ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




01-03-2552 (1690)

การรับรองสิทธิชุมชนในระบบกฎหมายเชิงเปรียบเทียบ
การรับรองสิทธิชุมชนและชนพื้นเมืองในระบบกฎหมายของต่างประเทศ
บุญชู ณ ป้อมเพ็ชร : ผู้วิจัย
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

หมายเหตุ: บทความชิ้นนี้ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับมาจากผู้วิจัย
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนของชนพื้นเมือง ซึ่งปรากฏอยู่ใน
กฎหมายของต่างประเทศ ที่ได้มีการพัฒนาขึ้นมาตามลำดับ
นอกจากนี้
บทความนี้ยังได้ให้ตัวอย่างการต่อสู้ในการเรียกร้องสิทธิของชนพื้นเมือง
ในหลายพื้นที่ของโลก ทั้งในยุโรปและอเมริกา

บทความเรื่องการรับรองสิทธิชุมชน ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้
- กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิชุมชน
- ความหมายของชนพื้นเมือง
- ความเคลื่อนไหวของชนพื้นเมือง
- ข้อเรียกร้องของชนพื้นเมืองในความเป็นอิสระ
- การรับรองสิทธิชนพื้นเมืองในระบบกฎหมาย
- อนุสัญญาที่ใช้บังคับกับกลุ่มชุมชนท้องถิ่นและชนเผ่า
- การรับรองสิทธิชุมชนโดยองค์กรและศาลระหว่างประเทศ

ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๙๐
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๐๑ มีนาคม ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๐.๕ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

การรับรองสิทธิชุมชนในระบบกฎหมายเชิงเปรียบเทียบ
การรับรองสิทธิชุมชนและชนพื้นเมืองในระบบกฎหมายของต่างประเทศ
บุญชู ณ ป้อมเพ็ชร : ผู้วิจัย
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

วัตถุประสงค์ของบทความ
บทความต่อไปนี้ จะศึกษาถึงปฏิญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิทธิชุมชนตามกฎหมายระหว่างประเทศ และรวมถึงการรับรองสิทธิชุมชนในระบบกฎหมายของประเทศต่างๆ ทั้งในส่วนของกฎหมายและคำพิพากษาในคดีต่างๆ ว่า ในต่างประเทศมีการรับรองสิทธิชุมชนในลักษณะอย่างไร ซึ่งจากกฎหมายและประสบการณ์ของต่างประเทศที่ศึกษานี้ จะนำมาใช้ประกอบการพิจารณาแนวคิดเรื่อง"การผลักดันและรับรองสิทธิชุมชนในประเทศไทย"

กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิชุมชน
การกล่าวถึงสิทธิชุมชน (Communities Right) ในระดับระหว่างประเทศนั้นมีความหมายรวมถึงสิทธิในที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติของชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อยู่อาศัยมาก่อน และสิทธิของกลุ่มชนในด้านอื่นๆ ได้แก่ สิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เช่น สิทธิในการการมีตัวตน สิทธิในการศึกษา สิทธิในการดำรงชีวิตตามวัฒนธรรมประเพณีความเชื่อของตน (1) และยังมีการขยายขอบเขตรวมถึงสิทธิด้านอื่นๆ เช่น สิทธิรวมหมู่ สิทธิของชนกลุ่มน้อย ฯลฯ (2) แต่การรับรองสิทธิชุมชนในกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในซึ่งประเทศต่างๆ ได้ให้ความสำคัญและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ปรากฏเด่นชัดในเรื่องของสิทธิชนพื้นเมือง (Indigenous Peoples) หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม (Indigenous Community) ในการจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติตามจารีตประเพณีของชุมชน ทั้งนี้เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องจากกลุ่มชนพื้นเมืองในเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง

จากความหมายของสิทธิชุมชนที่มีความหลากหลาย และสามารถครอบคลุมถึงสิทธิในด้านอื่น การศึกษาครั้งนี้จะทำการศึกษาเฉพาะสิทธิของชนพื้นเมืองในการจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติตามจารีตประเพณีของชุมชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิชุมชนอันจะสอดคล้องไปกับหัวข้อที่ทำการศึกษา ดังนี้

ความหมายของชนพื้นเมือง
ชนพื้นเมืองเป็นกลุ่มคนกระจายตัวกันไปทั้งในบริเวณทวีปอเมริกา แอฟริกา ออสเตรเลีย รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในทวีปเอเชียเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีจำนวนถึง 300 ล้านคนเป็นอย่างน้อย ชนพื้นเมืองเหล่านี้มีการรวมตัวเป็นชุมชนต่างๆ ก่อนการที่จะมีการก่อตั้งรัฐสมัยใหม่ขึ้น วิถีชีวิต การดำรงอยู่ของกลุ่มคนพื้นเมืองเหล่านี้ก่อให้เกิดจารีตประเพณี ธรรมเนียมปฏิบัติอย่างมากมายโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและฐานทรัพยากร (3)

การให้ความหมายคำว่า "ชนพื้นเมือง" ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ได้มีการให้ความหมายและลักษณะสำคัญไว้ ดังต่อไปนี้ เช่น "ชนพื้นเมือง" คือ ประชาชนผู้ซึ่งได้อยู่อาศัยในแผ่นดินใดแผ่นดินหนึ่งมาก่อนที่จะมีการยึดครองเป็นอาณานิคม และเป็นผู้ซึ่งมีความแตกต่างทางสังคมก่อนที่จะมีการปกครองดินแดนเหล่านั้น ชนพื้นเมืองมีความต้องการในการดูแลรักษาที่ดิน การปกป้องภาษาและการส่งเสริมวัฒนธรรมของตนเอง ชนพื้นเมืองบางกลุ่มพยายามรักษาธรรมเนียมประเพณีของตนเองตามวิถีชีวิต (4)

สำหรับองค์การสหประชาชาติ ได้ให้ความหมายของชนพื้นเมืองว่าหมายถึง ประชาชนกลุ่มแรก กลุ่มชนเผ่า คนพื้นเมืองดั้งเดิม และชนพื้นเมืองแต่เริ่มแรก พวกเขามีความต่อเนื่องของประวัติศาสตร์ก่อนที่จะมีการรุกราน และก่อนที่สังคมอาณานิคมจะเข้าไปในพื้นที่ของพวกเขา พวกเขาทั้งหลายมีความแตกต่างจากส่วนของสังคมปัจจุบัน ที่มีอภิสิทธิ์มากกว่าในดินแดนของพวกเขา และพวกเขาในปัจจุบันไม่ได้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม แต่ชนพื้นเมืองเหล่านี้ยังดำรงชีวิตตามจารีตประเพณีของตน มุ่งมั่นที่จะปกป้องรักษา พัฒนา และถ่ายทอดดินแดนที่ตกทอดอัตลักษณ์ของพวกเขาให้กับชนรุ่นถัดไป แม้ว่าการปรากฏตัวขึ้นของบุคคลกลุ่มอื่นจะมีผลต่อวัฒนธรรม สังคมและระบบกฎหมาย (5)

หรือ "ชนพื้นเมือง" หมายถึง กลุ่มบุคคลที่อาศัยอยู่ในดินแดนของรัฐมาแต่ดั้งเดิม แต่เพราะเป็นประชากรในอาณานิคมของประชาชนชาติอื่น จึงทำให้ต้องสูญเสียอำนาจอธิปไตย และกลายเป็นผู้อยู่ใต้อำนาจรัฐหรือสังคมอื่น ซึ่งพวกเขามีลักษณะเชื้อชาติ วิถีชีวิต วัฒนธรรมและธรรมเนียมปฏิบัติแตกต่างไปจากบุคคลที่เข้ามาในดินแดนนั้นภายหลัง พวกเขาถูกปฏิบัติจากผู้ใช้อำนาจการปกครองที่ปฏิเสธ/ดูแคลน คุณค่า ตัวตนของชนพื้นเมืองที่ถูกมองว่าล้าหลัง ป่าเถื่อน ซึ่งสมควรถูกกำจัด นำมาเป็นผู้รับใช้อำนาจตน หรือต้องพัฒนาให้คนเหล่านี้ทันสมัยเหมือนกับพวกตน อันทำให้มีการเรียกร้องของชนกลุ่มนี้ที่จะดำรงรักษาวิถีชีวิต จารีตประเพณี และธรรมเนียมปฏิบัติในชีวิตรวมถึงสิทธิต่างๆ เช่น สิทธิในที่ดินของพวกเขาที่จะให้ดำรงอยู่ต่อไป (6)

จากการให้ความหมายของคำว่า ชนพื้นเมือง ตามความหมายของกฎหมายระหว่างประเทศที่นิยามไว้ สามารถจำแนกองค์ประกอบได้ 2 ข้อ คือ

