ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




28-12-2551 (1672)

กำเนิดเวทีสังคมโลก เวทีต่อต้านโลกาภิวัตน์ - ความร่วมมือระหว่างซีกโลกใต้
ปลุกปั้นแอทแทค (ATTAC): ขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ (๒)
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความแปลต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

บทความเกี่ยวกับจุดกำเนิดขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์ ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญ คือ
- ผลของเหตุการณ์ 11 กันยา ต่อเวทีสังคมโลก
- เวทีสังคมโลกครั้งแรกเป็นการวิพากษ์ ครั้งที่สองเป็นการเสนอทางเลือก ครั้งที่สามเป็นเรื่องยุทธศาสตร์
- สัญญาสาธารณรัฐ แรงยึดเหนี่ยวของความเป็นชาติฝรั่งเศส
- ในยุโรป แรงจูงใจในการแปรรูปมีเป้าหมายสองประการ
- ฉันทามติที่คับแคบ" ประชาชนไม่มีความคิดต่างในทางการเมือง
- ศัพท์คำว่า"ยุโรป" (เท่ากับ "เสรีนิยม) ม้าโทรจันของลัทธิเสรีนิยมใหม่ในฝรั่งเศส
- แอทแทค ไม่อยู่ในสายตาของรัฐบาล แต่ประชาชนสนใจมาก
- ล้างพิษออกจากสมองของประชาชน - โลกที่แตกต่างเป็นไปได้
- บทบาทที่น้อยลงของชนชั้นนำทางการเมืองฝรั่งเศส
- ฉันทามติวอชิงตันโผล่มาภายใต้ชื่อใหม่หลากหลาย
- Pierre Bourdieu มีบทบาทอย่างไรกับแอทแทค
- พวก bas-clerge (นักเทศน์ชั้นต่ำ) ของชนชั้นปัญญาชนฝรั่งเศส
- เวทีสังคมโลก แรงขับเคลื่อนเหมือนลูกหิมะที่ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๗๒
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๘ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

(คลิกกลับไปทบทวนเรื่องเดียวกันตอนที่ ๑)

กำเนิดเวทีสังคมโลก เวทีต่อต้านโลกาภิวัตน์ - ความร่วมมือระหว่างซีกโลกใต้
ปลุกปั้นแอทแทค (ATTAC): ขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ (๒)
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

A Movement of Movements
สัมภาษณ์ แบร์นาร์ด กัสซอง Bernard Cassen

ปลุกปั้นแอทแทค(Inventing ATTAC)
Interview Bernard Cassen, "Inventing ATTAC," in Tom Mertes (ed.),
A Movement of Movements, (Verso, 2004).

ผลของเหตุการณ์ 11 กันยา ต่อเวทีสังคมโลก
ถาม: คุณประเมินผลกระทบจากเหตุการณ์ 11 กันยายนและสงครามต่อต้านการก่อการร้ายที่มีต่อเวทีสังคมโลกอย่างไรบ้าง?

ตอบ: เวลาผ่านไปแค่ 4 เดือน จาก 11 กันยายนจนถึงการจัดงานครั้งที่สองในเดือนมกราคม 2002 ในช่วงไม่กี่วันหลังจาก attentat (การวินาศกรรม) เกิดความรู้สึกเคว้งคว้างสับสนอยู่บ้างในหมู่นักกิจกรรมแนวหน้าของแอทแทคในฝรั่งเศส แต่แล้วบุชก็ช่วยเราไว้ด้วยการออกมาพูดว่า ขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์คือขบวนการต่อต้านอเมริกัน คำพูดนั้นช่วยให้มีผู้เข้าร่วมเวทีครั้งที่สองเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าตัว โดยมีตัวแทนจากองค์กรราว 3,000 แห่ง เพราะฉะนั้น ในแง่นี้ สงครามต่อต้านการก่อการร้ายกระตุ้นให้เราแน่วแน่ยิ่งขึ้นที่จะไม่ยอมถูกขู่จนหงอ

ยิ่งบุชพาลอาละวาดหาเรื่องมากแค่ไหน เขาก็กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านรุนแรงยิ่งขึ้นเท่านั้น ในฝรั่งเศสเช่นกัน มีความพยายามที่จะเอาผิดทางอาญากับขบวนการสังคมและเอ็นจีโอ --ซึ่งไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย-- ส่วนในอิตาลี แนวหน้าต่อต้านโลกาภิวัตน์ถูกจับไปบ้างแล้ว การโจมตีตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ทำให้บุชและบรรดาสายเหยี่ยวทั่วโลกสบโอกาสในการจำกัดเสรีภาพของพลเรือน และกลบเกลื่อนข่าวแย่ ๆ ทางด้านเศรษฐกิจ ขบวนการมองเรื่องนี้ทะลุปรุโปร่งอย่างรวดเร็วและต้านทานแรงกดดันได้ดีทีเดียว

ถาม: คุณคิดว่าเป็นไปได้แค่ไหนที่จะแยกแยะวาระดั้งเดิมของเวทีสังคมโลก ออกจากปัญหาความก้าวร้าวทางทหารระดับโลกของสหรัฐอเมริกา?

ตอบ: ประเด็นเรื่องสงครามเข้ามาอยู่ในมุมมองของเวทีสังคมโลก และมันเป็นเรื่องสำคัญแน่-แต่ไม่ใช่สำคัญที่สุด สงครามหรือสันติภาพ ปัญหาของโลกาภิวัตน์ยังคงเหมือนเดิมไม่ว่าในวันที่ 10 กันยายนหรือ 12 กันยายน นั่นคือ ความหิวโหย หนี้สิน ความไม่เท่าเทียม โรคเอดส์ สิ่งที่เราเห็นตอนนี้คือ การปรับกระบวนภายในระเบียบเสรีนิยมใหม่ โดยสหรัฐอเมริกาเป็นฝ่ายได้เปรียบ แน่นอน ยุโรปกับญี่ปุ่นกำลังลงเรือโลกาภิวัตน์ลำเดียวกับสหรัฐอเมริกา แต่บนเรือลำนั้น ยังมีคนที่พยายามแสวงหามาตรการที่ไม่ใช่ลัทธิเสรีนิยมใหม่ เช่น ชั่วโมงทำงานสัปดาห์ละ 35 ชั่วโมง เป็นต้น สถานการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นเอื้ออำนวยให้อเมริกาตอกย้ำอิทธิพลเหนือพันธมิตรได้อีกครั้ง

เวทีสังคมโลกครั้งแรกเป็นการวิพากษ์ ครั้งที่สองเป็นการเสนอทางเลือก ครั้งที่สามเป็นเรื่องยุทธศาสตร์
ผมอยากจะพูดด้วยซ้ำไปว่า การรุกคืบของอเมริกาในปัจจุบันมีเป้าหมายหลักอยู่ที่ 'หุ้นส่วน' ของมันยิ่งกว่าที่อิรักเสียอีก ประเด็นทั้งหมดนี้มีที่ทางอยู่ในเวทีสังคมโลก แต่จะไม่ผูกขาดอยู่แค่ประเด็นเดียว หากเวทีครั้งแรกเป็นโอกาสสำหรับการวิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์ เวทีครั้งที่สองเป็นโอกาสในการนำเสนอทางเลือกอื่น เวทีครั้งที่สามจะเป็นเรื่องของยุทธศาสตร์ จะมีการตั้งคำถามในเชิงปฏิบัติการมากขึ้น: เราควรลงมือทำอะไรบ้าง? ประเด็นสงครามเป็นประเด็นที่สำคัญมาก แต่จะไม่ครอบงำเหมือนในอิตาลี ที่เวทีสังคมยุโรปในเมืองฟลอเรนซ์ สงครามกลบเรื่องอื่น ๆ ไปโดยสิ้นเชิง

ถาม: ไม่น่าประหลาดใจไม่ใช่หรือ?

ตอบ: การพิเคราะห์เรื่องสงครามเป็นประเด็นร้อนแรงในอิตาลีมากกว่าในฝรั่งเศส ส่วนหนึ่งคงเพราะมีฐานทัพสหรัฐฯ ตั้งอยู่ที่นั่น ซึ่งกรณีแบบนี้ไม่มีในประเทศของเรา. ที่ฟลอเรนซ์ บางทีมีเสียงพูดด้วยซ้ำไปว่า ไม่มีการปลุกระดมต่อต้านสงครามในฝรั่งเศส เพราะแอทแทคไม่ยอมให้มี นี่เป็นเรื่องน่าขัน ความจริงก็คือ ประธานาธิบดีชีรัก ทำให้การประท้วงเป็นไปได้ยาก การที่ชีรักแสร้งทำเป็นขัดขืนต่อแรงกดดันของอเมริกัน ทำให้เขาเป็นที่นิยมมากในโลกอาหรับ และลดทอนศักยภาพที่ชาวฝรั่งเศสจะออกมาเดินขบวนประท้วงตัวเขา แม้ว่ากลเม็ดนี้อาจทำต่อไปได้ไม่กี่น้ำก็ตาม

ในอิตาลี สถานการณ์แตกต่างออกไปมากทีเดียว สงครามเป็นประเด็นแกนกลางที่นั่นอย่างแท้จริง แต่ก็มีฉากหลังเป็นการต่อสู้ทางสังคมในเรื่องใหญ่ ๆ มีความชิงชังเบอร์ลุสโคนีอย่างกว้างขวาง และมีขบวนการสหภาพแรงงานที่ทรงพลัง ซึ่งนำโดย CGIL (Confederazione Generale Italiana del Lavoro) (*) บริบทที่นั่นมีความร้อนแรงดุเดือดกว่าในฝรั่งเศสมาก และประเด็นสงครามกลายเป็นเรื่องที่ทุกคนหมกมุ่นอย่างแท้จริง พอรู้ว่าเวทียุโรปจะจัดกันในอิตาลี และพรรค Rifondazione (7) จะปลุกระดมโดยยึดประเด็นนี้เป็นหัวใจสำคัญแน่ ๆ เราทุกคนก็ตกลงกันว่า สงครามจะเป็นประเด็นโดดเด่นในฟลอเรนซ์ ควบคู่ไปกับคำขวัญที่คิดกันไว้ตั้งแต่แรกว่า: 'เราต้องการยุโรปที่แตกต่าง' แต่พอเราค้นพบว่า โปสเตอร์การเดินขบวนทั้งหมดพูดแต่เรื่องสงครามอย่างเดียว โดยไม่เอ่ยถึงยุโรปเลย

(*) The Italian General Confederation of Labour (CGIL) is a national trade union centre in Italy. It was formed by agreement between socialists, communists, and Christian democrats in the "Pact of Rome" of June 1944. But in 1950, socialists and christian democrats split forming UIL and CISL, and since then the CGIL has been influenced by the Communist Party (PCI).

It has been the most important Italian trade union since its creation. It has a membership of over 5,5 million. The CGIL is affiliated with the International Trade Union Confederation and the European Trade Union Confederation, and is a member of the Trade Union Advisory Committee to the OECD.

(7) หมายถึงพรรค Partito della Rifondazione Comunista (Communist Refoundation Party) ของอิตาลี (ผู้แปล)

ผมไม่พูดหรอกว่าผมประหลาดใจเสียทีเดียว แต่ถ้าเวทีจัดในฝรั่งเศส มันคงไม่กลายเป็นแบบนี้ สงครามคงเป็นวาระหนึ่ง แต่ไม่ใช่หมกมุ่นอยู่กับมันอย่างเดียว เพราะไม่ว่าสงครามปะทุหรือไม่ เครื่องบินรบบี-52 และกองกำลังพิเศษต่าง ๆ ไม่มีทางเปลี่ยนแปลงความยากจนในบราซิล หรือความอดอยากในอาร์เจนตินาได้หรอก

ถาม: ความแตกต่างที่คุณวาดภาพให้เห็นไม่ขัดแย้งในตัวเองหรอกหรือ? เพราะหากกล่าวถึงที่สุดแล้ว รัฐอิตาลี -- ต่อให้อยู่ภายใต้รัฐบาลเบอร์ลุสโคนีก็ตาม -- มีบทบาทเล็กน้อยมากในกระแสการแทรกแซงทางทหารของตะวันตกที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ในขณะที่รัฐฝรั่งเศสต่างหากที่เข้าร่วมเต็มพิกัดในทุกสงครามที่เกิดขึ้น ไม่ว่าในสงครามอ่าว, บอลข่าน, อัฟกานิสถาน และอาจรวมถึงอิรักในวันพรุ่งนี้ ฝ่ายอิตาเลียนอาจจะพูดว่า: นี่อาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญในสายตาของแอทแทค แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ฝ่ายซ้ายฝรั่งเศสมีประวัติอ่อนหัดในการต่อต้านสงครามทุกชนิดอยู่แล้ว นับตั้งแต่สงครามอินโดจีนและแอลจีเรียเป็นต้นมา

ตอบ: จริงทีเดียว ในฝรั่งเศส การที่พรรคคอมมิวนิสต์แปรพักตร์ไปสนับสนุน Nuclear Force de frappe (8) ในช่วงทศวรรษ 1970 ขณะที่มันเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุดของฝ่ายซ้าย นับเป็นจุดหักเห จารีตของขบวนการสันติภาพไม่ว่าแบบไหนก็ไม่เคยมีอยู่ในปารีส และไม่เคยมีการระดมมวลชนต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์ที่นี่เหมือนอย่างที่คุณมีในอังกฤษ ทุกวันนี้ มีความเห็นพ้องต้องกันเป็นเอกฉันท์ในสถาบันทางการเมืองที่อยู่เบื้องหลังหัวรบนิวเคลียร์ของฝรั่งเศส ในอีกด้านหนึ่ง ถ้ามีสงครามอิรักเกิดขึ้น จะมีการประท้วงระดับมวลชนเกิดขึ้นแน่-ผมมั่นใจมาก ชีรักจะได้น้อย-เสียมาก หากเขาเข้าร่วมในการเดินทัพของอเมริกัน เพราะจนถึงบัดนี้ เขาได้แต้มมาไม่น้อยทีเดียวกับการวางท่าต่อต้านคัดค้าน แต่ถ้าตัดสินจากพฤติกรรมก่อน ๆ หน้านี้ของเขาล่ะก็ เขาสามารถทำได้แน่

(8) หมายถึงการมีกองกำลังอาวุธนิวเคลียร์ทั้งทางอากาศ ทางทะเลและภาคพื้นดิน (ผู้แปล)

ถาม: คุณต้องการวางตำแหน่งของแอทแทคในประวัติศาสตร์อย่างไร? เป็นเวลานานทีเดียวที่ฝรั่งเศสเคยเป็นประเทศในยุโรป ที่ประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ เกือบทั้งหมดมองว่า เป็นผู้นำทางการเมือง-อาจยกเว้นแต่ชาวอิตาเลียนเท่านั้น นี่เป็นประเพณีที่ย้อนกลับไปจนถึงสมัยปี ค.ศ. 1789, 1830, 1848, 1871 มาจนถึงปี 1968 แต่หลังจากนั้น มันดูเหมือนจืดจางไป เราควรมองแอทแทคว่าเป็นการฟื้นฟูประเพณีดั้งเดิมนี้หรือเปล่า กล่าวคือ เป็นการริเริ่มสร้างสรรค์ของฝรั่งเศส ในยุคที่มีปฏิกิริยาต่อต้านอยู่ลึก ๆ ซึ่งได้รับเสียงขานรับอย่างกว้างขวางในนานาประเทศอย่างรวดเร็ว?

สัญญาสาธารณรัฐ แรงยึดเหนี่ยวของความเป็นชาติฝรั่งเศส
ตอบ: ผมกล่าวย้ำในตอนต้นแล้วว่า แอทแทคเป็นรูปเป็นร่างได้โดยอาศัยผลสะท้อนจาก Le Monde diplomatique ซึ่งมีผู้อ่านระดับนานาชาติอยู่แล้วก่อนที่แอทแทคจะก่อตั้ง แต่มันก็เป็นสิ่งที่ฝังรากลึกในประเพณีอย่างหนึ่งภายในสังคมฝรั่งเศสที่เก่าแก่ยิ่งกว่าด้วย นั่นคือ la fonction publique ในฝรั่งเศส บริการสาธารณะต่างๆ อาทิเช่น การศึกษา, การขนส่ง, สาธารณูปโภค ไม่ใช่แค่วิธีการทางเทคนิคในการส่งผ่านความอยู่ดีกินดีแก่พลเมืองเท่านั้น แต่ยังถือเป็นพันธะของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคมด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิด 'สัญญาสาธารณรัฐ' ที่สร้างแรงยึดเหนี่ยวของความเป็นชาติ

ความยึดมั่นในบริการสาธารณะเหล่านี้ฝังลึกมากในวัฒนธรรมฝรั่งเศส ดังจะเห็นได้จากขบวนการนัดหยุดงานครั้งยิ่งใหญ่ในปี ค.ศ. 1995 ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ในภาคสาธารณูปโภคอย่างแท้จริง เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินของปารีสไม่แล่น คนที่นี่ต้องใช้เวลาเกือบสามชั่วโมงทุกวันเพื่อเดินทางจากเมืองวินเซนส์ ซึ่งบ้านของผมอยู่ที่นั่น เพื่อเข้ามาทำงานในเมือง และอีกสามชั่วโมงเพื่อกลับบ้าน แต่ทุกคนทำราวกับว่า พนักงานสาธารณูปโภคกำลังนัดหยุดงานเพื่อประชาชนทุก ๆ คน นี่เป็นสิ่งที่วิเศษมาก ราวกับพวกเขาได้รับมอบฉันทะให้นัดหยุดงาน แทนที่จะมีเสียงบ่นด่าว่ากล่าว ขบวนการกลับได้รับความนิยมล้นหลาม นั่นคือเหตุผลที่รัฐบาลต้องยอมถอย

ในยุโรป แรงจูงใจในการแปรรูปมีเป้าหมายสองประการ
สิ่งที่เราเห็นชัดเจนมากก็คือ ในจิตสำนึกของประชาชน ภาคสาธารณูปโภคเป็นด่านแรกของการปกป้องสิทธิพลเมือง ประชาชนตระหนักดีว่า ถ้าสาธารณูปโภคพังทลายลง ประชาชนก็รอคิวขึ้นเขียงได้เลย แน่นอน สมรภูมิแย่งชิงสาธารณูปโภคเกิดขึ้นทั่วโลก แรงจูงใจในการแปรรูปมีเป้าหมายสองประการด้วยกัน ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรปแทบไม่คิดปิดบังซ่อนเร้น มันคืออะไรนะหรือ?

ประการแรก เพื่อยุติสภาพการณ์ที่ธนาคารและบริษัทประกันทั้งหลาย แลเห็นเงินก้อนมหึมาไหลเวียนอยู่ใต้จมูก
ทั้งในระบบบำเหน็จบำนาญหรือระบบประกันสังคม ซึ่งพวกเขาแตะต้องไม่ได้ แค่คิดก็ทำให้บรรษัทพวกนี้คันคะเยอแล้ว

ประการที่สอง เพื่อบั่นทอนกลุ่มพลังต่อต้านลัทธิเสรีนิยมใหม่ พนักงานในภาคสาธารณูปโภคมีสิทธิตามกฎหมายที่จะนัดหยุดงานและใช้สิทธินั้นเต็มที่
ถ้าคุณสามารถลดจำนวนพนักงานในภาคนี้ลงได้ เท่ากับคุณลดทอนช่องทางในการต่อต้านขัดขืนระเบียบเสรีนิยมใหม่ให้อ่อนเปลี้ยลง

แอทแทคอุบัติขึ้นมาจากโลกแบบนี้นี่เอง ดังที่การก่อกำเนิดของมันชี้ให้เห็น เราเป็นผู้สืบทอดจารีตเก่าแก่และดำเนินตามตรรกะนั้นในแบบของเรา แต่แน่นอน มันมีเหตุการณ์ต่าง ๆ ในโลกช่วงปลายยุค '90 ที่เป็นแรงผลักดันด้วย. อิกนาซิโอ ราโมเนต์ เขียนบทบรรณาธิการในเดือนธันวาคม 1997 ตอนที่วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียกำลังพุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุด (2540 วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง) ราวกับนี่คือตัวอย่างในชีวิตจริงของข้อเขียนต่อต้านโลกาภิวัตน์ทั้งหมดที่วารสารเคยตีพิมพ์มา นั่นสร้างความน่าเชื่อถือที่ทรงพลังให้แก่การปลุกปั้นแอทแทค

"la pense unique - ฉันทามติที่คับแคบ" ประชาชนไม่มีความคิดต่างในทางการเมือง
ถาม: การนัดหยุดงานประท้วงครั้งยิ่งใหญ่ในปี 1995 ที่ฝรั่งเศส ตามมาด้วยวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียปี 1997 อธิบายว่าทำไมแอทแทคจึงเป็นตัวเป็นตนมาตั้งแต่ก่อนการประท้วงที่ซีแอตเติ้ล แต่ยังมีปริศนาประการหนึ่งเกี่ยวกับการกำเนิดของแอทแทค หากเราดูรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นทางการของการเมืองฝรั่งเศสตลอดช่วง 20 ปีที่แล้ว ตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีมิตเตอรองด์เป็นต้นมา จุดศูนย์ถ่วงของมันเคลื่อนไปทางฝ่ายขวามาโดยตลอด เรื่องที่น่าขันก็คือ ชีรักเองเป็นคนจุดประเด็นให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่า แนวคิดในแบบ la pensee unique (9) เป็นฉันทามติที่คับแคบ แต่ต่อมา ตัวเขากลับกลายเป็นตัวอย่างหนึ่งที่เห็นชัดที่สุดของแนวคิดนี้ ไม่ว่ารัฐบาลชุดนั้น ๆ จะได้ชื่อว่ามาจากฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวา นโยบายยังคงเหมือนเดิมตลอด

(9) สำนวนภาษาฝรั่งเศส la pensee unique หมายถึง บริบททางสังคมที่ทำให้ประชาชนแทบจะไม่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในทางการเมืองเลย. ในบริบทแบบนี้ ประชาชนไม่สนใจแล้วว่า นักการเมืองอยู่พรรคฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวา เพราะนโยบายของทั้งสองปีกมีความคล้ายคลึงกันจนแทบแยกไม่ออก. หนังสือพิมพ์การเมืองหรือนิตยสารแนววิเคราะห์การเมืองต่างก็วิเคราะห์กระบวนการทางการเมืองในแนวทางคล้าย ๆ กันไปหมดด้วย จุดยืนแบบถอนรากถอนโคนถูกทำให้เจือจางลงหรือไม่ก็หดหายไปเลย

การขึ้นมาครองความเป็นใหญ่ของ la pensee unique มาจากการที่บรรษัทยักษ์ใหญ่เข้ามาครอบงำสื่อมวลชนและการสื่อสารได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทั้งการเข้ามาเป็นเจ้าของกิจการเอง หรือควบคุมโดยผ่านการซื้อโฆษณา ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่เลี้ยงสื่อมวลชน ประกอบกับพรรคการเมืองเองพยายามดำเนินนโยบายสายกลางแบบไหนก็ได้ ที่คิดว่าจะดึงดูดคะแนนเสียงเลือกตั้งจากประชาชนให้ได้มากที่สุด จนทำให้นโยบายของทุกพรรคเหมือนกันไปหมด (ผู้แปล)

ทุกครั้งที่เลือกตั้ง ประชาชนลงคะแนนเสียงไม่เอารัฐบาลที่ดำเนินนโยบายแบบนี้ แต่แล้วรัฐบาลใหม่ก็สานต่อนโยบายเหมือนเดิมทุกทีไป คุณจะอธิบายความขัดแย้งในตัวเองที่น่าประหลาดนี้อย่างไรดี: การมีจารีตแบบถึงรากถึงโคนที่ยังไม่จางหายไปไหน และสำแดงออกมาในขบวนการประท้วงที่เข้มแข็งที่สุดครั้งหนึ่งในยุโรป แต่กระนั้นกลับไม่สามารถสร้างผลกระทบใด ๆ เลยต่อการเมืองฝรั่งเศสที่ตั้งอยู่บนหอคอยงาช้างอย่างไม่ยอมสั่นคลอน?

