ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๒ : Release date 29 March 2009 : Copyleft MNU.

ในทศวรรษที่ ๑๙๖๐ แนวทางของภาพยนตร์สยองขวัญได้มุ่งมายังเนื้อหาแบบจิตวิทยาเขย่าขวัญ (Psychological Horror) โดยนำเสนอความน่ากลัวโหดเหี้ยมของมนุษย์มากกว่าที่จะเป็นสิ่งเหนือธรรม ชาติ อย่างที่มักจะปรากฏในภาพยนตร์สยองขวัญก่อนหน้านี้ สำหรับภาพยนตร์สยองขวัญแนวจิตวิทยาที่โดดเด่นในช่วงเวลาที่พูดถึงก็คือ Psycho ปี ๑๙๖๐ ผลงานของ Alfred Hitchcock และในภาพ ยนตร์เรื่อง Peeping Tom ปี ค.ศ.๑๙๖๐ ผลงานของ Michael Powell ต่อมาในภายหลังภาพยนตร์สยองขวัญแนวจิตวิทยาก็ยังคงปรากฏออกมาเป็นครั้งคราวอย่างต่อเนื่อง. ภาพยนตร์เรื่อง Silence of the Lamb ปี ๑๙๙๑ จัดได้ว่าเป็นภาพยนตร์สยองขวัญแนวจิต วิทยาที่โดดเด่นมากเป็นพิเศษ ในช่วงเวลาหลังจากทศวรรษท๑๙๖๐

H



29-03-2552 (1708)
ประวัติศาสตร์และลักษณะเฉพาะของภาพยนตร์สยองขวัญ
สุนทรียภาพเชิงนิเสธในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์สยองขวัญ
วิสิฐ อรุณรัตนานนท์ : ผู้วิจัย
หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

หมายเหตุ: งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานค้นคว้าอิสระ เรื่อง
"การวิเคราะห์แนวทางการนำเสนอภาพยนตร์แนวสยองขวัญ"
ชื่อผู้วิจัย: วิสิฐ อรุณรัตนานนท์ (นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ)
คณะกรรมการที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ: รองศาสตราจารย์ สมเกียรติ ตั้งนโม
อาจารย์ ทัศนัย เศรษฐเสรี, อาจารย์ วีระพันธ์ จันทร์หอม

งานวิจัยภาพยนตร์แนวสยองขวัญนี้ ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้
- ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์แนวสยองขวัญ
- Quasimodo: The Hunchback of Notre-Dame
- ฮอลลีวูดกับการสร้างภาพยนตร์สยองขวัญ
- ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์สยองขวัญต้นทุนต่ำ
- Hammer Film, Peter Cushing และ Christopher Lee
- Alfred Hitchcock: ภาพยนตร์สยองขวัญแนวจิตวิทยา
- ภาพยนตร์เขย่าขวัญคุณภาพการผลิตระดับสูง
- ภาพยนตร์สยองขวัญสกุลเอเชีย
- ภาพยนตร์สยองขวัญในทศวรรษที่ 1980 - 1990
- ภาพยนตร์แนวสยองขวัญในตอนเริ่มต้นคริสตศตวรรษที่ 21
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๐๘
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๙ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ประวัติศาสตร์และลักษณะเฉพาะของภาพยนตร์สยองขวัญ
สุนทรียภาพเชิงนิเสธในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์สยองขวัญ
วิสิฐ อรุณรัตนานนท์ : ผู้วิจัย
หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์แนวสยองขวัญ
ภาพยนตร์แนวสยองขวัญ (Horror Films) คือภาพยนตร์ที่ถูกออกแบบและสร้างขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตื่นตระหนกตก ความหวาดกลัว และสร้างความรู้สึกขวัญผวาให้แก่ผู้ชม แต่ในขณะเดียวกันก็ได้สร้างความบันเทิงอันน่าหลงใหลไปพร้อมๆ กัน ภาพยนตร์สยองขวัญสามารถสร้างประสบการณ์อันน่าหวาดหวั่นได้ โดยการเข้าไปสัมผัสกับความกลัวในส่วนลึกของจิตใจผู้ชม ทั้งจากฝันร้าย บาดแผลทางใจ ความแปลกแยก ความรู้สึกไม่พอใจ ความหวาดหวั่นพรั่นพรึงในสิ่งที่ไม่รู้ ความกลัวตายและการสูญเสียอวัยวะ ความกลัวการสูญเสียตัวตน รวมทั้งความกลัวเกี่ยวกับเพศสภาพ แล้วนำมันออกมาถ่ายทอดเป็นประสบการณ์ที่แปลกประหลาด

ภาพยนตร์แนวสยองขวัญมีจุดเริ่มต้นที่เก่าแก่เทียบเท่ากับจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์เลยทีเดียว นับตั้งแต่การถือกำเนิดของสื่อภาพยนตร์ ซึ่งเริ่มขึ้นในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา(*) ก็ได้ปรากฏภาพยนตร์แนวสยองขวัญขึ้นแล้วในระยะเวลาใกล้เคียงกัน โดยนักสร้างภาพยนตร์ยุคบุกเบิกชาวฝรั่งเศษอย่าง Georges Melies ได้สร้างภาพยนตร์สยองขวัญเรื่องแรก คือ Le Manoir du diable หรือ The Devil's Castle ขึ้นในปีคริสตศักราช 1896

(*)The history of film spans over a hundred years, from the latter part of the 19th century to the beginning of the 21st century. Motion pictures developed gradually from a carnival novelty to one of the most important tools of communication and entertainment, and mass media in the 20th century. Motion picture films have had a substantial impact on the arts, technology, and politics.

Quasimodo: The Hunchback of Notre-Dame
ในช่วงทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 20 ภาพยนตร์แนวสยองขวัญได้เริ่มมีการผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง ปิศาจหรืออมนุษย์ตนแรกของโลกภาพยนตร์คือ Quasimodo(*), The Hunchback of Notre-Dame ปรากฏตัวขึ้นครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง Esmeralda ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1906 ภาพยนตร์เรื่อง The Hunchback ถูกสร้างขึ้นในปี 1909 ภาพยนตร์เรื่อง The Love of a Hunchback ถูกสร้างขึ้นในปี 1910 และ ภาพยนตร์เรื่อง Notre-Dame de Paris ถูกสร้างขึ้นในปี 1911 โดย Alice Guy นักสร้างภาพยนตร์ชาวฝรั่งเศษ ซึ่งภาพยนตร์เหล่านี้ ถูกสร้างขึ้นโดยการดัดแปลงมาจาก นวนิยายเรื่อง "Notre-Dame de Paris" ซึ่งเป็นผลงานการประพันธ์ของ Victor Hugo ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1831



(*) Quasimodo is a central character from French author Victor Hugo's 1831 novel Notre Dame de Paris. Against Hugo's wishes, most English translations of the work have renamed it The Hunchback of Notre Dame, making Quasimodo the title character. Quasimodo is a tragic protagonist in the story and is a type of noble savage.

