1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
การกระทำอันเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นกฎหมายเรื่องหนึ่งที่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนในสังคมไทยอย่างสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมาซึ่งมีความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นรุนแรง กฎหมายนี้ก็ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายฝ่ายตรงข้ามอย่างกว้างขวาง
แม้ว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายจะต้องการมุ่งปกป้องสถาบันกษัตริย์จากการถูกล่วงละเมิดโดยไม่ชอบ แต่ในความเป็นจริงได้มีการกล่าวหากับบุคคลเป็นจำนวนมากว่ากระทำความผิดในข้อหานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการกระทำหลายประการที่อาจมิได้เข้าข่ายต่อสิ่งที่เป็นความผิดในกฎหมาย เช่น การนำพระราชดำรัสมาพิมพ์เป็นสติ๊กเกอร์ ถ้อยคำบางคำที่ถูกตีความในทางลบต่อสถาบันกษัตริย์ การกระทำซึ่งเป็นการเพิกเฉยต่อสัญลักษณ์ของสถาบัน ฯลฯ
นอกจากนั้น ในส่วนของกระบวนการยุติธรรมก็ยังเกิดข้อสงสัยว่า ได้มีการดำเนินไปอย่างเป็นธรรมเพียงพอหรือไม่ บุคคลที่ตกเป็นผู้ต้องหาหลายคนไม่ได้รับการประกันตัว การได้รับการปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่รัฐที่แตกต่าง อันเนื่องจากถูกมองว่าเป็นข้อหาที่ละเมิดต่อเบื้องสูง ซึ่งล้วนแต่ขัดต่อหลักการของรัฐธรรมนูญที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า "ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะมีคำตัดสินของศาลเกิดขึ้น"
ด้วยเหตุที่การเริ่มคดีดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยง่าย กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจึงถูกใช้เป็นเครื่องมือในทางการเมืองระหว่างบุคคลหรือกลุ่มต่างๆ ภายใต้การกล่าวอ้างความจงรักภักดีต่อสถาบันฯ บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในเรื่องนี้มิได้จำกัดอยู่เฉพาะกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เกือบทุกฝ่ายต่างก็ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ภายใต้สภาวการณ์ที่กฎหมายได้ทำให้เกิดปัญหาขึ้นเช่นนี้ การเสนอความเห็นเพื่อให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายจึงเป็นเสรีภาพพื้นฐานของพลเมืองในสังคมที่จะกระทำได้ ซึ่งการแก้ไขนี้อาจนำไปสู่ทางออกในหลายรูปแบบ ซึ่งขึ้นกับความเห็นและมติของสังคมจะถกเถียง แลกเปลี่ยน และผลักดันความคิดเห็นของแต่ละฝ่ายให้เกิดการยอมรับในสังคมอย่างไร
บุคคลผู้เสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายไม่ว่าจะเป็นไปด้วยการเสนอให้ปรับปรุงเล็กน้อยหรือมาก หรือแม้กระทั่งให้ยกเลิกก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแก้ไขนี้ ซึ่งทั้งหมดสามารถที่จะกระทำได้ในฐานะของพลเมืองและเป็นเสรีภาพที่ต้องได้รับการเคารพ ความพยายามบิดเบือนว่าผู้เสนอแก้ไขหรือยกเลิกให้กลายเป็นบุคคลที่ไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ นับเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักการของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอย่างรุนแรง อีกทั้งเป็นการคุกคามการแสดงความเห็นอันเสรีของพลเมือง
หัวใจสำคัญประการหนึ่งของการทำให้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการการกลั่นแกล้งทางการเมือง ก็ด้วยการร่วมขบคิดถึงปัญหาและแสวงแนวทางแก้ไขที่เปิดให้ทุกฝ่ายได้เข้ามาร่วมถกเถียงแลกเปลี่ยนอย่างเสรี และเคารพซึ่งศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของซึ่งกันและกัน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
16 กุมภาพันธ์ 2552
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก
I สารบัญเนื้อหา
1I สารบัญเนื้อหา
2 I สารบัญเนื้อหา
3
สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I
สารบัญเนื้อหา
6
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
I webboard(1)
I
webboard(2)
e-mail : midnightuniv(at)gmail.com
midnightuniv(at)yahoo.com
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ช่องทางด่วน
midnightuniv(at)gmail.com
จัดโดยประชาไท และมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สถานที่: กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่
๑๖-๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
สถานที่: เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
เชียงใหม่จัดที่: ห้องฉายภาพยนตร์ในหอศิลป์
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันที่ ๒๑-๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ น - ๑๗.๐๐ น
ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
Supported by
Antioch College, Ohio
Media Art & Design, Chiangmai University