ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้เป็นสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๒ : Release date 25 September 2009 : Copyleft MNU.

จุดเน้นของอนาคตมุ่งที่ความสัมพันธ์ของระบบที่มีทิศทางของความสัมพันธ์ที่หลากหลาย (multi-direction) มากกว่า ซึ่งระบบ ต่างๆ เหล่านี้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ได้แก่ ความเป็น "องค์รวม" ที่มากกว่า "ส่วนรวม"(holistic vs wholistic) โดยเชื่อว่า องค์รวมเป็นมาก กว่าการเอาส่วนย่อยมารวมกัน (holistic) ซึ่งต่างจากความคิดส่วนรวมแบบเดิมที่เชื่อว่า เมื่อเข้าใจส่วนย่อยก็จะสามารถเข้าใจส่วนรวม (wholistic/parts) ทั้งนี้นักวิชาการได้อธิบายว่า คำว่า holistic ที่ไม่มี w นำนี้ว่า มีความหมายระดับกว้างและมีลักษณะที่เรียกว่าองค์รวมของทั้งหมดมากกว่า wholistic ที่มีความหมายเพียงว่าส่วนรวม อย่างไรก็ตาม นักวิชาการมองว่าคำว่า holistic เป็นวาทกรรมของการต่อสู้เชิงกระบวนทัศน์ที่มีต่อโลกและสรรพสิ่งต่างๆ ที่ต่างไป

H



25-09-2552 (1788)

Futures studies, foresight, or futurology (อนาคตวิทยา)
Futures Studies: แนวคิดและวิธีการศึกษาอนาคต
จุมพล พูลภัทรชีวิน และ จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์: เขียน

งานเขียนเกี่ยวกับอนาคตศึกษาชิ้นนี้ รับมาจากผู้เขียน

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

งานวิชาการอนาคตศึกษาชิ้นนี้ กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับมาจากผู้เขียน
ประกอบด้วยเนื้อห และภาคผนวก โดยมีหัวข้อสำคัญและน่าสนใจดังต่อไปนี้

- บทนำ: นิยามและมุมมองอนาคต
- การคาดการณ์อนาคต ๒ รูปแบบ
- หลักคิดและความเชื่อพื้นฐาน
- The Future is Now
- การศึกษาอนาคตและวิธีการวิจัยอนาคต
- ข้อคิดและแนวทางการประยุกต์ใช้สำหรับนักวิจัยอนาคตศึกษา
- ภาคผนวก - การศึกษาแนวโน้ม: บทนำเบื้องต้น
(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "อนาคตวิทยา")

สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้มีการเพิ่มเติมเชิงอรรถโดย กอง บก.ม.เที่ยงคืน
เพื่อเสริมความเข้าใจและเติมเต็มความรู้ให้กับผู้อ่าน ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการยังได้มีการรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ

บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๘๘
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๖.๕ หน้ากระดาษ A4 โดยไม่มีภาพประกอบ)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Futures studies, foresight, or futurology (อนาคตวิทยา)
Futures Studies: แนวคิดและวิธีการศึกษาอนาคต
จุมพล พูลภัทรชีวิน และ จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์: เขียน
งานเขียนเกี่ยวกับอนาคตศึกษาชิ้นนี้ รับมาจากผู้เขียน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความเกี่ยวเนื่อง
http://midnightuniv.tumrai.com/midnight2544/0009999659.html

บทนำ
บทความนี้เป็นการเปิดมุมมองเกี่ยวกับแนวคิดการศึกษาอนาคต หรือที่เรียกอีกนัยว่า อนาคตศึกษา (Futures Studies) รวมถึงการกล่าวถึงเทคนิควิธีการศึกษาอนาคตที่ปัจจุบันถูกนำมาใช้ในการศึกษาวิจัยในหลากหลายสาขา เพื่อสร้างเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในเบื้องต้น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อผู้สนใจงานด้านการศึกษาอนาคตที่จะสามารถจะไปศึกษาค้นคว้าในศาสตร์อนาคตศึกษาเชิงลึกต่อไป

นิยามและมุมมองอนาคต
"อนาคตศึกษา"เป็นคำที่แปลมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Futures Studies (*) ซึ่งหมายถึงวิชาสาขาใหม่ ที่ศึกษาถึงแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการศึกษาอนาคต ตลอดจนระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษาแนวโน้ม และทางเลือกต่างๆ ที่มีความเป็นไปได้ในอนาคต (จุมพล พูลภัทรชีวิน, 2548) ทั้งนี้ที่มาของอนาคตศึกษา เริ่มมาจากมุมมองความเชื่อและความสนใจศึกษาถึงความเป็นไปได้ในอนาคตอย่างเป็นระบบ จึงมีผู้ให้นิยามเกี่ยวกับอนาคตศึกษาที่มีนัยรวมถึงการศึกษาอนาคตไว้ ดังเช่น

(*) จากสารานุกรม wikipedia ใน http://en.wikipedia.org/wiki/Futurology ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
Futures studies, foresight, or futurology is the philosophy, science, art and practice of postulating possible, probable, and preferable futures and the worldviews and myths that underlie them. Futures studies (colloquially called "futures" by many of the field's practitioners) seeks to understand what is likely to continue, what is likely to change, and what is novel. Part of the discipline thus seeks a systematic and pattern-based understanding of past and present, and to determine the likelihood of future events and trends

Futures is an interdisciplinary field, studying yesterday's and today's changes, and aggregating and analyzing both lay and professional strategies, and opinions with respect to tomorrow. It includes analyzing the sources, patterns, and causes of change and stability in the attempt to develop foresight and to map possible futures. Around the world the field is variously referred to as futures studies, strategic foresight, futurology, futuristics, futures thinking, futuring, futuribles (in France, the latter is also the name of the important 20th century foresight journal published only in French), and prospectiva (in Spain and Latin America). Futures studies (and one of its subdisciplines, strategic foresight) are the academic field's most commonly used terms in the English-speaking world.

