ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้เป็นสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๐๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ : Release date 02 June 2009 : Copyleft MNU.

อนึ่ง เมื่อกล่าวถึง"การจำ"แล้ว ก็จำต้องตระหนักถึง"การลืม"(ซึ่งอาจเป็นด้านที่ไม่โสภาหรือเจ็บปวดซึ่งถูกกดทับ ปฏิเสธหรือเพิกเฉย)ด้วย เนื่องจากว่าสิ่งที่ "ไม่จำ" นั้นก็อาจมีความสำคัญเท่ากับสิ่งที่ "จำ" ก็ได้ สำหรับประเด็นนี้เรแนน (Ernest Renan)ได้แสดงความเห็นไว้ว่า การลืม (forgetfulness) หรือความผิดพลาดในทางประวัติศาสตร์นั้นมีความสำคัญในการสร้างชาติ ด้วยเหตุนี้ มันจึงจำเป็นที่ต้อง "ไม่ลืมที่จะลืม"(not to forget to forget)เนื่องจากว่า"การลืม"อาจสามารถช่วยในการบำบัดฟื้นฟู แต่อย่างไรก็ตาม ทั้ง"การจำ" และ"การลืม"ก็มีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจความทรงจำ อดีตและประวัติศาสตร์ เหตุนี้การเปิดพื้นที่ให้แก่ความทรงจำที่ถูกกลบฝังหรือกดทับเอาไว้ จึงเป็นความกล้าหาญทางปัญญาญาณ (คัดลอก)

H



02-06-2552 (1734)
โลกาภิวัตน์ในมิติวัฒนธรรม: อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ความรู้ และอำนาจ
พิพิธภัณฑ์ในฐานะเครื่องมือของการเมืองทางวัฒนธรรม
ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี: เขียน

โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความชิ้นนี้ได้รับมาจากผู้เขียน ซึ่งได้คัดลอกมาบางส่วนจากเนื้อหาต้นฉบับ
เดิมชื่อ: พิพิธภัณฑ์กับการเมืองทางวัฒนธรรมในบริบทของสังคมพหุลักษณ์ : แนวคิดและทฤษฎี
สำหรับนักศึกษา สมาชิก ผู้สนใจอ่านงานเขียนชิ้นนี้ แนะนำให้อ่านควบทั้งบทความ ๑๗๓๓ และ ๑๗๓๔
เนื่องจากผู้เขียนตั้งใจถ่ายทอดเนื้อหาต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกันโดยลำดับ

ประเด็นสำคัญของบทความนี้แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้...
- พิพิธภัณฑ์ใหม่ - ทฤษฎีพิพิธภัณฑ์เชิงวิพากษ์
- ๔ กระบวนทัศน์หลักของการจัดการพิพิธภัณฑ์
- วิกฤตของ "ภาพตัวแทน" ที่ปรากฏในพิพิธภัณฑ์
- พิพิธภัณฑ์ในมุมมองวัฒนธรรมทางสายตา
- คนท้องถิ่นไม่เคยมีตัวตนในพิพิธภัณฑ์
- พิพิธภัณฑ์ในมุมมองของชุมชน
(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "วัฒนธรรมหลังสมัยใหม่")

สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๓๔
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๐๒ มิถุนายน ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๕.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ผลงานภาพประกอบ: นำมาจากภาพงานจิตรกรรมโดยศิลปินล้านนา งานนิทรรศการศิลปะ
"ตามฮีต โตยฮอย สล่าเมือง" ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (แสดงต้นปี พ.ศ.๒๕๕๒)

โลกาภิวัตน์ในมิติวัฒนธรรม: อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ความรู้ และอำนาจ
พิพิธภัณฑ์ในฐานะเครื่องมือของการเมืองทางวัฒนธรรม
ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี: เขียน

โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word


ความนำ
พิพิธภัณฑ์อาจเป็นอีกเครื่องมือทางวัฒนธรรมหนึ่งในการผลิต "ความรู้" และ "คุณค่า/ค่านิยม" บางอย่างแก่สังคม ซึ่งนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงการทำความรู้ให้เป็นการเมือง (the politicization of knowledge) เป็นการมองอำนาจเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมผ่านกระบวนการจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นเครื่องมือ (instrumentalization) ทางการเมือง ซึ่งในที่นี้หมายถึงการแสวงหาพื้นที่ทางสังคมเพื่อสร้างการยอมรับ

กล่าวคือ "การเมืองของวัฒนธรรม" ในพื้นที่พิพิธภัณฑ์นั้นได้ดำเนินผ่านกระบวนการสร้าง "ความหมาย" และ "อัตลักษณ์" โดยการเลือก จัดวางและจัดแสดงวัตถุหรือภาพตัวแทนต่างๆ ดังนั้น ในกรณีนี้จึงจำเป็นที่ต้องทบทวนคำอธิบายที่ว่า วัฒนธรรมเป็นตัวสะท้อน(reflective)พฤติกรรมมนุษย์(หรือถ้าสำนวนมาร์กซิสต์ก็เรียกว่าโครงสร้างเศรษฐกิจ)กันใหม่ หากแต่ควรจะมองว่าวัฒนธรรมนั้นสามารถที่จะสร้าง/บัญญัติ(constitutive)พฤติกรรมมนุษย์ด้วย เนื่องจากสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมมีอำนาจในการหล่อหลอมอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมทั้งในระดับปัจเจกและสังคม โดยสามารถจัดสร้างอารมณ์ การรับรู้และค่านิยมต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อวิถีทางที่เรารู้สึกนึกคิด

