ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๒ : Release date 11 April 2009 : Copyleft MNU.

รูปแบบการนำ-การปกครองในแบบอภิชราธิปไตย โดยปกติแล้วธำรงอยู่ในประเทศหรือรัฐที่เป็นคอมมิวนิสต์ต่างๆ ซึ่งผู้นำส่วนใหญ่มาจากผู้อยู่รับใช้พรรคมาเป็นเวลายาวนาน คนเหล่านี้จะถูกถือว่ามีประ สบการณ์และคุณสมบัติสำหรับการเป็นผู้นำ. ในห้วงเวลาของ "แปด อมตะของพรรคคอมมิวนิสต์จีน" หรือในโลกภาษาอังกฤษ เรียกว่า Eight Immortals of Communist Party of China , มีประ โยคที่มีลักษณะเหน็บแนมเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า "บรรดาคนที่อายุ ๘๐ ปี เรียกประชุมคนที่มีอายุ ๗๐ ปีทั้งหลาย เพื่อทำการตัดสินใจว่า พวกคนที่มีอายุ ๖๐ ปี ควรเกษียณอายุการทำงานได้แล้ว" ยกตัวอย่างเช่น ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน"เหมาเซตุง" ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเขามีอายุได้ 82 ปี, ในขณะที่"เติ้งเสี่ยวผิง"ยังคงทรงอำนาจอิทธิพลต่อมา...

H



11-04-2552 (1716)
อภิชราธิปไตย รูปแบบหนึ่งของการปกครองแบบคณาธิปไตย
อภิชราธิปไตย(gerontocracy): จากการเมืองอันเก่าแก่ ถึงนวนิยายวิทยาศาสตร์
รศ. สมเกียรติ ตั้งนโม: เรียบเรียง

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

หมายเหตุ: บทความเกี่ยวกับ"อภิชราธิปไตย"(gerontocracy)ชิ้นนี้ได้แบ่งออกเป็น ๒ ตอน
โดยตอนแรกเริ่มต้นจากการเรียนรู้ความเป็นมาเกี่ยวกับรูปศัพท์คำดังกล่าว และตัวอย่างของ
บรรดาประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์ที่มีลักษณะเป็นการปกครองในระบอบอภิชราธิปไตย
แต่อย่างไรก็ตาม ในบรรดาประเทศโลกเสรีประชาธิปไตย ก็มีรูปแบบการปกครอง ดังกล่าว
ปรากฏอยู่ด้วยเช่นกัน รวมถึงรัฐศาสนาต่างๆ (religious theocratic states) และองค์กร
ทางศาสนา สุดท้ายมีการนำเสนอเรื่องของอภิชราธิปไตยที่ปรากฏอยู่ในนวนิยายวิทยาศาสตร์

ส่วนตอนที่สอง เขียนโดย ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เป็นการนำเสนอบทความเรื่องเดียวกัน ซึ่งผู้เขียนเรียกระบอบนี้ว่า "ชราธิปไตย"(gerontocracy)
และมีการเชื่อมโยงมาถึงตัวอย่างผู้อาวุโสต่างๆ ในสังคมไทยที่ได้แสดงทัศนะและความเห็นทาง
การเมืองหลากหลาย ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๔๙ จนถึงปัจจุบัน

บทความรัฐศาสตร์-การปกครองนี้ ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้
(1) อภิชราธิปไตย: จากการเมืองอันเก่าแก่ ถึงนวนิยายวิทยาศาสตร์
- อภิชราธิปไตยในระบบการเมืองที่หลากหลาย
- สหภาพโซเวียตกับอภิชราธิปไตย
- ประเทศคอมมิวนิสต์อื่นๆ กับอภิชราธิปไตย
- ระบอบอภิชราธิปไตยกับรัฐต่างๆ ทางศาสนา
- ประเทศเสรีประชาธิปไตยกับระบอบอภิชราธิปไตย
- ตัวอย่างต่างๆ เกี่ยวกับอภิชราธิปไตยในระดับองค์กร
- นวนิยายวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับระบอบอภิชราธิปไตย
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๑๖
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อภิชราธิปไตย รูปแบบหนึ่งของการปกครองแบบคณาธิปไตย
อภิชราธิปไตย(gerontocracy): จากการเมืองอันเก่าแก่ ถึงนวนิยายวิทยาศาสตร์
รศ. สมเกียรติ ตั้งนโม: เรียบเรียง

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

หมายเหตุ: บทความเกี่ยวกับ"อภิชราธิปไตย" (gerontocracy) ชิ้นนี้ ได้แบ่งออกเป็น ๒ ตอน โดยตอนแรกเริ่มต้นจากการเรียนรู้ความเป็นมาเกี่ยวกับรูปศัพท์คำดังกล่าว และตัวอย่างของบรรดาประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์ที่มีลักษณะเป็นการปกครองในแบบอภิชราธิปไตย แต่อย่างไรก็ตาม ในบรรดาประเทศโลกเสรีประชาธิปไตย ก็มีรูปแบบการปกครองดังกล่าวปรากฏอยู่ด้วยเช่นกัน รวมถึงรัฐศาสนาต่างๆ (religious theocratic states) และองค์กรทางศาสนา สุดท้าย ได้มีการนำเสนอเรื่องของระบอบอภิชราธิปไตยที่ปรากฏอยู่ในนวนิยายวิทยาศาสตร์. ส่วนตอนที่สอง เขียนโดย ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ...เป็นการนำเสนอบทความเรื่องเดียวกัน ซึ่งผู้เขียนเรียกระบอบนี้ว่า "ชราธิปไตย"(gerontocracy) และมีการเชื่อมโยงมาถึงตัวอย่างผู้อาวุโสต่างๆ ในสังคมไทยที่ได้แสดงทัศนะและความเห็นทางการเมืองหลากหลาย ในช่วงปี พ.ศ.2549 จนถึงปัจจุบัน

(1) อภิชราธิปไตย: จากการเมืองอันเก่าแก่ ถึงนวนิยายวิทยาศาสตร์

อภิชราธิปไตย (หรือ gerontocracy) เป็นรูปแบบหนึ่งของการปกครองแบบคณาธิปไตย(oligarchical rule) ซึ่งแก่นแท้การเมืองและอำนาจในลักษณะนี้ ถูกน้อมนำโดยคนแก่มากกว่าประชากรที่เป็นวัยผู้ใหญ่อย่างมีนัยสำคัญ บ่อยครั้งที่โครงสร้างทางการเมืองในรูปแบบข้างต้น ศูนย์อำนาจทางการเมืองการปกครองทั้งหลายจะตกอยู่กับชนชั้นนำที่มีอายุยืน ด้วยเหตุนี้ คนที่มีอายุสูงสุดจึงเป็นผู้ถือครองอำนาจสูงสุด. ผู้ครองอำนาจที่มีอำนาจมากสุดนั้น อาจไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งผู้นำอย่างเป็นทางการก็ได้ และบ่อยมาก เขาหรือเธอมักมีอิทธิพลครอบงำคนซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดโดยตำแหน่ง

เสถียรภาพหรือความมั่นคงของระบอบอภิชราธิปไตย ได้รับการมองผ่านความเข้มแข็งและประสบการณ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เหมาะสมมากกับสถาบันต่างๆ ที่สอนถึงหลักการทั้งหลายที่มิได้เป็นกังวลกับเรื่องของกาลเวลาที่ผันแปรไป. สำหรับสถาบันทั้งหลายที่ต้องเตรียมตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สมรรถภาพหรือความสามารถที่ลดลงของคนแก่ อาจมีศักยภาพต่อผลของความด้อยประสิทธิภาพในความเป็นผู้นำองค์กรได้

อภิชราธิปไตยในระบบการเมืองที่หลากหลาย (Gerontocracy in various political systems)
รูปแบบการนำ-การปกครองในแบบอภิชราธิปไตย โดยปกติแล้ว ธำรงอยู่ในประเทศหรือรัฐที่เป็นคอมมิวนิสต์ต่างๆ ซึ่งผู้นำส่วนใหญ่มาจากผู้อยู่รับใช้พรรคมาเป็นเวลายาวนาน คนเหล่านี้จะถูกถือว่ามีประสบการณ์และคุณสมบัติสำหรับการเป็นผู้นำ. ในห้วงเวลาของ "แปดอมตะของพรรคคอมมิวนิสต์จีน" หรือในโลกภาษาอังกฤษเรียกว่า Eight Immortals of Communist Party of China (*), มีประโยคที่มีลักษณะเหน็บแนมเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า "บรรดาคนที่อายุ 80 เรียกประชุมคนที่มีอายุ 70 ทั้งหลาย เพื่อทำการตัดสินใจว่า พวกคนที่มีอายุ 60 ควรเกษียณอายุการทำงานได้แล้ว"("the 80-year-olds are calling meetings of 70-year-olds to decide which 60-year-olds should retire"). ยกตัวอย่างเช่น ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน"เหมาเซตุง" ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเขามีอายุได้ 82 ปี, ในขณะที่"เติ้งเสี่ยวผิง"ยังคงทรงอำนาจอิทธิพลต่อมาจนกระทั่งเขามีอายุเกือบ 90 ปี

(*) The Eight Great Eminent Officials - abbreviated as the Eight Elders were a group of elderly members of the Communist Party of China who held substantial power during the 1980s and 1990s. In the English-speaking world, these men are called The Eight Immortals. This designation originated in the 1990s and is an allusion to the Taoist deities also commonly known as the Eight Immortals. They have all since died.

สหภาพโซเวียตกับอภิชราธิปไตย
ในสหภาพโซเวียต ระบอบอภิชราธิปไตยกลายเป็นสิ่งที่เริ่มมีการตระหนักมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1970s, อย่างน้อยที่สุดจนกระทั่งเดือนมีนาคม 1985 ขณะที่บรรดาผู้นำหนุ่มที่มีความทะเยอทะยานและมีพลวัต นำโดย มิคฮาอิล กอร์บาเชฟ (Mikhail Gorbachev) ได้ขึ้นมามีอำนาจ. เหตุการณ์ก่อนหน้านั้น เลโอนิด เบรชเนฟ (Leonid Brezhnev) ได้ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ.1982 ตอนที่เขามีอายุ 75 ปี ซึ่งเบรชเนฟต้องทนทุกข์ทรมานกับโรคหัวใจมานับตั้งแต่ปี 1975 ภายหลังจากได้เริ่มมีอาการ arteriosclerosis หรือ ผนังเส้นเลือดแดงแข็งตัว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เขามีสุขภาพไม่แข็งแรงตามมาและมีปัญหาเกี่ยวกับการพูด. อันที่จริง ในช่วงระหว่างสองปีสุดท้ายนั้น เบรชเนฟเป็นเพียงผู้นำหุ่นเชิดหรือเป็นผู้นำแต่เพียงในนาม(figurehead)เท่านั้น. ในปี 1980 สมาชิกโปลิทบูโร (Politburo)(*) ของสหภาพโซเวียต มีอายุเฉลี่ยประมาณ 70 ปี (ซึ่งตรงข้ามกับปี 1952 ซึ่งมีอายุเฉลี่ย 55 ปี และในปี 1964 มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 61 ปี)

(*) The Politburo (in Russian: full: Political Bureau of the Central Committee of the Communist Party of the Soviet Union, known as the Presidium from 1952 to 1966, functioned as the central policymaking and governing body of the Communist Party of the Soviet Union. The body was made up of the top members of the Central Committee. In theory, it acted as the political bureau (hence Politburo) of the Central Committee, elected by them to direct the Party between the sessions of the committee and with a mandate that only covered the Party. The Politburo was responsible to, and its membership was subject to, the approval of the Central Committee.

และในปี ค.ศ.1982 รัฐมนตรีต่างประเทศของประธานาธิบดีเบรชเนฟ Andrei Gromyko, รัฐมนตรีกลาโหม Dmitri Ustinov และนายกรัฐมนตรีของเขา Nikolai Tikhonov ทั้งหมดมีอายุอยู่ช่วงกลางจนถึงปลายอายุ 70. ยูริ แอนโดรปอฟ (Yuri Andropov), ผู้สืบทอดอำนาจของเปรชเนฟต่อมา เขาได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่ออายุ 68 ปี และป่วยหนักด้วยโรคไตเมื่อเขาขึ้นสู่อำนาจ แอนโดนปอฟถึงแก่อสัญกรรมต่อมาในอีก 15 เดือน จากนั้นได้รับการสืบทอดอำนาจโดยประธานาธิบดี คอนสแตนติน เชอร์เนนโก (Konstantin Chernenko) ซึ่งขณะนั้นเขามีอายุ 72 ปี และได้ครองอำนาจต่อมาอีกราว 13 เดือนและได้ถึงแก่อสัญกรรม ต่อมาสหภาพโซเวียตได้ส่งมอบอำนาจการปกครองให้แก่ มิคฮาอิล กอร์บาเชฟ ซึ่งถือว่าเป็นประธานาธิบดีหนุ่ม. คิวบาเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีลักษณะการปกครองแบบอภิชราธิปไตย แม้ว่าประชากรปัจจุบันจะประกอบด้วยคนผิวดำและคนเชื้อสายมูแลตโต(mulatto) ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างคนผิวขาวและผิวดำ และคนเหล่านี้ล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาวก็ตาม แต่รูปแบบชนชั้นปกครองส่วนใหญ่ก็ยังเป็นของคนแก่ที่เป็นคนผิวขาว

ประเทศคอมมิวนิสต์อื่นๆ กับอภิชราธิปไตย
สำหรับประเทศคอมมิวนิสต์อื่นๆ ที่ผู้นำของพวกเขามีอายุระหว่าง 70-80 ปีนั้น ประกอบด้วย

- อัลบาเนีย เลขาธิการคนที่หนึ่งของประเทศนี้ Enver Hoxha ถึงแก่อสัญกรรมเมื่ออายุ 76 ปี
- เชคโกสโลวาเกีย ประธานาธิบดี Gustav Husak ได้ลาออกเมื่ออายุ 76 ปี
- ยูโกสลาเวีย ประธานาธิบดี Josip Broz Tito ถึงแก่อสัญกรรมเมื่ออายุ 87 ปี
- โรมาเนีย เลขาธิการทั่วไปและประธานาธิบดี Nicolae Ceausescu ได้ถูกประหารชีวิตตอนอายุ 70 ปี
- เยอรมนีตะวันออก เลขาธิการทั่วไปและผู้นำประเทศคือ Erich Honecker ได้ถูกบีบบังคับให้ลาออกเมื่ออายุ 77 ปี
- ลาว ประธานาธิบดี Nouhak Phoumsavanh เกษียณอายุในช่วงอายุ 83 ปี
- เกาหลีเหนือ ประธานาธิบดี คิมอิวซุง ถึงแก่อสัญกรรมเมื่ออายุ 82 ปี
- เวียดนาม ประธานาธิบดี Truong Chinh เกษียณอายุระหว่างมีอายุ 80 ปี

ในระดับรัฐ หัวหน้าพรรคของจอร์เจีย คือ Vasil Mzhavanadze อายุ 70 ตอนที่เขาถูกบีบให้ลาออก และรัฐที่คู่กันคือ
ลิธัวเนีย Antanas Snieckus ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 71 ปี

ระบอบอภิชราธิปไตยกับรัฐต่างๆ ทางศาสนา
ระบอบอภิชราธิปไตยยังมีลักษณะร่วมกันในรัฐต่างๆ ทางศาสนา หรือรัฐที่ถือศาสนาเป็นใหญ่ ซึ่งเรียกว่า religious theocratic states ตัวอย่างเช่น อิหร่าน ตำแหน่งผู้นำได้ถูกเพ่งความเอาใจใส่ให้อยู่ในมือของผู้มีอายุมากสุดในทางศาสนา. แม้อายุจะเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงของผู้นำอาวุโสทางศาสนา แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ลงสมัครเป็นผู้แทนในรัฐสภาจะต้องมีอายุต่ำกว่า 75 ปีลงมา. ในอินเดียซึ่งเป็นประเทศประชาธิปไตย แต่ในรัฐทมิฬ นาดู รัฐมนตรีสูงสุด M Karunanidhi, เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1924, ซึ่งเป็นตัวอย่างของปรากฏการณ์นี้เช่นกัน. สังคมของชนเผ่าซาบูรู (กลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งทางตอนเหนือของประเทศเคนย่า) [samburu](*) ได้รับการกล่าวว่ามีการปกครองแบบอภิชราธิปไตย

(*) The Samburu are an ethnic group in north central Kenya that are related to but distinct from the Maasai. The Samburu are semi-nomadic pastoralists who herd mainly cattle but also keep sheep, goats and camels. The name they use for themselves is Lokop or Loikop, a term which may have a variety of meanings which Samburu themselves do not agree on. Many assert that it refers to them as "owners of the land" ("lo" refers to ownership, "nkop" is land) though others present a very different interpretation of the term. The Samburu speak the Samburu language. There is also a game park in the area, Samburu National Reserve.

ประเทศเสรีประชาธิปไตยกับระบอบอภิชราธิปไตย
จากการศึกษาเรื่องนี้ในปี 2004 ประเมินว่า ประเทศต่างๆ ซึ่งจะมีลักษณะการปกครองแบบอภิชราธิปไตยในกลุ่มประเทศประชาธิปไตย คือประเทศที่มีผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งส่วนใหญ่เป็นคนซึ่งมีอายุเกินกว่า 50 ปีขึ้นไป เช่น

1. Finland และ Switzerland จะมีผู้มีสิทธิออกเสียงส่วนใหญ่เกิน 50 ปีในราวปี 2012
2. France, Germany, และ United States จะเป็นอภิชราธิปไตยในปี 2015
3. Denmark, Greece, Italy, Norway, Portugal, และ Sweden จะเป็นประเทศอภิชราธิปไตยในช่วงปี ค.ศ. 2019.

Hans-Werner Sinna และ Silke Uebelmesse ได้สรุปถึงความเป็นไปได้ล่าสุดว่า เยอรมนีอาจมีการเปลี่ยนผ่านอันหนึ่งไปสู่ระบบการให้บำนาญ ซึ่งจะเกิดขึ้นก่อนปี ค.ศ.2016. ส่วนวุฒิสภาสหรัฐฯ บางท่านอยู่ในวัยชราภาพอย่างไม่สมมาตร และตำแหน่งต่างๆ ที่มีอำนาจในสภานิติบัญญัติ - อย่างเช่น ตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ - ปกติจะมอบให้กับคนที่มีประสบการณ์สูง กล่าวคือ นักการเมืองที่สูงอายุซึ่งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติมายาวนาน. ยกตัวอย่างเช่น Strom Thurmond, วุฒิสมาชิกจาก South Carolina, วุฒิสมาชิกท่านนี้ลาออกจากตำแหน่งตอนอายุล่วงเข้าร้อยปี หลังจากผ่านการทำงานมากว่าครึ่งศตวรรษ, ในขณะที่ Robert Byrd แห่ง West Virginia เกิดในปี 1917 และรับใช้ในฐานะวุฒิสมาชิกมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1959

ตัวอย่างต่างๆ เกี่ยวกับอภิชราธิปไตยในระดับองค์กร
นอกจากปริมณฑลทางการเมืองดังกล่าวแล้ว ระบอบอภิชราธิปไตยอาจถูกสังเกตและพบได้ในตำแหน่งที่มีการแบ่งสรรกันเป็นลำดับชั้นในสถาบันต่างๆ. โดยทั่วไป เครื่องหมายของระบอบอภิชราธิปไตยเป็นการมีอยู่ของจำนวนปริมาณผู้นำที่มีอายุระหว่าง 70 ปี หรือ 80 ปีขึ้นไป - คนซึ่งมีอายุน้อยกว่านี้ดูเหมือนว่าจะหนุ่มเกินไปสำหรับตำแหน่งที่เหมาะสมดังกล่าว ส่วนคนที่มีอายุมากกว่า 90 ปีขึ้นไป โดยปกติแล้วมีอยู่ไม่มากนักที่จะมาครอบครอง(เชิงปริมาณ)ในตำแหน่งผู้นำ. โดยปกติแล้ว มีค่อนข้างน้อยที่คนซึ่งมีอายุเกินกว่าร้อยปีขึ้นไป จะยังคงสถานะหรือดำรงตำแหน่งผู้นำที่ทรงอำนาจอยู่ได้ในฐานะผู้อาวุโสสูงสุด

สำหรับระบอบอภิชราธิปไตย จะเกิดขึ้นในฐานะที่เป็นขั้นตอนหนึ่งในการพัฒนาเกี่ยวกับรูปแบบการปกครอง มากกว่าจะมีลักษณะดังกล่าวไปโดยตลอด. ในทางตรงข้าม ระบอบอภิชราธิปไตยอาจก่อให้เกิดความอ่อนแอ ส่วนการกำจัดคุณลักษณะข้างต้นลง อาจเป็นไปโดยกรอบหรือข้อบังคับบางอย่างของสถาบัน ยกตัวอย่างเช่น การจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของผู้นำ หรือการกำหนดให้มีการเกษียณอายุในช่วงวัยที่สมควร เป็นต้น (มาตรฐานส่วนใหญ่คือ 60 - 70 ปี)

ศาลยุติธรรมสหรัฐฯ นับเป็นตัวอย่างที่ผู้พิพากษาจะดำรงตำแหน่งไปจนชั่วอายุขัย แต่ก็มีระบบของการเชิญชวนให้เกษียณอายุเช่นกัน โดยการจ่ายเงินเดือนเต็มให้หลังจากถึงอายุตามเกณฑ์ที่กำหนด และการตัดสิทธิจากความเป็นผู้นำสำหรับบุคคลที่ล้มเหลวในตำแหน่งที่ได้รับมอบหมาย. คณะกรรมการโอลิมปิคนานาชาติ ได้มีการกำหนดการเกษียณอายุขึ้นในปี 1965. ในส่วนขององค์กรศาสนา Pope Paul VI ได้มีการถอดถอนสิทธิ์พระคาร์ดินัลโรมันคาธอลิคในการออกเสียงการเลือกตั้งสันตะปาปาองค์ใหม่ หากว่าพระคาร์ดินัลนั้นมีวัยเกินกว่า 80 ปีขึ้นไป (ซึ่งข้อกำหนดนี้ได้มีผลต่อการจำกัดจำนวนพระคาร์ดินัลที่จะมีสิทธิ์ในการออกเสียงเลือกตั้งองค์สันตะปาปาองค์ใหม่ ทั้งนี้เนื่องมาจากการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วของพระคาร์ดินัลที่เกิดในช่วงเวลาดังกล่าว และข้อบังคับนี้ยังคงดำเนินต่อมาอย่างต่อเนื่อง)

