นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ

 

 

 

 




The Midnight University


มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป
คำประกาศเกียรติคุณแด่นายสุชาติ สวัสดิศรี
สุลักษณ์ ศิวรักษ์
ประธานกรรมการ
มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป

หมายเหตุ
แถลงการณ์เพื่อประกาศเกียรติคุณนักคิด นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์ประจำปี ๒๕๔๘
โดยมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป
วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๘
ข้อความทั้งหมดนี้ อนุญาตให้เผยแพร่ได้บนสื่อทุกชนิด

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 779
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๘



คำประกาศเกียรติคุณ
นายสุชาติ สวัสดิศรี

มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป ขอมอบรางวัลเกียรติคุณแด่นายสุชาติ สวัสดิศรี ในโอกาสร้อยปีศรีบูรพา (๓๑ มีนาคม ๒๕๔๘) และดิเรก ชัยนาม (๑๘ มกราคม ๒๕๔๘) เป็นเงินหนึ่งแสนบาท เพราะเห็นว่าถ้านายสุชาติไม่ได้ร่วมเป็นกรรมการตัดสินรางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปีศรีบูรพา เขาน่าจะได้รับเกียรติคุณดังกล่าว

ไม่ว่าจะในฐานะนักคิดนักเขียน หรือนักหนังสือพิมพ์ แม้จนนักต่อสู้เพื่อสันติ แม้บุคคลที่ได้รับรางวัลทั้งสามนั้น จะเป็นคนที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในสังคม ที่น่าสงสัยก็คือไม่มีใครที่สมควรแก่เกียรติคุณดังกล่าวยิ่งกว่าทั้งสามคนนี้ละหรือ และที่น่าสงสัยยิ่งกว่านี้ก็ตรงที่องค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะกรรมการตัดสินรางวัล โดยที่กรรมการแต่ละคนได้ใช้วิจารณญาณมากน้อยเพียงใด ใช้อคติหรือสติปัญญาเป็นแนวทางของการตัดสิน แต่นี่ก็คล้ายๆ กับรางวัลอื่นๆ โดยมาก ไม่ว่าจะศิลปินแห่งชาติ หรือซีไรท์

ในฐานะนักคิดนักเขียน นายสุชาติมีผลงานที่แหลมคมและไม่เคยผลิตงานกึ่งดิบกึ่งดีออกมาเลยก็ว่าได้ ในฐานะนักหนังสือพิมพ์ เขายืนหยัดในทางเสรีภาพแห่งการแสดงออก จนนิตยสารที่เขาเป็นบรรณาธิการถูกยึดเอาไปโดยนักวิชาการจอมปลอม (สังคมศาสตร์ปริทัศน์) หาไม่นายทุนก็สู้กับการขาดทุนไม่ไหว (โลกหนังสือ) โดยไม่รวมถึงการที่ต้องอำลาจากเวทีของ บานไม่รู้โรย ไป โดยเขาได้ต่อสู้เพื่อสันติภาพ อิสรภาพ และเสรีภาพตลอดมา โดยอยู่นอกแวดวงของทางราชการหรือสถาบันกระแสหลัก อย่างยากที่คนซึ่งตาไม่มีแววจะเข้าใจได้

ความเป็นอิสรชนของเขา ไปพร้อมกับความไม่มั่นคงในชีวิต หากเขามีลูกและเมียที่เข้าใจเขา และเจริญรอยตามเขาในสังเวียนแห่งวรรณกรรม โดยที่เขาเองก็หันมาแสวงหาเอกลักษณ์ใหม่ในทางจิตรกรรมอีกด้วย นับว่าการเป็นผู้ใฝ่ในทางความงามนั้น ไปพร้อมกับจุดยืนในทางความดีและความจริง อย่างยากที่จะหาใครในยุคร่วมสมัยที่จะดำเนินวิถีชีวิตไปได้เช่นนี้

