ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




16-05-2551 (1562)

Imitation and Gender Insubordination - Judith Butler
Judith Butler: เมื่อฉันแสดงตัวเป็นเลสเบี้ยน-รักต่างเพศไม่ใช่ต้นแบบ
ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ : แปล
สมเกียรติ ตั้งนโม: เรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

บทความเพื่อสิทธิพลเมือง การเมือง สังคม และวัฒนธรรม
บทแปลต่อไปนี้ นำมาจากงานเขียนเชิงปรัชญาของ Judith Butler เรื่อง
Imitation and Gender Insubordination ซึ่งเป็นการอธิบายและเปิดเผยถึง
ความเป็นเลสเบียนของผู้เขียน และได้มีการวิพากษ์ความรักต่างเพศ(heterosexual)ที่อ้างว่า
ความรักชนิดดังกล่าวเป็นต้นแบบของการเลียนแบบของความรักชนิดต่างๆ โดยในบทแปลนี้
ได้มีการเรียบเรียงหัวข้อขึ้นใหม ่เพื่อง่ายต่อความเข้าใจ เนื่องจากต้นฉบับค่อนข้างเข้าใจยาก
- เพศสภาพคือการเลียนแบบชนิดหนึ่ง (ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าต้นแบบ)
- เพียงเพื่อที่จะทำการวิเคราะห์เชิงทฤษฏีถึงความเป็นเลสเบี้ยน
- อัตลักษณ์ เครื่องมือความชอบธรรมในการปกครอง
- การเรียกร้อง การต่อต้านกรอบและกฎเกณฑ์
- เมื่อฉันได้แสดงตัวเป็นเลสเบี้ยน
- ไม่มีความกระจ่างชัดในการใช้คำว่า "เกย์" และ "เลสเบี้ยน"
- อะไรที่ควรเป็นสิ่งกำหนดการสร้างเพศวิถี
- การดำรงอยู่ของความเป็นเกย์ เสมือนเป็นความจำเป็นในการแสดงออก
- การคุกคาม การทำให้กลัว
- ชาวเกย์ในฐานะการเป็นวัตถุต้องห้าม
- Mother Camp: Female Impersonators in America
- No Performer Prior to the Performed
- เพศวิถี เป็นเรื่องภายในที่ไม่ได้ปรากฏตามเพศสภาวะ
- ความสัมพันธ์แบบย้อนกลับ (Inverted Relation)
- จิตใต้สำนึก (unconscious) สามารถกำหนดสร้างอัตลักษณ์ใหม่ได้

midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๖๒
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๓.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Imitation and Gender Insubordination - Judith Butler
Judith Butler: เมื่อฉันแสดงตัวเป็นเลสเบี้ยน-รักต่างเพศไม่ใช่ต้นแบบ
ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ : แปล
สมเกียรติ ตั้งนโม: เรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความก่อนหน้านี้: เพศไม่มีประวัติศาสตร์ แต่เพศวิถีมีประวัติศาสตร์

(ข้อความบางส่วนที่คัดมาจากกลางเรื่อง)

เพศสภาพคือการเลียนแบบชนิดหนึ่ง (ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าต้นแบบ)
ถ้ามันเป็นจริงดังนั้น ดูเหมือนว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีสิ่งที่เป็นของแท้" หรือ"ไม่มีสิ่งที่เป็นเพศต้นแบบ" ที่นักแสดงชายที่สวมบทบาทของหญิงนั้นลอกเลียน แต่"เพศสภาพคือการเลียนแบบชนิดหนึ่ง" ซึ่งมันไม่มีสิ่งที่เรียกว่าต้นแบบ

ในความเป็นจริง "เพศสภาพ คือการลอกเลียนที่ผลิตความหมายของสิ่งที่เรียกว่าต้นแบบ" มันคือผลข้างเคียงและผลที่เกิดขึ้นตามมาจากการเลียนแบบของตัวมันเอง หรือถ้าพูดอีกอย่างหนึ่ง ผลข้างเคียงที่เป็นธรรมชาติของกลุ่มที่รักต่างเพศนั้น ได้ถูกผลิตสร้างขึ้นมาผ่านยุทธวิถีของการเลียนแบบ. สิ่งที่พวกเขาเลียนแบบคือ ภาพอุดมคติในมโนทัศน์ของอัตลักษณ์ของความเป็นรักต่างเพศ (Phantasmatic Ideal of Heterosexual Identity) มันถูกสร้างโดยการลอกเลียนแบบ และในฐานะที่มันเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการลอกเลียนนั้น

ในแนวคิดนี้จะเห็นได้ว่า "ความเป็นจริง" ของอัตลักษณ์ของคนเป็นรักเพศเดียวกัน เกิดขึ้นมาจากการเลียนแบบเชิงการแสดง ซึ่งการเลียนแบบนั้น ได้สร้างให้เกิด"ความเป็นต้นแบบ"และได้กำหนดการเลียนแบบทั้งหมดที่เกิดขึ้น. หรือในอีกความหมายหนึ่ง ความเป็นรักต่างเพศ คือกระบวนการของการเลียนแบบ และการปรับใช้สิ่งที่เป็นภาพอุดมคติในมโนทัศน์ของตัวมันเอง…

โครงการของการประกอบสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มคนรักต่างเพศ เป็นเสมือนโครงการที่ไม่มีจุดสิ้นสุด มีการผลิตซ้ำโดยตัวของมันเอง ในความพยายามที่จะสร้างให้ตัวของมันให้เป็น"ต้นแบบ". ความเป็นรักต่างเพศจะต้องถูกเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นสิ่งที่ต้องทำ (Compulsory) ต้องทำให้เกิดการทำซ้ำ ซึ่งการทำซ้ำนี้ ก่อให้เกิดการได้มาซึ่งผลของ"ความเป็นต้นแบบ"โดยตัวของมันเอง หรืออัตลักษณ์ที่จำเป็นต้องมีของกลุ่มรักต่างเพศ ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่ทำให้มโนทัศน์ของ "ผู้ชาย" และ "ผู้หญิง" ผูกเข้าหากันอย่างมั่นคงแข็งแรง มันคือการแสดงในเชิงการ"ผลิต"ให้เกิดเป็น"ผล" และก่อให้เกิดการกรอบกำหนด เกิดความหมายของต้นแบบ และเกิดเป็นมาตราฐานวัดความเป็นจริง

ถ้าจะพิจารณาถึงสิ่งที่กลุ่มเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกันที่ว่า กลุ่มเลสเบี้ยนที่เป็นฝ่ายหญิง "กลุ่มเลสเบี้ยนที่มีความเป็นชายสูง" และ"กลุ่มเลสเบี้ยนที่มีความเป็นหญิงสูง" คือการเลียนแบบจากความเป็นจริงของกลุ่มคนรักต่างเพศ. ในที่นี้ "การเลียนแบบ" สื่อถึงความหมายของ "สิ่งที่กลายมา" หรือ "ขั้นที่สองขั้นที่ต่ำกว่า" ของการลอกแบบที่เกิดจากการลอกเลียน"ต้นแบบ" ซึ่งในตัวของมันเองก็คือ การลอกแบบเหมือนกัน

แต่ในการลอกเลียนต้นแบบนี้ ตัวมันเองลอกแบบจากความไม่มีอะไร (A Copy of Nothing). ถ้าคิดเชิงตรรกะแล้ว ความหมายของคำว่า "ต้นแบบ" นี้น่าสงสัย มันจะเป็นไปได้อย่างไร ที่บางสิ่งบางอย่างมีการปฎิบัติการในเชิงที่เป็นต้นแบบ ถ้าไม่มีสิ่งที่เกิดเป็นของเลียนแบบ ซึ่งจะเป็นการยืนยันถึงความเป็นต้นแบบของต้นแบบนั้นเอง

เราลองมามองดูถึงปัญหาของการปรับย้ายตำแหน่งแห่งที่ จากมุมมองของทางสายนามธรรมทางแนวคิด และทางสายการเมือง. ถ้าพูดถึงโครงสร้างของการเลียนแบบเพศสภาพแล้ว การที่ถูกลอกเลียน (Imitated) คือการผลิตซ้ำอย่างหนึ่ง โดยการเลียนแบบ (สำหรับเรื่องนี้โปรดดูงานเขียนของ Derrida ในเรื่องเกี่ยวกับการปรับย้าย การเคลื่อนออกไปของการลอกแบบใน "The Double Session")

ดังนั้น การที่จะอ้างถึงอัตลักษณ์ของเกย์และเลสเบี้ยน ว่าถูกผลิตสร้างขึ้นมาจากบรรทัดฐานของกลุ่มรักต่างเพศ หรือในการครอบงำวัฒนธรรมแล้ว มันไม่ใช่การที่จะกลายมาเป็นเกย์จากความเป็นคนรักเพศเดียวกัน. ในทางตรงกันข้าม การลอกเลียนไม่ใช่การสำเนา (Imitation Does Not Copy) อะไรที่มีมาก่อนหน้า แต่มันผลิตสร้างและทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนกลับหัวกลับหางของลำดับขั้นและการกลายมาเป็น. อย่างตรงไปตรงมา มันคือการลอกเลียนแบบกลับหัวกลับหาง (Inverted Imitation) มันคือการปรับเปลี่ยนสลับกลับหัวกลับหาง เพื่อที่จะก่อให้เกิด. การที่ถูกลอกเลียนและการลอกเลียนคนอื่นๆ ซึ่งแนวคิดแบบนี้ขึ้นอยู่กับ "ความเป็นต้นแบบ" ซึ่งมันได้สัญญาว่า จะผลิตผลข้างเคียงในฐานะที่เป็นผลข้างเคียงอันดับสอง
.....................................