ในทศวรรษต่อมา ระหว่างปี ค.ศ.1910 ถึง 1920 ภาพยนตร์สยองขวัญส่วนมากที่ผลิตขึ้นได้รับการสร้างโดยนักสร้างภาพยนตร์ชาวเยอรมัน ซึ่งได้ส่งอิทธิพลให้กับวงการภาพยนตร์เขย่าขวัญอเมริกันในเวลาต่อมา ภาพยนตร์สยองขวัญที่สำคัญในช่วงเวลานี้ได้แก่ The Golem สร้างโดย Paul Wegener ในปี 1915, และ The Cabinet of Dr.Caligari สร้างโดย Robert Wiene ในปี 1920, ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องนี้ได้ก่อให้เกิดประเด็นการอภิปรายในหมู่ผู้ชมภาพยนตร์ชาวอเมริกันถึงทัศนคติต่างๆ ในช่วงหลังสงคราม และอิทธิพลของรูปแบบทางศิลปะแบบ Expressionistic ในภาพยนตร์ทั้งสอง รวมทั้งได้เกิดภาพยนตร์เกี่ยวกับผีดูดเลือดเรื่องแรกขึ้น คือ Nosferatu สร้างโดย F.W. Mernau ในปี 1922 ซึ่งเขาได้ดัดแปลงเค้าโครงเรื่องมาจากนวนิยายเรื่อง Dracula ที่ประพันธ์โดย Bram Stocker

ฮอลลีวูดกับการสร้างภาพยนตร์สยองขวัญ
ช่วงเวลาใกล้เคียงกันนี้ ฮอลลีวูดเริ่มมีการสร้างภาพยนตร์สยองขวัญขึ้นเช่นกัน ภาพยนตร์ฮอลลีวูดในแนวสยองขวัญยุคแรก ได้แก่ภาพยนตร์เรื่อง Hunchback of Notre Dame สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1923, ภาพยนตร์เรื่อง The Monster สร้างขึ้นในปี 1925 ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องนี้นำแสดงโดย Lon Chaney, Sr. ซึ่งถือเป็นดาราภาพยนตร์เขย่าขวัญคนแรกของอเมริกัน และบทบาทที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือการแสดงในภาพยนตร์เรื่อง The Phantom of the Opera ผลิตขึ้นในปี 1925 และภาพยนตร์ทั้งหมดดังกล่าวนี้อาจนับได้ว่าเป็นชุดภาพยนตร์สยองขวัญชุดแรกของบริษัท Universal Pictures

ในตอนต้นของทศวรรษที่ 1930 ภาพยนตร์สยองขวัญของอเมริกันได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะภาพยนตร์ของบริษัท Universal Pictures ที่ได้นำเสนอภาพยนตร์สยองขวัญแนวโกธิค ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากภาพยนตร์เขย่าขวัญของเยอรมันในช่วงทศวรรษก่อนหน้านี้ ภาพยนตร์ในแนวโกธิคนี้ ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง Dracula ปี 1931, The Mummy ปี 1932, และภาพยนตร์ที่ผสมผสานเนื้อหาแนววิทยาศาสตร์เข้ากับแนวสยองขวัญ ได้แก่ Franken Stein ปี 1931, The Invisible man ปี 1933 ในช่วงเวลานี้นักแสดงภาพยนตร์บางคน ได้ผันตนเองมาเป็นนักแสดงภาพยนตร์สยองขวัญอย่างเต็มตัว นักแสดงที่โดดเด่นของยุคนี้ อย่างเช่น Bela Lugosi ซึ่งมีชื่อเสียงจากบทบาทของ Count Dracula ในภาพยนตร์เรื่อง Dracula และนักแสดงอีกคนหนึ่งคือ Boris Karloff ซึ่งแสดงเป็นผีดิบ Franken Stein จากภาพยนตร์เรื่อง Franken Stein อีกทั้งยังได้แสดงเป็น Mummy ในภาพยนตร์เรื่อง The Mummy อีกด้วย

ในขณะที่ภาพยนตร์สยองขวัญที่ถูกสร้างจากสตูดิโออื่นๆ นั้นไม่เป็นที่น่าสนใจและประสบความสำเร็จมากนัก แต่ภาพยนตร์เรื่อง Dr. Jekyll & Mr. Hyde ปี 1931 ,ผลงานของ Rouben Memoulian จากบริษัท Paramount และภาพยนตร์เรื่อง Mystery of the Wax Museum ปี 1933, ผลงานของ Michael Curtiz จากบริษัท Warner Brother ต่างก็เป็นภาพยนตร์สยองขวัญเรื่องสำคัญในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์

ในทศวรรษที่ 1940 บริษัท Universal Pictures ยังคงสร้างภาพยนตร์สยองขวัญออกมาอย่างต่อเนื่อง ภาพยนตร์เรื่อง The Wolf Man ถูกสร้างขึ้นในปี 1941 แม้ว่ามันจะไม่ใช่ภาพยนตร์เกี่ยวกับมนุษย์หมาป่าเรื่องแรก แต่ก็เป็นภาพยนตร์ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อภาพยนตร์ในยุคหลังต่อมา นอกจากนั้น ตลอดระยะเวลาในช่วงสิบปีดังกล่าว บริษัท Universal Pictures ก็ยังผลิตภาพยนตร์ภาคต่อจากภาพยนตร์เรื่อง Franken Stein ออกมาอีกหลายภาค และในทศวรรษเดียวกัน Val Lewton ผลิตภาพยนตร์สยองขวัญต้นทุนต่ำ หรือที่ถูกเรียกว่าภาพยนตร์เกรด B ให้กับบริษัท RKO Pictures, ซึ่งภาพยนตร์เหล่านี้ได้แก่ Cat people ปี 1942, I Walked with a Zombie ปี 1943 , และ Body Snatcher ปี 1945

ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์สยองขวัญต้นทุนต่ำ
ในทศวรรษที่ 1950 เนื้อหาในภาพยนตร์สยองขวัญได้มีการเปลี่ยนแปลงจากความน่ากลัวในบรรยากาศแบบโกธิค ไปสู่เนื้อหาเรื่องราวในเชิงนิยายวิทยาศาสตร์ ภาพยนตร์ทุนต่ำจำนวนมากได้ถูกผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยล้วนแต่มีเนื้อหาเรื่องราวใกล้เคียงกัน ซึ่งมักนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับภัยคุกคามมนุษยชาติจากนอกโลก ("OUTSIDE") ไม่ว่าจะเป็นการรุกรานโลกของสิ่งมีชีวิตจากต่างดาว (Alien Invasions) หรือการกลายพันธุ์ที่อันตรายต่างๆ (Deadly Mutations) ของสิ่งมีชีวิตทั้ง มนุษย์ , พืช , และแมลงต่างๆ

ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์สยองขวัญต้นทุนต่ำเหล่านี้ ได้พยายามใช้กลวิธีที่หลากหลายในการตอบสนองผู้ชมอย่างเต็มที่ เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาดเป็นหลัก เช่น การสร้างภาพยนตร์ที่นำเสนอภาพแบบสามมิติ หรือ เทคนิคการช๊อตผู้ชมด้วยไฟฟ้าที่เรียกว่า "Percepto" (ซึ่งนำมาใช้ในภาพยนตร์เรื่อง The Tingler ปี 1959 โดย "William Castle" ผู้สร้างภาพยนตร์) เทคนิคเหล่านี้ถูกนำมาใช้โดยความเชื่อของผู้สร้างภาพยนตร์ที่คิดว่า มันจะสามารถสร้างความน่าสะพรึงกลัวแก่ผู้ชมได้มากกว่าและดีกว่าเดิม

ภาพยนตร์สยองขวัญที่สำคัญในช่วงเวลานี้ ได้แก่ The Thing from Another World ปี 1951 (ระบุไว้ภายในภาพยนตร์ว่าเป็นผลงานของ Christian Nyby แต่ถูกยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นผลงานของ Howard Hawks), และภาพยนตร์เรื่อง The Invasion of the Body Snatchers ปี 1956 ผลงานของ Don Siegel เป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอถึงความหวาดระแวงจากภาวะสงครามเย็นในบรรยากาศที่น่าสยดสยอง โดยไม่ได้อ้างอิงกับสถานการณ์จริงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น. ภายหลังจากช่วงทศวรรษที่ 1950 นี้ ในช่วงทศวรรษที่ 1960 ก็ยังคงมีการสร้างภาพยนตร์สยองขวัญที่มีเนื้อหาเรื่องราวแบบนิยายวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง

Hammer Film, Peter Cushing และ Christopher Lee
ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1950 ถึงช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 ได้เกิดบริษัทผลิตภาพยนตร์ที่มุ่งเน้นการสร้างภาพยนตร์สยองขวัญโดยเฉพาะขึ้น ได้แก่ Hammer Film Productions ที่เป็นบริษัทสัญชาติอังกฤษ. บริษัท Hammer Film ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการสร้างภาพยนตร์จากตัวละครที่มีชื่อเสียงรุ่นเก่า ผ่านการนำเสนอฉากที่นองเลือดกว่าเดิม ด้วยเทคนิคภาพสี นักแสดงคนสำคัญของบริษัท Hammer Film คือ Peter Cushing และ Christopher Lee ซึ่งนำแสดงในภาพยนตร์เรื่อง The Curse of Frankenstein ปี 1957, Dracula ปี 1958, The Mummy ปี 1959.

บริษัท Hammer Film และผู้กำกับ Terence Fisher ได้รับการยอมรับในวงกว้างว่าเป็นผู้บุกเบิกวงการภาพยนตร์เขย่าขวัญสมัยใหม่ ส่วนบริษัทอื่นๆ ที่มีส่วนในการสร้างกระแสความนิยมภาพยนตร์สยองขวัญในประเทศอังกฤษช่วงทศวรรษที่ 1960 ถึง 1970 ได้แก่ บริษัท Trigon-British และ บริษัท Amicus ซึ่งมีภาพยนตร์ที่เป็นที่รู้จักกันดีในภายหลังคือ ภาพยนตร์เรื่อง Dr. Terror's House of Horrors ซึ่งถูกสร้างในปี ค.ศ.1965

ช่วงเวลาเดียวกันนี้ บริษัท American International Pictures (AIP) ได้สร้างภาพยนตร์สยองขวัญที่นำเรื่องราวมาจากบทประพันธ์ของ Edgar Allan Poe (*) นักเขียนนวนิยายลึกลับเขย่าขวัญชาวอเมริกัน โดยมี Roger Corman เป็นผู้กำหนดแนวทางสำหรับภาพยนตร์ชุดนี้ และมี Vincent Price เป็นนักแสดงคนสำคัญ ซึ่งภาพยนตร์ชุดนี้ได้กลายมาเป็นประเด็นอภิปรายจุดก่อกำเนิดการนำเสนอ"ความรุนแรงในภาพยนตร์"ที่ชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งต่อภาพยนตร์สยองขวัญและต่อภาพยนตร์กระแสหลักในแนวทางอื่นๆ ด้วย

(*)Edgar Allan Poe (January 19, 1809 - October 7, 1849) was an American writer, poet, editor and literary critic, and is considered part of the American Romantic Movement. Best known for his tales of mystery and the macabre, Poe was one of the earliest American practitioners of the short story and is considered the inventor of the detective-fiction genre. He is further credited with contributing to the emerging genre of science fiction. He was the first well-known American writer to try to earn a living through writing alone, resulting in a financially difficult life and career.


Alfred Hitchcock: ภาพยนตร์สยองขวัญแนวจิตวิทยา
ในทศวรรษที่ 1960 แนวทางของภาพยนตร์สยองขวัญได้มุ่งมายังเนื้อหาแบบจิตวิทยาเขย่าขวัญ (Psychological Horror) โดยนำเสนอความน่ากลัวโหดเหี้ยมของมนุษย์มากกว่าที่จะเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติ อย่างที่มักจะปรากฏในภาพยนตร์สยองขวัญก่อนหน้านี้ ภาพยนตร์สยองขวัญแนวจิตวิทยาที่โดดเด่นในช่วงเวลาที่พูดถึงก็คือ Psycho ปี 1960 ผลงานของ Alfred Hitchcock (*) และภาพยนตร์เรื่อง Peeping Tom ปี 1960 ผลงานของ Michael Powell ต่อมาในภายหลังภาพยนตร์สยองขวัญแนวจิตวิทยาก็ยังคงปรากฏออกมาเป็นครั้งคราวอย่างต่อเนื่อง. ภาพยนตร์เรื่อง Silence of the Lamb ปี 1991 จัดได้ว่าเป็นภาพยนตร์สยองขวัญแนวจิตวิทยาที่โดดเด่นมากเป็นพิเศษ ในช่วงเวลาหลังจากทศวรรษที่ 1960 (แม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะมีลักษณะของภาพยนตร์อาชญากรรม (Crime Film) และภาพยนตร์เขย่าขวัญ (Thriller Film) ผสมผสานอยู่ด้วยก็ตาม)

(*)Sir Alfred Joseph Hitchcock, KBE (13 August 1899 - 29 April 1980) was a British filmmaker and producer who pioneered many techniques in the suspense and psychological thriller genres. After a successful career in his native United Kingdom in both silent films and early talkies, Hitchcock moved to Hollywood. In 1956 he became an American citizen while retaining his British citizenship.

Hitchcock directed more than fifty feature films in a career spanning six decades. He remains one of the most popular and most recognised filmmakers of all time. His image has endured partly due to cameo appearances in his own films and the series of television dramas he hosted, the eponymous Alfred Hitchcock Presents.

อย่างไรก็ดีในทศวรรษที่ 1960 นี้ ภูตผีและสัตว์ประหลาดก็ยังได้รับความนิยมอยู่ ภาพยนตร์เรื่อง The Innocents ปี 1961 และ The Haunting ปี 1963 เป็นภาพยนตร์สยองขวัญเกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติที่สร้างขึ้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 ด้วยต้นทุนการผลิตสูงและบรรยากาศแบบโกธิค นอกเหนือไปจากนั้นภาพยนตร์สยองขวัญอีกเรื่องหนึ่งคือ The Birds ปี 1963 ของ Alfred Hitchcock ได้กลายมาเป็นแบบฉบับของเรื่องราวแบบ "ความบ้าคลั่งของธรรมชาติ" โดยผสมสานกับภาพยนตร์สยองขวัญสยองขวัญแนวจิตวิทยา

ภาพยนตร์สยองขวัญแบบกระตุกขวัญต้นทุนต่ำที่เน้นการนำเสนอความรุนแรงและการนองเลือด อย่างเช่นผลงานของ Herschell Gordon Lewis ก็ได้ปรากฏขึ้นในช่วงทศวรรษนี้ด้วย ยกตัวอย่างเช่นภาพยนตร์เรื่อง Blood Fest ปี 1963 ซึ่งเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับลัทธิบูชาปิศาจ และภาพยนตร์เรื่อง Two Thousand Maniacs ที่ต่างก็นำเสนอภาพของเลือดที่สาดกระเซ็นและร่างกายมนุษย์ที่ถูกฉีกขาด กระชากออกเป็นชิ้นๆ

ภาพยนตร์สยองขวัญที่ทรงอิทธิพลที่สุดในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 นี้คือภาพยนตร์เรื่อง Night of The Living Dead ปี 1968 ผลงานของ George Romero (*)ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการลงความเห็นในเวลาต่อมาว่า มีความสำคัญทั้งในด้านของวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์ และได้ถูกจารึกไว้ในทะเบียนภาพยนตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (United States National Film Registry) ด้วยรูปแบบของการผสมผสานเรื่องราวแบบสยองขวัญจิตวิทยาและความโหดเหี้ยมของภาพยนตร์สยองขวัญในทศวรรษที่ 1960 นี้ ซึ่งได้เป็นแรงผลักดันให้ภาพยนตร์แนวสยองขวัญเปลี่ยนแปลงไปจากแนวทางของภาพยนตร์สยองขวัญแบบโกธิค อย่างที่เคยเป็นในทศวรรษก่อนหน้า และได้นำภาพยนตร์สยองขวัญก้าวเข้ามาสู่ชีวิตจริง

(*)George Andrew Romero (born February 4, 1940) is an American film director, screenwriter, editor and occasional actor, best known for his gruesome and satirical horror films about a hypothetical zombie apocalypse. Romero was born in New York City to a Cuban-American father and a Lithuanian-American mother. His father worked as a commercial artist.[3] Romero attended Pittsburgh's Carnegie Mellon University. After graduating in 1960,[4] he began his career shooting short films and commercials.

ภาพยนตร์เขย่าขวัญคุณภาพการผลิตระดับสูง
ในทศวรรษที่ 1970 จากความสำเร็จทางด้านรายได้ของภาพยนตร์สยองขวัญทุนต่ำประเภทที่เน้นความรุนแรงและการนองเลือดที่เกิดขึ้นตามกันมาในระยะเวลาหลายปี ได้ทำให้สาธารณชนเพิ่มความหลงใหลต่อเรื่องราวของสิ่งเหนือธรรมชาติมากขึ้น แนวภาพยนตร์ประเภทสยองขวัญได้ถูกปฏิรูปจากภาพยนตร์หลายเรื่องที่มีเนื้อหาเข้มข้นรุนแรง และถูกสร้างขึ้นด้วยคุณภาพการผลิตระดับสูงในฐานะภาพยนตร์เกรด A และมีบ่อยครั้งที่ภาพยนตร์สยองขวัญแบบเลือดสาดนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเพศไว้ในภาพยนตร์เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้ชมด้วย ภาพยนตร์สยองขวัญในช่วงทศวรรษนี้บางเรื่องได้ถูกสร้างขึ้นโดยนักสร้างภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง และได้รับความเคารพนับถือในวงการภาพยนตร์อีกด้วย

ภาพยนตร์เรื่อง Rosemary's Baby ปี 1968 ผลงานของผู้กำกับภาพยนตร์ Roman Polanski (*) ประสบความความสำเร็จอย่างมากทั้งในด้านรายได้และคำวิจารณ์จากนักวิจารณ์ภาพยนตร์ และภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เป็นผู้นำของแนวภาพยนตร์สยองขวัญเกี่ยวกับสิ่งลึกลับเหนือธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในทศวรรษที่ 1970 ภาพยนตร์สยองขวัญแนวลึกลับเหนือธรรมชาติที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือภาพยนตร์เรื่อง The Exorcise ปี 1973 จากการประพันธ์โดย William Peter Blatty และกำกับโดย William Friedkin รวมทั้งภาพยนตร์สยองขวัญเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับปิศาจกลายมาเป็นพลังเหนือธรรมชาติ บ่อยครั้งที่มักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หรือปีศาจที่สิงสู่ในตัวของพวกเด็กๆ

(*)Roman Raymond Polanski (born August 18, 1933) is an Academy Award-winning Polish-French film director, writer, actor and producer. Polanski began his career in Poland, and later became a celebrated director of both art house and commercial films, making such films as Rosemary's Baby (1968) and Chinatown (1974). Polanski is one of the world's best known contemporary film directors. He is also known for his turbulent and controversial personal life.

Polanski survived the Holocaust in Nazi-occupied Poland during WWII. In 1969, his pregnant wife, Sharon Tate, was murdered by the infamous Manson Family. In 1977, he was arrested in Los Angeles and pleaded guilty to "unlawful sexual intercourse with a minor", a 13-year-old girl. Released after a 42-day psychiatric evaluation, Polanski fled to France. He is considered by U.S. authorities to be a fugitive from justice and cannot return to the United States without risking arrest and imprisonment.

เรื่องราวของเด็กที่ชั่วร้ายและการกลับชาติมาเกิด ได้กลายเป็นหัวข้อที่ได้รับความนิยม เช่น ในภาพยนตร์เรื่อง Audrey Rose ปี 1977 ผลงานของ Robert Wise ที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชายคนหนึ่งซึ่งพบว่าลูกสาวของเขาคือบุคคลอื่นที่ตายไปแล้วกลับชาติมาเกิดใหม่. ภาพยนตร์สยองขวัญเกี่ยวกับปิศาจหรือซาตานอีกเรื่องที่ได้รับความนิยมอย่างสูงคือ ภาพยนตร์เรื่อง The Omen ปี 1976 เป็นเรื่องราวของชายที่เข้าใจว่า บุตรบุญธรรมวัยห้าขวบของเขาเป็นผู้ต่อต้านการกลับมาของพระคริสต์ตามคำทำนาย ด้วยเรื่องราวของสิ่งซึ่งมนุษย์ไม่สามารถเอาชนะได้ด้วยกำลังของตนเพียงลำพัง ภาพยนตร์สยองขวัญที่เกี่ยวกับซาตานผู้ชั่วร้ายจึงเป็นการผนึกรวมกันของแนวภาพยนตร์สยองขวัญ รูปแบบของความเป็นหลังสมัยใหม่(Postmodern) และมุมมองแบบโลกอันไม่พึงปรารถนาหรือดีสโทเปีย (Dystopia) (*)

(*)A dystopia (alternatively, cacotopia, kakotopia, cackotopia, or anti-utopia) is the vision of a society that is the opposite of utopia. A dystopian society is one in which the conditions of life are miserable, characterized by human misery, poverty, oppression, violence, disease, and/or pollution.

แนวคิดของภาพยนตร์สยองขวัญในช่วงทศวรรษที่ 1960 ได้เริ่มส่งอิทธิพลต่อภาพยนตร์สยองขวัญโดยการก่อตัวขึ้นของการปะทะกันทางวัฒนธรรม หรือ Counterculture ซึ่งปรากฏตัวขึ้นผ่านสื่อภาพยนตร์เรื่อง The Last House on The Left ปี 1974 ผลงานของ Wes Craven และภาพยนตร์เรื่อง The Texas Chain Saw Massacre ปี 1974 ผลงานของ Tobe Hooper ต่างก็เป็นภาพยนตร์ที่ย้อนระลึกถึงความสยดสยองของสงครามเวียดนาม

George Romero ได้เสียดสีสังคมบริโภคนิยมด้วยภาพยนตร์ผีดิบซอมบี้เรื่องต่อมาคือ The Dawn of the Dead ในปี 1978 และผู้กำกับภาพยนตร์ชาวแคนนาเดียน David Cronenberg ได้นำเรื่องราวเกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์ผู้บ้าคลั่งกลับมานำเสนอใหม่ ด้วยการสร้างความหวาดกลัวร่วมสมัยเกี่ยวกับสังคมเทคโนโลยี รวมทั้งได้สร้างร่างกายอันน่าสยดสยองขึ้นมาใหม่ โดยเริ่มด้วยภาพยนตร์เรื่อง The Shivers ปี 1975

ปี 1970 นั้น นวนิยายเขย่าขวัญจากนักเขียนผู้มีชื่อเสียง Steven King ซึ่งเติบโตมาในช่วงทศวรรษ 1960 ได้ถูกนำมาสร้างภาพยนตร์เป็นครั้งแรก รวมทั้งภาพยนตร์อีกหลายเรื่องที่ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์ของเขาก็ได้ถูกทยอยนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์อยู่เป็นระยะๆ. ภาพยนตร์เรื่อง Carrie ปี 1976 ผลงานของ Brian DePalma (ได้รับการสร้างขึ้นโดยการดัดแปลงมาจาก นวนิยายเรื่องแรกของ Steven King) ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลอาคาเดมี่ อวอร์ด. แม้ว่าภาพยนตร์เรื่อง Carrie นี้จะถูกพิจารณาว่า ประเด็นความน่าสนใจของมันจะเป็นเรื่องของการสำรวจแง่มุมทางจิตวิทยา มากกว่าที่จะเป็นเรื่องของความน่าสยดสยองก็ตาม

