ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้เป็นสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ : Release date 19 November 2009 : Copyleft

R. Scott Appleby นักวิชาการด้านเทววิทยาที่เสนอทฤษฎีมูลฐานนิยม ซึ่งได้ให้คำนิยามความเป็นมูลฐานนิยมที่ต่างจากเดิมในมุมมองที่ได้วิเคราะห์แล้วในหนังสือ Headline Series, Religious Fundamentalisms and Global Conflict (เมษายน 1994) ว่า เป็นการจำแนกประเภทการเคลื่อนไหวของคนกลุ่มหนึ่งที่เป็นกลุ่มเฉพาะตน โดยไม่ได้เป็นการเคลื่อนไหวทางศาสนาดั้งเดิม เขาชี้ว่า แม้ว่ากลุ่มมูลฐานนิยมจะอ้างถึงการเป็นกลุ่มเคร่งศาสนาและปกป้องวิถีทางศาสนาแบบดั้งเดิมก็ตาม แต่คนกลุ่มนี้ก็เขียนทฤษฎีใหม่ขึ้นมาและสร้างสูตรอุดมการณ์ขึ้นมาใหม่ โดยรับเอาโครงสร้าง และกระ บวนการใหม่ๆ เข้ามา เพราะอันที่จริงแล้ว กลุ่มมูลฐานนิยมเองก็มองเห็นข้อบกพร่องของผู้ยึดถือความเชื่อเหมือนกันที่ต้องการอนุรักษ...

 

H



19-11-2552 (1769)

คำอธิบายโดยสังเขปเกี่ยวกับการเมืองการปกครองร่วมสมัย
Hegemony Theory / Fundamentalism / Globalizationism โดยสังเขป
เมธินี ไชยคุณา: ผู้วิจัย
ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความวิชาการต่อไปนี้ นำมาจากงานวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโท เรื่อง
"บทบาทของออสเตรเลียต่อประเด็นการก่อการร้ายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กรณีศึกษาการลอบวางระเบิดสถานที่ท่องเที่ยวในเกาะกูตา บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย"
โดยคัดลอกมาบางส่วนจากบทที่ ๒ " แนวคิดในการศึกษาและทบทวนวรรณกรรม"
โดยสาระสำคัญเป็นการพิจารณาถึงประเด็น Hegemony Theory /
Fundamentalism / Globalizationism โดยสังเขป ดังหัวข้อต่อไปนี้...
- ทฤษฎีการครอบครองความเป็นเจ้า (Hegemony Theory)
- การครอบครองความเป็นเจ้าด้านการเมือง(Political Hegemony)
- การครอบครองความเป็นเจ้าด้านวัฒนธรรม (Cultural Hegemony)
- การครอบครองความเป็นเจ้าด้านการเงิน (Monetary Hegemony)
- ข้อวิพากษ์ทฤษฎีการครอบครองความเป็นเจ้า
- แนวคิดมูลฐานนิยม (Fundamentalism)
- กำเนิดลัทธิมูลฐานนิยมในสหรัฐอเมริกา
- ข้อวิพากษ์หลักต่อ "ลัทธิมูลฐานนิยม"
- Religious Fundamentalisms and Global Conflict
- ทฤษฎีโลกาภิวัฒน์ (Globalizationism)
(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "การเมืองการปกครองร่วมสมัย")

สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๖๙
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๖.๕ หน้ากระดาษ A4 โดยไม่มีภาพประกอบ)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

คำอธิบายโดยสังเขปเกี่ยวกับการเมืองการปกครองร่วมสมัย
Hegemony Theory / Fundamentalism / Globalizationism โดยสังเขป
เมธินี ไชยคุณา: ผู้วิจัย
ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษา
การศึกษาบทบาทด้านความมั่นคงของออสเตรเลีย กรณีการโจมตีออสเตรเลียของกลุ่มก่อการร้ายสากลในอินโดนีเซีย เป็นการศึกษาที่อิงแนวคิดด้านรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทฤษฎีที่นำมาใช้อธิบายและศึกษาจึงนำเอาทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใช้ในการศึกษา 3 ทฤษฎีดังต่อไปนี้

1. ทฤษฎีการครอบครองความเป็นเจ้า (Hegemony Theory)
2. แนวคิดมูลฐานนิยม (Fundamentalism)
2. ทฤษฎีโลกาภิวัฒน์ (Globalizationism)

1. ทฤษฎีการครอบครองความเป็นเจ้า (Hegemony Theory)
เป็นทฤษฎีที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความมีเสถียรภาพของอำนาจทางการเมือง และ
การควบคุมทางสังคมในสังคมทุนนิยมประชาธิปไตย ซึ่งในปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่ของโลกมีสังคมลักษณะดังกล่าว เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันตก นอกจากนี้ยังเป็นทฤษฎีที่พยายามอธิบายการเกิดขึ้นของภาวะวิกฤติต่างๆ การเกิดสงครามโลก หรือแม้แต่สภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ทฤษฎีนี้ยังเป็นที่นิยมในกลุ่มนักรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยใหม่ ในการนำมาอธิบายการเกิดสภาวการณ์การก่อการร้ายรูปแบบใหม่ในปัจจุบัน

นักคิดต้นตำรับทฤษฎีนี้คือ Antonio Gramsci (*) (**) ในปี ค.ศ. 1971 แกรมชี่ได้แสดงความเห็นว่า พลังอำนาจทางการเมืองในประเทศเสรีประชาธิปไตยที่แท้จริงไม่ได้ถูกแสดงผ่านรูปแบบที่รัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจนั้น ในลักษณะของการจองจำนักโทษการเมืองในคุก, การสังหารผู้ประท้วงคัดค้าน แต่พลังอำนาจทางการเมืองที่แท้จริงได้ถูกใช้ผ่าน "อุดมการณ์" (Ideology) หรือ ทัศนคติ/มุมมองที่สำคัญในการมองโลก ซึ่งความคิดและสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นมาเป็นอุดมการณ์ โดยทั่วไปจะถูกกำหนดขึ้นมาโดยผู้ปกครอง ด้วยอำนาจที่ได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และ"อุดมการณ์"นี้เองที่เป็นตัวช่วยให้ผู้ปกครองสามารถปกครองพลเมืองของตนได้อย่างราบรื่น หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นที่ยอมรับของพลเมือง เป็นการยอมรับด้วยใจไม่ใช่ด้วยการบังคับ/ใช้กำลัง (***)

(*) Antonio Gramsci (January 22, 1891 - April 27, 1937) was an Italian philosopher, writer, politician and political theorist. A founding member and onetime leader of the Communist Party of Italy, he was imprisoned by Benito Mussolini's Fascist regime. His writings are heavily concerned with the analysis of culture and political leadership and he is notable as a highly original thinker within the Marxist tradition. He is renowned for his concept of cultural hegemony as a means of maintaining the state in a capitalist society.