Joseph (1974) ได้กล่าวถึงการศึกษาอนาคตในความหมายของการคาดการณ์ (forecasting) ว่าเป็นวิธีดำเนินการที่เป็นระบบและระเบียบ สำหรับกำหนดความเป็นไปได้ของอนาคต เพื่อจะให้เรามุ่งไปยังอนาคตนั้นได้อย่างนอกเหนือการคาดเดาอย่างบริสุทธิ์ นอกจากนี้ยังจำแนกความแตกต่างระหว่างการคาดการณ์กับการพยากรณ์ด้วยว่า การพยากรณ์ (predicting) เป็นการถามข้อความในลักษณะ "อะไรจะเกิดขึ้น" ในขณะที่การคาดการณ์ (forecasting) เป็นการถามข้อความในลักษณะ "อะไรจะเกิดขึ้น ถ้า....."

Cornish และคณะ (1977) ได้กล่าวถึง"การทำนาย" โดยนำไปเปรียบเทียบกับความหมายของคำว่า "การดูโชคชะตา" (fortune telling) ว่า แม้คำทั้งสองจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการคาดการณ์ถึงอนาคตเช่นกัน แต่มีความแตกต่างกัน คือ "การทำนาย"นั้นเชื่อว่าโลกแห่งอนาคตสามารถจะก่อปั้นขึ้นด้วยการตัดสินใจและการกระทำของมนุษย์ มากกว่าจะเป็นเรื่องของโชคชะตา ยิ่งกว่านั้นการทำนายจะอาศัยวิธีการเชิงเหตุผลหรือเชิงวิทยาศาสตร์ มิได้อาศัยไพ่ ถ้วยแก้ว ใบชา หรืออื่นๆ ดังเช่นการดูโชคชะตา และที่สำคัญการดูโชคชะตาจะเกี่ยวข้องกับอนาคตของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ส่วนการทำนายนั้นจะเกี่ยวข้องกับส่วนรวมและความเจริญรุ่งเรืองของอนาคต

กล่าวคือ นักอนาคตจะไม่ตอบคำถามลักษณะที่ว่า "สมศรีจะแต่งงานในปีนี้หรือไม่" แต่จะตอบคำถามในลักษณะที่ว่า "รูปแบบการแต่งงานในทศวรรษหน้าจะเป็นอย่างไร" เป็นต้น หรือกล่าวอีกนัยคือ นักอนาคตมิได้คาดเดาว่าจะเกิดเหตุการณ์จริงหรือไม่ หากเพียงแต่ให้ความสนใจว่า มีความเป็นไปได้จริงมากน้อยเพียงใด มีแนวโน้มหรือโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น แล้ว "ถ้าเกิด....ขึ้น จะเป็นอย่างไร" (จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์, 2549)

ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ (2547) กล่าวถึงเรื่องอนาคตศึกษาในมิติของการศึกษาอนาคต โดยเรียกคำว่า "future research" ว่า เป็นการศึกษาที่ต้องการได้รับคำเตือนหรือสิ่งที่แจ้งให้ทราบถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้น แต่มิใช่เป็นการทำนายว่าจะเกิดขึ้นจริงทั้งหมด ซึ่งสามารถแบ่งการคาดการณ์อนาคตดังกล่าวเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

การคาดการณ์อนาคต ๒ รูปแบบ

1. การคาดการณ์จากค่ากลาง (normative forecasting) มุ่งที่คำถามว่า อะไรเป็นอนาคตที่ต้องการ การคาดการณ์แบบนี้ใช้เทคนิคในการตอบคำถามถึงอนาคตที่พึงประสงค์ และอนาคตที่ต้องการจะเป็น

2. การคาดการณ์จากการค้นหาคำตอบ (exploratory forecasting) การคาดการณ์แบบนี้ใช้เทคนิคค้นหาคำตอบว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นมีอะไร
ไม่ว่าสิ่งนั้นจะดีหรือไม่ดีก็ตาม

วิโรจน์ สารรัตนะ (2548) กล่าวว่า การศึกษาอนาคตเป็นการทำนายถึงสภาพปัญหาและโอกาสที่เป็นไปได้ของเหตุการณ์ในอนาคตของสังคมด้านต่างๆ เช่น ด้านตัวบุคคล ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านการเมือง อันเป็นผลเนื่องจากแหล่ง (sources) ที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายในประเทศและภายนอกประเทศ ปัจจัยด้านที่เป็นความคิดหรืออุดมการณ์และด้านที่เป็นวัตถุ หรือทั้งจากปัจจัยที่เป็นมนุษย์และที่มิใช่มนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็น

จากนานาทัศนะที่กล่าวจะเห็นได้ว่า อนาคตศึกษาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงสิ่งที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจุมพล พูลภัทรชีวิน (2548) กล่าวว่า คำว่าอนาคตศึกษาแม้จะแปลมาจากคำว่า Futures Studies แต่ก็อาจจะพบคำอื่นๆ ที่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกับคำนี้อีกหลายคำ เช่น Futurics, Futurology, Futuribles, Prognostics, และ Anticipatory Science เป็นต้น โดยแต่ละคำก็มีความหมายและลักษณะพิเศษเฉพาะตัวตามแนวคิดของบรรดานักคิดทั้งหลาย แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการเน้นเรื่องอนาคต ซึ่งภาพรวมประกอบไปด้วยเนื้อหาอย่างน้อย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ

1) ส่วนที่เป็นแนวคิด (perspectives) และทฤษฎี (theories) ซึ่งอาจใช้คำรวมว่า"อนาคตนิยม"(futurism) โดยเป็นมุมมองความคิดที่มุ่งเน้นการมองไกลออกไปในอนาคต เพื่อสร้างอนาคต มองถึงแนวโน้มในอนาคตทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อมองออกไปในสิ่งที่จะสร้างให้เกิด หรืออีกนัยคือพยายามจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าข้อเท็จจริง (fact) ในอนาคต