John Carpenter และ Howard Hawks ได้ร่วมกันสร้างภาพยนตร์เรื่อง Halloween ในปี 1978 ซึ่งได้เป็นจุดกำเนิดของภาพยนตร์เกี่ยวกับฆาตกรนักฆ่า (Slasher)ยุคใหม่ขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดภาพยนตร์ที่เน้นการนำเสนอความรุนแรงตามกันมาอีกหลายเรื่อง นอกจากนี้ ภาพยนตร์เรื่อง Halloween ยังถูกถือว่าเป็นภาพยนตร์อิสระ (Independent Films) ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมาด้วย ภาพยนตร์สยองขวัญแนวฆาตกรนักฆ่า(Slasher) อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ ภาพยนตร์เรื่อง Black Christmas ปี 1974 ผลงานของ Bob Clark

ในปี 1975 Steven Spielberg (*) ที่มีชื่อเสียงขึ้นมาจากภาพยนตร์เรื่อง Jaws ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่เพียงแต่เป็นภาพยนตร์ที่มีองค์ประกอบของภาพยนตร์สยองขวัญครบถ้วนและถูกสร้างขึ้นอย่างประณีตเท่านั้น แต่ยังประสบความสำเร็จในด้านรายได้อีกด้วย ภาพยนตร์ที่เป็นกระแสของเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์นักล่ากระหายเลือด ได้ถูกสร้างตามกันมาอีกหลายเรื่อง เช่น Piranha ของ Joe Dante ภาพยนตร์เรื่อง Orca และ Up From The Depths บ่อยครั้งที่ภาพยนตร์เรื่อง Jaws ถูกระบุว่าเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ดำเนินตามแบบแผนจารีตของภาพยนตร์สยองขวัญเกรด B โดยมีความสยดสยองและความโหดเหี้ยมนองเลือดในระดับเล็กน้อย ด้วยงบประมาณการผลิตระดับสูงของภาพยนตร์ฮอลลีวูด

(*)The most commercially successful filmmaker in Hollywood history, Steven Spielberg was born December 18, 1946, in Cincinnati, OH. A lifelong cinema buff, he began directing his first short movies while still a child, later studying film at California State University and winning notice for his 1969 short feature Amblin'. He first made his mark in television, directing Joan Crawford in the pilot for Rod Serling's Night Gallery and working on episodes of Columbo and Marcus Welby, M.D. Spielberg's first feature-length effort, 1971's Duel, a taut thriller starring Dennis Weaver, was widely acclaimed as one of the best movies ever made for television. The film proved so successful on the small screen, in fact, that it later was the recipient of theatrical distribution throughout Europe, where it proved to be a major box-office hit.

ภาพยนตร์เรื่อง Alien ปี 1979 ได้ผสมผสานการแสดงที่ดูเป็นธรรมชาติเข้ากับภาพของความรุนแรงแห่งทศวรรษที่ 1970 ด้วยแนวเรื่องของภาพยนตร์สัตว์ประหลาดอย่างที่เคยมีมาในช่วงทศวรรษก่อนหน้านี้ แต่เป็นการสร้างขึ้นใหม่ในแง่มุมของนิยายวิทยาศาสตร์ ภาพยนตร์เรื่อง Alien ถือเป็นต้นกำเนิดให้กับภาพยนตร์ที่เป็นเรื่องราวภาคต่อตามมาอีกหลายเรื่อง รวมทั้งมีภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นเลียนแบบอีกจำนวนนับไม่ถ้วน

ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ได้เกิดกระแสความนิยมของภาพยนตร์สยองขวัญขึ้นในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฝีมือของผู้สร้างภาพยนตร์ชาวอิตาเลียน เช่น Mario Bava , Dario Argento และ Lucio Fulci รวมทั้งจากผู้สร้างภาพยนตร์ชาวสเปน เช่น Jacinto Molina (หรือที่รู้จักในนามของ Paul Naschy) และ Jesus Franco ซี่งได้ถูกพากย์เป็นภาษาอังกฤษและนำออกฉายตามโรงภาพยนตร์แบบ Drive-in เนื่องจากไม่สามารถทำสัญญาเช่ากับผู้ผลิตภาพยนตร์รายใหญ่ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูงได้ ภาพยนตร์เหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากความสำเร็จของบริษัท Hammer Film (*) ที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1960 ถึงต้นทศวรรษที่ 1970 โดยมักใช้เค้าโครงเรื่องของภาพยนตร์สยองขวัญทั่วไป ที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผีดูดเลือด, มนุษย์หมาป่า, ฆาตกรโรคจิต, ปิศาจ และ ผีดิบซอมบี้มาเป็นตัวแบบ แต่ภาพยนตร์เหล่านี้ก็มีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นด้วยรูปแบบของภาพยนตร์ยุโรป ซึ่งเต็มไปด้วยความโหดเหี้ยมนองเลือดและเรื่องทางเพศคลุกเคล้ากัน (อย่างชนิดที่ผู้สร้างภาพยนตร์อเมริกันกระแสหลัก จะต้องรู้สึกตื่นตระหนกทีเดียว)

(*)Hammer Films is a London based production subsidiary of Exclusive Media and a legendary British film brand. In addition to Hammer Films, Exclusive Media is the parent company of Los Angeles based independent film and documentary specialist Spitfire Pictures, and Exclusive Film Distribution, the international sales & distribution entity also based in London. Not in production since the 1980s, Hammer is now being aggressively reinvigorated through new investment in the development and production of film, television and digital-platform content.

Launched in 1934 Hammer's first production was The Public Life Of Henry The Ninth and, following a period of inactivity during WW2, the first picture from the newly incorporated Hammer Film Productions Ltd. was 1949's Dr. Morelle: The Case Of The Missing Heiress. The new company's first colour film was The Men Of Sherwood Forest in 1954, and in 1955 the success of The Quatermass Xperiment led to Hammer's move into horror films including The Curse Of Frankenstein in 1957 and Dracula in 1958. A hugely successful run of gothic monster movies cemented Hammer's reputation as the 'Hammer House of Horror', and deals with Universal Studios and Columbia kept the production base at Bray Studios busy with an incredible volume of films produced during this period. http://www.hammerfilms.com/about/

ภาพยนตร์สยองขวัญสกุลเอเชีย
ในระหว่างนั้น ผู้สร้างภาพยนตร์ชาวฮ่องกงซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานของบริษัท Hammer Film และภาพยนตร์สยองขวัญจากยุโรป ได้เริ่มสร้างภาพยนตร์สยองขวัญอย่างมุ่งเน้นรายได้เป็นหลัก ด้วยลักษณะเฉพาะที่ผสมผสานความเป็นชาวเอเชียเข้าไป. Shaw Studio ได้สร้างภาพยนตร์เรื่อง Legend of the Seven Golden Vampires ในปี 1973 โดยความร่วมมือกับ Hammer Film และหลังจากนั้น Shaw Studio (*) ก็ได้เริ่มสร้างภาพยนตร์ของตนเองขึ้นมาอีกหลายเรื่อง

(*) Shaw Studio (Shaw Brothers) The seeds of this legendary Chinese film empire were sown in Shanghai in the 1920's by six enterprising brothers. Taking root in then British Hong Kong in 1958 with the construction of the largest privately-owned film studio in the world at the time, the Shaw Brothers produced one thousand films (many of which are now Chinese cinema classics) over the next three decades, amassing the largest Chinese film library ever.

Recognizing from very early on the importance of vertical integration (a strategy not afforded U.S. studios because of anti-trust laws), Shaw Brothers acquired and developed cinemas throughout Southeast Asia, Japan, Australia, North America, Hawaii and Canada, establishing itself as by far the most dominant film production, distribution and exhibition group in the entire region.
http://www.shawstudios.hk/who_we_are.htm

แนวภาพยนตร์สยองขวัญได้สร้างกระแสความนิยมอย่างสูงในช่วงเริ่มต้นของทศวรรษที่ 1980 ด้วยภาพยนตร์เรื่อง Close Encounter of the Spooky Kind ปี 1981 ผลงานของ Summo Hung เป็นการก่อให้เกิดภาพยนตร์แนวกังฟูตลกสยองขวัญ (Kung-fu Comedy Horror) ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับศพกระโดดที่มีชื่อเสียง และเรื่องราวของปิศาจสาวสวยที่เป็นวิญญาณสุนัขจิ้งจอก ซึ่งมีภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงคือ Mr. Vampire ปี 1985 และ A Chinese Ghost Story ปี 1987

ภาพยนตร์สยองขวัญในทศวรรษที่ 1980
ในทศวรรษที่ 1980 ภาพยนตร์สยองขวัญหลายเรื่องประสบความสำเร็จได้ถูกสร้างภาคต่อขึ้น ภาพยนตร์เรื่อง Poltergeist ปี 1982 จากการกำกับของ Tobe Hooper ได้มีภาคต่อสร้างตามมาอีก ทั้งที่เป็นภาพยนตร์และภาพยนตร์ชุดที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ รวมทั้งภาคต่อของภาพยนตร์เรื่อง Halloween , Friday The 13th ปี 1980 และภาพยนตร์ฆาตกรนักฆ่าที่มีพลังเหนือธรรมชาติ. A Nightmare on Elm Street ปี 1984 ผลงานของ Wes Craven ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงในทศวรรษที่ 1980 แต่กลับได้รับคำวิจารณ์ในแง่ลบอย่างรุนแรงจากนักวิจารณ์ภาพยนตร์ส่วนใหญ่ ภาพยนตร์สยองขวัญเรื่องอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมในทศวรรษที่ 1980 นี้ยังประกอบด้วยภาพยนตร์เรื่อง Creepshowk และภาคต่อที่ได้รับความนิยมน้อยกว่าคือภาพยนตร์เรื่อง Creepshow2 ปี 1984 ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ของ Steven King และกำกับโดย George A. Romero

อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์สยองขวัญชั้นดีที่เป็นแบบฉบับก็ยังคงปรากฏขึ้นอยู่เป็นระยะ ภาพยนตร์เรื่อง Hellraiser ปี 1987 ผลงานของ Clive Barker และภาพยนตร์เรื่อง Child's Play ปี 1988 ผลงานของ Tom Holland ต่างก็ได้รับคำชื่นชมอยู่บ้าง แม้ว่าความสำเร็จของภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องนี้ จะก่อให้เกิดการสร้างภาคต่อที่ทั้งแฟนภาพยนตร์และนักวิจารณ์ต่างลงความเห็นสอดคล้องกันว่า มีคุณภาพด้อยกว่าภาพยนตร์ภาคต้นฉบับทั้งสองเรื่อง. ภาพยนตร์สยองขวัญที่ได้รับความนิยมและมีอิทธิพลอย่างมากที่สุดในทศวรรษนี้คือ The Shining ปี 1980 ผลงานของ Stanley Kubrick ซึ่งสร้างมาจากบทประพันธ์ของ Steven King โดยเป็นภาพยนตร์สยองขวัญแนวสิ่งลึกลับเหนือธรรมชาติ ที่มีเนื้อหาและบรรยากาศหนักแน่นจริงจัง

ในช่วงที่รายได้ของตลาดภาพยนตร์โดยรวมซบเซา ความเฟื่องฟูของภาพยนตร์สยองขวัญยุคใหม่ก็เริ่มถดถอยตามไปด้วย แม้ว่าภาพยนตร์สยองขวัญรุ่นใหม่จะมีบรรยากาศที่หดหู่น้อยกว่าก็ตาม เช่น ภาพยนตร์สอยงขวัญวิทยาศาสตร์เรื่อง The Thing ปี 1982 ผลงานของ John Carpenter ซึ่งหันไปหากลุ่มผู้ชมใหม่ๆ ในการเติบโตขึ้นของตลาดเครื่องเล่นวีดีโอเทปในบ้าน. ภาพยนตร์เรื่อง Motel Hell ปี 1980 และภาพยนตร์เรื่อง Basket Case ปี 1982 ผลงานของ Frank Henenlotter เป็นภาพยนตร์สองเรื่องแรกของทศวรรษที่ 1980 ที่สร้างขึ้นโดยล้อเลียนธรรมเนียมของภาพยนตร์สยองขวัญในทศวรรษก่อนในแนวตลก ซึ่งแม้ว่าภาพยนตร์เรื่อง Night of the Living Dead และ Down of the Dead จะเป็นภาพยนตร์แบบตลกร้าย หรือ Black Comedy รวมทั้งมีเนื้อหาเสียดสีสังคม แต่ทั้งหมดก็ดำเนินไปด้วยความสยดสยองมากกว่าในอารมณ์สนุกสนาน

ภาพยนตร์เรื่อง The Fly ถูกนำมาสร้างขึ้นใหม่ในปี 1986 โดย David Cronenberg และภาพยนตร์เรื่อง Aliens ซึ่งเป็นภาพยนตร์ภาคต่อของภาพยนตร์สยองขวัญวิทยาศาสตร์เรื่อง Alien เดิม ออกฉายในปี 1985 โดยการกำกับของ James Cameron หลังจากนั้นไม่กี่สัปดาห์ ภาพยนตร์เรื่อง Re-Animator ผลงานของ Stuart Gordon ก็ถูกนำออกฉายตามมา และติดตามด้วยภาพยนตร์สยองขวัญอีกหลายเรื่องได้แก่ The Return of the Living Dead ผลงานของ Dan O'Bannon , The Toxic Avenger ผลงานของ Lloyd Kaufman

ภาพยนตร์เรื่อง Evil Dead II ปี 1987 ผลงานของ Sam Raimi เป็นภาพยนตร์ภาคต่อที่มีอารมณ์ตลกโปกฮา ผิดกับภาพยนตร์ภาคแรกของมันคือภาพยนตร์เรื่อง Evil Dead ปี 1981 ที่มีอารมณ์จริงจังและสยดสยองกว่ามาก บ่อยทีเดียวที่อารมณ์ขันและเสียงหัวเราะถูกทำให้เกิดขึ้นจากความโหดเหี้ยมและความน่าสะอิดสะเอียน และมันได้ถูกนิยามว่าเป็นรูปแบบของอารมณ์ขันที่เลอะเทอะ (Splatter Comedy). Peter Jackson ผู้กำกับชาวนิวซีแลนด์ได้ดำเนินตามอย่าง Sam Reimi โดยการสร้างภาพยนตร์ต้นทุนต่ำเรื่อง Bad Taste ปี 1987 และในปีเดียวกันนี้ก็ยังมีภาพยนตร์เรื่อง Nekromantik ผลงานของผู้กำกับชาวเยอรมัน Jorg Buttgereit ภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับชีวิตและความตายของผู้ที่อยู่ในสุสาน

ภาพยนตร์สยองขวัญยังคงเป็นประเด็นถกเถียงต่อมา ในประเทศอังกฤษการเติบโตของตลาดเครื่องเล่นวีดิโอเทปตามบ้าน ทำให้สังคมเกิดความระมัดระวังภาพยนตร์สยองขวัญขึ้นโดยการพิมพ์คำเตือนลงในภาพยนตร์ เพื่อช่วยลดความกังวลต่ออิทธิพลของความรุนแรงในภาพยนตร์สยองขวัญ ที่อาจมีต่อเด็กๆ ภาพยนตร์สยองขวัญหลายเรื่องถูกมองว่ามีแต่ความรุนแรง และนำเสนอเรื่องเพศอย่างโจ่งแจ้ง ซึ่งได้ทำให้มันถูกแบนในสหรัฐอเมริกา. ภาพยนตร์เรื่อง Silent Night, Deadly Night ปี 1984 เป็นภาพยนตร์อีกเรื่องหนึ่งที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก และถูกถอนออกจากโรงภาพยนตร์ อันเนื่องมาจากเนื้อหาของภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับซานตาคลอสนักฆ่า

ภาพยนตร์สยองขวัญในทศวรรษที่ 1990
ในช่วงครึ่งแรกของทศวรรษที่ 1990 ภาพยนตร์สยองขวัญที่ถูกสร้างขึ้นยังคงดำเนินตามแนวทางของภาพยนตร์สยองขวัญของทศวรรษที่ 1980 โดยอาศัยความสำเร็จทางด้านรายได้ของภาพยนตร์เหล่านั้น ในการสร้างภาพยนตร์ภาคต่อออกมา เช่นเรื่อง Child's Play และ ภาพยนตร์ชุด Leprechaun ภาพยนตร์สยองขวัญแนวฆาตกรนักฆ่า เช่น A Nightmare on Elm Street, Friday the 13th, และภาพยนตร์เรื่อง Halloween ต่างก็ถูกนำมาสร้างภาคต่อในทศวรรษที่ 1990 ทั้งสิ้น ซึ่งล้วนแต่ประสบความสำเร็จทางด้านรายได้ แต่กลับถูกตำหนิจากแฟนภาพยนตร์และนักวิจารณ์จำนวนมาก ยกเว้นแต่ภาพยนตร์ชุด New Nightmare ผลงานของ Wes Craven

ภาพยนตร์ชุด New Nightmare ของ Wes Craven ประกอบไปด้วยภาพยนตร์เรื่อง In the Mount of Madness, ภาพยนตร์เรื่อง The Dark Half, และภาพยนตร์เรื่อง Candyman เป็นส่วนของความเคลื่อนไหวเล็กๆ ที่เป็นการสะท้อนตัวเองของภาพยนตร์สยองขวัญ กล่าวคือ ภาพยนตร์แต่ละเรื่องในกลุ่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างเรื่อง"เล่าหรือนวนิยายสยองขวัญ" กับ"ความสยองขวัญในโลกของความเป็นจริง" ตัวอย่างเช่นภาพยนตร์เรื่อง Candyman ที่เป็นการพิจารณาความเชื่อมโยงระหว่างเรื่องเล่าสมัยใหม่ (Urban Legend) กับความสยดสยองในความเป็นจริงของลัทธิเหยียดสีผิวที่ได้สร้างผู้ร้ายของมันขึ้นมา

ในภาพยนตร์เรื่อง In the Mount of Madness มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวรรณกรรมมากกว่า อย่างที่ตัวละครหลักของเรื่องได้กระโดดจากโลกของความจริงเข้าไปสู่โลกของนวนิยาย ที่ถูกสร้างขึ้นโดยคนบ้าผู้ซึ่งเป็นคนที่ตัวละครหลักถูกว่าจ้างให้ตามหา รูปแบบการสะท้อนของเรื่องราวสยองขวัญในทำนองนี้ ได้ถูกนำมาใช้อย่างเปิดเผยและเสียดสีในภาพยนตร์เรื่อง Scream. ภาพยนตร์จากแคนนาดาเรื่อง Cube ปี 1997 เป็นหนึ่งในภาพยนตร์สยองขวัญจำนวนน้อยที่ถูกผลิตออกมาในทศวรรษที่ 1990 ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับแนวคิดของนวนิยาย ซึ่งมันสามารถก่อให้เกิดความน่าหวาดกลัวที่แตกต่างออกไปได้อย่างกว้างขวาง และยังเกี่ยวข้องถึงประเด็นทางสังคมในหลายแง่มุม เช่นความหวาดกลัวต่อระบอบการปกครองของรัฐ อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

มีสาเหตุสำคัญ ๒ ประการที่เป็นอุปสรรคผลักดันให้ภาพยนตร์สยองขวัญต้องก้าวถอยหลังไป ในระหว่างทศวรรษนี้ คือ

ประการแรก ภาพยนตร์แนวสยองขวัญที่ถูกสร้างขึ้นในทศวรรษที่ 1980 ล้วนมีแต่แนวฆาตกร นักฆ่า และภาพยนตร์ที่เน้นความโหดเหี้ยมรุนแรง
ประการที่สอง กลุ่มผู้ชมวัยรุ่นที่ได้รับความสนุกสนานจากการได้เห็นเลือด และความน่าขยะแขยงในทศวรรษก่อนหน้านี้เติบโตขึ้น และกลุ่มผู้ชมภาพยนตร์ที่เข้ามาแทนที่ ได้ถูกดึงดูดความสนใจไปโดยการกำเนิดขึ้นของภาพยนตร์วิทยาศาสตร์และแฟนตาซี ที่อาศัยการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสร้างเทคนิคพิเศษได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ

เพื่อที่จะเรียกความสนใจของผู้ชมให้กลับมาอีกครั้ง ภาพยนตร์สยองขวัญได้พยายามล้อเลียนเสียดสีตัวเองอย่างเปิดเผยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 1990 ภาพยนตร์เรื่อง Braindead หรือที่รู้จักในสหรัฐอเมริกาในชื่อ Dead Alive ปี 1992 ได้ทำให้ภาพยนตร์แบบละเลงเลือด มีความน่าขบขันเกินกว่าปกติในลักษณะคล้ายการ์ตูน. ภาพยนตร์เรื่อง Bram Stoker's Dracula ปี 1992 ผลงานของ Francis Ford Coppola (*) ได้นำเสนอรูปลักษณ์และบรรยากาศของภาพยนตร์ผีดูดเลือดที่แตกต่างออกไปจากยุคก่อน โดยมีความจงใจที่จะทำให้ดูหรูหรา เช่นเดียวกับภาพยนตร์ของบริษัท Hammer Film ในทศวรรษที่ 60 และดำเนินเรื่องเน้นไปที่เรื่องราวของความรักในนวนิยายเรื่อง Dracula

(*)Francis Ford Coppola: He was born in 1939 in Detroit, USA, but he grew up in a New York suburb in a creative, supportive Italian-American family. His father was a composer and musician Carmine Coppola. His mother had been an actress. Francis Ford Coppola graduated with a degree in drama from Hofstra University, and did graduate work at UCLA in filmmaking. He was training as assistant with filmmaker Roger Corman, working in such capacities as soundman, dialogue director, associate producer and, eventually, director of Dementia 13 (1963), Coppola's first feature film. During the next four years, Coppola was involved in a variety of script collaborations, including writing an adaptation of This Property is Condemned, by Tennessee Williams (with Fred Coe and Edith Sommer), and screenplays for Is Paris Burning?, and Patton, the film for which Coppola won a Best Adapted Screenplay Academy Award. In 1966, Coppola's 2nd film brought him critical acclaim and a Master of Fine Arts degree. In 1969, Coppola and George Lucas established American Zoetrope, an independent film production company based in San Francisco. The company's first project was THX 1138 (1971), produced by Coppola and directed by Lucas. Coppola also produced the second film that Lucas directed, American Graffiti (1973), in 1973. This movie got five Academy Award nominations, including one for Best Picture.

In 1971, Coppola's film The Godfather (1972) became one of the highest-grossing movies in history and brought him an Oscar for writing the screenplay with Mario Puzo The film was a Best Picture Academy Award-winner, and also brought Coppola a Best Director Oscar nomination.