1. เป็นกลุ่มคนที่ได้อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งใดแห่งหนึ่งมาก่อนอย่างต่อเนื่องยาวนาน ต่อมากลุ่มคนเหล่านี้ได้เผชิญหน้ากับการล่าอาณานิคม
และการตั้งรัฐสมัยใหม่ (Modern State)

2. ภายหลังจากการก่อตั้งรัฐขึ้น ได้มีการใช้อำนาจรัฐลิดรอนสิทธิของกลุ่มคนเหล่านี้ ทั้งในทางกฎหมายและการปฏิบัติ พร้อมกับการเข้าแย่งชิงที่ดิน ทรัพยากร และทรัพยากรชีวภาพของพวกเขา โดยไม่ได้คำนึงถึงสิทธิของพวกเขาที่ดำรงอยู่มาก่อน

ความเคลื่อนไหวของชนพื้นเมือง
การขยายตัวของลัทธิอาณานิคมและการก่อตัวของรัฐชาติในช่วงศตวรรษที่ 19-20 ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนพื้นเมืองที่ตั้งถิ่นฐานและดำรงชีวิตมาอย่างยาวนาน (7) การเข้าครอบครองของประเทศเจ้าอาณานิคม ได้ส่งผลกระทบต่อชนพื้นเมืองในทุกๆ พื้นที่ เพราะการเข้าครอบครองของประเทศเจ้าอาณานิคม ไม่เพียงเป็นการเข้าครอบครองดินแดนเท่านั้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับชนพื้นเมืองคือ การถูกทำลายชนชาติทั้งชีวิตและวัฒนธรรม (8) นอกจากนั้นการอ้างอำนาจรัฐเหนือดินแดนของประเทศเจ้าอาณานิคม ยังลิดรอนสิทธิต่างๆ ของชนพื้นเมืองทั้งสิทธิในที่ดินและทรัพยากร โดยรัฐอ้างความเป็นเจ้าของและการกำหนดการใช้ประโยชน์ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากรัฐ ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชนพื้นเมืองเกิดขึ้นในหลายพื้นที่

กระบวนการลิดรอนสิทธิต่างๆ ที่นำมาปฏิบัติกับชนพื้นเมืองทำให้เกิดขบวนการเรียกร้องสิทธิของกลุ่มชนพื้นเมืองมากขึ้น การเคลื่อนไหวเรียกร้องดังกล่าวกระทำเพื่อเรียกร้องถึงสิทธิในที่ดิน ความมีตัวตน และความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชนพื้นเมือง เช่น ขบวนการของชนพื้นเมืองดั้งเดิมในประเทศสหรัฐอเมริกา ขบวนการของชนพื้นเมืองอะบอริจินในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ขบวนการของชนอินเดียนพื้นเมืองในละตินอเมริกา ซึ่งเป็นเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อเรียกร้องสิทธิของกลุ่มตนเองที่มีความแตกต่างในเรื่องสังคม วิถีการดำรงชีวิต เศรษฐกิจ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี รวมถึงสิทธิในฐานทรัพยากร

จรัญ โฆษณานันท์ อธิบายว่า การเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิของชนพื้นเมืองนั้นมีเหตุผลมาจากชาวพื้นเมืองมักจะถูกมองว่าเป็น "คนอื่น" เช่นเดียวกับชนกลุ่มน้อยซึ่งมักเผชิญชะตากรรมของการเป็นกลุ่มคนที่มีฐานะด้อยต่ำกว่า ซึ่งถูกละเมิดสิทธิไม่ต่างกันในแง่การถูกเลือกปฏิบัติ การปฏิเสธสิทธิในการดำรงอยู่ การถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือการปฏิเสธการยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน (9)

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร อธิบายถึงการลุกขึ้นเคลื่อนไหวของกลุ่มชนพื้นเมืองว่า(10) การเคลื่อนไหวของกลุ่มชนพื้นเมืองในแทบทุกพื้นที่ เกิดขึ้นเพื่อเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองเนื่องจากประวัติศาสตร์ของการถูกแย่งชิงทรัพยากรจากระบบอาณานิคม รวมถึงการถูกคุกคามจากกระแสสังคมสมัยใหม่ การเคลื่อนไหวของชนพื้นเมืองนำไปสู่การอ้างสิทธิในการปกครองตนเอง (Self-Determination - การกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง) และความเป็นคนพื้นเมือง (Indigenous Peoples) เพื่อปกป้องรักษาที่ดิน แหล่งทรัพยากรและเอกลักษณ์/ตัวตนของตนไว้ ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายสุดท้าย คือการอยู่รอดของตนเองในฐานะที่เป็นมนุษย์ที่ได้รับการเคารพและ การยอมรับในความเป็นคนพื้นเมืองดั้งเดิมของตน

ข้อเรียกร้องของชนพื้นเมืองในความเป็นอิสระ
ข้อเรียกร้องของชนพื้นเมืองในความเป็นอิสระ แบ่งเป็น 3 ด้าน (11) คือ

ประการแรก ความเป็นอิสระในการพัฒนาเศรษฐกิจของตัวเอง (Economic Autonomy) ไม่ใช่การพัฒนาที่ยัดเยียดมาจากรัฐ จากเจ้าของที่ดิน และจากทุนต่างชาติ เพราะการพัฒนาเท่าที่ผ่านมาเป็นการพัฒนาที่ตัดขาดจากรากเหง้าทางวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาที่ขจัดระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนรวม/กรรมสิทธิ์ชุมชน และการแทนที่ด้วยระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล/ทรัพย์สินส่วนบุคคล นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาที่ไม่ให้สิทธิแก่ชนพื้นเมืองดั้งเดิมในการดูแลและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และที่ดินในเขตของพวกเขา/เธอ การจัดการกับเศรษฐกิจในแบบของคนพื้นเมืองดั้งเดิม แม้ว่าจะดูไม่มีเหตุผลในเชิงเศรษฐกิจในสายตาของรัฐ แต่ก็มีเหตุผลในเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของคนพื้นเมืองดั้งเดิมเหล่านี้ และสิทธิในการจัดการกับระบบเศรษฐกิจในแบบของคนพื้นเมือง ก็คือสิทธิขั้นพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนที่ควรได้รับการเคารพ และยอมรับจากรัฐชาติ

ประการที่สอง เป็นเรื่องความเป็นอิสระทางการเมือง คือ การเรียกร้องให้สามารถใช้กฎหมายจารีตประเพณีกับกิจการของตนเองได้ ซึ่งเป็นการเรียกร้องให้เปิดพื้นที่ทางการเมืองให้กับคนพื้นเมืองดั้งเดิมให้มากขึ้น มากกว่าการกลืนกลายคนพื้นเมืองดั้งเดิม

ประการที่สาม ความเป็นอิสระด้านวัฒนธรรม เป็นการเรียกร้องสิทธิที่จะดำรงอยู่ในเชิงวัฒนธรรม มีจารีตประเพณีและการปฏิบัติ ความคิด ความเชื่อในแบบของตนเอง มีหลักสูตรการเรียนรู้ การสอน การพูดถึงเรื่องราวของตนเอง

การเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิของชนพื้นเมืองในทุกๆ พื้นที่ทั่วโลกส่วนใหญ่เรียกร้องถึงสิทธิที่จะได้อยู่อาศัยบนแผ่นดินของบรรพบุรุษซึ่งสืบทอดต่อเนื่องกันมาอย่างเป็นอิสระ สิทธิในทรัพยากร สิทธิดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมของตน และสิทธิในการปกครองตนเองจากรัฐที่เข้าปกครองและได้ละเมิดสิทธิของพวกเขา

การรับรองสิทธิชนพื้นเมืองในระบบกฎหมาย
การเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิของชนพื้นเมืองทั้งภายในประเทศ และระดับระหว่างประเทศ นำไปสู่การยอมรับสิทธิชนพื้นเมืองทั้งในรูปคำประกาศ ปฏิญญาและสนธิสัญญาต่างๆ โดยเฉพาะเจาะจงเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม เพราะเมื่อพิจารณาในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.1948 (12) (Universal Declaration of Human Rights 1948) ยังไม่มีการกล่าวถึงสิทธิของชนพื้นเมืองโดยชัดเจน หลักการในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มุ่งให้ความคุ้มครองสิทธิของปัจเจกบุคคลเป็นส่วนใหญ่ เห็นได้ชัดว่าในขณะนั้น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิทธิของชนพื้นเมืองอย่างเฉพาะเจาะจง แต่จะเน้นไปยังการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกบุคคลเป็นหลัก

การเรียกร้องสิทธิของชนพื้นเมืองที่นำไปสู่การรับรองสิทธิของชนพื้นเมืองโดยเฉพาะเจาะจงมากขึ้นเริ่มต้นตั้งแต่ ค.ศ. 1946 โดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO: The International Labor Organization) ได้พัฒนาอนุสัญญาว่าด้วยการปกป้องและประสานชนพื้นเมืองและชนเผ่าในประเทศเอกราช (Convention Concerning The Protection and Integration of Indigenous and other Tribal and Semi-tribal Population in Independence Countries) ขึ้นใน ค.ศ. 1947 หรือเรียกว่า ILO 107 (Convention 107) แต่อย่างไรก็ตาม ILO 107 ไม่ได้รับการยอมรับจากชนพื้นเมืองและถูกอ้างถึงมากนัก เนื่องจากยังคงมีเนื้อหาที่กำกวมไม่ชัดเจน

การเคลื่อนไหวของชนพื้นเมืองทั้งภายในประเทศและในระดับระหว่างประเทศ นำไปสู่การเรียกร้องให้กฎหมายระหว่างประเทศยอมรับถึงสิทธิของชนพื้นเมืองในการปกครองตนเอง สิทธิในที่ดินและทรัพยากร ข้อเรียกร้องเหล่านี้ได้รับการรับรองโดยกฎหมายระหว่างประเทศที่เปิดโอกาสให้กับชนพื้นเมืองสามารถเข้ามีส่วนร่วม และมีบทบาทในแนวทางของตนเองมากขึ้นโดยเฉพาะตั้งแต่ในช่วง ค.ศ. 1960 เป็นต้นมา โดยได้มีกติการะหว่างประเทศหลายฉบับกล่าวถึงชนพื้นเมืองและยอมรับวิถีชีวิตของชนพื้นเมือง เช่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 (International Covenant on Civil and Politic Rights 1966) ซึ่งได้มีการกล่าวถึงสิทธิของกลุ่ม (Collective Rights) ในมาตรา 27 เรื่องชนกลุ่มน้อย (Minorities) ว่า ในรัฐทั้งหลายที่มีชนกลุ่มน้อยทางเผ่าพันธุ์ ศาสนา หรือภาษาอยู่ บุคคลผู้เป็นชนกลุ่มน้อยดังกล่าวจะไม่ถูกปฏิเสธสิทธิในอันที่จะมีวัฒนธรรมของตนเอง หรือการนับถือและการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของตนเอง หรือใช้ภาษาของตนเองภายในชุมชนร่วมกับสมาชิกอื่นๆ หรือชนกลุ่มน้อยด้วยกัน

ต่อมาอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 169 (International Labor Organization Convention 169) ได้กำหนดความรับผิดชอบของรัฐในเรื่องสิทธิของชุมชนพื้นเมือง โดยกำหนดให้รัฐบาลต้องสนับสนุนและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของชุมชนท้องถิ่นและชนเผ่า ซึ่งเป็นการแก้ไขปรับปรุง ILO 107 และเรียกว่า Convention 169 Concerning Indigenous and Tribal Peoples in Independent countries หรือ ILO 169

อนุสัญญาที่ใช้บังคับกับกลุ่มชุมชนท้องถิ่นและชนเผ่า
ในส่วนของอนุสัญญานี้ ใช้บังคับกับกลุ่มชุมชนท้องถิ่นและชนเผ่า ดังต่อไปนี้ คือ

(1) กลุ่มชนเผ่าในประเทศเอกราช ซึ่งโดยสภาพทางสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ทำให้พวกเขามีความแตกต่างจากส่วนอื่นๆ ของชุมชนชาติ (Other Sections of the National Community) ซึ่งสถานะถูกกำกับควบคุม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยจารีตประเพณีของตนเอง หรือโดยกฎหมายหรือกฎระเบียบพิเศษของกลุ่มชนนั้น

(2) กลุ่มชนในประเทศเอกราช ซึ่งถูกจัดว่าเป็นคนท้องถิ่นอันเนื่องมาจากการสืบเชื้อสายจากประชากรที่เคยอาศัยอยู่ในประเทศ หรือภูมิภาคที่ประเทศนั้นตั้งอยู่ ณ เวลาที่ดินแดนนั้นตกเป็นอาณานิคมหรือเมื่อมีการกำหนดพรมแดนรัฐปัจจุบัน และเป็นกลุ่มชนซึ่งยังรักษาระบบสถาบันทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมืองของตนเองไว้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน และไม่ว่าสถานะทางกฎหมายของพวกเขาจะเป็นอย่างไรก็ตาม

อนุสัญญานี้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกต้องร่วมมือ พร้อมให้การยอมรับชนพื้นเมืองและสนับสนุนกฎหมายให้มีการรับรองการปฏิบัติตามจารีตประเพณี การรับรองกรรมสิทธิ์ร่วมของชุมชนในที่ดินและดินแดน รวมถึงการคุ้มครองสิทธิและการถือครองที่ดินของชุมชนที่มีมาโดยจารีตประเพณี รวมทั้งสิทธิการใช้ จัดการ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ. อนุสัญญาฉบับนี้ถือเป็นอนุสัญญาฉบับแรกๆ ที่ยอมรับให้ชนพื้นเมืองและชนเผ่าในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจระดับชาติ สิทธิในการมีกรรมสิทธิ์และครอบครองผืนดินดั้งเดิมของพวกตน (13)

จากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา หรือที่รู้จักกันดีในนาม การประชุมสุดยอดของโลก (The Earth Summit) ที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร (Rio de Janeiro) เมื่อ ค.ศ. 1992 การรับรองสิทธิชนพื้นเมืองได้ปรากฏชัดเจนอีกครั้งในคำประกาศริโอ ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Rio Declaration of Environment and Development) และแผนปฏิบัติการที่ 21 (Agenda 21) มีความสำคัญคือ การยอมรับหลักการของการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิชนพื้นเมืองกับสิทธิในที่ดิน ในหลักการข้อที่ 22 เรื่องการจัดการทรัพยากร ดังนี้

"ชนพื้นเมือง และชุมชนของตน และชุมชนท้องถิ่นอื่นๆ มีบทบาทสำคัญในการจัดการและพัฒนาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากความรู้และธรรมเนียมปฏิบัติของตน รัฐควรรับรองและส่งเสริมการมีตัวตน วัฒนธรรม และผลประโยชน์ของชุมชน และช่วยให้ชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ"(14)

คำประกาศริโอ หลักการข้อที่ 22 เป็นการประกาศยอมรับการมีอยู่ของสิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมและวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่เมือง ยังได้รับรองแผนปฏิบัติการที่ 21 ซึ่งได้มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาไว้หลายประเด็น รวมถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน ชนพื้นเมือง ในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและประเด็นที่สำคัญที่แผนปฏิบัติการที่ 21 เน้นย้ำก็คือ เรื่องการสนับสนุนชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการดูแลรักษาทรัพยากรอย่างจริงจัง ทั้งในเรื่องของการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การสนับสนุนวัฒนธรรมของชนท้องถิ่นดั้งเดิม การสร้างเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างชุมชน และการให้หลักประกันสิทธิไว้ในกฎหมาย

แผนปฏิบัติการที่ 21 ขยายความในเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนว่า รัฐบาลและองค์กรระหว่างประเทศต้องจัดให้มีกระบวนการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์จากการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ และเพื่อให้ชุมชนสามารถนำความรู้ของชุมชนมาช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน รัฐต้องให้ความคุ้มครองแก่ที่ดินที่ชุมชนอาศัยอยู่ และยอมรับคุณค่า ความรู้ และวิถีปฏิบัติในการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้รัฐจะต้องเสริมสร้างสมรรถนะของชุมชนและส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย กฎหมาย และโครงสร้างต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรซึ่งมีผลกระทบต่อชุมชน

จากการรับรองสิทธิของชนพื้นเมืองในคำประกาศกรุงริโอ ได้นำไปสู่การรับรองสิทธิชนพื้นเมืองในอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหมายทางชีวภาพ ค.ศ. 1992 (Convention on Biological Diversity 1992) ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 1993 อนุสัญญานี้เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองและการเข้าถึงเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ มีส่วนที่ให้ความสำคัญแก่บทบาทของชุมชนพื้นเมือง และชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน. แต่การเคารพ การสงวนรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่ชุมชนท้องถิ่น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายแต่ละรัฐบัญญัติ โดยกล่าวถึงในอารัมภบท วรรคที่ 12 และในมาตรา 8 (j) ดังนี้

อารัมภบท วรรคที่ 12 ได้กล่าวถึง ชุมชนพื้นเมือง ดังนี้
"ตระหนักถึงการพึ่งพาอาศัยอย่างใกล้ชิดและตามขนบประเพณีเดิมของชุมชนพื้นเมืองและท้องถิ่น ซึ่งใช้ทรัพยากรชีวภาพในการดำเนินชีวิตตามขนบประเพณีเดิม และตระหนักถึงความปรารถนาในอันที่จะแบ่งปันอย่างเท่าเทียมซึ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ประโยชน์ความรู้ ประดิษฐกรรม และการถือปฏิบัติที่สืบทอดมาตามประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน"

มาตรา 8 (j) ของอนุสัญญานี้ได้บัญญัติว่า
"ภายใต้กฎข้อบังคับแห่งชาติ ต้องให้ความเคารพ สงวนรักษาและดำรงไว้ซึ่งความรู้ ประดิษฐกรรม และการถือปฏิบัติของชุมชนพื้นเมืองและท้องถิ่นซึ่งปรากฏในการดำเนินชีวิตที่สืบทอดมาตามประเพณี ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และส่งเสริมการประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ด้วยมีความเห็นชอบและการเข้าร่วมของผู้ทรงความรู้ เจ้าของประดิษฐกรรม และผู้ถือปฏิบัตินั้นๆ และสนับสนุนการแบ่งปันอย่างเท่าเทียมซึ่งผลประโยชน์อันเกิดจากการใช้ประโยชน์ความรู้ ประดิษฐกรรม และการถือปฏิบัตินั้น"

อย่างไรก็ตาม การบังคับให้เกิดผลตามอารัมภบทและมาตรา 8 (j) ให้เป็นไปตามกฎหมายที่แต่ละรัฐบัญญัติรับรอง. ต่อมาได้มีการออกแนวปฏิบัติ ใน ค.ศ.1999 เรียกว่า Bonn Guidelines ว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างยุติธรรม (Bonn Guidelines on Access to Genetic Resources and the Fair and Equitable Sharing) ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม โดยมีหลักการที่เกี่ยวข้องกับชุมชนท้องถิ่น เช่น การเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนท้องถิ่นต้องได้รับความเห็นชอบหลังจากการแจ้งให้ทราบข้อมูลล่วงหน้า (Prior Informed Consent หรือ PIC) จากชุมชนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องก่อน หรือรัฐที่เป็นแหล่งกำเนิดทรัพยากรพันธุกรรม ควรมีมาตรการเพื่อคุ้มครองชุมชนท้องถิ่นให้สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรมต่อไปได้ แม้ว่าจะมีการนำทรัพยากรนั้นไปพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการค้าแล้วก็ตาม เป็นต้น(15)

ในปัจจุบัน พัฒนาการของการรับรองสิทธิชนพื้นเมืองในกฎหมายระหว่างประเทศ ได้นำไปสู่การยกร่างปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนพื้นเมือง ค.ศ. 1994 (Draft United Nations Declaration on the Rights of Indigenous Peoples) (16) ร่างปฏิญญาฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยคณะทำงานว่าด้วยชนพื้นเมือง (Working Group on Indigenous Populations) เพื่อคุ้มครองสิทธิของชนพื้นเมือง ร่างปฏิญญาฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นใน ค.ศ. 1985 และได้รับการรับรองจากคณะอนุกรรมาธิการว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขององค์กรสหประชาชาติ ใน ค.ศ. 1994 จากนั้นได้มีการเสนอร่างต่อคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนขององค์กรสหประชาชาติ ซึ่งได้แต่งตั้งคณะทำงานอันประกอบด้วยองค์กรชุมชนท้องถิ่นมากกว่า 200 องค์กรเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งมีการประชุมปีละหนึ่งครั้ง โดยมีเป้าหมายที่จะนำเสนอในที่ประชุมสหประชาชาติให้มีการรับรองต่อไป

ร่างปฏิญญาฉบับนี้เป็นผลมาจากชนพื้นเมืองที่มีอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ไม่มีหลักประกันสิทธิในการสืบทอดและดำรงชีวิตตามวิถีทาง จารีตประเพณีของตนเอง รวมถึงสิทธิที่ถูกละเมิดอีกหลายประการ เช่น สิทธิในที่ดินและทรัพยากร ดังนั้นจึงมีดำเนินการเพื่อจัดการปัญหาในเรื่องดังกล่าว องค์การสหประชาชาติจึงได้มีการยกร่างปฏิญญาฉบับนี้ขึ้น

ร่างปฏิญญาฉบับนี้รับรองสิทธิของชนพื้นเมืองไว้ ดังนี้

- ชนพื้นเมืองมีสิทธิในการตัดสินใจด้วยตนเอง ในการเลือกสถานะและสถาบันการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของพวกเขา รวมถึงสิทธิที่จะเป็นอิสระ และปกครองตนเอง สิทธิของชนพื้นเมืองที่จะได้รับการคุ้มครองตามหลักการของหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตามกฎบัตรสหประชาชาติ และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน การรับรองไม่ให้มีการกีดกันสิทธิของชนพื้นเมืองโดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ และอัตลักษณ์ของชนพื้นเมือง การให้ความคุ้มครองสิทธิในทางการเมือง การได้รับสัญชาติ สิทธิและความปลอดภัยจากการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ สิทธิที่จะได้รับการศึกษาที่ชนพื้นเมืองจัดขึ้น สิทธิในการใช้ภาษาของชนพื้นเมืองและการผลิตสื่อที่ใช้ภาษา ระบบการเขียนวรรณกรรมของตนเอง

- ด้านความเป็นชุมชน ชนพื้นเมืองสามารถมีสิทธิแบบสิทธิร่วม กับสิทธิที่เป็นปัจเจกบุคคล ในการที่จะพัฒนาอัตลักษณ์ของกลุ่ม การพัฒนา การสืบทอดวัฒนธรรม รวมถึงสิทธิที่จะได้รับการตอบแทนหรือผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากองค์ความรู้ของกลุ่มชนพื้นเมือง

- สิทธิในที่ดินของชนพื้นเมือง ทั้งที่เป็นสิทธิร่วมกันและสิทธิส่วนบุคคลที่จะเป็นเจ้าของ ควบคุมและใช้ประโยชน์ในที่ดิน อาณาบริเวณ ที่พวกเขาครอบครองและใช้ประโยชน์มานับแต่อดีต สิทธินี้จะป้องกันการแทรกแซงหรือล่วงละเมิดสิทธิจากรัฐ ชนพื้นเมืองมีสิทธิที่จะได้รับการทดแทน และการจ่ายค่าทดแทนอย่างเป็นธรรม โดยการได้รับความเห็นชอบของพวกเขาอย่างอิสระ การชดเชยจะอยู่ในรูปที่ดินที่มีคุณภาพ ขนาด สถานะทางกฎหมายที่เท่าเทียมกันเป็นอย่างน้อย สิทธิในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในโครงการของรัฐ บรรษัท จากทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ จะต้องหารือและแจ้งให้ทราบถึงโครงการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ แร่ธาตุ หรือทรัพยากรใต้ดิน เมื่อโครงการส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต สิทธิความเป็นเจ้าของ การพัฒนา ควบคุม การใช้ที่ดินของชนพื้นเมือง เป็นต้น. นอกจากนี้ร่างปฏิญญาฉบับดังกล่าวยังจะให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิชนพื้นเมืองในเรื่องวัฒนธรรม อัตลักษณ์ และสิทธิเกี่ยวกับการศึกษา การจ้างงาน สุขภาพ ภาษาและสิทธิอื่น

จากการศึกษาพบว่า ปฏิญญาหรืออนุสัญญาหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของชนพื้นเมืองมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตามลำดับ มีการรับรองสิทธิของชนพื้นเมืองเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะปฏิญญาหรืออนุสัญญาที่ได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติ หรือองค์กรหรือหน่วยงานเฉพาะในรูปของคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่ในการดูแลสิทธิของชนพื้นเมือง อาทิเช่น

- UN Working Group on indigenous Populations,
- UN Permanent Forum on Indigenous Issues,
- UN Working Group on the Draft Declaration on the Rights of Indigenous Peoples,
- Un Special Rapporteur on the Situation of the Human Rights and Fundamental Freedom of Indigenous Peoples
องค์กรเหล่านี้เป็นตัวอย่างขององค์กรที่ตั้งขึ้นตามการทำงานขององค์กรสหประชาชาติ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิทธิของชนพื้นเมือง นอกจากนั้นยังมีองค์กรที่ตั้งขึ้นตามปฏิญญา และการนำคดีเกี่ยวกับสิทธิของชนพื้นเมืองในประเทศต่างๆ เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการชุดต่างๆ ในองค์กรสหประชาชาติด้วย

การรับรองสิทธิชุมชนโดยองค์กรและศาลระหว่างประเทศ
จากการรับรองสิทธิของชนพื้นเมืองในกฎหมายระหว่างประเทศรูปแบบต่างๆ ทั้งในรูปของปฏิญญา กติกา และคำประกาศ ซึ่งมีการตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่ในการควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติตามพันธกรณีที่ได้กำหนดไว้ รวมถึงการรับข้อร้องเรียนต่างๆ ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิตามพันธกรณี องค์กรเหล่านี้อาจอยู่ในรูปคณะกรรมการหรือศาลระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่วินิจฉัยเมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น ได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิของชนพื้นเมืองต่างๆ ดังนี้

คดีที่คณะกรรมการว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (HRC) ได้ทำการวินิจฉัยตามปฏิญญาต่างๆ เกี่ยวกับสิทธิชนพื้นเมือง
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (The Human Rights Committee : HRC) เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 (International Convention on Civil and Politic Rights : ICCPR) คณะกรรมการชุดนี้จะทำหน้าที่ควบคุมและวินิจฉัยตรวจสอบว่า ประเทศภาคีสมาชิกจะปฏิบัติตามพันธะสัญญาตามที่ได้มีการตกลงกันไว้

แม้ในเนื้อหาของกติกาฉบับดังกล่าวไม่ได้บัญญัติถึงสิทธิของชนพื้นเมืองโดยตรง หรือสิทธิเกี่ยวกับที่ดินของชนพื้นเมือง อย่างไรก็ตาม มีการใช้สิทธิการร้องเรียนของกลุ่มชนพื้นเมืองท้องถิ่น โดยเฉพาะการเรียกร้องสิทธิตามมาตรา 27 ของกติกาฯ ที่กล่าวถึงสิทธิของชนพื้นเมือง โดยเฉพาะสิทธิในที่ดิน ดังนี้

มาตรา 27 (17) "ในรัฐทั้งหลายที่มีชนกลุ่มน้อยทางเผ่าพันธุ์ ศาสนา หรือภาษาอยู่ บุคคลผู้เป็นชนกลุ่มน้อยดังกล่าวจะไม่ถูกปฏิเสธสิทธิในอันที่จะมีวัฒนธรรมของตนเองหรือนับถือ และประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของตนเอง หรือใช้ภาษาของตนภายในชุมชนร่วมกับสมาชิกอื่นของชนกลุ่มน้อยด้วยกัน"

การดำเนินการร้องเรียนของชนพื้นเมืองต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ มักจะอ้างถึงมาตรา 27 ของ ICCPR เป็นมาตราหลักในการต่อสู้เรียกร้องสิทธิของชนพื้นเมือง ดังเช่น คดีต่างๆ ดังต่อไปนี้ (18)

คดี Ominayak and The Lubicon Lake Band v. Canada 1990 (19)
คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับชนเผ่าที่ชื่อว่า Lubicon Cree ซึ่งรัฐบาลแคนาดาได้อนุญาตให้บริษัทเอกชนทำการสัมปทานป่าไม้ และเปิดโอกาสให้มีการสำรวจแร่และการขุดหาน้ำมันในเขตดินแดนของชนเผ่า Lubicon ในกรณีนี้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้มีคำวินิจฉัยให้รัฐบาลแคนาดาจ่ายค่าชดเชยให้กับชนเผ่า Lubicon

ในปี ค.ศ. 1984 กลุ่มชนพื้นเมืองจากประเทศแคนาดาได้เสนอข้อร้องเรียนต่อ HRC โดยรู้จักกันในคดีที่ชื่อ Ominayak v. Canada Case หรือเรียกว่า "Lubicon Lake Band Case" ภายใต้การนำของ Chief Bernard Ominayak หัวหน้าชนพื้นเมือง กลุ่มชนพื้นเมืองได้อ้างถึงสิทธิในที่ดิน ภายใต้ ICCPR มาตรา 27 ด้วยเหตุผลว่า ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ประมาณ 1 หมื่นตารางกิโลเมตรในบริเวณทะเลสาบลูบิคอน (Lake Lubicon) มาเป็นระยะเวลายาวนานมากจนจำไม่ได้ (Time Immemorial) พวกเขาได้รักษาการปฏิบัติตามจารีตประเพณี ศาสนา โครงสร้างการปกครอง และการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง (Subsistence Economy)

ต่อมามลฑลอัลเบอร์ต้า (The Alberta Province) ได้เปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนเข้ามาสำรวจน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และให้สัมปทานป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติอื่น บริเวณทะเลสาบลูบิคอน ซึ่งการสำรวจและการสัมปทานได้ส่งกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อชนพื้นเมือง เช่น การทำให้ธรรมเนียมปฏิบัติ และการปฏิบัติตามวิถีการดำรงชีวิตที่เป็นอยู่เสี่ยงต่อการสูญหาย ซึ่งชนพื้นเมืองได้กล่าวอ้างว่า เป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติของ ICCPR มาตรา 1 ซึ่งกำหนดให้ประชาชนทั้งปวงมีสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเอง โดยอาศัยสิทธินั้น ประชาชนจะกำหนดสถานะทางการเมืองของตนได้อย่างเสรี รวมทั้งการดำเนินการอย่างเสรีในทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของตน และมีสิทธิในการใช้และจัดการทรัพยากรของตนได้อย่างเสรี และยังละเมิดต่อบทบัญญัติ มาตรา 27 ที่บัญญัติให้ชนกลุ่มน้อยจะต้องไม่ถูกปฏิเสธสิทธิในทางวัฒนธรรม ศาสนา และภาษาของตนเองจากรัฐ

ภายหลังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้มีคำวินิจฉัยว่า การใช้สิทธิดังกล่าวของรัฐ เป็นการละเมิดสิทธิของชนกล่มน้อยตามมาตรา 27 ของ ICCPR รวมถึงสิทธิของปัจเจกชน สิทธิร่วมกับบุคคลอื่นในกลุ่ม ซึ่งเกี่ยวพันกับเศรษฐกิจ กิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มที่พวกเขาเป็นส่วนหนึ่ง ดังนั้น รัฐบาลต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับชนเผ่า Lubicon เพื่อเป็นการเยียวยาความเสียหาย

คดี Llmari Lansmen et al. v. Finland Case 1993 (20)
ในปี ค.ศ. 1990 หลังจากที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้มีคำวินิจฉัยในคดี Ominayak v. Canada Case องค์กรปกครองท้องถิ่นแห่งหนึ่ง ในประเทศฟินแลนด์ได้อนุญาตให้บริษัทเอกชนสัมปทานการขุดหิน (Anortocite) จำนวน 5,000 ลูกบาศก์เมตร จากภูเขาที่ชื่อว่า Etela-Riutusvaara นาย Llmari Lansman สมาชิกของชนเผ่า Saami ได้นำประเด็นร้องเรียนเข้าสู่การพิจารณาของ HRC ใน ค.ศ. 1992 โดยอ้างว่าประเทศฟินแลนด์ละเมิดมาตรา 27 ของ ICCPR เพราะภูเขา Etela-Riutusvaara เป็นพื้นที่ที่เคารพทางศาสนาของเผ่า Saami และการทำเหมืองหินและการขนส่งหินจะเป็นการรบกวนการเลี้ยงฝูงกวางเรนเดียร์ และสภาพธรรมชาติอื่นที่สัมพันธ์กับชีวิตของกวางเรนเดียร์. การนำประเด็นเข้าสู่การพิจารณาครั้งนี้ นาย Llmari Lansman ได้อ้างถึงคำวินิจฉัยของ HRC ในคดี Ivan Kitoh v. Sweden, Ominayak v. Canada และ ILO Convention 169

ประเทศฟินแลนด์ได้ให้การว่า การทำเหมืองหินนั้นชอบด้วยกฎหมายภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย และพื้นที่ดังกล่าวก็เป็นพื้นที่ของรัฐ การทำเหมืองหินไม่ได้เป็นการละเมิดต่อมาตรา 27 ในเรื่องสิทธิชนพื้นเมือง เพราะว่าสิทธิของชนกลุ่มน้อยได้รับการส่งเสริมตามกฎหมายของฟินแลนด์อยู่แล้ว และชนพื้นเมืองเผ่า Saami ยังมีสิทธิที่จะเลี้ยงกวางเรนเดียร์ต่อไป ซึ่งไม่ได้เป็นการจำกัดสิทธิในการดำเนินการตามวิถีชีวิตของพวกเขาแต่อย่างใด

