นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็บไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ


The Midnight University



เศรษฐศาสตร์การเมือง-ประสบการณ์จากจีน
ฉันทามติปักกิ่ง : วิถีเศรษฐกิจที่ไม่อาจเดินตาม (ตอนที่ ๑)
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
โครงการแปลตามอำเภอใจ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความที่นำมาเรียบเรียงนี้ แกนหลักนำมาจากเรื่อง
You Can't Get There from Here: Reflections on the "Beijing Consensus"
by David Schweickart

ซึ่งเป็นเอกสารสำหรับการประชุมสัมนานานาชาติ เรื่อง
แบบจำลองทางเศรษฐกิจของจีน หรือฉันทามติปักกิ่งเพื่อการพัฒนา
Tianjin Normal University, Tianjin, China.
8 August 2005

เนื้อหาของงานชิ้นนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีนแบบก้าวกระโดด
และการประสบความสำเร็จอย่างดี โดยมีลักษณะเฉพาะและเงื่อนไขของตนเอง
ซึ่งประเทศยากจนทั้งหลายไม่สามารถที่จะดำเนินรอยตามได้ อย่างไรก็ตาม ก็มีแบบจำลองบางอย่าง
ซึ่งประเทศยากจนทั่วโลกในปัจจุบันสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตามสมควร

midnightuniv(at)yahoo.com

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 932
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 14.5 หน้ากระดาษ A4)



ฉันทามติปักกิ่ง : วิถีเศรษฐกิจที่ไม่อาจเดินตาม (ตอนที่ ๑)
สมเกียรติ ตั้งนโม : มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

คุณไม่อาจไปถึงที่นั่นได้จากที่นี่: ภาพสะท้อนต่างๆเกี่ยวกับฉันทามติปักกิ่ง
You Can't Get There from Here: Reflections on the "Beijing Consensus"
David Schweickart

เอกสารสำหรับการประชุมสัมนานานาชาติ เรื่อง
แบบจำลองทางเศรษฐกิจของจีน หรือฉันทามติปักกิ่งเพื่อการพัฒนา
Tianjin Normal University, Tianjin, China
8 สิงหาคม 2005

ความนำ
มีเรื่องเล่ากันอยู่เรื่องหนึ่งในสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับชายหนุ่ม ซึ่งหลงทางอยู่บนเส้นทางสายเล็กๆ ในชนบทของเคนทักกี เขาขับรถเบนเข้าข้างทางเพื่อมุ่งไปยังบ้านไร่ปลายนา และถามชาวนาที่นั่งอยู่ที่ระเบียงบ้านว่า "เส้นทางไหนคือเส้นทางที่ดีที่สุดซึ่งจะไปยังชิคาโก?" ชาวนาดึงกล้องยาสูบออกจากปาก แล้วตอบอย่างสั้นๆ แต่ได้ใจความว่า "เสียใจด้วยพ่อหนุ่ม คุณไม่สามารถที่จะไปที่นั่นได้จากที่นี่"

ลองคิดถึงเมืองจีนเช่นดังกับชิคาโก และประเทศด้อยพัฒนาต่างๆ ซึ่งไม่ได้เป็นสังคมนิยมในทุกวันนี้เช่นเดียวกับชนบทของเคนทักกี. ผมกำลังจะบอกว่า คุณไม่สามารถที่จะไปถึงประเทศจีนได้จากประเทศทั้งหลายเหล่านั้น. อันนี้ค่อนข้างจะไร้ประโยชน์ที่จะค้นหานโยบายต่างๆ ซึ่งรับมาจากประสบการณ์ของชาวจีนที่จะนำพาประเทศยากจนทั้งหลายให้มีการพัฒนาเช่นเดียวกับจีนที่พัฒนาแล้ว

เป็นไปได้ที่ไม่ควรจะมีใครบางคนพยายามที่จะไปยังชิคาโกจากชนบทในเคนทักกี ชิคาโกเป็นเมืองใหญ่ซึ่งผมอาศัยอยู่ที่นั่นมาเป็นเวลา 30 ปี เป็นสถานที่ซึ่งประหลาดมาก แต่มันไม่ใช่"เมืองที่สุกสว่างบนเนินเขา"ซึ่งเป็นความฝันของบรรพบุรุษทั้งหลายของพวกเรา. ชิคาโก สำหรับพวกเราแล้ว กล่าวได้ว่า"เป็นเมืองๆหนึ่งที่พวกเราทำงาน" และเป็นที่ทำกิจกรรมอื่นๆของพวกเราเป็นจำนวนมาก แต่ในเวลาเดียวกันมันก็เป็นเมืองที่มีความเหลื่อมล้ำหรือไม่เสมอภาคอย่างมาก มีโรงเรียนรัฐบาลและบริการสาธารณสุขท่ามกลางความสับสนอลหม่าน พื้นที่ขนาดใหญ่ของตัวเมืองที่เป็นแหล่งเสื่อมโทรม : มีการถูกทิ้งร้าง อาชญกรรม ความรุนแรงของแก๊งต่างๆ คนไร้ที่พักพิง การค้ายาเสพติด และคนติดยา. เรามีผู้คนหนุ่มเป็นจำนวนมากและผู้หญิงจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่อยู่ในคุก และมักเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี

สถานการณ์ดังกล่าวไม่ได้แตกต่างไปจากประเทศจีนมากนัก จีนทำให้โลกรู้สึกประหลาดใจกับความสำเร็จในทางเศรษฐกิจของตนในรอบ 25 ปีที่ผ่านมา แต่จีนก็ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ ตามสัดส่วนที่สัมพันธ์กัน ความยากจนข้นแค้นอันเลวร้ายมากยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบททั้งหลาย; ช่องว่างระหว่างคนรวยคนจนกำลังถ่างกว้างมากขึ้น; การคอรัปชั่นก็กำลังแพร่หลาย; จำนวนคนว่างงานมีอัตราที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น; ความเสื่อมโทรมทางด้านสิ่งแวดล้อมแผ่คลุมไปทั่ว

ในด้านหนึ่งประเทศจีนควรได้รับการยอมรับว่าเป็นปลายทางของการพัฒนา เป้าหมายอันหนึ่งที่ถูกทำให้บรรลุผลสำเร็จโดยนโยบาย"ฉันทามติปักกิ่ง"อย่างเหมาะสม. ผมคิดว่ามันเป็นประโยชน์มากกว่าที่จะมองประเทศจีนในทุกวันนี้ ในฐานะที่เป็นการทดลองทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับความสำคัญของประวัติศาสตร์โลกที่ยังไกลห่างจากความสำเร็จและความสมบูรณ์. นักวิชาการหลายคนกำลังมีคำอธิบายกันว่า ให้มองประเทศจีนในฐานะที่เป็นความพยายามอันยิ่งใหญ่ที่ได้สร้างสังคมที่เจริญงอกงาม สังคมที่ยุติธรรมพ้นไปจากลัทธิทุนนิยม (ไม่ว่ามันจะสำเร็จหรือไม่ก็ตามในการกระทำเช่นนั้น ซึ่งอันนี้ยังคงเป็นคำถามเปิดอยู่)

เรื่องที่ตามมา ผมใคร่เสนอกรอบทฤษฎีอันหนึ่ง ซึ่งขอเรียกว่า"ทฤษฎีระบบสืบทอดอำนาจ" ที่คิดว่าจะให้ความกระจ่างในสถานการณ์ของจีนสำหรับบริบทของโลกสมัยใหม่ มันเป็นกรอบคิดที่มีพื้นฐานอยู่ในลัทธิวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ ซึ่งช่วยให้เราเข้าใจถึงการบรรลุเป้าหมายหรือประสบความสำเร็จในเชิงบวกเกี่ยวกับการปฏิรูปต่างๆ ของชาวจีน โดยชี้ถึงการปฏิรูปในอนาคตที่พึงปรารถนา และเตือนถึงมูลเหตุความผิดพลาดของการปฏิบัติ นอกจากนี้ยังจะแสดงให้เห็นถึง"แบบจำลองของจีน"ในปัจจุบันที่ไม่อาจนำไปใช้ได้ สำหรับประเทศต่างๆ ที่กำลังพัฒนาส่วนใหญ่(แต่ไม่ทั้งหมด)ในทุกวันนี้