2) ส่วนที่เป็นระเบียบวิธี (methodologies) อาจเรียกว่าการวิจัยอนาคต (Futures research) ซึ่งเป็นเรื่องของวิธีการศึกษาเกี่ยวกับอนาคตที่มิใช่เน้นข้อเท็จจริง (fact) เช่นงานวิจัยทั่วไป แต่เป็นเรื่องวิธีการศึกษาแนวโน้มและสิ่งที่คาดว่าจะเกิดในอนาคต หรือแนวโน้มที่เป็นไปได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทางเลือกหลายทางที่จะเป็นได้ แนวโน้มที่เป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมด ผู้ที่ทำการศึกษาอนาคตอย่างเป็นระบบโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยอนาคตแบบต่างๆ เรียกว่า "นักอนาคตนิยม" ซึ่งจะมีความแตกต่างจากหมอดูอยู่หลายประการ คล้ายกับที่ Cornish และคณะได้เคยกล่าวไว้ ซึ่งมีลักษณะสำคัญที่ต่างกันดังนี้

ตาราง เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างนักอนาคตนิยมกับหมอดู

นักอนาคตนิยม
1) เชื่อว่าอนาคตเป็นสิ่งที่ควบคุมได้และเปลี่ยนแปลงไปตามการตัดสินใจ และการกระทำของมนุษย์ มนุษย์เป็นทั้งผู้สร้างและผู้ทำลาย
มนุษย์เป็นผู้กำหนดและให้ความหมายแก่สรรพสิ่ง
2) ใช้เหตุผล และวิธีทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาความเป็นไปได้ของอนาคตในรูปแบบต่างๆ
3) เน้นการศึกษาถึงอนาคตของมนุษย์โดยส่วนรวม เช่น ลักษณะของครอบครัวไทยใน 20 ปีข้างหน้า
4) ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ชี้ถึงแนวโน้ม

หมอดู

1) อนาคตเป็นไปตามโชคชะตาราศี ดวงดาว หรือพรหมลิขิต นั่นคือเชื่อว่ามีผู้อื่น หรือสิ่งอื่นเป็นผู้กำหนดอนาคต ไม่ใช่มนุษย์
2) ใช้ไพ่ ลายมือ วันเกิด เวลาตกฟาก ดูโหงวเฮ้ง...ในการทำนายอนาคต
3) เน้นอนาคตของแต่ละบุคคลเป็นส่วนใหญ่ เช่น นาย ก. จะพบเนื้อคู่เมื่อไหร่เป็นคนอย่างไป เป็นต้น
4) หมอดูเป็นผู้ให้ข้อมูล
ที่มา : จุมพล พูลภัทรชีวิน (2548)

จากที่กล่าวมาพอสรุปได้ว่า "อนาคตศึกษา" หมายถึง แนวคิดทฤษฎี และระเบียบวิธีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอนาคต ทั้งในแง่การศึกษาแนวโน้ม และทางเลือกต่างๆ ที่มีความเป็นไปได้ในอนาคต มีนักอนาคตเป็นผู้ทำการศึกษาอย่างเป็นระบบโดยอาศัยตรรกะ-เหตุผล มากกว่าการคาดเดาหรือทำนายโชคโดยปราศจากความเป็นไปได้หรือเหตุผลรองรับ

หลักคิดและความเชื่อพื้นฐาน
"การศึกษาอนาคต" ตั้งอยู่บนหลักการที่ว่าอนาคตไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีแต่เพียงความเป็นไปได้ หรือความน่าจะเป็นเท่านั้น
โดยมีฐานคิดสำคัญ ได้แก่

1) การคิดเชิงระบบทั่วไป (general systems theory/thinking-GST) ซึ่งคำว่า systems ที่เป็น "พหูพจน์" นี้ต่างจาก system ในความหมายเดิมที่มีลักษณะเป็น "เอกพจน์" หมายถึง"ระบบเดี่ยว" หรือระบบที่มองแบบเส้นตรงหรือแนวระนาบเดียว (input-process-output-impact) ขณะที่การคิดเชิงระบบในหลักการใหม่ที่ว่านี้ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า "systems" หรือ "systemic" ซึ่งหมายถึงการศึกษาระบบหลายๆ ระบบที่ไม่ใช่เส้นตรง แต่เป็นระบบหลายระบบที่มีความสัมพันธ์กัน

กล่าวอีกนัยคือ จุดเน้นของอนาคตมุ่งที่ความสัมพันธ์ของระบบที่มีทิศทางของความสัมพันธ์ที่หลากหลาย (multi-direction) เป็นระบบความคิดทั่วไป (general systems theory/thinking) มากกว่าระบบปกติ (system) ซึ่งระบบต่างๆ เหล่านี้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ได้แก่

1.1) มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกันและกัน (interrelatedness)

1.2) มีความเป็น "องค์รวม" ที่มากกว่า "ส่วนรวม" (holistic vs wholistic) โดยเชื่อว่า องค์รวมเป็นมากกว่าการเอาส่วนย่อยมารวมกัน (holistic) ซึ่งต่างจากความคิดส่วนรวมแบบเดิมที่เชื่อว่า เมื่อเข้าใจส่วนย่อยก็จะสามารถเข้าใจส่วนรวม (wholistic/parts) ทั้งนี้นักวิชาการได้อธิบายว่า คำว่า holistic ที่ไม่มี w นำนี้ว่า มีความหมายระดับกว้างและมีลักษณะที่เรียกว่าองค์รวมของทั้งหมดมากกว่า wholistic ที่มีความหมายเพียงว่าส่วนรวม. อย่างไรก็ตาม นักวิชาการมองว่าคำว่า holistic เป็นวาทกรรมของการต่อสู้เชิงกระบวนทัศน์ที่มีต่อโลกและสรรพสิ่งต่างๆ ที่ต่างไปจากกระบวนทัศน์เดิมนั่นเอง (จุมพล พูลภัทรชีวิน, 2547)

