ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




02-07-2551 (1601)

Economic democracy: meaningful, desirable, feasible?
ประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจ: ความหมายและความน่าจะเป็น

ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

ประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจ เป็นเรื่องที่ต่างไปจากประชาธิปไตยทางการเมือง
และสังคม มันไม่ใช่เพียงเรื่องของปริมาณการซื้อสิ่งอุปโภคบริโภคได้อย่างเท่าเทียม
แต่เป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนกว่านั้นมาก ทั้งนี้เพราะมันหมายถึงการกระจายทุน
การกระจายการถือหุ้น และการกระจายการถือครองทรัพยากร ความเป็นเจ้าของ
ตลอดรวมถึงเรื่องของการกระจายรายได้. ในบทความนี้ได้ยกตัวอย่างเรื่องของ
ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศ ทั้งที่ประสบกับความสำเร็จและ
ความล้มเหลว อันอาจเป็นตัวอย่างสำหรับการปรับปรุงระบบเศรษฐกิจไทย
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา

ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๐๑
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๐๒ กรกฎาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๙.๕ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Economic democracy: meaningful, desirable, feasible?
ประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจ: ความหมายและความน่าจะเป็น

ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word


Robin Blackburn
Economic democracy: meaningful, desirable, feasible?

บางคนมองว่า การมีประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ดีอย่างเห็นได้ชัดในตัวมันเอง หากหมายถึงการขยายโอกาสทางเศรษฐกิจให้กว้างขึ้น คนงานมีปากเสียงในสถานประกอบการมากขึ้น และเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้านการลงทุนที่ส่งผลกระทบต่ออนาคตของชุมชนนั้น ๆ อันที่จริง ข้อถกเถียงที่มีมานานแล้วก็คือ ระบอบประชาธิปไตยทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นสิทธิลงคะแนนเสียงถ้วนหน้า เสรีภาพของพลเรือน และเงื่อนไขจำเป็นอื่น ๆ ที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและมีประสิทธิภาพ ทั้งหมดนี้จะใช้การได้ดีขึ้นหาก "ระบบสังคม" หรือ "ระบบเศรษฐกิจ" มีความเป็นประชาธิปไตยด้วย ถ้าระบบเศรษฐกิจไม่มีความเป็นประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของพลเมืองก็ย่อมอยู่ในระดับต่ำ และกลุ่มทุนก็จะสร้างความฉ้อฉลแก่กระบวนการทางการเมือง โดยเฉพาะในสังคมซับซ้อนที่เครือข่ายภาคธุรกิจสามารถปั้นแต่งวาระทางการเมืองได้ อีกทั้งต้นทุนของการหาเสียงเลือกตั้งก็สูงด้วย

ในขณะที่คนบางกลุ่มไม่เห็นความจำเป็นต้องปฏิรูปวิธีการหาเสียง และการระดมทุนอุดหนุนการเลือกตั้ง ทั้ง ๆ ที่มันเป็นที่มาของเรื่องอื้อฉาวซ้ำซากในประเทศร่ำรวยเกือบทุกประเทศ ยังมีแนวคิดอีกแนวหนึ่งที่ไม่เห็นพ้องกับข้อสรุปว่า เราควรตั้งเป้าหมายให้ระบบเศรษฐกิจมีความเป็นประชาธิปไตย ทั้งนี้เพราะแนวคิดนี้เห็นว่า วลี "ประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจ" เป็นการใช้คำที่ขัดแย้งกันเอง กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ มันเป็นความผิดพลาดในเชิงปทารถะ (category mistake-การที่สิ่งหรือข้อเท็จจริงประเภทหนึ่งถูกเข้าใจผิดว่า มันจัดอยู่ในอีกประเภทหนึ่ง เช่น คิดว่าจำนวนคือเทศะ เป็นต้น)

กระบวนการทางเศรษฐกิจนั้นซับซ้อนเกินกว่าจะควบคุมด้วยการลงคะแนนเสียงและการหาเสียงเลือกตั้ง รัฐบาลสามารถและต้องวางกฎเกณฑ์พื้นฐานบางอย่างก็จริง แต่ดังที่ฟรีดริช ฮาเยก (Friedrich Hayek) ชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลขาดข้อมูลเฉพาะในแต่ละท้องถิ่น ทำให้ไม่สามารถบริหารกิจการที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งไม่มีความสามารถในการวางแผนระบบเศรษฐกิจโดยรวมทั้งหมดได้ เพราะ

ประการแรก ความต้องการของผู้บริโภคมีรายละเอียดที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงง่ายเกินไป และ
ประการที่สอง โอกาสในการลงทุนที่มีอยู่มากมายหลากหลายในระดับท้องถิ่น เป็นสิ่งที่ศูนย์กลางการวางแผนไม่มีทางรู้ได้เลย

ในขณะที่ข้อวิพากษ์ของฮาเยกต่อการวางแผนแบบรวมศูนย์อาจฟังดูน่าเชื่อถือในหลาย ๆ กรณี แต่แนวคิดของเขากลับมองข้ามและไม่ยอมรับรู้ว่า ตลาดจำเป็นต้องพึ่งพิงบริบททางสังคมเช่นกัน และในความเป็นจริงนั้น ตลาดย่อมฝังตัวอยู่ในระบบสังคม อีกทั้งแนวคิดของฮาเยกก็มิได้ลบล้างเหตุผลว่า การริเริ่มของสังคมและทรัพยากรส่วนรวมเป็นสิ่งที่จำเป็นในการรับมือกับภัยคุกคามที่มีขนาดใหญ่และเห็นได้ชัด (1)

(1) ผู้เขียนเคยอภิปรายถึงข้ออ้างเหตุผลของฮาเยกไว้ใน "Fin De Si่cle," in Robin Blackburn, ed., After the Fall : The Failure of Communism and the Future of Socialism (New York: Verso, 1991).

การลงคะแนนเสียงอาจมีประสิทธิภาพ หากนำมาใช้กับการเลือกชุดนโยบายขนาดใหญ่ในระดับชาติหรือแม้กระทั่งในระดับโลก โดยอุดมคติแล้ว ระบอบประชาธิปไตยทางการเมืองสามารถขยายให้ครอบคลุมปัญหาพื้นฐานหลาย ๆ อย่าง อาทิเช่น การหาวิธีแก้ไขปัญหาความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ หรือการแก้ไขปรับปรุงด้านสาธารณสุข ในทางหลักการแล้ว ผู้ลงคะแนนเสียงสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับขอบเขตของการเก็บภาษีและโครงการทางสังคม แต่เนื่องจากคนจำนวนมากมีความเชื่อว่า กลุ่มอำนาจและกลุ่มผลประโยชน์ที่ครองอำนาจเหนือกว่าย่อมหาทางบิดเบือนผลการลงคะแนนเสียงที่ออกมา ถ้าเป็นเช่นนั้น ประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจก็น่าจะเป็นวิธีการหนึ่งในการทำให้ประชาชนมีบทบาทและมีอำนาจในการกำหนดนโยบายมากกว่าเดิม

ระบอบประชาธิปไตยทางการเมืองตั้งอยู่บนหลักการของ "หนึ่งคน หนึ่งเสียง" ในการเมืองระดับชาติ หลักการนี้นำมาประยุกต์ใช้ได้ง่าย และเราอาจจินตนาการได้ว่า หลักการนี้น่าจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในระเบียบโลกที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่านี้ แต่แนวคิดของ "หนึ่งคน หนึ่งเสียง" จะนำไปใช้กับโลกเศรษฐกิจในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

ในวิชาเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน เรายังใช้ตำราคลาสสิกของพอล ซามูเอลสัน (Paul Samuelson) กันอยู่เลย ตำราเล่มนี้เริ่มต้นด้วยการตั้งข้อสังเกตว่า ตลาดอาจเปรียบได้กับกระบวนการเลือกตั้ง โดยที่เงินดอลลาร์ทำหน้าที่เหมือนการลงคะแนนเสียง เมื่อผู้บริโภคซื้อสินค้าหรือนักธุรกิจลงทุน เงินดอลลาร์ที่พวกเขาใช้ก็ทำหน้าที่เหมือนคะแนนเสียงบ่งบอกถึงสิ่งที่พวกเขาเลือก "คะแนนเสียง" เหล่านี้นี่เองที่กำกับคัดท้ายผลผลิตไปยังทิศทางใดทิศทางหนึ่งในระบบเศรษฐกิจทั้งหมด