ทฤษฎีระบบสืบทอดอำนาจ / ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ
(Successor-System Theory/Economic Democracy)

ลัทธิวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ในฐานะที่เป็นทฤษฎีหนึ่งทางด้านประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่บนแนวความคิดเกี่ยวกับมนุษย์ในฐานะสิ่งที่มีชีวิตทางสังคมในทางปฏิบัติและสร้างสรรค์. เมื่อมนุษย์เผชิญหน้ากับความยุ่งยากลำบากต่างๆ เราพยายามที่จะแก้ปัญหามัน ถ้าเผื่อว่าการแก้ปัญหาโดยปัจเจกไม่ประสบผลสำเร็จ เราจะพยายามรวมกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหา เมื่อสถาบันเก่าแก่ได้พิสูจน์แล้วว่าไม่ทำงานหรือมีสมรรถภาพเพียงพอ เราก็จะประดิษฐ์คิดสร้างสถาบันใหม่อันหนึ่งขึ้นมา เราไม่ได้ถูกจำกัดขอบเขตโดยด้านชีววิทยา เพื่อทำซ้ำแบบแผนต่างๆ ของบรรพบุรุษของพวกเราอย่างง่ายๆ จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติโดยบังเอิญ และการคัดสรรตามธรรมชาติที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

สำหรับจินตนาการของลัทธิวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อสมรรถนะและความสามารถของมนุษย์ ดังที่มาร์กซ์ได้บันทึกไว้ว่า "ปฏิบัติการเกี่ยวกับพฤติกรรมของแมงมุม คล้ายคลึงกับคนเหล่านั้นที่ทำการถักทอเพื่อเลี้ยงชีพ และผึ้งก็ทำให้สถาปนิกต้องได้อายในการประกอบสร้างเซลล์หรือช่องโพรงของพวกมัน แต่สิ่งซึ่งจำแนกความแตกต่างระหว่างสถาปนิกที่เลวจากผึ้งที่ดีเยี่ยมก็คือ สถาปนิกนั้นยกย่องเชิดชูโครงสร้างในจินตนาการของตน ก่อนที่เขาจะสร้างมันขึ้นมาในความเป็นจริง"(1)

ความสามารถในการจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ยินยอมให้เราพัฒนาพลังการผลิตต่างๆ และความสัมพันธ์ทางสังคมของเรา ซึ่งยืดขยายการควบคุมของเราออกไปเหนือธรรมชาติ และเพิ่มสมรรถนะความเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทที่มีความสามัคคีและมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันมากขึ้น. ด้วยเหตุดังนั้น เราจึงสามารถที่จะกล่าวได้อย่างมีความหมายว่าเป็น "ความก้าวหน้าของมนุษย์". แน่นอน บ่อยครั้งเราทำในสิ่งที่ผิดพลาดเสมอ การทดลองในทางปฏิบัติของเรามักจะน้อมนำไปสู่ทางตันต่างๆ แต่พวกเราได้เรียนรู้จากความผิดพลาดทั้งหลาย ความสามารถอันนี้สำหรับการเรียนรู้ร่วมกัน ยังจำแนกเราทั้งมวลออกจากสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น

ลัทธิวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ได้จัดวางโครงสร้างที่แน่นอนอันหนึ่ง เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ มันได้สร้างแกนกลางทางความคิดเกี่ยวกับชนชั้นทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชนและสังคมที่ได้รับการขั้นกลางโดยชนชั้น. ชนชั้นทางเศรษฐกิจทั้งหลายต่างมีเรื่องของผลประโยชน์ และผลประโยชน์ต่างๆ ของชนชั้นที่หลากหลายนี้ บ่อยทีเดียวที่มักก่อให้เกิดความขัดแย้งกันขึ้นมา

เมื่ออำนาจทางเศรษฐกิจต่างๆเริ่มเปลี่ยน อันเป็นผลลัพธ์หนึ่งซึ่งเนื่องมาจากการสร้างสรรค์ของพวกเรา ความพยายามและความอุตสาหะในทางปฏิบัติ ดุลยภาพของพลังอำนาจท่ามกลางชนชั้นต่างๆก็เริ่มแปรเปลี่ยนไป ความสัมพันธ์ของสถาบันบางสถาบัน ซึ่งครั้งหนึ่งเคยนำไปสู่พัฒนาการทางเศรษฐกิจ หรืออย่างน้อยที่สุดทำให้เกิดเสถียรภาพทางสังคม กลับกลายเป็นไปในลักษณะตรงข้าม พวกมันกลายเป็นความอุ้ยอ้ายในสมรรถนะทางการผลิตของสังคม ขั้นตอนดังกล่าวจึงได้รับการตัดสินให้มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงสถาบัน

ลัทธิวัตถุนิยมประวัติศาสตร์มองลัทธิทุนนิยมในฐานะที่เป็นระเบียบการที่ก้าวหน้าทางเศรษฐศาสตร์สังคม ซึ่งโดยสาระแล้วปัจจุบันมันได้หมดสมรรถภาพลงแล้ว สถาบันทั้งหลายของลัทธิทุนนิยมกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายและความเสียหายต่อผลประโยชน์ทั้งมวลของมนุษยชาติ และกำลังกลายเป็นอุปสรรคในการตระหนักและเข้าใจเกี่ยวกับความสัมฤทธิ์ทางสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งลัทธิทุนนิยมในตัวมันเองสามารถที่จะทำให้มีความเป็นไปได้

ลัทธิวัตถุนิยมประวัติศาสตร์คาดการณ์ว่า ระเบียบใหม่อันหนึ่งจะก่อให้เกิดสิ่งที่ธำรงความสำเร็จในเชิงบวกของลัทธิทุนนิยมให้คงอยู่ แต่จะต้องขจัดแนวโน้มต่างๆ ในเชิงทำลายล้างของมันลงไป หรืออย่างน้อยที่สุดก็ต้องทำให้มันเบาบางลงไปอย่างฉลาด

ดังที่รู้กันดี บรรดานักวัตถุนิยมประวัติศาสตร์คลาสสิกทั้งหลาย ต่างนิ่งเงียบเกี่ยวกับลักษณะเชิงโครงสร้างของการคาดการณ์เกี่ยวกับระเบียบเศรษฐกิจใหม่อันนี้ พวกเขาควรจะได้รับการตำหนิสำหรับเรื่องดังกล่าว. ในฐานะที่เป็นทฤษฎีทางด้านวิทยาศาสตร์อันหนึ่ง ลัทธิวัตถุนิยมประวัติศาสตร์จึงเรียกร้องต้องการข้อมูลในเชิงประจักษ์(empirical data) และในช่วงเวลาของการก่อตัวขึ้นมาของมัน มันไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาหรือการก่อรูปหลังทุนนิยม(post-capitalist formation)

ลัทธิวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ของคริสศตวรรษที่ 19 ได้คาดการณ์ถึงยุคหนึ่งเกี่ยวกับการทดลองในเชิงสถาบัน พวกเขาไม่รู้สึกประหลาดใจว่านวัตกรรมต่างๆในเชิงสถาบัน มักจะไม่ทำให้ความคาดหวังของนักนวัตกรรมสัมฤทธิผลดังประสงค์เสมอไป แต่ในฐานะมนุษย์ที่พวกเราเป็นสิ่งมีชีวิตโดยธรรมชาติในเชิงสร้างสรรค์และเชิงปฏิบัติ พวกเราต่างเรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเอง และนับจากการที่ความขัดแย้งภายในของลัทธิทุนนิยมได้ปรากฏตัวขึ้นมา ที่ถูกวางอยู่บนสถาบันต่างๆของทุนนิยมโดยเฉพาะ ซึ่งอันนี้ไม่ใช่ธรรมชาติการเปลี่ยนผ่านเชิงประวัติศาสตร์ของสิ่งต่างๆ, ลัทธิวัตถุนิยมประวัติศาสตร์มีแนวโน้มที่ทำให้เรามีท่าทีหรือทัศนคติที่มองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับอนาคต

ลัทธิวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ไม่เพียงคาดการณ์ถึงอนาคตหลังทุนนิยมอันน่าพึงปรารถนาเท่านั้น แต่ก่อนที่อนาคตนั้นจะมาถึง ได้มีการเพิ่มเติมความชัดเจนในเชิงทฤษฎี ที่ได้รับสืบทอดมาจากหลักฐานและประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างต่างๆของสังคมหลังทุนนิยมที่ใช้การได้และเป็นไปได้ ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เราจะต้องชูโครงสร้างต่างเหล่านี้ในจินตนาการขึ้นมา ก่อนที่เราจะสามารถสร้างมันขึ้นมาในโลกของความเป็นจริง

สิ่งที่ผมอยากจะเรียกว่า"ทฤษฎีระบบสืบทอดอำนาจ"อ้างว่า ปัจจุบันเราได้มาถึงจุดซึ่งสามารถที่จะกำหนดโครงสร้างเหล่านี้ได้แล้ว. ทฤษฎีระบบสืบทอดอำนาจได้วางรูปแบบอันหนึ่งของลัทธิสังคมนิยมขึ้นมา ที่สามารถได้รับการแสดงให้เห็นประจักษ์, ในเชิงทฤษฎี, มันมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับลัทธิทุนนิยม และมีเหตุมีผลมากในความเจริญเติบโตของมัน และไปไกลมากเกินกว่าเรื่องคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่พัฒนาขึ้นในลัทธิทุนนิยม กล่าวคือเรื่องของคุณภาพชีวิตและประชาธิปไตย มันยึดถือรูปแบบอันนี้เป็นขั้นตอนต่อไปที่พ้นไปจากลัทธิทุนนิยม

แน่นอน ตัวอย่างในโลกของความเป็นจริงเกี่ยวกับลัทธิสังคมนิยมนั้น จะแสดงถึงโครงสร้างที่ซับซ้อนอันหนึ่ง แต่สถาบันพื้นฐานต่างๆของมันก็ธรรมดาเรียบง่ายพอที่จะระบุได้ ในฐานะที่เป็นสถาบันพื้นฐานต่างๆของลัทธิทุนนิยม โครงสร้างที่สำคัญของสิ่งที่ผมเรียกว่า"ประชาธิปไตยเศรษฐกิจ"(Economic Democracy) สามารถได้รับการทำความเข้าใจได้ และดีที่สุดในการเปรียบเทียบกับโครงสร้างสำคัญของลัทธิทุนนิยมและแบบจำลองที่บุกเบิกขึ้นมาของลัทธิสังคมนิยม, ซึ่งโซเวียตเรียกว่า "ระบบเศรษฐกิจแบบที่รัฐควบคุม"(command economy)

ลัทธิทุนนิยม โดยแก่นสารของมันเป็นการประกอบตัวขึ้นมาของสถาบันพื้นฐาน 3 ส่วน นั่นคือ

ส่วนที่หนึ่ง ทรัพย์สินส่วนตัว(private property หมายถึงความเป็นเจ้าของเครื่องมือในการผลิตต่างๆ),
ส่วนที่สอง ตลาด(market), และ
ส่วนที่สาม ค่าจ้างแรงงาน(wage labor)

กล่าวคือ ลัทธิทุนนิยมคือเศรษฐศาสตร์ตลาดของการแข่งขัน ซึ่งเครื่องมือการผลิตทั้งหลายถูกเป็นเจ้าของโดยส่วนตัว และส่วนใหญ่ของแรงงานถูกผูกมัดอยู่กับเรื่องของค่าแรง

ในเชิงนิเสธหรือทางตรงข้ามกับลัทธิทุนนิยม แบบจำลองของโซเวียตได้ขจัดตลาดออกไป และแทนที่มันด้วยการวางแผนที่ครอบคลุม กำจัดความเป็นเจ้าของเครื่องมือการผลิตที่เป็นส่วนตัว และแทนที่ด้วยรัฐซึ่งมาทำหน้าที่เป็นเจ้าของ แต่ยังคงรักษาเรื่องของค่าจ้างแรงงานเอาไว้. บรรดาคนงานทั้งหลาย ปัจจุบันได้รับการว่าจ้างโดยรัฐ มากกว่าโดยกลุ่มทุนส่วนตัว

ประชาธิปไตยเศรษฐกิจ(economic democracy) ได้เบี่ยงเบนจากลัทธิทุนนิยมในรูปแบบวิธีการที่ต่างออกไปอันหนึ่ง มันยังคงรักษาตลาดเอาไว้ อย่างน้อยที่สุดสำหรับสินค้าและบริการต่างๆ. มันแทนที่ค่าแรงงานโดยการให้ประชาธิปไตยในที่ทำงาน. มันได้สร้างโครงสร้างเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของขึ้นมาใหม่อีกครั้ง เพื่อที่จะสังคมเป็นผู้ควบคุมอย่างเป็นประชาธิปไตยเหนือการลงทุน ซึ่งตรงนี้ผมขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้…

- ประชาธิปไตยเศรษฐกิจยอมรับว่า ตลาดแข่งขันอันหนึ่งสำหรับสินค้าและบริการเป็นสิ่งที่จะขาดเสียมิได้ ต่อเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่เป็นพลวัตรและมีประสิทธิภาพ อย่างน้อยที่สุดตราบเท่าที่เงื่อนไขต่างๆเกี่ยวกับความขาดแคลนยังคงมีอยู่. แต่มันปฏิเสธข้ออ้างที่ว่าตลาดแรงงานและตลาดทุนที่มีการแข่งขันถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นด้วย. พลังแรงงานไม่ต้องการได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นสินค้าอย่างหนึ่ง. ทุนไม่ควรที่จะถูกจัดสรรหรือกำหนดโดยอำนาจต่างๆ ของตลาด

- สถานที่ทำงานควรถูกทำให้เป็นประชาธิปไตย แน่นอน การตรวจสอบในเชิงสถาบันอย่างเหมาะสม และการมีดุลยภาพจักต้องได้รับการวางหรือบ่มเพาะขึ้น เพื่อผลประโยชน์ของความเข้มแข็งของประชาธิปไตยอย่างมีประสิทธิภาพ - เช่นเดียวกันกับกรณีของประชาธิปไตยในทางการเมืองด้วย (2). การบริหารจะต้องมีอิสระมากพอเพื่อการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และคนงานทั้งหลายจะต้องสามารถที่ถูกโยกย้ายออกไปได้ถ้าเผื่อว่าพวกเขาไร้ประสิทธิภาพ

- สภาที่ได้รับการเลือกตั้งของคนงาน ควรจะแต่งตั้งนักบริหารจัดการสูงสุด และยอมรับการตัดสินใจต่างๆ ของบริษัทในเรื่องสำคัญๆ) รายได้ของคนงานควรผูกพันอยู่กับกำไรต่างๆ ของบริษัท เพื่อว่าบรรดาคนงานทั้งหลายจะถูกกระตุ้นให้คัดเลือกนักบริหารจัดการที่ดี และทั้งหมดจะได้รับการกระตุ้นให้ทำงานกันอย่างขยันขันแข็ง. การมีส่วนร่วมของคนงานควรได้รับการสนับสนุน เพื่อว่าจะได้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของคนงาน และเพื่อทำให้เกิดความซื่อสัตย์ต่อบริษัทมากยิ่งขึ้น และนอกจากนี้ก็เพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะเกี่ยวกับประชาธิปไตย