นอกไปจากนี้แล้ว มูลนิธิฯ ยังได้เลือกให้เขาเป็นปาฐก ไปแสดงบรรยายเกียรติคุณของศรีบูรพา (นอกเหนือการอุทิศตนของเขากับภรรยาเขา ที่ช่วยชำระงานพิมพ์ของศรีบูรพาอย่างไม่หวังผลใดๆ ยิ่งกว่าใครๆ ในระยะหลังนี้) และนายดิเรก ชัยนาม ที่กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคมนี้ เนื่องในโอกาสชาตกาลครบศตวรรษของท่านทั้งสอง (นายดิเรก ก็เป็นคนอาภัพ ที่ไม่ได้รับการยกย่องกิตติคุณเท่าที่ควร คล้ายๆ นายสุชาติด้วยเหมือนกัน) และเป็นการฉลองการประกาศวันสันติภาพครบ ๕ รอบนักษัตรอีกด้วย

ด้วยเหตุผลสั้นๆ ดังได้แสดงมา มูลนิธิฯ จึงใคร่ขอมอบรางวัลเกียรติคุณแด่นายสุชาติ สวัสดิศรี เป็นเงินหนึ่งแสนบาท ในโอกาสเปิดงานแสดงภาพเขียนของเขา ณ ศูนย์ศิลปจามจุรี ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับสำนักงานเก่าของสังคมศาสตร์ปริทัศน์เอาเลยก็ว่าได้) ณ วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๘

อนึ่ง ขอเรียนเพิ่มเติมให้ทราบว่า มูลนิธิฯ เป็นหน่วยงานแรกที่มอบรางวัลวรรณกรรมดีเด่นแด่นายอังคาร กัลยาณพงศ์ เป็นเงินสี่หมื่นบาท แต่ พ.ศ. ๒๕๑๕ (ซึ่งเทียบกับเงินในบัดนี้ก็คงเกินกว่าสี่แสนบาท) โดยที่เวลานั้นนายอังคารยังไม่ได้รับรางวัลหนึ่งใดเอาเลยด้วยซ้ำ

ยังการมอบรางวัลให้นักเขียนอีก ๓ คน นั้นเล่า ก็เป็นการท้าทายแนวคิดหลักของกองทุนศรีบูรพาด้วยซ้ำไป เช่นแด่นายเปลื้อง วรรณศรี กับ นายสุพจน์ ด่านตระกูล ในปี ๒๕๓๙ และนายทวีป วรดิลก ในปี ๒๕๔๗

ทั้งนายเปลื้องและนายทวีป ได้รับรางวัลจากมูลนิธิฯ ไปไม่ทันไร ก็ตายจากไป นับว่ามูลนิธิได้สนองคุณนักเขียนที่สำคัญทันตาเห็นของเขาทั้งคู่ ส่วนนายสุพจน์ ด่านตระกูลนั้น ต่อมายังได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นทางด้านประชาธิปไตย ในโอกาสฉลอง ๗๐ ปี แห่งการอภิวัตน์ของสยาม ในปี ๒๕๔๕ อีกด้วย (นายสัมผัส พึ่งประดิษฐ์ ก็ได้รับรางวัลนี้ด้วย)

ตามที่บรรยายมาทั้งหมดนี้ เชื่อว่าท่านทั้งหลายคงเห็นดีเห็นงามด้วย อย่างน้อยนายสุชาติ สวัสดิศรีก็มีคุณค่าทางด้านนักคิดนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ และนักต่อสู้เพื่อสันติภาพ ไม่ด้อยไปกว่าบุคคลทั้ง ๓ ที่ได้รับรางวัลไปเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายนนี้เลย

ด้วยไมตรีจิต
สุลักษณ์ ศิวรักษ์
ประธานกรรมการ มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป
๒ ธันวาคม ๒๕๔๘


 

 



บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 700 เรื่อง หนากว่า 10000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

H
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี