ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




30-07-2551 (1624)

ชุดความรู้เที่ยงคืน: the Primary Producers of Beauty Ideology (PPBI)
ปกิณกะความงาม: ร่างกาย ความงามอย่างไร้สติตามธรรมชาติ (๓)
วิจิตร ว่องวารีทิพย์: ผู้วิจัย
ส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง "ร่างกาย เสน่ห์ อัตลักษณ์ และความเท่าเทียมเรื่องสุขภาพในสังคมไทย"
โครงการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทวิจัยนี้ ได้รับมาจากนักวิจัย ชื่อเดิมคือ "ความเสี่ยง ความเสื่อม สุขภาพ และตัวตน"
บทสรุปงานวิจัย: เรื่องของสุขภาพมิใช่เป็นเรื่องที่จำกัดอยู่แต่แค่การดูแลรักษาร่างกาย
ตามหลักการ "ที่ถูกต้อง" ของวิทยาศาสตร์การแพทย์ โภชนาการ เภสัชศาสตร์ หรือ
ผู้เชี่ยวชาญด้านความงามเท่านั้น ทั้งยังมิใช่เรื่องของการหมกมุ่นลงทุนในร่างกายแบบปัจเจก
ตัวใครตัวมัน ใครทำใครได้. เรื่องของการที่จะมีสุขภาพดีนั้น แท้จริงแล้วมิใช่เพียงแค่เลือกกิน
หรือไปเสาะแสวงหาอาหาร(ที่มีวัตถุดิบส่วนหนึ่งมา)จากธรรมชาติ จากที่ไกลๆ เท่านั้น
แต่ยังหมายถึง ความพร้อมและเต็มใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เช่น พึงพอใจ
ในการบริโภคสิ่งที่หาได้จากท้องถิ่น การศึกษาค้นคว้าให้รู้จริงเกี่ยวกับสภาพร่างกายของตนเอง
และรูปแบบการดำเนินชีวิตหรืออาหารแต่ละชนิดที่จะส่งผลต่อตน เป็นต้น

นอกจากนี้ การเกิดโรคหรือจะมีสุขภาพดียังโยงใยลากลึกไปได้ถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ผลิตแบบเข้มข้น
และปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วย ตราบใดที่เรายังมีมายาคติว่า '(สิ่งที่มาจาก) ธรรมชาติเป็นแหล่งต้นตอของสุขภาพดี'
การเอารัดเอาเปรียบธรรมชาติก็ยังจะคงชอบธรรมอีกต่อไป ภายใต้กระบวนทัศน์ทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยม.
แต่หากมองว่าที่มาของการมีสุขภาพดีมีได้หลายทาง โดยที่ไม่ต้องมีจุดเริ่มต้นจากการนำเข้า สกัด หรือ
พรากเอาจากธรรมชาติ อย่างเช่น สุขภาพดีเพราะการบริโภคน้อยลง หรือสุขภาพดีเพราะได้อยู่ในสภาพ
แวดล้อม
ระบบนิเวศ และ ความสัมพันธ์กับผู้คนที่ดี เป็นต้น

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๒๔
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๐ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ชุดความรู้เที่ยงคืน: the Primary Producers of Beauty Ideology (PPBI)
ปกิณกะความงาม: ร่างกาย ความงามอย่างไร้สติตามธรรมชาติ (๓)
วิจิตร ว่องวารีทิพย์: ผู้วิจัย
ส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง "ร่างกาย เสน่ห์ อัตลักษณ์ และความเท่าเทียมเรื่องสุขภาพในสังคมไทย"
โครงการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

ปัญหาจากทางออกจาก "ความเสี่ยง" ที่เสนอโดย PPBI
จากที่ได้วิเคราะห์ทั้งสามอุตสาหกรรม จะเห็นว่า การลงทุนในร่างกายเพื่อให้ได้มาซึ่งเสน่ห์และความงามแห่งเรือนกายและแห่งตัวเจ้าของเรือนกาย มีตัวละครใหญ่ๆ อยู่ 3 ตัวที่เข้ามาเป็นผู้ช่วยเหลือให้การลงทุนของปัจเจกมีความเป็นไปได้ ซึ่งแต่ละตัวละครต่างก็ฉวยใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เรียกว่า "ธรรมชาติ" จะมีที่แตกต่างกันเล็กน้อยก็ตรงที่

- อุตสาหกรรมประทินผิวใช้วิธีการ นำเข้าธรรมชาติ มาผสมผสานกับวิทยาศาสตร์ แล้วสวมใส่เข้าไปกับเนื้อครีมของผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะเจาะ

- ส่วนอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมอาหารเสริมนั้น ใช้วิธี เอาชนะธรรมชาติ เช่น ที่อุตสาหกรรมอาหารใช้วิทยาศาสตร์ด้านการถนอมอาหาร-การบรรจุหีบห่อ และความก้าวหน้าในการขนส่งไกลๆ มาเอาชนะข้อจำกัดด้านเวลาตามธรรมชาติของอาหาร เพื่อป้องกันการเน่าเสียหรือเพื่อกำหนดเวลา "สุก" ตามต้องการ

- ขณะที่อุตสาหกรรมอาหารเสริมเอาชนะธรรมชาติ โดยวิธีการสกัด/ ถอดถอน สารอาหารสำคัญออกจากบริบทเดิม (คือ การเกิดและอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ) มาอยู่ในรูปของผงเคมีอัดเม็ดหรือน้ำ แล้วบรรจุใส่ขวดเพื่อความสะดวก

อย่างไรก็ตาม ข้อค้นพบของงานชิ้นนี้คือ วิธีการลงทุนในร่างกายโดยใช้ธรรมชาติผ่านการช่วยเหลือของอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ดังกล่าวมีปัญหาหลักๆ ที่เป็นมายาคติที่มีเกี่ยวกับ "ธรรมชาติ" และความเท่าเทียมเรื่องสุขภาพ ดังนี้

1. มายาคติเกี่ยวกับธรรมชาติ
งานวิจัยชิ้นนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่า "ความเป็นธรรมชาติ" ที่ถูกนำเสนอโดย PPBI ซึ่งเข้ามาช่วยเกื้อหนุนการลงทุนในร่างกายของปัจเจก แท้จริงแล้วล้วนเป็นมายาคติที่ถูกประกอบสร้างขึ้นทั้งสิ้น และยังส่งผลเสียหายทั้งต่อร่างกายปัจเจกเอง และต่อระบบนิเวศของโลก ซึ่งยังผลให้เกิดเป็นความเสี่ยงต่อชุมชนโลกในระยะยาว มายาคติเหล่านั้นมีอย่างน้อย 3 ประการ อันได้แก่

ก. ความมืดบอดของการหลงวนอยู่ในเขาวงกตแฟนตาซีของการบริโภคธรรมชาติ
ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางที่มักขายความเป็นธรรมชาติในผลิตภัณฑ์ของตนเอง มีน้อยคนนักที่ตระหนักและรู้ความจริงว่า เบื้องหลังคำโฆษณา "ความงามตามธรรมชาติ" เหล่านั้น หลายครั้งหลายครานอกจากจะหมายถึง การขูดรีดจากธรรมชาติ แล้ว ยังจะหมายถึง การขูดรีดเอาจากความรู้ของชุมชนที่สั่งสมมานานหลายชั่วอายุคน ภายใต้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่าง 'ความรู้จากประสบการณ์ของท้องถิ่น' ที่ใช้วิธีการเรียนรู้ถ่ายทอดจากความสัมพันธ์ใกล้ชิดและส่วนตัว กับ 'ความรู้แบบวิทยาศาสตร์' ที่การถ่ายทอดความรู้เป็นแบบมีระยะห่าง (ทั้งระยะทางเชิงกายภาพและระยะห่างทางอำนาจ) ระหว่างผู้ผลิตความรู้กับผู้เรียน เนื่องจากปฏิบัติการผ่านลายลักษณ์อักษร (literacy) และมักมาควบคู่กับกฎหมายเรื่องสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา-สิทธิบัตร ซึ่งกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของหลายๆ บรรษัทข้ามชาติในการฉกฉวยประโยชน์เอาจากความพลาดพลั้งเผลอเรอของกลุ่มคนที่มีข้อมูลข่าวสารและกำลังทางเศรษฐกิจน้อยกว่า