แต่จริง ๆ แล้ว เงินดอลลาร์ย่อมไม่เหมือนคะแนนเสียง เพราะเงินไม่ได้กระจายในหมู่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน ในยุคหลังสงครามโลกหมาด ๆ ซึ่งเป็นยุคที่ตำราเศรษฐศาสตร์เล่มนี้ได้รับความนิยมสูงสุด ข้อโต้แย้งดูเหมือนจะไม่ค่อยมีมากนัก ทั้งนี้เพราะความมั่งคั่งและรายได้ต้องประสบกับภาวะ "การถูกกดดันอย่างรุนแรง" บรรดาซีอีโอไม่อยากให้คนทั่วไปมองว่า พวกเขากอบโกยให้ตัวเองมากเกินไป ดังนั้น พวกเขาจึงให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ แก่ลูกจ้างมากมาย

แต่เราทุกคนรู้ว่า ทุกวันนี้อะไร ๆ ก็ไม่เหมือนเมื่อก่อนแล้ว นับตั้งแต่ ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา ความมั่งคั่งส่วนใหญ่ตกอยู่กับคนรวยและอภิมหาเศรษฐี ซึ่งไม่ใช่ประชากรระดับบนสุด 1% ด้วย แต่เป็นระดับบนสุด 0.1% และ 0.01% ต่างหาก หากเราเอาทรัพย์สินที่เป็นที่อยู่อาศัยออกจากสมการนี้ การกระจุกตัวของความมั่งคั่งจะยิ่งมากกว่าเดิม กล่าวคือ ในสหรัฐอเมริกา ประชากรระดับบนสุด 1% เป็นเจ้าของหุ้นบริษัทและพันธบัตรในตลาดการเงินถึงครึ่งหนึ่งของทั้งหมด ในขณะที่ครึ่งหนึ่งของครัวเรือนชาวอเมริกันทั้งหมดไม่มีทรัพย์สินที่สร้างผลผลิตได้เลย (2)

(2) Thomas Picketty and Emmanuel Saez, "Income Inequality in the United States, 1913-1998," The Quarterly Journal of Economics 118 (1) (2003) ; G้rard Dum้nil and Dominique Levy, "Class and Income in the U.S.," New Left Review 30 (November - December 2004): 105-133, 112.

ระบอบเศรษฐยาธิปไตยแบบนี้ย่อมหาความชอบธรรมแทบไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ เช่น การที่ผู้บริหารระดับสูงทำงานได้ผลลัพธ์เสมอตัวหรือเชิงลบด้วยซ้ำ แต่กลับได้รับผลตอบแทนมหาศาล หรือได้รับสิทธิซื้อขายหุ้น (options) ย้อนหลัง หรือได้รับผลประโยชน์จากรูปแบบผูกขาดของการเป็นคนกลางทางการเงิน ดังเช่นที่เอเลียต สปิตเซอร์ อัยการประจำรัฐนิวยอร์ก ได้เปิดโปงให้เห็นความฉ้อฉลอย่างเป็นระบบในธนาคารเพื่อการลงทุน การจัดการกองทุน และบริษัทประกัน ในช่วงปี ค.ศ. 2002-2006 การสืบสวนครั้งนี้ทำให้วุฒิสมาชิกพรรครีพับลิกัน นายปีเตอร์ ฟิตซ์เจอรัลด์ แห่งรัฐอิลลินอยส์ ถึงกับประณามอุตสาหกรรมบริการทางการเงินของสหรัฐฯ ว่าเป็น "องค์กรฉ้อโกงเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก" (3)

(3) John Plender, "Broken Trust," Financial Times, November 21, 2003.

โดยพื้นฐานแล้ว หลักทรัพย์ของบริษัทและเครื่องมือในตลาดการเงินที่ไม่ได้อยู่ในมือของกลุ่มอภิมหาเศรษฐี ก็จะอยู่ในความครอบครองของสถาบัน ซึ่งอ้างว่าดำเนินการเพื่อผลประโยชน์ของชนชั้นกลางหลายล้านคนที่เป็นสมาชิกแผนการเงินออมหลังเกษียน หรือเป็นสมาชิกของกองทุนบำนาญและสุขภาพที่นายจ้างให้การสนับสนุน แต่ความมั่งคั่งของสถาบันเหล่านี้ทำให้เกิด "ทุนสีเทา" (grey capital) ทั้งนี้เพราะกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและอภิสิทธิ์ที่กองทุนเหล่านี้ทำให้เกิดขึ้นมีความไม่ชัดเจน มันไม่ได้ให้อำนาจแก่ผู้รับประโยชน์ (หมายถึงผู้ถือหุ้น) แต่กลับให้อำนาจมากมายแก่ผู้บริหารกองทุน ซึ่งผู้รับประโยชน์ไม่มีทางควบคุมได้เลย (4)

(4) Robin Blackburn, Banking on Death or Investing in Life : The History and Future of Pensions (London : Verso, 2002).

ยิ่งกว่านั้น หน้าที่ดั้งเดิมของตลาดเงินทุนและสถาบันการเงินก็คือ โยกย้ายทุนไปยังที่ที่ให้กำไรสูงสุด แต่ในยุคการเงินภิวัตน์ (financialization) หน้าที่อีกประการที่เกิดขึ้นมาก็คือ รักษาการขับเคลื่อนยอดขายเอาไว้ด้วยการปรับขยายเครือข่ายสินเชื่อออกไป เดี๋ยวนี้บรรษัทยักษ์ใหญ่ เช่น เจเนรัลอิเล็กทริกและฟอร์ด ต่างก็ขยายบทบาทด้านสินเชื่อออกไป โดยให้กู้ยืมเงินหรือการเช่าซื้อในแบบต่าง ๆ เพื่อทำให้การขายสินค้าคล่องตัว

ธนาคารเพื่อการลงทุนอันหรูหรา มักแสดงความสนใจมากมายในสินเชื่อประเภทการจำนองและหนี้ผู้บริโภค โดยเฉพาะหนี้ซับไพรม์ที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงแบบต่าง ๆ ทั้งนี้เพราะสินเชื่อประเภทนี้มีอัตราดอกเบี้ยดีที่สุด ธนาคารจึงซื้อหนี้ประเภทนี้จำนวนมหาศาลมารวบรวมและจัดชุดใหม่เป็นตราสารอนุพันธ์สินเชื่อ แล้วตัดแบ่งตราสารเหล่านี้ออกเป็นสิบกลุ่มก้อน (tranche) ตามระดับความเสี่ยง จากนั้นก็ประกันความเสี่ยงให้แต่ละกลุ่มก้อนด้วยสูตรต่าง ๆ กันไป แล้วก็ขายตราสารหนี้ที่มีหลักประกันหรือ collateralized debt obligation (CDO) นี้ให้แก่กองทุนบำเหน็จบำนาญและกองทุนรวม

วิธีการนี้สร้างผลกำไรมหาศาล แต่ทันทีที่บรรยากาศภาคธุรกิจเปลี่ยนไป มนตร์ขลังก็เหือดหายตามไปด้วย (5) แทนที่จะเกื้อหนุนให้อุปสงค์ในตลาดประคองตัวอยู่ได้ วิธีการนี้กลับบีบอุปสงค์ให้หดหายไปอย่างไม่บันยะบันยัง ทันทีที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นและหนี้ด้อยคุณภาพสร้างความขาดทุนแก่ผู้ถือครอง CDO เรื่องที่น่าเศร้าใจคือ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ตั้งหน้าตั้งตาลดข้อบังคับให้สถาบันการเงินเพียงเพื่อให้งานกินเลี้ยงดำเนินต่อไป (6)

(5) Michael Gibson, "Understanding the Risks of Synthetic CDOs," Federal Reserve Bank, Working Paper No. 36, 2004.
(6) Andrew Glyn, Capitalism Unleashed : Finance, Globalization and Welfare (Oxford: Oxford University Press, 2006) ; Robin Blackburn, "Finance and the Fourth Dimension," New Left Review 39 (May -June 2006) : 39 - 72.

