ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




25 -12-2551 (1669)

Civil Disobedience ของ John Rawls
แนวความคิดเรื่องการดื้อแพ่งของนักปรัชญาอเมริกัน John Rawls
รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความชิ้นนี้เคยตีพิมพ์แล้วใน วิภาษา ปีที่ 2 ฉบับที่ 5-6 (ลำดับที่ 13-14)
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความเรียบเรียงต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

บทความบนหน้าเว็บเพจนี้ ได้รับมาจากผู้เรียบเรียง ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญ คือ
- ความหมายของ Civil Disobedience
- เนื้อหา ๓ ส่วนของทฤษฎี Civil Disobedience
- การดื้อแพ่งทางอ้อม
- การดื้อแพ่งเป็นการกระทำทางการเมืองโดยหลักยุติธรรม
- การดื้อแพ่งเป็นการกระทำต่อสาธารณะและปราศจากความรุนแรง
- การดื้อแพ่ง กระทำภายใต้ความภักดีต่อกฎหมาย
- ความชอบธรรมของการดื้อแพ่ง (Civil Disobedience)
- บทบาทของ Civil Disobedience
- การดื้อแพ่ง กับปัจจัย ๒ ประการที่ต้องขบคิด
- ความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญในยุคกลางและยุคสมัยใหม่
- การดื้อแพ่งกับหลักการความยุติธรรม
- ปัญหาแนวคิดความยุติธรรมที่เหลื่อมซ้อนกัน
- ใครเป็นผู้วินิจฉัยสุดท้ายเรื่อง"หลักยุติธรรม"
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๖๙
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๖.๕ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Civil Disobedience ของ John Rawls
แนวความคิดเรื่องการดื้อแพ่งของนักปรัชญาอเมริกัน John Rawls
รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความชิ้นนี้เคยตีพิมพ์แล้วใน วิภาษา ปีที่ 2 ฉบับที่ 5-6 (ลำดับที่ 13-14)
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความนี้เกี่ยวเนื่องกับการดื้อแพ่งต่อกฎหมายของประชาชน (คลิกกลับไปอ่าน)

Civil Disobedience ของ John Rawls (ตอนที่ 1)
หมายเหตุ: บทความชิ้นนี้เป็นการเรียบเรียงในประเด็นที่เป็นสาระสำคัญในเรื่อง Civil Disobedience มิใช่เป็นการถอดความมาแบบคำต่อคำ ดังนั้น จึงมีบางถ้อยคำ บางประโยคหรือบางประเด็น ที่ผู้เรียบเรียงได้ตัด ลดทอน หรือไม่ได้ให้ความสำคัญมากเท่าที่ในตัวบทได้บรรยายเอาไว้ ผู้ที่สนใจควรหาหนังสือต้นฉบับของ John Rawls เรื่อง A Theory of Justice (*) มาอ่านเพื่อทำความเข้าใจทั้งหมด

ความนำ
John Rawls (*) นักปรัชญาร่วมสมัยชาวอเมริกัน ได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องของการดื้อแพ่งต่อกฎหมายหรือ Civil Disobedience ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในภาคภาษาไทยว่า "อารยะขัดขืน" ในหนังสืออันโด่งดังของเขาชื่อ A Theory of Justice (**) โดยได้ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ไว้ ด้วยการพิจารณาเป็นการเฉพาะไว้ใน chapter VI: Duty and Obligation (***)

(*) John Rawls (February 21, 1921 – November 24, 2002) was an American philosopher and a leading figure in moral and political philosophy. He was a Professor of Political Philosophy at Harvard University and author of A Theory of Justice (1971), Political Liberalism, and The Law of Peoples. Rawls received the Schock Prize for Logic and Philosophy and the National Humanities Medal in 1999, the latter presented by President Bill Clinton, in recognition of how Rawls's thought "helped a whole generation of learned Americans revive their faith in democracy itself."

(**) A Theory of Justice is a widely-read book of political and moral philosophy by John Rawls. It was originally published in 1971 and revised in both 1975 (for the translated editions) and 1999. In A Theory of Justice, Rawls attempts to solve the problem of distributive justice by utilising a variant of the familiar device of the social contract. The resultant theory is known as "Justice as Fairness", from which Rawls derives his two famous principles of justice: the liberty principle and the difference principle.

(***) ฉบับที่ได้ใช้อ้างอิงสำหรับการเขียนบทความนี้เป็นฉบับ revised edition จัดพิมพ์โดย
The Belknap Press of Harvard University Press ค.ศ. 1999


ในฐานะที่เป็นบุคคลหนึ่งซึ่งมีส่วนอย่างสำคัญต่อการเสนอและถกเถียงในประเด็นเรื่อง Civil Disobedience การทำความเข้าใจต่อแนวความคิดของ Rawls อาจจะช่วยให้เกิดความเข้าใจที่กว้างขวางมากขึ้นต่อการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในแบบที่เรียกว่า Civil Disobedience โดยในที่นี้จะแบ่งประเด็นการพิจารณาออกเป็น 3 หัวข้อด้วยกัน

ความหมายของ Civil Disobedience
ในเบื้องต้น แนวความคิดนี้ถูกสร้างขึ้นสำหรับกรณีที่มีลักษณะพิเศษในสังคมที่มีความเป็นธรรมในระดับหนึ่ง (a nearly just society) โดยที่มีกฎเกณฑ์ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม มีการฝ่าฝืนต่อความยุติธรรมได้ปรากฏขึ้น ทั้งนี้สังคมที่มีความเป็นธรรมระดับหนึ่งของ Rawls มีความหมายถึง"การปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย (democratic regime)" แนวความคิดนี้จึงมุ่งปรับใช้เฉพาะกับสถาบันในระบอบประชาธิปไตยที่ตั้งขึ้นอย่างชอบธรรม ซึ่งจะไม่ปรับใช้กับรัฐบาลในรูปแบบอื่น หรือการประท้วงต่อต้านในรูปแบบต่างๆ เช่น การปฏิปักษ์ทางทหาร เนื่องจากไม่มีความยุ่งยากเกี่ยวกับการกระทำในรูปแบบดังกล่าว

ปัญหาของ Civil Disobedience จะเกิดขึ้นในสังคมประชาธิปไตย ไม่ว่าจะมีระดับประชาธิปไตยมากหรือน้อย สำหรับพลเมืองซึ่งยอมรับความชอบธรรมของรัฐธรรมนูญ ความยุ่งยากก็คือความขัดแย้งระหว่างหน้าที่ คำถามที่สำคัญก็คือว่า ณ จุดไหนที่หน้าที่ต่อการปฏิบัติตามกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติอันเป็นเสียงส่วนใหญ่จึงจะสิ้นผลผูกพัน เมื่อพิจารณาจากทรรศนะของสิทธิในการปกป้องเสรีภาพ และหน้าที่ในการขัดขวางความอยุติธรรม (At what point does the duty to comply with enacted by a legislative majority ease to be binding in view of the right to defend one's liberties and duty to oppose injustice?)

เนื้อหา ๓ ส่วนของทฤษฎี Civil Disobedience
ทฤษฎี Civil Disobedience มีเนื้อหา 3 ส่วนด้วยกัน

ส่วนที่หนึ่ง จะเป็นการนิยามการต่อต้านในลักษณะการดื้อแพ่ง และแยกออกจากรูปแบบการต่อต้านอื่นๆ อันเป็นผลในทางกฎหมาย
ในการไปต่อต้านด้วยกำลังทหารหรือโดยการต่อต้านที่มีการจัดตั้งอย่างเป็นระบบ

ส่วนที่สอง ทฤษฎีนี้จะวางหลักการและเงื่อนไขความชอบธรรมของ Civil Disobedience ในระบบประชาธิปไตยที่มีความเป็นธรรม
(a just democratic regime) และ

ส่วนสุดท้าย ทฤษฎีนี้จะอธิบายถึงบทบาทของการกระทำดังกล่าวภายในระบบรัฐธรรมนูญ และความรับผิดชอบต่อความเหมาะสมของการประท้วงลักษณะนี้ในสังคมเสรี

ความหมายของ Civil Disobedience ในทรรศนะของ Rawls หมายถึงการกระทำทางการเมืองที่ขัดแย้งกับกฎหมาย โดยกระทำต่อสาธารณะ ปราศจากความรุนแรง ด้วยความตระหนักรู้ บนเป้าหมายเพื่อทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในกฎหมาย หรือนโยบายของรัฐบาล (as a public, nonviolent, conscientious yet political act contrary to law usually done with the aim of bringing about a change in the law or policies of the government)

การกระทำในลักษณะดังกล่าวหมายถึง การแสดงให้เห็นว่ามาตรฐานของความยุติธรรมของคนส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องได้รับการเคารพหรือปฏิบัติตาม ผลจากการให้ความหมายดังที่กล่าว ทำให้ Civil Disobedience ไม่จำเป็นต้องกระทำต่อกฎหมายซึ่งกำลังถูกคัดค้านในขณะนั้น เพราะการคัดค้านอาจเป็นการกระทบโดยตรงต่อกฎหมายหรือนโยบายที่ไม่เห็นด้วยหรืออาจเป็นการกระทำทางอ้อมก็ได้

การดื้อแพ่งทางอ้อม
เหตุผลที่มีน้ำหนักต่อการกระทำ Civil Disobedience ในทางอ้อม เนื่องจากรัฐบาลอาจกำหนดโทษรุนแรงต่อการฝ่าฝืนกฎหมาย ผู้ที่คัดค้านก็อาจใช้วิธีฝ่าฝืนกฎหมายจราจรหรือการบุกรุกเพื่อแสดงออกซึ่งความเห็นของตน ไม่มีเหตุผลที่จะต้องไปฝ่าฝืนกฎหมายหรือนโยบายซึ่งเป็นข้อขัดแย้งโดยตรง นอกจากนี้ในบางกรณีก็เป็นการยากที่จะฝ่าฝืนต่อนโยบายของรัฐบาลโดยตรง เช่น กรณีที่เกี่ยวข้องกับนโยบายต่างประเทศ

คำอธิบายประการถัดมาก็คือ การฝ่าฝืนต่อกฎหมายนั้นไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการวินิจฉัยในเชิงรัฐธรรมนูญได้โดยง่าย พวกเขาฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวแม้ว่ามันจะได้รับการยืนยันว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องก็ตาม อย่างไรก็ตาม ในระบอบรัฐธรรมนูญ มีบ่อยครั้งที่ศาลอาจยืนอยู่กับผู้ต่อต้านในตอนท้าย แต่ก็มีความไม่แน่นอนว่าการกระทำเหล่านั้นจะถูกตัดสินไปในทิศทางอย่างไร ผู้ซึ่งใช้วิธีฝ่าฝืนกฎหมายในการประท้วง จะต้องไม่ยุติการกระทำของตนแม้กรณีที่ศาลเห็นแตกต่างออกไป อย่างไรก็ดี จะเป็นเรื่องน่ายินดีถ้ามีการตัดสินที่เห็นด้วยกับการฝ่าฝืนกฎหมาย

การดื้อแพ่งเป็นการกระทำทางการเมืองโดยหลักยุติธรรม
ควรจะต้องตระหนักว่า Civil Disobedience เป็นการกระทำในเชิงการเมือง มิใช่เพียงในแง่ที่ว่าได้กระทำต่อฝ่ายข้างมากซึ่งมีอำนาจทางการเมืองเท่านั้น หากเป็นการกระทำซึ่งถูกกำกับและให้ความชอบธรรมโดยหลักการทางการเมือง (it is an act guided and justified by political principle).

ในการตัดสินถึงความชอบธรรมของ Civil Disobedience ผู้กระทำต้องไม่เรียกร้องบนหลักการของศีลธรรมส่วนบุคคลหรือหลักการทางศาสนา แม้ว่าอาจเป็นสิ่งที่ดำเนินไปและสนับสนุนการกระทำนั้นก็ตาม เนื่องจาก Civil Disobedience ไม่ได้มีหลักการบนผลประโยชน์ของกลุ่มหรือส่วนบุคคล แต่ต้องเป็นการอ้างอิงถึงแนวคิดความยุติธรรมซึ่งตระหนักร่วมกัน (commonly shared conception of justice) เฉพาะในสังคมประชาธิปไตยจะมีแนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรม ซึ่งพลเมืองใช้กำกับกิจกรรมทางการเมืองและในการตีความรัฐธรรมนูญ การละเมิดต่อหลักการพื้นฐานนี้อย่างเจตนาและต่อเนื่องเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การคุกคามต่อเสรีภาพขั้นพื้นฐานถือว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เอื้อให้เกิดการต่อต้านขึ้น. Civil Disobedience คือฝ่ายข้างน้อย (minority) กระทำต่อฝ่ายข้างมาก(majority) เพื่อให้เกิดการพิจารณาและยอมรับในข้อเรียกร้องของฝ่ายข้างน้อยว่ามีความชอบธรรม

การดื้อแพ่งเป็นการกระทำต่อสาธารณะและปราศจากความรุนแรง
ประเด็นถัดไปคือ Civil Disobedience เป็นการกระทำต่อสาธารณะ ไม่ใช่เพียงเป็นการกระทำที่แสดงถึงหลักการของสาธารณะ แต่ยังกระทำในที่สาธารณะโดยไม่ซ่อนเร้นหรือเป็นความลับ เปรียบเทียบกับการกระทำอื่น Civil Disobedience เป็นการกระทำที่ไม่ใช้ความรุนแรงและพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อบุคคล (it tries to avoid the use of violence, especially against person) การใช้ความรุนแรงไม่ว่าการทำร้ายหรือทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บเป็นสิ่งที่ไปด้วยกันไม่ได้กับ Civil Disobedience และการคุกคามต่อเสรีภาพของบุคคลอื่นก็จะมีผลต่อการเบี่ยงเบนในความน่าเชื่อถือของการกระทำที่เกิดขึ้น. ในบางครั้ง การดำเนินการที่ประสบความล้มเหลวในเบื้องต้นก็อาจจะนำไปสู่การต่อต้านด้วยการใช้กำลัง แต่สำหรับ Civil Disobedience แล้ว คือการให้เหตุผลต่อการตัดสินใจทางการเมืองอย่างใช้ปัญญา ด้วยการเตือนหรือว่ากล่าว แต่ไม่ใช่เป็นเรื่องของการข่มขู่