1.3) มีการเชื่อมโยงพึ่งพิงอิงอาศัยซึ่งกันและกัน (interdependent)
1.4) มีลักษณะร่วมมือและร่วมพลังกัน (cooperatives/collaborative) มากกว่าการแข่งขัน (competitive)
1.5) มีความเป็นเอกภาพบนความหลากหลาย (unity through diversity)

ภายใต้หลักการดังกล่าว การศึกษาอนาคตจึงมีลักษณะที่พยายามจะทำความเข้าใจและอธิบายความสัมพันธ์ทั้งภายในและระหว่างระบบที่สลับซับซ้อนของส่วนประกอบต่างๆ ในธรรมชาติของสังคมและโลก เช่น ระบบรัฐ/ประเทศ ระบบนิเวศน์วิทยา ระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น องค์ประกอบสำคัญของการศึกษาอนาคตประการหนึ่งคือ การมุ่งมองไปในภาพรวมรอบด้าน รวมไปถึงการมองไปข้างหน้าเพื่อให้เห็นภัยคุกคามและข้อจำกัดสภาพแวดล้อมต่างๆ โดยเชื่อว่ามนุษย์อาศัยอยู่ในโลกที่จำกัดซึ่งต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และร่วมมือกันเพื่อสันติภาพระยะยาว (วิโรจน์ สารรัตนะ, 2548)

2) การเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงผันแปรและพลวัตร (change/dynamism) เนื่องจากโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และเต็มไปด้วยพลวัตรที่หลากหลาย มีความสลับซับซ้อน (complex) มีลักษณะ "chaos" มนุษย์จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นการศึกษาอนาคตจึงมิใช่เพียงการทำนายความเปลี่ยนแปลง แต่ยังเครื่องมือที่จะช่วยบุคคลในการเตรียมการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความรับผิดชอบต่อการดำรงชีวิตในสังคมวันหน้า หรือกล่าวอีกนัยคือ การศึกษาอนาคตเป็นการมองไปในอนาคตข้างหน้า มองเห็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิด และทำให้มองเห็นโลกที่อาศัยอยู่ในปัจจุบันได้อย่างเข้าใจขึ้น

3) การมีความยืดหยุ่นสูง (high flexibility) การศึกษาอนาคตเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องการขยายมุมมองที่กว้างไกล เป็นการมองไปในสังคมข้างหน้า ดังนั้น สาระสำคัญของการศึกษาอนาคตมิได้จำกัดอยู่ด้วยขอบเขตของวิชาการแบบดั้งเดิม ที่ติดอยู่ภายใต้กรอบทฤษฎีและวิธีการอธิบายแบบใดแบบหนึ่ง แต่เป็นการมองไปข้างหน้าอย่างเป็นสหวิทยาการ(interdisciplinary studies) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในโลกยุคใหม่มีความไม่แน่นอนสูง (uncertainty) ฉะนั้นการมีความยืดหยุ่นสูง จะช่วยให้เกิดการจินตนาการถึงสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า รวมถึงมองเห็นทางเลือกที่หลากหลายในอนาคต และยังช่วยในการปรับตัวท่ามกลางความเป็นพลวัตรที่ไม่แน่นอนได้

กล่าวก็คือ จุดมุ่งหมายของการศึกษาอนาคตนั้น มิใช่การศึกษาข้อเท็จจริงเพื่อความถูกต้องแม่นยำ หากแต่เป็นการคาดการณ์สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจริง และแม้นักอนาคตจะใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐาน แต่ก็มีความแตกต่างจากนักวิทยาศาสตร์ตรงที่ นักวิทยาศาสตร์จะให้ความสนใจมากกับการพิสูจน์สมมติฐานหรือสิ่งที่เชื่อ แต่นักอนาคตจะใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์บวกกับจินตนาการความคิดเชิงอนาคตว่า "ถ้าเกิดสิ่ง... ต่อไป เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ความคิด ฯลฯ จะเป็นอย่างไรอีก...ปีข้างหน้า" นั่นคือนักอนาคตจะดูแนวโน้ม (trend) หรือความเป็นไปได้ในสิ่งที่จะเกิดพร้อมกับจินตนาการต่อสิ่งที่คาดว่าเป็นไปได้เหล่านั้นโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์อย่างนักวิทยาศาสตร์ ดังที่ จุมพล พูลภัทรชีวิน (2548) กล่าวว่า

เป้าหมายหลักของการศึกษาและการวิจัยอนาคต มิใช่อยู่ที่การทำนายที่ถูกต้องแม่นยำ เพราะเรื่องของอนาคตเป็นเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่มีข้อเท็จจริง (facts) เกี่ยวกับอนาคต มีแต่เพียงการคาดการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มที่เป็นทางเลือกที่คาดว่าจะมีความเป็นไปได้ (possible alternative trends) เท่านั้น . . . หลักการสำคัญของอนาคตนิยมจึงอยู่ที่การสร้างอนาคตที่พึงประสงค์มากกว่าการตามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

"The Future is Now"
นอกจากหลักการที่อนาคตศึกษาเน้นมากอีกประการหนึ่งคือ การเน้นความสำคัญของการรับผิดชอบของสมาชิกในสังคมต่ออนาคตตั้งแต่วันนี้ ดังคำที่ว่า "The Future is Now" โดยถือว่าการกระทำใดๆ ในวันนี้ล้วนส่งผลต่ออนาคตในวันหน้าทั้งสิ้น

กล่าวโดยสรุปก็คือ อนาคตศึกษาและการศึกษาอนาคตมิใช่เพียงแต่การคาดการณ์สิ่งที่เกิดหรือทางเลือกต่างๆ ที่เป็นไปได้ในอนาคตเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการมีความรับผิดชอบของมนุษย์ต่อสังคมในวันนี้ด้วย อันหมายรวมว่าอนาคตมิใช่สิ่งที่เกิดต่อจากปัจจุบันเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้จากการตัดสินใจและการกระทำในปัจจุบัน ดังนั้นด้วยหลักการเหล่านี้ แนวคิดอนาคตศึกษาและการศึกษาอนาคตจึงมีบทบาทสำคัญตั้งแต่ระดับประเทศในการวางนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนา รวมถึงระดับปัจเจกบุคคลในการดำเนินชีวิตอย่างมี "สติ"