(**) Hegemony is the political, economic, ideological or cultural power exerted by a dominant group over other groups, regardless of the explicit consent of the latter. While initially referring to the political dominance of certain ancient Greek city-states over their neighbours, the term has come to be used in a variety of other contexts, in particular Marxist philosopher Antonio Gramsci's theory of cultural hegemony.

Politically, hegemony is the predominance of one political unit over others. Examples include a province within a federation (Prussia in the German Empire) or one person among a committee (Napoleon Bonaparte in the Consulate).
Since the nineteenth century, especially in historical writing, hegemony describes one state's predominance over other states (e.g. Napoleonic France's European hegemony, the United States' world hegemony). By extension, hegemonism denotes the policies the great powers practice in seeking predominance, leading, then, to a definition of imperialism.

In the early 20th Century, Italian political scientist Antonio Gramsci developed the concept cultural hegemony by transposing political hegemony beyond international relations to the structure of social class, arguing that cultural hegemony showed how a social class exerts cultural "leadership" or dominance of other classes in maintaining the socio-political status quo. Cultural hegemony identifies and explains domination and the maintenance of power and how the (hegemon) leader class "persuades" the subordinated social classes to accept and adopt the ruling-class values of bourgeois hegemony.

(***) ณัฐวดี ดวงตาคำ, "การสร้างภาพลักษณ์นางอองซาน ซูจี ผ่านการรายงานข่าวของสื่อมวลชนข้ามชาติ: ค.ศ. 1988-2003" วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549 หน้า 19

ชุดของความคิดหรืออุดมการณ์ในสังคมแบบนี้ ได้แก่ ความคิดที่ว่า "กษัตริย์ คือผู้ได้รับพรจากพระเจ้า" ดังนั้นจึงมีความชอบธรรมและความถูกต้องที่กษัตริย์จะเป็นผู้ปกครอง แนวคิดนี้ในปัจจุบันอาจจะเก่าคร่ำคร่า แต่ก็เป็นความคิดที่ช่วยให้คนสมัยโบราณปกครองสังคมได้ยาวนานนับเนื่องหลายศตวรรษ โดยทฤษฎีการครอบครองความเป็นเจ้าแบ่งออกได้ 3 แนวทางคือ

1) Political Hegemony
2) Cultural Hegemony
3) Monetary Hegemony

1) การครอบครองความเป็นเจ้าด้านการเมือง(Political Hegemony)
คือการสถาปนาระบบการเมืองระบบหนึ่งให้กลายเป็นระบบหลักของสังคม เช่น ปกครองในระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน จะใช้รูปแบบการเลือกตั้งตัวแทน ส.ส. ผ่านพรรคการเมือง. ส่วนการการรวมตัวของกลุ่มคนที่มีปัญหาและต้องการแก้ปัญหาโดยตรง ซึ่งไม่ผ่านระบบตัวแทน จัดเป็นรูปแบบที่ต่างออกไปและไม่มีความชอบธรรม ทั้งถูกมองว่าเป็นการก่อให้เกิดความไม่สงบในสังคมเป็นต้น

2) การครอบครองความเป็นเจ้าด้านวัฒนธรรม (Cultural Hegemony)
คือการสร้างระบบวิธีคิด โลกทัศน์ ความเชื่อ และค่านิยมของชนชั้นหนึ่งให้เป็นระบบคิดหลัก และกีดกันระบบคิดอื่นออกไปอยู่ชายขอบ ตามปกติ อุดมการณ์หลักของสังคมแต่ละแห่ง คือชุดของแนวคิดพื้นฐาน ซึ่งจัดเป็นสามัญสำนึกของพลเมืองในสังคมนั้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ร่องรอยของการจัดสรรอำนาจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย อุดมการณ์หลักของสังคม ทำให้โครงสร้างของอำนาจดูราวกับว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ เรื่องปกติธรรมดา หรือเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่อุดมการณ์หลักจะถูกท้ายทายเป็นระยะ

ตามความเชื่อของแกรมชี่ อุดมการณ์เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น เมื่อถูกสร้างขึ้นโดยไม่ได้มีอยู่ตามธรรมชาติ จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จักต้องถูกท้าทายด้วยอุดมการณ์ใหม่ๆ จากกลุ่มอำนาจอื่นที่แสวงหาอำนาจเช่นกัน. การสร้างและเผยแพร่อุดมการณ์ เป็นกระบวนการที่ค่อนขางสลับซับซ้อน ในแง่นี้สถาบันวัฒนธรรมจะมีบทบาทอย่างสำคัญ ในฐานะเป็นผู้สร้างมุมมองโลกที่สำคัญแก่พลเมืองของสังคม นอกเหนือจากสถาบันครอบครัว องค์กรศาสนา และสถาบันสื่อมวลชน

3) การครอบครองความเป็นเจ้าด้านการเงิน (Monetary Hegemony)
การครอบครองความเป็นเจ้าด้านการเงิน หรือเศรษฐกิจ เป็นศัพท์ใหม่นอกเหนือจากที่
Gramsci ได้นิยามไว้ โดยผู้เริ่มนิยามคือ Michael Hudson (*) อธิบายว่า เป็นการสร้างมาตรฐานด้านการเงินของรัฐใดรัฐหนึ่ง แต่ได้มีอิทธิพลเหนือระบบการจัดการด้านการเงินระหว่างประเทศ เช่น ความสัมพันธ์ของค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ กับ เศรษฐกิจโลก ที่ดอลลาร์สหรัฐฯ สามารถชี้นำ กระแสค่าเงินในตลาดโลกได้ทุกครั้ง และเป็นตัวแปรของสถานะทางเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ (**)

(*) Michael Hudson (born in 1939, Chicago, Illinois, USA) is Distinguished Research Professor of Economics at University of Missouri, Kansas City (UMKC). He is also a Wall Street analyst and consultant as well as president of The Institute for the Study of Long-term Economic Trends (ISLET) and a founding member of International Scholars Conference on Ancient Near Eastern Economies (ISCANEE).

(**) ดำริรัตน์ รัตนรังสี. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ : แสวงสุทธิการพิมพ์, 2531.