เริ่มเรื่อง

นี่มันคืออะไรกัน ที่เอามาแบ่งแยกความมีอยู่ของคน ซึ่งถูกนำเสนอผ่านระบบเพศสภาพ มันคือความเป็นไปไม่ได้ของการมีอยู่ หรือการมีอยู่แบบไม่มีตัวตน หรือมันเป็นเพียงแค่ความตลกขบขัน
โมนิค วิทติ้ง (Monique Witting)

นอกเหนือไปจากความซ้ำที่เกิดขึ้นในระดับกายภาพ และความซ้ำที่เกิดขึ้นในระดับจิตสำนึกและระดับอภิปรัชญา มันมีหรือไม่ที่จะเกิดเป็นความซ้ำในระดับของการดำรงอยู่ … มันคือความซ้ำอย่างสมบูรณ์ มันเปรียบเสมือนโรงละครโรงใหญ่ รวบรวมประกอบสร้างสิ่งต่างๆ เข้ามาด้วยกันในที่ทางเฉพาะของมัน หรือในทางกลับกัน มันทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง และในอีกทางหนึ่ง มันเลือกจากทุกสิ่งทุกอย่าง
จิวซ์ เดอร์เลิซ (Gilles Deleuze)

เพียงเพื่อที่จะทำการวิเคราะห์เชิงทฤษฏีถึงความเป็นเลสเบี้ยน
ก่อนหน้านี้ฉันคิดว่าฉันจะเขียนบทความอื่นที่ไม่ใช่บทความนี้ บทความที่มีน้ำเสียงในเชิงของปรัชญา และพูดถึงการเป็นอยู่ การมีอยู่ของความเป็นคนรักเพศเดียวกัน แนวความคิดที่เกี่ยวกับ "การเป็นอยู่หรือการมีอยู่" ของอะไรก็ตามเพื่อให้ได้มาซึ่ง "การเป็น" เกย์. สำหรับฉันแล้วมันก่อให้เกิดความรู้สึกกระวนกระวายใจ และสำหรับ "การเป็น" เลสเบี้ยนแล้ว มันดูเหมือนจะเป็นอะไรที่มากไปกว่าความลงตัวที่ง่ายๆ ธรรมดาๆ เพื่อที่จะกลายเป็นใครก็ตาม หรืออะไรก็ตามที่ฉันได้กลายมาเป็น ณ เวลานี้

และสำหรับฉันแล้ว มันไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะระงับไม่ให้เกิดความกระวนกระวาย ผสมความรู้สึกโกรธเมื่อกล่าวว่านี่คือ "บางส่วน" ของสิ่งที่ฉันเป็น เพื่อที่จะเขียนและพูดอย่างเลสเบี้ยน กลับกลายเป็นสิ่งที่ผิดปกติสำหรับการที่จะเป็น "ฉัน" นั่นคือใครคนใดคนหนึ่ง ผู้ซึ่งไม่รู้เลยว่านี้คือสิ่งที่จริง หรือเป็นสิ่งที่ไม่จริง. สำหรับผลผลิตที่ว่านี้ เพื่อที่จะแสดงตัวออกมา หรือเพื่อที่จะเขียนถึงชื่อของอัตลักษณ์ ซึ่งในบางครั้งถูกผลิต บางครั้งมีหน้าที่สำหรับการสร้างแนวคิดมโนทัศน์ทางการเมืองที่ก่อให้เกิดผลกระทบ ฉันไม่ได้มีความรู้สึกที่ดีนักต่อ "ทฤษฏีเลสเบี้ยน หรือ ทฤษฏีของเกย์" ดังเช่นที่ฉันเคยกล่าวไว้ในบทความอื่นๆ

อัตลักษณ์ เครื่องมือความชอบธรรมในการปกครอง
การจัดแบ่งอัตลักษณ์นั้น ดูเหมือนว่าจะเป็นเครื่องมือของการสร้างความชอบธรรมให้กับการปกครอง ไม่ว่าจะออกมาในรูปแบบของกลุ่มที่เป็นปกติในโครงการของการครอบงำและกดทับ หรือเป็นจุดที่จะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวต่อต้านการครอบงำการกดทับนั้น สิ่งที่ฉันกล่าวนี้ ไม่ได้หมายความว่า ฉันจะไม่แสดงตัวออกมาในโอกาสทางการเมืองที่อยู่ภายใต้รูปสัญญะเลสเบี้ยน. มันเป็นความไม่ชัดเจนว่าฉันจะสามารถให้อะไรและอย่างไรต่อหนังสือเล่มนี้ และในขณะเดียวกันก็ปรากฏอยู่ภายใต้ชื่อเรื่องของมัน เพราะมันกำลังประกาศอะไรบางอย่างที่ฉันต้องการจะเรียกร้อง ต่อต้าน ความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่ฉันจำเป็นต้องเผชิญคือ การที่จะต้องถูกครอบงำอีกครั้งหนึ่ง (Recolonized) โดยสัญญะภายใต้กรอบที่ฉันจำเป็นต้องเขียน

การนำเสนอข้อเรียกร้องทางอัตลักษณ์ โดยปกติแล้ว มักจะนำมาซึ่งความเสี่ยง แม้มันไม่ได้แสดงถึงการต่อต้าน แต่บางครั้งกลับสะท้อนให้เห็นถึงอาการบางอย่างของการกลัวความเป็นรักเพศเดียวกันเสียด้วย ที่สำคัญ สำหรับมุมมองแบบฟูโก (Foucauldian Perspective) อาจจะโต้แย้งว่าการยืนยันถึง "ความเป็นรักเพศเดียวกัน" นั้น ในตัวของมันเองคือการต่อยอดของวาทกรรมที่ว่าด้วยความกลัวคนรักเพศเดียวกัน และ สำหรับ "วาทกรรม" แล้ว ซึ่งฟูโกเองเขียนถึงในหน้าเดียวกันว่า "มันสามารถที่จะเป็นทั้งเครื่องมือและผลกระทบจากการใช้อำนาจ แต่มันก็ยังเป็นเครื่องกีดขวาง-อุปสรรค เป็นประเด็นของการต่อต้าน และเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อให้เกิดยุทธวิถีของการสร้างความขัดแย้ง"

ดังนั้น สิ่งที่ฉันไม่ค่อยแน่ใจสำหรับสิ่งที่ว่า "ฉัน" จะสามารถถูกกำหนดได้อย่างไร ภายใต้การปรากฏตัวในร่มของสัญญะเลสเบี้ยน และฉันไม่ได้มีความสบายใจกับผลของการกำหนดสร้างตัวตนที่ได้จากกลุ่มที่กลัวคนรักเพศเดียวกัน มากไปกว่าของผลของการยอมรับต่อการให้คำนิยามใหม่ว่าเป็นปกติจาก "กลุ่มชุมชนของเกย์และเลสเบี้ยน" ฉันมีปัญหาอย่างถาวรสำหรับการกำหนดและการจัดแบ่งอัตลักษณ์ ไม่ว่าจะพิจารณามันในฐานะของอุปสรรค และเข้าใจมันและแม้กระทั่งนำเสนอมันในฐานะพื้นที่ของความยุ่งยากที่จำเป็น (Necessary Trouble)

ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าการจัดแบ่งนี้ไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ มันก็จะไม่ได้ก่อให้เกิดความน่าสนใจสำหรับฉันเลย และนี่เองที่เป็น "ความน่าสนใจ" ในตัวมันเอง ที่ก่อให้เกิดความไม่แน่นอนของการกำหนดสร้างอัตลักษณ์ ซึ่งสามารถที่จะรักษาความหลากหลายของความต้องการทางเพศเอาไว้ในตัวมันได้ และนั่นก็ทำให้ฉันกลายเป็นส่วนหนึ่งของมัน ในการที่จะวางตัวฉันเองภายในการกำหนดและจัดแบ่งอัตลักษณ์