การดื้อแพ่ง กระทำภายใต้ความภักดีต่อกฎหมาย
นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่นประกอบสำหรับการไม่ใช้ความรุนแรง การฝ่าฝืนกฎหมายกระทำภายใต้ความภักดีต่อกฎหมาย แม้ว่ากฎหมายบางเรื่องจะถูกคุกคาม แต่ความภักดีต่อกฎหมายแสดงออกด้วยการกระทำที่ไม่ใช้ความรุนแรงและกระทำต่อสาธารณะ และด้วยการยอมรับผลทางกฎหมายที่จะติดตามมาจากการกระทำของตน ซึ่งจะเป็นการยืนยันต่อฝ่ายข้างมากว่า การกระทำของตนเองที่เกิดขึ้นเป็นความจริงใจ และด้วยการใช้เหตุผลในทางการเมืองอย่างแท้จริง ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า ระบบกฎหมายจะสามารถยอมรับข้ออ้างเรื่องความไม่ชอบธรรม เพื่อเป็นข้ออ้างต่อการไม่ยอมปฏิบัติตาม บุคคลซึ่งยึดมั่นความสัตย์ซื่อในผู้อื่นต้องทำให้ระบบกฎหมายดำเนินต่อไปได้ เราต้องจ่ายในการทำให้ผู้อื่นเชื่อว่าการกระทำของเรามีหลักการพื้นฐานทางศีลธรรมที่เพียงพอในการตัดสินใจทางการเมืองของชุมชนด้วยการไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้ว (We must pay a certain price to convince others that our actions have, in our carefully considered view, a sufficient moral basis in the political convictions of the community)

Civil Disobedience จึงเป็นรูปแบบของการต่อต้านที่อยู่ภายในขอบเขตของความเคารพต่อระบบกฎหมาย ซึ่งแตกต่างอย่างชัดเจนกับการใช้กำลังทางทหาร หรือการต่อต้านด้วยการใช้กำลังที่มีการจัดตั้งอย่างเป็นระบบ การใช้กำลังทหารเป็นตัวอย่างของการต่อต้านระบบการเมืองที่ดำรงอยู่โดยไม่ยอมรับว่า ระบบดังกล่าวเป็นสิ่งที่มีความเป็นธรรมหรือมีเหตุผล ถือเป็นการต่อต้านกระทำไปบนความเชื่อของตนและไม่ได้เรียกร้องต่อฝ่ายข้างมาก ดังนั้นจึงต้องใช้การขัดขวางที่มีการจัดตั้งมาเป็นอย่างดีเพื่อบีบบังคับให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ตนเองต้องการ ดังนั้น ผู้กระทำการจึงพยายามหลบเลี่ยงต่อการลงโทษ การใช้กำลังที่เกิดขึ้นแสดงถึงความไม่ไว้วางใจต่อรัฐธรรมนูญที่กำลังต่อต้านอยู่ และแสดงให้เห็นถึงเชิงคัดค้านในระดับพื้นฐานต่อระบบกฎหมาย โครงสร้างพื้นฐานได้ถูกพิจารณาว่าเป็นสิ่งที่อยุติธรรมและห่างไกลอย่างมากจากความเชื่อของผู้ที่ใช้กำลังต่อต้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่ Rawls จะไม่นำมาพิจารณารวมกับ Civil Disobedience อันเป็นการกระทำที่มีความหมายและบทบาทในสังคมที่มีระบอบรัฐธรรมนูญในระดับที่ใกล้เคียงกับความเป็นธรรม ( a nearly just constitutional regime)

ความชอบธรรมของการดื้อแพ่ง (Civil Disobedience)
ในการพิจารณาถึงความชอบธรรมของ Civil Disobedience จะจำกัดการถกเถียงไว้เพียงเฉพาะสถาบันภายในและความอยุติธรรมภายในสังคมนั้นๆ ด้วยการกำหนดถึงเงื่อนไขที่เป็นเหตุผลให้เกิด Civil Disobedience

เงื่อนไขประการแรก จะตระหนักถึงประเภทของความผิดซึ่งเป็นเป้าหมายของ Civil Disobedience ถ้าหากพิจารณาว่า การขัดขืนนี้เป็นการกระทำทางการเมืองเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกเรื่องความยุติธรรม (sense of justice) ของสังคม ก็มีเหตุผลที่จะจำกัดการพิจารณาเฉพาะสิ่งที่เป็นความอยุติธรรมอย่างแท้จริงและชัดเจน ดังนั้น Civil Disobedience จะเกิดขึ้นเมื่อมีการละเมิดอย่างรุนแรงต่อหลักการของความยุติธรรม คือ หลักการของเสรีภาพที่เท่าเทียม (the principle of equal liberty) และหลักการว่าด้วยความเสมอภาคในโอกาส (the principle of fair equality of opportunity)

อาจไม่เป็นการง่ายในการที่จะบ่งบอกอย่างชัดเจนถึงหลักการเหล่านี้ แต่ถ้าหากพิเคราะห์จากการประกันสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานก็จะชัดเจนเมื่อเสรีภาพเหล่านี้ไม่ได้รับการเคารพ และมีการกำหนดข้อจำกัดเอาไว้ในระดับสถาบันอย่างชัดแจ้ง เช่น เมื่อฝ่ายข้างน้อยถูกปฏิเสธสิทธิในการลงคะแนน การเข้ารับราชการ การถือครองทรัพย์สิน การเดินทางอย่างเสรี หรือผู้นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งถูกกดขี่ โดยเป็นที่ยอมรับกันทั้งในแง่ของลายลักษณ์อักษรหรือการปฏิบัติทางสังคม

เงื่อนไขประการต่อมา ได้มีการร้องเรียนตามขั้นตอนปกติต่อฝ่ายข้างมากทางการเมืองแล้ว แต่ประสบความล้มเหลว หรือวิธีการทางกฎหมายก็ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นประโยชน์ เช่น พรรคการเมืองในขณะนั้นไม่ให้ความสำคัญต่อข้อเรียกร้องของฝ่ายข้างน้อย หรือได้แสดงออกถึงความไม่ใส่ใจในประเด็นปัญหาดังกล่าว ความพยายามที่จะทำให้เกิดการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงถูกปฏิเสธ การโต้แย้งและการคัดค้านทางกฎหมายก็ไม่มีผลใดๆ

เนื่องจาก Civil Disobedience เป็นหนทางสุดท้าย จึงจำเป็นที่จะต้องมั่นใจว่าวิถีทางด้านกฎหมายอื่นไม่สามารถประสบผลได้ แม้ว่าการโต้แย้งตามปกติจะยังคงสามารถกระทำการได้อยู่ เช่น การแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์อย่างเสรี แต่การกระทำที่ดำเนินการอยู่ได้แสดงให้เห็นว่า ฝ่ายข้างมากยังคงเพิกเฉย อันทำให้การกระทำใดๆ ต่อไปก็ไม่บังเกิดผลขึ้น ถึงจุดนี้ก็จะเป็นเงื่อนไขที่เป็นความชอบธรรมให้เกิด Civil Disobedience

เงื่อนไขประการที่สาม จะเป็นสิ่งที่มีความสลับซับซ้อน ขณะที่เงื่อนไขสองประการที่กล่าวมาสามารถบ่งบอกความชอบธรรมของ Civil Disobedience แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นเสมอไป ในบางสถานการณ์ที่มีความเฉพาะบางอย่าง หน้าที่ต่อความยุติธรรมอาจต้องถูกจำกัดเอาไว้ ดังกรณีที่ฝ่ายข้างน้อยมากกว่าหนึ่งกลุ่ม ต่างก็มีความชอบธรรมในการใช้ Civil Disobedience ภายใต้เงื่อนไขสองประการข้างต้น แต่ละกลุ่มต่างก็ได้รับผลกระทบเป็นระยะเวลาหนึ่งจากความอยุติธรรม ทั้งหมดไม่สามารถใช้กระบวนการทางการเมืองเพื่อนำไปสู่การแก้ไขตามที่คาดหวังให้ดีขึ้นได้ แม้ว่าแต่ละกลุ่มจะมีความชอบธรรมในการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กล่าวมา เพราะถ้าหากทุกกลุ่มดำเนินการไปพร้อมกัน ก็อาจนำความวุ่นวายอย่างรุนแรงให้ติดตามมา และอาจมีผลต่อไปถึงการสั่นคลอนต่อความมีประสิทธิภาพของรัฐธรรมนูญที่เป็นธรรม ฉะนั้น ในทรรศนะของ Rawls จึงมีข้อจำกัดสำหรับ Civil Disobedience ในกรณีที่จะเป็นหนทางไปสู่การพังทลายต่อการเคารพกฎหมายและรัฐธรรมนูญ มีความผูกพันที่สูงกว่าของสังคมในการควบคุมการขัดขืนที่ปรากฏในลักษณะเช่นนี้

ข้อสรุปจากมุมมองในทางทฤษฎีเรียกร้องความจงรักภักดีทางการเมืองจากฝ่ายข้างน้อยสำหรับการพิจารณาถึงธรรมชาติของสถานการณ์เฉพาะ ซึ่งหลายกลุ่มต่างมีความเท่าเทียมในการกระทำ Civil Disobedience และต่างก็ต้องการใช้สิทธิดังกล่าว แต่ถ้าทุกคนกระทำแล้วจะเป็นผลร้ายต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งต่างยอมรับกันว่ามีความชอบธรรมอยู่

แน่นอนว่า สถานการณ์นี้มีลักษณะพิเศษและเป็นไปได้ที่มุมมองดังกล่าวจะไม่ได้ขัดขวางต่อ Civil Disobedience ที่เป็นธรรม อาจเป็นเรื่องยากที่หลายกลุ่มซึ่งกระทำการไปพร้อมกับที่ยอมรับหน้าที่ต่อรัฐธรรมนูญที่ชอบธรรม. มีข้อสังเกตว่า ฝ่ายข้างน้อยที่ได้รับผลกระทบจะยืนยันถึงข้อเรียกร้องของตนเองอย่างมากเช่นเดียวกับที่กลุ่มอื่นกระทำ แม้ว่าเหตุผลของแต่ละกลุ่มจะมีน้ำหนักที่ไม่เท่าเทียมกัน แต่ควรสันนิษฐานไว้ว่าข้อเรียกร้องเหล่านี้ไม่อาจแยกขาดจากกัน เหตุการณ์เหล่านี้จะแสดงถึงการใช้สิทธิของผู้คัดค้าน ซึ่งเหมือนกับการใช้สิทธิโดยทั่วไปที่อาจถูกจำกัดขอบเขตไว้ได้โดยบุคคลอื่นที่มีสิทธิในลักษณะเดียวกัน

ด้วยการพิจารณาถึงเงื่อนไข 3 ประการข้างต้น ก็จะทำให้เกิดสิทธิในการเรียกร้องโดย Civil Disobedience การทำลายเสรีภาพของพลเมืองที่เท่าเทียมกันหรือความเสมอภาคในโอกาสซึ่งกระทำมาเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง และได้ถูกโต้แย้งในกระบวนการทางการเมืองปกติ ก็อาจสร้างความยุ่งยากจากแง่มุมของความเป็นธรรม เนื่องจากเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดไว้อาจยังไม่สามารถครอบคลุมได้เพียงพอ แม้ว่าหลายอย่างได้ถูกรวมเข้ามา อย่างไรก็ตาม ไม่ควรที่จะกระทำตามสิทธิหากการกระทำนั้น จะนำมาซึ่งการตอบโต้ของฝ่ายข้างมาก

สำหรับสังคมที่มีความเป็นธรรมแล้ว การใช้กำลังอย่างรุนแรงต่อการคัดค้านที่ถูกต้อง ไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่ก็มีความสำคัญที่การกระทำจะต้องถูกออกแบบอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดการเรียกร้องที่มีความหมายต่อสังคมในวงกว้าง เนื่องจาก Civil Disobedience เป็นการกระทำต่อสาธารณะ จึงต้องให้ความสำคัญต่อความเข้าใจที่จะบังเกิดขึ้น การใช้สิทธิต้องคำนึงถึงการพัฒนาเป้าหมายหรือสิ่งที่บุคคลทำการขัดขืนได้กระทำลง

Civil Disobedience ของ John Rawls (ตอนที่ 2)

บทบาทของ Civil Disobedience
เงื่อนไข-เป้าหมายประการที่สามของทฤษฎีเรื่อง Civil Disobedience เพื่อต้องการอธิบายถึงบทบาทที่เกิดขึ้นภายในระบบรัฐธรรมนูญและเพื่อตอบสนองต่อความสัมพันธ์กับการเมืองแบบประชาธิปไตย เช่นเดียวกับที่เน้นย้ำมาโดยตลอด สังคมที่เกิดปัญหาต้องมีความชอบธรรมและมีรูปแบบของรัฐบาลประชาธิปไตย แม้ว่าจะมีความอยุติธรรมที่รุนแรง แต่หลักการของความยุติธรรมเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับในฐานะของแนวคิดพื้นฐานของการดำรงอยู่ระหว่างบุคคลที่มีเสรีและเสมอภาค การใช้ Civil Disobedience มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงถึงความตระหนักต่อความยุติธรรมของคนส่วนใหญ่ และเพื่อเป็นการปกป้องต่อความชอบธรรมที่กำลังถูกทำลายลง ทั้งนี้เป็นการเรียกร้องต่อผู้อื่นให้ทำการพิจารณาและให้เขาเหล่านั้นลองมาอยู่ในอีกมุมมอง เพื่อให้เข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ยากลำบากต่อการยอมรับในสิ่งที่คนส่วนใหญ่ได้กำหนดขึ้น

แรงกดดันของการเรียกร้องในลักษณะนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะความเป็นประชาธิปไตยของแต่ละสังคม ซึ่งอาจไม่สามารถปรับใช้แนวคิดดังกล่าวได้กับสังคมประเภทอื่น เช่น ถ้าเป็นสังคมที่เชื่อว่าอำนาจสูงสุดเป็นอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่มาจากพระเจ้า แม้ผู้อยู่ใต้ปกครองสามารถร้องทุกข์ถึงความเดือดร้อนของตน แต่ก็ไม่มีสิทธิที่จะไม่เชื่อฟังต่อผู้ปกครอง หากความต้องการของตนถูกปฏิเสธ เพราะการกระทำในลักษณะนี้อาจเป็นการโค่นล้มอำนาจสูงสุดลง ในความเป็นจริง Civil Disobedience คือเครื่องมือที่สร้างความมั่นคงให้กับระบบรัฐธรรมนูญที่ดำรงอยู่ควบคู่กับการเลือกตั้งที่เสรีและสม่ำเสมอ กระบวนการยุติธรรมที่อิสระ ดังนั้น แม้ว่าจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่ Civil Disobedience ก็ถูกพิจารณาว่ามีส่วนต่อการสร้างความเข้มแข็งกับสถาบันที่ยุติธรรม

การดื้อแพ่ง กับปัจจัย ๒ ประการที่ต้องขบคิด
มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 2 ประการที่จำเป็นต้องขบคิด

ประการแรก ด้วยการเลือกหลักการของปัจเจกชน ต้องมีการสร้างแนวทางสำหรับการประเมินความผูกมัดของหน้าที่และความผูกพันตามธรรมชาติ โดยเฉพาะความผูกพันของหน้าที่ในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญที่เป็นธรรม และกระบวนการพื้นฐานที่เสียงส่วนใหญ่บังคับใช้

ประการที่สอง การค้นหาหลักการที่มีเหตุผลในการเผชิญกับสถานการณ์ที่อยุติธรรม หรือสถานการณ์ที่การปฏิบัติตามหลักการที่มีความยุติธรรมบางส่วน ดูราวกับว่าแต่ละฝ่ายอาจเห็นด้วยกับสมมติฐานในเรื่องความชอบธรรมของ Civil Disobedience การกระทำนี้จึงช่วยเน้นย้ำถึงหน้าที่ของความยุติธรรมตามธรรมชาติ และช่วยกระตุ้นให้ตระหนักถึงความยุติธรรมในสังคมด้วยการยกระดับความเคารพต่อตนเองและผู้อื่น ดังที่หลักการของสัญญาได้ย้ำไว้ว่าหลักการของความยุติธรรมคือ หลักการของความร่วมมือระหว่างผู้ที่เสมอภาคกัน การปฏิเสธความยุติธรรมของบุคคลอื่นก็คือ การปฏิเสธที่จะยอมรับความเสมอภาคของบุคคลอื่น

ปฏิบัติการทางการเมืองในลักษณะเช่นนี้สามารถเข้าใจได้ในฐานะของการแสดงถึงความรับรู้เกี่ยวกับความยุติธรรมในสังคม และเป็นการอุทธรณ์ต่อแนวคิดพื้นฐานทางศีลธรรมของชีวิตผู้คน ซึ่งเป็นปฏิบัติการทางการเมืองมิใช่การกระทำในทางศาสนา (Rawls ได้แยกแยะถึงการกระทำอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า conscientious refusal อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายของประชาชน แต่เป็นการกระทำที่วางอยู่บนหลักการของศาสนาหรือหลักศีลธรรม อย่างไรก็ตาม การฝ่าฝืนในลักษณะเช่นนี้ไม่ใช่ประเด็นที่จะพิจารณาอย่างละเอียด ณ ที่นี้ - ผู้เรียบเรียง). Civil Disobedience วางอยู่บนหลักการของความยุติธรรม ซึ่งสามารถเรียกร้องให้บุคคลอื่นเข้าใจและเห็นด้วย ไม่ใช่ด้วยความรักหรือความศรัทธาทางศาสนา ซึ่งยากต่อการเรียกร้องให้ทุกคนยอมรับได้

ความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญในยุคกลางและยุคสมัยใหม่
ความแตกต่างประการหนึ่งระหว่างแนวคิดเรื่องรัฐธรรมนูญในยุคกลางและยุคสมัยใหม่ (medieval and modern constitutionalism) คือ ความสูงสุดของกฎหมายในยุคกลาง ไม่ได้ถูกปกป้องไว้โดยกระบวนการควบคุมทางสถาบัน การตรวจสอบผู้ปกครองซึ่งคำสั่งหรือคำตัดสินขัดแย้งกับความเข้าใจในเรื่องความยุติธรรมของสังคม จะถูกกำกับไว้ด้วยสิทธิในการต่อต้านของสังคมทั้งหมดหรือบางส่วน แต่การกระทำนี้ไม่ควรถูกอธิบายว่าเป็นเสมือนการกระทำของผู้เป็นหุ้นส่วน (หรือในฐานะของผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยในรัฐ- ผู้เรียบเรียง) เนื่องจากในยุคกลางยังไม่มีความคิดพื้นฐานเรื่องรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญในแบบสมัยใหม่ หรือแนวคิดว่าด้วยอำนาจอธิปไตยที่ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด ด้วยการเลือกตั้งและรูปแบบทางสถาบันอื่นๆ

สำหรับในยุคสมัยใหม่ ทฤษฎี Civil Disobedience เป็นส่วนหนึ่งของแนวความคิดทางกฎหมายของระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (legal conception of constitutional democracy) ที่พยายามจะสร้างหลักการในการต่อต้านต่ออำนาจรัฐ ซึ่งแม้จะเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย แต่ยังคงให้ความเคารพต่อกฎหมาย ในขณะที่อุทธรณ์ต่อหลักการทางการเมืองของระบอบประชาธิปไตย เพราะฉะนั้น จึงสามารถจัดวางรูปแบบทางกฎหมายของแนวคิดรัฐธรรมนูญเคียงคู่ไปกับรูปแบบของการประท้วงที่ผิดกฎหมายที่ไม่ได้มุ่งทำลายเป้าหมายรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตย

อาจมีข้อคัดค้านว่าแนวคิด Civil Disobedience เป็นสิ่งที่ไม่อาจเป็นจริงได้ เนื่องจากข้อสันนิษฐานว่า เสียงข้างมากมีความรู้สึกถึงความยุติธรรมและความรู้สึกทางศีลธรรมไม่ใช่แรงกดดันทางการเมืองที่สำคัญ และปัจจัยที่ผลักดันมนุษย์มีผลประโยชน์ที่หลากหลาย ความปรารถนาในอำนาจ เกียรติยศ ความร่ำรวยและอื่นๆ แม้ว่าจะสามารถให้เหตุผลทางศีลธรรมเพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องของตน แต่ในสถานการณ์เฉพาะกับสถานการณ์อื่นๆ ความเห็นของบุคคลต่างๆ อาจไม่สอดคล้องเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ หรือในสถานการณ์เฉพาะ ทรรศนะที่ปรากฏขึ้นก็เป็นผลมาจากการคำนวณถึงเงื่อนไขหลากหลายเพื่อประโยชน์บางประการ จึงไม่เป็นที่สงสัยว่ามีความจริงอยู่มากมายในข้อขัดแย้ง (Unquestionably there is much truth in the contention) ทั้งนี้ความหมายที่สำคัญก็คือ แนวโน้มที่อาจขัดขวางต่อความรู้สึกเรื่องความยุติธรรมและน้ำหนักที่มากเพียงพอต่อการถูกอ้างถึงผลกระทบที่สำคัญ

ความเห็นบางประการที่อาจทำให้แนวคิดดังกล่าวเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
ประการแรก ข้อสันนิษฐานเรื่องสังคมที่มีความเป็นธรรมในระดับหนึ่ง (a nearly just society) ซึ่งหมายความว่ามีระบอบรัฐธรรมนูญและแนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรม ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง แน่นอนว่าในบางสถานการณ์ บุคคลและกลุ่มอาจถูกกระตุ้นให้ละเมิดต่อหลักการ แต่ความเข้าใจของส่วนรวมยังคงมีความเข้มแข็ง หลักการนี้เป็นสิ่งที่สำคัญของการร่วมมือระหว่างบุคคลที่เสรีและเสมอภาค

ถ้าบุคคลซึ่งกระทำความผิดถูกระบุ และถูกแยกออกอย่างชัดเจนจากชุมชนส่วนใหญ่ การตัดสินจากส่วนใหญ่ของสังคมจะเป็นน้ำหนักที่สำคัญ หรือในกรณีที่ฝ่ายท้าทายมีความเท่าเทียม ความเข้าใจเกี่ยวกับความยุติธรรมของผู้ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้อง สามารถเป็นปัจจัยชี้ขาดได้. อย่างไรก็ตาม ในทุกกรณีความสามารถของ Civil Disobedience ก็มีปัญหาอย่างมาก แม้ว่าบุคคลจะอุทธรณ์ต่อความรู้สึกเรื่องความยุติธรรมของสังคมส่วนใหญ่ แต่เสียงข้างมากก็อาจไม่สนใจหากคำนึงถึงเฉพาะผลประโยชน์ส่วนตน กรณีดังกล่าวศาลควรเข้ามามีบทบาทในการกระทำของผู้ประท้วง ซึ่งหากมีความชอบธรรมบนหลักการทางการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญ การใช้มาตรการทางกฎหมายก็จะเบาลงหรือรวมถึงการระงับได้

มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับคุณลักษณะของความรู้สึกเกี่ยวกับความยุติธรรม (the sense of justice) ความรู้สึกของสังคมเกี่ยวกับความยุติธรรมมีแนวโน้มจะปรากฏขึ้นด้วยความจริงที่ว่า ฝ่ายข้างมากไม่อาจกดขี่ฝ่ายข้างน้อยและลงโทษการกระทำที่เป็น Civil Disobedience ตามที่กฎหมายอนุญาต ความรู้สึกเกี่ยวกับความยุติธรรมมีผลต่อการให้ความหมายของวิถีชีวิตทางการเมืองในแบบที่อาจไม่ค่อยได้ตระหนักถึง เสียงข้างมากจะละทิ้งอำนาจสูงสุดและยอมรับข้อเสนอแนะจากผู้คัดค้าน ความเข้าใจเรื่องความยุติธรรมก็จะถูกให้ความสำคัญในฐานะของแรงกดดันทางการเมือง

การดื้อแพ่งกับหลักการความยุติธรรม
ในทรรศนะของ Rawls มีข้อสันนิษฐานว่าในสังคมที่มีความเป็นธรรมระดับหนึ่งจะมีการยอมรับของสาธารณะในหลักการเรื่องความยุติธรรม ข้อสันนิษฐานนี้มีความหมายมาก แม้ในความจริงจะมีความแตกต่างในความคิดของพลเมือง แต่ก็สามารถที่จะนำไปสู่การตัดสินทางการเมืองที่เหมือนกัน เพราะหลักการที่แตกต่างสามารถให้ผลลัพธ์ในลักษณะเดียวกันได้ อันอาจหมายถึงแนวคิดที่เหลื่อมซ้อนกันมากกว่ามติเอกฉันท์แบบเคร่งครัด (there exists what we may refer to as overlapping rather than strict consensus)

ปัญหาแนวคิดความยุติธรรมที่เหลื่อมซ้อนกัน
โดยทั่วไป แนวความคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมที่เหลื่อมซ้อนกันทำให้ Civil Disobedience เป็นรูปแบบของการต่อต้านทางการเมืองที่มีเหตุผลและเป็นไปอย่างรอบคอบ แน่นอนว่าแนวคิดที่เหลื่อมซ้อนยังเป็นสิ่งที่ไม่สมบูรณ์ แต่ละฝ่ายอาจเชื่อว่ามีความแตกต่างกันในความคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมกับสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ และจะเป็นเช่นนั้นถ้าสลับเปลี่ยนตำแหน่งของแต่ละฝ่าย โดยในท้ายที่สุดก็จะมาถึงจุดที่ไปพ้นจากความเห็นพ้องในข้อตกลงที่ได้เกิดขึ้น อันจะทำให้สังคมแบ่งออกเป็นฝักเป็นฝ่าย โดยมีความคิดเห็นทางการเมืองพื้นฐานแตกต่างกัน ในกรณีเช่นนี้ก็จะเกิดมติเอกฉันท์ที่แบ่งแยกกันอย่างเด็ดขาด (strictly partitioned consensus) และอันทำให้ไม่มีหลักการพื้นฐานสำหรับ Civil Disobedience อีกต่อไป

เช่น บุคคลซึ่งไม่เชื่อในขันติธรรมและจะไม่อดทนต่อผู้อื่นหากตนเองมีอำนาจ เมื่อต้องการจะประท้วงด้วยการอุทธรณ์ต่อความรู้สึกเรื่องความยุติธรรมของเสียงข้างมากที่ยึดถือหลักการเสรีภาพที่เท่าเทียม ซึ่งผู้ที่ยึดถือหลักการนี้ต้องอดทนต่อผู้ที่ไม่เห็นด้วยตราบเท่าที่สถาบันต่างๆ ได้อนุญาตให้กระทำได้ เสียงข้างมากอาจรู้สึกว่า ความผูกพันต่อเสรีภาพที่เท่าเทียมได้ถูกฉวยใช้โดยผู้อื่นเพื่อเป้าหมายที่อยุติธรรม สถานการณ์นี้แสดงให้เห็นว่าความรู้สึกเรื่องความยุติธรรมเป็นทุนส่วนรวมที่สำคัญซึ่งเรียกร้องการยอมรับเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ได้ กลุ่มหัวรุนแรงอาจถูกมองว่าเป็น free riders (หรือ"ผู้โดยสารฟรี" อันหมายถึง บุคคลซึ่งได้รับประโยชน์จากสถาบันที่เป็นธรรม ขณะที่ไม่ได้สนับสนุนหรือยืนยันในหลักการเหล่านั้น) แม้ว่าผู้ซึ่งยอมรับหลักการเรื่องความยุติธรรมจะถูกกำกับด้วยหลักการนี้ แต่ในสังคมที่แตกแยกออกเป็นฝักฝ่าย เงื่อนไขในลักษณะเช่นนี้จะไม่ดำรงอยู่อีกต่อไป

มีความเสี่ยงบางประการสำหรับ Civil Disobedience เหตุผลหนึ่ง สำหรับรูปแบบทางรัฐธรรมนูญและการวินิจฉัยของสถาบันตุลาการ ก็เพื่อสร้างความเข้าใจของสาธารณะในแนวความคิดเรื่องความยุติธรรม และคำอธิบายต่อการปรับหลักการดังกล่าวกับคำถามของสังคม

ใครเป็นผู้บอกถึงเงื่อนไขที่ชอบธรรมใน"การดื้อแพ่ง"
แม้อาจถูกโต้แย้งว่าคำอธิบายที่มีมาก่อนไม่ได้กำหนดว่าใครจะเป็นผู้ที่บอกถึงเงื่อนไขที่ชอบธรรมของ Civil Disobedience ซึ่งอาจเป็นการเปิดทางให้แก่อนาธิปไตย เพราะเป็นการให้แต่ละคนตัดสินด้วยตนเอง และเพิกเฉยต่อหลักการทางการเมืองของสาธารณะ. คำตอบต่อคำถามนี้ก็คือ แต่ละคนต้องตัดสินใจด้วยตนเอง แม้ว่าอาจได้รับคำแนะนำ ความเห็น หรือคำสั่งจากผู้มีอำนาจ แต่เขาก็ต้องรับผิดชอบต่อความต้องการของตน. เราไม่อาจปฏิเสธและผลักความรับผิดชอบไปให้ผู้อื่นอันเป็นสิ่งที่เป็นจริงในทฤษฎีของหน้าที่ และความรับผิดทางการเมืองที่สอดคล้องกับหลักการรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย พลเมืองต้องรับผิดชอบในสิ่งที่กระทำ เป็นธรรมดาที่เราจะปฏิบัติตามกฎหมาย โดยเฉพาะในสังคมที่มีความเป็นธรรมระดับหนึ่ง หากไม่มีเหตุผลที่ชัดเจนที่จะก่อให้เกิดการฝ่าฝืน