ข้อวิพากษ์ทฤษฎีการครอบครองความเป็นเจ้า
ข้อวิพากษ์ทฤษฎีการครอบครองความเป็นเจ้า ประการหนึ่งก็คือ การถกเถียงในประเด็นที่นักวิชาการสาย Hegemony เชื่อว่า พลังของขบวนการทางสังคมมีรากฐานมาจากการเมืองและ การเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาข่าวในสื่อมวลชน เนื่องจากนักวิชาการบางคนเห็นว่า ทฤษฎี Hegemony มักจะมองพลเมืองในลักษณะที่เป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้น เพื่อทำกิจกรรมในลักษณะท้าทายอำนาจรัฐ (ขบวนการทางสังคม) และมีพลังที่ประกอบขึ้นจากองค์ประกอบหลายส่วน โดยที่สื่อมวลชนเข้ามามีอิทธิพลต่อการเข้าเป็นสมาชิก และลดคุณค่าความสำคัญของขบวนการลง ทั้งๆที่หลายครั้งขบวนการทางสังคมมักจะเรียนรู้ในการปรับยุทธวิธีการต่อสู้ เข้าหาพลังอำนาจของเศรษฐกิจระบบทุนนิยมและรัฐบาล

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นถกเถียงเรื่องแนวคิดที่นักทฤษฎี Hegemony แบ่งแยก "การปฏิรูป"ออกจาก"การปฏิวัติ"อย่างชัดเจน ทั้งๆ ที่ขบวนการทางสังคมที่มีเป้าหมาย ไม่ว่าจะปฏิรูปหรือปฏิวัติ ต่างมีความสัมพันธ์กันอยู่ และเป็นความสัมพันธ์ที่ต้องพิจารณาด้วยเหตุผลเป็นกรณีๆ ไป

ทฤษฎีการครอบครองความเป็นเจ้า สามารถนำมาอธิบายการสร้างวาทกรรมของสองขั้วอำนาจที่มีปัญหาความขัดแย้งกันในปัจจุบัน โดยเฉพาะแนวคิดการครอบครองความเป็นเจ้าด้านวัฒนธรรม ซึ่งสามารถอธิบายการสร้างวาทกรรมหรือระบบวิธีคิด ความเชื่อ และโลกทัศน์ของทั้งสองขั้ว ทั้งขั้วสมัยใหม่นิยมชาติตะวันตก-มหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา และของฝ่ายลัทธิมูลฐานนิยม(Fundamentailism) ที่รวมถึงกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงซึ่งนำเอาความเคร่งครัดทางศาสนามาเป็นเป้า กระตุ้นให้มุสลิมทั่วไปมีโลกทัศน์ในเชิงลบกับชาติตะวันตก

2. แนวคิดมูลฐานนิยม (Fundamentalism)
Fundamentalism หรือ "มูลฐานนิยม"(*) เป็นคำนิยามที่เกิดขึ้นใหม่ และมีการใช้อย่างแพร่หลาย. Fundamentalism โดยความหมายแล้ว เป็นคำอธิบายถึง อุดมการณ์ หรือ ทัศนคติที่เคร่งครัดและสม่ำเสมอต่อหลักการเบื้องต้น ในปัจจุบันมักใช้เชื่อมโยงกับกลุ่มเคร่งครัดศาสนาจนถึงขั้นหัวรุนแรง โดยใช้กับศาสนาต่างๆ รวมทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม และจูดาห์ เช่น การปฏิบัติตามนักบวชที่ติดตามพระเยซูคริสต์ในสมัยที่พระเยซูยังมีชีวิตอยู่ ในทุกกรณี โดยไม่ปรับเปลี่ยนตนเองให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน

(*) Fundamentalism refers to a belief in a strict adherence to a set of basic principles (often religious in nature), sometimes as a reaction to perceived doctrinal compromises with modern social and political life.

The term fundamentalism was originally coined to describe a narrowly defined set of beliefs that developed into a movement within the Protestant community of the United States in the early part of the 20th century, and that had its roots in the Fundamentalist-Modernist Controversy of that time. Until 1950, there was no entry for fundamentalism in the Oxford English Dictionary; the derivative fundamentalist was added only in its second 1989 edition. The term has since been generalized to mean strong adherence to any set of beliefs in the face of criticism or unpopularity, but has by and large retained religious connotations.

Fundamentalism is commonly used as a pejorative term, particularly when combined with other epithets (as in the phrase "Muslim fundamentalists" and "right-wing/left-wing fundamentalists"). Richard Dawkins has used the term to characterize religious advocates as clinging to a stubborn, entrenched position that defies reasoned argument or contradictory evidence. Others in turn, such as Christian theologian Alister McGrath, have used the term fundamentalism to characterize atheism as dogmatic.

(เพิ่มเติม) Islamic fundamentalism Arabic: usul (from usul, the "fundamentals"), is a term used to describe religious ideologies seen as advocating a return to the "fundamentals" of Islam: the Quran and the Sunnah.

Definitions of the term vary. It is deemed problematic by those who suggest that Islamic belief requires all Muslims to be fundamentalists, and by others as a term used by outsiders to describe perceived trends within Islam. Exemplary figures of Islamic fundamentalism who are also termed Islamists are Sayyid Qutb and Abul Ala Mawdudi.

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันกลุ่มมูลฐานนิยมที่โดดเด่น และเป็นที่รู้จักกันในวงกว้างคือกลุ่ม มุสลิมหัวรุนแรงในหลายประเทศ เช่น กลุ่มตาลิบาลในอัฟกานิสถาน ซึ่งปกครองอัฟกานิสถานอย่างเคร่งครัด โดยตีความตามหลักศาสนาอิสลามเบื้องต้นด้วยตนเอง ห้ามผู้หญิงเปิดเผยร่างกายในที่สาธารณะ และเคร่งครัดเรื่องการละหมาด นอกจากนี้ กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงยังต่อต้านชาติตะวันตก และความเป็นสมัยใหม่ทุกลักษณะ

กำเนิดลัทธิมูลฐานนิยมในสหรัฐอเมริกา
ศัพท์ที่ใช้อธิบายอุดมการณ์ดังกล่าวเริ่มใช้ครั้งแรก เพื่ออธิบายการเคลื่อนไหวของกลุ่มคริสตชน นิกายโปรเตสแตนท์ชาวอเมริกันและอังกฤษ ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดย กลุ่มคริสตชนอีแวนเจลิกาหัวอนุรักษ์ (conservative evangelical Christians) ซึ่งต่อต้านกระแสสมัยใหม่นิยม และยืนยันให้ปฏิบัติตามความเชื่อขั้นพื้นฐานของศาสนาคริสต์ ตามพระคัมภีร์ไบเบิลทุกประการ ศาสนิกเหล่านี้เชื่อในเรื่องการกำเนิดที่บริสุทธิ์ของพระเยซู และการฟื้นคืนชีพของพระองค์