ตอบ: นี่เป็นประเด็นที่ซับซ้อนมาก ผมคงตอบอะไรไม่ได้มากนัก นอกจากชี้ให้เห็นองค์ประกอบสองสามประการ เรื่องนี้ต้องอาศัยการไตร่ตรองทางทฤษฎีมากกว่านี้และใช้เวลานานกว่านี้ แต่ในประการแรก คุณต้องระลึกว่า มีการแบ่งแยกอย่างลึกซึ้งทางประวัติศาสตร์ระหว่างฝ่ายขวากับฝ่ายซ้ายในวิถีชีวิตแบบฝรั่งเศส จนกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับจารีตทางการเมืองของเรา นี่เป็นการแบ่งแยกที่ยังดำเนินต่อมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเนื้อหาจะเสื่อมคลายหรือสูญหายไปแล้วก็ตาม เพราะฉะนั้น จึงมีแนวคิดส่วนหนึ่งที่เห็นว่า รัฐบาลฝ่ายซ้ายแย่ ๆ ไม่ว่ารัฐบาลไหน ก็ยังน่าเลือกมากกว่ารัฐบาลดี ๆ ของฝ่ายขวาเสมอ คุณสามารถเห็นทัศนคติแบบนี้มีอิทธิพลในการเลือกตั้งเทศบาลและสภานิติบัญญัติทุกครั้งในฝรั่งเศส ระบบการลงคะแนนเสียงสองรอบยิ่งเกื้อหนุนให้แนวคิดนี้แข็งแกร่ง ไม่มีทางเปลี่ยนความคิดนี้ในชั่วข้ามคืนได้

ศัพท์คำว่า"ยุโรป" (เท่ากับ "เสรีนิยม) ม้าโทรจันของลัทธิเสรีนิยมใหม่ในฝรั่งเศส
ทีนี้ พรรคสังคมประชาธิปไตยในฝรั่งเศส ก็เช่นเดียวกับที่อื่น ๆ ในโลก มันเกิดความเบี่ยงเบนที่หันเหไปทางลัทธิเสรีนิยมใหม่อย่างคลุ้มคลั่ง ซึ่งมักทำให้รัฐบาลฝ่ายซ้ายคลั่งไคล้ในการเปิดเสรีและแปรรูปไม่แพ้รัฐบาลฝ่ายขวา เหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงก็คือ แรงกดดันอันดับหนึ่งให้เปิดเสรีมาจากสหภาพยุโรป ซึ่งพรรคสังคมประชาธิปไตยให้การสนับสนุนมากกว่าพรรคอนุรักษ์นิยม

ในฝรั่งเศส ดังที่ อแลง ตูแรน (Alain Touraine) ยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า มีการหลีกเลี่ยงไม่ยอมใช้คำว่า 'เสรีนิยม' เป็นเวลานาน ดังนั้น จึงต้องหาคำอื่นขึ้นมาใช้แทนมัน นั่นคือคำว่า 'ยุโรป' หลายสิ่งหลายอย่างทำลุล่วงไปได้ในนามของยุโรป มิฉะนั้นแล้วก็ไม่มีทางฝ่าด่านไปได้เลย ในแง่นี้ ยุโรปคือม้าโทรจันของลัทธิเสรีนิยมใหม่ในฝรั่งเศส

คุณสามารถเห็นเรื่องนี้ชัดเจนมากในกรณีตำแหน่งประธานาธิบดีของมิตเตอรองด์ ในปี 1988 หลังจากเขาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง แนวนโยบายฉบับแรกของยุโรปว่าด้วยการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีในอียูก็ออกมาบังคับใช้ มันผ่านการรับรองจากบาลาดูร์ (Balladur) ในฐานะรัฐมนตรีการคลังระหว่างการเป็นรัฐบาลร่วมในสมัยที่แล้ว พอ PS (พรรคสังคมนิยม) กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง เบเรโกวัว (Beregovoy) เข้าไปหามิตเตอรองด์และถามว่า 'มองซิเออร์ ฯพณฯ ประธานาธิบดี ผมควรจะทำอย่างไร? ผมควรต่อสู้เพื่อแนวนโยบายปรับปรุงการเก็บภาษีเงินทุนในประชาคมยุโรปเพื่อสร้างมาตรการคุ้มครองดีไหม?' มิตเตอรองด์ตอบกลับมาง่าย ๆ ว่า 'เบเรโกวัว คุณสนับสนุนยุโรปหรือต่อต้านล่ะ?' เบเรโกวัวเข้าใจทันทีว่าเขาไม่มีทางเลือก มิตเตอรองด์จงใจเลือกให้มียุโรปเสรีนิยมใหม่ยิ่งกว่าไม่มียุโรปเลย แต่ถึงที่สุดแล้ว แนวคิดเกี่ยวกับยุโรปแบบของเขามีมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกเลิกใหม่ ๆ

แอทแทค ไม่อยู่ในสายตาของรัฐบาล แต่ประชาชนสนใจมาก
จุดยืนแบบนี้มีอิทธิพลต่อพรรคการเมืองทุกพรรค รวมทั้งพรรคคอมมิวนิสต์ด้วย. Le Monde diplomatique และแอทแทค วิพากษ์วิจารณ์ประเด็นนี้มาอย่างต่อเนื่อง ด้วยข้อถกเถียงที่ตกผลึกจนกลายเป็นกรอบที่มีบทบาทในการเผยแพร่ความรู้และการปฏิบัติ รวมทั้งอยู่ในบริบทสากลที่มีเสียงสะท้อนตอบรับอย่างแท้จริง จนถึงวันนี้ เราสร้างผลกระทบต่อรัฐบาลฝรั่งเศสได้น้อยมากก็จริง แต่เราคำนึงถึงยุทธศาสตร์ระยะกลางเสมอ และไม่ค่อยใส่ใจมากนักกับวงจรการเลือกตั้งในฝรั่งเศส บรรดาชนชั้นนำไม่เห็นเราอยู่ในสายตา แต่ขบวนการต่าง ๆ และประชาชนให้ความสนใจเรา กระนั้นก็ตาม ถึงที่สุดแล้ว ผู้รับฟังที่เป็นเป้าหมายใหญ่ของเราคือระดับนานาชาติยิ่งกว่าระดับชาติ

ล้างพิษออกจากสมองของประชาชน - โลกที่แตกต่างเป็นไปได้
วัตถุประสงค์พื้นฐานของเรา อย่างที่ผมพูดบ่อย ๆ ก็คือ การล้างพิษออกจากความคิดของประชาชน เราถูกยัดเยียดลัทธิเสรีนิยมใหม่ใส่หัวของเราตลอดเวลา มันเป็นไวรัสในเซลล์สมอง และเราต้องขจัดออกไปให้หมดสิ้น เราต้องแสวงหาจุดเริ่มต้นที่จะคิดอย่างอิสระอีกครั้ง ซึ่งหมายถึงการเชื่อมั่นว่า มีบางสิ่งบางอย่างที่สามารถทำได้ เพราะในปัจจุบัน มีความรู้สึกฝังใจเกิดขึ้นทั่วไปว่า ในทางการเมืองนั้น เราทำอะไรไม่ได้อีกแล้ว นี่คือเหตุผลที่คำขวัญของเรา 'โลกอีกใบหนึ่งเป็นไปได้' จึงเป็นบางสิ่งบางอย่างคล้ายกับการปฏิวัติทางวัฒนธรรม

มันหมายความว่า เราไม่ได้ถูกสาปให้อยู่กับลัทธิเสรีนิยมใหม่ เราสามารถสร้างนิมิตหมายถึงหนทางอื่น ๆ ในการดำเนินชีวิตและจัดระบบสังคมนอกเหนือไปจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น ภารกิจของเราจึงเป็นการชักชวนคนจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ให้เชื่อมั่นในความเป็นไปได้ของทางเลือกอื่น ๆ และแผ้วถางผืนดินเตรียมไว้ให้การครองความเป็นใหญ่ในแบบของกรัมชี ที่จะเอื้อให้นโยบายที่แตกต่างออกไปกลายเป็นความจริงขึ้นมา

คุณมีจุดยืนอย่างไรต่อโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ ?
จนถึงขณะนี้ เรามีอิทธิพลมากพอสมควรต่อความคิดเห็นของสาธารณชนทั่วไป และได้รับเสียงสะท้อนบ้างจากพรรคการเมืองต่าง ๆ แม้กระทั่งในพรรคฝ่ายขวา แต่ยังจัดว่ามีความก้าวหน้าน้อยมาก เช้าวันนี้ ผมได้รับเชิญให้ไปปาฐกถาในการประชุมใหญ่ของพรรค PS การประชุมช่วงแรกมุ่งที่คำถามว่า: 'การจัดตั้งรูปแบบไหนที่เราต้องการ?' ส่วนการประชุมช่วงที่สองตั้งคำถามว่า: 'แนวคิดแบบไหนที่เราต้องการ?' ราวกับคุณสามารถตัดสินปัญหาต่าง ๆ ตามลำดับแบบนั้น!

ผมกล่าวแก่พวกเขาว่า สำหรับพวกเรา เส้นแบ่งขั้นพื้นฐานก็คือ คุณมีจุดยืนอย่างไรต่อโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ ตราบใดที่คุณยังไม่ชัดเจนในเรื่องนี้ ก็เท่ากับคุณชิงยอมแพ้ไปก่อนแล้ว มันไม่มี juste milieu (ทางสายกลาง) ที่เปิดช่องให้คุณหลีกเลี่ยงประเด็นนี้ การพูดว่า ครับ ๆ กับคณะกรรมาธิการยุโรป แล้วพูดว่า ไม่ กับ IMF เป็นตลกโปกฮาที่หลอกใครไม่ได้อีกแล้ว แน่นอน ที่ประชุมส่วนใหญ่ตั้งแง่กับสิ่งที่ผมพูดอย่างออกนอกหน้า แต่มีคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่เข้มแข็งเริ่มหันมารับฟังและตั้งคำถาม ถ้าวัดกันในด้านวิชาการ ส่วนใหญ่เราเป็นฝ่ายชนะ คุณดูได้จากรายชื่อหนังสือที่ขายอยู่ในร้านหนังสือฝรั่งเศส

บทบาทที่น้อยลงของชนชั้นนำทางการเมืองฝรั่งเศส ???
ถาม: มีคำอธิบายอะไรบ้าง ต่อความล้มเหลวอย่างน่าประหลาดของชนชั้นนำทางการเมืองฝรั่งเศสบนเวทีนโยบายต่างประเทศ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ดูเหมือนฝรั่งเศสสูญเสียความสามารถในเชิงยุทธศาสตร์ไปโดยสิ้นเชิง การขยายตัวของอียูในปัจจุบันเป็นตัวอย่างหนึ่งที่เห็นตำตา ชนชั้นนำฝรั่งเศสได้อะไรจากการที่สหภาพยุโรปมีสมาชิกถึง 25 ประเทศ โดยที่สหรัฐอเมริกาเรียกร้องอย่างเปิดเผยให้รับตุรกีเข้าร่วมอย่างเร่งด่วนด้วย เพื่อใช้เป็นฐานสำหรับลงมือทำสงครามในอิรัก? ไม่ใช่ความลับเลยว่า ทำไมชนชั้นนำอังกฤษจึงยินดีปรีดากับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ในเมื่อพวกอังกฤษต้องการหาทางทำให้ประชาคมยุโรปคลายความเข้มแข็งลงเสมอมา แต่เกิดอะไรขึ้นกับชนชั้นนำในฝรั่งเศส ทำไมพวกเขาถึงยอมรับมันอย่างง่ายดายปานนี้?

ตอบ: การถกเถียงเกี่ยวกับสหภาพยุโรปในฝรั่งเศสมีความแตกต่างจากประเทศในภาคพื้นทวีปยุโรปอื่นๆ เสมอมา ในประเทศอื่นๆ มีฉันทามติที่เห็นชอบกับการรวมตัว การจับมือกันระหว่างฝ่ายคริสต์กับสังคมประชาธิปไตย ฉันทามตินี้ไม่มีอยู่ในฝรั่งเศส มีแต่ความแตกแยกอย่างแหลมคมระหว่างสองฝ่าย

- ฝ่ายหนึ่ง คือสังคมประชาธิปไตยและกลุ่มที่เปรียบได้ว่าเป็นคริสต์ประชาธิปไตยในฝรั่งเศส
- อีกฝ่ายหนึ่ง คือพวก Gaullist (10) และคอมมิวนิสต์

(10) ผู้นิยมนโยบายตามแนวทางของอดีตประธานาธิบดีเดอโกล กล่าวคือ แนวทางอนุรักษ์นิยม ชาตินิยมและรัฐบาลที่มีอำนาจรวมศูนย์ (ผู้แปล)

นี่เป็นความแตกร้าวทางโครงสร้างที่เกิดมาจากประชาคมความมั่นคงแห่งยุโรป (European Defense Community) (11). ในปี 1954 และยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ ผู้สนับสนุนสหภาพยุโรปไม่เคยได้เสียงส่วนใหญ่อย่างมั่นคงเลย ดังนั้น พวกเขาจึงไม่อยากให้มีการถกเถียงเรื่องสหภาพยุโรปอย่างจริงจัง พวกเขากลัวว่า การวิวาทะอย่างเป็นรูปธรรมในรายละเอียดอาจเท่ากับหยิบยื่นอาวุธให้ฝ่ายปรปักษ์ ดังนั้น พวกเขาจึงหาทางหลีกเลี่ยงเสมอมา เนื่องจากคอยป้องกันตัวเองอย่างรัดกุม การประชาพิจารณ์เรื่องสหภาพยุโรปจึงเกิดขึ้นน้อยมากในฝรั่งเศส จวบจนกระทั่งปลายยุค '80

(11) ประชาคมความมั่นคงแห่งยุโรปเป็นสนธิสัญญาที่ลงนามในเดือนพฤษภาคม 1952 โดยมีฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, เบลเยียม, เนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก เพื่อตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของสหรัฐอเมริกาให้เยอรมนีตะวันตกสร้างกองทัพขึ้นมาใหม่ สืบเนื่องมาจากความหวั่นกลัวภัยคอมมิวนิสต์ แต่ในที่สุด สนธิสัญญานี้ต้องล้มเหลวลงในเดือนสิงหาคม 1954 สาเหตุเพราะไม่สามารถได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากในรัฐสภาฝรั่งเศส (ผู้แปล)