เหตุนี้วัตถุที่ถูกจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์โดยตัวมันเองไม่ได้เป็นสิ่งที่บริสุทธิ์และมีความเป็นของแท้ดั้งเดิม(Authentic) เพราะว่าบริบทร่วมสมัยต่างหากที่เป็นตัวขัดเกลา หล่อหลอมคำอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่เราคิดว่าเป็น "ของแท้ดั้งเดิม" ดังนั้น พิพิธภัณฑ์จึงเป็นพื้นที่ที่กำหนดความหมายของตัวมันเองใหม่ ทั้งโดยการหล่อหลอมและสะท้อนค่านิยมทางวัฒนธรรมของช่วงเวลานั้นๆ ด้วยเหตุนี้ วัฒนธรรมจึงสัมพันธ์กับการสร้าง (generative) ตามมุมมองของแนวคิดการสร้าง (constructivist) (*) นอกจากนี้ พิพิธภัณฑ์ยังไม่เพียงแค่นำเสนออัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเท่านั้น แต่การผลิตอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมดังกล่าวยังถูกกำหนดผ่าน "กรอบ" ความหมาย (framing) บางอย่างด้วย

(*)Eilean Hooper-Greenhill, Museums and the Interpretation of Visual Culture, (Florence, KY, USA: Routledge, 2001), p.13.

พิพิธภัณฑ์ใหม่ - ทฤษฎีพิพิธภัณฑ์เชิงวิพากษ์
ทฤษฎีพิพิธภัณฑ์ใหม่ (new museum theory) ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "ทฤษฎีพิพิธภัณฑ์เชิงวิพากษ์ หรือพิพิธภัณฑ์วิทยาใหม่" (new museology) จึงพยายามเสนอแง่มุมเพื่อกระตุกความคิดเราใหม่ ทั้งนี้ แม้ว่าคนทำงานพิพิธภัณฑ์จะเชื่อหรือพยายามทำให้นโยบายและกระบวนการต่างๆ ของตนเองเป็น "กลาง" แบบมืออาชีพ ทว่ากระบวนการตัดสินใจที่คนทำงานพิพิธภัณฑ์ดำเนินการนั้น ได้สะท้อนระบบค่านิยมที่วางอยู่เบื้องล่างบางอย่าง (underlying value system) และใส่รหัสคุณค่านั้นเข้าไปใน "เรื่องเล่า" ต่างๆ ที่นำเสนอและจัดแสดง พิพิธภัณฑ์จึงเป็น "เทคโนโลยีทางสังคม" (social technology) เป็นประดิษฐกรรมซึ่งบรรจุ"วัฒนธรรม"ลงไป เพื่อเสนอสนองการบริโภค ดังนั้น ภาระงานของเราก็คือ การรื้อสร้าง "บรรจุภัณฑ์" (packaging) ดังกล่าว เพื่อกลายมาเป็นผู้บริโภคที่มีวิจารณญาณและชี้ชวนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยมองไปยังสิ่งที่พิพิธภัณฑ์ไม่ได้พูดออกมา หรือมีนัยะแฝง(implicit) เช่นเดียวกับสิ่งที่พูดออกมา(explicit) (*)

(*) Janet Marstine (editor), New museum theory and practice : an introduction (Malden, MA : Blackwell, 2006) p. 5

๔ กระบวนทัศน์หลักของการจัดการพิพิธภัณฑ์
อย่างไรก็ตาม ในการรับรู้ของคนทั่วไปและในวงวิชาการนั้น มีสี่กระบวนทัศน์หลักๆ ที่กำกับการรับรู้ ความรู้สึกนึกคิดต่อภาพลักษณ์และการดำเนินการของ "พิพิธภัณฑ์"

- กระบวนทัศน์แรก ดูเหมือนจะเป็นภาพลักษณ์ที่แพร่หลายและครอบงำการรับรู้คนส่วนใหญ่ในสังคม โดยมองพิพิธภัณฑ์ในฐานะเป็นอารามบูชา (shrine) และวัตถุที่สะสมจึงมีสถานะเป็นของมีค่า (ทางจิตใจและจิตวิญญาณ) และศักดิ์สิทธิ์ (fetishized) พิพิธภัณฑ์ตามกระบวนทัศน์นี้จึงเป็นแหล่งเก็บสะสม ปกป้อง สงวนรักษาวัตถุของเก่าที่เชื่อว่าเป็นของแท้(authentic) ด้วยวิธีการของ "ผู้เชี่ยวชาญ" ดังนั้น วัตถุจึงมีความสำคัญกว่าแนวคิด ในแง่นี้พิพิธภัณฑ์จึงมีศักยภาพในการบำบัด ซึ่งนำผู้ชมไปสู่การจัดวาง "ความหมาย" ให้แก่วัตถุที่อาจจะไม่สัมพันธ์กับหน้าที่หรือเจตนาเดิมของมันก็ได้ ดังนั้น พิพิธภัณฑ์แนวนี้จึงแฝงกลิ่นอายและเป็นมรดกความคิดของกระบวนทัศน์แบบชนชั้นนำ(elitist)

- กระบวนทัศน์ที่สอง ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีของมาร์กซิสต์ ซึ่งมองพิพิธภัณฑ์ในฐานะเป็นอุตสาหกรรมที่ถูกขับเคลื่อนโดยตลาด (Market-driven industry) โดยเน้นศึกษารากฐานของวัฒนธรรมทางสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างพิพิธภัณฑ์กับการสถาปนาค่านิยมของทุนนิยม การพึ่งพาอาศัยและการประนีประนอมระหว่างพิพิธภัณฑ์กับผู้ให้ทุนประเภทต่างๆ (รัฐ บริษัทห้างร้าน มูลนิธิการกุศล และผู้บริจาคเอกชน) และทุกวันนี้พิพิธภัณฑ์ยังได้หยิบยืมวิธีการนำเสนอแบบภาพยนตร์ สวนสนุก เพื่อดึงดูด "ลูกค้า" สร้างความตื่นตาตื่นใจ (the spectacle) และพยายามเร้าทุกประสาทสัมผัสของผู้ชมให้มากที่สุด