การควบคุมทางสังคมในด้านเกี่ยวกับการลงทุน เป็นเรื่องซึ่งเกี่ยวข้องกับ

(ก) การก่อเกิดเงินลงทุนสาธารณะด้วยวิธีการจัดเก็บภาษี (ในเชิงอุดมคติ คือภาษีสินทรัพย์การลงทุน capital asset tax) แทนความไว้เนื้อเชื่อใจในการเก็บออมของปัจเจกชนส่วนตัว และ

(ข) การจัดสรรทุนเหล่านี้โดยสถาบันต่างๆ ทางการเงินของสังคม

ดังกฎทั่วๆไปอันหนึ่ง แต่ละท้องถิ่นของประเทศ มีการให้สิทธิแต่แรกในการจัดสรรเกี่ยวกับเงินลงทุนของสังคม. ธนาคารต่างๆ จะให้ทุนเหล่านี้โดยคำนึงถึงกำไรหรือผลประโยชน์ แต่ก็ใคร่ครวญถึงเป้าหมายอื่นๆ ทางสังคมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างงาน ซึ่งอันนี้ควรหมายเหตุลงไปด้วยว่า การควบคุมทางสังคมเกี่ยวกับการลงทุน เป็นสิ่งที่ร่วมกันกับรูปแบบที่หลากหลายของการเป็นเจ้าของธุรกิจ

สังคมไม่ให้ความไว้วางใจในการจำกัดความมั่งคั่งส่วนตัวโดยสมัครใจ และไม่เชื่อในการเป็นเจ้าของกิจการโดยรัฐสำหรับเงินลงทุนต่างๆ. เงินลงทุนถูกทำให้เกิดขึ้นมาโดยภาษีที่ยุติธรรมและโปร่งใสในสินทรัพย์การผลิตทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรัฐ, กลุ่มคน, หรือส่วนตัว (ในแบบจำลองบริสุทธิ์ การเงินภายนอกทั้งหมดมาจากทุนสาธารณะอันนี้ ส่วนแหล่งต้นตออื่นๆ อาจได้รับการยินยอม แม้ว่าการดูแลจะต้องรักษาแหล่งต้นตอเหล่านี้ให้เป็นรองจากทุนสาธารณะ)

ผมจะไม่ถกเถียงในที่นี้ว่า เศรษฐกิจบนโครงสร้างตามแนวทางเหล่านี้จะได้ผล กล่าวคือ มันจะมีประสิทธิภาพเท่าๆกับรูปแบบต่างๆของลัทธิทุนนิยม และในเวลาเดียวกันมันมีเหตุมีผลมากกว่า, เป็นประชาธิปไตยกว่า, มีความเสมอภาคของมนุษย์มากกว่า, และยั่งยืนถาวรกว่า. อันที่จริงเรื่องต่างๆเหล่านี้ ผมได้สาธยายเอาไว้อย่างยืดยาวในที่อื่นๆ แล้ว (3)

ขอให้ผมได้ถามผู้อ่านว่ายอมรับข้ออ้างอันนี้ว่าเป็นจริงหรือไม่ และลองพิจารณาถึงความจริงร่วมสมัยว่าปรากฏออกมาเป็นเช่นไร ถ้าหากว่ารูปแบบอันนั้นของตลาดสังคมนิยม เป็นสิ่งที่ใช้การได้จริงและน่าปรารถนาเช่นดังที่ได้อ้างว่ามันเป็นอย่างนั้น และถ้าเผื่อว่าบางสิ่งคล้ายๆกับรูปแบบนี้ของสังคมนิยม คืออนาคตหลังทุนนิยมดังที่ลัทธิวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ได้คาดการณ์ ขอให้เรามาเริ่มต้นกันที่ประเทศจีน

สิ่งที่เกี่ยวข้องต่างๆกับประเทศจีน (Implications for China)
กับทุกประเทศทั่วโลกในทุกวันนี้ จีนถือเป็นหนึ่งในที่ตั้งซึ่งดีที่สุดที่จะทำการส่งผ่านหรือเปลี่ยนแปลงสู่ระบอบประชาธิปไตยเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนผ่านนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไม่เพียงจีนต้องเผชิญหน้ากับการท้าทายดังที่กล่าวข้างต้น แต่ยังเนื่องเพราะอำนาจทางการเมืองและสติปัญญาที่สำคัญในจีนทุกวันนี้ ที่เป็นแรงกระตุ้นเสริมซึ่งปรกติแล้วอยู่เบื้องหลังประตูที่ปิด ทำให้จีน"ร่วมกับกระแสหลักดังกล่าว โดยกลายเป็นเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีพัฒนาการอย่างสมบูรณ์ (แน่นอน แม้ว่าจะเป็นไปในลักษณะเฉพาะตัวของจีนก็ตาม)

แต่อย่างไรก็ตาม มันไม่ใช่เพียงพลังอำนาจต่างๆ เชิงรุกในจีนแน่นอน ยังมีคนเหล่านั้นซึ่งที่ยอมรับและเห็นคุณค่าสิ่งที่ควรจะเป็นอย่างแจ่มชัด นั่นคือ ลัทธิทุนนิยมไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาพื้นฐานต่างๆ ซึ่งปัจจุบัน จีนกำลังเผชิญหน้าอยู่ได้ ลัทธิทุนนิยมไม่อาจจะขจัดความยากจนลงไปได้ หรือทำให้เกิดการจ้างงานได้อย่างเต็มที่ รวมถึงลดทอนความเหลื่อมล้ำลง นอกจากนี้ลัทธิทุนนิยมยังไม่อาจที่จะสร้างความกลมกลืน การปฏิสัมพันธ์ที่ยั่งยืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติได้ด้วย สิ่งเหล่านี้ไม่อาจทำได้ไม่ว่าที่ไหนๆบนดาวเคราะห์ดวงนี้ ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่จะคิดว่ามันจะทำได้ในประเทศจีน แบบจำลองที่แตกต่างของการพัฒนาจึงเป็นที่ต้องการอย่างแน่นอน (4)

ประชาธิปไตยเศรษฐกิจนับเป็นแบบจำลองที่เหมาะสมอย่างยิ่งอันหนึ่ง แน่นอน แบบจำลองดังกล่าวดังที่ได้ระบุ มันค่อนข้างเป็นนามธรรม และดูไกลห่างจากพิมพ์เขียวสำหรับการแก้ปัญหาต่างๆของจีน แต่มันได้จัดหากรอบโครงร่างอันหนึ่งขึ้นมา สำหรับการประเมินการปฏิรูปต่างๆของจีน และสำหรับการเสนอแนะการปฏิรูปต่างๆเพิ่มเติม ขอให้ลองพิจารณาส่วนที่เกี่ยวข้องตามมา ซึ่งทฤษฎีระบบสืบทอดอำนาจมีสำหรับประเทศจีน ดังนี้ :

ทฤษฎีระบบสืบทอดอำนาจ

1. ทฤษฎีระบบสืบทอดอำนาจทำให้เกิดความชัดเจนว่า จีนมีสิทธิ์ที่จะดำเนินการบนแนวทางของการปฏิรูปต่างๆ ทางด้านตลาด. ลัทธิสังคมนิยมที่เจริญเติบโตได้จะต้องเป็นตลาดของลัทธิสังคมนิยม