สภาพฟองสบู่ของอุปสงค์ในภาคการเงินก็คือ การทำให้ผู้บริโภคมีอำนาจซื้อโดยที่มิได้มีการกระจายรายได้ที่ดีขึ้นแต่อย่างใด หากเราต้องการท้าทายต่อสภาพฟองสบู่ของอุปสงค์นี้ (รวมทั้งการที่มันอำพรางความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้น) เราต้องถามตัวเองด้วยว่า เราสามารถควบคุมอุปสงค์ของเราได้แค่ไหน และตอบสนองอุปสงค์นั้นอย่างไร

ผู้บริโภคนั้นเป็นใหญ่ในระดับหนึ่ง เพราะถึงอย่างไร บรรษัทต่าง ๆ ที่แข่งขันกันก็ต้องพยายามเอาอกเอาใจลูกค้าไว้ให้ดี แต่การเสนอว่า ตลาดการค้าที่ผู้บริโภคมีความสำคัญก็คือประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจ น่าจะเป็นการด่วนสรุปที่เร็วเกินไป หนังสือเรื่อง No Logo (*) ของนาโอมี ไคลน์ และ The Corporation (บรรษัท) (**) ของโจเอล บาคาน ได้บรรยายให้เห็นชัดเจนถึงการตลาดของบรรษัทที่เข้ามากำหนดชี้นำความต้องการของเรา ดังที่ไคลน์และนักคิดคนอื่น ๆ เปิดโปงให้เห็น การกระหน่ำโฆษณาอย่างแยบยลคือสิ่งที่ปั้นแต่งทัศนคติของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นความต้องการหรือความรู้สึกว่าจำเป็นต้องมี โดยเริ่มต้นมาตั้งแต่วัยเด็กเลยทีเดียว กลุ่มการค้าที่แข่งขันด้านสินค้าเด็กต่างก็พยายามชี้นำรสนิยมของเด็ก ๆ และใช้ "อำนาจการเซ้าซี้" ของเด็กมากระตุ้นการใช้จ่ายของผู้ใหญ่ แม้กระทั่งประชาชนที่มีรายได้น้อยนิดและอยู่ชายขอบของโลกทุนนิยมก็ถูกดึงให้ติดบ่วงตรรกะของผู้บริโภคแบบนี้เช่นกัน

(*)No Logo: Taking Aim at the Brand Bullies is a book by Canadian journalist Naomi Klein. First published by Knopf Canada in January 2000, shortly after the WTO Ministerial Conference protests in Seattle had generated media attention around such issues, it became one of the most influential books about the anti-globalization movement and an international bestseller.

(**)The Corporation is a 2003 Canadian documentary film critical of the modern-day corporation, considering it as a class of person and evaluating its behaviour towards society and the world at large as a psychologist might evaluate an ordinary person. This is explored through specific examples.

The film was written by Joel Bakan, and co-directed by Mark Achbar and Jennifer Abbott. The documentary has been displayed worldwide, on TV and is also available on DVD. Bakan wrote the book, The Corporation: The Pathological Pursuit of Profit and Power (ISBN 0-74324-744-2), during the filming of the documentary.

นี่ไม่ได้หมายความว่า ความต้องการของผู้บริโภคจะเป็นสิ่งจอมปลอมไปเสียทั้งหมด ความจำเป็นของอาหาร เครื่องนุ่งห่มและที่อยู่อาศัย ย่อมเป็นความต้องการที่แท้จริง แต่เราสามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้ด้วยวิธีการสารพัดแบบ แต่ละแบบก็สะท้อนถึงข้อห้ามทางวัฒนธรรมหรืออุดมคติที่ปลูกฝังอยู่ในสังคม ซึ่งบอกเราว่าแบบไหนที่น่าพอใจและเหมาะสม

ผู้บริโภคกลับมีปากเสียงน้อยมากในแง่ของวิธีการตอบสนองอุปสงค์ของตน เราสามารถสืบสาวปรากฏการณ์นี้ย้อนไปได้ถึงยุคกำเนิดของระบบทุนนิยมในศตวรรษที่ 16 และ 17 ภาคเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ทำให้เกษตรกร เจ้าที่ดิน พ่อค้า ผู้มีวิชาชีพ และแม้กระทั่งกรรมกรรายวัน มีเงินอยู่ในมือ ทำให้พวกเขาสามารถซื้อหาของฟุ่มเฟือยที่มาจากต่างแดน อาทิ น้ำตาล ยาสูบ เครื่องเทศ สีย้อมผ้า ผ้าฝ้ายและกาแฟ แต่นายวานิช (พ่อค้ารายใหญ่) คือคนที่ตัดสินใจว่าจะตอบสนองความต้องการเหล่านี้ ด้วยการทำไร่เกษตรกรรมขนาดใหญ่ (plantation) โดยใช้แรงงานไพร่และทาสที่มีสัญญาผูกมัด ดังที่โธมัส โฮลต์ (Thomas Holt) ตั้งข้อสังเกตไว้ เมื่อแม่บ้านชาวอังกฤษซื้อน้ำตาลห่อหนึ่ง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การลงคะแนนเสียงด้วยเหรียญเพนนี เท่ากับเธอกำลังสนับสนุนการสร้างระเบียบสังคมใหม่ขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่บนการไร้ทางเลือกและไร้เสรีภาพของคนอีกกลุ่มหนึ่ง (7) หรือพูดอย่างนี้ได้ว่า ประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่งกำลังก่อให้เกิดพันธนาการและทรราชย์ทางเศรษฐกิจอีกรูปแบบหนึ่งขึ้นมา

(7) Thomas Holt, "Marking Race, Race Making and the Writing of History," American Historical Review 100(1) (February 1995): 1 - 21, 7. See also Robin Blackburn, The Making of New World Slavery : From the Baroque to the Modern, 1492 - 1800 (New York : Verso, 1997).

เรายังคงดำรงชีวิตอยู่ในโลก ซึ่งเห็นได้ชัดว่า การกระทำอย่างไม่รู้อิโหน่อิเหน่ของผู้บริโภคชาวตะวันตก กลับก่อให้เกิดโรงงานนรกและการสูบเอาทรัพยากรสำคัญที่หายากยิ่งมาถลุงเล่น ปัญหาของทฤษฎีอำนาจของเงินดอลลาร์ก็คือ ไม่เพียงแต่เงินไม่ได้ถูกกระจายอย่างเท่าเทียมเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาด้วยว่า เงินอาจทำให้เกิดระเบียบสังคมแบบที่สองขึ้นมา โดยปล่อยให้บรรษัทและตลาดทุนเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจว่า จะตอบสนองอุปสงค์ของเราอย่างไร รัฐบาลอาจกำกับดูแลก็จริง แต่รัฐบาลมักอยู่ไกลเกินไป ปิดหูปิดตาเกินไปและงุ่มง่ามเกินกว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ทันท่วงที ขบวนการสังคมอาจปลุกเร้า แต่การคว่ำบาตรมักมีผลกระทบเพียงชั่วคราวเท่านั้น บรรษัทยืดหยุ่นและมีอำนาจคงทนกว่า ในขณะที่ความสนใจของสาธารณชนมักเปลี่ยนแปลงได้ง่าย สาธารณชนอาจเบื่อหน่ายเสียงโวยวายของนักกิจกรรม และใจอ่อนต่อเสียงวิงวอนของบรรษัทที่แสดงอาการสำนึกผิด

ถ้าเช่นนั้น เราจะสร้างประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจที่มีความรับผิดชอบขึ้นมาได้อย่างไร? จะทำอย่างไรให้ส่วนรวมเข้าไปมีบทบาทในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจมากขึ้น? ทำอย่างไรเราจึงจะกระจายทรัพยากรทางเศรษฐกิจอย่างเป็นธรรมมากกว่านี้? ถึงแม้เราไม่มีทางสร้างสถาบันที่จะรับประกันความมีจริยธรรมในวิธีการผลิตและการบริโภคได้ก็จริง แต่ระบบบางอย่างอาจเอื้อให้เกิดพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบและความยุติธรรมทางสังคมได้บ้าง เท่า ๆ กับที่มีสถาบันจำนวนมากในปัจจุบันกำลังทำในทางตรงกันข้าม ในข้อเขียนต่อไปนี้ ผู้เขียนขอนำเสนอตัวอย่างบางประการ ทั้งในเชิงลบและเชิงบวก

ฝ่ายซ้ายสังคมนิยมที่ไม่อิงรัฐในศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะในครึ่งหลังของศตวรรษ มักนิยมแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้วยตัวเองของแรงงาน (self-management) เมื่อประเทศยูโกสลาเวียของนายพลตีโต แยกตัวออกจากระบอบสตาลิน ยูโกสลาเวียหันมาหาแนวคิดนี้ในฐานะทางเลือกอื่นนอกเหนือจากระบบเศรษฐกิจแบบรัฐควบคุม (command economy) การใช้ระบบเศรษฐกิจแบบนี้ดำเนินไปด้วยดีในระยะหนึ่ง และในช่วงปลายทศวรรษ 1960 ยูโกสลาเวียเริ่มสร้างความมั่งคั่งให้เกือบทั่วประเทศได้ในระดับหนึ่ง แต่ตลอดเวลานั้น ยูโกสลาเวียก็ยังใช้ระบอบการเมืองแบบพรรคเดียว และถึงแม้ใช้ระบอบเผด็จการแบบอ่อน ๆ เท่านั้น แต่สภาพการณ์ทางการเมืองเช่นนี้ก็ขัดขวางกระบวนการประชาธิปไตยในสถานประกอบการเท่า ๆ กับในประเทศอื่น ๆ