การศึกษาอนาคตและวิธีการวิจัยอนาคต
แนวคิดอนาคตศึกษาที่แพร่หลายไปอย่างกว้างขวางในปัจจุบันนั้น ยังกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาระเบียบวิธีเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยอนาคต (future research) ไปด้วย ปัจจุบันมีการใช้วิธีวิจัยอนาคตในหลากหลายรูปแบบ เช่น

๐ วิธีการสำรวจเดลฟาย (delphi surveys) ที่ใช้ในการทำนายการเกิดแนวโน้มด้านต่างๆ เพื่อประกอบการวางแผนหรือพัฒนานโยบาย

๐ วิธีการวิจัยอนาคตเชิงชาติพันธุ์วรรณา (ethnographic future research, EFR) ที่เน้นการศึกษาวิจัยปัญหาที่สลับซับซ้อนเกี่ยวกับระบบสังคม และวัฒนธรรมในอนาคต ทั้งในแง่ของความเป็นไปได้ ความน่าจะเป็นหรือสิ่งที่คาดหวังจะให้เกิด/ให้เป็น (สิปปนนท์ เกตุทัต, 2535)

๐ วิธี EDFR เป็นเทคนิคที่ผสมผสานระหว่างเทคนิคเดลฟายและเทคนิค EFR ซึ่งการผสมวิธีการทั้งสองแบบนี้ช่วยกำจัดจุดอ่อนและเสริมจุดแข็งให้กับวิจัยอนาคตแบบเดิม ทำให้ได้ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ (จุมพล พูลภัทรชีวิน, 2530)

๐ วิธีการขยายแนวโน้ม (extrapolation หรือ trend analysis)
เป็นเทคนิคที่เก็บรวบรวมข้อมูลหรือตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งจากอดีตและปัจจุบัน เพื่อสรุปทิศทางหรือแนวโน้มที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

๐ วิธีการสร้างภาพอนาคต (scenario planning) เป็นเทคนิคที่เน้นการสร้างเรื่องราวเกี่ยวกับอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นจากโครงเรื่องที่มีเหตุและผลชัดเจน โดยให้พิจารณาถึงปัจจัยความไม่แน่นอน (uncertainties) ที่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดฝันและมีผลกระทบสูงต่อเรื่องนั้นๆ เพื่อให้เห็นภาพอนาคตที่เป็นไปได้ นอกจากความพยายามพัฒนา

๐ วิธีการมองอนาคต (foresight)
เพื่อใช้ในคาดการณ์แนวโน้ม มองอนาคตและภาพอนาคตหลายภาพที่มีโอกาสเกิดขึ้น เพื่อย้อนกลับมา (backcast) วางแผน และหาแนวทางรับมือกับภาพอนาคตเหล่านั้น เป็นต้น

ตาราง แสดงจุดร่วมและจุดต่างของวิธีการศึกษาอนาคตแต่ละวิธี

คลิกดูตารางประกอบได้จากไฟล์เวิร์ดปกติ
ที่มา : Glenn.1994

ในภาพรวมอาจกล่าวได้ว่า วิธีการวิจัยอนาคตเหล่านี้แม้จะแตกต่างกันในเชิงเทคนิควิธี หากแต่มีจุดเน้นร่วมกันตรงที่ มุ่งสำรวจและศึกษาแนวโน้มที่เป็นไปได้ หรือความน่าจะเป็นของเรื่องที่ศึกษาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ทั้งที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ เพื่อหาทางทำให้แนวโน้มที่พึงประสงค์เกิดขึ้น และหาทางป้องกันหรือขจัดแนวโน้มที่ไม่พึงประสงค์ด้วยการกระทำในปัจจุบัน (จุมพล พูลภัทรชีวิน, 2548)

ข้อคิดและแนวทางการประยุกต์ใช้สำหรับนักวิจัยอนาคตศึกษา
ภายใต้แนวคิดอนาคตศึกษาที่ให้ความสนใจกับการศึกษาแนวโน้ม และทางเลือกต่างๆ ที่มีความเป็นไปได้ในอนาคต เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับแนวโน้มและความเป็นได้ที่จะเกิดในอนาคตนั้น ปัจจุบันได้มีการประยุกต์แนวคิดและวิธีการศึกษาอนาคตไปสู่แวดวงการศึกษาวิจัยในด้านต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ฯลฯ อีกทั้งยังมีการพัฒนาเทคนิควิธีวิจัยอนาคตที่หลากหลายเพิ่มขึ้น ให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาหรือโจทย์วิจัยในเฉพาะทางเฉพาะเรื่องมากขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการพัฒนาเทคนิควิธีมากมาย แต่ในกระบวนการนำแนวคิดและวิธีการอนาคตไปใช้ นักอนาคตศึกษาหรือนักวิจัยอนาคตรุ่นใหม่ มักให้ความสำคัญกับการเลือกใช้เครื่องมือที่ยืดหยุ่น หรือผสานวิธีการหลายๆ แบบมาใช้ในการศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลและทางเลือกที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษาวิจัยนั้นๆ ซึ่งข้อดีคือ นอกจากเป็นการช่วยลดจุดอ่อนของเทคนิควิธีใดวิธีหนึ่ง ยังเท่ากับเป็นการตรวจสอบความพอเพียงและรอบด้านของข้อมูลที่ศึกษาด้วย แต่ข้อน่าสังเกตคือผู้วิจัยที่จะเลือกใช้เทคนิควิธีการต่างๆ พึงมีความแม่นยำและชำนาญการพอสมควร มิฉะนั้นอาจเกิดความสับสนทั้งจากวิธีการเก็บข้อมูลและการตีความข้อมูล ซึ่งอาจสร้างความยุ่งยากให้นักวิจัยภายหลังได้


เอกสารอ้างอิง

จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์. นโยบายและยุทธศาสตร์การศึกษาแบบมุ่งอนาคตเพื่อเด็กและเยาวชนไทย. วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2549

จุมพล พูลภัทรชีวิน. "อนาคตศึกษาและการวิจัยอนาคต". รัฐสภาสาร ปีที่ 30 ฉบับที่ 7 (ก.ค.2525) หน้า 66 - 70.