เนื่องจากแนวคิดและอุดมการณ์ที่ต่างกับคริสตชนทั่วไป และการขัดแย้งกับนักคิดนิยมสังคมสมัยใหม่ (modernist) อย่างมาก ทำให้กลุ่มแนวคิดเหล่านี้ถูกมองแยกส่วนต่างจากคริสตชนทั่วไปในสหรัฐอเมริกา และถูกเรียกว่า "นักมูลฐานนิยม" (fundamentalist) และเรียกอุดมการณ์นี้ว่า "ลัทธิมูลฐานนิยม" (fundamentalism). ต่อมาคำว่า"ลัทธิมูลฐานนิยม"(fundamentalism) เริ่มนำมาใช้กับศาสนาอื่นและชนชาติอื่น เมื่อเกิดการปฏิวัติวัฒนธรรมในอิหร่าน ในปี ค.ศ. 1979 -1980 มีการปฏิรูปการปกครอง เพิ่มความเคร่งครัดในหลักการของศาสนาอิสลามมากขึ้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวในสายตาของอเมริกันมองว่า เหมือนกับ"ลัทธิมูลฐานนิยม" จึงนำศัพท์"มุสลิมมูลฐานนิยม"มาใช้เรียกการเคลื่อนไหวนี้ และกลายเป็นศัพท์สากลไปในที่สุดที่ใช้เรียก การเคลื่อนไหวที่มีพื้นฐานอยู่ในกลุ่มศาสนาใดๆ กลุ่มหนึ่ง ที่มักพยายามจะสร้างโลกใหม่ที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการความเชื่อดั้งเดิมอย่างเคร่งครัดโดยไม่มีการปรับเปลี่ยน โดยใช้เพียงหลักศรัทธาของตน ยึดเหนี่ยว และเชื่อว่าการปฏิบัติตามหลักการอย่างเคร่งครัดคือสิ่งที่ถูกต้อง

แนวคิด"มูลฐานนิยม"ในปัจจุบันมักถูกนำมาใช้อธิบายอุดมการณ์ของกลุ่ม หัวรุนแรงทั้งหลายที่อ้างเอาศาสนาหรือแนวคิดดั้งเดิมของตนมาเป็นเหตุผลในการต่อต้านหลักการสมัยใหม่ เนื่องจากมีรากฐานมาจากความขัดแย้งกันระหว่าง "ลัทธิสมัยใหม่นิยม"กับ"กลุ่มคริสตชนมูลฐานนิยม" ดังนั้น แนวคิดมูลฐานนิยมจึงมักใช้กับทุกการเคลื่อนไหว ที่พยายามจะกอบกู้อัตลักษณ์ดั้งเดิมของศาสนา หรืออุดมการณ์ใดๆ ก็ตามจากการซึมซาบเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตก หรือ สังคมสมัยใหม่ ทั้งนี้โดยมีหลักการว่า การปฏิบัติตามหลักการของศาสนาที่ผู้นำศาสนาปฏิบัติตั้งแต่แรกนั้นคือสิ่งที่ถูกต้องที่สุด เช่น ในศาสนาคริสต์ คริสตชนควรยึดถือปฏิบัติเฉกเช่นเดียวกับที่ นักบวชผู้ติดตามพระเยซูขณะที่พระองค์ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ แม้ว่าหลักการของผู้เริ่มก่อตั้งศาสนาถือปฏิบัติจักมิได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่มีความเชื่อว่า มีเหตุผลอยู่เบื้องหลังการปฏิบัติเหล่านั้น หากไม่เป็นที่ทราบอย่างชัดเจนของศาสนิกชนรุ่นหลัง

หลักการและความเชื่อที่ยึดถือแบบดั้งเดิมนี้เอง ที่ทำให้เกิดข้อขัดแย้งกับสถานการณ์ในโลกปัจจุบันหลายเหตุการณ์ และทำให้เกิดกลุ่มที่ถูกมองจากลัทธิดังกล่าวว่าเป็นกลุ่มนอกศาสนา เช่น กลุ่มรักร่วมเพศ กลุ่มให้การสนับสนุนการทำแท้ง และสิทธิสตรี ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นในสังคมสมัยใหม่ ที่เชื่อเรื่องเสรีนิยมมากขึ้น

ข้อวิพากษ์หลักต่อ "ลัทธิมูลฐานนิยม"
ประเด็นที่เป็นข้อวิพากษ์หลักต่อ "ลัทธิมูลฐานนิยม" คือการไม่มีหลักฐานเรื่องการปฏิบัติตนของผู้นำศาสนาในยุคเริ่มต้น และหลักการของกลุ่มดังกล่าวดูจะไม่มีเหตุผล และไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์หลักคำสอนใดๆ เหล่านั้น ข้อวิพากษ์ดังกล่าวที่เด่นชัดมาจากบทความ ชื่อ Scopes Monkey Trial (*) ของ Clarence Darrow. และในบทวิพากษ์ของ Elliot N. Dorff ซึ่งกล่าวว่า ผู้ที่จะปฏิบัติตามหลักการดั้งเดิมของแต่ละศาสนานั้น จะต้องมีความเข้าใจในภาษาโบราณหรือภาษาดั้งเดิมเสียก่อน นอกจากนี้ มนุษย์ยังสามารถแปลงความเข้าใจได้หากมีการพูดต่อๆ กัน แม้แต่ผู้ที่ดำเนินรอยตามพระเจ้าคนแรก หากเผยแพร่คำสอนต่อมา ก็ยังมีความผิดเพี้ยนได้ นอกจากนี้ยังมีข้อวิจารณ์ในลักษณะเดียวกันจากนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน. Howard Thurman ซึ่งได้ให้สัมภาษณ์ใน สถาวิทยุบีบีซีว่า จริงๆ แล้วศาสนา และหลักความเชื่อต่างๆ นั้นเกิดจากความคิดที่กลั่นกรองจากประสบการณ์ของมนุษย์...

(*) The Scopes Trial - formally State v. Scopes, Scopes v. State, 152 Tenn. 424, 278 S.W. 57 (Tenn. 1926), Scopes vs. The State of Tennessee - and informally as the Scopes Monkey Trial, was an American legal case that tested the Butler Act which made it unlawful "to teach any theory that denies the story of the Divine Creation of man as taught in the Bible, and to teach instead that man has descended from a lower order of animals" in any Tennessee state-funded school and university.

The trial drew intense national publicity, with moderns pitted against traditionalists over the teaching of evolution in the schools and a Fundamentalist interpretation of the Bible. The trial proved a critical turning point in the American creation-evolution controversy.[2]

ขณะที่บางส่วนวิพากษ์ว่า จริงๆแล้ว ไม่มีนักมูลฐานนิยมเลย ไม่ว่าในศาสนาใด หากแต่ มูลฐานนิยมเป็นเพียง "หลักการเบื้องต้น" เกี่ยวกับความเชื่อในศาสนาหนึ่งๆ เท่านั้น และที่เป็นที่วิพากษ์อย่างกว้างขวางคือเรื่องที่ว่า นักมูลฐานนิยมเลือกปฏิบัติเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้เคร่งครัดแนวปฏิบัติทั้งหมด เช่น ในบัญญัติของคริสตชน มูลฐานนิยมที่บัญญัติว่า หากพี่ชายของตนเสียชีวิต ผู้นั้นต้องแต่งงานกับภรรยาหม้ายของพี่ชาย ซึ่งนักมูลฐานนิยมชาวคริสต์เองก็มิได้ปฏิบัติตาม