ยิ่งเมื่อตัวละครผู้อยู่เบื้องหลังเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ หรือบางรายเป็นบรรษัทข้ามชาติ ความเป็นมวยคนละชั้นกันก็ยิ่งชัดเจนขึ้น การต่อรองเพื่อให้ได้คืนมาซึ่งสิทธิการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติดังกล่าว (ที่ถูกลัก/ ฉก เอาไปอันเนื่องมาจากกระบวนการจดสิทธิบัตร) ยิ่งเป็นสิ่งที่ห่างไกลความเป็นไปได้มากขึ้นทุกที ตัวอย่างที่เกิดขึ้น ได้แก่ การที่กวาวเครือขาว (Pueraria mirifica) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้ผิวพรรณผ่องใส ได้กลายเป็นส่วนประกอบหลักในสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกาหมายเลข 6,352,685 (38) ผู้เป็นเจ้าของสิทธิบัตรคือ Kose Corporation, Tokyo - บริษัทเครื่องสำอางที่มีชื่อเสียงเรื่องการใช้ส่วนผสมสมุนไพรจากจีน เกาหลีและญี่ปุ่น และ Shiratori Pharmaceutical Co., Ltd., Chiba โดยที่ทั้งสองบริษัทอ้างสิทธิในสารประกอบที่สกัดได้จากพืชตัวนี้เพื่อใช้ภายนอกกับผิวหนัง

(38) เจษฏ์ โทณะวณิก, "สิทธิบัตรหรือคือปัญหาเรื่องกวาวเครือ" a day weekly ปีที่ 1 ฉบับที่ 29 (3-9 ธันวาคม 2547) หน้า 20.

ทั้งๆ ที่ในวงการหมอยาไทยแผนโบราณรับรู้ ถ่ายทอด และใช้กวาวเครือขาวเพื่อประทินผิวและเพิ่มความสามารถทางเพศกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2474 ดังปรากฏเป็นหลักฐานในตำรายาหัวกวาวเครือของหลวงอนุสารสุนทร (39) ดังนั้น การจดสิทธิบัตรนี้ ตามทัศนะของนักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญา จึงเป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรม เพราะ "ไม่ถือว่าเป็นสิ่งใหม่ที่ควรจะได้สิทธิบัตร" แต่บริษัทเหล่านี้ได้สร้างโวหารในการเขียนจน "ทำให้การใช้กวาวเครือดูเป็นวิทยาศาสตร์ค่อนข้างมาก" (40) ทั้งๆ ที่เป็นสิ่งที่ 'รู้ๆ กันอยู่' ในกลุ่มผู้ใช้สมุนไพร

(39) กวาวเครือ ความผิดพลาดที่ไม่เคยจดจำ," a day weekly ปีที่ 1 ฉบับที่ 27 (19-25 พฤศจิกายน 2547) หน้า 11.
(40) เจษฏ์, อ้างแล้ว.

สำหรับตัวอย่างของ "ความงามตามธรรมชาติ" ที่เป็นต้นเหตุของการขูดรีดจากธรรมชาตินั้น ได้แก่ กรณีที่กองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wide Fund for Animal - WWF) (*) ออกมาเตือนให้ระวังการรุกพื้นที่ป่าอะเมซอน เพื่อปลูกพืชพาณิชย์ป้อนทุนขนาดใหญ่ที่ฉวยใช้ประโยชน์จากกระแสนิยมบริโภคธรรมชาติ (41) กระแสดังกล่าวก่อให้เกิดความต้องการสารสกัดจากธรรมชาติจำนวนมาก การปลูกพืชที่เป็นที่มาของสารดังกล่าวคือ ถั่วเหลือง จึงเป็นสาเหตุของการทำลายผืนป่าดิบชื้นและทุ่งหญ้าสะวันนาประมาณ 1.2 หมื่นล้านตารางเมตร เพื่อมาเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอาง เช่น ลิปสติก ครีมบำรุงผิว รวมไปถึงการนำมาเป็นอาหารโดยตรง เช่น น้ำมันพืช ครีมเทียม เป็นต้น

(*) The World Wide Fund for Nature (WWF) is an international non-governmental organization for the conservation, research and restoration of the environment, formerly named the World Wildlife Fund, which remains its official name in the United States and Canada. It is the world's largest independent conservation organization with over 5 million supporters worldwide, working in more than 90 countries, supporting 100 conservation and environmental projects around the world. It is a charity, with approximately 9% of its funding coming from voluntary donations by private individuals and businesses.

(41) ถั่วเหลืองเป็นเหตุป่าอะเมซอนถูกทำลาย," a day weekly ปีที่ 1 ฉบับที่ 17 (10-16 กันยายน 2547) หน้า 40.

นอกเหนือไปจากนั้น แฟนตาซีเรื่องการบริโภคธรรมชาติอย่างแบบแผนการกินอาหารเกษตรอินทรีย์ อาหารช้า (slow food) หรือ อาหารสด เพื่อสุขภาพอื่นๆ กลับกลายเป็นการบั่นทอนระบบนิเวศโลกในระยะยาว หรือที่งานวิจัยนี้เรียกว่า เป็นความสูญเสียระดับแรกนั่นเอง เนื่องจากความจำเป็นที่ต้องใช้พลังงานมากในการขนส่งอาหารเหล่านี้ จากแหล่งผลิตซึ่งอยู่ไกลออกไปจากจุดขายสินค้า ทั้งยังมีขยะและของเสียเกิดขึ้นมากมายจากการบรรจุหีบห่อ เพื่อการขนส่งและการเผาไหม้เชื้อเพลิงระหว่างการขนถ่ายสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง (42)

(42) อย่างไรก็ดี เป็นการผิวเผินและง่ายเกินที่จะชี้นิ้วป้ายความผิดไปยังบรรษัทขนาดใหญ่ว่า เป็นตัวการของปัญหาทั้งหมดทั้งปวง เพราะนั่นเป็นการวิเคราะห์แค่ระดับ 'ความรุนแรงทางตรง' (direct violence) ที่มองว่า เมื่อจัดการกับต้นเหตุแห่งปัญหา เรื่องก็น่าจะจบลงได้ง่ายๆ บทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่า 'ศัตรู/ ตัวการ' ที่ก่อให้เกิดการทำลายระบบนิเวศ มิใช่ตัวบรรษัทแค่ไม่กี่บรรษัทเท่านั้น หากแต่เป็น กระบวนทัศน์ด้านเศรษฐกิจ-ระเบียบทางเศรษฐกิจชุดหนึ่ง ที่

(ก) เน้นการผลิตในปริมาณมากๆ เพื่อให้ประหยัดและคุ้มทุน และ
(ข) เน้นเรื่องการแข่งขันและความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบจนละเลยบางภาคส่วน รวมทั้งพยายามมองไม่เห็นต้นทุนทางสังคมและทางสิ่งแวดล้อม รวมไปถึง อุดมการณ์บริโภคนิยม ที่หลายๆ ตัวละครช่วยกันผลิตและส่งผ่านไปยังปัจเจกจำนวนมาก จนทำให้เกิดการฉวยใช้ (หรือรู้สึก 'ไม่เป็นไร' ที่จะใช้) ประโยชน์จากสิ่งที่เรียกว่า "ธรรมชาติ" มาขยายภาคตัวตนของตนเองให้มีคุณค่ามากขึ้นในสายตาของผู้อื่น

ทั้งหมดนี้คือ 'ความรุนแรงทางวัฒนธรรม' (cultural violence) ซึ่งตัวการเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ยาก เพราะเป็นเรื่องของอุดมการณ์/ วิธีคิดซึ่งรองรับและให้ความชอบธรรมกับความรุนแรงทางตรงและความรุนแรงเชิงโครงสร้าง (structural violence) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็มิได้หมายความว่า การจะขัดขืนต่อต้านจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ (ผู้สนใจความรุนแรงทั้ง 3 แบบ โปรดศึกษาจาก ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, อาวุธมีชีวิต? แนวคิดเชิงวิพากษ์ว่าด้วยความรุนแรง, (กรุงเทพ: ฟ้าเดียวกัน, 2546)).