คดีนี้ HRC ได้มีคำวินิจฉัยว่า ถึงแม้รัฐมีอิสระที่จะสนับสนุนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ แต่ก็มีข้อจำกัดภายใต้ภาระผูกพันตามมาตรา 27 ของ ICCPR ถ้ากิจกรรมใดที่ปฏิเสธสิทธิของชนพื้นเมืองอย่างสิ้นเชิงต้องถือเป็นข้อห้าม แต่กิจกรรมที่มีอาจส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยก็ยังไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดแย้งกับมาตรา 27. การดำเนินการของประเทศฟินแลนด์ยังไม่ถือว่าฝ่าฝืนต่อมาตรา 27 เพราะว่าการทำเหมืองไม่ได้ถึงขนาดที่จะปฏิเสธการใช้สิทธิของชนพื้นเมืองอย่างสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม การดำเนินการใดๆ ของประเทศฟินแลนด์ที่เห็นได้ว่าอาจจะกระทบต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพของชนพื้นเมือง ผลประโยชน์ของชนพื้นเมืองจะต้องได้รับการพิจารณาเป็นอย่างแรก ก่อนที่รัฐจะมีการออกคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินการ และจะต้องมีการปรึกษาหารือโดยตรงกับชนพื้นเมืองถึงการดำเนินการดังกล่าว

จากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน HRC ตัดสินว่า การดำเนินการดังกล่าวส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยจึงยังไม่ถือว่าละเมิดต่อสิทธิชนพื้นเมือง แต่ได้แถลงเตือนต่อประเทศฟินแลนด์ว่า การขยายตัวของกิจกรรมในพื้นที่ที่เพิ่มมากขึ้น อาจจะนำไปสู่การละเมิดต่อมาตรา 27 ได้

คดี J. Lansman et al. v. Finland Case (21)
ใน ค.ศ. 1995 หนึ่งปีหลังจากที่ได้มีคำวินิจฉัยในคดี LImari Lansman et al. v. Finland Case นาย Jouni E. Lansman และสมาชิกชนพื้นเมืองเผ่า Saami ได้ยื่นข้อร้องเรียนต่อ HRC อีกคดีหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะและข้อเท็จจริงคล้ายคลึงกันกับคดีก่อน อันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับการแสวงหาประโยชน์ในพื้นที่ของชนพื้นเมือง ชนพื้นเมืองอ้างสิทธิอีกครั้งว่า สิทธิพวกเขาตาม ICCPR มาตรา 27 ได้ถูกละเมิดจากการทำไม้และการสร้างถนน ซึ่งการดำเนินกิจกรรมของรัฐเหล่านี้เป็นอันตรายต่อวิถีการดำรงชีวิตตามวัฒนธรรม โดยเฉพาะการเลี้ยงกวางเรนเดียร์

ข้อเท็จจริงในคดีนี้มีอยู่ว่ากลุ่มชนพื้นเมืองพยายามที่จะเรียกร้องให้ The Finnish Central Forestry Board หยุดการให้อนุญาตทำไม้และสร้างถนนเหนือพื้นที่ที่สืบทอดตามจารีตประเพณี (traditional Saami land) เนื้อที่ประมาณ 30,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งกระทบกระเทือนต่อการดำเนินกิจกรรมตามวัฒนธรรม. ประเทศฟินแลนด์โต้แย้งว่า คดีนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับคดีก่อนหน้า การดำเนินกิจกรรมและแผนงานของรัฐส่งผลกระทบอย่างจำกัด (Certain Limited Impact) และได้มีการไกล่เกลี่ยกับกลุ่มผู้เลี้ยงกวางเรนเดียร์ รวมถึงได้ปรึกษาหารือกับชนพื้นเมืองแล้ว

HRC ได้มีคำวินิจฉัยโดยอ้างถึงรายงานการประชุมของ HRC เมื่อ ค.ศ. 1994 ที่กล่าวถึงสิทธิของชนพื้นเมือง ว่าชนพื้นเมืองมีสิทธิที่จะปกป้องการดำเนินกิจกรรมที่ปฏิบัติกันมาตามจารีตประเพณี เช่น การล่าสัตว์ การตกปลา หรือการเลี้ยงกวางเรนเดียร์. คดีนี้ HRC พบว่า การดำเนินการของประเทศฟินแลนด์ที่ชนพื้นเมืองกล่าวอ้าง ยังไม่ได้ส่งผลกระทบมากพอต่อสิทธิของชนพื้นเมืองที่จะถือว่าเป็นการปฏิเสธสิทธิของชนพื้นเมืองตามมาตรา 27เช่นเดียวกับคดี Lansman ในคดีแรก HRC มีคำวินิจฉัยว่าการกระทำใดๆ ที่กระทบต่อการดำเนินกิจกรรมของชนพื้นเมืองตามจารีตประเพณีที่มีมาจะต้องให้ความเคารพต่อสิทธิของชนพื้นเมือง และต้องทำการปรึกษากับชนพื้นเมืองก่อนดำเนินการอย่างไม่ต้องมีข้อสงสัย. HRC เห็นว่ารัฐจะต้องระลึกเอาไว้เสมอว่าเมื่อมีการดำเนินกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อสิทธิภายใต้มาตรา 27 โดยเฉพาะการดำเนินการใดที่มีความต่างไปจากสิ่งที่พวกเขาดำรงอยู่ และอาจทำให้เกิดการลิดรอนต่อการใช้สิทธิของชนพื้นเมืองซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ

HRC ได้เตือนประเทศฟินแลนด์ว่า ถ้ามีการขยายพื้นที่การทำไม้เพิ่มขึ้นหรือการดำเนินการนั้นแย่ลงกว่าแผนการที่วางไว้ หรือการดำเนินกิจกรรมอื่น เช่น การทำเหมืองที่จะเกิดขึ้นก็อาจจะนำไปสู่การละเมิดต่อสิทธิของชนพื้นเมืองที่จะใช้สิทธิและเสรีภาพตามจารีตประเพณีของพวกเขาได้

Chile's State Report of 1999 (22)
นอกจากนั้นยังมีรายงานจากการสังเกตการณ์ของ HRC เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิชนพื้นเมืองในพื้นที่ต่างๆ เช่น การสังเกตการณ์ในประเทศชิลี เกี่ยวกับสิทธิชนพื้นเมืองของ HRC ได้มีการวางหลักการเกี่ยวกับสิทธิของชนพื้นเมืองไว้ตามรายงาน ดังนี้

"ในการสังเกตการณ์ คณะกรรมการมีความเป็นกังวลเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนพลังงานไฟฟ้า และโครงการพัฒนาอื่นที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสิทธิของชนพื้นเมือง เช่น ชนพื้นเมือง Mapuche และชุมชนพื้นเมืองอื่น สรุปได้ว่าการหาที่ทำกินแหล่งใหม่ให้กับชนพื้นเมืองและการจ่ายค่าชดเชยยังไม่เป็นธรรม ตามที่กำหนดในมาตรา 27 ของ ICCPR และเมื่อมีการจัดทำแผนปฏิบัติงานที่ส่งผลกระทบต่อชนพื้นเมือง สิ่งแรกที่รัฐจะต้องให้ความสนใจ คือ การดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองและวิถีชีวิต และการมีส่วนร่วมของสมาชิกของชุมชนพื้นเมือง ที่จะตัดสินใจในผลกระทบที่มีต่อพวกเขา"

จากคดีที่ HRC มีคำวินิจฉัยตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่ได้จากการพิจารณาคดี คือ การวางหลักการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างที่ดินและทรัพยากรกับวัฒนธรรมของกลุ่มชนพื้นเมือง การจำกัดการกระทำของรัฐ โดยการทำให้เกิดหน้าที่ต่อรัฐที่จะต้องให้ความเคารพต่อกิจกรรมทางวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจของชนพื้นเมือง และการต้องปรึกษาหารือ ซึ่งเป็นหลักการจำเป็นอย่างยิ่งในการรับรอง และคุ้มครองสิทธิของชนพื้นเมือง

การพิจารณาในเรื่องของการดำเนินการคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรม ภายใต้ข้อบังคับ มาตรา 27 HRC ให้ความเห็นในภาพรวมว่า การแสดงออกทางวัฒนธรรมสามารถปรากฏออกมาในหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการดำเนินชีวิตซึ่งสัมพันธ์กับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในที่ดินนั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีของชาวพื้นเมือง สิทธิดังกล่าวนั้นอาจรวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ เช่น การตกปลาหรือล่าสัตว์และอาจรวมถึงสิทธิการดำรงชีวิตในเขตสงวนซึ่งได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย มาตรการป้องกันและการรับรองสิทธิทางวัฒนธรรมส่งผลให้สมาชิกที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกชนกลุ่มน้อยสามารถมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ที่มีผลกระทบโดยตรง การดำเนินการเหล่านี้ได้รับการคุ้มครองจากคำตัดสินของ HRC เพื่อให้การใช้สิทธิของชนพื้นเมืองได้รับการคุ้มครอง เพื่อให้การดำรงชีวิตตามจารีตประเพณีปฏิบัติสืบทอดตามเจตจำนงของพวกเขาที่ดำรงอยู่ต่อไป