- กระบวนทัศน์ที่สาม มีความสัมพันธ์กับทฤษฎีหลังอาณานิคม(Postcolonial theory) โดยมองพิพิธภัณฑ์ในฐานะเป็นพื้นที่อาณานิคม (Colonizing space) การศึกษาต้องตรวจสอบว่าโครงสร้างแบบจักรวรรดินิยมและผู้ชายเป็นใหญ่ (patriarchal) ได้หล่อหลอมวัฒนธรรมอย่างไร และพยายามหายุทธวิธีเพื่อเปลี่ยนแปลงมัน ทั้งนี้ นิทรรศการเป็นพื้นที่อภิสิทธิ์เพื่อนำเสนอภาพลักษณ์ของตัวตน (Self) และคนอื่น (Other) กล่าวคือพิพิธภัณฑ์ประกอบสร้าง "คนอื่น" เพื่อสร้างและตัดสินความชอบธรรมให้แก่ "ตัวตน" ของตนเอง. ในกรณีของตะวันตกนั้น วัตถุจากวัฒนธรรมที่ไม่ใช่ตะวันตกเมื่อนำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ กลับเปิดเผยเกี่ยวกับระบบค่านิยมซ่อนเร้นของเจ้าอาณานิคมมากกว่าของชาวอาณานิคมเสียอีก นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์ยังจัดลำดับชั้นวิวัฒนาการให้กับเชื้อชาติ ชาติพันธุ์และเพศสภาพด้วย ซึ่งในฐานะเป็นพื้นที่อาณานิคม พิพิธภัณฑ์ได้ทำให้การจัดแบ่งต่างๆ เช่น สังคมบุพกาล (primitive) ดูเหมือนเป็นกลาง นั่นคือทำให้วัฒนธรรมอื่นที่ไม่ใช่ตะวันตกเป็น "ธรรมชาติ" โดยอยู่ในพัฒนาการที่ต่ำกว่าและถูกแช่แข็ง ไม่เปลี่ยนแปลง

ดังนั้น ด้วยมุมมองแบบตะวันตกเป็นศูนย์กลาง (Eurocentric-ยุโรปเป็นศูนย์กลาง) จึงชอบธรรมที่จะยื้อแย่งและนำเอาวัตถุจากคนพื้นเมืองที่ไม่ใช่ตะวันตกมาเก็บเอาไว้ เนื่องจากผู้คนเหล่านั้นไม่มีศักยภาพพอที่จะสามารถปกป้องทรัพย์สินเหล่านั้นได้ และคนตะวันตก (หรือคนที่คิดแบบตะวันตก) ผู้ที่เพียบพร้อมทั้งความรู้ ความมั่งคั่งและสถานภาพจึงมีความชอบธรรมที่จะสะสมและรวบรวมวัตถุนั้นไว้ ด้วยเหตุดังนั้น เมื่อวัตถุเหล่านั้นเข้ามาอยู่ในพิพิธภัณฑ์ บริบทและหน้าที่ดั้งเดิมของมันจึงถูกละเลยไป กลายเป็นของแปลกจากแดนไกลซึ่งไม่ได้ทำให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันหรือลดทอนภาพตายตัวลงเลย

ดังกรณีที่อัลดริคช์ (Robert Aldrich) ได้ตรวจสอบและวิพากษ์ร่องรอยความทรงจำของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ปรากฏตามอนุสรณ์สถาน พิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในประเทศ โดยร่องรอยความทรงจำเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของอาณานิคมฝรั่งเศส ได้ปรากฏในรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ การตั้งชื่อถนน ตึกหรือตัวอาคาร อนุสาวรีย์ รูปปั้น ตลอดทั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปะ เป็นต้น ซึ่งถูกออกแบบเพื่อหวนระลึกและตอกย้ำความทรงจำ สงวนรักษาและจัดแสดงความโอ่อ่าของจักรวรรดิฝรั่งเศส(expositions coloniales)ที่เคยมลังเมลืองในอดีต ทั้งนี้ แม้ว่าแต่ละบุคคลจะมีความทรงจำของตนเอง แต่ก็ยังถูกฝังตรึงในความทรงจำรวมหมู่(collective memories)ที่ตนเข้าไปมีส่วนร่วมหรือเป็นสมาชิกในระดับและบทบาทต่างๆ เช่น กลุ่มผลประโยชน์ ครอบครัว องค์กรหน่วยงานต่างๆ ซึ่งรวมทั้งความทรงจำแห่งชาติ(national memory)ด้วย โดยความทรงจำทั้งสองแบบนี้ต่างถูกถ่ายทอดในรูปแบบหลากหลายทั้งผ่านสถาบันและประเพณีต่างๆ ทั้งนี้ความทรงจำนั้นสามารถที่จะถูกรักษาให้มีชีวิต ถูกลบลืมและกดทับไว้ ตลอดทั้งถูกทำให้ยอมรับและสร้างขึ้นมาใหม่ได้ด้วย เหตุนี้ความทรงจำจึงสามารถเป็นทั้งเรื่องส่วนบุคคลและสังคม เป็นทั้งอัตชีวประวัติและประวัติศาสตร์ เป็นทั้งฝ่ายรุก(active)และฝ่ายรับ(passive) จากตรรกะนี้เมื่อต้องการให้ความทรงจำใดปรากฏโดดเด่นขึ้นมาหรือกดทับความทรงจำอื่นลงไป จึงต้องทำให้ความทรงจำมีรูปร่างหรือสร้างพื้นที่(spatial)ให้ความทรงจำนั้น ซึ่งอนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์ถือเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยรองรับบทบาทสร้าง เก็บรักษา และจัดแสดงความทรงจำเหล่านี้ให้เป็นที่รับรู้ จดจำ และถ่ายทอด ผลิตซ้ำต่อไป (*)