จุมพล พูลภัทรชีวิน. "การวิจัยอนาคต". วิจัยวิทยาการวิจัย ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย 2529) หน้า 22- 25.[ฉบับปรับปรุง 2548]

จุมพล พูลภัทรชีวิน. "เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ EDFR". วิจัยการศึกษา ปีที่ 10 ฉบับที่ 5 (มิ.ย.-ก.ค. 2530) [ฉบับปรับปรุง 2548]

จุมพล พูลภัทรชีวิน. อนาคตศึกษา [Online]. โครงการจิตวิวัฒน์. มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), 2548 แหล่งที่มา : [email protected]

ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. เอกสารสรุปการบรรยายเรื่องวิธีการในการศึกษาแนวโน้มกับการศึกษาแนวโน้มทางเทคโนโลยีการศึกษา. [Online]. ภาควิชาโสตทัศนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10 สิงหาคม 2547 ณ ห้องประชุมยุพา วีระไวทยะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แหล่งที่มา : pirun.ku.ac.th

วิโรจน์ สารรัตนะ. อนาคตศึกษา : วิสัยทัศน์เพื่อการบริหารและการพัฒนา [ออนไลน์], 2548 แหล่งที่มา : http://ednet.kku.ac.th

สิปนนท์ เกตุทัต. (เขียน) โรเบิรต์ บี. เท็กซ์เตอร์ (วิจัยและเรียบเรียง) ทางสายกลางของสังคมไทยในอนาคต : เทคโนโลยีที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม. สถาบันวัฒนธรรมและการสื่อสาร อีสต์เวสต์ เซ็นเตอร์ ฮาวาย สหรัฐอเมริกา ร่วมกับคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาชัยเชียงใหม่ ประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2535

Cornish, Edward. The Study of the Future 5th ed. World Future Society. Washington
D.C., 1983.


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ภาคผนวก:

การศึกษาแนวโน้ม: บทนำเบื้องต้น
(1)
จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ สถาบันรามจิตติ

นักอนาคตศึกษาให้ความสนใจกับการศึกษาแนวโน้มต่างๆ ทั้งนี้ด้วยความเชื่อว่า มนุษย์มีระเบียบวิธีในการศึกษาแนวโน้มในอนาคตอย่างเป็นระบบ ซึ่งอยู่ในรูปของการวิจัยในอนาคต (future research) ความเชื่อของมนุษย์เกี่ยวกับอนาคตย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและการตัดสินใจ และเชื่อว่ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง (2)

ทั้งนี้ความสนใจต่อการศึกษาแนวโน้ม (Trend Studies) นั้นมีมาตั้งแต่อดีต โดยจากเดิมความคิดเรื่องของแนวโน้มเป็นความสนใจภายใต้การศึกษาพัฒนาการในอดีต เพื่อทำนายแนวโน้มในอนาคต หรือมุ่งศึกษาข้อมูลในด้านต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง และเทคโนโลยี ทั้งในอดีต ปัจจุบัน เพื่อพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคต รวมถึงศึกษาว่าตัวประกอบใดมีอิทธิพล เพื่อจะได้ควบคุมตัวแปรเหล่านั้นในอนาคต (3)

แต่ในระยะต่อๆ มา ด้วยอิทธิพลของอนาคตนิยมและความก้าวหน้าทางวิทยาการในโลก ความสนใจในเรื่องแนวโน้มได้มุ่งไปที่คาดการณ์แนวโน้มหรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างรอบด้าน เพื่อมาหาทางเลือกในการจัดการแนวโน้มที่จะมาถึง. การศึกษาแนวโน้มมีพัฒนาการเรื่อยมา แนวคิดดังกล่าวก็ได้รับความสนใจมากขึ้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงยุคแห่งการพัฒนาตั้งแต่ปี 1950 เรื่อยมา ที่กระแสทั่วโลกได้หันมาให้ความสำคัญกับการศึกษาแนวโน้มเพื่อการตั้งหลักคิดและทิศทางในการพัฒนาประเทศ

อย่างไรก็ตาม ในช่วงก่อนขึ้นสหัสวรรษใหม่ งานศึกษาแนวโน้มได้ขยายวงออกไปอย่างกว้างขวาง คือมิใช่มีเพียงนักอนาคตเท่านั้นที่สนใจศึกษาเรื่องดังกล่าว แต่ยังรวมไปถึงนักยุทธศาสตร์ นักพัฒนาเทคโนโลยีและด้านต่างๆ การตื่นตัวของหลายฝ่ายที่มีต่องานศึกษาแนวโน้มในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 นี้เอง ได้มีส่วนปลุกเร้าให้ผู้คนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นนักนโยบาย นักยุทธศาสตร์ รวมถึงนักวิชาการและภาคประชาชน ได้หันมาให้ความสำคัญต่องานศึกษาแนวโน้มและอิทธิพลของแนวโน้ม และยังส่งผลต่อการปรับมุมมองทางสังคมใหม่ภายใต้แนวคิดแบบมุ่งอนาคต (future oriented) เพื่อการเตรียมพร้อมรับกระแสแนวโน้มที่จะมาถึงด้วย (4)