คดีที่ศาลสิทธิมนุษยชนของภูมิภาคอเมริกาตัดสิน เกี่ยวกับสิทธิในที่ดินของชนพื้นเมืองในภูมิภาคอเมริกา
ในภูมิภาคละตินอเมริกาได้มีการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศทำหน้าที่ตัดสินคดีเกี่ยวกับสิทธิของชนพื้นเมือง ตามอนุสัญญาที่เรียกว่า the Pact of San Jose หรือ The American Convention on Human Rights 1969 : ACHR โดยมี 11 ประเทศเข้าเป็นภาคีใน ค.ศ. 1978 ตามอนุสัญญา มีการจัดตั้งองค์กรทำหน้าที่เกี่ยวกับการคุ้มครองดูแลในเรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิในที่ดินของชนพื้นเมือง เรียกว่าระบบสิทธิมนุษยชนของภูมิภาคอเมริกา ซึ่งประกอบด้วยสององค์กรหลัก คือ

- ศาลสิทธิมนุษยชนของภูมิภาคอเมริกา (The Inter-America Court of Human Rights : IACtHR) และ
- คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนของภูมิภาคอเมริกา (The Inter-American Commission on Human Rights : IACHR)

ทั้งสององค์กรทำหน้าที่ในการตัดสินคดีเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคประเทศละตินอเมริกา โดย IAHCR จะทำหน้าที่ในการสอบสวนในลักษณะกึ่งตุลาการ (Quasi-Judicial) ก่อนที่จะมีการนำคดีขึ้นสู่ศาล

ประเทศภาคีที่ยอมรับการตัดสินของศาลสิทธิมนุษยชนของภูมิภาคอเมริกา ได้แก่ อาร์เจนตินา, โบลิเวีย, บราซิล, ชิลี, โคลัมเบีย, คอสตาริกา, สาธารณรัฐโดมินิกัน, เอกวาดอร์, เอล ซาลวาดอร์, กัวเตมาลา, ฮอนดูรัส, เม็กซิโก, นิคารากัว, ปานามา, ปารากวัย, เปรู, อุรุกวัย, และเวเนซูเอล่า

การตัดสินคดีของศาลสิทธิมนุษยชนของภูมิภาคอเมริกา ในคดีที่เกี่ยวข้องกับชนพื้นเมืองท้องถิ่น เช่น (23)

คดี The Awas Tingni v. Nicaragua 2001
ใน ค.ศ. 1995 รัฐบาลนิคารากัวได้ให้สัมปทานป่าไม้บริษัทเอกชนบนที่ดินซึ่งชนพื้นเมืองเผ่า Awas Tingni ครอบครอง โดยการอนุญาตให้บริษัทของประเทศเกาหลี ซึ่งประเทศนิคารากัวก็ได้ยอมรับว่าที่ดินนั้นเป็นของชนพื้นเมืองตามกฎหมาย แต่การแสวงหาประโยชน์ในที่ดินเป็นอำนาจของรัฐไม่ใช่ชุมชนพื้นเมือง ตัวแทนของชนพื้นเมืองได้นำคดีฟ้องต่อ IACHR หลังจากศาลสูงของนิคารากัวตัดสินแล้วว่า การให้สัมปทานไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แต่รัฐบาลก็ยังอนุญาตและวางแผนที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่อไป

IAHCR ได้พิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงจากชนพื้นเมืองแล้วพบว่า ประเทศนิคารากัวได้ละเมิดอนุสัญญาอเมริกาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จึงเรียกร้องให้มีการปักปันเขตแดนของชนเผ่า Awas Tingni และให้ความเคารพต่อสิทธิของพวกเขาในที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ IACHR จึงได้นำคดีฟ้องต่อศาลสิทธิมนุษยชนของภูมิภาคอเมริกาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2000

รัฐบาลประเทศนิคารากัว ยืนยันว่าได้ดำเนินการให้สัมปทานโดยความเคารพต่อสิทธิของชนพื้นเมือง อย่างไรก็ตาม ที่ดินเหล่านั้นก็ยังคงเป็นของรัฐ และชุมชนก็ได้รับที่ดินที่เพียงพอแล้วก่อนที่จะมีการปักปันเขตแดน การอนุญาตให้สัมปทานป่าไม้นั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว นอกจากนี้รัฐบาลนิคารากัวได้โต้แย้งว่าชนพื้นเมืองเผ่า Awas Tingni ไม่ได้เป็นชนเผ่าพื้นเมืองของภูมิภาคอย่างแท้จริง ตามข้อเท็จจริงแล้ววัฒนธรรมของคนกลุ่มนี้ได้ถูกผสมผสานและถูกรวมเข้ากับสมาชิกของกลุ่มอื่นที่เข้ามาอาศัยในที่ดินดังกล่าวด้วย

ศาลสิทธิมนุษยชนของภูมิภาคอเมริกาพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงและข้อโต้แย้งของรัฐบาลนิคารากัวนั้นไม่ได้ให้ความเคารพต่อสิทธิของชุมชนพื้นเมือง ทำให้การกระทำของรัฐบาลฝ่าฝืนต่อ ACHR มาตรา 21 ซึ่งรับรองสิทธิในทรัพย์สินไว้ดังนี้

1. บุคคลมีสิทธิและเสรีภาพในการใช้ทรัพย์สินของตน การจำกัดสิทธินี้ลงโดยกฎหมายต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมเท่านั้น

2. การเวนคืนสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลอื่นจะกระทำมิได้ เว้นแต่ต้องมีการจ่ายค่าทดแทนให้อย่างเป็นธรรม โดยเหตุผลเพื่อประโยชน์สาธารณะ และต้องกระทำโดยกฎหมายเท่านั้น

3. จำนวนดอกเบี้ยที่สูงผิดปกติและการแสวงหากำไรจากทรัพย์สินที่มากเกินควร เป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมาย

ศาลสิทธิมนุษยชนของภูมิภาคอเมริกาได้ให้ความเห็นในคดีไว้ดังนี้ (24)
"กลุ่มชนพื้นเมืองที่ยังมีชีวิตอยู่ ย่อมมีสิทธิในการใช้ชีวิตอยู่อย่างเสรีในที่ดินของตน เป็นที่ยอมรับและเข้าใจว่าความผูกพันของชาวพื้นเมืองกับที่ดินของพวกเขา เกิดจากพื้นฐานทางวัฒนธรรม การใช้ชีวิต การยึดหลักคุณธรรมและการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สำหรับชุมชนพื้นเมืองนั้นไม่ได้มีเพียงแต่กรรมสิทธิ์ในที่ดินและกิจกรรมการผลิตเท่านั้น แต่รวมไปถึงปัจจัยพื้นฐานด้านจิตใจที่พวกเขามีเสรีภาพอย่างเต็มที่ ที่จะสามารถรักษามรดกทางวัฒนธรรมและสืบทอดไปยังคนรุ่นถัดไปด้วย"

ต่อมา ศาลสิทธิมนุษยชนของภูมิภาคอเมริกาได้ทำการพิพากษาว่าสิทธิในที่ดินของชนพื้นเมืองตามจารีตประเพณีได้รับการคุ้มครองตาม ACHR รัฐบาลให้สัมปทานป่าไม้เหนือพื้นที่ของชุมชนเป็นการละเมิดต่อสิทธิในทรัพย์สินของชุมชน และให้รัฐบาลดำเนินการจัดทำแนวเขตที่ดินของชนพื้นเมืองให้แล้วเสร็จ รวมถึงต้องปรับปรุงกฎหมายเพื่อรับรองสิทธิเหนือที่ดินของชนพื้นเมืองให้มีประสิทธิภาพ

การตัดสินในคดี The Awas Tingni v. Nicaragua 200 เป็นคดีแรกที่ได้มีการรับรองสิทธิในที่ดินและการปักปันเขตแดนของชนพื้นเมือง ซึ่งได้เป็นผลให้มีการฟ้องร้องต่อมาอีกหลายกรณี

คดี the Yakye Axa Indigenous Community v. Paraguay 2005 (25)
ในช่วง ค.ศ. 1980 The Choco region ได้อ้างสิทธิเหนือที่ดินของชนพื้นเมืองเผ่า Yakye Axa บริเวณเมือง Pozo Colorado และทำการเคลื่อนย้ายชนพื้นเมืองออกจากพื้นที่ เพื่อเปิดให้มีการสัมปทานดังกล่าวไปเป็นพื้นที่เกษตร ต่อมามีบริษัทต่างๆ เช่น Florida Agriculture Co.Ltd, Livestock Group, EI Estribo Farm, Loma Verde Farm เข้ามาสัมปทานพื้นที่ ชนพื้นเมือง Yakye Axa จึงได้ฟ้องร้องต่อศาลประเทศปารากวัย โดยอ้างถึงการครอบครองที่ดินที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แต่ศาลประเทศปารากวัยได้ยกคำร้อง Thomas Galeano และ Esteban Lopez หัวหน้าชนพื้นเมืองจึงได้ร้องเรียนต่อ IAHCR เพื่อนำคดีฟ้องต่อศาลสิทธิมนุษยชนภูมิภาคอเมริกา คดีนี้ศาลสิทธิมนุษยชนภูมิภาคอเมริกาได้ทำการตัดสินว่า รัฐบาลปารากวัยต้องให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิของชนพื้นเมือง ในการเป็นเจ้าของที่ดินที่สืบทอดตามจารีตประเพณี (The Traditional Land)

นอกจากนั้นยังมีคดีอื่นที่ตัดสินโดยศาลสิทธิมนุษยชนของภูมิภาคอเมริกา เช่น คดี the Moiwana Community v. Suriname 2005 ที่ศาลตัดสินให้สมาชิกของเผ่า Moiwana มีสิทธิตามกฎหมายในการเป็นเจ้าของที่ดินที่สืบทอดตามจารีตประเพณี ตามข้อเรียกร้องภายใต้ ACHR มาตรา 21

แม้ว่าจะมีการรับรองสิทธิชุมชนในรูปแบบของสนธิสัญญา อนุสัญญาต่างๆ ตามที่ได้กล่าวมา แต่สภาพการบังคับของสนธิสัญญาและอนุสัญญาขึ้นกับการตกลงให้สัตยาบันของประเทศต่างๆ นอกจากนั้นสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศจะมีผลในระบบกฎหมายภายในได้ ยังมี 2 ระบบ คือ

- ระบบเอกนิยม (Monism) ซึ่งถือว่า เมื่อสนธิสัญญานั้นได้รับการให้สัตยาบันแล้ว มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายภายในได้ทันที

- ระบบทวินิยม (Dualism) ซึ่งถือว่าเมื่อมีการให้สัตยาบันก็จะมีผลผูกพันระหว่างรัฐกับรัฐในกฎหมายระหว่างประเทศ แต่จะมีผลบังคับเป็นกฎหมายภายในก็ต่อเมื่อ มีการออกกฎหมายภายในมารองรับเสียก่อน เรียกว่า กฎหมายอนุวัติการให้เป็นไปตามสนธิสัญญา(26) ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการใช้บังคับตามสนธิสัญญา ซึ่งแต่ละประเทศไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ และมักจะมีการตั้งข้อสงวนบางมาตราซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เว้นเสียแต่ว่าจะมีข้อห้ามตามอนุสัญญานั้นๆ (27)

นอกจากนี้ การใช้สิทธิยื่นข้อร้องเรียนต่อองค์กรระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิชนพื้นเมือง เช่น HRC ก็ยังมีปัญหาในเรื่องของสภาพการบังคับตามคำวินิจฉัยว่า จะมีสภาพบังคับได้อย่างจริงจังแค่ไหนที่จะให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามคำตัดสิน

แม้ว่าจะได้มีการรับรองสิทธิชุมชนในระดับระหว่างประเทศ ที่เป็นอนุสัญญา และสนธิสัญญาระหว่างประเทศทั้งในระดับโลก และระดับภูมิภาค คำประกาศ และร่างปฏิญญา อย่างไรก็ตาม คำประกาศ และร่างปฏิญญา ไม่ถือว่ามีผลบังคับตามกฎหมาย แต่ก็มีคุณค่าในฐานะที่กำหนดมาตรฐานสากลซึ่งเป็นที่ยอมรับกันของนานาประเทศ สำหรับเอกสารที่เป็นอนุสัญญาหรือสนธิสัญญาจะมีผลบังคับและประสิทธิผลในระดับที่แตกต่างกันไป(28) ขึ้นกับจำนวนรัฐภาคีและการปฏิบัติตามพันธกรณีของประเทศสมาชิก การรับรองสิทธิชุมชนตามกฎหมายระหว่างประเทศจึงยังบทบาทที่จำกัดในการคุ้มครองสิทธิชุมชนอยู่มาก

++++++++++++++++++++++++++++++++คลิกไปอ่านบทความต่อเนื่องลำดับที่ ๑๖๙๑

เชิงอรรถ

(1) กอบกุล รายะนาคร, พัฒนาการของหลักกฎมายสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชน, หน้า 32.
(2) กิตติศักดิ์ ปรกติ,สิทธิชุมชน, หน้า 53-59.
(3) "STUDY GUIDE : The Rights of Indigenous Peoples". [Online]. Available: http://www1.umn.edu/humanrts/edumat/studyguides/indigenous.html (27 November 2007)

(4) "STUDY GUIDE : The Rights of Indigenous Peoples". [Online]. Available: http://www1.umn.edu/humanrts/edumat/studyguides/indigenous.html (27 November 2007)

(5) "STUDY GUIDE : The Rights of Indigenous Peoples". [Online]. Available: http://www1.umn.edu/humanrts/edumat/studyguides/indigenous.html (27 November 2007)

(6) จรัญ โฆษณานันท์, สิทธิมนุษยชนไร้พรมแดน, หน้า 379.
(7) สมชาย ปรีชาศิลปกุล,นิติศาสตร์ชายขอบ (กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2548), หน้า104.
(8) Siegfried Wiessner, "Rights and status of Indigenous Peoples: A Global Comparative and International Legal Analysis", Harvard Human Rights Journal Vol. 12, 1999, p.58.

(9) จรัญ โฆษนานันท์, สิทธิมนุษยชนไร้พรมแดน, หน้า 379.
(10) ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่/ขบวนการเคลื่อนไหวประชาสังคมในต่างประเทศ (กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและผลิตตำรา มหาวิทยาลัยเกริก, 2540), หน้า 36.

(11) เรื่องเดียวกัน
(12)76 จรัญ โฆษณานันท์, สิทธิมนุษยชนไร้พรมแดน, หน้า 380.
(13) เรื่องเดียวกัน
(14) Principle 22 "Indigenous people and their communities and other local communities have a vital role in environmental management and development because of their knowledge and traditional practices. States should recognize and support their identity, culture and interests and enable their effective participation in the achievement of sustainable development."

(15) กอบกุล รายะนาคร, พันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม (กรุงเทพฯ: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2548), หน้า 46-48.

(16) "STUDY GUIDE: The Rights of Indigenous Peoples". [Online]. Available: http://www1.umn.edu/humanrts/edumat/studyguides/indigenous.html (27 November 2007)

(17) Article 27 "In those States in Which ethnic, religious or Linguistic minorities exist, persons belonging to such minorities shall not be denied the right, in community with the other members of their group, to their group, to enjoy their own culture, to profess and practice their own religion, or to use their own language"

(18) Henrique Napoleao Alves, Amerindian Land and Natural Resources Tenure under the International Human Rights Law, A research presented in the XV Semana de Iniciacao Cientifica da UFMG (2006).pp.10-13.

(19) Ibid.,p.9.
(20) Ibid.,p.10.
(21) Ibid.,p.12.
(22) Ibid.,p.13.
(23) Ibid., pp.16-18.

(24) Lisa Strelein., "From Mabo to Yorta Yorta : Native Title Law in Australia", (Journal of Law & Policy) Vol.19: 225, p.248.

(25) Case of the Indigenous Community Yakye Axa v. Paraguay. [Online]. Available: http://escr-net.org/case law/case law_show.htm?doc_id=405985 (19 April 2008)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1650 เรื่อง หนากว่า 33000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๐๑ มีนาคม ๒๕๕๒ : Release date 01 March 2009 : Copyleft MNU.

การขยายตัวของลัทธิอาณานิคม และการก่อตัวของรัฐชาติ ในช่วงศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับชนพื้นเมืองที่ตั้งถิ่นฐานและดำรงชีวิตมาอย่างยาวนาน การเข้าครอบครองของประเทศเจ้าอาณานิคม ได้ส่งผลกระทบต่อชนพื้นเมืองในทุกๆ พื้นที่ เพราะการเข้าครอบครองของประเทศเจ้าอาณานิคม ไม่เพียงเป็นการเข้าครอบครองดินแดนเท่านั้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับชนพื้นเมืองคือ การถูกทำลายชนชาติทั้งชีวิตและวัฒนธรรม นอกจากนั้นการอ้างอำนาจรัฐเหนือดินแดนของประเทศเจ้าอาณานิคม ยังลิดรอนสิทธิต่างๆ ของชนพื้นเมืองทั้งสิทธิในที่ดินและทรัพยากร โดยรัฐอ้างความเป็นเจ้าของและการกำหนดการใช้ประโยชน์ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากรัฐ

H