลม

อย่างไรก็ตาม คำอธิบายเพียงเท่านี้ อาจไม่เพียงพอต่อการอธิบายพลวัตรทางการเมืองภายหลังเอกราชของภูมิภาคนี้

ภาพประกอบโดย Carlos Torres
ต้นฉบับสี Acrylic on illustration board
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันแรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
สำหรับผู้สนใจตรวจดูบทความของ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาคลิกที่ปุ่ม contents page
ส่วนผู้ที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิกที่ปุ่ม member page
และสำหรับผู้ต้องการแสดงความคิดเห็น
กรุณาคลิกที่ปุ่ม main webboard
บทความนี้ยาวประมาณ 5 หน้ากระดาษ A4
คำศัพท์เหล่านี้มีความหมายต่อคุณหรือไม่ :
การสิ้นสุดของความเป็นปัจเจก, สังคมมิติเดียว, ทุนนิยมโดยรัฐ, เศรษฐกิจแบบบัญชา, การรวมเอาแนวคิดของมาร์กซ์และฟรอยด์เข้าด้วยกัน, บทบาทของเทคโนโลยีใหม่ๆและสื่อสารมวลชน ในฐานะที่เป็นแบบจำลองใหม่ของการควบคุมทางสังคม
หากคำเหล่านี้มีความหมาย และคุณยังไม่เข้าใจพอ
อ่านรายละเอียดได้ในบทความนี้ (ความยาวประมาณ 27 หน้ากระดาษ A4)
คลิกที่แบนเนอร์
ทุกบทความของมหาวิทยาลัย download ได้ฟรีโดยไม่คิดมูลค่า
หากนำไปตีพิมพ์ กรุณาแจ้งแหล่งที่มา
จาก website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ตามหลักการอ้างอิงด้วย
midnight university's new articles in August 2001 / Free down load (please refer to this website)

James Hutton ผู้ซึ่งมีชีวิตอยู่ในคริสศตวรรษที่ 18
และได้รับการเรียกขานว่า บิดาแห่งธรณีวิทยา

เขาเป็นคนแรกที่มองเห็นว่าโลกนั้นมีอายุเก่าแก่กว่าประวัติศาสตร์ของมนุษย์; และฉุกคิดขึ้นมาถึงความเป็นไปได้ที่ว่า
โลกเป็นเหมือนสิ่งมีชีวิตที่ดำรงอย ู่และควรที่จะถูกศึกษาโดยศาสตร์ทางด้านสรีรวิทยา.
วิทยาศาสตร์ของ James Hutton เป็นทั้งคตินิยมลดทอนและเป็นองค์รวม
(บางส่วนจากบทความเรื่องนี้)

(เตรียมพบกับบทความใหม่นี้ในราวปลายเดือนกรกฎาคมนี้)

คลิกไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
go to next page
การอนุญาตให้ผู้หญิงมาบวชนั้น พระพุทธองค์ต้องแบกรับความเสี่ยง คือต้องเสี่ยงกับความกดดันทางสังคม
ทั้งในสังคมพุทธเอง หมายถึงภายในหมู่ภิกษุเอง แล้วก็สังคมคฤหัสอย่างมหาศาล
แต่ถึงกระนั้น พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้ผู้หญิงบวช ด้วยเหตุผลเพียงประการเดียว
และเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักมากพอ ซึ่งพระองค์คิดดูแล้วว่า คุ้มกับการรับความเสี่ยงทั้งมวล เหตุผลนั้นก็คือ
"การให้อิสรภาพทางจิตวิญญาน".

บทความถอดเทปจากชั้นเรียนมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เรื่อง "ภิกษุณี คติหรืออคติ" (ช่วงสนทนากันในชั้นเรียน)
ได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งเนื้อหาของการสนทนาน่าสนใจมาก และเต็มไปด้วยความรู้อย่างกว้างขวาง
สำหรับบทความนี้ ทุกท่านจะได้ทราบถึง ความรู้เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ของอินเดีย เช่น
การนับถือเทพเจ้าบนฟ้าที่เป็นผู้ชายของชาวอารยัน และการนับถือเทพเจ้าบนดินที่เป็นผู้หญิงของชาวฑราวิท(ดราวิเดียน)
อันเป็นที่มาของการกดขี่ทางเพศต่อมาในศาสนาพราหมณ์
นอกจากนี้ทุกท่านจะได้ได้รับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการแบ่งแยกวรรณะและการไม่กินเนื้อสัตว์ของชาวอารยันว่ามีที่มาอย่างไร,
ทำไมชาวอารยันจึงต้องมุ่งสู่ทิศตะวันออก และเครื่องหมายสวัสดิกะของชาวอารยัน

ในส่วนของเนื้อหาเรื่อง "ภิกษุณี คติหรืออคติ"(ช่วงที่สองนี้)
ท่านจะได้ทราบถึงสังคมชาวพุทธเป็นสังคมที่ไม่ยกเอากรณีเพศมาเป็นเครื่องตัดรอนโอกาสหรือตัดรอนสิทธิ์ของคน
ซึ่งเป็นเรื่องที่ประพฤติกันมาแล้วกว่า 2500 ปี.
นอกจากนี้ยังมีการวิจารณ์ถึงคณะสงฆ์ไทยว่า เป็นคณะสงฆ์ที่ถือเคร่งในสิ่งที่เรียกว่าบทบัญญัติตามลายลักษณ์อักษร
นั่นก็คือ หมายความว่าคณะสงฆ์ไทยชอบอ่านพระวินัยปิฎกเป็นข้อๆ แล้วก็ยกขึ้นมาเป็นข้ออ้าง
ซึ่งพระวินัยจริงๆแล้ว ต้องมองให้เป็นชุดเป็นระบบของการประพฤติพรหมจรรย์
(หากนักศึกษา สมาชิก และผอ่านู้สนใจในเรื่องเหล่านี้ โปรดคลิกเข้าไปอ่านได้ที่แบนเนอร์)

 

ผมอยากจะพูดถึงเรื่องชาตินิยมที่ผมคิดว่า มันมีรากอยู่ในเมืองไทย แล้วมันเป็นชาตินิยมที่ผมชอบ. ดีหรือไม่ดีเถียงกันได้ แต่ชาตินิยมแบบนี้ผมชอบ ถ้ายี่ห้อนี้ ผมเอา. ผมได้แบ่งเรื่องที่จะคุยในวันนี้เป็น 3 ประเด็นใหญ่ๆ
ประเด็นแรก "จุดกำเนิดความคิดเรื่องชาติไทย" แบบที่ผมชอบ ซึ่งผมคิดว่าเกิดขึ้นมาเมื่อ พ.ศ.2475 แล้วก็เป็นจุดกำเนิดของชาตินิยมที่เป็นประชาธิปไตย.
ประเด็นถัดไป "ความคิดเกี่ยวกับชาติที่ต้องการให้ชาติเป็นประชาธิปไตย"
ประเด็นที่สาม โลกาภิวัตนกับความคิดเรื่องชาตินิยมที่เป็นประชาธิปไตย

(หากสนใจเรื่องข้างต้นนี้ กรุณาคลิกเข้าไปอ่านได้ที่แบนเนอร์)

HOST@THAIIS