ขณะที่แต่ละคนต้องตัดสินเพื่อตัวเขาเอง ไม่ว่าการกระทำนั้นจะเป็น Civil Disobedience ที่ชอบธรรมหรือไม่ ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตัดสินใจเพื่อความพอใจของบุคคลอื่น และก็ไม่ใช่การพิจารณาจากผลประโยชน์หรือความผูกพันทางการเมืองแบบคับแคบ ในการโต้ตอบแบบฉับพลันและอย่างมีความรับผิดชอบ พลเมืองต้องพิจารณาหลักการทางการเมืองอันเป็นพื้นฐาน และแนวทางในการตีความของรัฐธรรมนูญ จำเป็นที่จะต้องมีการประเมินว่าหลักการเหล่านี้จะถูกบังคับในสถานการณ์จริงอย่างไร และหากข้อสรุปเกิดขึ้นภายหลังการไตร่ตรองอย่างรอบคอบว่า Civil Disobedience นั้นมีความชอบธรรมและได้ปฏิบัติตนไปอย่างสอดคล้อง แม้ว่าการกระทำที่เกิดขึ้นอาจผิดพลาด หน้าที่และความผูกพันจะทำให้เราสามารถแยกแยะความแตกต่างเหล่านี้ได้

ใครเป็นผู้วินิจฉัยสุดท้ายเรื่อง"หลักยุติธรรม"
มีความสอดคล้องระหว่างสามัญสำนึกกับข้อสรุปที่เกิดขึ้นอย่างมีหลักฐาน จำเป็นต้องมีการประเมินทฤษฎีและสมมติฐานด้วยหลักการซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในทางสาธารณะ แม้จะมีการทำงานขององค์กรที่มีอำนาจ แต่ความเห็นพ้องที่เกิดขึ้นจะเป็นผลของการสรุปรวบยอดมาจากประชาชนจำนวนมาก การไม่มีอำนาจสูงสุดมาตัดสินหรือตีความจะไม่เป็นให้ผลให้เกิดความวุ่นวาย แต่จะทำให้เกิดความก้าวหน้าต่อไปในทางทฤษฎี ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีอำนาจเหนือกว่าในระหว่างบุคคลที่เสมอภาค ซึ่งต่างยอมรับและปรับใช้หลักการอย่างมีเหตุผล ต่อคำถามที่ว่าแล้วใครจะเป็นผู้ตัดสิน คำตอบคือทุกคนต้องตัดสิน ทุกคนซึ่งไตร่ตรองกับตัวเองด้วยเหตุผล ด้วยความเคารพต่อผู้อื่นและความปรารถนาดีจะเป็นสิ่งที่นำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีเพียงพอ

เป็นที่ยอมรับกันในสังคมประชาธิปไตยว่าพลเมืองแต่ละคนต้องรับผิดชอบสำหรับการตีความหลักการความยุติธรรมและสำหรับการกระทำของตน อาจจะไม่มีการยอมรับทางสังคมหรือโดยกฎหมายต่อหลักการซึ่งเรามีความผูกพันในการปฏิบัติตาม กระทั่งโดยองค์กรนิติบัญญัติหรือศาล แม้ว่าศาลอาจมีอำนาจสุดท้ายในการวินิจฉัยในกรณีต่างๆ แต่ก็ไม่สามารถที่จะป้องกันให้พ้นจากแรงกดดันทางการเมือง ซึ่งอาจผลักดันให้เกิดการแก้ไขบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ องค์กรวินิจฉัยชี้ขาดสุดท้ายจึงไม่ใช่ศาล ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายนิติบัญญัติ แต่เป็นผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด การแสดงออกโดยวิธีการฝ่าฝืนต่อกฎหมายคือเส้นทางพิเศษไปยังส่วนนี้

จะไม่มีอันตรายจากภาวะอนาธิปไตย ตราบเท่าที่มีความเห็นพ้องในหมู่ประชาชนในเรื่องความยุติธรรมและเงื่อนไขในการกระทำ Civil Disobedience ได้รับความเคารพ บุคคลสามารถเข้าใจและยอมรับต่อข้อจำกัดเหล่านี้ เมื่อเสรีภาพขั้นพื้นฐานดำรงอยู่ในสังคมประชาธิปไตย อาจจะไม่มีทางหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่รุนแรง แม้ดูเหมือนว่า Civil Disobedience จะเป็นสิ่งที่คุกคามจากพันธะของพลเมือง แต่ความรับผิดชอบไม่ใช่เป็นของผู้ประท้วงหากเป็นภาระของผู้ซึ่งใช้อำนาจอย่างฉ้อฉล สำหรับการใช้เครื่องมืออย่างรุนแรงของรัฐเพื่อดำรงสถาบันที่ยุติธรรมในตัวมันเองคือกำลังที่ไม่ชอบธรรม อันจะทำให้เกิดสิทธิแก่บุคคลในการต่อต้าน

สรุป
ทั้งหมดดังที่กล่าวมาเพื่ออธิบายกลไกของสถาบันซึ่งใช้หลักการเหล่านี้ เพื่อบ่งชี้ว่าหน้าที่และความผูกพันเกิดขึ้นอย่างไร ? การกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อพิจารณาว่า ทฤษฎีของความยุติธรรมสอดคล้องกับการตัดสินใจและขยายออกไปในวิถีทางอันเป็นที่ยอมรับหรือไม่ จำเป็นที่จะต้องมีการทบทวนว่า ได้มีการนิยามแนวความคิดทางการเมืองที่เหมาะสมหรือไม่ อันเป็นการช่วยเน้นย้ำถึงท่าทีในการตอบสนองต่อความห่วงใยทางศีลธรรม คำอธิบายในส่วนนี้มีความเป็นนามธรรมอย่างมากซึ่ง Rawls หวังว่าจะเป็นแนวทางเพื่อนำไปสู่การปรับใช้หลักการของความยุติธรรมในทางปฏิบัติต่อไป

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ชีวประวัติของ John Rawls
http://www.biographybase.com/biography/Rawls_John.html

John Rawls (February 21, 1921 - November 24, 2002) was a Professor of Political Philosophy at Harvard University and author of A Theory of Justice (1971), Political Liberalism, and The Law of Peoples.

Biographical Sketch
John Borden (Bordley) Rawls was born in Baltimore, Maryland. He was the second of five sons to William Lee Rawls and Anna Abell Stump. Rawls only attended school in Baltimore for a short time before transferring to a renowned Episcopalian preparatory school in Connecticut called Kent. Upon graduation in 1939, Rawls went on to Princeton University where he became interested in philosophy. In 1943, he completed his Bachelor of Arts degree and joined the army. During this time (World War II), Rawls served as an infantryman in the Pacific where he toured New Guinea, the Philippines, and Japan and witnessed the aftermath of the bombing of Hiroshima. After this experience, Rawls turned down the offer of becoming an officer and left the army as a private in 1946. Shortly thereafter, he returned to Princeton to write a doctorate in moral philosophy. Rawls then married Margaret Fox, a Brown graduate, in 1949. Margaret and John had a shared interest in indexing - they spent their first holiday together writing the index for a book on Nietzsche, and Rawls wrote the index for A Theory of Justice himself. After earning his Ph.D. from Princeton in 1950, Rawls decided to teach there until 1952 when he received a Fulbright Fellowship to Oxford University (Christ Church), where he was influenced by the liberal political theorist and historian of ideas Isaiah Berlin. Next, he returned to the United States, serving first as an assistant and then associate professor at Cornell University. Finally in 1962, he became a full professor of philosophy at Cornell. Another accomplishment made in the early 1960s was his achievement of a tenured position at Massachusetts Institute of Technology. However, he moved to Harvard University two years later, where he remained for almost forty years. Unfortunately, Rawls suffered the first of several strokes in 1995, which severely impeded his ability to continue working. Nonetheless, he was still able to complete a work entitled, The Law of Peoples, which contains the most complete statement of his views on international justice.