ครั้นแล้ว ใน ค.ศ. 1992 มิตเตอรองด์ตัดสินใจจัดให้มีการลงประชามติเกี่ยวกับสนธิสัญญามาสตริคต์ (12) มีการระดมยิงถี่ยิบทั้งทางการเมืองและสื่อมวลชน เพื่อโน้มน้าวประชาชนให้ตอบรับ หนังสือพิมพ์ทุกฉบับเรียกร้องให้ประชาชนลงมติรับรอง สถานีโทรทัศน์ทุกช่องถล่มข้อความเดียวกันใส่บ้านทุกหลัง บุคคลเด่นดังในสังคมส่วนใหญ่ประกาศตัวสนับสนุน กระนั้น ตัวเลขก็ยังจบลงโดยมีประชาชนที่ลงประชามติถึง 49% ปฏิเสธสนธิสัญญาฉบับนี้ มันผ่านการรับรองประชามติมาได้ฉิวเฉียดเหมือนปาฏิหาริย์ ไม่ว่าด้วยเหตุผลดีเลวอย่างไร ทัศนคติของประชาชนไม่ได้เดินเซื่อง ๆ ตามคำสั่งจากเบื้องบน นี่คือเหตุผลที่ทำให้สนธิสัญญาหลังจากนั้นทุกฉบับ ไม่ว่าสนธิสัญญานีซหรือฉบับไหนก็ตาม ไม่เคยมีการจัดลงประชามติอีกเลย โอกาสแพ้ประชามติมีสูงเกินไป

(12) Treaty of Maastricht สนธิสัญญาที่ลงนามตกลงกันระหว่างสมาชิก 12 ประเทศ โดยในแต่ละประเทศต้องมีการให้สัตยาบันในระดับชาติก่อน สนธิสัญญานี้มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า "สนธิสัญญาสหภาพยุโรป" ในแต่ละประเทศมีความไม่ลงรอยเกี่ยวกับสนธิสัญญานี้ต่างกันไป อังกฤษไม่ยอมรับกฎบัตรทางสังคมในสนธิสัญญา ที่มุ่งคุ้มครองสิทธิของแรงงาน จนสุดท้ายต้องตัดส่วนนี้ออกไปจากสนธิสัญญา และให้ประเทศสมาชิกอื่น ๆ มาลงนามในพิธีสารต่างหาก อังกฤษยังยืนยันสิทธิที่จะไม่ใช้เงินตราสกุลยูโรด้วย ส่วนเดนมาร์กนั้น การลงประชามติครั้งแรกไม่ผ่าน แต่มาผ่านในการลงประชามติครั้งที่สอง โดยขอสิทธิยกเว้นเงื่อนไขในด้านการเงินและการทหาร (ผู้แปล)

ดังนั้น จึงไม่มีการประชาพิจารณ์เกี่ยวกับสหภาพยุโรปในฝรั่งเศส เพราะฝ่ายที่สนับสนุนสหภาพยุโรปมองว่า ตัวเองเป็นเสมือนป้อมปราการภายใต้วงล้อม จึงไม่อยากจุดประเด็นที่อาจเผยให้เห็นความแตกแยกหรือเป็นผลดีต่อฝ่ายตรงข้าม ทุกวันนี้ไม่มีการอภิปรายถกเถียงใด ๆ ทั้งสิ้นเกี่ยวกับการขยายสหภาพยุโรป --ไม่มีโดยสิ้นเชิง-- เพราะนี่คือการทำให้ชีวิตดำเนินไปอย่างสะดวกสบายสำหรับบรรษัทข้ามชาติและตลาดการเงิน แอทแทคนิยามการขยายสหภาพว่าเป็นแผนการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจสำหรับยุโรปตะวันออกตามแนวทางของ IMF

ฉันทามติวอชิงตันโผล่มาภายใต้ชื่อใหม่หลากหลาย
การเรียกร้องภาพของยุโรปในอีกแบบหนึ่ง

ทุกวันนี้ ฉันทามติวอชิงตันโผล่มาภายใต้ชื่อใหม่ๆ หลากหลายชื่อ ในยุโรปตะวันตก เรามี ECB (ธนาคารกลางยุโรป) และสนธิสัญญาเพื่อสร้างเสถียรภาพ (Stability Pact) (13) ในยุโรปใต้ มันคือการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ในยุโรปตะวันออก มันคือการรวมกันตามกฎหมายเป็น acquis communautaire (14) นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดที่เมืองนีซในเดือนธันวาคม 2000 แอทแทคจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการหลายครั้งเกี่ยวกับการดำเนินงานของสหภาพยุโรป เราเผยแพร่เอกสารและเรียกร้องภาพของยุโรปในอีกแบบหนึ่ง และจะเข้าไปแทรกแซงอย่างแน่นอนในประเด็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่ประชุมใหญ่ของจิสการ์ด (เดสแตง) ในบรัสเซลส์กำลังชงเรื่องกันอยู่

(13) หมายถึง สนธิสัญญาเพื่อสร้างเสถียรภาพสำหรับยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ (Stability Pact for South Eastern Europe) ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้หรือที่เรียกกันว่า คาบสมุทรบอลข่าน ประกอบด้วย แอลเบเนีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวินา, บัลแกเรีย, โครเอเชีย, บางส่วนของกรีซ, สาธารณรัฐมาซีโดเนีย, โรมาเนีย, เซอร์เบียและมอนเตนิโกร, สโลเวเนีย และบางส่วนของตุรกี สนธิสัญญานี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมสันติภาพ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคดังกล่าว แต่ก็ถูกวิจารณ์ว่าเป็นเพียงการทำให้ยุโรปภูมิภาคนี้กลายเป็นโลกที่สามสำหรับประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้า (ผู้แปล)

(14) คำว่า acquis หรือบางครั้งใช้คำว่า acquis communautaire เป็นคำจากภาษาฝรั่งเศสที่ใช้อยู่ในกฎหมายสหภาพยุโรป หมายถึงประมวลกฎหมายทั้งหมดของสหภาพยุโรปเท่าที่มีอยู่จนถึงปัจจุบัน คำ ๆ นี้ยังใช้เรียกกฎหมายภายใต้สนธิสัญญาเช็งเก้นด้วย (ผู้แปล)

Pierre Bourdieu มีบทบาทอย่างไรกับแอทแทค
ถาม: ในการถกเถียงทางทฤษฎีเกี่ยวกับลัทธิเสรีนิยมใหม่ของโลก ปิแอร์ บูร์ดิอู (Pierre Bourdieu) (15) มีบทบาทอย่างไรบ้าง องค์กรที่เขาก่อตั้งขึ้นมา Raisons d'Agir มีบทบาทเคียงคู่ขนานกับแอทแทคหรือไม่?

(15 ) Pierre Bourdieu (1930-2002) นักสังคมวิทยาชื่อดังชาวฝรั่งเศส ได้รับการยกย่องว่ามีความสำคัญเทียบเท่าฟูโกต์, บาร์ธส์} และลาก็อง หนังสือของเขาที่ชื่อ Distinction: A Social Critique of the Judgment of Taste ได้รับการยกย่องจากสมาคมนักสังคมวิทยานานาชาติว่า เป็นหนังสือทางด้านสังคมวิทยาที่สำคัญที่สุดหนึ่งในสิบเล่มของศตวรรษที่ 20 เขายังเป็นปัญญาชนฝ่ายซ้ายที่มีบทบาททางการเมือง และต่อต้านระบบทุนนิยมเสรีนิยมใหม่ (ผู้แปล)

ตอบ: Raisons d'Agir เป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งของแอทแทค และเราใช้งานเขียนของบูร์ดิอูเป็นหลักอ้างอิงที่สำคัญเสมอ อย่างไรก็ตาม ในแง่สถาบันแล้ว เขารักษาระยะห่างไว้ เราเคยขอร้องให้เขามากล่าวปาฐกถาในการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งหนึ่งของแอทแทค แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เขามีแวดวงของตัวเอง --ยิ่งไม่ต้องพูดถึงบรรดาสาวกที่คอยห้อมแหน-- และหวังจะสร้างแรงบันดาลใจแก่ขบวนการสังคมของยุโรป