ข. 'สูตรสำเร็จ' ทางการตลาดเพื่อสร้างจุดขายของผลิตภัณฑ์ตามธรรมชาติ
ธรรมชาติ = ความสด = พลังชีวิต = "สุขภาพดี" (= ความงาม / เยาว์วัย)
แนวคิดที่ว่า หากคงคุณค่าตามธรรมชาติไว้ได้มากที่สุด จะยิ่งทำให้ผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พบได้ไม่ว่าจะเป็นในเครื่องประทินผิว ดังเช่นการขายแนวคิด Living Food ของ Estee Lauder (*)… "เมื่อผิวได้รับสารอาหารที่มีพลังชีวิตมากที่สุด ผิวจึงรู้สึกกระปรี้กระเปร่า สดใส มีชีวิตชีวา เปล่งประกายสุขภาพดีอย่างเป็นธรรมชาติ"

(*)Estee Lauder Companies, Inc. is one of the world's leading manufacturers and marketers of skin care, cosmetics, perfume and hair care products. The company began in 1946, when Joseph Lauder and wife Est?e Lauder began producing cosmetics in New York City, New York. At first, they only had four products: super rich all purpose cream, creme pack, cleansing oil and skin lotion. Two years later, they established their first department store account with Saks Fifth Avenue in New York.

Over the next fifteen years, they expanded the range and continued to sell their products in the United States. In 1960, the company went international. Its first international account was in the London department store Harrods. The following year, it opened an office in Hong Kong. (http://en.wikipedia.org/wiki/Est%C3%A9e_Lauder_Companies)

หรือพบได้ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่างๆ ที่ขายความเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ แต่ดังที่ทราบกันเรื่อง 'อาหารเสริม' ว่า สิ่งที่ถูกพรากออกมาจากบริบทของการดำรงอยู่เป็นคู่เป็นขั้วที่สมดุล ย่อมมีสรรพคุณลดลง และอาจถือว่าเป็นธรรมชาติที่พิกลพิการไปแล้ว

แม้จะยังไม่มีข้อพิสูจน์ (ตามหลักวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์) ว่า คำอธิบายทัศนะแพทย์จีนข้างต้นเป็นจริงมากน้อยเพียงใด และแม้จะมีหลักฐานยืนยันน่าเชื่อถือจากบรรษัทยาและ "ผู้เชี่ยวชาญ" ในวงการแพทย์-เภสัชกร-นักโภชนาการที่แสดงถึงประสิทธิผลแห่งวิตามินสกัดทั้งหลายเหล่านั้น หากแต่คำถามต่อสูตรสำเร็จข้างต้น ซึ่งมีต้นทางคือ "ธรรมชาติ" ขณะที่ปลายทางคือ "สุขภาพดี" และอาจมีผลพลอยได้เป็น "ความงาม / เยาว์วัย" มีดังนี้

(1) ต้นทุนของลงทุนในร่างกายของปัจเจกเพื่อให้ "มีสุขภาพดี" และความงาม ถึงขนาดต้องนำเข้าหรือสกัดจากสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ ตาม 'สูตรสำเร็จ' ข้างต้น จำเป็นต้องลงทุนสูงขนาดนั้นเชียวหรือ ไม่ว่าจะเป็นราคาที่แพงลิบของตัวผลิตภัณฑ์เอง หรือราคาที่มองไม่เห็น เช่น มลพิษ หรือระบบนิเวศที่ได้รับผลกระทบจนแปรปรวน

(2) เป็นไปได้หรือไม่ว่า ด้วยเหตุที่มีการจำกัดที่มาของ "การมีสุขภาพดี" ให้เหลือเพียงนัยแคบๆเช่นนี้ (คือ ต้องมาจากการบริโภคธรรมชาติเท่านั้น) จึงส่งผลให้เกิดความเคลื่อนไหวภายในสังคมอย่างน้อย 2 กระแส กล่าวคือ

- เพื่อขับเน้นและเพิ่มอุปสงค์ในตัวผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเหล่านี้มากขึ้น ฟากบรรษัทยาและผู้ผลิตอาหารเสริม จึงระดมผลิตทั้งผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ และสร้าง software หรืออุดมการณ์ชุดหนึ่งในเรื่อง ศัตรูสุขภาพ คุณค่าที่ไม่เพียงพอในอาหารประจำวัน และ 'สุขภาพดีต้องสั่งสม'

- อีกด้านหนึ่ง ขบวนการประชาชนที่เป็นเจ้าของความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ ซึ่งสั่งสมมาหลายชั่วอายุคน และกำลังจะถูกพรากจาก "ความเป็นเจ้าของ" นั้นไปอยู่ในมือบรรษัทต่างชาติด้านเครื่องสำอาง ด้านยา และด้านอาหาร ได้เคลื่อนไหวและมีข้อเรียกร้องให้ตนเองยังคงมีสิทธิเต็มในการเป็นเจ้าของและเข้าถึง (access) คุณประโยชน์แห่งสารสกัดจากธรรมชาติชนิดนั้นๆ หรือไม่

ประเด็นคือ ไม่ว่าจะเลือกเส้นทางไหน ต่างก็นำไปสู่การเร่งการบริโภคธรรมชาติมากขึ้นเรื่อยๆ อันจะส่งผลเป็นปัญหาลูกโซ่ต่อไปยังการขูดรีดและทำลายระบบนิเวศ และยิ่งถ่างช่องว่างของความไม่เท่าเทียมทางสุขภาพมากขึ้นไปอีก - คนที่มีกำลังซื้อ ก็สามารถบริโภคธรรมชาติเพื่อจะได้ "มีสุขภาพดี" ตาม 'สูตรสำเร็จ' ดังกล่าว ทั้งยังเป็นการสนับสนุนผลกำไรให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้ ขณะที่คนซึ่งไม่มีกำลังซื้อ อาจต้องรวมตัวกันเป็นประชาสังคม และใช้พละกำลังอย่างมหาศาลในการต่อกรกับบรรษัทขนาดยักษ์

ทางออกเรื่องสุขภาพ จึงน่าจะเป็นเรื่องของการ เปิดกว้างให้มีเฉดความหมายของคำว่า "สุขภาพดี" หลากหลาย เพื่อที่จะได้ทำให้เรื่องสุขภาพไม่จำเป็นต้องอิงอยู่กับมาตรวัดหนึ่งเดียวซึ่งเอารัดเอาเปรียบธรรมชาติ. เป็นไปได้หรือไม่ที่จะสุขภาพดีได้โดยไม่จำเป็นต้องบริโภคมากมาย เพื่อที่ว่าปัจเจกต่างสถานะทางสังคม ต่างเพศ ต่างสังกัด จะได้ไปถึงจุดหมายเรื่องสุขภาพดีอย่างเสมอภาคกัน

ค. ความเชื่อมั่นว่า "ความเป็นธรรมชาติแท้ๆ" จะปลอดภัย ไร้การปนเปื้อน
กระแสความนิยมในการบริโภคอาหารจากธรรมชาติของชนชั้นกลางในเมือง ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนจนทำให้ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมอาหารต่างแข่งขันกันขาย "ความเป็นธรรมชาติแท้ๆ" ในผลิตภัณฑ์อาหารของตน ทั้งนี้รวมไปถึงผู้ผลิตรายย่อยตามร้านอาหารสุขภาพ และผู้ประกอบการระดับครัวเรือนด้วย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสมอื่นๆ เช่น สีผสมอาหาร สารให้กลิ่น และน้ำตาลปริมาณสูง แม้ว่าจะมีระบุไว้ในบรรจุภัณฑ์ตามระเบียบของคณะกรรมการอาหารและยา (เช่น การเติมวลี "แต่งสีและกลิ่นสังเคราะห์" หรือการใส่ข้อมูลตรงส่วนประกอบเป็นรหัสทางเคมีของสีสังเคราะห์ที่ใส่ลงไปในอาหาร) แต่ในคำโฆษณา มักไม่ปรากฏข้อมูลเหล่านี้อยู่ ซึ่งตรงนี้อาจตีความได้ 2 อย่าง

- อย่างแรก ผู้ผลิตจงใจขับเน้น "ความเป็นธรรมชาติแท้ๆ" ให้โดดเด่นจนข้อมูลชุดดังกล่าวไปบดบังสถานะของความเป็นอาหารสังเคราะห์ การตีความ

- อย่างที่สอง ได้แก่ การที่ตัวผู้ผลิตเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ผลิตอาหารรายย่อย รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือตกเป็นเป้าของอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่ และอุตสาหกรรมเกษตร และอาจไม่มีข้อมูลรอบด้านดีเกี่ยวกับวัตถุดิบที่ตนนำมาใช้ในร้าน