การต่อต้าน "เพศวิถี" ซึ่งถูกใช้ในความหมายของการเป็นการจัดแบ่งเพื่อการอธิบาย มันอาจจะเป็นจริงตามนั้น ในการจัดแบ่งอัตลักษณ์เพื่อค้นหา อธิบาย และสร้างความชอบธรรมในการควบคุมความต้องการทางเพศ มันมี "อิสระและการปลดปล่อย" ในตัวมันเองน้อยมาก และสิ่งที่แย่ที่สุดคือฉันไม่สามารถเข้าใจถึงความหมายของคำว่า "ทฤษฏี" และฉันแทบจะไม่มีความสนใจในการที่จะถูกจัดแบ่งว่าเป็นพวกต่อต้าน และการถูกให้คำนิยามว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มตัวตลกชั้นสูงของพวกเกย์และเลสเบี้ยน ที่ใช้ทฤษฏีเพื่อที่จะค้นหาการสร้างความชอบธรรมและสร้างพื้นที่ให้กับการศึกษาวิชาว่าด้วย"เกย์"และ"เลสเบี้ยน" ภายในโลกของการเรียน

มันมีรอยแยกที่ถูกหยิบยื่นให้จริงๆ หรือระหว่างทฤษฏี การเมือง วัฒนธรรม และสื่อ การแบ่งแยกเหล่านั้นมีการจัดการอย่างไรให้เกิดรูปแบบทางการเขียนที่ผสมผสาน ซึ่งสามารถสร้างให้เกิดการสร้างความแตกต่างทางพื้นที่ความรู้ขึ้นมาได้ แต่ฉันกำลังเขียนอยู่ตรงนี้ มันช้าไปหรือไม่. งานเขียนชิ้นนี้มีความสามารถนั้นหรือไม่ หรืองานเขียนชิ้นใดสามารถที่จะปฎิเสธกรอบ และในทำนองเดียวกันที่จะปฎิเสธถึงการต่อต้าน เพราะกรอบที่ว่าเหล่านี้เป็นผลมาจาก วาทกรรมของการครอบงำที่สามารถสร้างให้เกิดเป็นอุปสรรค เป็นข้อจำกัด มันคือการต่อต้านหรือไม่ ฉันจะทำอย่างไรที่จะจัดการกับความสัมพันธ์ที่ผิดปกตินี้ ในด้านหนึ่งเป็นความจำเป็นในการปลดปล่อยและเป็นอิสระ ในอีกด้านหนึ่งเป็นความต้องการที่จะปฎิเสธและต่อต้าน

การเรียกร้อง การต่อต้านกรอบและกฎเกณฑ์
ฉันเริ่มต้นด้วยการสารภาพถึงความกลัว ที่จะเรียกร้องความชอบธรรม แต่บางทีมันอาจจะกลายเป็นสิ่งที่ชัดเจนขึ้นว่าการ "เรียกร้องคืน" นั้น ไม่ใช่เป็นกิจกรรมที่เรียบง่าย เป็นสิ่งที่ฉันจะต้องนำเสนอในลักษณะที่เป็นการยืนยันถึงการต่อต้านกรอบหรือกฎเกณฑ์อะไรบางอย่าง ที่เกิดขึ้นภายใต้การจัดการของกลุ่มที่ความเป็นคนรักเพศเดียวกัน

วาทกรรมที่ว่าด้วย "การเปิดเผยตัวเอง" นั้นได้ตอบสนองต่อสิ่งที่ฉันนำเสนอตรงนี้ได้เป็นอย่างดี แต่อะไรล่ะที่ว่าเป็นสิ่งที่เสี่ยง ตรงนี้เองที่ฉันจะต้องบอกว่า ฉันไม่ได้กำลังพูดถึงการไม่ได้รับการจ้างงาน หรือการโจมตีของสาธารณชนหรือความรุนแรง ซึ่งแน่ล่ะ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ชัดเจนและเพิ่มขึ้นอย่างมากทีเดียว เกี่ยวกับการต่อต้านผู้ซึ่งแสดงตัวตนออกมาในรูปแบบใดๆ ก็ตามในสังคม

จริงหรือไม่ ที่ "อัตบุคคล" ที่แสดงตัว "ออกมา" จะเป็นอิสระต่อการถูกกำหนดสร้าง (Subjection) มันอาจจะเป็นไปได้หรือไม่ว่า การถูกกำหนดสร้างที่ว่านี้ ได้ก่อร่างสร้างสภาวะอัตวิสัย (Subjectivates) ให้ไม่ว่าเกย์หรือเลสเบี้ยน (Gay or Lesbian Subject) ในทางใดทางหนึ่งนั้นกลายเป็นสิ่งที่สร้างความต่อเนื่องให้แก่การถูกกดทับ หรืออาจจะพูดอีกอย่างได้หรือไม่ว่า เมื่อไรก็ตามที่ "แสดงตัวออกมา" เมื่อนั้นกลายเป็นถูกกดทับ อะไรหรือใครหรือที่จะบอกได้ว่านั่นคือ "การแสดงออกมา" มันสะท้อนให้เห็นอะไรบางอย่าง หรือมันเปิดเผยทุกสิ่งทุกอย่าง

เมื่อฉันได้แสดงตัวเป็นเลสเบี้ยน
เมื่อไรหรือที่ฉันได้แสดงตัวตนออกมาว่าฉันเป็น"เลสเบี้ยน" อะไรเล่าที่บอกว่าเป็นสิ่งที่ถูกรู้ อะไรหรือ? อะไรเล่า ที่ยังคงสภาพของการปกปิดได้อย่างถาวร โดยการแสดงออกทางภาษาที่ยังคงหยิบยื่นคำมั่นสัญญา ในการที่จะทำให้เพศวิถีหรืออัตลักษณ์ทางเพศ (Sexuality) นั้นโปร่งใส และมองไม่เห็น. อัตลักษณ์ทางเพศจะยังคงเป็นอัตลักษณ์ทางเพศได้อย่างไร ถ้ามันถูกทำให้เห็นชัดเจนและถูกเปิดเผย? หรือบางทีความเป็นอัตลักษณ์ทางเพศจะสิ้นสุดลง เมื่อการประกอบสร้างของการแสดงออกต่างๆ กระทำการได้สำเร็จ

อัตลักษณ์ทางเพศอะไรก็ตามหรือของใครก็ตาม จะเป็นไปได้หรือที่จะไม่มีการปิดบังซ่อนเร้นบางอย่างจากจิตไร้สำนึก ซึ่งหมายความอย่างตรงไปตรงมาว่า "ฉัน" ในสภาวะที่มีสติ ผู้ซึ่งเปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศของฉัน, บางทีอาจจะกลายเป็นคนสุดท้ายที่รู้ถึงความหมายที่ฉันได้พูดออกไป. การที่จะอ้างว่านี่คือสิ่งที่ฉัน "เป็น" คือการแสดงให้เห็นถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็น "ฉัน" และถ้าฉันสามารถกำหนดสร้างตัวตนของตัวเองได้ นั่นหมายความว่า การกำหนดสร้างนั้นจะต้องมีการคัดแยกออก (ไปจากความเป็น "ฉัน") เพื่อที่จะทำให้การกำหนดสร้างนั้นคงสภาพของการกำหนดสร้างเอาไว้ในตัวของมันเอง

หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ คำพูดที่กล่าวมานั้น จะต้องมาก่อนสิ่งที่เป็น "ฉัน", มาก่อนการกำหนดสร้างที่นอกเหนือไปจากตัวฉัน, เพื่อที่จะเพิ่มเข้าไปในความเป็นตัวฉัน และโดยผ่านการแสดงออก ซึ่งจะกลายเป็นตัวกำหนดความเป็น "ฉัน" ในการแสดงออก ซึ่งสามารถที่จะเปิดเผยถึงสิ่งที่แท้จริงและสมบูรณ์ในเนื้อหาสาระของความเป็น "ฉัน" ก่อให้เกิดการสร้าง "การปกปิด" (Concealment) อะไรบางอย่างขึ้น ซึ่ง"การปกปิด"ที่ว่านั้น เป็นการปกปิดชนิดสุดโต่ง

สุดท้าย มันก่อให้เกิดความไม่ชัดเจนว่า อะไรที่หมายถึงการก่อร่างสร้างขึ้นเป็นสัญญะของ"เลสเบี้ยน" เพราะว่าการนำเสนอความหมายดังกล่าว ในบางกรณีแล้ว มันไม่สามารถควบคุมได้จากตัวตนของตัวเอง และในทำนองเดียวกัน เพราะ "ความเฉพาะเจาะจง" ของสัญญะของความเป็นเลสเบี้ยนนั้น จะระบุได้ก็ต่อเมื่อ เกิดการกำหนดเขตแดนที่ชัดเจนโดยการแยกตัวออก ซึ่งจะเป็นการย้อนกลับและก่อให้เกิดการสะดุดต่อการเรียกร้องเอาคืน เพราะอาจจะไม่มีความสอดคล้องกันในการกำหนดสัญญะนั้น. อะไรเล่าหรือสิ่งใดเล่า ที่เลสเบี้ยนสามารถพูดได้ว่าทุกคนมีร่วมกัน และใครเล่าจะเป็นคนที่ตอบคำถามนี้ และตอบในนามของใคร?