ในอีกด้านหนึ่ง ระบอบอภิชราธิปไตยอาจปรากฏขึ้นในสถาบันใดสถาบันหนึ่ง ซึ่งแต่แรกไม่ได้มีความรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้เลยก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น องค์กรคริสตศาสนาที่ชื่อว่า The Church of Jesus Christ of Latter-day Saints ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดย Joseph Smith, Jr., ขณะนั้นเขามีอายุเพียง 24 ปี. ในปี 1835 เขาได้สถาปนาองค์กรที่ชื่อว่า Quorum of the Twelve Apostles แห่งแรกขึ้น โดยหมู่สมาชิกมีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 23-35 ปี. เมื่อองค์กรนี้ได้รับการสถาปนาขึ้นและมีการดำรงตำแหน่งประธานองค์กรต่อมา ปรากฏว่าผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานองค์กรศาสนานี้ จะมีวาระการดำรงตำแหน่งยาวนานไปจนตลอดชีวิต ทำให้องค์กรฯ มีลักษณะเป็นองค์กรของผู้สูงอายุขึ้นมาอย่างเด่นชัด และด้วยความเจริญงอกงามขององค์กร ประกอบกับอายุของการทำหน้าที่ประธานแบบตลอดชีพ (และผู้สืบทอดจะต้องเป็นบุคคลที่มีอายุมากที่สุดที่เลื่อนลำดับขึ้นมา) ทำให้องค์กรศาสนานี้มีการบริหารงานในแบบอภิชราธิปไตยไปในที่สุด (ปรากฏว่า ประธานองค์กรศาสนาดังกล่าวจำนวน 6 คน ได้ดำรงตำแหน่งเมื่ออายุเกินกว่า 90 ปีไปแล้ว และจนกระทั่งปี 2008 Gordon B. Hinckley ซึ่งเป็นประธานองค์กรได้ถึงแก่กรรมลง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันองค์กรศาสนาแห่งนี้ก็ยังคงดำเนินกิจการทางศาสนาต่อมา)

นวนิยายวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับระบอบอภิชราธิปไตย
นวนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Holy Fire (ไฟศักดิ์สิทธิ์) เขียนโดย Bruce Sterling เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับสังคมในอนาคต เนื้อหาในนวนิยายเล่มนี้เป็นเรื่องของการคาดหวังเกี่ยวกับชีวิตว่า มนุษย์จะมีอายุยืนยาวเกินกว่าสองร้อยปี ด้วยการช่วยเหลือของวิทยาศาสตร์ด้านการแพทย์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ (transhumanism)(*) ซึ่งยังผลให้บรรดาเหล่าอภิชราหรือคนแก่อายุมากทั้งหลายเป็นผู้จัดการปกครองบ้านเมืองเกือบทั้งหมดและทรงอำนาจทางการเมืองสูงสุด. บรรดาคนหนุ่มสาวและเยาวชน (ตามมาตรฐานสมัยใหม่หมายถึง คนที่อยู่ในวัยกลางคน) กลายเป็นพวกคนนอกหรืออยู่ชายขอบในการเข้าถึงอำนาจศูนย์กลางและความมั่งคั่งร่ำรวย. ภาพฉายทางสังคมนี้ได้สลับปรับเปลี่ยนความมีอคติต่อผู้สูงวัยกับผู้อาวุโสในทุกวันนี้ไป เช่นเดียวกับอาการเกลียดกลัวคนแก่ (gerontophobia)(**)

(*) Transhumanism is an international intellectual and cultural movement supporting the use of science and technology to improve human mental and physical characteristics and capacities. The movement regards aspects of the human condition, such as disability, suffering, disease, aging, and involuntary death as unnecessary and undesirable. Transhumanists look to biotechnologies and other emerging technologies for these purposes. Dangers, as well as benefits, are also of concern to the transhumanist movement.

(**) Gerontophobia is the fear of growing old, or a hatred or fear of the elderly.
Ken Dychtwald identifies seven markers that can make up this phobia in chapter two of Age Wave: How the Most Important Trend of Our Time Will Change Your Future:

- If young is good, then old is bad
- If the young have it all, the old are losing it
- If the young are creative, the old are dull
- If the young are beautiful then the old are unattractive
- If the young are stimulating, then the old are boring
- If the young are full of passion, then the old are beyond caring
- If the children are tomorrow, the old represent yesterday

ในนวนิยายแฟนตาซีที่ออกจะเพ้อฝันในชุด Wheel of Time (กงล้อกาลเวลา) ซึ่งเขียนโดย Robert Jordan, พวกคิน(The Kin) คือกลุ่มผู้หญิงกลุ่มหนึ่งซึ่งประสบกับความล้มเหลวที่จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคม Aes Sedai (*), พวกเธอไม่อาจที่จะยึดครองคุณค่าใดๆ ในความแข็งแกร่งของการมีอำนาจหนึ่งเดียว(One Power)ได้, ซึ่งตรงข้ามและเป็นปฏิปักษ์กับสังคม Aes Sedai, ช่วงอายุของพวกเธอจึงไหลเลื่อนไปกับกาลเวลา. ส่วนในนวนิยายของ Frederik Pohl เรื่อง Search the Sky, ตัวละครหลักคือ Ross ได้เผชิญหน้ากับดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง ซึ่งมีการซ่อนเร้นระบอบอภิชราธิปไตยภายใต้หน้ากากและเสื้อคลุมของระบอบประชาธิปไตย. ในนวนิยายเรื่องนี้ได้ใช้วลี อย่างเช่น "Old Heads Are Wisest" (บรรดาคนหัวเก่าคือคนที่ฉลาดปราดเปรื่องที่สุด) และยินยอมให้ประชากรมีสิทธิ์ที่จะเลือกว่าใครคือคนที่อาวุโสที่สุด

(*) The Aes Sedai are a society in the fictional universe of Robert Jordan's The Wheel of Time book series.
หมายเหตุ: บทความนี้เรียบเรียงจากสารานุกรม wikipedia หัวข้อ gerontocracy

Notes

1. Zwass, Adam. The Council for Mutual Economic Assistance, p. 127. M. E. Sharpe, 1989, ISBN 087332496X.
2. Gerner, Kristian and Hedlund, Stefan. Ideology and Rationality in the Soviet Model, p. 346. Routledge, 1989,
ISBN 0415021421.

3. Post, Jerrold M. Leaders and Their Followers in a Dangerous World, p. 96. Cornell University Press, 2004,
ISBN 0801441692.