กล่าวคือ ในช่วงนี้เองที่จำนวนงานที่ศึกษาแนวโน้มก็ถูกตีพิมพ์เผยแพร่มากขึ้น และเอกสารหลายชิ้นได้กลายเป็นสิ่งพิมพ์ที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ ในสากลโลก งานศึกษาแนวโน้มที่ถูกกล่าวขวัญอย่างมาก ดูจะหนีไม่พ้นงานของบุคคลสำคัญๆ อาทิ งาน John Naisbitt นักอนาคต ซึ่งถือว่าเขาเป็นผู้ปฏิวัติการศึกษาแนวโน้มที่น่าสนใจ ดังเช่น งานของเขาในปี 1990 ในเรื่อง "อภิมหาแนวโน้มปี 2000" (Megatrends 2000) (5) และงานในปี 1994 ที่ชื่อว่า "โกลบัลพาราดอกซ์" (Global Paradox : The bigger the world economy, the more powerful its smallest players) (6) ในงานเขียนสองเล่มนี้ Naisbitt ได้มองแนวโน้มและพูดถึงอภิมหาแนวโน้มสำคัญๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโลก งานของเขาได้ถูกอ้างถึงมากเป็นอันดับต้นๆ ของนักอนาคตศึกษาและนักยุทธศาสตร์

เช่นเดียวกันกับงานของ Peter F. Drucker ในปี 1992 ที่เขียนเรื่อง "การจัดการเพื่ออนาคต" (Managing for the Future: The 1990s and Beyond) (7) และ งานของ Frances Hesselbein และคณะ ในปี 1997 เรื่อง"องค์การแห่งอนาคต" (The Organization of The Future) (8) ภายใต้การสนับสนุนขององค์การ Drucker Foudation ซึ่งถือเป็นงานศึกษาแนวโน้มที่น่าสนใจ งานทั้งสองชิ้นนี้ได้ชี้ว่า ในอนาคตที่เต็มไปด้วยแนวโน้มที่หลากหลายนั้น องค์กรในอนาคตควรมีการปรับตัวอย่างไร และควรมีการจัดการอย่างไรให้สามารถพร้อมรับกับกระแสแนวโน้มและความเปลี่ยนแปลงในอนาคตข้างหน้า

หรือแม้แต่งานของ Dee Dickinson ในปี 1994 เรื่อง "แนวโน้มภาพบวกในการเรียนรู้" (Positive Trends In Learning : Meeting the Needs of a Rapidly Changing World) (9) และในปี 2000 เรื่อง "การศึกษาในปี 2050" (Education 2050) (10) ก็เป็นกลุ่มงานอนาคศึกษาที่สนใจศึกษาแนวโน้มทางการศึกษาและการปรับตัวในการเรียนรู้กับโลกอนาคต

ในส่วนของวิธีการศึกษาแนวโน้มก็เช่นกัน พบว่า วิธีการของการศึกษาแนวโน้มที่ใช้ก็มีหลากหลายวิธีมากขึ้น ทั้งการคาดการณ์ (forecast) การสำรวจแนวโน้ม (trend exploratory) ในมิติต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม ฯลฯ รวมถึงการวิเคราะห์ผลกระทบแนวโน้ม (trend analysis) ที่จะมีต่อวิถีชีวิตผู้คน

ตัวอย่างงานศึกษาแนวโน้มที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งคืองานของ Dryden and Vos ในปี 1977 เรื่อง "การปฏิวัติการเรียนรู้" (The Learning Revolution) (11) ได้ใช้วิธีการศึกษาเอกสาร เก็บข้อมูลภาคสนามและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและในสาขาอื่นๆ ซึ่งงานชิ้นนี้กล่าวถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง 15 ประการ ซึ่งมีผลต่อรูปแบบชีวิตของมนุษย์โลกในอนาคต อันเป็นแรงผลักให้คนและสังคมต้องตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิวัติการเรียนรู้ นั่นคือ

1) การก้าวสู่ยุคสารสนเทศ
2) โลกที่ปราศจากพรมแดนทางเศรษฐกิจ
3) การก้าวสู่โลกเศรษฐกิจเดียว
4) การบริการสังคมแบบใหม่
5) แนวคิดที่จากเน้นความใหญ่สู่ความเล็กจิ๋ว

6) ยุคแห่งการให้ความสำคัญกับเวลาว่าง
7) การเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน
8) การที่ผู้หญิงก้าวเป็นผู้นำ
9) ทศวรรษแห่งองค์ความรู้ด้านสมอง
10) วัฒนธรรมชาตินิยม

11) การเติบโตของชนชั้นล่าง
12) การตื่นตัวเรื่องวัยของประชากร
13) ยุคแห่งการเรียนรู้และทำด้วยตัวเอง (DIY)(*)
14) การร่วมมือกับผู้ประกอบการ
15) ความเป็นปัจเจกบุคคล

(*) Do it yourself, often referred to by the abbreviation DIY, is a term used by various communities that focus on people (called do-it-yourselfers or DIYers) creating or repairing things for themselves without the aid of professionals.

The notion is related in philosophy to the Arts and Crafts movement of the late 19th and early 20th centuries. Many modern DIY subcultures take the traditional Arts and Crafts movement's rebellion against the perceived lack of soul of industrial aesthetics a step further. DIY subculture explicitly critiques modern consumer culture, which emphasizes that the solution to our needs is to purchase things, and instead encourages people to take technologies into their own hands to solve needs.


ขณะที่งานศึกษาแนวโน้มในยุคถัดมาอีกชิ้นหนึ่ง ได้แก่ รายงานขององค์การ National Intelligence Council หรือ NIC ของสหรัฐอเมริกาในปี 2000 ในเรื่อง "แนวโน้มโลกปี 2015" (Global Trends 2015: A Dialogue About the Future) (12) ซึ่งได้ศึกษาเอกสารสำคัญจากองค์กรที่เชี่ยวชาญด้านการคาดการณ์อนาคตในมิติต่างๆ เช่น มิติการทหาร มิติการเมือง มิติทางเศรษฐกิจ มิติเทคโนโลยี มิติสังคม ฯลฯ พร้อมกับการประชุมสัมมนาผู้เชี่ยวชาญด้านอนาคตศึกษาเกี่ยวกับมุมมองที่มีต่อโลกในทศวรรษหน้า โดยได้สรุปถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นใน ค.ศ. 2015 ว่า จะมีแนวโน้มหลักๆ ได้แก่