(*)Robert Aldrich, Vestiges of the Colonial Empire in France: Monuments, Museums and Colonial Memories, (Gordonsville, VA, USA: Palgrave Macmillan, 2005) p. 6 และสามารถดูเปรียบเทียบในงานคลาสสิกที่ถูกอ้างอิงมากเล่มหนึ่งว่าด้วย "ประเพณีที่ถูกประดิษฐ์" ใน E.J. Hobsbawm and T.Ranger, The Invention of Tradition, (Cambridge: Cambridge University Press, 1983)

อนึ่ง เมื่อกล่าวถึง"การจำ"แล้ว ก็จำต้องตระหนักถึง"การลืม"(ซึ่งอาจเป็นด้านที่ไม่โสภาหรือเจ็บปวดซึ่งถูกกดทับ ปฏิเสธหรือเพิกเฉย)ด้วย เนื่องจากว่าสิ่งที่ "ไม่จำ" นั้นก็อาจมีความสำคัญเท่ากับสิ่งที่ "จำ" ก็ได้ สำหรับประเด็นนี้เรแนน (Ernest Renan)ได้แสดงความเห็นไว้ว่า การลืม (forgetfulness) หรือความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์นั้นมีความสำคัญในการสร้างชาติ (*) ด้วยเหตุนี้มันจึงจำเป็นที่ต้อง "ไม่ลืมที่จะลืม" (not to forget to forget)เนื่องจากว่า "การลืม" อาจสามารถช่วยในการบำบัดฟื้นฟู แต่อย่างไรก็ตาม ทั้ง "การจำ" และ "การลืม" ก็มีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจความทรงจำ อดีตและประวัติศาสตร์ เหตุนี้การเปิดพื้นที่ให้แก่ความทรงจำที่ถูกกลบฝังกดทับเอาไว้ จึงเป็นความกล้าหาญทางปัญญาญาณ เราควรที่จะรับรู้ทั้งความต่ำต้อยและชัยชนะของเรา/ "ชาติ" เพื่อที่ว่าจะได้สามารถท้าทายอนาคตด้วยความรู้รอบด้านในสิ่งที่เราได้เข้าไปเกี่ยวข้อง

- กระบวนทัศน์สุดท้าย ที่อาจไม่ท้ายสุดก็คือ แนวคิด"หลังพิพิธภัณฑ์" (post-museum) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับวิกฤตและการเมืองของ "ภาพตัวแทน" (representation) กล่าวคือ งานของพิพิธภัณฑ์ไม่ได้ถูกมองว่าเป็น "กลาง" อีกต่อไป ทั้งนี้แนวคิด"หลังพิพิธภัณฑ์" พยายามค้นหาที่จะแบ่งบันอำนาจกับชุมชนที่อยู่ร่วมและที่ให้บริการ รวมทั้งชุมชนเป้าหมาย(หรือเจ้าของวัตถุ) นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์ภายใต้กระบวนทัศน์นี้ยังตระหนักว่า ผู้ชมไม่ใช้ผู้บริโภคที่เฉื่อยเนือย ดังนั้นแทนที่จะถ่ายทอดความรู้สู่ผู้ชมในฐานะมวลชน(mass) หากทว่าต้องเปิดรับฟังและตอบสนองต่อกลุ่มต่างๆ ที่มีความแตกต่างหลากหลาย เพื่อให้เป็นผู้มีส่วนร่วมที่กระตือรือร้นแทน นั่นก็คือพิพิธภัณฑ์ต้องแสดงให้เห็นถึงความคลุมเครือและยอมรับถึงอัตลักษณ์ที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ที่สำคัญยังคาดหวังให้พิพิธภัณฑ์เป็นพื้นที่แสดงและมีส่วนช่วยแก้ไขความไม่เท่าเทียมทางสังคม โดยการสนับสนุนเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจทางสังคม ลดทอนความเป็นอื่นและภาพตายตัวต่างๆ

วิกฤตของ "ภาพตัวแทน" ที่ปรากฏในพิพิธภัณฑ์
อนึ่ง ท่ามกลาง "แนวโน้ม" หลังสมัยใหม่ ได้เกิดกระแสการทบทวนและวิพากษ์เกี่ยวกับวิกฤตของ "ภาพตัวแทน" ที่ปรากฏในพิพิธภัณฑ์ (*) โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์แนวโบราณคดีและประวัติศาสตร์ รวมทั้งแนวชาติพันธุ์วิทยา ซึ่งได้นำเสนอส่วนเสี้ยวความจริง(partial truth)ของวัฒนธรรม/อดีต และเป็นวัฒนธรรม/อดีตที่ถูกทำให้เป็นสินค้าและเป็นมายาคติ ซึ่งการนำเสนอเช่นนี้มีส่วนในการสร้างความชอบธรรมแก่อำนาจที่ครอบงำ และยังกีดกันกดทับรูปแบบอื่นๆ ของประวัติศาสตร์/วัฒนธรรมที่อาจมีมุมมองแตกต่างด้วย ทั้งนี้หลักการสำคัญเกี่ยวกับวิกฤตของภาพตัวแทนนั้นเกิดจากความเชื่อที่ว่า มีอดีตหรือความจริงเชิงวัตถุวิสัย(objective past/reality)ที่รอคอยการเปิดเผยโดยผู้เชี่ยวชาญดำรงอยู่(essentialism) ซึ่งวิธีคิดดังกล่าวนี้ สมควรได้รับการท้าทายและแทนที่ด้วยมุมมองที่มีต่ออดีตและ "เสียง" ตีความที่หลากหลาย(multivocalism) ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนพหุลักษณ์ของความหมาย ผ่านมุมมองว่าผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ไม่ได้ผูกขาดความรู้/ความจริงสัมบูรณ์ แต่มีฐานะเป็นเพียงมุมมองหรือวาทกรรมหนึ่งเท่านั้น! ท่าทีดังกล่าวนี้จึงเป็นการท้าทายและลดบทบาท (destabilizing /decentering) ของผู้เชี่ยวชาญ โดยควรมองพิพิธภัณฑ์ว่าเป็นพื้นที่ของการมีส่วนร่วมระหว่างฝ่ายต่างๆ (site of mutuality) แทน

(*) Nick Merriman, "The Crisis of Representation in Archaeological Museum," in Cultural Resource Management in Contemporary Society: Perspectives on Managing and Presenting the Past ed. Francis P. (MacManamon.London, UK: Rountledge, 1999), pp.300-310.