ปัญหาต่อมาก็คือ ถึงแม้แรงงานมีอำนาจในการบริหารจัดการในสถานประกอบการก็จริง แต่แรงงานที่ว่างงานหรือแรงงานในสถานประกอบการอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้ระบบนี้ล่ะ? ปัญหานี้เริ่มรุนแรงขึ้นในทศวรรษ 1970 และ 1980 เมื่อปัญหาการว่างงานมีมากขึ้น การบริหารจัดการของแรงงานในสถานประกอบการ ค่อนข้างใส่ใจผลประโยชน์ของแรงงานในสถานประกอบการนั้น ๆ ก็จริง แต่ละเลยกลุ่มแรงงานชั่วคราวหรือแรงงานว่างงาน

และถ้าหากมีกิจการสองแห่งที่มีแนวคิดเกี่ยวกับลำดับความสำคัญในท้องถิ่นแตกต่างกัน หมายความว่า บริษัทที่มีลูกจ้างมากกว่าย่อมมีอำนาจเหนือกว่าอย่างนั้นหรือ? เห็นได้ชัดว่า การขาดไร้ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงในสังคมวงกว้าง ทำให้ไม่มีคนกลางที่ชอบธรรมในการไกล่เกลี่ย ถึงจะมีประชาธิปไตยมากขึ้นกว่าเดิมสักเล็กน้อยก็ไม่ทำให้อะไรดีขึ้น ในความเป็นจริง สิ่งที่ตามมากลับกลายเป็นลัทธิชาตินิยมหัวรุนแรงในแต่ละรัฐของสหพันธรัฐยูโกสลาเวีย (ซึ่งนำไปสู่สงครามการเมืองในช่วงทศวรรษ 1990 และการแตกออกเป็นประเทศเล็กประเทศน้อยในปัจจุบัน-ผู้แปล)

เนื่องจากโครงสร้างการบริหารจัดการด้วยตัวเองของแรงงานมีอำนาจจำกัด เราจึงไม่ควรกล่าวหาว่า โครงสร้างนี้คือต้นเหตุของโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1990 แต่สิ่งที่เกิดขึ้นชี้ให้เห็นว่า ระบบปกครองระดับจุลภาคที่ดีอาจไม่ใช่ทางออกที่ดีสำหรับแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจระดับมหภาค ซึ่งในกรณีนี้ประกอบด้วยปัญหาเงินเฟ้อ ความไม่เท่าเทียมของแต่ละภูมิภาค และการว่างงาน (8)

(8) Robin Blackburn, "The Break-up of Yugoslavia," New Left Review 199 (May - June 1993): 100 - 119.

ระบบแบบเยอรมันที่เรียกว่า mitbestimmung (*) หรือการบริหารงานร่วม (comanagement) ซึ่งแบ่งกรรมการบริหารออกเป็นสองระดับลดหลั่นกัน และแรงงานมีตัวแทนอยู่ในกรรมการบริหารระดับที่สอง ระบบนี้ก็มีปัญหาคล้าย ๆ กับระบบแรก ข้อดีของระบบนี้ทำให้เยอรมนีแซงหน้าสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 2005 จนกลายเป็นประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดในโลก แต่ดัชนีอื่น ๆ ที่ชี้วัดความแข็งแรงของเศรษฐกิจระดับมหภาคของเยอรมนี อาจไม่ค่อยน่าประทับใจนัก โดยเฉพาะอัตราการว่างงานที่สูงถึงราว 10% ตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา

(*)Mitbestimmung / Co-determination (also: codetermination) is a practice whereby the employees have a role in management of a company. Codetermination rights are different in different legal environments. In some countries, like the USA, the workers have virtually no role in management of companies, and in some, like Germany, their role is very important. There is a lot of controversy on co-determination and its effects on performance of companies and economies.

อีกรูปแบบหนึ่งของประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจระดับสถานประกอบการก็คือ การถือครองหุ้นร่วมของลูกจ้าง (employee share ownership plans-ESOPS ) เราอาจแสดงเหตุผลสนับสนุนให้ลูกจ้างถือครองหุ้นบางส่วนของนายจ้างได้ก็จริง เพราะการถือครองหุ้นเช่นนี้ช่วยให้ลูกจ้างมีช่องทางในการรับรู้ข่าวสารและมีโอกาสได้ส่วนแบ่งกำไรบ้าง แต่ก็มีความเสี่ยงอย่างยิ่งเช่นกัน เมื่อบริษัทเอนรอนล่มสลายลงใน ค.ศ. 2001 โดยเฉลี่ยแล้ว ลูกจ้างของบริษัทเอนรอนถือครองเงินออมหลังเกษียณในรูปของหุ้นบริษัทถึงครึ่งหนึ่งของเงินออมทั้งหมด ดังนั้น ลูกจ้างไม่เพียงตกงาน แต่ยังสูญเงินออมครึ่งหนึ่งของตนไปด้วย

ถึงแม้ความเสี่ยงแบบนี้อาจทำให้มีความระมัดระวังกันมากขึ้น แต่ลูกจ้างในสหรัฐฯ จำนวนมากก็ยังถือครองเงินออมหลังเกษียณในรูปของหุ้นบริษัท โดยเฉลี่ยอยู่ในราวหนึ่งในสี่ของเงินออมทั้งหมด การถือครองหุ้นของลูกจ้างมักอยู่ในระดับสูงในหลาย ๆ บริษัทที่มีปัญหา เช่น บริษัทยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เป็นต้น บริษัทพวกนี้มักเสนอหุ้นให้ลูกจ้างเพื่อแลกกับการลดค่าจ้างหรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ลงไป ตัวอย่างนี้ชี้ให้เห็นปัญหาร่วมกันอีกประการหนึ่ง นั่นคือ พวกนายจ้างมักหาทางออกหุ้นให้ลูกจ้าง แทนที่จะยอมควักเงินสดออกมาสมทบแผนเงินออมหลังเกษียณของลูกจ้าง

นอกจากนี้ การถือครองหุ้นบริษัทก็ไม่ได้ช่วยให้ลูกจ้างมีอำนาจในการตัดสินใจมากขึ้น อันที่จริง บางครั้งกลับดูเหมือนมันทำให้ลูกจ้างถูกนายจ้างแบล็กเมล์ได้ง่ายขึ้น เช่น ขู่ว่า "คุณต้องยอมละทิ้งสิทธิประโยชน์ ไม่อย่างนั้นงานและเงินออมของคุณจะสูญหมด" ยิ่งกว่านั้น บริษัทยุคสมัยใหม่มีความเปราะบางต่อตลาดทุนมาก จนผู้ถือหุ้นรายย่อยมีแค่สิทธิความเป็นเจ้าของ "ชั้นรอง" อันเป็นคำที่รู้จักกันดีในวอลล์สตรีท กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ ผู้ถือหุ้นรายย่อยมีอิทธิพลต่อการดำเนินนโยบายของบริษัทน้อยมาก อีกทั้งพวกเขายังอยู่ปลายแถวของกลุ่มผู้สามารถอ้างสิทธิ์เหนือสินทรัพย์ของบริษัทด้วย

ตัวอย่างที่ลูกจ้างเป็นเจ้าของบริษัท และบริหารจัดการด้วยตัวเองที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือ บริษัทสหกรณ์มอนดรากอน (Mondragon Cooperative Corporation)(*) ซึ่งตั้งอยู่ในแคว้นบาสก์ของสเปน มอนดรากอนเติบโตมาจากสหกรณ์แปดแห่งใน ค.ศ. 1960 มีสมาชิกแรงงาน 395 คน ขยายเป็นสหกรณ์ 92 แห่งใน ค.ศ. 1980 มีสมาชิกแรงงานมากกว่า 18,000 คน ใน ค.ศ. 2004 กลุ่มบริษัทมอนดรากอนเป็นบริษัทนิติบุคคลที่ใหญ่เป็นอันดับเจ็ดของสเปน มีทรัพย์สินรวมกันประมาณ 18.6 พันล้านยูโรและมีสมาชิกแรงงานถึง 70,000 คน มอนดรากอนผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องมือจักรกล และเฟอร์นิเจอร์ มันมีทั้งแผนกก่อสร้างและเครือข่ายร้านค้าปลีก รวมทั้งมีโครงการด้านวิจัยและฝึกอบรมด้วย

(*)The Mondragon Cooperative Corporation (Spanish: Mondragon Corporacion Cooperativa - MCC) is a group of manufacturing and retail companies based in the Basque Country and extended over the rest of Spain and abroad. It is one of the world's largest worker cooperatives and one important example of workers' self-management.