ตัวอย่างเช่น ร้านอาหารสุขภาพบางร้านที่ขายโยเกิร์ตโฮมเมดหรือ 'ทำเองที่บ้าน' ซึ่งมีภาพลักษณ์ที่ปลอดภัย ถูกหลักอนามัย รักษาคุณค่าตามธรรมชาติไว้ครบถ้วน และมีความเอาใจใส่ของผู้ปรุงมากกว่าโยเกิร์ตที่ผลิตออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม ทว่า น้ำนมที่ร้านค้ารับซื้อมาจากฟาร์มซึ่งอยู่ภายใต้กระบวนทัศน์ความคุ้มทุนทางเศรษฐกิจ อาจจะปนเปื้อนยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคให้แม่วัวก็ได้ (43) หรือน้ำตาลทรายตามร้านสุขภาพที่เห็นมีสีขุ่นและเชื่อกันว่าเป็นน้ำตาลไม่ฟอกสี (และปลอดภัย) นั้น แท้จริงแล้วก็คือ น้ำตาลทรายขาวที่ผสมสีจากกากน้ำอ้อย (molasse) นั่นเอง อันตรายจึงไม่ต่างจากน้ำตาลทรายขาวแต่อย่างใด (44) แม้กระทั่งผักอินทรีย์ที่เชื่อกันว่า ปลอดสารพิษ เมื่อสถาบันวิจัยโภชนาการ ของมหาวิทยาลัยมหิดลไปตรวจสอบ พบว่า มีสารโลหะหนักปริมาณมากจนน่าตกใจ ซึ่งโลหะหนักเหล่านี้มาจากปุ๋ยน้ำทางชีวภาพ ที่ไม่ได้เลือกวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ย (45)

(43) กรรณิการ์ พรมเสาร์, อ้างแล้ว, หน้า 41.
(44) สิทรา พรรณสมบูรณ์, อ้างแล้ว, หน้า 78.
(45) แก้ว กังสดาลอำไพ และกัลยารัตน์ เครือวัลย์, "อาหารอินทรีย์ ถ้ารัฐจะทำ…ใช้หัวใจดีกว่าใช้เงิน," ฉลาดซื้อ, ปีที่ 11 ฉบับที่ 65 (กุมภาพันธ์-มีนาคม 2548), หน้า 57.

นอกเหนือไปจากนี้ การบริโภค "อาหารอินทรีย์" (หมายความว่า อาหารที่ถูกเพาะ/ เลี้ยงท่ามกลางสภาพตามธรรมชาติ และปลอดจากการใช้สารเคมี-ฮอร์โมนใดๆ) ที่ขนส่งมาจากแหล่งผลิตไกลๆ ก็ใช่ว่าจะปลอดภัยเสียทีเดียว ดังที่ได้อธิบายไปแล้วว่า กระบวนการถนอมอาหารเพื่อรักษาสภาพและ "คุณค่า" ของอาหารก่อนจะไปถึงจุดหมาย เป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยขั้นตอนของการใช้วิทยาศาสตร์มาช่วยอย่างมาก และนั่นย่อมหมายความว่า โอกาสของการปนเปื้อนทั้งโดยจงใจและไม่จงใจย่อมอยู่ในระดับสูง

อีกปัญหาหนึ่งคือ ยีนในอาหาร ถูกกำหนดขึ้นจากวิวัฒนาการที่พืชหรือสัตว์ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายในเส้นรุ้งหนึ่งๆ ฉะนั้น ตรรกะในทำนองเดียวกันเมื่อนำมาอธิบายเรื่องอาหารของมนุษย์ จึงมีอยู่ว่า อาหารชนิดหนึ่งๆ ที่กำเนิดอยู่ในพื้นที่หนึ่ง จึงเหมาะกับสภาพร่างกายผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ แม้ว่าสมมติฐานนี้จะยังไม่มีผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์มารับรอง แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่า การกินอาหารข้ามพื้นที่-ข้ามเส้นรุ้ง ไม่น่าจะเป็นผลดีต่อร่างกาย

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า อาหารจากธรรมชาติมีคุณค่าสูงต่อร่างกาย กระนั้นก็ตาม ใช่ว่าอาหารประเภทนี้จะเหมาะกับคนทุกคนเสมอไป นอกจากประเด็นเรื่องอาหารธรรมชาติที่ข้ามแดนข้ามเส้นรุ้งมาจะไม่เหมาะกับคนอีกเขตหนึ่ง ซึ่งภูมิอากาศแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงแล้ว ยังมีประเด็นเรื่องของระดับสุขภาพและสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับอาหารจากธรรมชาติแต่ละชนิดแตกต่างกันไป เช่น หัวเผือก หัวมัน ข้าวโพด และแครอท ซึ่งคนรักสุขภาพทั่วไปมักจะบริโภคเป็นอาหารว่างหรือทำเป็นเครื่องดื่ม ทว่า พืชคาร์โบไฮเดรตเหล่านี้ มีกลูโคสอยู่สูง อันจะส่งผลให้ร่างกายผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้น และจะเปลี่ยนโอเมก้า-6 ให้เป็นกรดไขมันชนิดที่เป็นอันตรายมาก และยิ่งทำให้ผู้ที่เป็นมะเร็งอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น อาหารดังกล่าวรวมไปถึงอาหารจากธรรมชาติที่มีโอเมก้า-6 สูง เช่น งา น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จึงถือเป็นของต้องห้ามและไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง (46)

(46) อารีย์ วชิรมโน, ยิ้มสู้มะเร็ง, (กรุงเทพ: สารคดี, 2547), หน้า 87, 105 และ 115-6.

สองประเด็นข้างต้นตรงกับข้อเสนอของ มิชิโอะ คูชิ ซึ่งได้สรุปสั้นๆ ไว้ว่า การกินอาหารเพื่อสร้างเซลล์เม็ดเลือดที่มีคุณภาพ มีหลักการกินให้กลมกลืน 5 อย่าง อันได้แก่

(ก) กลมกลืนกับระบบนิเวศวิทยา คือ การบริโภคอาหารที่หาได้ภายในพื้นที่ที่อาศัยอยู่
(ข) กลมกลืนกับลักษณะเฉพาะตัว เช่น อายุ เพศ กิจกรรมในชีวิตประจำวัน อาชีพ องค์ประกอบทางสรีระเดิม สุขภาพในปัจจุบัน
(ค) กลมกลืนกับลำดับขั้นของวิวัฒนาการ หมายความว่าเมื่อดูจากโครงสร้างของฟัน อาหารของมนุษย์จึงน่าจะเป็นพืชมากกว่าเนื้อสัตว์
(ง) กลมกลืนกับวัฒนธรรมการบริโภคอาหารแบบดั้งเดิม กล่าวคือ การไม่บริโภคอาหารแปรรูปและอาหารสำเร็จรูป และ
(จ) กลมกลืนกับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เช่น ในฤดูหนาวให้กินอาหารที่ใช้เวลาปรุงนานและอาหารหนัก ลดการกินผลไม้หรือสลัดผักลง
ส่วนฤดูร้อน ให้กินอาหารเบาๆ (47)

ฉะนั้น ความปลอดภัยของอาหารจากธรรมชาติแท้ๆ จึงไม่ใช่เพียงแค่กินอาหารที่ทำจากพืช แต่ผ่านกระบวนการขัดสี ปรุงแต่ง เติมสารต่างๆลงไปอย่างมากมาย เท่านั้น

(47) มิชิโอะ คูชิ, อ้างแล้ว, หน้า 59-65.