พิพิธภัณฑ์ในมุมมองวัฒนธรรมทางสายตา
ด้านหนึ่งในมุมมองของ "วัฒนธรรมทางสายตา" (visual culture) และกรอบคิดของทฤษฎีการสร้าง (constructivist theory) ซึ่งเน้นในการทำความเข้าใจว่า "ผู้ชม" สามารถที่จะหา "ความหมาย" และ "ความสัมพันธ์" ที่ปรากฏใน "เนื้อหา" ที่พิพิธภัณฑ์จัดแสดงได้อย่างไร, ซึ่งกรอบคิดนี้จะช่วยให้ภัณฑรักษ์สามารถจัดเตรียมเงื่อนไขที่จะช่วยสนับสนุนต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้ชมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากว่า ในสังคมซึ่งความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ ประเพณีวัฒนธรรมและประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ ทำให้ผู้คนที่มีความแตกต่างกันไม่ว่าทางสังคมและวัฒนธรรม ต่างตีความและมีปฏิกิริยาต่อเนื้อหาและวัตถุในพิพิธภัณฑ์ไปตามมุมมอง (perspective) ที่แตกต่างกัน ดังนั้น การจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ทั้งที่ผ่าน"ภาพตัวแทน" ทางสายตา(visual)หรือทางตัวบท(textual) จึงเป็นประเด็นสำคัญของการวิพากษ์และวิเคราะห์ โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์แนวชาติพันธุ์วรรณนา ที่ซึ่งค่อนข้างอ่อนไหวต่อการตีความ จึงก่อให้เกิดเรื่องเล่าที่ขัดแย้งและมีความเป็นอัตวิสัยต่อผู้ชมที่มีความหลากหลายแตกต่างกันไปด้วย เหตุนี้ "ภาพลักษณ์" และ "จินตนาการ" เกี่ยวกับอดีตและวัฒนธรรมที่นำเสนอในพิพิธภัณฑ์ จึงเป็นดัง "พื้นที่ของการช่วงชิงและตอบโต้" (contested area) หรือ "การเมืองของวัฒนธรรมทางสายตา" (*)

(*) Eilean Hooper-Greenhill, Museums and the Interpretation of Visual Culture, pp. 6-8.

คนท้องถิ่นไม่เคยมีตัวตนในพิพิธภัณฑ์
นอกจากนี้ วิกฤตของภาพตัวแทนโดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์ในแนวมานุษยวิทยา ส่วนหนึ่งเกิดจากแรงกดดันจากกลุ่มคน ซึ่งที่ผ่านมามักไม่ได้รับความสนใจและไม่เคยมีตัวตนในพิพิธภัณฑ์(under-represented) ดังนั้นในระยะหลัง คู่ขนานกับการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง โดยเฉพาะประเด็นการกีดกันทางสังคม(social exclusion) (*) ดังเริ่มปรากฏว่าในหลายพิพิธภัณฑ์ได้เรียกร้องและเปิดโอกาสให้คนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในฐานะทีมดำเนินงานเพื่อปกป้อง สงวนรักษาและนำเสนอเรื่องราวของตัวเอง ตลอดทั้งแสวงหาพื้นที่สำหรับ "ตัวตน" และความรู้ที่เคยถูกกดทับไว้(subjugated knowledge)ให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น (**)

(*) Graham Black, The Engaging Museum, Developing Museums for Visitor involvement (London and New York : Routledge,2005) pp.46-51.

(**) ดังกรณีคนพื้นเมืองอเมริกันที่อ้างสิทธิทางกฎหมายและคุณค่าทางวัฒนธรรมของตนเอง ดูใน Roger Anyon, T.J. Ferguson and John R. Welch, "Heritage management by American Indian tribes in the Southwestern United states," in Cultural Resource Management in Contemporary Society: Perspectives on Managing and Presenting the Past, Ibid., pp. 120-141.

นอกจากนี้การเคลื่อนไหวยังมาจากชนกลุ่มน้อยหรือคนชายขอบอื่นๆ ของสังคมด้วย ไม่ว่าจะเป็นชาวรักร่วมเพศ (*) กลุ่มสตรีนิยม คนผิวสี และกลุ่มวัฒนธรรมย่อย(subculture)ต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นการวิพากษ์วิจารณ์พิพิธภัณฑ์ที่ไม่ปรากฏภาพตัวแทนของความหลากหลายทางวัฒนธรรมนี้จึงได้นำไปสู่การไตร่ตรองสะท้อนคิด ตีความ และการริเริ่มใหม่ๆ หลายอย่างให้เกิดขึ้นมาในประชาคมพิพิธภัณฑ์และสังคมทั่วไป

(*)Angela Vanegas, "Representing lesbians and gay men in British social history museums," in Museums, Society, Inequality ed. Richard Sandell (Florence, KY, USA: Routledge, 2002), pp.98-110.