The company was founded in Arrasate, a town in Gipuzkoa known as Mondragon in Spanish. The town had suffered badly in the Spanish Civil War and there was mass unemployment. A young priest, Father Jose Maria Arizmendiarrieta, arrived in 1941 and decided to focus on the economic development of the town, settling upon co-operative methods to achieve his goals. Co-operatives and self-help organisations had a long tradition in the Basque Country but had died away after the War.

In 1943, Arizmendi set up a democratically-managed Polytechnic School. The school played a key role in the emergence and development of the co-operative movement. In 1956, five young graduates of the school set up the first co-operative enterprise, named ULGOR (now Fagor Electrodom?sticos) after their surnames, which during its early years focused on the manufacture of petrol-based heaters and cookers. In 1959, they then set up the Caja Laboral Popular ("People's Worker Bank"), a credit union that both allowed the co-operative members access to financial services and subsequently provided start-up funds for new co-operative ventures. New co-operative companies started up in the following years, including Fagor Electr?nica, Fagor Ederlan and Danobat.

It has also extended by inviting other co-operatives to join the group and offering rescue for some failed companies on condition of co-operativization.

ปัจจัยสำคัญของความเติบโตและการสร้างความหลากหลายทางธุรกิจของกลุ่มมอนดรากอนหลังยุคทศวรรษ 1980 ก็คือ การก่อตั้งธนาคาร Caja Laboral Popular (ธนาคารแรงงานของประชาชน-ธนาคารนี้มีลักษณะแบบสหภาพสินเชื่อหรือ "เครดิตยูเนียน" คือกลุ่มสหกรณ์ที่คอยจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้แก่สมาชิก--ผู้แปล) ซึ่งให้การสนับสนุนด้านการเงินและการวางแผน และการก่อตั้งคณะกรรมการกิจการที่คอยชี้นำการเริ่มต้นธุรกิจในแต่ละสาขาการผลิต ใน ค.ศ. 1995 ธนาคาร Caja มีลูกจ้างถึง 1,380 คน และเป็นแรงผลักดันสำคัญทางเศรษฐกิจในแคว้นบาสก์

ในยุคแรกเริ่ม เนื่องจากกลุ่มมอนดรากอนยังมีขนาดเล็ก อีกทั้งสมาชิกส่วนใหญ่มีภูมิหลังเป็นชาวแคว้นบาสก์ และนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเหมือน ๆ กัน ทำให้การบริหารงานเป็นไปโดยราบรื่น แต่เมื่อกลุ่มเติบโตขึ้นและมีความหลากหลายมากขึ้น ภาคการเงินจึงเข้ามามีคุณูปการอย่างสำคัญ ต่อการขยายตัวและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยสร้างวินัยบางอย่างขึ้นมาในแต่ละกิจการของกลุ่ม ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 ระบบการนำแบบหมู่คณะของมอนดรากอนมีหัวใจอยู่ที่สมัชชาสหกรณ์ ซึ่งมีตัวแทนจากสหกรณ์ทุกแห่งในเครือมอนดรากอน รวมทั้งในคณะกรรมาธิการประจำสมัชชาซึ่งมาจากการเลือกตั้งด้วย (9)

(9) โปรดดู Robert Oakeshott, Jobs and Fairness : The Logic and Experience of Employee Ownership (Norwich : Michael Russell, 2000), 448 - 493 ; และเว็บไซท์ของ Mondragon Cooperative Corporation.

จนถึงปัจจุบัน มอนดรากอนยังคงเปรียบดังเกาะของชุมชนที่มีการนำเป็นหมู่คณะ ซึ่งลอยอยู่ท่ามกลางบริบทแวดล้อมที่เป็นระบบทุนนิยม กระนั้น มอนดรากอนก็ถือเป็นหินก้อนแรกที่น่าจะนำไปสู่ประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจมากกว่าระบบถือครองกรรมสิทธิ์หรือบริหารจัดการด้วยตัวเองในรูปแบบอื่น ๆ ถึงแม้สมาชิกที่เป็นลูกจ้างของมอนดรากอนอาจมีความเสี่ยงอยู่ไม่น้อย แต่การกระจายความหลากหลายในสินทรัพย์และการผลิตของกลุ่มออกไป ก็ช่วยลดความเสี่ยงลงได้ การที่มอนดรากอนสามารถรักษาความเติบโตไว้ได้ รวมทั้งรักษาโครงสร้างค่าจ้างที่เท่าเทียม ให้การศึกษาและตอบสนองความต้องการทางวัฒนธรรมแก่หมู่สมาชิก ถึงแม้ต้องเผชิญแรงกดดันจากโลกาภิวัตน์ก็ตาม ย่อมถือเป็นความสำเร็จและท้าทายลัทธินิยัตินิยม (determinism) (*) ของศาสดาพยากรณ์ "โลกแบน" อย่างโธมัน ฟรีดแมนได้เป็นอย่างดี

(*) Determinism (also called antiserendipity) is the philosophical proposition that every event, including human cognition and behaviour, decision and action, is causally determined by an unbroken chain of prior occurrences. (A chain of events is a number of actions and their effects that are contiguous and linked together.) With numerous historical debates, many varieties and philosophical positions on the subject of determinism exist from traditions throughout the world.

กระนั้นก็ตาม มอนดรากอนซึ่งถูกล้อมกรอบด้วยบริบทของประเทศสเปนและระบบเศรษฐกิจโลก ก็ยังเป็นแค่สูตรสำเร็จที่ไม่สมบูรณ์พอที่จะนำมาใช้กับสังคมโดยรวม ยุทธศาสตร์ที่มุ่งหาระบบเศรษฐกิจที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่านี้ จำต้องคำนึงถึงการจัดองค์กรบรรษัทในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมสมัยใหม่ รวมทั้งการกระจายความมั่งคั่งในการผลิตที่ไม่เป็นธรรมด้วย

อีกเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่ความมีส่วนร่วมของประชาชนหมู่มากในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจก็คือ บทบาทของรัฐบาลท้องถิ่นหรือเทศบาล ระบบเศรษฐกิจของท้องถิ่นที่มีพลวัตมักสะท้อนให้เห็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลท้องถิ่น มหาวิทยาลัยและภาคธุรกิจ ในด้านหนึ่ง ภาคธุรกิจย่อมได้รับประโยชน์จากความรู้ของสังคม ซึ่งหากภาคธุรกิจคิดจะแสวงหาเอง ก็ย่อมเป็นต้นทุนที่สูงเกินไป ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง ภาคธุรกิจก็รู้ตัวว่า ตนต้องสร้างหลักประกันให้ชุมชนทั้งหมดมีส่วนแบ่งในความสำเร็จด้วย กิจการระดับเมืองและหมู่บ้านของประเทศจีนเป็นไปตามตรรกะนี้และมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจของทั้งประเทศก้าวหน้าไปอย่างมาก แต่มักต้องพึ่งพิงคนใหญ่คนโตและเส้นสายในท้องถิ่นมากเกินไป และประชาชนยังมีปากเสียงตามกระบวนการประชาธิปไตยในขอบเขตแคบ ๆ เท่านั้น (10)

(10) Jean Chun Oi, Rural China Takes Off: Institutional Foundations of Economic Reform (Berkeley : University of California Press, 1999) ; Angus Maddison, China' s Economic Performance in the Long Run (Paris: OECD, 1998); Chun Lin, The Transformation of Chinese Socialism (Durham N. C. : Duke University Press, 2006), 106 - 107.