ลัทธิมูลฐานนิยมในแต่ละศาสนานั้นมีหลักการเหมือนกัน กล่าวคือ ยึดถือหลักการเดิม(ต้นฉบับ) ซึ่งมีเนื้อหาแตกต่างกันตามแต่ละศาสนาดังนี้

ศาสนาคริสต์
กลุ่มมูลฐานนิยมในศาสนาคริสต์ เชื่อทุกอย่างที่บัญญัติในพระคัมภีร์ไบเบิลอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ดัดแปลงความหมาย เช่น ในพระคัมภีร์บัญญัติว่า มนุษย์เกิดจากก้อนเกลือ พวกเขาก็จะเชื่อว่าพวกเขาเกิดจากเกลือจริง

ศาสนายิว
กลุ่มมูลฐานนิยมในกลุ่มชาวยิวเชื่อว่า พระคัมภีร์ Tanakh (*) ไม่สามารถแปลความด้วยตัวของมันเองได้ หากต้องแปลความควบคู่กับ Torah ปากเปล่า โดยต้องยึดมั่นทุกคำพูดอย่างเคร่งครัด

(*)The Tanakh (Tenak) is a name for the Bible used in Judaism, also known as the Masoretic Text. The name "Tanakh" is a Hebrew acronym formed from the initial Hebrew letters of the Masoretic Text's three traditional subdivisions: The Torah ("Teaching", also known as the Five Books of Moses), Nevi'im ("Prophets") and Ketuvim ("Writings")-hence TaNaKh. The elements of the Tanakh are incorporated in various forms in Christian Bibles, in which, with some variations, it is called the "Old Testament". The Old Testament does not use the traditional Hebrew subdivisions, though the distinction "Law and the Prophets" is used several times in the New Testament.

According to the Talmud, much of the contents of the Tanakh were compiled by the "Men of the Great Assembly" by 450 BCE, and have since remained unchanged. Modern scholars are less certain, but some believe that the process of canonization of the Tanakh became finalized between 200 BCE and 200 CE, see Development of the Jewish canon for details.

ศาสนาอิสลาม
ชาวมุสลิมเชื่อว่า คำสอนของพระผู้เป็นเจ้า หรือ อัลเลาะห์ ได้ถ่ายทอดให้กับนักบุญโมฮัมหมัดผู้เดียวเท่านั้น อย่างไรก็ตาม กลุ่มมูลฐานนิยมในศาสนาอิสลามได้ตีความคำสอนดั้งเดิมเอาไว้หลักๆ ดังนี้...

- อธิบายความเชื่อดั้งเดิมของอิสลามว่า ต้องเคร่งครัดต่อการตีความจากพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน และฮาดิธ (Hadith)
ซึ่งให้รักษาความสันโดษ และอาจห้ามการมีความสัมพันธ์กับกลุ่มสังคมกลุ่มอื่นที่ใหญ่กว่า

- อธิบายถึงการเคลื่อนไหวทางศาสนาและกลุ่มการเมืองในโลกมุสลิม

- สนับสนุนให้มีการใช้หลักกฎหมายของศาสนา เช่น ชารีอะห์ มาปกครองประเทศมุสลิม และเรียกกฎหมายหรือการปกครองในปัจจุบันว่า เป็นการปกครองนอกศาสนา

ส่วนใหญ่แล้วแนวคิดประเภทห้ามมีความสัมพันธ์กับกลุ่มสังคมกลุ่มอื่นที่ใหญ่กว่า และความพยายามนำมาซึ่งความขัดแย้งกับโลกตะวันตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปะทะกัน และกลุ่มมุสลิม"มูลฐานนิยม" ได้รับการมองในสายตาของชาติตะวันตกว่าเป็นมุสลิมหัวรุนแรง และกลุ่มก่อการร้าย

Headline Series, Religious Fundamentalisms and Global Conflict
นักวิชาการด้านเทววิทยาในปัจจุบันเล็งเห็นความสำคัญของแนวคิดนี้ และมีการศึกษารวมทั้งนำเสนอเป็นทฤษฎีที่นำมาใช้อธิบายการก่อการร้ายในปัจจุบันโดยตรง เช่น R. Scott Appleby นักวิชาการด้านเทววิทยาที่เสนอทฤษฎีมูลฐานนิยม ซึ่งได้ให้คำนิยามความเป็นมูลฐานนิยมที่ต่างจากเดิมในมุมมองที่ได้วิเคราะห์แล้วในหนังสือ Headline Series, Religious Fundamentalisms and Global Conflict (เมษายน 1994) ว่า เป็นการจำแนกประเภทการเคลื่อนไหวของคนกลุ่มหนึ่งที่เป็นกลุ่มเฉพาะตน โดยไม่ได้เป็นการเคลื่อนไหวทางศาสนาดั้งเดิม โดยชี้ว่า แม้ว่ากลุ่มมูลฐานนิยมจะอ้างถึงการเป็นกลุ่มเคร่งศาสนาและปกป้องวิถีทางศาสนาแบบดั้งเดิมก็ตาม แต่คนกลุ่มนี้ก็เขียนทฤษฎีใหม่ขึ้นมาและสร้างสูตรอุดมการณ์ขึ้นมาใหม่ โดยรับเอาโครงสร้างและกระบวนการใหม่ๆ เข้ามา เพราะอันที่จริงแล้ว กลุ่มมูลฐานนิยมเองก็มองเห็นข้อบกพร่องของผู้ยึดถือความเชื่อเหมือนกันที่ต้องการอนุรักษ์ความเชื่อและความศรัทธาเดิมเอาไว้ โดยมิได้มีเจตจำนงที่จะมองหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อต่อสู้กับการสึกกร่อนของศาสนา พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ นักมูลฐานนิยมโต้ว่า การอนุรักษ์รูปแบบเดิมๆ ในขณะที่ศาสนากำลังถูกคุกคามนั้น ไม่เป็นการพอเพียง