กระทั่งนำไปสู่ความคาดหวังต่อตัวแบบอุดมคติ(ideal type)อันทะเยอทะยานที่ว่า พิพิธภัณฑ์แบบใหม่นั้น ควรมีศักยภาพในการดำรงฐานะเป็นผู้กระทำทางสังคม(social agent) กล่าวคือมีศักยภาพที่จะมีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อสังคม โดยควรมีบทบาทในการสนับสนุนการตอบโต้ ต่อรอง และลดทอนการกีดกันทางสังคม ทั้งในระดับปัจเจก ชุมชน และสังคม ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพูนความเคารพและความมั่นใจในตัวเอง หรือภาพลักษณ์เกี่ยวกับตัวตน(self-image) ตลอดทั้งความสามารถในทางริเริ่มสร้างสรรค์ของบุคคล จนถึงการสร้างความรู้แจ้งในตนเองตามความเป็นจริง (self-actualization)

พิพิธภัณฑ์ในมุมมองของชุมชน
ส่วนในระดับชุมชนก็มุ่งหวังว่า พิพิธภัณฑ์จะช่วยกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง หรือการสร้างใหม่(regeneration)ทางสังคม สนับสนุนการจัดระบบความรู้เกี่ยวกับตัวเอง(self-knowledge) เสริมพลังเพื่อให้ชุมชนพัฒนาความมั่นใจและทักษะ ที่จะสามารถกำหนดและควบคุมชะตากรรมของตนเองและท้องถิ่นที่อยู่ สำหรับในระดับสังคมก็หวังว่า ภาพตัวแทนและการจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์น่าจะมีศักยภาพที่จะช่วยสนับสนุนความอดทน ความเคารพซึ่งกันและกันระหว่างชุมชน และการท้าทายภาพลักษณ์ตายตัวที่ทำให้เกิดความขัดแย้งต่างๆ (*)

(*) Richard Sandell, "Museums and The Combating of Social Inequality: Roles, Responsibilities, Resistance," in Museums, Society, Inequality, Ibid., pp. 3- 23.

ดังนั้นจากสังเขปแนวคิดข้างต้นจะเห็นว่า "พิพิธภัณฑ์" มิใช่เพียงสถานที่เก็บสะสม สงวนรักษาวัตถุสิ่งของ ศึกษาวิจัย จัดแสดง และสนับสนุนการศึกษา ตลอดทั้งให้ความบันเทิงเพื่อรองรับผู้สนใจที่มีสุนทรียะอันดีในยามว่างเท่านั้น หากแต่ยังบรรจุวาระสำคัญและลึกซึ้งต่างๆ โดยเฉพาะการรับบทบาทที่ปรับเข้าหาส่วนรวม (public-oriented role) มากขึ้น ถูกใช้เป็นพื้นที่ในการต่อรอง ตอบโต้ ช่วงชิง(contestation) รวมทั้งบทบาทในการหล่อหลอมค่านิยมและสร้างความเข้าใจทางสังคมต่างๆ ทั้งนี้ยังเชื่อมโยงกับประเด็นที่กำลังได้รับสนใจจากชุมชนวิชาการทั่วโลกด้วย ดังเช่นการบริหารจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม(CRM) หรือ Cultural Resource Management) (*) ซึ่งเป็นแนวโน้มหนึ่งในปัจจุบัน ในฐานะเครื่องมือของการเมืองทางวัฒนธรรม และการเมืองของอัตลักษณ์(identity politics) เพื่อกระตุ้นและสร้างจิตสำนึก(consciousness-raising) ต่างๆ ทั้งนี้การเคลื่อนไหวดังกล่าว อาจมองว่าเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ "การเมืองจุลภาค" ในชีวิตประจำวัน

(*) Francis P.McManamon and Alf Hatton, Cultural Resource Management in Contemporary Society: Perspectives on Managing and Presenting the Past (London, UK: Rutledge, 1999).

ดังนั้น "การเมืองพิพิธภัณฑ์" (*) จึงได้เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในกระบวนการสร้างความทรงจำ(memorialization) โดยเชื่อมโยงกับศัพท์แสงคุ้นหูอื่นๆ โดยเฉพาะ "การมีส่วนร่วม" "การเสริมพลัง"(empowerment)ที่ได้รับความสนใจและเน้นย้ำตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา โดยพิพิธภัณฑ์ได้ถูกทำให้เป็นประชาธิปไตย เพื่อผลิตวาทกรรมต่างๆ เกี่ยวกับชุมชนและการนำเสนอประเด็นของสังคมในพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อให้คนสามัญและชุมชนท้องถิ่นสามารถแสดงออกถึงการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง (self-determination) (**) โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์แนวศิลปะและประวัติศาสตร์ แต่อาจจะมีปรากฏบ้างในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเพราะการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์บางอย่างเกี่ยวกับ "วัฒนธรรมของวิทยาศาสตร์" ดังนั้นในแง่นี้ พิพิธภัณฑ์จึงมีส่วนในการส่งเสริมจิตวิญญาณกลุ่ม สนับสนุนสำนึกความเป็นเจ้าของ และคาดหวังว่าจะสามารถนำ "พลัง" ดังกล่าวนี้ไปใช้ในงานพัฒนาและปฏิบัติการอื่นๆต่อไป (***)

(*) Timothy Luke, Museum Politics: Power Plays at the Exhibition (Minneapolis, MN, USA: University of Minnesota Press, 2002).

(**) Charlotte P. Lee, The Role of Boundary Negotiating Artifacts in the Collaborative Design of a Museum Exhibition, (University of California: Los Angeles, 2004) p. 62.

(***) ดูงานตัวอย่างใน สายันต์ ไพรชาญจิตร์, "การฟื้นฟูพลังชุมชนด้วยการจัดการทรัพยากรทางโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์: แนวคิด วิธีการและประสบการณ์จากจังหวัดน่าน" (กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข, 2547).