จริงอยู่ แนวความคิดของเขาเกี่ยวกับ European Estates-General (16) กลายเป็นความจริงขึ้นมา แต่มันเกิดขึ้นที่เวทีสังคมยุโรปในฟลอเรนซ์ และเกิดจากขบวนการที่เขาคาดไม่ถึงมาก่อน ผมเคยเห็นเขาครั้งหนึ่งที่เมืองมิลโย แต่ไม่เคยได้เสวนากับเขา น่าเสียดาย ก่อนเขาเสียชีวิตไม่นาน เราเพิ่งจัดการนัดแนะเพื่อรับประทานอาหารกลางวันด้วยกัน น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ไม่ทันได้สร้างความร่วมแรงร่วมใจระหว่างบูร์ดิอูกับแอทแทคให้แนบแน่นกว่านี้ เพราะมันคงสร้างผลสะเทือนได้มาก

(16) European Estates-General หมายถึง สภาของประชาสังคมที่ประกอบด้วยประชาชนจากทุกภาคส่วน เช่น เกษตรกร, แรงงาน, ปัญญาชน ฯลฯ (ผู้แปล)

ถาม: อยากให้คุณประเมินดุลอำนาจในแวดวงปัญญาชนฝรั่งเศสโดยรวม ในขณะที่มีหนังสือขายดีเล่มแล้วเล่มเล่าวิพากษ์วิจารณ์ la pensee unique อย่างรุนแรง ดำรงอยู่ควบคู่ไปกับฝ่ายที่สนับสนุนแนวคิดนี้อย่างออกหน้าออกตาตามสื่อมวลชนต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงหนังสือพิมพ์ Le Monde เองด้วย?

พวก bas-clerge (นักเทศน์ชั้นต่ำ) ของชนชั้นปัญญาชนฝรั่งเศส
ตอบ: บนหน้าจอโทรทัศน์ บนหน้าหนังสือพิมพ์และในสำนักพิมพ์ชั้นนำทั้งหลาย คุณจะเห็นหน้าเดิม ๆ ชื่อคุ้น ๆ อยู่ร่ำไป ไม่ว่า Philippe Sollers, Alain Minc, Bernard-Henri Levy, Andre Glucksmann, Alexandre Adler --ยังไม่ต้องเอ่ยถึงกลุ่มทหารผ่านศึกยุคสงครามเย็นอย่าง Jean-Francois Revel แต่บรรดารวมดาวสื่อมวลชนกลุ่มนี้ล้วนแล้วแต่ขายความคิดให้สาธารณชนที่มีความรู้ครึ่ง ๆ กลาง ๆ คนกลุ่มนี้มีความน่าเชื่อถือน้อยมากในหมู่ปัญญาชนจริง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระบบการศึกษา

คนพวกนี้ทำหน้าที่เหมือนมาเฟียที่ให้การสนับสนุนกันเอง ดังที่บรรยายไว้อย่างยอดเยี่ยมในหนังสือเรื่อง Les nouveaux chiens de garde ของ Serge Halimi หนังสือเล่มนี้ขายได้ถึงหนึ่งในสี่ล้านเล่ม นั่นคงพอทำให้คุณเห็นภาพว่า คนส่วนใหญ่มองพวกรวมดาวกลุ่มนี้อย่างไร เหมือนดังที่เรอยิส เดอแบร (Regis Debray) (17) เรียกพวกนั้นว่า bas-clerge (นักเทศน์ชั้นต่ำ) ของชนชั้นปัญญาชนฝรั่งเศส. ในกลุ่มคนระดับนี้ ผมเดาว่าความคิดเห็นกำลังโอนเอียงมาทางเรามากขึ้น โดยเฉพาะในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ ในขณะที่กรอบกระบวนทัศน์แบบเสรีนิยมใหม่ เคยครองความเป็นใหญ่อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดจนถึงเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง แต่เดี๋ยวนี้มันกำลังถูกท้าทายอย่างหนักหน่วง ดังที่คุณสามารถเห็นได้จากการตอบรับ Fitoussi Report (18) อย่างกว้างขวาง

(17) Regis Debray ปัญญาชน นักหนังสือพิมพ์ อาจารย์และที่ปรึกษารัฐบาลชาวฝรั่งเศส
ในทศวรรษ 1960 เขาเป็นอาจารย์สอนปรัชญาที่มหาวิทยาลัยฮาวานา และเป็นเพื่อนกับเช เกวารา ต่อมาเขาเขียนหนังสือชื่อ Revolution in the Revolution? วิพากษ์วิจารณ์ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของขบวนการสังคมนิยมในละตินอเมริกา หนังสือเล่มนี้กลายเป็นคู่มือการทำสงครามจรยุทธ์ เมื่อเกวาราถูกจับในโบลิเวียในปี ค.ศ. 1967 เดอแบรที่อยู่ในโบลิเวียตอนนั้นด้วยถูกจับขังคุก ข้อหามีส่วนร่วมในกองทัพจรยุทธ์ของเช เขาถูกปล่อยตัวออกมาในปี ค.ศ. 1970 หลังจากมีการรณรงค์ในระดับนานาชาติ โดยมีนักเขียนคนสำคัญเข้าร่วมรณรงค์ด้วย อาทิเช่น ฌอง-ปอล ซาตร์ และอังเดร มัลโรซ์. เขาลี้ภัยไปอยู่ชิลี เขียนหนังสือชื่อ The Chilean Revolution (1972) หลังจากได้สัมภาษณ์ประธานาธิบดีอัลเยนเด

เดอแบร กลับมาฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1973 หลังจากมิตเตอรองด์ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 1981 เดอแบรกลายเป็นที่ปรึกษาของประธานาธิบดีด้านกิจการต่างประเทศ และดำรงหลายตำแหน่งในรัฐบาลฝรั่งเศส. ล่าสุดเขากลับมาเป็นข่าวอีกครั้ง เมื่อออกมาสนับสนุนการที่ฝรั่งเศสสั่งห้ามนักเรียนหญิงมุสลิมใส่ผ้าคลุมหน้าในโรงเรียน (ผู้แปล)

(18) Fitoussi Report หมายถึงรายงานที่ตั้งชื่อตามนักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Jean-Paul Fitoussi ประธานของสถาบัน Observatoire Francais des Conjonctures Economiques

ในปี ค.ศ. 2000 นักศึกษาเศรษฐศาสตร์กลุ่มหนึ่งในสถาบัน Ecole Normale Superieure รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้มีการปรับปรุงการเรียนการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ นักศึกษากลุ่มนี้วิจารณ์ว่า วิชาเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบันที่เน้นแต่สำนักนีโอคลาสสิก กลายเป็นลัทธิที่เปรียบเสมือนโรคออติสติก กล่าวคือ ฉลาด แต่หมกมุ่น คับแคบ และตัดขาดจากโลกความเป็นจริงภายนอก การรวมตัวกันครั้งนี้กลายเป็นขบวนการที่เรียกตัวเองว่า the Post-Autistic Economics (PAE) Movement และได้รับการขานรับจากสื่อมวลชนฝรั่งเศส โดยเฉพาะ Le Monde ตามมาด้วยเสียงสนับสนุนจากนักเศรษฐศาสตร์และอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ก้าวหน้า

กระทั่งรัฐบาลฝรั่งเศสไม่สามารถนิ่งดูดาย รัฐบาลตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาประเด็นนี้ โดยมี Jean-Paul Fitoussi เป็นประธานกรรมการ ผลจากรายงานของคณะกรรมการชุดนี้สรุปว่า ข้อเรียกร้องนั้นมีมูลความจริง การเรียนการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ควรมีการยกเครื่องกันใหม่ และควรมีการเพิ่มหลักสูตรที่วิชาเศรษฐศาสตร์กระแสหลักในปัจจุบันละเลยไป เช่น ปัญหาการว่างงาน ระบบเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

อนึ่ง Jean-Paul Fitoussi เป็นนักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ เขาเขียนหนังสือหลายเล่มที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันหลักของยุโรป เช่น ธนาคารกลางของยุโรป เป็นต้น (ผู้แปล)

ถาม: คุณมองพัฒนาการขั้นต่อไปสำหรับแอทแทคและเวทีสังคมโลกไว้อย่างไร?