ถ้าฉันจะกล่าวอ้างว่าฉันเป็น"เลสเบี้ยน" การที่ฉัน "ได้แสดงตัวออกมา" เพียงเพื่อก่อให้เกิดการสร้างขึ้นใหม่ของ "ห้องส่วนตัว" เสมือนตู้ใบใหม่ที่แตกต่างจาก"ตัวคุณ" นั้นแหล่ะเมื่อฉันแสดงตัวตนออกมาได้ โอกาสที่จะเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ของห้องส่วนตัว อาณาเขตใหม่ที่แตกต่าง แน่ทีเดียว พื้นที่ของความเป็นส่วนตัวที่ว่านี้ เกิดการเคลื่อนที่ ก่อนหน้าคุณไม่สามารถรู้ได้ว่าอะไรที่ฉัน "เป็น" แต่เดี๋ยวนี้คุณไม่สามารถรู้ได้ว่ามันหมายถึงอะไร

เพราะว่าสัญญะนั้นเป็นสัญญะที่ว่างเปล่า ไม่สามารถเข้ามาแทนที่ด้วยคำอธิบายชุดใดชุดหนึ่ง และบางที นั้นคือความสำคัญและคุณค่าในตัวมัน. เมื่อคนใดคนหนึ่งก้าวออกมาจากสิ่งที่ปกปิดอยู่ (Come Out of the Closet) (และลองคิดดูสิว่า มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยหรือ ที่เราแสดงตัวออกมา เมื่อตอนที่เรายังเด็กอยู่ และปราศจากแหล่งข้อมูลอ้างอิงใดๆ) ดังนั้นการที่เราก้าวออกมาจากที่ปกปิดอันเดิม เรากำลังก้าวไปสู่อะไร, อะไรเล่าคือลักษณะรูปสัญญะเชิงพื้นที่ที่ยังไม่ได้นำมาผูกเข้าไว้ เป็นห้องหรือ เป็นห้องเก็บของใต้หลังคาหรือ เป็นห้องเก็บของใต้ดินหรือ หรือว่าเป็นบ้าน เป็นบาร์ เป็นมหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่งเป็นประตูที่ปกปิดของใครบางคน เช่น ประตูของ Kafka ซึ่งคาดว่ามันสามารถที่จะเปิดประตูไปสู่อากาศที่สดใส หรือแสงที่สว่างสดใสที่ไม่เคยมี

อย่างน่าคิดทีเดียวว่า รูปแบบของการใช้รูปสัญญะของตู้ส่วนตัวนี้เอง ที่กำหนดความคาดหวังที่เกิดขึ้น และมันกำลังยืนยันถึงความล้มเหลวและความผิดหวัง สำหรับการแสดงตัวตน "ออกมา". แน่นอนว่า มันจะต้องขึ้นอยู่กับการเป็นอยู่ "ข้างในตู้", มันก่อให้เกิดความหมายดังกล่าวก็ต่อเมื่อ มันอยู่ในรูปแบบความสัมพันธ์ ดังนั้นการแสดง "ออกมา" สามารถนำมาซึ่งตู้ใบใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพียงเพื่อที่จะทำให้มันยังคงสภาพของการ "ออกมา". ในนัยยะนี้ ความเป็นอยู่ที่แสดงออกมา นั้นสามารถที่จะผลิตสร้างสิ่งใหม่ๆ ได้เพียงแค่เป็น "ตู้ปกปิด" ในรูปแบบใหม่ๆ และ "ตู้ที่ปกปิด" สามารถให้คำมั่นสัญญาถึงการปกปิด

มันไม่เป็นความเศร้าโศกหรือ ที่ได้รับรู้ถึงการเลื่อนออกอย่างไม่รู้จุดหมายของการเปิดเผยเกี่ยวกับ "ความเป็นเกย์" นี้เองที่ถูกผลิตจากการแสดงถึง "การแสดงออกมา" หรือว่าการขยับออกไปจากการกำหนดสร้างความหมาย ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่มีค่า เป็นพื้นที่ที่ก่อให้เกิดคุณค่าขึ้น และตรงนี้เองที่เข้าไปผนวกอยู่กับชีวิตของคน ผู้ซึ่งชีวิตของพวกเขาไม่สามารถที่จะกำหนดสร้างและควบคุมมันได้อย่างถาวร

ไม่มีความกระจ่างชัดในการใช้คำว่า "เกย์" และ "เลสเบี้ยน"
มันมีความเป็นไปได้ที่จะโต้แย้งว่า ในขณะที่ไม่มีความกระจ่างชัดในการใช้คำว่า "เกย์" และ "เลสเบี้ยน" มันยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ข้อผิดพลาดหรือความคลาดเคลื่อนของการจัดกลุ่ม หรือของคำนิยามนี้ เพื่อที่จะใช้ในการเดินขบวน และนำเสนอความคับข้องใจทางการเมือง ดังเช่นที่กายาตรี สปรีวัค (Gayatri Spivak) ได้เรียกมันว่า "การใช้ชื่อที่เป็นทางการ อย่างไม่เป็นทางการ" หรือที่สปรีวัคใช้คำว่าการปฎิบัติการแบบ "Catachrestic"(**) (หมายถึง คำที่ยังไม่ถูกต้อง หรือยังไม่ลงตัว)

(*)Gayatri Chakravorty Spivak (born February 24, 1942) is an Indian literary critic and theorist. She is best known for the article "Can the Subaltern Speak?", considered a founding text of postcolonialism, and for her translation of Jacques Derrida's Of Grammatology. Spivak teaches at Columbia University, where she was tenured as University Professor-Columbia's highest rank-in March 2007. A prolific scholar, she travels widely and gives lectures around the world. She is also a visiting faculty member at the Centre for Studies in Social Sciences, Calcutta.

(**) Catachresis, which literally means the incorrect or improper use of a word. Common forms of catachresis are: Using a word to denote something radically different from its normal meaning. Catachresis is often used to convey extreme emotion or alienation, and is prominent in baroque literature and, more recently, in the avant-garde.

ฉันไม่ได้ต้องการที่จะปฎิเสธหรือต่อต้านการใช้คำหรือความหมายดังกล่าว แต่คำถามของฉัน คือ การใช้อย่างไรที่จะก่อให้เกิดความชอบธรรม และการแสดงอะไรที่จะเกิดขึ้นได้ระหว่างการสร้างให้เกิดความชอบธรรม และการใช้เครื่องมืออย่างเช่น "อัตลักษณ์" ที่จะไม่เปลี่ยนให้การแสดงนั้นกลายเป็นกฏเกณฑ์ของความจำเป็น ถ้ามันจะเป็นจริงสำหรับ "กลุ่มเลสเบี้ยน" และ "กลุ่มเกย์" ที่ตามธรรมดาแล้ว พวกเขาถูกหยิบยื่นความหมายให้ว่าเป็น อัตลักษณ์ที่เป็นไปไม่ได้

การจัดกลุ่มที่เกิดจากความผิดพลาด ความหายนะทางธรรมชาติตามพื้นฐานของวาทกรรมทางวิทยาศาสตร์ หรือทั้งหมดทั้งปวงแล้ว ก่อให้เกิดเป็นกระบวนทัศน์ที่ถูกนำไปใช้ในการจัดกลุ่ม ในการสร้างความชอบธรรม และในการปกครอง บางทีสิ่งที่เกิดความผิดพลาด ผิดปกติ ความสับสน และมีปัญหาเหล่านี้ กลับกลายมาเป็นประเด็นของการเดินขบวนเรียกร้องหาความชอบธรรม สำหรับการต่อต้านที่จะถูกจัดกลุ่มจัดประเภทตามอัตลักษณ์เหล่านั้น

คำถามไม่ใช่เกี่ยวกับการที่ใคร "ยอมรับ" หรือ "ไม่ยอมรับ" ที่จะถูกสวมทับด้วยการจัดกลุ่มของเลสเบี้ยนและเกย์ แต่ทำไมการจัดกลุ่มที่ว่า กลับกลายมาเป็นการจัดพื้นที่สำหรับตัวเลือกทางจริยธรรม

อะไรคือความหมายของการ "ยอมรับ" ถึงการจัดกลุ่มที่ว่า ซึ่งสามารถที่จะทำให้เกิดการคงสภาพ ความเฉพาะเจาะจง และความคล้องจองโดยวัดจากการแสดงการกระทำที่มีการแยกออกมา ก่อนการจัดกลุ่มของ "การไม่ยอมรับ". นี่หรือเปล่าที่เป็นเหตุผลที่ทำให้ "การเปิดเผยตัวตน" กลายเป็นการยอมรับในการไม่ยอมรับ นั่นคือการย้อนกลับเข้าไปสู่ที่หลบภัย ภายใต้การปลอมแปลงตัวเองเพื่อการหนี และนี่ไม่ใช่บางสิ่งบางอย่างเช่น ความเป็นคนรักต่างเพศ หรือความเป็นคนรักทั้งสองเพศ ที่เรียกได้ว่าเป็นการไม่ยอมรับการจัดกลุ่ม