4. Kort, Michael. The Soviet Colossus: History and Aftermath, p. 335. M. E. Sharpe, 2006, ISBN 0765614545.
5. Post, p. 97.
6. "The Cuban revolution at 50 - Heroic myth and prosaic failure". The Economist. Dec 30th 2008. http://www.economist.com/world/americas/displaystory.cfm?story_id=12851254.

7. Paul Spencer. The Samburu. ISBN 0415317258, 9780415317252.
8. "Are Aging OECD Welfare States on the Path to the Politics of Gerontocracy? Evidence from 18 Democracies, 1980-2002". http://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=1225672. / "Are Mature Welfare States on the Path to Gerontocracy? Evidence from 18 OECD Democracies, 1980-2002". http://www.euro.centre.org/data/1210255282_87237.pdf.

9. Pensions and the path to gerontocracy in Germany

ภาคผนวก

ในบทความนี้ มีคำที่เกี่ยวข้องกับอาการเกลียดกลัวคนแก่ หรือ Gerontophobia และระหว่างทำเชิงอรรถอธิบาย มีอาการหวาดกลัวในลักษณะ phobia ที่ได้รับการจัดเรียงลำดับตามตัวอักษร ซึ่งผู้เรียบเรียงพิจารณาว่า น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการค้นคว้าอ้างอิง จึงได้นำเสนอไว้ในภาคผนวก หากนักศึกษา สมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนสนใจเกี่ยวกับอาการ phobia ต่างๆ สามารถคลิกอ่านได้ที่
http://www.answers.com/topic/gerascophobia-1

List of phobias
Acrophobia / Aerophobia / Agoraphobia / Agraphobia / Ailurophobia / Algophobia / Anthropophobia / Aphephobia / Apiphobia / Aquaphobia / Arachnophobia / Astraphobia / Autophobia / Aviatophobia / Aviophobia / Batrachophobia / Bathophobia / Biphobia / Brontophobia / Cainophobia / Cainotophobia / Cenophobia / Centophobia / Chemophobia / Chiroptophobia / Claustrophobia / Contreltophobia / Coulrophobia / Cynophobia / Dentophobia / Eisoptrophobia / Emetophobia / Entomophobia / Ephebiphobia / Equinophobia / Ergophobia / Erotophobia / Genophobia / Gephyrophobia / Gerascophobia / Gerontophobia / Glossophobia / Gymnophobia / Gynophobia / Hamaxophobia / Haphophobia / Hapnophobia / Haptephobia / Haptophobia / Heliophobia / Hemophobia / Heterophobia / Hexakosioihexekontahexaphobia / Hoplophobia / Hydrophobia / Ichthyophobia / Insectophobia / Keraunophobia / Kymophobia / Lipophobia / Monophobia / Murophobia / Musophobia / Mysophobia / Necrophobia / Neophobia / Nomophobia / Nosophobia / Nyctophobia / Ochophobia / Odontophobia / Ophidiophobia / Ornithophobia / Osmophobia / Panphobia / Paraskavedekatriaphobia / Pediaphobia / Pediophobia / Pedophobia / Phagophobia / Phasmophobia / Phonophobia / Photophobia / Psychophobia / Pteromechanophobia / Radiophobia / Ranidaphobia / Somniphobia / Scopophobia / Scotophobia / Spectrophobia / Suriphobia / Taphophobia / Technophobia / Tetraphobia / Thalassophobia / Tokophobia / Tonitrophobia / Trichophobia / Triskaidekaphobia / Trypanophobia / Xenophobia / Zoophobia

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

(2) ว่าด้วยการปกครองแบบ "ชราธิปไตย" : Gerontocracy
ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทนำ
ในทางรัฐศาสตร์ มีศัพท์การเมืองการปกครองคำหนึ่งว่า "Gerontocracy" ซึ่งผมขอเเปลว่า การปกครองโดยผู้สูงวัย หรือ "ชราธิปไตย" ผมเห็นว่าการเมืองไทยระยะนี้มีผู้สูงวัยเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองมากเกินไป ซึ่งแนวคิดหรือความเห็นทางการเมืองที่แสดงออกมานั้นดูเป็นนามธรรม เป็นอุดมคติ ฟังแล้วดูดีแต่ปฎิบัติอย่างไรไม่รู้ หลายเรื่องเป็นเรื่องย้อนยุค ข้อเขียนนี้จะกล่าวถึงความหมายของคำว่า ชราธิปไตยและจะขอกล่าวถึงบทบาทของผู้สูงวัยหลายท่านที่มีบทบาทในการวิพากษ์วิจารณ์การเมืองไทยที่ผ่านมา

1. ความหมายของคำว่า "Gerontocracy"
ในพจนานุกรม ของ American Heritage New Dictionary of Cultural Literacy, Third Edition ได้ให้ความหมายของคำว่า gerontocracy ว่าหมายถึง สังคมที่ปกครองโดยผู้อาวุโส (A society ruled by elders) ในขณะที่เล่มอื่นๆ ให้ความหมายว่าเป็นระบบการปกครองโดยคนเเก่ (a political system governed by old men) ในต่างประเทศอย่างประเทศอิตาลีนั้นก็มักมีธรรมเนียมประเพณี หรือวัฒนธรรมที่ผู้สูงวัยยังมีอิทธิพลหรือบทบาททางการเมืองอยู่ ประเทศในเอเซียที่ยังให้ความสำคัญกับความอาวุโสนั้น ที่เห็นได้ชัดคือญี่ปุ่น เเม้ว่าระยะหลังนักการเมืองรุ่นใหม่ที่มีอายุไม่มาก เหมือนก่อนจะมีบทบาททางการเมืองมากขึ้นก็ตาม