เมืองโปร์ตูอาเลเกรในบราซิล และความพยายามที่จะพัฒนาการจัดทำ "งบประมาณประชาชน" เป็นรูปแบบการระดมมวลชนในท้องถิ่นที่แตกต่างออกไป ในช่วงทศวรรษ 1990 พรรคแรงงานบราซิล (PT) ชนะการเลือกตั้งเทศบาล และตัดสินใจนำรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในวงกว้างมาใช้ เพื่อให้บทบาทของประชาชนไม่จบลงแค่ลงคะแนนเสียงให้นักการเมืองขึ้นสู่อำนาจ ถึงแม้พรรค PT มีแนวคิดในการจัดเก็บและบริหารงบประมาณเทศบาลอยู่แล้ว แต่พรรคก็มอบอำนาจในการกำหนดรายละเอียด และวิธีการนำไปปฏิบัติให้แก่สมัชชาประชาชนในทุกท้องที่ ประชาชนสามารถกำหนดลำดับความสำคัญและแสดงความคิดเห็นได้ ระบบนี้ได้รับความนิยมมาก ถึงขนาดที่ยังอยู่รอดให้ใช้ต่อมาหลังการเลือกตั้ง ค.ศ. 2005 ทั้ง ๆ ที่พรรค PT ไม่ได้รับเสียงข้างมากในสภาเทศบาล

ทุกวันนี้ ประชาชนราว 50,000 คน ในเมืองซึ่งมีประชากร 1.5 ล้านคน มีบทบาทสำคัญในกระบวนการจัดทำงบประมาณ ถึงแม้จำนวนนี้จะน้อยกว่าหนึ่งในสิบของประชากรผู้ใหญ่ทั้งหมด แต่มันก็สะท้อนถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในวงกว้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ยากในเกือบทุกรัฐในโลก ซึ่งมีประชาชนแค่หนึ่งในสามหรือครึ่งเดียวออกมาลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ยิ่งไม่ต้องพูดถึงการมีบทบาทโดยตรงต่อการชี้นำการตัดสินใจของส่วนรวม

ควรสังเกตด้วยว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนเล็ก ๆ ของเมืองมีมากกว่าในเขตใหญ่ ๆ ใจกลางเมือง แต่ข้อจำกัดที่แท้จริงของระบบนี้คือ เทศบาลมีอำนาจจำกัดในการจัดเก็บรายได้ ถึงแม้การปกครองท้องถิ่นมักพยายามกระตุ้นการผลิตในท้องถิ่นก็จริง แต่เทศบาลก็เป็นองค์กรที่ใช้จ่ายเงินมากกว่าสร้างรายรับขึ้นมา หากจะทำให้ระบบมีความหมายอย่างแท้จริง ประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจควรเป็นการจัดการเพื่อสร้างความมั่งคั่งเท่า ๆ กับการใช้จ่ายมูลค่าส่วนเกินทางเศรษฐกิจของสังคม (11)

(11) Marion Gret and Yves Sintomer, Porto Alegre : L'espoir d'une autre democratie (Paris : n.p., 2002).

อีกความพยายามหนึ่งที่ถือเป็นนวัตกรรมในการสร้างประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจท่ามกลางและท้าทายบริบททุนนิยมก้าวหน้าก็คือ รัฐสวัสดิการแบบสวีเดน หรือที่เรียกกันว่า "บ้านของชาวสวีเดน" (Swedish Home) ผู้ออกแบบระบบนี้คือ โกสตา เรห์น (Gosta Rehn) และรูดอล์ฟ ไมด์เนอร์ (Rudolf Meidner) ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ของ LO สหพันธ์สหภาพแรงงานที่สำคัญของสวีเดน ทั้งสองได้รับอิทธิพลจากจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes) และเจมส์ มีด (James Meade) เรห์นและไมด์เนอร์รู้ดีว่า พวกเขาต้องคิดอยู่บนกรอบของรัฐสวัสดิการและระบบการเงินแบบบรรษัทควบคู่กันไป เพื่อให้สวีเดนรักษาระดับการจ้างงานที่สูงและหลีกเลี่ยงปัญหาเงินเฟ้อไปพร้อม ๆ กัน ความสำเร็จอันโดดเด่นของทั้งสองก็คือ รูปแบบของพวกเขาสามารถแก้ปัญหาสองด้านนี้ (การจ้างงานและเงินเฟ้อ) ได้เป็นเวลานาน ต่างจากรัฐสวัสดิการอื่น ๆ ในยุโรป ซึ่งได้เสถียรภาพทางการเงินมาโดยแลกกับการยอมให้มีภาวะว่างงานสูง ซึ่งส่งผลกระทบด้านลบต่อแรงงานหนุ่มสาว แรงงานอาวุโสและชนกลุ่มน้อย

รัฐสวัสดิการของสวีเดนรับประกันการมีบำนาญและการดูแลสุขภาพแก่ประชาชน นโยบายนี้แตกต่างอย่างสำคัญจากสูตรที่ใช้กันทั่วไป ซึ่งให้แรงจูงใจทางภาษีแก่บริษัทเอกชน เพื่อให้บริษัทยอมรับภาระการประกันสังคมแก่ลูกจ้าง ตัวอย่างจำนวนมากชี้ให้เห็นว่า สวัสดิการบรรษัทมักเป็นกับดักสำหรับลูกจ้าง ทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ที่บริษัทสัญญาไว้ รวมทั้งคุกคามตำแหน่งงานของลูกจ้าง เมื่อใดที่บริษัทที่เคยมีชื่อเสียงเกิดล้มละลาย อีกทั้งยังทำให้อุตสาหกรรมทั้งระบบ เช่น เหล็ก สายการบิน รถยนต์ และเทเลคอม ต้องซวดเซเพราะภาระของเงินบำนาญและการดูแลสุขภาพ การที่ภาคธุรกิจต้องรีดเนื้อเพื่อระบบเงินบำนาญคือตัวการที่ทำลายตำแหน่งงานดี ๆ จำนวนมาก แล้วมีแต่งานแบบแมคโดนัลด์มาแทนที่ นั่นคือ งานบริการค่าจ้างต่ำและไม่มั่นคง (12)

(12) ผู้เขียนบรรยายถึงกระบวนการนี้ไว้ใน Robin Blackburn, Age Shock : How Finance Is Failing Us (New York : Verso, 2006), chap. 3.

เสาหลักของรัฐสวัสดิการรูปแบบสวีเดนคือ การเจรจาต่อรองค่าจ้างแห่งชาติประจำปี วิธีการนี้เปิดโอกาสให้มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับลำดับความสำคัญที่สังคมต้องการ ในขณะเดียวกันก็รักษาการจ้างงานในระดับสูงเอาไว้ แน่นอน อัตราการจ้างงานในระดับสูงเป็นสิ่งที่ดี แต่มันก็อาจส่งผลให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ ในกรณีที่อำนาจต่อรองของคนงานมีความเข้มแข็งและเรียกร้องค่าแรงสูง การเจรจาต่อรองค่าจ้างประจำปีช่วยลดการเรียกร้องค่าจ้างลงเพื่อแลกกับหลักประกันทางสังคมใหม่ ๆ กระนั้น ก็ยังมีปัญหาของบรรษัทที่กอบโกยผลกำไรมหาศาล เพราะลูกจ้างยอมลดข้อเรียกร้องลง วิธีการแก้ปัญหาของไมด์เนอร์คือ ความพยายามอันทะเยอทะยานที่จะสร้างมิติใหม่ให้ประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ไม่บีบทำลายตลาด แต่สร้างความเป็นประชาธิปไตยให้กระบวนการลงทุนแทน

ทางออกที่เป็นข้อเสนอของไมด์เนอร์คือ การจัดตั้งกองทุนสังคมเชิงยุทธศาสตร์ขึ้น นั่นคือ "กองทุนของผู้มีรายได้จากค่าจ้าง" (wage-earner funds) กองทุนเหล่านี้ได้รับเงินสนับสนุนจาก "ภาษีที่เป็นหุ้น" (share levy) ที่เก็บจากบรรษัทใหญ่ ๆ ซึ่งจะได้รับผลประโยชน์จากการเจรจาต่อรองค่าจ้างประจำปี กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ เพื่อป้องกันไม่ให้กำไรส่วนเกินตกอยู่กับผู้ถือหุ้นเพียงฝ่ายเดียว บรรษัทจะต้องบริจาคหุ้นมูลค่าเทียบเท่ากับหนึ่งในห้าของกำไรประจำปีให้แก่เครือข่ายกองทุนของผู้มีรายได้จากค่าจ้างในภูมิภาคนั้น ๆ ส่วนหนึ่งของกองทุนนี้จะมอบให้แก่สหภาพลูกจ้างระดับกิจการ ซึ่งจะทำให้พวกเขามีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่มขึ้นในบริษัทของนายจ้าง แต่ส่วนใหญ่ของกองทุนนี้จะถ่ายไปให้เครือข่ายระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชนท้องถิ่นและสหภาพแรงงาน หุ้นที่กองทุนได้รับมาจะไม่นำออกขาย แต่ถือครองไว้เพื่อสร้างรายได้ในอนาคต กองทุนเหล่านี้ยังสามารถมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเชิงนโยบายของบรรษัทใหญ่ ๆ ได้ ด้วยการลงมติในการประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นประจำปี ส่วนสิ่งที่บรรษัทได้รับเป็นการแลกเปลี่ยนคือ ความร่วมมือและบริการจากภาครัฐ รวมทั้งการมีกำลังแรงงานที่แข็งแรงและมีการศึกษาดี