ทั้งนี้เขาชี้ว่า กลุ่มมูลฐานนิยมของแต่ละศาสนานั้นไม่เหมือนกัน เนื่องจากขึ้นอยู่กับความแตกต่างทางวัฒนธรรม ทำให้มีการแสดงออกของแต่ละกลุ่มในลักษณะที่หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มของศาสนาฮินดูเป็นกลุ่มชาตินิยมเผ่าพันธุ์ผสมกับศาสนา แต่เขาก็เห็นว่า แม้จะมีความหลากหลายในกลุ่มมูลฐานนิยม เช่นมีวัฒนธรรมหรือเรื่องเชื้อชาติมาปะปนอยู่ในกระแสค่านิยมก็ตาม แต่มักจะบ่งบอกถึงความเป็นศาสนามากกว่าความเป็นฆราวาส เน้นไปที่การทหาร การต่อสู้ มากกว่าสันติวิธี ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มแนวคิดดังกล่าวจะก่อร่างสร้างขึ้นจากความปรารถนามุ่งมั่นที่จะสถาปนาหรือปกป้องรัฐ หรือสังคมหนึ่งๆ โดยมีมีพื้นฐานจากประวัติศาสตร์ศาสนาอันศักดิ์สิทธิ์ อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มมูลฐานนิยมก็มีทั้งกลุ่มที่เป็นสายกลางและกลุ่มหัวรุนแรง ส่วนใหญ่แล้วกลุ่มมูลฐานนิยมเป็นกระบวนการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับศาสนาในทางการเมืองปลายศตวรรษที่ 20 กลุ่มผู้นำนักมูลฐานนิยมมักเป็นกลุ่มที่มีการศึกษา มีชีวิตอยู่ท่ามกลางเทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่มักถูกดึงดูดเข้าหาความเป็นศาสนาดั้งเดิมเพราะรู้สึกว่าตนเองถูกสังคมหรือผู้นำรัฐของตนหลอกลวง หรือไม่ก็เป็นกลุ่มคนที่ประสบความล้มเหลวทางสังคม ถูกกีดกันจากการมีส่วนร่วมหรือการมีส่วนได้เสียในการตักตวงทรัพยากรหรือความมั่งคั่งต่างๆ

ลักษณะที่สำคัญของกลุ่มมูลฐานนิยม
Appleby มองว่า กลุ่มมูลฐานนิยมนั้น แม้จะเป็นชนกลุ่มน้อยในแต่ละศาสนาแต่ก็มักจะพยายามแข่งขันกับกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มมูลฐานนิยมในการช่วงชิงความสนใจจากสื่อ และอุดมการณ์ทางศาสนามีบทบาทในการเคลื่อนไหว ซึ่งแตกต่างจากการเคลื่อนไหวทางสังคม เช่นกลุ่ม PLO (*) ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดมาร์กซิสม์ ซึ่งเป็นลัทธิที่ไม่เกี่ยวกับกฎหมายหรือการปกครอง ซึ่งแตกต่างจากยิวหรือมุสลิมที่กฎหมายเป็นส่วนสำคัญในการให้คำนิยามตัวเองหรือชุมชนของตน
(*) The Palestine Liberation Organization (PLO) is a political and paramilitary organization founded in 1964. It is recognized as the "sole legitimate representative of the Palestinian people," by over 100 states with which it holds diplomatic relations, and has enjoyed observer status at the United Nations since 1974. In 1993 Israel also officially recognized the PLO as the representative of the Palestinian people.

ในกลุ่มมูลฐานนิยมในคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ ได้นำเรื่อง "การเกิดใหม่" มาใช้เป็นการการันตีว่า การเกิดใหม่จะทำให้ได้รับชีวิตใหม่ที่ดีกว่าเดิม มุสลิมกลุ่มมูลฐานนิยมเองก็มีจุดมุ่งหมายในการนำพระประสงค์ของพระเจ้าที่ถูกบันทึกในชารีอะห์มาใช้เป็นกฎหมาย เช่นเดียวกับยิวที่แปลหรือตีความอักษรฮิบรูเพื่อเป็นกฎหมายในสังคม และกลุ่มเถรวาทในศรีลังกาก็เชื่อว่าอัตลักษณ์ของตนมีรากเหง้ามาจากจักรวาล และทำให้พวกเขาเหนือกว่าสิ่งใดๆ ในหมู่มนุษย์ด้วยกัน (*)
(*) R. Scott Appleby, "Religious Fundamentalisms and Global Conflict", Headline Series Foreign Policy Association, No. 301 (1994)

3. ทฤษฎีโลกาภิวัฒน์ (Globalizationism)
ในด้านสังคมศาสตร์ ทฤษฎีโลกาภิวัฒน์จะถูกนำมาใช้อธิบายและอ้างอิงในเรื่องของการสงครามและการก่อการร้ายในปัจจุบันค่อนข้างมาก อันที่จริง โลกาภิวัตน์เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายคริสตศตวรรษที่ 19 แต่เป็นที่แพร่หลายและรู้จักอย่างดีในปลายคริสตศตวรรษที่ 20 โดยคำว่า Globalization เริ่มใช้ในกลุ่มนักสังคมศาสตร์ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 ทว่ากลับแพร่หลายและเป็นที่นิยมในบรรดานักเศรษฐศาสตร์ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 อย่างไรก็ตาม แนวคิดทฤษฎีโลกาภิวัตน์นั้น เป็นแนวคิดที่พัฒนามาใช้อธิบายงานศึกษาได้หลายสาขา

ด้านสังคมศาสตร์ ทฤษฎีโลกาภิวัฒน์เป็นทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์การศึกษาด้านรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นโดยก้าวข้ามอำนาจความเป็นรัฐและพรมแดนรัฐ โดยความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก ที่ไม่ได้เป็นไปอย่างจำกัดสำหรับรัฐชาติหนึ่งๆ

โดยภาพรวมในหนังสือ Globalization (*) ของ Malcolm Waters (2001)แล้ว โลกาภิวัตน์ คือ การอธิบายปรากฏการณ์ที่เชื่อมโยงสังคมและรัฐชาติเข้าไว้ด้วยกันทั่วโลก ความเป็นสากลนิยม การติดต่อสื่อสารที่เชื่อมถึงกันโดยทั่ว และการกระทำ เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบ หรือความร่วมมือ ของคนทั้งโลก โดยมีพัฒนาการในหลายๆานซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในการอธิบายถึงสาเหตุของความเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การก่อการร้ายและรูปแบบของการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

(*) Malcolm Waters, Globalization 2nd edition, p. 102

ใน amazon.com ได้อธิบายหนังสือโดยสังเขปดังนี้: The constraints of geography are shrinking and the world is becoming a single place. Globalization and the global society are increasingly occupying the center of sociological debates. Widely discussed by journalists and a key goal for many businesses, globalization has become a buzz word in recent years. In this extensively revised and restructured new edition of Globalization, Malcolm Waters provides a user-friendly introduction to the main arguments about the process, including a chapter on the critiques of the globalization thesis that have emerged since the first edition was published.