2. Gerontocracy กับการเมืองไทย
ด้วยวัฒนธรรมประเพณีเเบบไทยๆ ที่ให้ความเคารพนับถือผู้หลักผู้ใหญ่ในด้านต่างๆ ทำให้สังคมไทยให้ความสำคัญเเก่ผู้ใหญ่ เนื่องจากสังคมไทยเห็นว่าผู้ใหญ่นั้นย่อมมีความรู้ มีวุฒิภาวะเเละประสบการณ์มามาก ดังจะเห็นได้จากประพเณีไทย ที่หากมีการเเต่งานขอลูกสาวมักจะให้ผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ติดต่อพูดคุยกันเอง การให้ความสำคัญของผู้ใหญ่นั้นไม่ยกเว้นเรื่องทางการเมืองด้วย ตัวอย่างของการให้ความสำคัญกับผู้ใหญ่นั้น เห็นได้จากมีการเรียกตำเเหน่ง "ราษฎรอาวุโส" (ซึ่งไม่ทราบว่าใครเป็นผู้อุปโลกน์) ดังจะเห็นได้จากบ่อยครั้งที่มีปัญหาความขัดเเย้งทางการเมือง มักมีผู้หลักผู้ใหญ่ที่อันเป็นที่เคารพหรือยอมรับจากประชาชนได้เเสดงความคิดเห็น ติชมเสนอเเนะทางออกหรือวิธีการต่างๆ ซึ่งในอดีตก็ประสบความสำเร็จได้ด้วยดี เเต่เป็นที่น่าสังเกตว่าวิกฤตการณ์คราวนี้ มีผู้ใหญ่หลายท่านได้เเเสดงความเห็นทางการเมืองหลายเรื่องหลายคราว เเต่อย่างไรก็ตาม กระเเสสังคมกลับไม่ตอบรับ ยิ่งไปกว่านั้นยังถูกเเรงต้านจากทั้งสองฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายที่ต่อต้านอำมาตยาธิปไตย ที่ผ่านมาผู้ใหญ่เหล่านี้ได้เสนอความคิดเห็นทางการเมืองต่างๆ นาๆ มากมายพอจับใจความสำคัญได้ดังนี้ (ผมคงรวบรวมได้ไม่สมบูรณ์พอ)

1. พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ พูดย้ำเรื่องคุณธรรม การเป็นคนดี (ทั้งๆ ที่ตนเองก็ถูกกล่าวหาหลายเรื่อง เช่น เรื่องการมีบทบาทกับโผทหาร รวมทั้งเรื่องการเมืองต่างๆ ทั้งที่ตนเองไม่มีตำแหน่งหน้าที่หรืออำนาจทางการเมืองแล้ว) (*)

2. นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว ที่เสนอให้คนไทยมีศีลห้า
3. นายอานันท์ ปันยารชุน ที่เห็นว่า "การเลือกตั้งมิใช่เป็นสิ่งจำเป็นของระบอบประชาธิปไตย"

4. นายแพทย์ประเวศ วะสี กล่าวเรื่อง "อารยะประชาธิปไตย" ที่ดูเป็นนามธรรมเลื่อนลอย ฟุ้งอยู่ในอากาศ (แต่หลายคนคิดว่าเป็นความคิดลึกซึ้ง) รวมถึงทรรศนะคติการเมืองภาคประชาชนที่ท่านเคยกล่าวว่า "เวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกลายเป็นเครื่องมือที่ให้การศึกษาทางการเมืองอย่างกว้างขวาง อย่างไม่เคยมีมาก่อน คณะรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ไม่เคยสามารถให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชนได้ถึงขนาดนี้. จริงอยู่พันธมิตรอาจจะมีผิดบ้างถูกบ้าง แต่ภาพใหญ่คือ การให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง" [1] รวมถึงการสนับสนุนการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์กรณีมาตรา 7

[1] ประเวศ วะสี, การปฏิวัติประชาธิปไตยโดยคนไทยทั้งมวล, หนังสือพิมพ์คมชัดลึกวันที่ 21 ก.ค.51

5. อาจารย์ เสน่ห์ จามริก ที่เคยกล่าวว่า "รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นสิ่งที่ไม่มีทางเลือกและอย่ามองว่ามันถอยหลัง"

6. อาจารย์อมร จันทรสมบูรณ์ ที่วนเวียนอยู่กับการให้ความสำคัญของชนชั้นนำ (Elite) หรือพวกอภิสิทธิ์ชน (Aristocrat) ทั้งหลาย เเละเสนอว่า สมาชิกสภาผู้เเทนราษฎรไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง

7. คุณสุเมธ ตันติเวชกุล ที่มักเสนอเรื่องความดี คุณธรรม รู้รักสามัคคี หรืออะไรที่ฟังดูเชยๆ
8. คุณปราโมทย์ นาครทรรพ ที่กล่าวหลังจากมีการทำรัฐประหาร 19 กันยายนว่า "เราจะต้องประกาศให้โลกเข้าใจดังต่อไปนี้ว่า [2]

[2] โปรดดู ปราโมทย์ นาครทรรพ, ระวังปฏิรูปหลงทาง

8. 1 การปฏิรูปคราวนี้มิใช่การยึดอำนาจ แต่เป็นการใช้กำลังตามความจำเป็นเพื่อป้องกันการใช้กำลังของระบอบทักษิณที่เริ่มขึ้นก่อน โดยการประกาศภาวะฉุกเฉิน เพื่อจะเคลื่อนกำลังตำรวจ ทหาร และกองกำลังท้องถิ่นสนับสนุนรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรม

8.2 การปฏิวัติต้องแปลว่า coup เพราะไม่มีคำอื่น ฝรั่งจึงเข้าใจไขว้เขวว่าเป็นการปฏิวัติเหมือนในทวีปแอฟริกา ละตินอเมริกาหรือประเทศโลกที่สามอื่นๆ แต่ของเราไม่เหมือนใคร การปฏิวัติครั้งนี้ไม่เสียเลือดแม้แต่หยดเดียว เป็นเพียงการแสดงพลังให้อีกฝ่ายยอมเสียดีๆ ซึ่งก็ได้ผล ควรจะเรียกว่าcoup de grace หรือปฏิบัติการสายฟ้าแลบเพื่อพิชิตแม้วมากกว่าเป็นการแสดงบันเทิงแก่ชาวบ้านเด็กๆ และนักท่องเที่ยวด้วยซ้ำ ไม่เชื่อก็ดูจากทีวี การปฏิบัติการสายฟ้าแลบซึ่งมิได้กระทบกระเทือนวิถีชีวิต ความเชื่อ และครรลองอื่นใดแบบประชาธิป
ไตย เลย" เเละเคยกล่าวบนเวทีพันธมิตรว่า "การชุมนุมของพันธมิตรเป็นสิ่งที่สวยงามนานาประเทศกล่าวชื่นชม" อะไรทำนองนี้