แผนการของไมด์เนอร์เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะบางอย่างก็จริง แต่เห็นได้ไม่ยากเลยว่า มันอาจสร้างการหักมุมแปลกใหม่แก่ความฝันของฝ่ายซ้ายรุ่นคลาสสิกที่ใฝ่ฝันถึงสังคมเท่าเทียมและปกครองตัวเอง ซึ่งแรงงานจะเป็นผู้นำสังคมด้วยสมองและสองมือ น่าเสียดายที่สวีเดนไม่ได้นำแผนการนี้มาใช้เต็มที่ ถึงแม้ LO จะสนับสนุนใน ค.ศ. 1976 ก็ตาม อันที่จริง สหพันธ์สหภาพแรงงานตอบรับแผนการนี้เป็นอย่างดี แม้แต่สมาชิกพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยก็กระตือรือร้นเช่นกัน

แต่แกนนำของพรรคกลับไม่เห็นพ้องกับวิสัยทัศน์ของไมด์เนอร์ ทั้งยังไม่พยายามผลักดันทำความเข้าใจแก่ประชาชนชาวสวีเดน แผนการของไมด์เนอร์มีความก้าวหน้าอย่างถึงรากถึงโคน แต่แกนนำพรรคไม่ได้ก้าวหน้าขนาดนั้น เมื่อย้อนกลับไปพิจารณาในภายหลัง บางแง่มุมของแผนการนี้ก็ให้คำแนะนำที่ไม่ค่อยดีนัก อาทิเช่น คณะกรรมาธิการบริหารของกองทุนควรรับผิดชอบต่อประชาชนทั้งหมดในท้องถิ่นนั้น ๆ ไม่ใช่ให้สถานะพิเศษแก่สหภาพแรงงาน โครงสร้างที่ไมด์เนอร์นำเสนอก่อให้เกิดความกริ่งเกรงว่า จะมีการรวบอำนาจเกินขอบเขตไว้ในมือของกลุ่มผู้นำสหภาพ ความกลัวนี้มีอยู่แม้กระทั่งในหมู่นักสหภาพแรงงานเอง สื่อมวลชนเอกชนเองก็โจมตีประเด็นนี้ค่อนข้างสำเร็จทีเดียว แกนนำพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยปรับแก้แผนการนี้ใหม่ แต่มุ่งไปในทิศทางที่ผิดพลาด และหยิบยื่นการควบคุมกองทุนให้แก่เทคโนแครตทางการเงิน กลุ่มผู้ต่อต้านแผนการนี้ยังโจมตีประเด็นที่ว่า แรงงานภาคเอกชนจะได้ผลประโยชน์มากกว่าพนักงานภาครัฐด้วย

เมื่อกองทุนสังคมก่อตั้งขึ้นจนได้ใน ค.ศ. 1982 การบริจาคของภาคเอกชนถูกลดลงจนเหลือน้อย และไม่สามารถเป็นหนทางที่ประชาชนจะนำรายได้ในอนาคตมาใช้เพื่อเป้าหมายทางสังคมหรือการเติบโตของภูมิภาคได้อีกต่อไป (13) ยิ่งกว่านั้น สวีเดนประสบวิกฤตการณ์ทางการเงินขั้นร้ายแรงในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ด้วย ทำให้โมเดลของเรห์น/ไมด์เนอร์ได้รับผลกระทบพอสมควร เรห์นและไมด์เนอร์เองยุติบทบาทไปนานแล้ว คำแนะนำของพวกเขาจึงไม่ได้รับการรับฟัง กองทุนสังคมได้ถือครองหุ้นเพียงแค่ 7% ของหุ้นที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของสวีเดน ลงท้ายแล้ว กองทุนนี้ก็ถูกใช้ไปเพื่อก่อตั้งสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์

(13) คำบรรยายโดยรวมเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของไมด์เนอร์ที่ดีที่สุดมีอยู่ใน Jonas Pontusson, The Limits of Social Democracy (Ithaca, N. Y. : Cornell University Press, 1992). แผนริเริ่มสำหรับกองทุนของผู้มีรายได้จากค่าจ้างได้รับการวางเค้าโครงไว้ใน Rudolf Meidner, Employee Investment Funds (London : Allen & Unwin, 1978). ส่วนเรื่องราวเกี่ยวกับการต่อสู้เพื่อนำแผนการนี้มาใช้ โปรดดู Jonas Pontusson, "Sweden : After the Golden Age," in Perry Anderson and Patrick Camiller, eds., Mapping the West European Left (London : Verso, 1994), 23 - 54.

แต่ถึงแม้จะนำมาใช้ในรูปแบบที่เจือจางลงมาก แผนการของไมด์เนอร์ก็ช่วยผลักดันสวีเดนให้ไปยืนอยู่แถวหน้าของระบบเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนฐานความรู้ กระนั้นก็ตาม หลังจากยุคไมด์เนอร์ผ่านไป การบริจาคของบรรษัทก็ลดลงเรื่อย ๆ ไม่ว่าในรูปของภาษีหรือแผนการบำนาญและสุขภาพที่นายจ้างบริจาคเงินสมทบ ยิ่งเวลาผ่านไป เราก็ยิ่งดำเนินชีวิตท่ามกลางสังคมที่คล้ายคลึงกับระบอบการปกครองสมัยโบราณของฝรั่งเศสยุคก่อน ค.ศ. 1789 (ปีที่เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส) กล่าวคือ ความมั่งคั่งของชนชั้นผู้ดีศักดินาได้รับการยกเว้นภาษีเกือบทั้งหมด เพียงแต่สมัยนี้เปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ของมหาเศรษฐีและอภิมหาเศรษฐีในภาคธุรกิจแทน สัญญาณอื่น ๆ ที่ทำให้หวนนึกถึงยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่สิบหกก็คือ ความเชื่อว่ากลียุคอยู่อีกไม่ไกล หวังพึ่งแต่การเสี่ยงโชค และการเกิด "tax farming" (*) รูปแบบใหม่ ในรูปของกฎหมายที่กำหนดให้พลเมืองต้องจ่ายภาษี (หรือเงินสมทบกองทุนบำนาญ) และมอบไว้ในมือของผู้จัดการกองทุนภาคเอกชน แทนที่จะให้องค์กรสาธารณะที่ไว้ใจได้เข้ามารับผิดชอบ

(*) "tax farming" เป็นวิธีปฏิบัติในสมัยอาณาจักรโรมัน รัฐโรมันมอบหมายให้บุคคลหรือกลุ่มเอกชนเป็นผู้เก็บภาษีจากสามัญชน ในขณะที่ชนชั้นสูงของโรมันได้รับการยกเว้นภาษี บุคคลหรือกลุ่มเอกชนจะเข้ามาประมูล และจ่ายเงินให้รัฐเพื่อให้ตนได้รับสัมปทานการเก็บภาษี การเก็บภาษีรูปแบบนี้จึงเป็นการเก็งกำไรรูปแบบหนึ่งและทำให้เกิดการขูดรีดสามัญชนอย่างมาก

เรื่องต้องห้ามในสังคมทุนนิยมก็คือ การจัดเก็บภาษีจากความมั่งคั่งของบรรษัทอย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือสัญญาณที่บ่งบอกถึงการมีอภิสิทธิ์อย่างเห็นได้ชัด ส่วนระบบ "ภาษีที่เป็นหุ้น" ของไมด์เนอร์ ต่างจากภาษีสมัยใหม่ส่วนใหญ่ตรงที่มันหลีกเลี่ยงได้ยากมาก แม้แต่บริษัทที่เก็บหุ้นไว้ในดินแดนปลอดภาษีก็ไม่อาจหนีรอดจากมาตรการนี้ ในอีกด้านหนึ่ง มันก็เป็นรูปแบบภาษีที่ไม่ได้เก็บมากมายเลย เพราะ "ภาษีที่เป็นหุ้น" แตกต่างจากการเก็บภาษีแบบเดิม ๆ มันไม่ได้รีดเงินจากกระแสเงินสดหรือทรัพยากรที่บริษัทต้องใช้ในการลงทุน มันช่วยกระจายความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ทำให้ภาคธุรกิจมีประสิทธิภาพในการผลิตลดลง