จากข้างต้นอาจมองว่า ความคิดดังกล่าวได้ก่อตัวขึ้นจากบริบทของวิกฤตสมัยใหม่ (crisis of Modernity) ซึ่งส่งผลต่อวิกฤตวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ตามมา ก่อให้เกิดความห่วงกังวลของผู้คนและการก่อตัวของสำนึกทางการเมือง เกิดความตื่นตัวที่จะพยายามฟื้นฟูอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ (Revitalization) รูปแบบต่างๆมาห่อหุ้มตัวตน รวมทั้งกระแสการเคลื่อนไหวของท้องถิ่นนิยมและชาตินิยมใหม่ ที่แสดงออกอย่างหลากหลายทั้งมิติและระดับ (*) ซึ่งด้านหนึ่ง อาจมองได้ว่าเป็นความพยายามที่จะแสวงหา "ความเป็นสมัยใหม่ทางเลือก" (alternative modernities) ที่เน้นความแตกต่างหลากหลายให้สามารถดำรงอยู่ร่วมกันอย่างมีศักดิ์ศรีสามารถเกิดขึ้นมาได้

(*) กรณีสังคมไทย เช่น ความกลัวและห่วงกังวลต่อ "ทุนนิยมต่างชาติ" หรือทุนนิยมโลกาภิวัตน์โดยเฉพาะอเมริกา แต่กลับสนับสนุน "ทุนชาตินิยม" (ที่ดูมีกลิ่นอายความเป็นไทยกว่า) แทน ซึ่งรวมทั้งมีแนวโน้มสนับสนุนสิ่งที่เป็น "ไทยๆ" ที่ดูจะพอเพียงและเรียบง่ายกว่า(สอดคล้องกับแนวคิดวัฒนธรรมชุมชนและวงศ์วานวาทกรรมอื่นๆ) ดูตัวอย่างการวิพากษ์มุมมองดังกล่าวใน ยุกติ มุกดาวิจิตร, อ่านวัฒนธรรมชุมชน : วาทศิลป์และการเมืองของชาติพันธุ์นิพนธ์แนววัฒนธรรมชุมชน (กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน, 2548) และธงชัย วินิจจะกูล, "อดีตซ้าย-อดีตขวาสามัคคีต้านทุนนิยมและอเมริกา" อ้างใน www.biolawcom.de/article/262/Thongchai-Winichakul-Article-left-right-anti-capitalism.html (วันที่ 15 สิงหาคม 2551)

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจและศึกษาต่อไปนั้น ควรตั้งอยู่บนคำถามที่ว่า ท่ามกลางบริบทดังที่กล่าวข้างต้นโดยตัวของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในสังคมไทยปัจจุบันนี้ ได้กำหนดหรือนิยามตัวตนและบทบาทของตนเองในสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่เวลานี้อย่างไร? ทั้งนี้ ด้านหนึ่งอาจพิจารณาจากกระบวนการทำให้เป็นพิพิธภัณฑ์ (Museumification) ที่ผู้เกี่ยวข้องพยายามนำเอาความทรงจำ อดีต ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมาประกอบสร้างให้มีรูปร่างสัมผัสได้ (Materiality) เพื่อสร้าง "อัตลักษณ์และความทรงจำรวมหมู่" ขึ้นมา

อนึ่ง "ภาพตัวแทน" (representation) ของ "อัตลักษณ์และความทรงจำรวมหมู่" ที่ได้รับการนำเสนอในพื้นที่พิพิธภัณฑ์เพื่อพยายามสื่อสาร "ภาพลักษณ์" ที่ผู้จัดทำได้ไตร่ตรองสะท้อนคิดและประกอบสร้างเกี่ยวกับ "เรา" และ "คนอื่น" ที่เกี่ยวข้องนั้นได้สะท้อนโครงสร้างความรู้สึกนึกคิด(episteme)และโครงสร้างสังคมของผู้จัดทำและสังคมร่วมสมัยอย่างไร? ตลอดทั้งบทบาทและวิธีคิด การรับรู้และการดำเนินการของพิพิธภัณฑ์ดังกล่าวนี้มีปฏิสัมพันธ์เชิงวิภาษวิธีกับบริบทของประวัติศาสตร์ความคิดและประวัติศาสตร์สังคมของไทยหรือระหว่างประเทศอย่างไร?

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เอกสารอ้างอิง

แหล่งอ้างอิงจากหนังสือ

นีทเช่, ฟรีดริช. คือพจนาซาราทุสตรา, แปลโดย มนตรี ภู่มี.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์, 2546.

ยุกติ มุกดาวิจิตร, อ่านวัฒนธรรมชุมชน : วาทศิลป์และการเมืองของชาติพันธุ์นิพนธ์แนววัฒนธรรมชุมชน..กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน, 2548.

สายันต์ ไพรชาญจิตร์, การฟื้นฟูพลังชุมชนด้วยการจัดการทรัพยากรทางโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์: แนวคิด วิธีการและประสบการณ์จากจังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข, 2547.

Aldrich, Robert. Vestiges of the Colonial Empire in France: Monuments, Museums and Colonial Memories. Gordonsville, VA, USA: Palgrave Macmillan, 2005.

Anyon, Roger T.J. Ferguson and John R. Welch. Heritage management by American Indian tribes in the Southwestern United states in Cultural Resource Management in Contemporary Society: Perspectives on Managing and Presenting the Past. ed. Francis P. MacManamon.London, UK: Rountledge, 1999, pp. 120-141.

Baert, Patrick. Philosophy of the Social Sciences: Towards Pragmatism. Cambridge: Polity Press,1998.

Barber, Benjamin. Jihad vs. McWorld. New York: Times Books,1995.

Beck, Ulrich. Risk Society: Towards a New Modernity.New Delhi: Sage, 1992.