2. ทฤษฎีดังกล่าวแฝงนัยว่า จีนควรจะกระตุ้นสนับสนุนการพัฒนาเกี่ยวกับประชาธิปไตยในที่ทำงาน โดยเฉพาะจีนดูจะเหมาะสมที่สุดที่จะกระทำเช่นนั้น นับตั้งแต่ที่

2.1 ประชาธิปไตยในที่ทำงานเป็นเรื่องเชิงอุดมคติตามคุณค่าต่างๆ ของสังคมนิยมที่ได้รับการประกาศโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน และ

2.2 สภาคนงานและที่ประชุมคนงานต่างๆ มีอยู่ในสถานที่ในที่ทำงานของบริษัทจำนวนมากอยู่แล้ว (5)

ยิ่งไปกว่านั้น ถ้ามีอุปกรณ์หรือเครื่องไม้เครื่องมือที่เหมาะสม ประชาธิปไตยในที่ทำงานก็สามารถได้รับการคาดหวังที่จะช่วยยกระดับและเพิ่มการปฏิบัติงานของบริษัทได้มากขึ้น (6) ข้อพิจารณาต่างๆ ทางศีลธรรมและเรื่องทางวัตถุไม่ได้ขัดแย้งกัน

3. ทฤษฎีระบบสืบทอดอำนาจเสนอว่า รัฐบาลจีนไม่ควรที่จะยกเลิกการควบคุมที่สำคัญเหนือการจัดสรรเงินลงทุนต่างๆ. มันเป็นความจริงที่ว่า ระบบการธนาคารต้องมีการปฏิรูปอย่างสำคัญ แต่การปฏิรูปนี้ควรกระทำด้วยความเชี่ยวชาญและด้วยความระมัดระวัง เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่า เงินทุนต่างๆสำหรับการลงทุนจะถูกแพร่กระจายไปสู่ท้องถิ่นบนพื้นฐานที่ยุติธรรม และยิ่งไปกว่านั้น บรรทัดฐานดังกล่าวที่ฉายถึงความสามารถในการทำกำไรได้ จะถูกนำมาใช้เพื่อการจัดสรรเงินทุนต่างๆ เหล่านี้

แม้ว่าการลงทุนจากต่างประเทศ และการเก็บออมส่วนตัวของผู้คนภายในประเทศ อาจมาช่วยในด้านอุปทานส่วนหนึ่งของเงินลงทุน แต่รัฐบาลควรที่จะสร้างเงินทุนนี้ให้มากขึ้นเท่าที่เป็นไปได้ โดยการจัดเก็บภาษีธุรกิจ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการกลายเป็นตัวประกันหรือจำเลย ต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศ

อันนี้ไม่ควรที่ได้รับการประเมินที่ต่ำเกินไป อันตรายในที่นี้คือการข่มขู่เกี่ยวกับ"การสไตร์คการลงทุน" ถือเป็นหนึ่งในอาวุธที่มีอำนาจมากสุดของชนชั้นนายทุน ในการทำให้เกิดความมั่นใจและธำรงรักษาความมีอิทธิพลเอาไว้ เมื่อผลประโยชน์ต่างๆของนายทุนทุกคนได้ถูกทำให้กระทบกระเทือนในทางตรงข้าม โดยการถดถอยทางเศรษฐกิจ ผลประโยชน์ทั้งหลายของบรรดานักลงทุนจะกลายเป็นผลประโยชน์สากล. ดังนั้นบรรดานักลงทุนทั้งหลายจะต้องมีความสุข และผลประโยชน์ต่างๆ ของพวกเขาจะต้องเหนือกว่าคนอื่นๆ ทั้งหมด

4. นับแต่ที่ทฤษฎีระบบสืบทอดอำนาจยอมรับการควบคุมการลงทุนมากกว่าความเป็นเจ้าของด้วยตัวเอง ในฐานะที่เป็นกุญแจสำคัญต่อพัฒนาการในเชิงเหตุผล ดังนั้นมันจึงให้การสนับสนุนการทดลองในปัจจุบันของจีน โดยความหลากหลายเกี่ยวกับรูปแบบต่างๆเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของ เช่น

- การเป็นเจ้าของโดยรัฐ(state ownership)
- การเป็นเจ้าของโดยกรรมสิทธิ์ร่วม(collective ownership)
- การถือหุ้นร่วมกัน(shareholding cooperative)
- การเป็นเจ้าของโดยการจัดการด้วยคนงาน(worker-manager ownership)
- การร่วมลงทุน(joint venture)
- การเป็นเจ้าของโดยนายทุนขนาดเล็ก(petty-capitalist ownership) แม้กระทั่ง
- การเป็นเจ้าของโดยนายทุนใหญ่ และการเป็นเจ้าของโดยนายทุนบรรษัท(corporate-capitalist owneship)

เรารู้จากประสบการณ์ในประวัติศาสตร์ว่า แบบจำลองต้นๆ ของลัทธิสังคมนิยมนั้นล้มเหลว อย่างน้อยที่สุดก็นับได้สองครั้ง พวกเขาไม่ยอมรับข้อมูลที่ควบคุมยากและความยุ่งยากต่างๆ ของแรงกระตุ้นซึ่งมีอยู่แต่กำเนิดในหัวใจของแผนการณ์ ซึ่งจะน้อมนำไปสู่การไร้ประสิทธิภาพอย่างมาก และพวกเขาก็ล้มเหลวที่จะตระเตรียมแรงกระตุ้นต่างๆ สำหรับกิจกรรมเกี่ยวกับการประกอบการที่มีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่ค่อนข้างชัดเจน

ปัญหาเรื่องประสิทธิภาพ สามารถได้รับการแก้ไขให้ลุล่วงไปได้โดยการนำเสนอตลาดต่างๆ เกี่ยวกับการแข่งขัน. ในทฤษฎีอย่างน้อยที่สุด สิ่งนี้สามารถกระทำได้ขณะที่ยังคงความเป็นเจ้าของโดยรัฐ (7) ปัญหาเกี่ยวกับการประกอบการค่อนข้างมีความสลับซับซ้อนมากกว่า สังคมที่กำลังพัฒนา อันที่จริงเศรฐกิจที่มีพลวัตรใดๆก็ตาม ต้องการชนชั้นหนึ่งของปัจเจกชนทั้งหลายที่มีเจตจำนงที่จะรับผิดชอบ และเสี่ยงในการจัดตั้งบริษัทใหม่ๆขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อพัฒนาผลผลิตใหม่ๆ และทำการทดลองเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า. ปัจเจกชนที่ให้บริการที่แท้จริงต่อสังคม พวกเขาควรจะได้รับรางวัลอย่างเหมาะสม

มันไม่ค่อยชัดเจนว่า ปัญหาการประกอบการสามารถได้รับการขจัดให้หมดไปได้ ในระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนจากส่วนกลางอย่างแต่ก่อน ซึ่งกำลังทำการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยเศรษฐกิจโดยปราศจากการยินยอมจากภาคส่วนของทุนอย่างแท้จริงในการพัฒนา นั่นคือ ภาคส่วนของบริษัทต่างๆที่ถูกเป็นเจ้าของโดยปัจเจกชนที่ใช้การว่าจ้างแรงงาน สำหรับด้านหนึ่ง มันได้นำเอาทักษะความชำนาญเกี่ยวกับการประกอบการเพื่อพัฒนาภาคธุรกิจขนาดเล็กซึ่งต้องการความมีประสิทธิภาพมาใช้