ข้อเสนอเกี่ยวกับ "กองทุนของผู้มีรายได้จากค่าจ้าง" สะท้อนวิธีคิดของคนรุ่นก่อน ไมด์เนอร์ไม่ได้เกิดในสวีเดน แต่ย้ายมาอาศัยในฐานะผู้ลี้ภัยจากนาซีเยอรมันใน ค.ศ. 1934 แนวคิดว่า แรงงานและประชาชนควรร่วมมือกันกำราบบรรษัท โดยสร้างกรรมสิทธิ์แบบหมู่คณะให้มากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นแนวคิดที่สะท้อนมาจากแนวคิดอื่น ๆ อีกทีหนึ่ง โดยเฉพาะแนวคิดที่เรียกว่า sachwertfassung ('realization of value'--การสร้างมูลค่าขึ้นมาโดยการรับรองของสังคม) ซึ่งไมด์เนอร์ซึมซับมาตั้งแต่สมัยอยู่ในกลุ่ม "ยุวชนสังคมนิยม" โดยเฉพาะจากการวิวาทะระหว่าง รูดอล์ฟ ฮิลเฟอร์ดิง (Rudolf Hilferding) และคาร์ล โปลันยี (Karl Polanyi) นักเศรษฐศาสตร์สังคมนิยมประชาธิปไตยชาวเยอรมันและชาวออสเตรียตามลำดับ

จากการที่เขาคำนึงถึงกลไกที่เป็นอยู่จริงของระบบเศรษฐกิจตลาด ไมด์เนอร์จึงพยายามออกแบบประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจที่นิยามด้วยการกระจายทุน ในขณะที่นักสังคมนิยมประชาธิปไตยส่วนใหญ่เน้นแค่การกระจายรายได้ ในอีกด้านหนึ่ง วิธีการของเขาไม่ใช่การรวบอำนาจหรือรวบกรรมสิทธิ์ไว้ที่รัฐศูนย์กลาง แต่กระจายอำนาจและกรรมสิทธิ์ให้แก่เครือข่ายกองทุนสังคมตามภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งรับผิดชอบต่อชุมชนท้องถิ่นของตน

นับแต่เริ่มต้น แผนการของไมด์เนอร์มีเป้าหมายที่จะรักษาระดับการจ้างงานเอาไว้ รวมทั้งสร้างความสมดุลแก่ระบบเศรษฐกิจมหภาคด้วย จากการประเมินในระยะหลัง ทั้ง ๆ ที่แผนการนี้ถูกปรับแก้จนไม่เหลือเค้าเดิม แต่ก็ยังก่อให้เกิดข้อดีที่กล่าวมา (14) ดังนั้น แผนการแบบไมด์เนอร์จึงสามารถหลีกเลี่ยงข้อเสียของโครงการเศรษฐกิจที่เน้นเฉพาะท้องถิ่น (เช่น มอนดรากอน การบริหารจัดการด้วยตัวเองของคนงานในยูโกสลาเวีย) ซึ่งดีต่อกลุ่มหรือชุมชนแรงงานเท่านั้น แต่ไม่ส่งผลดีต่อผลประโยชน์ส่วนรวม

(14) การประเมินในด้านบวกถึงผลกระทบของการนำแนวคิดของไมด์เนอร์มาใช้ โปรดดู Philip Whyman, "Post Keynesianism, Socialisation of Investment and Swedish Wage Earner Funds," Cambridge Journal of Economics 30 (1) (January 2006): 49-68.

ถึงแม้ผ่านไป 3-4 ทศวรรษแล้ว ระบบสวัสดิการของสวีเดนก็ยังครอบคลุมกว้างขวางกว่าประเทศอื่น ๆ และอัตราการว่างงานในสวีเดนก็น้อยกว่าอัตราเฉลี่ยในสหภาพยุโรปเกือบครึ่งหนึ่ง พ่อแม่ชาวสวีดิช สามารถเข้าถึงการดูแลเด็กที่ดีกว่า ผู้หญิงสวีดิชได้รับค่าจ้างดีกว่าและมีงานที่ยืดหยุ่นกว่าในประเทศเจริญแล้วอื่น ๆ แต่สวีเดนก็ไม่มีทุนสำรองในประเทศมากเพียงพอที่จะจัดการกับต้นทุนที่สูงขึ้นของสังคมคนชรา หลังจากภาวะชะงักงันในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ผู้นำพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยในสวีเดนเริ่มมองว่า แผนการของไมด์เนอร์เป็นอุปสรรค เป็นซากเดนของยุคที่พ้นสมัยไปแล้ว ไมด์เนอร์ถูกเบียดผลักเข้าสู่เงามืดและแนวคิดเกี่ยวกับกองทุนของผู้มีรายได้จากค่าจ้าง กลายเป็นแนวคิดที่ถูกดูแคลนมากที่สุด

เวลาผ่านไปนานแล้ว นับจากวันที่รัฐบาลฝ่ายซ้ายกล้าแตะต้องบรรษัทและเรียกร้องให้เจ้าของบรรษัทต้องเสียสละแก่สังคมส่วนรวมมากขึ้น เพราะหากปราศจากสังคม พวกเขาก็ไม่มีทางแสวงหากำไรได้ หากไม่มีความกล้าหาญเช่นนี้ เราจะยับยั้งความไม่เท่าเทียมที่ทวีเพิ่มขึ้นหรืองบประมาณสาธารณะที่หดตัวลงได้อย่างไร? ความพยายามของไมด์เนอร์ที่จะรักษา "บ้านของชาวสวีเดน" ไว้ ถือเป็นความพยายามที่มีสายตากว้างไกลที่สุด โดยตั้งอยู่บนหลักคิดของ "ประชาธิปไตยในระบบการเงิน" อันจำเป็นต่อการวางรากฐานของ "ประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจ" ซึ่งเราต้องนิยามว่า มันคือการกระจายทรัพย์สินที่เท่าเทียมกว่าเดิม เพื่อให้มีงบประมาณสังคมที่ครอบคลุมกว้างขวางมากขึ้น รวมทั้งฟื้นฟูการควบคุมทางสังคมต่อกระบวนการสะสมทุน ซึ่งตอนนี้ตกอยู่ในวังวนของลัทธิบริโภคนิยมอย่างหลับหูหลับตา และรังแต่จะทำลายตัวเอง (15)

(15) ผู้เขียนให้เหตุผลสนับสนุนระบบบำนาญตามแบบของไมด์เนอร์ที่ควรนำมาใช้ในสหภาพยุโรปในบทความ "Capital and Social Europe, " New Left Review 34 (July - August 2005): 87-114.

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เกี่ยวกับผู้เขียน
โรบิน แบล็กเบิร์นเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณรับเชิญ ของภาควิชาประวัติศาสตร์ใน New School for Social Research
ผลงานหนังสือเล่มของเขามีอาทิ Banking on Death or Investing in Life : The History and Future of Pensions (2002)
และ Age Shock: How Finance is Failing Us (2006).

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๐๒ กรกฎาคม ๒๕๕๑ : Release date 02 July 2008 : Copyleft by MNU.

เรายังคงดำรงชีวิตอยู่ในโลก ซึ่งเห็นได้ชัดว่า การกระทำอย่างไม่รู้อิโหน่อิเหน่ของผู้บริโภคชาวตะวันตก กลับก่อให้เกิดโรงงานนรกและการสูบเอาทรัพยากรสำคัญที่หายากยิ่งมาถลุงเล่น ปัญหาของทฤษฎีอำนาจของเงินดอลลาร์ก็คือ ไม่เพียงแต่เงินไม่ได้ถูกกระจายอย่างเท่าเทียมเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาด้วยว่า เงินอาจทำให้เกิดระเบียบสังคมแบบที่สองขึ้นมา โดยปล่อยให้บรรษัท และตลาดทุน เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจว่า จะตอบสนองอุปสงค์ของเราอย่างไร? รัฐบาลอาจกำกับดูแลก็จริง แต่รัฐบาลมักอยู่ไกลเกินไป ปิดหูปิดตาเกินไป และงุ่มง่ามเกินกว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ทันท่วงที ขบวนการสังคมอาจจะปลุก เร้า แต่การคว่ำบาตรมักมีผลกระทบเพียงชั่วคราวเท่านั้น บรรษัทยืด หยุ่นและมีอำนาจคงทนกว่า (คำโปรยคัดลอกมาจากบทความแปล)

H