Best, Steven and Kellner, Donglas. Post modern Turn. New York: The Guilford Press, 1997.

Bissoondath, Neil. Selling Illusions: The Myth of Multiculturalism in Canada. Toronto: Penguin, 2002.

Bourdieu, Pierre. The Logic of Practice. Cambridge: Polity, 1990.

Black, Graham. The Engaging Museum, Developing Museums for Visitor involvement. London and New York: Routledge, 2005.

Brown, David K. Social Blueprints: Conceptual Foundations of Sociology. USA: Oxford University Press, 2004.

Darnovsky, Marcy Estein, Barbara and Flacks, Richard (Editors), Cultural Politics and Social Movements. Philadelphia: Temple University Press, 1995.

Foucault, Michel. Power/Knowledge: Selected interviews and other writings 1972-77. Hemel Hempstead: Harvester Wheatsheaf, 1982.

Fukuyama, Francis. The End of History and the Last Man. New York: Free Press,1992.

Giddens, Anthony.Runaway World : How Globalization is Reshaping Our Lives. New York: Routledge, 2000.

Hobsbawm, E.J. and Ranger, T.The Invention of Tradition. Cambridge: Cambridge University Press, 1983.

Hooper-Greenhill, Eilean. Museums and the Interpretation of Visual Culture. Florence, KY, USA: Routledge, 2001.

Huntington, Samuel P. The Clash of Civilizations and the Remaking of World Order. New York, Simon & Schuster, 1996.

Inglis, Fred. Culture. Cambridge, UK: Polity Press Ltd., 2004.

Ishida, Suda. Glocalizing an Environmental Conflict: Thai Press and Pak Mun Dam. Ph.D. Thesis, The Graduate College of the University of Iowa, 2002.

Jenkins, Richard. Pierre Bourdieu. London: Routledge, 1992.

Lee, Charlotte P. The Role of Boundary Negotiating Artifacts in the Collaborative Design of a Museum Exhibition. University of California: Los Angeles, 2004.

Luke, Timothy. Museum Politics: Power Plays at the Exhibition. Minneapolis, MN, USA: University of Minnesota Press, 2002.

Marcuse, Herbert.One-dimensional Man. London and New York: Routledge, 2002.

Marstine, Janet (editor), New museum theory and practice : an introduction. Malden, MA : Blackwell, 2006.

McManamon, Francis P.and Hatton, Alf. Cultural Resource Management in Contemporary Society: Perspectives on Managing and Presenting the Past. London, UK: Rutledge, 1999.

Merriman, Nick. "The Crisis of Representation in Archaeological Museum," in Cultural Resource Management in Contemporary Society: Perspectives on Managing and Presenting the Past ed. Francis P. MacManamon.London, UK: Rountledge, 1999, pp.300-310.

Munck, Ronaldo. Globalization and Contestation: A Polanyian Problematic. Globalizations 3 : 2(2006) :175-186.

Perrons, Diane, Globalization and Social Change: People and Places in a divides world. London and New York: Routledge, 2004.

Ritzer, George. The McDonaldization of Society.Thousand Oaks, CA: Pine Forge Press, 1996.

Sandell, Richard (editor). Museums, Society, Inequality.Florence, KY, USA: Routledge, 2002.

Sandell, Richard. Museums and The Combating of Social Inequality: Roles, Responsibilities, Resistance in Sandell, Richard (editor). Museums, Society, Inequality. Florence, KY, USA: Routledge, 2002.pp. 3- 23.

Swingewood, Alan. Cultural Theory and the Problem of Modernity. New York: ST.Martin's Press INC., 1998.

Vanegas, Angela. Representing lesbians and gay men in British social history museums in Museums, Society, Inequality ed. Richard Sandell. Florence, KY, USA: Routledge, 2002, pp.98-110.

แหล่งอ้างอิงจากเว็บไซต์

ธงชัย วินิจจะกูล, "อดีตซ้าย-อดีตขวาสามัคคีต้านทุนนิยมและอเมริกา" อ้างใน www.biolawcom.de/article/262/Thongchai-Winichakul-Article-left-right-anti-capitalism.html

Chat With Chomsky Noam Chomsky chats with Washington Post readers, The Washington Post, March 24, 2006 available from www.chomsky.info/debates/20060324.htm

Dewing, Michael and Leman, Marc. CANADIAN MULTICULTURALISM available from www.parl.gc.ca/information/library/PRBpubs/936-e.htm วันที่ 16 เมษายน 2551

Fukuyama, Francis. The history at the end of history available from http://commentisfree.guardian.co.uk/francis_fukuyama/2007/04/the_history_at_the_end_of_hist.htm

Gunn, Simon. From Hegemony to governmentality : Changing Conceptions of Power in Social History available from www.historycooperative.org/journals

Heartfield, James. Postmodernism and the 'Death of the Subject' Available from www.marxists.org/reference/subject/philosophy/works/en/heartfield-james.

Hyoung Ji, Joo. Giddens' Theory of Modernity and Globalization : A Critique Available from www.lancs.ac.uk/postgrad/jijh1/writings/article/giddens.htm วันที่ 5 สิงหาคม 2549

Klages, Mary. Literary Theory: A Guide for the Perplexed: Postmodernism available from www.colorado.edu/English/courses/ENGL2012Klages/pomo.html

Said, Edward. The Clash of Ignorance Available from http://www.thenation.com/doc/20011022/said

Said, Edward. The Myth of 'The Clash of Civilizations' Available from www.mediaed.org/handouts/pdfs/SAID-CLASH.pdf

http://en.wikipedia.org/wiki/Zapatista_Army_of_National_Liberation

http://en.wikipedia.org/wiki/Multiculturalism

http://marxists.org/reference/subject/philosophy/works/us/fukuyama.htm

http://members.cox.net/xocxoc/philosophy/fukuyama.htm

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com