จากที่ได้อภิปรายมาทั้งหมด 3 ประเด็นข้างต้นจะเห็นได้ว่า เรื่องของสุขภาพมิใช่เป็นเรื่องที่จำกัดอยู่แต่แค่การดูแลรักษาร่างกายตามหลักการ "ที่ถูกต้อง" ของวิทยาศาสตร์การแพทย์ โภชนาการ เภสัชศาสตร์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านความงามเท่านั้น ทั้งยังมิใช่เรื่องของการหมกมุ่นลงทุนในร่างกายแบบปัจเจก - ตัวใครตัวมัน ใครทำใครได้ ตรงกันข้าม เรื่องของการที่จะมีสุขภาพดีนั้น แท้จริงแล้วมิใช่เพียงแค่เลือกกิน หรือไปเสาะแสวงหาอาหาร(ที่มีวัตถุดิบส่วนหนึ่งมา)จากธรรมชาติ จากที่ไกลๆ เท่านั้น แต่ยังหมายถึง ความพร้อมและเต็มใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เช่น พึงพอใจในการบริโภคสิ่งที่หาได้จากท้องถิ่น การศึกษาค้นคว้าให้รู้จริงเกี่ยวกับสภาพร่างกายของตนเอง และรูปแบบการดำเนินชีวิตหรืออาหารแต่ละชนิดที่จะส่งผลต่อตน เป็นต้น นอกจากนี้ การเกิดโรคหรือจะมีสุขภาพดียังโยงใยลากลึกไปได้ถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ผลิตแบบเข้มข้นและปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วย (48) ตราบใดที่เรายังมีมายาคติว่า '(สิ่งที่มาจาก) ธรรมชาติเป็นแหล่งต้นตอของสุขภาพดี' การเอารัดเอาเปรียบธรรมชาติก็ยังจะคงชอบธรรมอีกต่อไป ภายใต้กระบวนทัศน์ทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยม. แต่หากมองว่าที่มาของการมีสุขภาพดีมีได้หลายทาง โดยที่ไม่ต้องมีจุดเริ่มต้นจากการนำเข้า สกัด หรือพรากเอาจากธรรมชาติ อย่างเช่น สุขภาพดีเพราะการบริโภคน้อยลง หรือสุขภาพดีเพราะได้อยู่ในสภาพแวดล้อม - ระบบนิเวศ และ ความสัมพันธ์กับผู้คน - ที่ดี เป็นต้น บางทีหนทางสู่ความเท่าเทียมเรื่องสุขภาพอาจจะเป็นจริงได้

(48) ดังเช่นที่มีการพบว่า การปะทุกลับมาอีกครั้งของไข้มาลาเรียช่วงคริสตทศวรรษ 1960 หลังจากที่กำจัดไปได้เกือบจะหมดจากโลกแล้ว ได้มีผู้วิเคราะห์จากมุมมองทางนิเวศวิทยา และบางสาขาย่อยทางชีววิทยาว่า นี่เป็นผลพวงจากการปฏิวัติเขียว ซึ่งกระหน่ำใช้ยาฆ่าแมลงและเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว ผลที่ตามมาได้แก่ เพียงชั่วข้ามคืนที่มีการโหมใช้ดีดีที และสารเคมีอื่นๆ ยุงซึ่งสามารถต้านทานยาฆ่าแมลงเหล่านี้ได้ดีก็แพร่พันธุ์กระจายไปทั่วโลก และกลายเป็นพาหะของไข้มาลาเรียระลอกใหม่ (Wim J. van der Steen, Vincent K. Y. Ho and Ferry J. Karmelk, Beyond Boundaries of Biomedicine: Pragmatic Perspectives on Health and Disease, (Amsterdam: Rodopi, 2003), pp.4-6).

2. ปัญหาความไม่เท่าเทียมเรื่องสุขภาพ
เรื่องความไม่เท่าเทียมเรื่องสุขภาพถือเป็นปัญหาใหญ่ทางปรัชญา แต่ในงานวิจัยนี้ขอจำกัดการอภิปรายในเรื่องดังกล่าวไว้เพียง 2 ประเด็น กล่าวคือ (ก) ปัญหาการนำเสนอข้อมูลของ PPBI และ (ข) ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมระหว่างคู่สัมพันธ์ต่างๆ สองประเด็นนี้เองที่ทำให้เรื่องความเท่าเทียมทางสุขภาพ ดูเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากยิ่ง

ก. การนำเสนอข้อมูลของ PPBI
ข้อมูลความมีประโยชน์ในฉลาก ที่นำเสนอโดยอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมอาหารเสริม หรืออุตสาหกรรมบำรุงผิวพรรณ ถ้าดูกันอย่างผิวเผิน การเผยแสดงและกระหน่ำป้อนข้อมูลทางวิชาการอย่างล้นหลาม รวมไปถึงการติดฉลากแสดงว่าเป็นอาหารอินทรีย์หรือเป็นอาหารซึ่งผลิตจากพืชที่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรมหรือ GMOs น่าจะ ทำให้คนทุกคนในสังคมเข้าถึงสุขภาพที่ดีได้ อย่างไรก็ดี บ่อยครั้งที่พบว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงภาพลวงตาเท่านั้น ทั้งนี้ อิทธิพลของบรรษัทยักษ์ใหญ่และการที่รัฐมักเอื้อผลประโยชน์ให้แก่อุตสาหกรรมเหล่านี้ แทนที่จะคำนึงถึงผู้บริโภคเป็นอันดับแรก อีกทั้งวิธี 'การทำการตลาดสีเขียว' ทำให้ไม่อาจมั่นใจได้เลยว่า ข้อมูลที่ PPBI พยายามจะบอกแก่ผู้บริโภคนั้นเชื่อถือได้เพียงใด ข้อเท็จจริงที่พบคือ

- การติดฉลากดังกล่าวไม่แน่เสมอไปว่า จะเกิดจากเจตนาดีของตัวผู้ผลิตเองที่ต้องการรับผิดชอบและห่วงใยในสุขภาพต่อผู้บริโภค ที่กล่าวเช่นนี้ เนื่องจากเป็นเวลากว่า 2 ทศวรรษที่ตลาดสินค้าอินทรีย์เติบโตขึ้นอย่างมากในประเทศพัฒนาแล้ว โดยเริ่มมาจากการเติบโตของเนื้อที่ทำการเกษตรแบบอินทรีย์ในแถบยุโรปตะวันตกมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1985 ส่วนหนึ่งก็เพราะรัฐให้การสนับสนุน นโยบายของประเทศในสหภาพยุโรปเอง ถึงกับให้เงินอุดหนุนเกษตรกรที่เปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ (49) ส่วนการติดฉลากสินค้าเกษตรอินทรีย์ของผู้ประกอบการ บางราย ก็เพียงเพื่อผลทางการตลาดเท่านั้น ดังนั้น การติดฉลากจึงเป็นเรื่องของการเพิ่มยอดขายมากกว่าการให้ทางเลือกแก่ผู้บริโภคอย่างบริสุทธิ์ใจ สำหรับบรรษัทเหล่านี้ในประเทศไทยเอง ก็มีลักษณะการทำการตลาดแบบเดียวกัน เพื่อดึงดูดลูกค้ากลุ่มที่นิยมบริโภค "ธรรมชาติ"

- การเมืองของการจัดทำมาตรฐานสินค้าอินทรีย์ของสหรัฐอเมริกา: ครั้งหนึ่ง อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป ได้ผลักดันให้กฎหมายยอมรับว่า อาหารจีเอ็มโอ, อาหารฉายรังสี, อาหารที่ผลิตโดยใช้ปุ๋ยจากกากน้ำมันและมูลสัตว์, และเนื้อสัตว์ที่เลี้ยงแบบขุนให้อ้วน, เป็นอาหารอินทรีย์ประเภทหนึ่ง โชคดีที่ต่อมา ข้อเสนอดังกล่าวถูกพลังประชาชนต้านทานจนต้องยกเลิกการออกกฎหมายนี้ไปในที่สุด (50) ถึงกระนั้น เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ภาคประชาสังคมไม่อาจมั่นใจได้เลยว่า หน่วยงานของรัฐจะทำหน้าที่เพื่อพิทักษ์สิทธิของประชาชนเต็มที่ และถ้าหากบรรษัทเหล่านี้ล็อบบี้ทางการเมืองได้สำเร็จ ก็ไม่แน่ว่าหน่วยงานรัฐเหล่านี้ จะไปมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบรรษัทด้านเกษตรและอาหารเหล่านี้หรือไม่

(50) เพิ่งอ้าง, หน้า 49.