สำหรับประเด็นการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย พบว่า กระแสโลกาภิวัตน์สามารถนำมาอธิบายสาเหตุความไม่พอใจของกลุ่มมูลฐานนิยมและกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงในอินโดนีเซียในระดับรากเหง้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่กระแสโลกาภิวัตน์ทำให้ชาติตะวันตกรวมทั้งออสเตรเลียมีบทบาทสำคัญในอินโดนีเซีย และเข้ามารุกล้ำในพื้นที่ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ของ Malcolm Waters สามารถสรุปต้นตอของการเกิดโลกาภิวัฒน์ได้ดังนี้

ในด้านเศรษฐกิจ ได้มีการสรุปว่าโลกาภิวัตน์ น่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1870 - 1914 โดยเกิดจากพัฒนาการของระบบคมนาคมและการติดต่อสื่อสารที่เชื่อมโลกโดยเฉพาะรถไฟ เรือกลไฟ และโทรเลข และการเจริญเติบโตทางการค้า ซึ่งเกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม และสุดท้าย เกิดจากการเริ่มลงทุนข้ามชาติของประเทศอุตสาหกรรม ที่เข้าไปลงทุนในประเทศที่ไม่ใช่ประเทศอุตสาหกรรม หากการพัฒนาเหล่านี้ประสบผลอย่างเต็มที่ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 และในยุคดังกล่าวนี้เองที่ทุนนิยมและบริโภคนิยมเกิดขึ้น ขณะที่อุตสาหกรรมเจริญเติบโตและก่อให้เกิดสังคมสมัยใหม่ โดยชี้ว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างหลายประการ โดยเฉพาะการที่โรงเรียนสอนทักษะที่แตกต่าง เพื่อให้เกิดความชำนาญและก่อให้เกิดการแบ่งงานกันทำ ขณะที่รัฐบาลเริ่มมีหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่ด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะ ศาสนาเองก็สนับสนุนเรื่องค่านิยม การเปลี่ยนแปลงค่านิยมไปในทิศทางปัจเจกนิยม สากลนิยม เรียกว่า การทำให้เป็นสังคมสมัยใหม่ (modernization) และสังคมสมัยใหม่นี้เองที่สถาปนาความเป็นสากล ทั้งนี้ Malcolm ชี้ว่า ทั้ง Kerr, Dunlop, Harbison และ Myers รวมทั้งนักทฤษฎีแรงงานการตลาดก็เห็นพ้องต้องกันว่า การอุตสาหกรรมทำให้สังคมทุกสังคมในโลกเหมือนกัน โดยความเป็นสากลที่มาพร้อมกับการเกิดสังคมสมัยใหม่ ซึ่งมีอยู่ 4 ประการคือ

- องค์กรราชการ
- การเงินและการตลาด
- ระบบกฎหมายสากล และ
- ประชาธิปไตย

โลกทั้งใบเริ่มมีระบบที่เชื่อมโยงคล้ายกันหลายประการ อันเนื่องจากการค้าและเพื่อความสะดวกในทางเศรษฐกิจ การที่มีระบบเหมือนๆกันทั้งโลก 4 ประการดังที่กล่าวแล้ว ทำให้การค้าระหว่างประเทศเป็นไปได้รวดเร็วและสะดวกมากขึ้น เนื่องจากมีระบบที่เป็นสากลรองรับ ทำให้การค้าระหว่างประเทศมีความก้าวหน้าขึ้น และระบบการคิดคำนวณความเป็นประเทศพัฒนาก็ถูกคิดจากมูลฐานทางเศรษฐกิจ ประเทศที่มีเศรษฐกิจเงินทุนมากถือเป็นประเทศโลกที่หนึ่ง ทุนสามารถเคลื่อนย้ายไปได้ทุกทิศทาง พัฒนาการต่อมาก็คือการแบ่งงานกันทำ การเสาะแสวงหาทรัพยากรไปทั่วโลก และทำให้องค์กรหนึ่ง ไม่จำกัดการปฏิบัติการเฉพาะในรัฐใดรัฐหนึ่งเท่านั้น หากแต่เป็นการปฏิบัติการข้ามพรมแดน ยกตัวอย่างเช่น การมีบริษัทที่ก่อตั้งและจดลิขสิทธิ์ภายใต้ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีผู้บริหารเป็นชาวอิสราเอล ลูกจ้างที่ชำนาญการอาจจะเป็นชาวยุโรป มีโรงงานผลิตอยู่ในทวีปเอเชีย และใช้แรงงานเอเชีย ขณะที่ใช้วัตถุดิบมาจากแอฟริกา ความเป็นโลกาภิวัตน์ในด้านเศรษฐกิจ จึงเป็นผลที่เกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยเป็นคำอธิบายการดำเนินการด้านเศรษฐกิจข้ามชาติ ด้วยระบบที่มีเงินและเศรษฐกิจที่ถูกพัฒนาขึ้นมาให้เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก

ในด้านการเมือง พบว่า ในปัจจุบันโลกมีรัฐชาติเกิดขึ้นและมีความยึดถือในรัฐชาติสูงในหมู่ปัจเจกชน เนื่องจากการสร้างวาทกรรมเรื่อง"ชาตินิยม" นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจุบันความเป็นรัฐชาติเริ่มมีบทบาทน้อยลง เนื่องจากเหตุการณ์หลายประการเปลี่ยนแปลงไป เพราะเหตุแห่งการเกิดสังคมสมัยใหม่หลังปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ทำให้โลกเริ่มเชื่อมโยงกัน การค้าระหว่างประเทศ ก่อให้เกิดการมีส่วนได้เสีย ผลประโยชน์ และอื่นๆ แนวคิดการเมืองการปกครองที่สามารถส่งเสริมเศรษฐกิจได้ถูกนำมาใช้เหมือนๆ กัน รวมทั้งเกิดความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มคนที่มีแนวคิดเช่นเดียวกัน แต่อยู่คนละรัฐชาติ เพื่อสนองวัตถุประสงค์ร่วมกัน เช่น การเกิดการรวมกลุ่มกันในหมู่รัฐชาติเพื่อสร้างอำนาจต่อรองมากขึ้น เช่น กรณี การเกิดกลุ่ม EU และกลุ่มประเทศ ASEAN การเกิดขบวนการก่อการร้ายสากล และการเกิดการรวมตัวกันด้านเทคโนโลยี ทั้งนี้ Rosenau (*) ให้เหตุผลการเกิดโลกาภิวัตน์ด้านการเมืองการปกครองว่า เป็นเพราะเทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์ ย่อระยะทางโลกให้สั้นลง ผู้คนรับรู้ข่าวสารข้อมูล แนวคิดใหม่ๆ อย่างรวดเร็วจากทั่วโลก และการที่ ปัญหาระดับโลกซึ่งเกิดขึ้น ณ รัฐใดรัฐหนึ่งไม่สามารถแก้ไขได้อีกต่อไป รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถของผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ซึ่งทำให้บุคลากรเหล่านี้สามารถทำงานเฉพาะข้ามรัฐได้

(*)James N. Rosenau (b. November 25, 1924 in Philadelphia, Pennsylvania) is a former President of the International Studies Association. His scholarship and teaching focus on the dynamics of world politics and the overlap between domestic and foreign affairs. He is the author of scores of articles and more than 35 books, including Turbulence in World Politics: A Theory of Change and Continuity (Princeton University Press, 1990) and Along the Domestic-Foreign Frontier: Exploring Governance in a Turbulent World (Cambridge, 1997). His book Distant Proximities: Dynamics Beyond Globalization completed a trio on globalization, and was published by Princeton University Press in 2003.