ภาพยนตร์เรื่อง Scream ปี 1996 ผลงานของ Wes Craven นำเสนอเรื่องราวของกลุ่มวัยรุ่นที่ตื่นตัวอย่างเต็มที่ และบ่อยครั้งมักจะมีการอ้างอิงถึงประวัติศาสตร์ภาพยนตร์สยองขวัญ นอกจากนี้ยังได้มีการผสมผสานอารมณ์ขันที่เสียดสีเข้ากับการกระตุกขวัญ และภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวยังได้ปลุกกระแสของภาพยนตร์สยองขวัญแนวฆาตกรนักฆ่าให้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งด้วย

ท่ามกลางความนิยมภาพยนตร์สยองขวัญภาษาอังกฤษในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 มีเพียงภาพยนตร์อิสระที่ได้รับความนิยมอย่างน่าประหลาดใจอย่างภาพยนตร์เรื่อง The Blair Witch Project ปี 1999 เท่านั้นที่มุ่งเน้นการนำเสนออารมณ์แบบสยองขวัญอย่างเต็มที่ แม้ว่าหลังจากนั้นภาพยนตร์สยองขวัญจะประสบความสำเร็จในบริบทของภาพยนตร์ที่เป็นการล้อเลียนเสียดสีตัวมันเอง ภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ อย่าง The Sixth Sense ปี 1999 ผลงานของ M. Night Shyamalan ซึ่งเป็นทั้งผู้เขียนบทและกำกับด้วยตนเอง ได้เน้นความสนใจในการสร้างบรรยากาศหลอกหลอนให้เสียขวัญ และทำให้กระวนกระวายใจมากขึ้นกว่าที่จะเป็นความโหดร้ายรุนแรง ซึ่งภาพยนตร์สยองขวัญจากประเทศญี่ปุ่นอย่าง Ringu ปี 1998 ผลงานของ Hideo Nakata และ Otsuyu หรือ The Haunted Lantern ปี 1997 ผลงานของ Masuru Tsushima ก็ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติด้วยแนวทางเดียวกันนี้

ภาพยนตร์แนวสยองขวัญในตอนเริ่มต้นคริสตศตวรรษที่ 21
ในตอนเริ่มต้นของศตวรรษที่ 21 ภาพยนตร์แนวสยองขวัญตกต่ำลงไปเป็นภาพยนตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของสิ่งเหนือธรรมชาติ ปราศจากความรุนแรง ซึ่งถือว่าไม่ประสบความความสำเร็จเท่าใดนักให้เป็นที่น่าจดจำ แม้แต่ภาพยนตร์เรื่อง The Exorcist ที่ถูกปรับปรุงใหม่ที่ถูกนำมาเผยแพร่อีกครั้งในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 2000 ก็ไม่มีผลในการกระตุ้นความนิยมของภาพยนตร์สยองขวัญแต่อย่างใด รวมทั้งเรื่องราวที่ใกล้จะตายแล้วของตัวละครอย่าง Freddy และ Jason ที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง Freddy Vs. Jason ในปี 2003 ก็ไม่ได้รับความสนใจเช่นเดียวกัน

นับตั้งแต่ภายหลังปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา ภาพยนตร์สยองขวัญกระแสหลักจากตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับภาพยนตร์จากฮอลลีวูด สามารถจำแนกออกได้เป็นสองแนวทางใหญ่ๆ

ประเภทแรก มีรูปแบบที่เรียบง่าย ตามอย่างทฤษฏีของ Val Lewton ที่กล่าวว่า " less is more " (อย่างเช่นในภาพยนตร์ทุนต่ำของปี 1999 เรื่อง The Blair Witch Project) และปรากฏขึ้นในภาพยนตร์สยองขวัญของญี่ปุ่น ซึ่งได้รับการนำมาสร้างใหม่จนประสบความสำเร็จโดยกระบวนการทำให้เป็นอเมริกัน (Americanization) เช่น The Ring ปี 2002 และ The Grudge ปี 2004

ประเภทที่สอง ได้กลับไปสู่การเน้นภาพของความรุนแรงอย่างเต็มที่ ดั่งที่เป็นลักษณะของภาพยนตร์ต้นทุนต่ำ ที่มุ่งสร้างความสยองขวัญในแบบของภาพยนตร์ในช่วงทศวรรษที่ 1970 หรือยุคหลังสงครามเวียดนาม. ภาพยนตร์อย่าง Hostel ปี 2004, Saw ปี 2004, House of 1000 Corpses ปี 2003, The Devil's Rejects และภาพยนตร์ออสเตรเลียเรื่อง Wolf Creek ปี 2005, ได้รับแนวทางมาจากภาพยนตร์สยองขวัญอย่าง The Last House on the Left ปี 1972, The Texas Chainsaw Massacre ปี 1974, และ The Hills have Eyes ปี 1977 ซึ่งภาพยนตร์สองเรื่องหลังนี้ ได้ถูกนำมาสร้างใหม่คือ The Texas Chainsaw Massacre และ The Hills Have Eyes. ส่วนภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ซึ่งมีชื่อเสียงในทางที่ไม่ดี อาทิเช่น Audition ปี 1999 และภาพยนตร์เรื่อง Saw ที่มีหลายภาค เป็นภาพยนตร์ที่ก่อความรบกวนอย่างมากเป็นพิเศษ ทั้งในทางของรูปแบบทิศทางทางศิลปะและลักษณะของความรุนแรง

ภาพยนตร์สยองขวัญประเภทผีดิบซอมบี้ได้ถูกนำกลับมาอีกครั้งในยุคหลังปี 2000 ภาพยนตร์เรื่อง 28 Days Later ปี 2002 ได้ถูกทำให้รับผิดชอบอย่างไม่เป็นธรรมไม่เพียงแต่ในการนำเรื่องราวของผีดิบซอมบี้กลับมาในแถวหน้าเท่านั้น แต่ทั้งยังเปลี่ยนทัศนคติทั้งหมดต่อพวกมันอีกด้วย จากที่เคยเห็นพวกมันเชื่องช้าอุ้ยอ้าย ในภาพยนตร์เรื่องนี้พวกมันคล่องแคล่วว่องไว ถูกเติมสติปัญญาและความคลั่งแค้นเข้าไป (ความคลั่งแค้นเป็นสาเหตุจากสภาพของมัน ซึ่งเนื่องมาจากลิงที่ติดเชื้อ) และถูกกำหนดว่า การสัมผัสถูกเลือดของพวกมันแม้เพียงหยดเดียว สามารถทำให้ติดเชื้อได้ภายในเวลา 20 วินาที

และเพราะภาพยนตร์เรื่องนี้ ทำให้ภาพยนตร์เรื่อง Dawn of the Dead ถูกนำมาสร้างใหม่ในปี 2004 และภาพยนตร์ภาคต่อมาคือ Land of the Dead ถูกนำมาสร้างใหม่ในปี 2005 รวมทั้งภาพยนตร์ล้อเลียนในแนวตลกสยองขวัญเรื่อง Shaun of the Dead ปี 2004 และเมื่อไม่นานมานี้ วีดีโอเกมที่ได้รับความนิยมอย่างสูง Silent Hill ก็ได้ถูกนำเรื่องราวมาสร้างเป็นภาพยนตร์ขึ้นในปี 2006 ด้วยการคงรักษาลักษณะเด่นและแนวเรื่องจากต้นฉบับไว้ รวมถึงฝูงปิศาจที่น่าเกลียดน่ากลัวได้ทำให้ภาพยนตร์เรื่อง Silent Hill มีความโดดเด่นแตกต่างไปจากภาพยนตร์สยองขวัญเรื่องอื่นๆ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com