เหตุการณ์ข้างต้นยังแสดงให้เห็นถึงความพยายามของบรรษัทด้านอาหารในการสร้างนิยามใหม่ให้กับคำว่า "อาหารอินทรีย์" (ที่เดิมสามารถใช้แค่ผัสสะทั้ง 5 ของมนุษย์ ก็ประเมินและตรวจสอบได้ว่าปลอดภัยต่อสุขภาพหรือไม่) และแม้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่หากประสบผลสำเร็จ ย่อมเป็นที่แน่นอนว่า จะส่งผลต่อสุขภาพและการบริโภคของคนในประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ทั่วโลก เพราะต้องไม่ลืมว่า สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิตแนวคิดหรือสินค้าประเภท software ที่สำคัญของโลก

- ขณะที่ด้านหนึ่ง PPBI ด้านอาหารและการเกษตรพยายามแสดงให้สาธารณชน "เห็น" ถึงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการติดฉลาก ทว่า อีกด้านหนึ่งที่ถือเป็น "วิชามาร" ของบรรษัทด้านเมล็ดพันธุ์ ได้แก่ การทำให้การปนเปื้อนจากพืชจีเอ็มโอแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว ในระดับที่เกินกว่าที่แต่ละประเทศจะออกกฎหมายติดฉลากได้ทัน ทั้งนี้ ก็เพื่อให้อาหารจีเอ็มโอ "กลายเป็นชะตากรรมที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้" (51) ถึงที่สุดแล้ว คนที่ไม่ต้องการบริโภคพืชจีเอ็มโอก็จะไม่มีทางเลือกอื่นๆ อีกต่อไป เมื่อเป็นเช่นนี้ ความฝันที่จะไปถึงความเท่าเทียมเรื่องสุขภาพก็จะยิ่งห่างไกลไปทุกที

(51) นาโอมิ ไคลน์, "มลพิษด้านพันธุกรรม," อ้างแล้ว, หน้า 105-6.

ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ เมื่อการปนเปื้อนแพร่ไปอย่างแทบจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ - ดังกรณีข้าวโพดจีเอ็มโอ ซึ่งละอองเกสรสามารถกระจายไปได้ไกลหลายไมล์ - ปฏิบัติการขั้นต่อไปที่ทางบริษัทเมล็ดพันธุ์กระทำได้แก่

(1) การรักษาสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของตนเองอย่างก้าวร้าว (52) หรือ
(2) เสนอทางออกให้เปลี่ยนกฎหมายโดยให้ระบุว่า ข้าวโพดจีเอ็มโอ (ซึ่งเดิมใช้เป็นอาหารสัตว์เท่านั้น) เป็นพืชที่มนุษย์บริโภคได้ แทนที่จะรับผิดชอบโดยการเรียกคืนพันธุ์ข้าวโพดเหล่านั้น (54)

(53) เป็นกรณีของบริษัท อเวนติส กล่าวถึงใน นาโอมิ ไคลน์, อ้างแล้ว, หน้า 105.
(54) เพิ่งอ้าง, หน้า 104.

ขณะที่พันธมิตรอย่างไม่เป็นทางการของบรรษัทอาหาร อย่างเช่น ห้างค้าปลีก ก็ร่วมมือโดยการไม่ติดฉลากที่มีไว้เพื่อแบ่งแยกสินค้าอาหารที่เป็น GMOs ออกจากอาหารอินทรีย์ ดังที่ห้าง Loblaws ในแคนาดา ยกเลิกการติดป้ายที่แสดงว่าสินค้าใดปลอดจีเอ็มโอ ทั้งๆ ที่แต่เดิมห้างนี้ก็เคยทำติดฉลากสินค้าปลอดจีเอ็มโอมาก่อน (54)

(54) เพิ่งอ้าง, หน้า 104.

ข. ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมระหว่างคู่สัมพันธ์ต่างๆ
นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ นำเสนอมา จะทำให้ความไม่เท่าเทียมทางสุขภาพกลายเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้แล้ว ตัวละครต่างๆ ที่สัมพันธ์กันในเชิงอำนาจยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญของเป้าหมายข้างต้น

คู่สัมพันธ์คู่แรก คือระหว่าง 'บรรษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศพัฒนาแล้ว' กับหน่วยทางสังคมที่เรียกว่า 'ผู้บริโภคในประเทศกำลังพัฒนา' หรือระหว่าง 'ซีกโลกเหนือ' ผู้ผลิตทั้ง software และ hardware กับ 'ซีกโลกใต้' ซึ่งเป็นทั้งผู้บริโภคหลักและหนูทดลองผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

"การวิจัยและพัฒนา" หรือ R & D ของบรรษัทเหล่านี้คือ เครื่องมือใหม่ของยุคโลกาภิวัตน์ที่ใช้สร้างความน่าเชื่อถือ ช่วยเพิ่มยอดขาย ใช้เพื่อกีดกันการค้า รวมทั้ง R & D ยังถูกใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับราคาแพงของสินค้า เช่น กรณีอุตสาหกรรมประทินผิว ดังตัวอย่างของ Valmont ที่ยกมาข้างล่างนี้ ทั้งยังเห็นได้ในกรณีของอุตสาหกรรมยา และอุตสาหกรรมอาหารเสริมอีกด้วย

"ผลิตภัณฑ์ชุดธรรมชาติจากสวิส ได้แรงบันดาลใจจากความรู้ในพันธุ์พืชดั้งเดิมของสวิส แผ่นดินแห่งเทือกเขาอัลไพน์ ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อนี้ได้ชื่อว่า สามารถคิดค้นสารสกัดจากธรรมชาติมา ผสมผสานกับหลักการชีวศาสตร์ โดยนำเอาโมเลกุลของแมกนีเซียม แคลเซียม และโซเดียมมาเชื่อมเข้ากับดีเอ็นเอ (DNA) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เรียกว่า Triple DNA ลิขสิทธิ์เฉพาะของ Valmont ที่มีคุณสมบัติบำรุงผิว ปกป้องผิวจากการทำลายของแสงแดด…

พืชพันธุ์ธรรมชาติหลายชนิด ชาวเอเชียอาจไม่คุ้นเคย ด้วยเป็นพืชเมืองหนาว กำเนิดในแถบภูเขาสูงกว่า 1,200 เมตร เรียกว่า Phyto-alpine และปลูกด้วยวิธี ปลอดสารเคมี โดยสิ้นเชิง เป็นพืช ออร์แกนิกที่บริสุทธิ์แท้ เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบสกัดทำผลิตภัณฑ์เพื่อผิว...

Nature by Valmont ตั้งเคาน์เตอร์ขายในเมืองไทยไม่กี่แห่ง เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลผิวชั้นสูงนำเข้าจากสวิส แน่นอนราคาต้องคู่ควรกับภาษีนำเข้าและคุ้มค่ากับ การทดสอบวิจัย..." (55)

(55) "จากธรรมชาติล้วนๆ," กรุงเทพธุรกิจวันอาทิตย์, ปีที่ 17 ฉบับที่ 5799 (418) (8 สิงหาคม 2547), หน้า 14.

สำหรับกรณีของบริษัทเครื่องสำอางและบรรษัทยา - "ผู้รับผลประโยชน์" จากความสูญเสียระดับสาม อันเนื่องมาจากอุตสาหกรรมอาหาร - ซึ่งมักสร้างชุดคำอธิบายในทำนองว่า เหตุที่ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณและยาของตนมีราคาแพง และบรรษัท จำเป็นต้อง ปกป้องสิทธิบัตรยาของตน นั่นก็เพราะมี "ต้นทุนด้านการวิจัยและคิดค้นพัฒนายาตัวใหม่ๆ" สูงมาก กระนั้นก็ดี กลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมที่ติดตามการทำงานของบรรษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมยา พบว่า ปัญหาของชุดคำอธิบายดังกล่าวอยู่ที่ (ก) การวิจัยและพัฒนา (ข) ยาตัวใหม่ๆ และ (ค) สิทธิบัตรของส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์

ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า ถึงแม้ตัวยาที่บรรษัทยาข้ามชาติผลิตขึ้นจะเป็นผลจากการวิจัยและคิดค้นพัฒนาจริง ทว่า ยาส่วนมากไม่ใช่ยาที่มีเป้าหมายเพื่อการรักษาโรคที่พลเมืองส่วนใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศยากจน ประสบชะตากรรมอยู่จนต้องสูญเสียชีวิตไปจำนวนมาก เช่น โรคมาลาเรีย วัณโรค หากแต่สัดส่วนของการ "วิจัย" และผลิตยาของบรรษัทกลับเป็นยาที่ "รักษา" หรือ "พยุง" โรคซึ่งเป็นกันมากในกลุ่มคนผู้มีอันจะกิน (จนกินเกิน) ในโลกที่หนึ่ง (หมายถึงประเทศพัฒนาแล้ว หรือ สังคมแบบ "โลกที่หนึ่ง" ในประเทศโลกที่สาม) เช่น ยารักษาอาการหอบหืด ยาลดความดัน ยาลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด วิตามินและสารอาหารเสริมต่างๆ รวมไปถึงการพัฒนา "ของเล่นทางเคมี" (chemical toy) อย่างยาเพิ่มประสิทธิภาพในการแข็งตัวของอวัยวะเพศชายหรือไวอะกร้า (Viagra) เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้งามให้แก่บรรษัทอย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนจะได้ผลกำไรอย่างไม่มีวันสิ้นสุด (56) ยิ่งเมื่อมาพิจารณาจำนวนและชนิดของยาใหม่ๆ 1,233 ชนิดที่ออกสู่ท้องตลาดในช่วง 18 ปี คือระหว่างปี ค.ศ.1975 ถึง 1997 จะพบว่า มีเพียงตัวยา 13 ชนิดเท่านั้น ที่เป็นยาสำหรับการรักษาโรคที่เกิดในเขตร้อนหรือในภูมิภาคที่ประเทศยากจนตั้งอยู่ (57)