แต่การกำหนดสร้าง แสดงตัวตน และการปฎิบัติของการก้าวข้ามระหว่างการจัดกลุ่มทั้งสองประเภทนี้ กลับแสดงให้เห็นการแบ่งแยกที่น่าสงสัย มันจะเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะคงสภาพและนำเสนอการกำหนดสร้างตัวตนของคนรักต่างเพศ ภายในการปฎิบัติของคนรักเพศเดียวกัน หรือในทำนองเดียวกัน มันเป็นไปได้หรือที่จะคงสภาพและนำเสนอการกำหนดสร้างตัวตนของคนรักเพศเดียวกัน ภายในการปฎิบัติของคนรักต่างเพศ

อะไรที่ควรเป็นสิ่งกำหนดการสร้างเพศวิถี
ถ้าเพศวิถีเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องถูกเปิดเผยแล้ว อะไรเล่าที่ถือได้ว่าเป็นตัวกำหนดการสร้างความหมายที่แท้จริงของมัน โครงสร้างจินตนาการหรือ, การแสดงหรือ, ช่องทางที่เปิดหรือ, เพศสภาพหรือ, หรือว่าจะเป็นกายวิภาค. และถ้าพิจารณาในระดับของการปฎิบัติแล้ว ซึ่งก่อให้เกิดการผสมผสานเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ทั้งหมด, อะไรเล่า ที่มิติของความต้องการทางเพศจากภายในจะสามารถแสดงตัวตนออกมาสำหรับความเป็นเพศวิถีนั้น. หรือถ้าหากว่านี่คือความเฉพาะเจาะจงของประสบการณ์ของคนที่เป็นเลสเบี้ยน หรือตัณหาความต้องการทางเพศของเลสเบี้ยน หรือเพศวิถีของเลสเบี้ยน ทฤษฏีที่ว่าด้วยความเป็นเลสเบี้ยนจึงจำเป็นต้องชี้แจงและขยายความ

ความพยายามเหล่านี้ ได้ก่อให้เกิดการต่อต้านและการปฎิเสธ ซึ่ง ณ ตรงนี้เองที่เราควรจะทำความเข้าใจให้ตรงกันว่า ไม่มีความปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นเหมือนๆ กัน ท่ามกลางความเป็นเลสเบี้ยน. ยกเว้นบางทีที่เราจะรู้ในบางสิ่งบางอย่างเหมือนๆ กัน เช่นความรู้สึกกลัวคนรักเพศเดียวกันที่ก่อให้เกิดการกีดกันและต่อต้านเพศหญิง แม้กระทั่งในการใช้ภาษาและการวิเคราะห์ ที่บางครั้งก็มีความแตกต่างกัน

การที่จะโต้เถียงว่ามันอาจจะมี "ความเฉพาะเจาะจง" สำหรับเพศวิถีของเลสเบี้ยน ดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการเรียกร้องสิ่งที่ว่า ครั้งหนึ่ง เพศวิถีของเลสเบี้ยนก็เคยเป็นเสมือนเพศวิถีของคนรักต่างเพศ แต่มันถูกปลด ถูกกีดกัน และถูกทำให้ไม่มีตัวตน. แต่บางทีการเรียกร้องถึง"ความเฉพาะเจาะจง"ดังกล่าว และการเรียกร้องถึงสิ่งที่ถูกปลดออก และถูกทำให้ไม่มีตัวตนนั้น จะไม่ได้เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกัน ดังที่การเรียกร้องทั้งสองดูเหมือนจะเป็น

มันเป็นไปได้ไหมว่า "เพศวิถีของเลสเบี้ยน" เป็นกระบวนการที่เข้ามาเขียนใหม่ อธิบายใหม่ถึงอำนาจในการครอบงำที่ตัวมันพยายามที่จะต่อต้าน และมันเป็นกระบวนการที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างให้เกิดโครงสร้างของความเป็นรักต่างเพศ ที่ซึ่งตัวมันเองพยายามที่จะทำการเปลี่ยนแปลงต่างๆ, เปลี่ยนตำแหน่ง, เปลี่ยนที่เปลี่ยนทาง, และเพื่อที่จะก่อให้"ความเฉพาะเจาะจง"ของมัน ซึ่งสามารถก่อร่างให้เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่ "ภายนอก" หรือ"นอกเหนือ" ไปจากการอธิบายใหม่ และความซ้ำซ้อนที่เกิดขึ้น แต่มันเกิดขึ้นในกระบวนการที่ก่อร่าง และเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการอธิบายใหม่ หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง การก่อร่างที่เกิดขึ้นในรูปแบบนิเสธของความเป็นเลสเบี้ยน เกิดขึ้นในรูปแบบของการเลียนแบบ หรือการจำลองแบบที่เลว ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ในสร้างคำถามและการท้าทายต่อความสำคัญของความเป็นรักต่างเพศ

ฉันอยากที่จะทำให้มันชัดเจนว่า "เพศวิถีของเลสเบี้ยน"สามารถเข้าใจได้ว่าเป็น การหยิบยืมคำมาจากที่อื่น (Derivativeness) เพื่อใช้ในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งแห่งที่ของการครอบงำ และมาตราฐานของความเป็นรักต่างเพศ. การพยายามทำความใจในทางนี้ ในประเด็นทางการเมืองแล้ว มันไม่ใช่การก่อเกิด"ความเฉพาะเจาะ"จงของเพศวิถีของ"เลสเบี้ยน" เพื่อให้ซ้อนทับอยู่และต่อต้านการเกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิด แต่กลับเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างความคิดของพวกเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน ในลักษณะที่เรียกว่าการจำลองแบบที่เลว เพื่อท้าทายความคิดของรักเพศเดียวกัน ซึ่งถือว่าความเป็นรักต่างเพศเป็นต้นแบบของทุกอย่าง และการกำเนิดมานั้นของคนที่มาที่หลัง เกิดขึ้นมาจากคนที่มาก่อน

การอธิบายในมุมนี้จำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างละเอียดถึง การเลียนแบบ (Imitation) การแดร็ก (Drag) (*) (dress as girl) และในรูปแบบอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการก้าวข้ามการจัดกลุ่ม เป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงความซับซ้อนที่อยู่ภายในเพศวิถีของเลสเบี้ยน ซึ่งถือกำเนิดขึ้นมาจากโครงร่างอันซับซ้อนของโครงสร้างทางอำนาจ ซึ่งประกอบขึ้นด้วยทั้งการผลิตซ้ำและการต่อต้าน

(*)Drag in its broadest sense means any clothing one wears, however the traditional use of the term is for any costume or outfit that carries symbolic significance. This usually refers to the clothing associated with one gender role when worn by a person of the other gender. Wearers of drag in this sense are divided into drag kings and drag queens, depending on the gender of the clothing adopted. The term originated either in gay or theatre slang in the 1870s, where the official long-established theatre term for "cross-dressing" on-stage was travesti (French, "cross-dressed," giving rise to "travesty" which took on further connotations as a genre of critical vocabulary). The term "drag" may have been given a wider circulation in Polari, a gay street argot in England in the early part of the 20th century. Unlike "threads," "drag" never simply meant "clothes."

"Drag queen" appeared in print in 1941. The verb is to "do drag." A folk etymology whose acronym basis reveals the late 20th-century bias, would make "drag" an abbreviation of "dressed as girl" in description of male transvestism. The other, "drab" for "dressed as boy," is unrecorded. Drag is practiced by people of all sexual orientations and gender identities.

การดำรงอยู่ของความเป็นเกย์ เสมือนเป็นความจำเป็นในการแสดงออก

กระบวนการในการที่จะเป็น"เกย์"แบบมืออาชีพนั้น จำเป็นต้องมีการแสดงออกอย่างใดอย่างหนึ่งและผนวกกับผลผลิตของ "ตัวตน" ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นของวาทกรรม, เป็นเสมือน "การแสดงแทน" ความเป็นตัวตน ก่อนหน้าที่จะสามารถค้นพบความจริง

เมื่อฉันไปพูดเรื่องเกี่ยวกับความเป็นรักเพศเดียวกัน ในการประชุมครั้งหนึ่งในปี 1989 ฉันพบว่า ฉันได้เล่าให้เพื่อนๆ ของฉันฟังว่า "ฉันได้ย้ายไปที่มหาวิทยาลัยเยล เพื่อที่จะไปเป็นเลสเบี้ยน". แน่ละว่าฉันไม่ได้หมายความว่า ฉันไม่ได้เคยเป็นเลสเบี้ยนมาก่อนหน้านั้น. แต่เมื่อฉันพูดในบริบทดังกล่าว ฉัน ได้กลายเป็น เลสเบี้ยน (I was one) มากกว่าเดิม หรือทั้งหมดของตัวตนของฉันกลายเป็นเลสเบี้ยน อย่างน้อยก็ในช่วงที่ฉันกล่าวถึง แน่ละว่าฉัน ยังคงเป็น เลสเบี้ยนคนหนึ่ง (I am one) และคุณสมบัติของฉันก็ค่อนข้างที่จะชัดเจน