1) แนวโน้มเกี่ยวกับการขยายตัวของประชากรโลกที่สูงขึ้น
2) แนวโน้มด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานโลก
3) แนวโน้มด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4) แนวโน้มด้านเศรษฐกิจโลก
5) แนวโน้มด้านรัฐบาลในแต่ละประเทศและระหว่างประเทศที่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและท่าทีการดำเนินความสัมพันธ์
6) แนวโน้มด้านความขัดแย้งในอนาคตทั้งจากปัจจัยภายใน การก่อการร้าย ความขัดแย้งระหว่างรัฐ และท่าทีทางการทหารของประเทศสหรัฐฯ
7) แนวโน้มด้านบทบาทของประเทศมหาอำนาจ

นอกจากที่กล่าวแล้ว ยังพบว่า ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมานี้ ยังมีเอกสารที่เกี่ยวกับการศึกษาแนวโน้มอีกหลายสิบชิ้น เช่น เรื่อง "โลกในปี 2020" (The World in 2020) (13) "เส้นทางสู่อนาคต" (The Road Ahead) (14) "สังคมแห่งการเรียนรู้" (The Learning Society: Challenges and trends) (15) "เวลาแห่งการก้าวกระโดด" (Jump Time: Shaping Your Future in a Time of Radical Change, Jean Houston) (16) "อนาคตที่กำลังมา" (Futuring : The Exploration of the Future) (17) "ผู้นำแบบมุ่งอนาคต" (Future-Oriented Leadership: A Rare and Precious Capability) เป็นต้น

จากที่กล่าว สรุปในภาพรวมได้ว่า งานศึกษาแนวโน้มได้กลายเป็นงานที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง มีการตีพิมพ์ผลงานที่เกี่ยวกับการศึกษาแนวโน้มจำนวนมาก ขณะเดียวกันก็มีการใช้ประโยชน์จากแนวคิดและวิธีการศึกษาแนวโน้ม เพื่อวางแผนเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านต่างๆ นอกจากนี้ ท่ามกลางการคาดการณ์ว่า ในทศวรรษหน้าอิทธิพลของแนวโน้มสำคัญๆ จะส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างมหาศาลในหลายด้าน ยิ่งทำให้การศึกษาแนวโน้มได้กลายเป็นแนวคิดและวิธีการที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้ทั้งในระดับนโยบายและระดับองค์กรมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม หัวใจสำคัญของการศึกษาแนวโน้มคงอยู่ภายใต้ตรรกะของแนวคิดอนาคตศึกษาหรือการศึกษาอนาคต (Futures studies) ซึ่งจุมพล พูลภัทรชีวิน ผู้บุกเบิกงานอนาคตศึกษาในสังคมไทย ได้กล่าวว่า

จุดมุ่งหมายของการศึกษาอนาคตที่อยู่ที่การสำรวจและศึกษาแนวโน้มที่เป็นไปได้ หรือน่าจะเป็นของเรื่องที่ศึกษาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ทั้งที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์เพื่อหาทางทำให้แนวโน้มที่พึงประสงค์เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันก็หาทางป้องกันหรือขจัดแนวโน้มที่ไม่พึงประสงค์ด้วยการกระทำในปัจจุบัน (19)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เอกสารอ้างอิง

1. เรียบเรียงจาก จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์. นโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคตเพื่อเด็กและเยาวชนไทย. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาพัฒนศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549

2. จุมพล พูลภัทรชีวิน. อนาคตศึกษา [Online]. โครงการจิตวิวัฒน์ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), 2548. แหล่งที่มา: http://semsikkha. org/article/article/article171.doc[20 ธันวาคม 2548]

3. จุมพล พูลภัทรชีวิน. อนาคตศึกษา [Online]. โครงการจิตวิวัฒน์ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), 2548. แหล่งที่มา: http://semsikkha. org/article/article/article171.doc[20 ธันวาคม 2548]

4. จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์. นโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคตเพื่อเด็กและเยาวชนไทย. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาพัฒนศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549

5. John Naisbitt. Megatrends 2000. New York: Avon Books, 1990.

6. Naisbitt, John. Global Paradox : The Bigger the World Economy, the More Powerful its Smallest Players. New York: William Morrow and Co., 1994.

7. Drucker, Peter F. Managing for the Future : The 1990s and Beyond. New York: Truman Talley Books, 1992.

8. Hesselbein, Frances; Goldsmith, Marshall and Beckhard, Richard. The Organization of The Future. The Drucker Foudation. San Francisco: JosseyBass Publisers, 1997.

9. Dickinson, Dee. Positive Trends In Learning [Online]. 1994. Available from:
http://www.newhorizons.org[2005, August 19]

10. Dickinson, Dee. Education 2050. in Marianne Williamson (editer). Imagine: What America Could be in the 21st Century ( [Online]. 2000. Available from: http://www.newhorizons.org [2005, August 19]

11. Dryden, G & Vos, J. The Learning Revolution. Auckland: The Learning Web Ltd, 1997.

12. National Intelligence Council. Global Trends 2015 : A Dialogue About the Future with Nongovernmental Experts [Online]. 2005. Available from: http://www/cia.gov[2005, August 19]

13. McRae, Hamish. The World in 2020 . London: Harper Collins, 1994.

14. Gates, Bill. The Road Ahead. New York: Viking Penguin, 1995.

15. Raggatt, Peter; Edwards, Richard and Small, Nick. The Learning Society. London: The Open University,1996.

16. Houston, Jean. Jump Time : Shaping Your Future in a World of Radical Change. New York : Tarcher Putnam, 2000.

17. Cornish, Edward. Futuring. Maryland: World Future Society, 2004.

18. Carroll, Jim. Future-oriented Leadership [Online]. 2005. Available from:
www.jimcarroll.com [2005, August 10]

19. จุมพล พูลภัทรชีวิน. อนาคตศึกษา [Online]. โครงการจิตวิวัฒน์ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), 2548. แหล่งที่มา: http://semsikkha. org/article/article/article171.doc [20 ธันวาคม 2548]

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com