(56) รายการวิทยุบีบีซีภาคภาษาไทย ตอน "ปัจจัยที่สี่" ออกอากาศเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2548
(57) การโต้ตอบของ Walden Bello จาก Focus on the Global South ต่อกระทู้ของ Philippe Legrain อดีตที่ปรึกษาของนาย Mike Moore อดีตผู้อำนวยการ WTO ในรายการวิทยุบีบีซี ตอนที่ 2 "Do Corporations Rule?" ภายใต้รายการชุด Who Runs Your World? ออกอากาศในวันที่ 25 สิงหาคม 2548 (โปรดดูจาก BBC NEWS: http://news.bbc.co.uk/go/pr/fr/-/1/hi/magazine/4201516.stm)

ข้อเท็จจริงที่โหดร้ายอีกประการหนึ่งคือ R & D ที่มักมาพร้อมๆ กับการอ้างเรื่อง 'สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา' และราคายาและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่แพงเกินเหตุ ถูกใช้เป็นเงื่อนไขเชิงโครงสร้างเงื่อนไขหนึ่งภายใต้กรอบการเจรจาขององค์การการค้าโลก (WTO) มากดดันให้ชุมชนท้องถิ่นในประเทศโลกที่สามต้องยอมจำนนต่อกระบวนการที่เรียกว่า "กระบวนการแปรรูปธรรมชาติ" และการแปรรูปพัฒนาการทางชีวสังคมที่สั่งสมมานานหลายรุ่นคน (the privatization of nature, organisms, and biosocial processes) (58) ให้กลายเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของบรรษัทข้ามชาติด้านอาหาร ด้านเครื่องสำอาง และด้านยาจากประเทศพัฒนาแล้ว สิ่งนี้คือ การกระทำของ 'โจรสลัดทางชีวภาพ' จากประเทศโลกที่หนึ่ง ขณะที่ผู้เสียเปรียบคือ ประเทศโลกที่สามในเขตร้อนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทุนทางชีวภาพ

(58) Walden Bello, "Trade Related Intellectual Property Rights and the Developing World,"
Speech at Cairo University, Cairo, October 13, 2004.

ทั้งหมดนี้อาจสรุปสั้นๆ ได้ว่า เรื่องของโรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากอาหารการกิน รวมไปถึงการรักษาโรคเหล่านั้น และกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ แท้จริงแล้วก็คือ เรื่องของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เรื่องของการกุมทั้งเทคโนโลยีและชุดความรู้ รวมทั้งเรื่องของความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างโลกเหนือและโลกใต้นั่นเอง

คู่สัมพันธ์คู่ที่สอง คือ ระหว่างคนที่ต่างชนชั้นกัน เนื่องมาจากการลงทุนในร่างกายของปัจเจกตาม "บท" ที่ PPBI กำหนดมาเพื่อให้ได้มาซึ่ง "สุขภาพดี" ในแบบหนึ่ง ทำให้ปัจเจกต้องลงทุนด้านตัวเงิน เวลาและกำลังใจอีกมหาศาล ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการควบคุมบังคับใจและรักษาระเบียบวินัยในการกิน การออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตแทบจะทุกด้านอีกด้วย ตัวอย่างเช่น การทำน้ำอาร์ซี, การทำน้ำธัญพืช, หรือน้ำผักปั่นที่เป็นที่นิยมกัน จำเป็นต้องมีเครื่องทำน้ำชนิดนี้โดยเฉพาะ การหาซื้อส่วนผสมบางอย่างไม่ง่ายอย่างที่คิด การจัดเตรียมมีหลายขั้นตอน (ทำความสะอาด - ปอก - ต้ม - หั่น -ปั่น -ฯลฯ) รสชาติก็มิได้อร่อย และต้องอาศัยความมีวินัยในตนเองสูงมาก

"กบเข้าฟิตเนสทุกวัน วันละสองชั่วโมงเต็ม เต้นแอโรบิกหนึ่งชั่วโมง จากนั้นเล่นเวทเพื่อเผาผลาญไขมันและเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้เฟิร์ม หมอบอกว่าต้องใส่สเตย์นอน ไม่อย่างนั้นกล้ามเนื้อก้นจะขยาย หน้าท้องจะไม่เหมือนเดิม กบก็ต้องทนทรมานนอนหายใจไม่ออกเพราะใส่สเตย์อยู่ตั้งนาน และยังต้องเข้มงวดเรื่องอาหารการกินสุดๆ ตลอดสามเดือนนั้น กบไม่เคยกินข้าวเลย ของหวาน ของมัน ของทอด แตะไม่ได้ มื้อเที่ยงกินแต่ผักจิ้มน้ำพริก หรือไม่ก็แกงเลียง บางวันเปลี่ยนเป็นส้มตำ จะได้ไม่เบื่อ มื้อเย็นกินแอ๊ปเปิ้ล บางทีก็ฝรั่ง หรือไม่ก็ชมพู่ ผ่านไปสามเดือน น้ำหนักลดลงหมดเลยทั้ง 18 กิโล…

…กบต้องสตริ๊กท์เรื่องอาหาร เช่น ถ้าวันนี้กินสลัดผักน้ำสลัดอิตาเลียนแล้ว วันพรุ่งนี้อาจกินปลาแซลมอนแทน อาทิตย์หนึ่งกินข้าวแค่ 5 คำเท่านั้นเป็นเพื่อนลูก มื้อเย็นกินแต่ชมพู่ หรือไม่ก็ฝรั่ง บางทีก็แอ๊ปเปิ้ลสลับๆ กันไป มีบ้างเหมือนกันที่หลุด กินโน่นกินนี่ สมมติว่า ตอนกลางวันกินกุ้งไปสองตัว ตามด้วยก๋วยเตี๋ยวอีกหนึ่งชาม ตกเย็นกบต้องไปนอนให้เขานวดเพื่อรีดน้ำออกจากตัว เพื่อให้หน้าท้องไม่ยื่น ตามด้วยการมาสก์สาหร่ายกระชับตามตัว บางครั้งก็ต้องนวดตามจุดต่างๆ ที่สะสมไขมัน เช่น ตามเอว หน้าท้อง ต้นขา หลังจากนั้น กบแทบจะไม่กินอะไรเลยไปอีกสามวัน เพราะถ้ากินแบบระเบิดระเบ้ออีก หน้าท้องก็จะยื่น น้ำหนักขึ้นทันที" (59)

(59) คำให้สัมภาษณ์ของ ปภัสรา เตชะไพบูลย์ อายุ 35 ปี นักแสดง อดีตนางงาม และขณะนี้เป็นผู้ที่ขึ้นชื่อว่า "เป็นภรรยานักการเมืองที่เด็กที่สุด สวยที่สุด และสุขภาพดีที่สุด" ลงตีพิมพ์ใน แพรว ปีที่ 26 ฉบับ 606 (25 พฤศจิกายน 2547) หน้า 239-40.