เพราะตั้งแต่อายุ 16 แล้ว ที่ฉันเป็นเลสเบี้ยน มันเป็นความไม่สบายใจและสร้างความขับข้องใจให้ฉันหรือ มันมีบางสิ่งบางอย่างที่จะต้องทำสำหรับการเกิดขึ้นซ้ำซ้อนนี้ในสิ่งที่ฉันพูด ฉันกำลังจะเดินทางไปที่มหาวิทยาลัยเยล เพื่อที่จะไปเป็นเลสเบี้ยน. การเป็นเลสเบี้ยนเป็นสิ่งที่ฉันเป็นมานาน ดังนั้น มันจะเป็นไปได้อย่างไรที่ฉันจะสามารถทั้ง "เป็น" หนึ่งและมีความพยายามที่จะ "เป็น" หนึ่งอีกครั้งในเวลาเดียวกัน

เมื่อไหร่และที่ไหนที่ความเป็นเลสเบี้ยนของฉันเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ เมื่อไหร่และที่ไหนที่การแสดงออกของเลสเบี้ยนนี้ ได้เข้ามาก่อร่างให้เกิดเป็นบางสิ่งบางอย่างที่ฉันเป็น. การที่ฉัน "แสดง"บทบาท (Play) ในการดำรงอยู่ของตัวตน ไม่ได้พูดว่าฉันไม่ได้เป็นคนๆ นี้จริงๆ แต่ทว่า อย่างไรและที่ไหน ที่ฉันแสดงในการเป็นตัวฉัน คือสิ่งที่ "ความเป็นตัวตน" ของฉันได้เกิดขึ้น ได้ประกอบสร้าง ได้รับการยืนยัน มันไม่ใช่การแสดงที่ฉันพยายามจะแสดงจากระยะทางอันไกล แต่นี่คือการแสดงที่ออกมาจากส่วนลึกของจิตใจ ในมโนสำนึก เป็นตัวช่วยขับดันการแสดงดังกล่าว และ "ตัวฉัน" (I) ไม่ได้เป็นเพียงแค่การแสดงบทบาทของเลสเบี้ยน แต่มันเป็นการแสดงที่ซ้ำไปซ้ำมาของเพศวิถีของตัวของฉันเองที่ผลิตซ้ำย้ำถึงความเป็นเลสเบี้ยนของ "ตัวฉัน"

และในการเกิดขึ้นของการ "ซ้ำ" ของการแสดงนี้เอง ที่ได้ก่อให้เกิดการกระชับแน่นของกรอบและกลุ่มต่างๆ เพื่อที่จะถูกนำไปใช้กำหนด สำหรับ "ตัวฉัน" ที่เป็นเสมือนพื้นที่ของการเกิดซ้ำ นั่นคือ "ตัวฉัน" ได้ทำการประกอบสร้างเกี่ยวกับอัตลักษณ์ผ่านการผลิตซ้ำในตัวมันเอง ดังนั้น ตัวฉันจึงถูกทำให้เคลื่อนออกจากตำแหน่งแห่งที่โดยทุกๆ การประกอบสร้างซ้ำซึ่งเป็นการคงสภาพของมันนั่นเอง

หรือถ้าพูดอีกอย่างหนึ่งคือ การที่ "ตัวฉัน" สามารถที่จะประกอบสร้างซ้ำและซ้อนทับลงไปในตัวเองได้ หรือการอ้างอิงถึงตัวเองได้ มันคือการที่ตัวฉันจะต้องถูกทำให้เคลื่อนออกไปจากตำแหน่งเดิม จากตำแหน่งที่เคยมีอยู่ก่อนหน้า ซึ่งเป็นการสร้างสถานะความไม่มีตัวตนที่ชัดเจนขึ้น สำหรับ "ตัวฉัน" หรือที่เรียกว่า "ความเป็นเลสเบี้ยน" "อากับกิริยาของการแสดง" ไม่ได้ทำให้รบกวน "ความเป็นตัวฉัน" มันไม่สามารถถูกแสดงออกมาเป็นรูปธรรมที่เห็นได้ ดังนั้นการแสดงที่ถูกทำซ้ำจึงกลายเป็นคำถามที่เกิดขึ้นว่า จะแบ่งแยกความแตกต่างของการแสดงได้อย่างไร โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่อัตลักษณ์ได้ถูกสร้างซ้ำ

และถ้า "ตัวฉัน" เป็นเพียงแค่ผลของการเกิดขึ้นอย่างซ้ำๆ เป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นจากความต่อเนื่องของการผลิตซ้ำ และความเป็นหนึ่งเดียวกันของการผลิตซ้ำนั้น ถ้าเป็นดังนั้นแล้ว มันจะไม่มีสิ่งที่เรียกว่า "ตัวฉัน" ที่อยู่ก่อนเพศสภาวะ ซึ่งจะเป็นรากของการแสดง ความซ้ำซ้อน และการผลิตซ้ำซ้อนที่ผิดพลาดได้ก่อให้เกิดกรอบของการแสดง (Performance) ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่ก่อให้เกิดและต่อต้านในความเป็น "ตัวฉัน"

การคุกคาม การทำให้กลัว
แต่สำหรับในเชิงการเมืองแล้ว เราอาจจะโต้แย้งได้ว่า, มันสำคัญไม่ใช่หรือ ที่จะตอกย้ำถึงสิ่งที่เรียกว่า"อัตลักษณ์ของเลสเบี้ยน"และ"เกย์" เพราะพวกเราได้รับการปฎิบัติที่ไม่ดี คุกคามด้วยความหวาดกลัว เพื่อที่จะลบล้างและทำให้มันสิ้นซาก จากกลุ่มพวกที่เกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน. แล้วสิ่งที่กล่าวมาในทฤษฏีข้างต้น จะไม่เป็นการเปิดโอกาสที่จะทำให้อัตลักษณ์ของเลสเบี้ยนและเกย์เสียความสำคัญทางการเมืองไปหรือ มันไม่ใช่ความบังเอิญที่การต่อต้านในเชิงทฤษฏีสำหรับเรื่องราวของอัตลักษณ์เกิดขึ้นนั้น ทำให้การแสดงออกกลายเป็นความคล้ายคลึงที่อาจจะทำให้ อัตลักษณ์ของคนรักเพศเดียวกันสูญสิ้นไป

คำถามที่ฉันต้องการจะถามกลับคือ "การคุกคาม" การทำให้เกิดการสูญเสียนั้น ได้กลายเป็นนัยยะที่ก่อให้เกิดการประท้วง การต่อต้าน และถ้ามันเป็นอย่างนั้น ความพยายามของกลุ่มที่เกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกันจะไม่ชนะการต่อสู้แข่งขันตั้งแต่เริ่มต้น. มันไม่ต้องสงสัยเลยที่ว่า กลุ่มเกย์และกลุ่มเลสเบี้ยนถูกคุกคามจากความพยายามอันรุนแรง ที่เกิดขึ้นในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งต้องการที่จะลบล้างคนพวกนี้ออกไป แต่การตัดสินใจในการเผชิญหน้าต่อความรุนแรงนั้น จะต้องคิดให้รอบคอบ โดยไม่พยายามที่จะนำเอาความรุนแรงอีกชนิดเข้ามาแทนที่

เรื่องราวไหนของความเป็นเลสเบี้ยนหรือเกย์ ที่ควรจะนำเสนอออกมาให้เห็น, การกีดกันที่เกิดขึ้นภายในแบบไหน จะสามารถนำเสนอให้เห็นได้ถึงระบบสถาบันที่กระทำเข้ามา, การมองเห็นได้ถึงอัตลักษณ์นั้น สามารถที่จะใช้เป็นยุทธวิถีเชิงการเมืองได้หรือไม่, หรือมันเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นสำหรับการค้นหายุทธวิถีการต่อรองทางการเมือง เพื่อเป็นการเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบาย หรือว่ามันเป็นสัญญาณของความพ่ายแพ้ต่อการเมืองสาธารณะ เมื่ออัตลักษณ์กลายเป็นนโยบายในตัวของมันเอง

สิ่งที่มันนำพามาด้วยคือ คนเหล่านั้นผู้ซึ่งจะเข้ามาตรวจสอบมันจากหลายๆ มุม และนี่ไม่ใช่สิ่งที่พยายามจะเรียกร้องให้มีการสงบปากสงบคำ หรือทำให้กลายเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น แต่การใช้กรอบในการจัดเข้าพวกนี้ จะต้องถูกตั้งคำถามเพื่อก่อให้เกิดการท้าทาย ถามถึงสิ่งที่มันได้ตัดแยกออกไป เพราะว่า การประกอบสร้างให้กระชับแน่นของอัตลักษณ์นั้น จะต้องเกิดขึ้นมาจากการแยกออก สร้างความแตกต่าง. แต่สิ่งใดเล่าที่ควรจะประคับประคองเอาไว้ ดังเช่นสัญญะของ "ตัวตน" (I) ที่ฉันเลือกใช้อยู่ตรงนี้ ดูเหมือนจะทำหน้าที่นี้ได้ดี แต่มันไม่มีอะไรที่จะเป็นเครื่องยืนยันหรือคาดเดาได้ในอนาคตว่า สัญญะนี้จะถูกใช้อย่างไรในอนาคต