สาระสำคัญของแนวคิดผู้สูงวัยที่เอ่ยมาข้างต้นอาจสรุปได้ดังนี้

(1) ไม่เชื่อในระบบเลือกตั้ง โดยเฉพาะคนต่างจังหวัดที่คนเหล่านี้เห็นว่า ไม่มีความรู้ดีพอที่จะเลือกผู้แทนเข้าไปทำงาน
จึงต้องมีกลุ่มบุคคลหนึ่ง ทำหน้าที่ตรงนี้แทน

(2) หลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงหลักความเสมอภาคของคนต่อกฎหมาย

(3) นำเรื่องศีลธรรมจรรยา หลักธรรมในพุทธศาสนามาใช้ในการเมืองไทย โดยเฉพาะความพยายามต้องการเห็นนักการเมืองเป็นคนดี มีศีลธรรม มีคุณธรรม (ข้อเสนอนี้มักจะมีการใช้ถ้อยคำหรือหลักการให้ฟังดูดี แต่เป็นนามธรรมมากไปจนขาดแผนปฎิบัติการที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมว่า จะทำอย่างไรจึงจะไปสู่เป้าหมายที่ทำให้นักการเมืองเป็นคนดีมีคุณธรรมได้)

(4) มีแนวคิดยึดติดกับ "ตัวบุคคล" มากกว่า "การสร้างระบบหรือองค์กร"

(5) คิดว่าประเทศไทยมีลักษณะพิเศษแปลกกว่าประเทศอื่นๆ เป็นประเทศที่มีความสุขสงบแล้วจึงไม่ต้องเลียนแบบหรือเดินตามประเทศอื่นๆ (ดังสะท้อนให้เห็นจากในทางการเมือง ได้มีการปฎิเสธแนวคิดประชาธิปไตยแบบตะวันตก หรือในทางเศรษฐกิจก็ได้มีการปฎิเสธทุนนิยมหรือโลกาภิวัฒน์ โดยโน้มน้าวให้ประชาชนเห็นว่า ประเทศไทยไม่เหมือนใครในโลก ไทยจึงควรมีระบอบการปกครองเป็นของตนเอง โดยปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมไทยๆ โดยลืมบอกกับประชาชนไทยว่า ระบบที่ตนเองเสนอนั้น มีผลทำให้ระบบชนชั้นอำมาตยดำรงอยู่ต่อไป)

(6) ส่งเสริมหรือเห็นว่า พระราชอำนาจอำนาจของสถาบันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเมืองไทย และ
(7) ลึกๆ ผู้สูงวัยเหล่านี้โหยหารัฐประหาร หากการเมืองยุ่งยากจริงๆ ก็พร้อมที่จะเห็นด้วยกับการทำ"รัฐประหาร" เพื่อเป็นทางออก[3]

[3] เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี หรือ อันเฟรล (ANFREL) เคยออกแถลงการณ์ทักท้วงหมอประเวศ ขอให้ยุติการชี้นำให้ทหารยึดอำนาจหรือรัฐประหาร หรืออาจารย์อมรเคยกล่าวว่า"ผมคิดว่า ก่อนที่จะทำการปฏิวัติหรือรัฐประหาร ผู้ที่ทำการรัฐประหาร ควรจะต้องกำหนด "ภารกิจ"ของตนเองเสียก่อน" หรืออาจารย์ เสน่ห์ เคยกล่าวว่า "รัฐประหาร 19 กันยายนเป็นสิ่งที่ไม่มีทางเลือกและอย่ามองว่ามันถอยหลัง"

บทส่งท้าย
บ่อยครั้งที่ผมฟังทรรศนะหรือเเนวคิดทางการเมืองของผู้สูงวัยข้างต้นเเล้ว รู้สึกเหมือนว่า ผู้สูงวัยเหล่านี้กำลังชวนเชิญให้คนไทยกลับไป "นั่งเกวียนเเละใช้เครื่องพิมพ์ดีด" โดยหารู้ไม่ว่า ปัจจุบันมนุษย์กำลังใช้รถไฮบริดจ์ เเละใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ้คไร้สายเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตทั่วโลกกันเเล้ว ที่น่าเศร้าก็คือ ผู้สูงวัยเหล่านี้ยังวนเวียนเวียนวนกับการเสนอแนวคิดและการให้ความเห็นกำหนดทิศทางทางการเมืองอยู่เนืองๆ ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ใหญ่เหล่านี้ไม่รู้หรือว่าประชาชาชนที่ต่อต้านอำมาตยธิปไตย เขารู้ทันความคิดความอ่านของพวกท่านหมดเเล้ว เขารู้ว่าพวกท่านเป็น "ตัวเเทน" ของกลุ่มอำมาตยธิปไตย ผู้ใหญ่เหล่านี้ไม่เคยตำหนิการชุมนุมที่ผิดกฎหมายอย่างการยึดทำเนียบ การปิดสนามบิน การปิดท่าเรือคลองเตย การปิดล้อมรัฐสภา รวมทั้งข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรที่เลยเถิดไปจากระบอบประชาธิปไตย จึงไม่เเปลกใจที่ข้อเสนอหรือความคิดเห็นต่างๆ ของพวกท่านถูกปฎิเสธ หรือถูกมองข้ามจากกลุ่มต่อต้านอำมาตยาธิปไตยอย่างสิ้นเชิง


เคยเผยแพร่แล้วที่ ประชาไทออนไลน์
วันที่ : 28/10/2551

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com