ผู้วิจัยเห็นว่า จะมีก็เพียงคนจำนวนน้อยเท่านั้นที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายของการลงทุนทางร่างกายเช่นนี้ได้ เป็นคนจำนวนน้อยที่มีอภิสิทธิ์ในสังคม เพราะมีกำลังซื้อสูงจนไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายและเวลาที่ใช้ไปเพื่อให้ได้มา "เพื่อสุขภาพ" มากนัก เป็นคนจำนวนน้อยที่ได้รับการยกเว้นจากสังคมว่า ไม่ต้องทำงานผลิตในทางสังคมหรือ reproduction ที่ต้องดูแลปากท้องและความเป็นอยู่เรียบร้อยของคนอื่นๆ ในครอบครัวและชุมชน โดยสรุปคือ ความหมายของ "สุขภาพดี" ที่สร้างขึ้นนี้ ยังคงไม่เปิดพื้นที่ให้กับคนบางคนที่มีความรับผิดชอบต่อผู้อื่นจนทำให้ไม่มีอิสระทางกาย (corporeal freedom) มากนัก (60) ที่จะสามารถเจียดเวลาไปให้เวลากับตัวเอง "ลงทุนทางร่างกาย" ตามนิยามใหม่ของสุขภาพดีข้างต้น ผู้หญิงแม่บ้านหรือผู้ที่ต้องทำงานหนักนอกบ้านแล้วยังต้องกลับมาบ้านดูแลคนป่วยหรือพ่อแม่ที่แก่เฒ่าแล้ว จะอธิบายกับตนเองและผู้อื่นอย่างไร เมื่อต้องการแบ่งเวลาไปปฏิบัติการ "ส่วนตัว" ดังกล่าว

(60) Gill Valentine, "Consuming Pleasures: Food, Leisure and the Negotiation of Sexual Relations," in: Leisure/ Tourism Geographies: Practices and Geographical Knowledge, ed. David Crouch, (London and New York: Routledge, 1999), p.173

ในทางกลับกัน คน 2 กลุ่มนี้อาจพอใจกิจกรรมสร้างความรื่นรมย์อื่นๆ เช่น การดื่ม-กินร่วมกับคนอื่นๆ ในครอบครัวและชุมชน มากกว่าการไปออกกำลังกายหรือการมุ่งปรนเปรอตัวเองอย่างเข้มข้น กล่าวอีกอย่าง คนเหล่านี้ตีความหมายคำว่า "สุขภาพดี" ไปอีกแบบหนึ่ง นั่นคือ สุขภาพดีไม่ได้จำกัดอยู่แค่เรื่องของความแข็งแรง หรือความงามทางกายของปัจเจก แต่สุขภาพดีเป็นผลจากการมีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีกับคนอื่นๆ รวมไปถึงความสำเร็จทางจิตใจมากกว่า (61) ดังนั้น นอกจากความหมายใหม่ของ "สุขภาพดี" ที่ผลิตขึ้นในยุคนิยมบริโภค จะไม่เปิดพื้นที่ให้แก่คนบางกลุ่มบางพวกแล้ว ยังไม่เปิดพื้นที่ให้แก่ชุดความหมายอื่นๆ ของ "สุขภาพดี" ที่พ้นไปจากความแข็งแรงหรือความงามทางกาย

(61) นิธิ เอียวศรีวงศ์, "วัฒนธรรมฟิตกาย," วัฒนธรรมความจน, (กรุงเทพ: แพรวสำนักพิมพ์, 2542), หน้า 129.

ถ้าผลักข้อถกเถียงของปัญหาข้างต้นไปให้ถึงที่สุดแล้ว ก็จะนำมาสู่ปัญหาถัดมาที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นได้ กล่าวคือ การลงทุนร่างกายเพื่อ "สุขภาพดี" ในความหมายแคบๆ นี้ อาจกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ตรึงความไม่เท่าเทียมกันในสังคมไว้ต่อไป ทั้งในแง่ของ (ก) ชนชั้น-สถานะทางสังคม และ (ข) ในแง่ของรุ่นคน-อายุ หมายความว่า ในด้านหนึ่ง การประกอบสร้างนิยามและรูปแบบการรักษาสุขภาพแบบหนึ่ง ซึ่งมีพื้นฐานอยู่ที่การบริโภคให้มากขึ้น - ทั้งที่เป็นการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริม การเสพข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ทางวิชาการ การเลือกแบบแผนการกินอาหารอย่างมี "ความรู้" และมีสำนึก (ไม่ใช่สักแต่ว่ากินอะไรก็ได้) - ยังหมายถึงช่องว่างที่ยิ่งห่างออกไปมากขึ้นระหว่างคนต่างกลุ่ม (ซึ่งมีกำลังซื้อต่างกัน) และอาจกลายเป็นว่า 'ผู้ที่มีอภิสิทธิ์ในการลงทุนทางกาย' (อ่านเป็นนัยว่า คนกลุ่มหนึ่งในสังคมที่มีกำลังซื้อทั้งผลิตภัณฑ์ที่เป็น hardware รวมทั้ง "ข้อมูล" และความหมาย/ อุดมการณ์ หรือ software ที่มาควบคู่ไปกับตัวผลิตภัณฑ์) อาจ อ้างความเหนือกว่า ของตนเหนือนิยามและวิธีการลงทุนทางกายแบบอื่นๆ ของคนต่างกลุ่มต่างชนชั้น เนื่องจากพวกเขาเชื่อมั่นว่าตนเองมีวิธีการดูแลร่างกายอย่างมีหลักการกว่า ปลอดภัยกว่า ใช้ "ความรู้" ทั้งยังเป็นปฏิบัติการในพื้นที่ส่วนตัวที่มีคุณค่าเชิงสัญญะ (เช่น คุณธรรม สำนึกดีต่อสังคม) อีกด้วย

ขณะที่ในอีกด้านหนึ่ง การลงทุนในร่างกายเพื่อ "สุขภาพดี" ในแบบที่ PPBI ผลิตขึ้นเช่นนี้ ยังตรึงความไม่เท่าเทียมกันระหว่างกลุ่มคนที่ยอมรับการที่สังขารร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติแห่งวัย กับ กลุ่มคนที่ยอมรับไม่ได้กับ "สภาพเสื่อมทรุดและชำรุด" ของร่างกาย จนต้องแสวงหานานาสารพัดวิธีการ ที่จะคง(และคืน) ไว้ซึ่งความอ่อนเยาว์ คนกลุ่มหลังที่ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งต่อการคงความอ่อนวัยนี้เอง อาจจะเป็นผู้ที่ผลิตสร้างอุดมการณ์ที่เป็นอคติต่อความสูงวัย (ทั้งที่เกิดขึ้นโดยตั้งใจหรือที่ไม่ตั้งใจ) ที่น่าประหลาดใจก็คือ แม้ว่าคนกลุ่มนี้นิยมบริโภคผลิตภัณฑ์หรือมีแบบแผนการดำเนินชีวิตหลายๆอย่างที่ "เป็นธรรมชาติ" ทว่า เป็นการยากยิ่งที่จะให้พวกเขายอมรับความเป็นธรรมชาติแห่งวัยและความเป็นธรรมชาติของสังขาร

โดยสรุป ทางออกจากความเสี่ยงและความเสื่อมทางสุขภาพที่ PPBI เสนอต่อผู้บริโภค บนฐานของการทำงานของ "ระบบ" นั่นคือ ความสัมพันธ์ระหว่าง sex-health-beauty-morality หรือ "ความมีสุขภาพดี" และจริยธรรมชุดหนึ่ง จึงอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม นอกเหนือไปจากนี้ คุณภาพความสัมพันธ์ที่แย่ลงระหว่างคู่สัมพันธ์ต่างๆ ในสังคมดังที่ได้อภิปรายไปแล้ว อาจกลายเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยใหม่ที่ค่อยๆ บ่มเพาะสังคมความเสี่ยงในอนาคต


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++ คลิกกลับไปอ่านบทความเกี่ยวเนื่อง

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๑ : Release date 30 July 2008 : Copyleft by MNU.

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการโลกาภิวัตน์ทางสังคมและตลาดนี้เอง ที่สร้างความหมายใหม่ให้กับคำว่า "สุขภาพ" เป็นความหมายของ "สุขภาพ" ที่ซับซ้อน เนื่องจากได้สอดแทรก / สวมใส่ส่วนผสมของ "คุณธรรม" ลงไป นั่นคือ ตัวสินค้าที่ตลาดผลิตขึ้นนั้น มีทั้งส่วนผสมของ 'การตลาดสีเขียว' และส่วนผสมซึ่งเป็น 'ความถูกต้องทางการเมือง' ซ้อนทับกันอยู่ ยิ่งหากได้ศึกษาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในร่างกาย อันมีลักษณะการฉวยใช้ดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง และเป็น ผู้ผลิตอุดมการณ์หลักในเรื่องความงาม ที่มี "สุขภาพ" เป็นร่างเงาควบคู่กันมา เช่น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในร่างกายทั้งหลาย เราจะเห็นได้ถึงการทับซ้อนหรือ(บางกรณีเป็น)การกลืนกลายเป็นเนื้อเดียวกันของตัวสินค้ากับแนวคิดต่างๆ ข้างต้น ...

H