ปัจจุบัน จึงไม่เป็นที่ประหลาดใจที่จะพบปัญหาระดับนานาชาติหรือระดับโลก ซึ่งมิใช่ ปัญหาของรัฐใดรัฐหนึ่ง และการแก้ปัญหาก็เป็นเรื่องของนานาชาติ เช่น ปัญหาสงครามของสองรัฐ ซึ่งปัจจุบันพบว่า ส่งผลกระทบต่อหลายรัฐ ทำให้สหประชาชาติซึ่งเป็นองค์กรโลกเข้ามาจัดการกับปัญหาดังกล่าว ขณะเดียวกันก็พบว่า ผู้คนร่วมสนใจและมีการตกลงทำสัญญาร่วมมือระหว่างกันเพื่อโลกนี้ ไม่ใช่รัฐใดรัฐหนึ่งอย่างจริงจังแล้ว เช่น การตกลงแก้ปัญหาโลกร้อน เป็นต้น

ด้านวัฒนธรรม ในหนังสือ Globalization ได้อธิบายถึงพัฒนาการของโลกาภิวัตน์ในด้านวัฒนธรรมว่า โลกาภิวัตน์เกิดจากการเกิดขึ้นของศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสท์แตน เนื่องจากโปรเตสแตนท์ทำให้เกิดการแยกศาสนจักรออกจากรัฐ และต่อมาทำให้เกิดความเป็นรัฐชาติ และเกิดการสร้างชาติในชาติตะวันตก ในการสร้างชาติ หลักการอย่างหนึ่งที่สำคัญคือการสร้างวาทกรรมให้คนในชาติมีความรู้สึกชาตินิยมเพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรม อัตลักษณ์ของรัฐตนจึงถูกสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมความเป็นอัตลักษณ์ของรัฐชาติ และเกิดการแข่งขันกันด้านการค้า ที่ทำให้รัฐตะวันตก ต้องแข่งขันกันล่าอาณานิคมเพื่อส่งเสริมให้รัฐชาติของตนเจริญพัฒนายิ่งขึ้น โลกาภิวัตน์ด้านวัฒนธรรมเกิดขึ้นจึงเกิดและเติบโตในยุคนี้ เมื่อเจ้าอาณานิคมเริ่มเผยแพร่วัฒนธรรมตะวันตก โดยใช้รถ การสถาปนาโรงเรียน การเต้นบัลเลต์ การก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ ซึ่งแพร่หลายในหมู่คนชั้นสูงของประเทศอาณานิคมก่อน ต่อมาได้แพร่หลายในหมู่คนชั้นกลางด้วย และทำให้วัฒนธรรมดังกล่าวกลายเป็นวัฒนธรรมสากลไปในที่สุด

วัฒนธรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นหลังยุคอาณานิคม คือวัฒนธรรมการท่องเที่ยวข้ามประเทศ ซึ่งเริ่มต้นในยุคอาณานิคมเช่นกัน หลังจากการทำงานในระบบอุตสาหกรรม ผู้คนเริ่มต้องการการหยุดพักผ่อน แต่เดิมผู้คนเคยมีวันหยุดในทางศาสนา ได้แปรเปลี่ยนเป็นการหยุดจากวันทำงาน เพื่อการพักผ่อน ทำให้เกิดการสร้างสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว เช่น คาสิโนในมอนเต คาร์โล หรือหาดริเวียราในฝรั่งเศส การแพร่หลายวัฒนธรรมเหล่านี้ ทำให้เกิดความเป็นวัฒนธรรมสากลขึ้น ที่สังคมในโลกเริ่มมีกิจกรรมหลายประเภทคล้ายคลึงกัน และยอมรับกิจกรรมหรือวัฒนธรรมที่แตกต่างได้มากขึ้น ขณะเดียวกัน การแพร่หลายวัฒนธรรมและการย่อโลก ก็เพิ่มขึ้นด้วยการมีข้อมูลข่าวสารจากอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีดาวเทียม ซึ่งทำให้ผู้คนทั่วโลกรับรู้ข่าวสารของอีกโลกอย่างรวดเร็ว และทำให้ปัญหาในอีกซีกโลกกลายเป็นปัญหาร่วมกัน เช่น การเกิดคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นพร้อมกันในทวีปเอเชีย แต่มีการร่วมกันจัดงานการกุศลบริจาคเงินช่วยเหลือของคนทั่วโลก โดยสรุปแล้วในหนังสือเล่มนี้ได้อธิบายถึงต้นกำเนิดความเป็นมาของโลกสมัยใหม่และโลกาภิวัฒน์ ซึ่งทำให้เรามองเห็นภาพรวมถึงความหมายและการเกิดขึ้นของวัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งทำให้สามารถมองได้ถึงต้นตอและจุดเริ่มต้นของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโลกาภิวัฒน์

โลกาภิวัตน์มักถูกนำมาใช้อธิบายและวิเคราะห์ ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมโลกเสมอ เนื่องจากสามารถอธิบายได้ถึงสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมือง ทั้งนี้มีการให้เหตุผลว่า เนื่องจากโลกาภิวัตน์ส่งผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับทุกด้านในปัจจุบันดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว โดยเฉพาะการกระทบเรื่องแนวคิดทางศาสนาและอัตลักษณ์ของกลุ่มชาตินิยม ศาสนานิยม ฯลฯ ผลกระทบดังกล่าวทำให้นักวิชาการหลายคนนำ แนวคิดโลกาภิวัตน์มาใช้อธิบายว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดความขัดแย้งระหว่างชาติตะวันตกกับกลุ่มมูลฐานนิยม

นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งศึกษาปัญหาเรื่องการก่อการร้ายสากลใหม่ ก็มองว่า โลกาภิวัตน์เป็นระบบวัฒนธรรมโลกที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองและเอื้ออำนวยต่อการก่อเกิดของระบบผูกขาดไร้พรมแดน เพื่อให้คนทั้งโลกขึ้นต่อวัฒนธรรมที่เรียกว่า Neo-Westernization ที่เป็นการสร้างกระแสบริโภคนิยมที่นิยมทุกอย่างเป็นตะวันตก การเกิดกระแสบริโภคนิยมและการไหลตามกระแสนั้น เป็นการรุกรานความเป็นท้องถิ่นและประเพณีดั้งเดิมของคนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก และส่งผลกระทบในกลุ่มชาตินิยม ประเพณีนิยมและศาสนานิยม ในส่วนนี้เองที่นักวิชาการส่วนใหญ่ชี้ว่า ทำให้เกิดความไม่พอใจในกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง เนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์นำมาซึ่งการแทรกแซงและการรุกรานทางวัฒนธรรม อันส่งผลให้เกิดการสูญเสียขนบประเพณีเดิมหรือการประพฤติผิดจากจารีตของศาสนา

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ (คลิกไปอ่านต่อบทความเรื่องเดียวกัน ลำดับที่ 1770)

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com