Rawls's Contribution to Political and Moral Philosophy
Rawls is noted for his contributions to liberal political philosophy. Among the ideas from Rawls's work that have received wide attention are:

The two principles of justice (the liberty principle and the difference principle).
The original position and the veil of ignorance.
Reflective equilibrium.
Overlapping consensus.
Public reason.
Many academic philosophers believe that Rawls has made an important and lasting contribution to political philosophy. Others find Rawls's work unpersuasive and disengaged from political praxis. There is general agreement, however, that the publication of A Theory of Justice in 1971 led to a revival in the academic study of political philosophy. Rawls's work has crossed disciplinary lines, receiving serious attention from economists, legal scholars, political scientists, sociologists, and theologians. Rawls has the unique distinction among contemporary political philosophers of being frequently cited by the courts of law in the United States.

A Theory of Justice
Method: The Original Position and Reflective Equilibrium
In his most famous book, A Theory of Justice, Rawls argued for the two principles using the thought experiment of the original position, from which representatives would select principles of justice from behind a veil of ignorance. Rawls saw the original position as a development of the social contract theories associated with Thomas Hobbes, Jean-Jacques Rousseau, and John Locke. Rawls argued that the representative parties in the original position would select justice as fairness, including the liberty principle and the difference principle, to govern the basic structure of society. In addition to the original position, Rawls relied on the notion of reflective equilibrium, which tests the results obtained from the original position against our considered judgments about particular cases.

The Two Principles of Justice: The Liberty Principle and the Difference Principle
The two principles of justice are the liberty principle and the difference principle. The two principles are intended to apply to the basic structure of society--the fundamental political and economic arrangements--as opposed to particular actions by governmental officials or individual statutes. The liberty principle requires that the basic structure provide each citizen with a fully adequate scheme of basic liberties--such as freedom of conscience, freedom of expression, and due process of law. The difference principle requires that inequalities in wealth and social position be arranged so as to benefit the worst off group in society. Rawls states that the two principles are lexically ordered, with the liberty principle taking precedence over the difference principle in the case of conflict.

Rawls revised the two principles over time. A Theory of Justice contains the first and most widely cited version of the principles, but Rawls modified them in Political Liberalism and Justice as Fairness. All three works should be consulted for a full appreciation of the content and meaning of the two principles.

Criticism of A Theory of Justice
Rawls's work was (respectfully) contested by his libertarian Harvard colleague Robert Nozick, and today Rawls's A Theory of Justice and Nozick's Anarchy, State and Utopia (1974) are often read in conjunction with each other to examine the points of disagreement between social liberals and libertarians.

Philosophers who have attempted to improve or clarify A Theory of Justice include Martha Nussbaum, who has reinterpreted Rawls's arguments in terms of capabilities or 'substantial freedoms', a concept borrowed from Amartya Sen.

Political Liberalism
Rawls's later work focused on the question of stability: could a society ordered by the two principles of justice endure? His answer to this question is contained in a collection of lectures titled Political Liberalism. In Political Liberalism, Rawls introduced the idea of an overlapping consensus--or agreement on justice as fairness between citizens who hold different religious and philosophical views (or conceptions of the good). Political Liberalism also introduced the idea of public reason--the common reason of all citizens.

Annotated Bibliography
Works by Rawls
John Rawls, Political Liberalism (Paperback edition, New York: Columbia University Press, 1996). The hardback edition published in 1993 is not identical. The paperback adds a valuable new introduction and an essay titled "Reply to Habermas."
John Rawls, A Theory of Justice (Revised edition, Cambridge, Massachusetts: Belknap Press, 1999), ISBN 0-674-00077-3. The revised edition incorporates changes that Rawls made for translated editions of A Theory of Justice. The original edition was published in 1971. Some Rawls scholars use the abbreviation TJ to refer to this work.
John Rawls, The Law of Peoples: with "The Idea of Public Reason Revisited" (Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press, 1999), ISBN 0-674-00079-X. This slim book includes two works originally published elsewhere, an essay entitled "The Law of Peoples" and another entitled "Public Reason Revisited."
John Rawls, Collected Papers (Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press, 1999), ISBN 0-674-1379-6. This collection of shorter papers was edited by Samuel Freeman. Two of the papers in this collection, "The Law of Peoples" and "Public Reason Revisited," are available separately in the Law of Peoples monograph published the same year. One other essay, Reply to Habermas, was added to the paperback edition of Political Liberalism. Otherwise, this collection is comprehensive. However, one important unpublished work, Rawls's dissertation, is not included.
John Rawls, Lectures on the History of Moral Philosophy (Cambridge, Massachusetts, Harvard University Press, 2000). This collection of lectures was edited by Barbara Herman. It has an introduction on modern moral philosophy from 1600-1800 and then lectures on Hume, Leibniz, Kant, and Hegel.
John Rawls, Justice as Fairness: A Restatement (Cambridge, Massachusetts: Belknap Press, 2001). This shorter summary of the main arguments of Rawls's political philosophy was edited by Erin Kelly. Many versions of this were circulated in typescript and much of the material was delivered by Rawls in lectures when he taught courses covering his own work at Harvard University.

Selected Secondary Literature
Reading Rawls: Critical Studies of A Theory of Justice, edited by Norman Daniels (New York: Basic Books, 1974) ISBN, 465-06854-5. This anthology collects many of the important early reactions to A Theory of Justice, including a famous essay by H.L.A. Hart.

Chandran Kukathas & Philip Petit, Rawls: A Theory of Justice and its Critics (Stanford: Stanford University Press, 1990) ISBN 1-8047-1768-0. This is a short study of Rawls's work and critical reactions. Philip Petit is a prominent political philosopher in his own right.

Cambridge Companion to Rawls, edited by Samuel Freeman (Cambridge: Cambridge University Press, 2003) ISBN 0-5216-5706-7. This anthology includes essays by prominent philosphers, including Thomas Nagel, T.M. Scanlon, Onora O'Neil, and Martha Nussbaum.

Awards
Schock Prize for Logic and Philosophy (1999)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ : Release date 25 December 2008 : Copyleft MNU.

ผู้ที่ชี้แนวทางให้กับนักกฎหมายไทยนั้นท่านมีแนวทางหรือไม่ หรือท่านเองก็หลงทาง เพราะในที่สุดแล้วท่านก็พานักกฎหมายมหาชน ลงคลอง และประเทศไทยลงเหวไปด้วย. ชาวต่างประเทศพูดกันมาก ว่าเขาไม่เข้าใจระบบกฎหมายเมืองไทย ว่าเหตุใดการไปออกโทรทัศน์ทำอาหาร จึงมีความผิดรุนแรงถึงขนาดลงโทษให้ต้องออกจากการ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ยึดสนามบิน ยึดทำเนียบผิดกฎหมายชัดๆ ยังไม่เห็นมีใครดำเนินการอะไรเลย มิหนำซ้ำ ยังเห็นหน้าในหนังสือพิมพ์ ยังมาเจรจากับตำรวจส่งมอบทำเนียบและสนามบินกันอีกต่างหาก ถ้าเป็นต่างประเทศเขาจับไปแล้วไม่ต้องมีหมายจับ นี่เป็นสิ่งที่คนไทยก็ตอบไม่ถูกว่าเกิดอะไรขึ้น นี่เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความอึดอัด ความกระอักกระอ่วนใจในการประกอบอาชีพของพวกเรา"

H