และบางทีเพราะความเปิดกว้างนี้เอง ไม่จำเป็นต้องพูดถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น จึงควรจะต้องมีการป้องกันเพื่อเหตุผลทางการเมือง ถ้าการแสดงออกและมองเห็นได้ของอัตลักษณ์เลสเบี้ยนและเกย์ ในตอนนี้กลายเป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนหน้าของการถูกแยกคัดออก ดังนั้นส่วนที่มีความจำเป็น คือ เพื่อที่จะต้องถูกตัดออก คือ "การใช้สัญญะต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต" นั่นเอง มันมีความจำเป็นในเชิงการเมืองที่จะต้องใช้เครื่องหมายหรือสัญญะบางอย่างในตอนนี้ แต่จะใช้อย่างไรเพื่อที่จะทำให้ในอนาคตจะ"ไม่ถูกตัดออกหรือไม่ถูกถอดทอนออกไป" เราจะใช้สัญญะต่างๆ อย่างไร และในขณะเดียวกันก็จำยอมให้ถูกกรอบการจัดกลุ่มอย่างชั่วคราวในเวลาเดียวกัน

การที่จะยอมรับในการใช้สัญญะดังกล่าว ในเชิงยุทธวิถีเพื่อการต่อรองนั้น อย่าลืมว่ายุทธวิถีดังกล่าวเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้า ไม่ใช่ยุทธวิถีที่มีอยู่ก่อนหน้าแล้ว เพื่อที่จะทำให้อัตลักษณ์สามารถกลายเป็นพื้นที่ของการต่อต้านและการปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่ ยิ่งไปกว่านั้น มันจะเป็นอนาคตสำหรับการกำหนดและการสื่อความหมาย เพื่อให้เราผู้ซึ่งจะเป็นคนใช้มันจะไม่สามารถรู้และคาดการณ์ได้ในตอนนี้ มันเป็นเสมือนการช่วยเหลือ และป้องกันสำหรับอนาคตของการกำหนดสร้างสัญญะทางการเมือง กรอบเอาไว้สำหรับพื้นที่ในการปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ซึ่งเหมือนกับที่ แลคโล และมูฟเฟ (Laclau and Mouffe) พูดถึงในเรื่องเกี่ยวกับคำมั่นสัญญาประชาธิปไตย

ชาวเกย์ในฐานะการเป็นวัตถุต้องห้าม
ในการเมืองของอเมริกาทุกวันนี้ มันมีหลายทิศทางที่เกิดขึ้นที่ทำให้แนวคิดแบบนิยมเลสเบี้ยน (Lesbianism) ถูกเข้าใจไปว่า เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ หรือไม่กล้าที่จะ"เป็น". ในแนวคิดแบบนี้ดังเช่นที่ เจสซี เฮม (Jesse Helm) (*) ได้โจมตี NEA (National Endowment for the Arts) ในสิ่งที่เปิดโปงถึงการใช้ภาพตัวแทนของแนวคิดนิยม "ความต้องการทางเพศของรักเพศเดียวกัน" (Homoeroticism) ที่มุ่งเน้นไปที่ความหลากหลายของความคิดเพ้อฝันของพวกที่เกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน ที่คิดไปว่า"เกย์"คืออะไร หรือทำอะไร

จากงานของนักถ่ายภาพ โรเบิร์ต มาเบิลโทรป (Robert Mapplethorpe) (**) สำหรับ Jesse Helm แล้ว กลุ่มชาวเกย์ผู้ชายมีตัวตนอยู่ในสภาพของ"วัตถุต้องห้าม" พวกเขาเป็นความฝันที่บิดเบือนเช่นเดียวกันกับพวกที่นิยมร่วมเพศด้วยความรุนแรง ซึ่งชอบทำร้ายเด็กๆ มันเป็นตัวอย่างของความ "ผิดปกติที่น่ารังเกียจ"

(*)Jesse Alexander Helms, Jr. (born October 18, 1921) is a former five-term Republican U.S. Senator from North Carolina, and a former chairman of the Senate Foreign Relations Committee. He was considered one of the leading figures of the modern "Christian right".

(**)Robert Mapplethorpe (November 4, 1946 - March 9, 1989) was an American photographer, known for his large-scale, highly stylized black & white portraits, photos of flowers and male nudes. The frank, erotic nature of some of the work of his middle period triggered a more general controversy about the public funding of artworks. (ในส่วนของบทความชิ้นนี้ได้เสนอภาพถ่ายของศิลปินช่างภาพคนดังกล่าว ในรูปชายใส่ชุดสูทข้างต้น สำหรับผู้สนใจภาพถ่ายของศิลปินเพิ่มเติม สามารถคลิกดูภาพได้ที่ google โดยเขียนชื่อ Robert Mapplethorpe และคลิกค้นหา )

ในทิศทางของแนวคิดนี้ ความเป็นเลสเบี้ยนไม่ได้ถูกผลิตสร้างขึ้นมาจากวาทกรรมดังกล่าว วาทกรรมที่ว่าด้วยความเป็น"วัตถุต้องห้าม". มันเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะต้องมองเห็นว่า การกดขี่ที่พวกเรากำลังกล่าวถึงนี้มาจากไหน? มันไม่ได้ถูกส่งผ่านมาทางความประพฤติที่ถูกห้าม แต่มันผ่านมาทางการประกอบสร้างขึ้นของความเป็นอัตบุคคล มันถูกส่งผ่านมาทางการประกอบสร้างที่ตามมาทีหลัง ของความเป็นอัตบุคคลที่เป็นไปไม่ได้ หรือที่เราเรียกว่า Abject (*) (ต่ำช้า เลวทราม ขว้างทิ้ง) หรือเราอาจจะเรียกพวกนี้ว่า ผู้ซึ่งไม่เคยได้ถูกให้ชื่อหรือถูกห้าม ถูกบังคับภายใต้กฎหมาย

(*)The term Abjection literally means "the state of being cast off." The concept of abject exists in between the concept of an object and the concept of the subject, something alive yet not. In contemporary critical theory, it is often used to describe the state of often-marginalized groups, such as people of color, prostitutes, homosexuals, convicts, poor people and handicapped persons. This term originated in the works of Julia Kristeva. Often, the term space of abjection is also used, referring to a space that abjected things or beings inhabit.

ดังนั้นตรงนี้นี่เอง ที่ทำให้เราเห็นว่าการกดทับนั้นถูกใช้ผ่านผลผลิตของสิ่งที่ไม่สามารถคิดถึงได้ หรือสิ่งที่ไม่สามารถมีชื่อได้ แนวคิดนิยมเลสเบี้ยนไม่ได้ถูกกระทำหรือกลายเป็นข้อห้ามอย่างโจ่งแจ้ง เพราะว่ามันไม่ได้ทำให้เกิดการคิดคำนึงถึง จินตนาการถึง ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบขอบเขตของกฎเกณฑ์ของวัฒนธรรมที่นำมาซึ่งความจริงและชื่อที่เรียก ดังนั้น การที่จะ "เป็น" เลสเบี้ยนภายในบริบทของการเมือง ที่ซึ่งความเป็นเลสเบี้ยนไม่ได้มีตัวตนอยู่นั้น จะทำได้อย่างไร?