เป็นเรื่องง่ายมากสำหรับปัจเจกชนหรือคนกลุ่มเล็กๆที่จะจัดตั้งบริษัทเอกชน(capitalist enterprise) ซึ่งอันนี้ง่ายกว่ากลุ่มคนงานที่จะมาร่วมกันและจัดตั้งบริษัทที่ดำเนินการโดยคนงาน (worker-run enterprise). มากยิ่งไปกว่านั้น บริษัทที่ดำเนินการโดยคนงานทั้งหลาย อาจมีเจตจำนงที่จะนำเอาวิธีการการสุ่มเสี่ยงต่างๆ ซึ่งอาจพิสูจน์ถึงประโยชน์ทางสังคมน้อยกว่าบริษัทเอกชนต่างๆ(capitalist firms)จะทำ เนื่องจากว่า มันต้องปันส่วนกำไรต่างๆนั่นเอง คนงานทั้งหลายในฐานะปัจเจก ไม่สามารถที่จะเก็บเกี่ยวรางวัลสิ่งตอบแทนอันน่าตื่นเต้นที่นายทุนคนหนึ่งสามารถเก็บเกี่ยวได้ เราไม่อาจทราบได้เลยว่าจุดนี้ ประชาธิปไตยเศรษฐกิจจะมีพลวัตรอย่างไร โดยปราศจากภาคส่วนของทุนเอกชน และเราไม่อาจกำหนดได้ถึงสิ่งซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมที่สุดของความเสี่ยงในการประกอบการที่ควรจะเป็น

โดยนิยามความหมาย การดำเนินความเสี่ยงเกี่ยวพันกับความเป็นไปได้เกี่ยวกับความล้มเหลวอย่างมีนัยสำคัญ. ความล้มเหลวต่างๆ ทำให้ทรัพยากรทั้งหลายสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ทั้งในส่วนของทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรทางด้านวัตถุ เราต้องการเศรษฐกิจที่บริษัทต่างๆ มีทั้ง"ความรอบคอบสุขุม"และ"กล้าเสี่ยง". อันนี้เป็นที่เข้าใจได้ ที่จะทำการทดลองกับรูปแบบความเป็นเจ้าของต่างๆ เพื่อค้นพบการผสมผสานที่ถูกต้อง

5. แม้ว่าทฤษฎีระบบสืบทอดจะให้การสนับสนุนสำหรับการยินยอมให้ภาคส่วนของทุนเอกชน เข้ามาเพื่อพัฒนาในสังคมแบบสังคมนิยม แต่มันก็มีคำเตือนต่างๆ เกี่ยวกับอันตรายต่อท่าทีนี้ด้วย. เราแทบไม่อาจคาดเดาได้ว่า ชนชั้นนายทุนจะปรากฏตัวขึ้นมาในประเทศจีน และปรารถนาที่จะเป็นชนชั้นปกครอง. อันที่จริง มันเป็นความเข้าใจในเชิงประจักษ์ของมาร์กเซียนพื้นๆ อันหนึ่งที่ว่าชนชั้นที่ปรากฏขึ้นมาทุกๆ ชนชั้น ต่างมีความปรารถนาในอำนาจทางการเมือง. ถ้าเผื่อว่ามันเป็นความจริง ลัทธิทุนนิยมก็ไม่สามารถที่จะขจัดปัญหาต่างๆเบื้องต้นของจีนให้หมดไปได้ ดังนั้น นโยบายต่างๆจะต้องได้รับการจัดวางอย่างรัดกุม ในการยินยอมให้ชนชั้นนายทุนพัฒนาขึ้นมา แต่ก็จะต้องจำกัดหรือตีวงชนชั้นนี้ให้มีบทบาทรองในทางเศรษฐกิจ

เพื่อจัดทำชุดนโยบายที่เหมาะสมอันหนึ่ง มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะจำแนกบทบาทที่ชัดเจน 2 บทบาท ซึ่งบรรดานายทุนทั้งหลายแสดงออกในเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

- ด้านแรก คือบทบาทเชิงรุก - เป็นบทบาทของการประกอบการ
- ส่วนอีกด้านหนึ่ง คือบทบาทเชิงรับ - นายทุนเป็นเพียงอุปทานหรือผู้จัดหาทุน

บทบาทเดิมๆ ของนายทุนนั้น ซึ่งโดยทั่วไป เป็นเรื่องของความก้าวหน้า(progressive) อันนี้ถือเป็นบทบาทหนึ่งที่ได้รับการเน้นโดยอุดมคติแบบทุนนิยม แต่บทบาทอย่างหลังนั้นมีแนวโน้มที่จะมีอิทธิพลในประเทศทุนนิยมที่ก้าวหน้าต่างๆ และเป็นภาระโดยตรงอันหนึ่งสำหรับคุณลักษณ์ของสังคมทุนนิยมทั้งหลาย ที่ความไม่ยุติธรรม ความไม่เสมอภาคมากๆ และความไร้เหตุผลอย่างลึกล้ำอื่นๆ ของระบบดังกล่าวต้องมีการรับผิดชอบ

ลัทธิทุนนิยมที่ไร้ขีดจำกัด จะเพิ่มเติมความอยุติธรรมหรือความไม่เสมอภาคขึ้นมาตามกาลเวลา ซึ่งได้รับหลักประกันดังกล่าวโดยกฎของคณิตศาสตร์

ลองพิจารณาถึงเศรษฐีคนหนึ่ง - ซึ่งเขามีรายได้สุทธิเกินกว่า 1 พันล้านเหรียญ และได้นำเงินดังกล่าวเข้าสู่ระบบทุนธรรมดาๆ เขาได้ฝากเงินเข้าไปในกองทุนหรือธนาคาร ที่จะให้ผลตอบแทนกลับมา 5% ต่อปี. เงินตอบแทนนี้จะจ่ายคืนให้เขา 50 ล้านเหรียญต่อปี โดยไม่ต้องทำอะไรเลย ปีแล้วปีเล่าโดยตลอด (รายได้ดังกล่าวจะเลื่อนไหลไปเรื่อยๆ อย่างไม่สิ้นสุดไปพร้อมกับความตาย แต่จะส่งทอดไปสู่ทายาททั้งหลายของเขา) ถ้าเผื่อว่าเขาไม่ได้ใช้เงิน 50 ล้านเหรียญไปกับการบริโภคเลย(แม้ว่าจะแทบเป็นไปไม่ได้) และทิ้งเงินก้อนดังกล่าวเอาไว้ในกองทุน เขาจะทำเงินได้มากยิ่งๆ ขึ้นไป จากเงิน 1 พันล้านเหรียญ จะกลายเป็น 2 พันล้านเหรียญใน 15 ปี และจะก่อเกิดรายได้จากดอกเบี้ยเป็น 100 ล้านเหรียญต่อปี และเขาจะมีเงิน 4 พันล้านเหรียญใน 30 ปี ซึ่งถ้าหากว่าเขายังฝากเงินจำนวนนั้นต่อไป เขาก็จะได้ดอกเบี้ย 200 ล้านเหรียญต่อปี ฯลฯ

นั่นคือผลประโยชน์ทบต้นอันน่าอัศจรรย์. ไม่มีนักคณิตศาสตร์คนใดที่รู้สึกประหลาดใจเกี่ยวกับครอบครัวคนอเมริกันที่อยู่ในจุดสูงสุด 1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้แก่บรรดาเศรษฐี 341 คน ปัจจุบันนี้บรรดาเศรษฐีเหล่านั้น เป็นเจ้าของความมั่งคั่งราว 40% ของทรัพย์สินของสหรัฐอเมริกาทั้งหมด (8)

คำถามเบื้องต้นคือว่า สังคมสามารถกระตุ้นและสนับสนุนการพัฒนาชนชั้นนายทุนซึ่งเป็นผู้ประกอบการ โดยปราศจากการเป็นชนชั้นนำและมีความมั่นคงนั้นได้อย่างไร? คำตอบในเชิงทฤษฎีคือการจัดวางนโยบายต่างๆ ที่ยินยอมให้นายทุนผู้ประกอบการทั้งหลายสามารถที่จะเจริญเฟื่องฟูขึ้นมาได้ แต่ต้องสกัดกั้นพวกเขาไม่ให้กลายเป็นนายทุนที่มีบทบาทเชิงรับ. คำถามมีว่า ได้มีชุดนโยบายที่เป็นไปได้นั้นหรือไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้? คำตอบดูเหมือนว่าใช่ อย่างน้อยที่สุดสำหรับประชาธิปไตยเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ได้วางใจนายทุนทั้งหลายในทุนอุปทาน ชุดนโยบายดังกล่าวประกอบด้วยข้อกำหนดต่างๆ ดังต่อไปนี้