เวทีสังคมโลก แรงขับเคลื่อนเหมือนลูกหิมะที่ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
ตอบ: เวทีสังคมโลกไม่ใช่ปรากฏการณ์ แต่เป็นกระบวนการ เป็นแรงขับเคลื่อนเหมือนลูกหิมะที่ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ (*) และรวบรวมกลุ่มพลังต่าง ๆ ให้เข้ามาผนึกกำลัง ก่อนหน้านี้ แม้ว่าต่างพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน แต่ไม่เคยติดต่อสัมพันธ์กันและไม่เคยรับรู้ว่ามีกันและกันอยู่ด้วยซ้ำ การผนึกกำลังระดับโลกกำลังก่อรูปก่อร่างขึ้น กำลังงเริ่มคิดไปในแนวทางเดียวกัน แลกเปลี่ยนแนวคิดทางยุทธศาสตร์ เชื่อมโยงปัญหาที่มีร่วมกัน หล่อหลอมห่วงโซ่ของความสมานสามัคคีครั้งใหม่ ทั้งหมดนี้กำลังรุดหน้าด้วยความเร็วจนน่าทึ่ง

(*) Snowball effect is a figurative term for a process that starts from an initial state of small significance and builds upon itself, becoming larger (graver, more serious), and perhaps potentially dangerous or disastrous (a vicious circle, a "spiral of decline"), though it might be beneficial instead (a virtuous circle).

The common analogy is with the rolling of a small ball of snow down a snow-covered hillside, as it rolls the ball will pick up more snow, gaining more mass and surface area, and picking up even more snow as it rolls along. This is a very common cliche in cartoons. A common analogy that uses this term is the " Great War."

มีการจัดงานเวทีสังคมเอเชียในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เรายังไม่เคยมีการติดต่อมาก่อนเลยจนถึงบัดนี้. ในบราซิล รัฐบาลจัดทำระเบียบวาระโดยยึดตามปัญหาทั้งหมดที่ระบุไว้ในปอร์ตูอาเลเกร ลูล่าจะทำอย่างไรกับหนี้สินมหาศาลที่กำลังบดขยี้ประเทศนี้? แน่นอน เขากล่าวว่า บราซิลจะรอบคอบซื่อตรงในการปฏิบัติตามพันธะให้ลุล่วง แต่จะทำได้จริง ๆ หรือเปล่า? ผมเชื่อว่า เวลาแห่งความจริงกำลังมาถึงในอาร์เจนตินาและบราซิล ซึ่งสามารถช่วยสร้างเงื่อนไขให้มีการทบทวนแก้ไขระเบียบเสรีนิยมใหม่ทั่วโลกอย่างถึงรากถึงโคน

หากประธานาธิบดีของบราซิลลุกขึ้นกล่าวว่า 'เราจะไม่ยอมขูดรีดประชาชนจนกลายเป็นยาจก เพื่อหาเงินมาจ่ายให้ผู้ถือพันธบัตรชาวต่างชาติอีกต่อไป' และถ้าอาร์เจนตินากับประเทศละตินอเมริกาอื่น ๆ ปฏิบัติตาม อะไรจะเกิดขึ้น? วอลล์สตรีทแทบทำอะไรไม่ได้เลย เหมือนดังที่นายธนาคารระดับหัวแถวคนหนึ่งยอมรับเป็นการส่วนตัวว่า 'บราซิลใหญ่เกินไปจนล้มไม่ได้' ธนาคารมีทางเลือกน้อยมาก นอกจากต้องยอม 'รักษาเครื่องเรือน' เอาไว้ และกล้ำกลืนรับการขาดทุนราว 30-40% แทนที่จะต้องตัดหนี้สูญถึง 100% ของการลงทุนทั้งหมด

สำหรับฝรั่งเศส ชีรักได้คะแนนเสียงเลือกตั้งน้อยกว่าหนึ่งในห้าในการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบแรก และพรรคฝ่ายขวาที่อยู่ในอำนาจขณะนี้ได้คะแนนเสียงมากกว่าหนึ่งในสามแค่นิดหน่อย ฐานทางการเมืองของรัฐบาลใหม่มีความเปราะบางมาก รัฐบาลเริ่มแสดงอาการประสาทเสียแล้ว เมื่อมันเห็นสัญญาณของความตึงเครียดทางสังคมทวีขึ้นทุกที โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับระบบบำนาญ รัฐบาลไม่ต้องการให้เกิดการเผชิญหน้า การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงจนแทบคืบคลาน "สนธิสัญญาเพื่อสร้างเสถียรภาพ" กำลังรัดคอการบริโภค ต้นทุนคงที่กำลังพุ่งสูงขึ้น ถ้าชีรักพยายามเก็บภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จะมีเสียงโวยวายขึ้นมาทันทีว่า. เขาตระบัดสัตย์ หลังจากที่เคยให้สัญญามากมายว่าจะไม่ขึ้นภาษีเพื่อดึงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ถ้าเขาพยายามตัดค่าใช้จ่ายสาธารณะลง เท่ากับเขากำลังมุ่งหน้าไปสู่การประลองพลังบนท้องถนนอีกครั้ง ฝ่ายขวาตกอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก และตรรกะของมันกำลังแตกทลายลง

สิ่งที่เราเห็นในวันนี้คือ ขบวนการที่กำลังปรับวิสัยทัศน์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โจมตีเป้าเดียวกัน และพัฒนาขึ้นมาพร้อมกันทั่วโลก พร้อมกับเชื่อมโยงการต่อสู้ในท้องถิ่นให้เกาะเกี่ยวกับเป้าหมายระดับโลก นี่เป็นครั้งแรกที่เกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ ประวัติศาสตร์รุดหน้าไปอย่างเร็วรี่ในช่วง 10-15 ปีที่ผ่านมา จนไม่มีเหตุผลอันใดเลยที่จะคิดว่า มันจะหยุดนิ่งอยู่กับที่ ผมอดรู้สึกไม่ได้ว่า สิ่งที่พวกเราทำสำเร็จร่วมกันมาถึงบัดนี้ จะส่งผลกระทบต่อสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ (คลิกกลับไปทบทวนเรื่องเดียวกันตอนที่ ๑)

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๑ : Release date 28 December 2008 : Copyleft MNU.

บนหน้าจอโทรทัศน์ บนหน้าหนังสือพิมพ์และในสำนักพิมพ์ชั้นนำทั้งหลาย คุณจะเห็นหน้าเดิม ๆ ชื่อคุ้น ๆ อยู่ร่ำไป ไม่ว่าจะ Philippe Sollers, Bernard-Henri Levy, Andre Glucksmann, Alexandre Adler ยังไม่ต้องเอ่ยถึงกลุ่มทหารผ่านศึกยุคสงครามเย็นอย่าง Jean - Francois Revel แต่บรรดารวมดาราสื่อมวลชนกลุ่มนี้ล้วนแล้วแต่ขายความคิดให้สาธารณชนที่มีความรู้แบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ คนกลุ่มนี้มีความน่าเชื่อถือน้อยมากในหมู่ปัญญาชนจริง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระบบการศึกษา คนพวกนี้ทำหน้าที่เหมือนมาเฟียที่ให้การสนับสนุนกันเอง ดังในหนังสือ นั่นคงพอทำให้คุณเห็นภาพว่า คนส่วนใหญ่มองพวกรวมดาวกลุ่มนี้อย่างไร มีคนเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า bas-clerge (นักเทศน์ชั้นต่ำ) ของชนชั้นปัญญาชนฝรั่งเศส.

H