- เมื่อนายทุนผู้ประกอบการปรารถนาที่จะขายธุรกิจของเขา (หรือส่วนแบ่งในทางธุรกิจ) รัฐเป็นผู้มีสิทธิ์รายแรกที่จะเป็นผู้ซื้อก่อน
- เมื่อนายทุนผู้ประกอบการถอนตัวหรือเกษียณอายุ เขาจะต้องขายธุรกิจ (หรือส่วนแบ่งในธุรกิจของเขา)
- เมื่อรัฐได้เข้าควบคุมผลประโยชน์ในบริษัท บริษัทนั้นก็จะถูกเปลี่ยนมือไปสู่คนงานทั้งหลาย ซึ่งมีการดำเนินการอย่างเป็นประชาธิปไตย
- รายได้ที่ไม่เกี่ยวกับแรงงานทั้งหมด นั่นคือ รายได้ที่เป็นผลประโยชน์หรือรายได้จากเงินปันผลที่จ่ายเป็นหุ้น จะต้องถูกเรียกเก็บถาษี ตามอัตราภาษีแบบก้าวหน้า (นั่นคือ การเก็บภาษีในอัตราที่เพิ่มขึ้นเป็นขั้นๆ ตามรายได้)

ถ้าการประยุกต์ใช้มาตรการดังกล่าวเป็นไปอย่างรอบคอบ นโยบายต่างๆเหล่านี้ควรจะกักให้ชนชั้นนายทุนอยู่สถานะที่เป็นรอง. เมื่อนายทุนผู้ประกอบการยุติกิจกรรมที่เกี่ยวพันกับธุรกิจ ความเป็นเจ้าของของเขาก็จะต้องยุติลงด้วย ส่วนแบ่งของเขาจะไม่มีการส่งผ่านไปสู่ทายาทหรือลูกหลานทั้งหลายของตน ส่วนแบ่งของเขาจะคืนกลับสู่รัฐ ซึ่งความจริงในเชิงปฏิบัติก็คือ ธุรกิจนั้นจะส่งผ่านไปสู่กลุ่มคนงาน ความเป็นเจ้าของจะไม่รวมศูนย์ในมือของปัจเจกชนหรือเป็นส่วนตัว. รายได้ทรัพย์สินในตัวของมันเองจะอยู่ภายใต้การตรวจสอบโดยภาษีในอัตราก้าวหน้า หรือเพิ่มขึ้นเป็นขั้นๆ

เป็นเรื่องที่สำคัญซึ่งควรหมายเหตุลงไปว่า ความต้องการต่างๆที่ถูกควบคุมไม่ใช่รายได้ของปัจเจกบุคคลในตัวของมันเอง แต่จะมีการควบคุมความเป็นเจ้าของของเขาเกี่ยวกับส่วนแบ่งขนาดใหญ่กว่าในทางเศรษฐกิจ. ภาษีรายได้เป็นตัวอย่าง ไม่ควรถูกแบ่งเป็นขั้นๆ สูงมากจนเกินไปเพื่อป้องกันการบริโภคของนายทุนในอัตราสูง ความเป็นไปได้เกี่ยวกับการบริโภคในอัตราที่สูง คือสิ่งซึ่งกำลังถูกนำมาใช้เพื่อกระตุ้นกิจกรรมการประกอบการ สิ่งที่ต้องการได้รับการตรวจสอบคือรายได้ที่มากเกินไป

เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำความเข้าใจว่า เงื่อนไขหรือปัจจัยที่ไม่มั่นคงในเศรษฐกิจทุนนิยม ไม่ใช่สิ่งที่นายทุนบริโภค แต่เกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาไม่บริโภค. สิ่งที่นายทุนทั้งหลายไม่บริโภคก็เพราะว่า เขาต้องการประหยัดหรือรักษาทุนเอาไว้ แต่อย่างไรก็ตาม ดังที่ Keynes ให้กระจ่างชัดว่า การสะสมหรือการประหยัดนี้สามารถนำไปสู่ความไม่มั่นคงได้. ถ้าการสะสมต่างๆไม่ได้นำไปลงทุนให้เกิดผลในเศรษฐกิจภายใน หากเป็นเช่นนั้น ก็จะก่อให้เกิดอุปสงค์รวมที่ต่ำลง และเกิดความตกต่ำและการถดถอยทางเศรษฐกิจตามมา

เมื่อปัจเจกชนทั้งหลายควบคุมกระบวนการลงทุน รัฐบาลก็จะตกเป็นตัวประกันของความเชื่อมั่นของผู้คนเหล่านี้. ดังนั้น สิ่งสำคัญอย่างยิ่งของการก่อเกิดขนาดเกี่ยวกับเงินลงทุนของสังคมก็คือ ระบบการจัดเก็บภาษี มากกว่ามาจากการสะสมหรือการประหยัดของเอกชน และการมีนโยบายภาษีนั้นจะทำให้คนที่ประหยัดและมีทรัพย์สมบัติร่ำรวยอยู่ภายใต้การตรวจสอบ
6. แม้ว่าทฤษฎีระบบสืบทอดอำนาจจะสนับสนุนการทดลองด้วยรูปแบบต่างๆของความเป็นเจ้าของ แต่มันก็ชี้ถึงอันตรายอันหนึ่งโดยเฉพาะสำหรับเศรษฐกิจที่เปลี่ยนผ่านต่างๆ. ทฤษฎีดังกล่าว เรียกร้ององค์ประกอบ 2 ประการ คือ

1. การยืนยันเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานทั้งหลายของลัทธิวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ และ
2. แบบจำลองทางเศรษฐกิจ

องค์ประกอบประการหลังนี้ของทฤษฎีเสนอว่า ดังที่ได้บันทึกไว้ จีนควรจะสนับสนุนการพัฒนาเกี่ยวกับประชาธิปไตยในที่ทำงาน. ส่วนองค์ประกอบลัทธิวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ทำให้พวกเราไวต่อประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการต่อสู้ทางชนชั้น. มันเตือนเราให้ตระหนักในข้อเท็จจริงที่ว่า จีนได้ทำการทดลองรูปแบบการเป็นเจ้าของอย่างหลายหลาก ชนชั้นที่แตกต่างจะมีผลประโยชน์ที่ต่างกัน

บรรดาคนงานทั้งหลาย แน่นอน จะชอบหรือยกย่องคนงานที่มีการควบคุม ในอีกด้านหนึ่ง บรรดาผู้บริหารและนักจัดการทั้งหลายต่างมีลักษณะที่ไม่ค่อยแน่นอน บวกและลบ-ขึ้นๆลงๆ. บรรดาผู้บริหารจัดการสูงสุดของรัฐ - ที่เป็นเจ้าของบริษัท และเป็นเจ้าของบริษัทร่วมกัน จะอยู่ในท่าทีที่สงบนิ่งในการดำรงความเป็นเจ้าของบริษัทต่างๆของพวกเขา นั่นคือ การเป็นนายทุนต่างๆ

พวกเขาอาจต้องการการสนับสนุนของกลุ่มแรงงานเพื่อวางแผนการซื้อขายหุ้นของบริษัทของรัฐ หรือบริษัทที่เป็นกรรมสิทธิ์ร่วม แต่พวกเขาโดยสัญชาตญาน ต่างต่อต้านการฝ่าฝืนหรือละเมิดต่อความเป็นอิสระในการจัดการของตัวเองของพวกเขา - จากรัฐ, จากเมือง, หรือกลุ่มแรงงานของพวกเขาเอง. (ผู้บริหารจัดการทั้งหลายของบริษัทต่างๆ ในลัทธิทุนนิยมตะวันตกก็มีท่าทีต่อต้านในทำนองเดียวกันต่อการแทรกแซงของภายนอก รวมทั้งที่เกี่ยวกับผู้ถือหุ้นของบริษัทด้วย บรรดาผู้บริหารจัดการทั้งหลายมักจะต้องการความเป็นอิสระ ไม่ว่าความเป็นอิสระนี้จะอยู่ร่วมกันได้กับผลประโยชน์ในระยะยาวของสังคมหรือไม่ก็ตาม)

ด้วยเหตุดังนั้น ถ้ามีความเป็นไปได้สำหรับผู้จัดการทั้งหลายที่จะถูกควบคุมอย่างเต็มที่ โดยบริษัทที่เป็นเจ้าของโดยคนงานซึ่งค่อนข้างเป็นไปแบบไม่ดีนัก ข้อสรุปซึ่งดูท่าจะไม่ค่อยดีที่ตามมาคือ บรรดาผู้จัดการทั้งหลายจะมีแรงกระตุ้นที่เข้มแข็งอันหนึ่งที่จะมองว่า บริษัทที่เป็นเจ้าของโดยคนงานนั้นล้มเหลว

กรณีของโรงงานจิงไวน์ ที่รายงานโดย The Washington Post เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับกรณีนี้ (9) โรงงานจิงไวน์ที่ตั้งอยู่ในเมือง Pan Daye ได้ถูกขายให้แก่คนงาน 700 คนของโรงงานในปี ค.ศ.1997, กองหุ้นต่างๆได้ถูกซื้อโดยบรรดาผู้จัดการอาวุโส โดยผู้อำนวยการคนก่อนได้ทำการซื้อปริมาณมากที่สุด. ผู้อำนวยการได้ถูกสงวนไว้โดยบรรดาคนงาน แม้ว่าตามข้อเท็จจริงเขาต้องการซื้อโรงงานด้วยตัวของเขาเองทั้งหมด แต่ได้ถูกปฏิเสธโดยผู้มีอำนาจในเมืองแห่งนั้น

เขารู้สึกไม่เป็นสุขนัก และกล่าวว่า "ภายใต้ระบบแบบเก่า ผมต้องการได้รับการอนุมัติจากเจ้าหน้าที่ของพรรค, แต่ภายใต้ระบบแบบใหม่ผมต้องการได้รับการอนุมัติจากบรรดาคนงานทั้งหลาย" เขารู้สึกท้อแท้และสิ้นหวัง. "ด้วยความซื่อสัตย์ ผมค่อนข้างเผลอไป หัวใจของผมไม่ได้อยู่กับมัน เมื่อการปฏิบัติการล้มเหลว พูดอย่างตรงไปตรงมาผมมีบางสิ่งบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับมัน" (ความตรงไปตรงมาของผู้จัดการในที่นี้เป็นสิ่งที่น่าแปลกใจ)

โรงงานดังกล่าวเริ่มสูญเงิน บรรดาเจ้าหน้าที่พรรคตัดสินใจพลิกกลับการขาย โดยให้บรรดาคนงานขายหุ้นต่างๆของพวกตนให้กับผู้อำนวยการ. การคัดค้านเป็นไปอย่างเข้มข้นและรุนแรง แต่ในท้ายที่สุดก็ไร้ความหมาย. หญิงคนหนึ่งร้องไห้และกล่าวด้วยน้ำตาว่า "ฉันเชื่อมั่นในผู้จัดการวู แต่เขากำลังซื้องานของเราที่ทำมาเป็นเวลาสิบปีของพวกเรา มาถึงตอนนี้เราเป็นเพียงคนงานของเขาเท่านั้น โรงงานแห่งนี้ไม่ใช่ของพวกเราอีกต่อไปแล้ว" ในตอนจบ ผู้จัดการวูได้รับผลประโยชน์ไปเป็นจำนวนมาก. ธนาคารต่างๆของรัฐให้เขากู้เงินตามที่เขาต้องการ ซึ่งเป็นจำนวน 20% น้อยกว่ามูลค่าที่ประเมินของโรงงาน. ปัจจุบัน เขาเป็นเจ้าของผลกำไร บริษัททุนที่ขายได้ต่อปีถึง 35 ล้านเหรียญ

เนื้อหาที่ได้รับการรายงานข้างต้น The Washington Post ได้ตั้งชื่อบทความนี้ว่า"คนงานในจีนล้มเหลวที่จะเป็นเจ้าของโรงงาน" มุมมองของทฤษฎีสืบทอดอำนาจเสนอข้อสรุปที่ต่างออกไป ไม่ใช่ว่าบริษัททุนธุรกิจไม่มีที่ทางในสังคมนิยมอย่างจีน แต่ข้อถกเถียงนั้นสำหรับความเหนือกว่าของการซื้อขายหุ้นของผู้จัดการในเชิงเปรียบเทียบกับบริษัทประชาธิปไตยต่างๆ วางพื้นฐานอยู่บนความล้มเหลวของอย่างหลัง ซึ่งควรจะได้รับการปฏิบัติด้วยความสงสัยและกังขาอย่างยิ่ง. นโยบายต่างๆ ต้องได้รับการวางหรือกำหนดกรอบในลักษณะที่ต่อต้าน/ขัดขวางความยั่วยวนใจของผู้จัดการ ที่จะทำลายประชาธิปไตยในที่ทำงาน

(จบตอนที่ ๑ คลิกไปอ่านต่อตอนที่ ๒)



 





บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 900 เรื่อง หนากว่า 13000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

H
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี
ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์ประกอบบทความฟรีของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์
R
related topic
250549
release date
เว็บไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
ขนาด medium จะแก้ปัญหาได้
เว็บไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานไปที่ midarticle(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work
and immediately places it in the public domain... [copyleft]
กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร
เว็ปไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอพระขอบคุณในการอนุเคราะห์ให้ใช้พื้นที่ฟรี เพื่อการเผยแพร่ความรู้ต่อสังคมจาก www.thaiis.com
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน จะได้รับการเก็บรักษาเอาไว้อย่างถาวร โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิง ความผิดพลาดใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นจากการเผยแพร่ อาจเป็นของผู้เขียนหรือกองบรรณาธิการ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้โดยไม่เจตนา
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน มีการเสนอบทความใหม่ทุกวัน เพื่อสนองความต้องการของนักศึกษา และผู้สนใจที่คลิกเข้ามาหาความรู้เป็นประจำ
The Midnightuniv website 2006
แต่ในปี ค.ศ.1970 จีนมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจอันหนึ่งซึ่งได้ใช้คนงานราว 50 ล้านคน และคำนวณมูลค่าแล้วมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP. มูลค่าของผลผลิตที่ออกมาส่วนใหญ่ทางด้านอุตสาหกรรมมีการเจริญงอกงามถึง 38 เท่า และที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมหนักเจริญเติบโตถึง 90 เท่า. ประเทศจีนกลายเป็นเครื่องบินเจ็ททางด้านอุตสาหกรรม มีเรือเดินสมุทรต่างๆที่ทันสมัย, มีแสนยานุภาพอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธเคลื่อนที่ต่างๆ ในด้านชนบท การชลประทานขนาดมหึมาและการควบคุมน้ำได้รับการสร้างขึ้น. ประชากรที่ไม่รู้หนังสือส่วนมากได้ถูกปรับเปลี่ยนไปสู่การเป็นประชากรที่รู้หนังสือส่วนใหญ่.