วาทกรรมในเชิงการเมือง ที่ซึ่งมันมีเนื้อหาที่มีความรุนแรง มีการต่อต้านกลุ่มเลสเบี้ยนโดยการกีดกันความเป็นเลสเบี้ยน จะทำให้ความเป็นเลสเบี้ยนออกไปจากตัวของวาทกรรมเองได้หรือ. การที่ถูกกดทับหรือถูกกดขี่ที่ชัดเจน ก็เท่ากับว่าเป็นการเข้าไปยึดครองพื้นที่ในการวิเคราะห์วาทกรรม เสมือนเป็นการทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนทิศทางของวาทกรรมที่เข้ามากระทำ การที่ปรับเปลี่ยนออกไปจากสิ่งที่เคยถูกกำหนดไว้แต่เดิม เท่ากับว่าไม่มีสิทธิที่ดีพอต่อการเป็นวัตถุต้องห้ามอีกต่อไป ดังนั้น การที่ความเป็นรักเพศเดียวกันทุกชนิดที่ในปัจจุบันถูกลบล้าง ถูกลดทอน และถูกประกอบสร้างขึ้นมาใหม่ตามความคิดและจินตนาการของกลุ่มเกลียดกลัวรักเพศเดียวกัน จึงกลายเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะมันสามารถทำให้เราสืบค้นเชื่อมโยงไปสู่รากเหง้าที่แตกต่าง ที่ซึ่งความเป็นรักเพศเดียวกันที่ไม่สามารถคิดถึงได้ กลับกลายเป็นการประกอบสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง

มีสิ่งหนึ่งที่ถูกลบออกไปจากวาทกรรม ในขณะที่อีกสิ่งหนึ่งกลับถูกนำเสนอในวาทกรรมนั้น เสมือนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากข้อผิดพลาด ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการที่จะทำให้แนวคิดนิยมเลสเบี้ยนเป็นที่พบเห็นได้ แต่นั่นเราจะทำอย่างไรให้เกิดขึ้นภายนอกและก้าวผ่านจากสิ่งที่ถูกกรอบ และกำหนดเอาไว้แล้ว. จะเป็นไปได้หรือไม่ว่า ที่จะทำให้สิ่งที่มีอยู่จากสิ่งที่ได้ถูกตัดออกไปแล้วตั้งแต่ต้น กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อรองและต่อต้านนี้

Mother Camp: Female Impersonators in America
มันมีบางสิ่งบางอย่างคล้ายกับการสารภาพบาป (Confession) ซึ่งจะนำไปสู่ความสำคัญของการสารภาพที่เป็นไปไม่ได้ (Impossible Confession) เมื่อตอนเป็นวัยรุ่น ฉันมีความทุกข์ระทมมาเป็นเวลานาน ฉันคาดว่ามีหลายคนคงคิด หรือคงถูกบอกต่อๆ กันมาไม่มากก็น้อยว่า อะไรที่ฉัน"เป็น". นั้นคือการลอกแบบ (Copy) คือการเลียนแบบ (Imitation) เป็นเพียงแค่เงาของความจริง

ความเป็นคนรักต่างเพศนั้น ได้อุปโลกตัวเองขึ้นมาในฐานะที่เป็นต้นแบบ (Original) เป็นความจริง (True) และความแท้จริง (Authentic) เป็นค่านิยมที่กำหนดว่าความจริงเป็นอย่างไร ความจริงที่ทำให้ "การเป็น" เลสเบี้ยนนั้น กลายเป็นอะไรบางอย่างที่เกิดจากการเลียนแบบ ไม่ว่าจะอย่างไร ที่จะพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมกับแนวคิดที่คิดว่าความเป็นรักต่างเพศนั้นเป็นธรรมชาติแล้ว ก็จะทำให้และเป็นไปอยู่เสมอว่า "ความเป็นเลสเบี้ยนคือความล้มเหลว"

ฉันยังคงจำได้แม่นเมื่อฉันได้อ่านงานเขียนที่ชื่อว่า Mother Camp: Female Impersonators in America (*) ของ เอสเตอร์ นิวตัน (Esther Newton) เป็นครั้งแรก ที่เขียนถึงการแสดงถึงความเป็นหญิงอย่างออกหน้าออกตาในเพศชาย (Drag) (dress as girl) นั้นไม่ใช่การลอกเลียนหรือการลอกแบบของสิ่งที่มีมาก่อนหรือแม้กระทั่งลอกเพศสภาพ ตามที่นิวตันเขียน

(*)Mother Camp: Female Impersonators in America. For two years Ester Newton did field research in the world of drag queens-homosexual men who make a living impersonating women. Newton spent time in the noisy bars, the chaotic dressing rooms, and the cheap apartments and hotels that make up the lives of drag queens, interviewing informants whose trust she had earned and compiling a lively, first-hand ethnographic account of the culture of female impersonators. Mother Camp explores the distinctions that drag queens make among themselves as performers, the various kinds of night clubs and acts they depend on for a living, and the social organization of their work. A major part of the book deals with the symbolic geography of male and female styles, as enacted in the homosexual concept of "drag" (sex role transformation) and "camp," an important humor system cultivated by the drag queens themselves.

คนที่แสดงนั้นได้เข้าไปมีปฎิสัมพันธ์กับเนื้อหาหลักของการปลอมแปลงตัวตน ที่ซึ่งเพศสภาพได้ถูกผนวกเข้ามา คนที่แสดงนั้นไม่ได้ทำเพียงแค่หยิบเอาเพศสภาพ ที่เป็นของกลุ่มคนกลุ่มอื่นเข้ามาสวมใส่ เช่นการปรับตัวเข้ามาหา หรือออกไปหาสิ่งที่เชื่อกันว่า เพศสภาพนั้นจะต้องสอดคล้องไปกับเครื่องเพศ. หรือ "ความเป็นชาย"(Masculine) ต้องอยู่คู่กับ "เพศชาย" (Male) และ "ความเป็นหญิง" (Feminine) จะต้องอยู่คู่กับ "เพศหญิง" (Female)

มันไม่เคยมีสิ่งที่เรียกว่าเพศสภาพ "อย่างเป็นทางการ" เพราะการที่จะบอกได้ว่าเพศอะไรควรเป็นแบบใด หรือแบบใดที่จะถูกเรียกตามเพศใดนั้น เป็นผลผลิตทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ความเป็น "ทางการ" ได้เข้ามาควบคุมและดำเนินการ. มันจะเกิดเป็นสิ่งที่ "ไม่เป็นทางการ" เนื่องจากผลกระทบที่ตามมาเกี่ยวกับการกำหนดของระบบ คนที่แสดงถึงความเป็นหญิงอย่างออกหน้าออกตานี้ ทำการก้าวตามสิ่งที่ทำให้เพศสภาพได้ถูกนำปรับใช้ นำไปแสดง และนำไปสวม มันยังจะแสดงให้เห็นว่า เพศสภาพทุกอย่างเป็นเพียงแค่การแสดงเลียนแบบ หรือการปรับใช้เท่านั้น

No Performer Prior to the Performed
แม้ว่าที่ผ่านมาข้างต้น ฉันได้นำเสนอถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นของการปฎิบัติการทางเพศสภาพ การแสดง การประกอบสร้างแบบซ้ำๆ และการเลียนแบบ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าฉันกำลังจะบอกว่ากลุ่มแดรกซ์ (Drag)(dress as girl) หรือกลุ่มที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของการปฎิบัติการทางเพศสภาวะที่ตรงกันข้ามกับเพศสภาพของตนเองนั้นเป็นเพียง "บทบาท" ซึ่งสามารถถอดเข้าและถอดออกได้ตามปราถนา โดยไม่มีความมุ่งมาดปราถนาของอัตบุคคลที่ซ่อนอยู่ภายในการเลียนแบบ ผู้ซึ่งเสมือนว่าเป็นคนตัดสินใจว่าจะอยากจะเป็นเพศอะไรวันนี้

ในทางตรงกันข้าม โอกาสในการที่จะกลายมาเป็นอัตบุคคลที่ใช้การได้ (Becoming Viable Subject) นั้นจำเป็นที่จะต้องเลือกการเลียนแบบเพศสภาวะอย่างใดอย่างหนึ่ง สภาวะของการที่จะ "เป็น" ของอัตบุคคล ไม่ได้มีการกำหนดตัวตนของตัวเองมากไปกว่าสภาวะของการที่จะ "เป็น" ของเพศใดเพศหนึ่ง. ในความเป็นจริงแล้ว การประกอบสร้างของความซ้ำในความเป็นเพศสภาวะได้ผลิตสร้างให้ตัวมันเองให้เป็น ผล แห่งภาพมายา ที่เกิดขึ้นมาก่อนความมุ่งมาดปราถนาของอัตบุคคล ในนัยยะนี้ เพศสภาวะไม่ใช่การแสดงที่อยู่ก่อนหน้าอัตบุคคล เพื่อที่จะเลือกได้ว่าจะแสดงอย่างไร แต่เพศสภาวะอยู่ในสภาวะเชิงการแสดงในลักษณะที่ประกอบสร้างและมีความซ้ำ (Performative) ซึ่งมันจึงกลายเป็นมีผลโดยตรงต่ออัตบุคคลในการแสดงออกของแต่ละบุคคล มันเป็นการแสดงที่มีความจำเป็นต้องทำ และถ้าใครก็ตามที่แสดงนอกลู่นอกทาง การแสดงที่เกิดขึ้นจากค่านิยมของกลุ่มรักต่างเพศ ก็จะนำมาซึ่งการลงโทษและความรุนแรง โดยไม่จำเป็นเลยที่จะต้องพูดถึงความปราถนาในการที่จะปฎิเสธและท้าทายกฎเกณฑ์และข้อห้ามเหล่านั้น

การที่จะกล่าวว่า ไม่มีผู้แสดงอยู่ก่อนหน้าการแสดงที่แสดงแล้ว (No Performer Prior to the Performed) และการแสดงเป็นสภาวะในเชิงแสดงอยู่ด้วยตัวมันเอง และการแสดงนี้เอง ที่เข้ามาก่อร่างให้เกิดขึ้นเป็นอัตบุคคล ผู้ซึ่งเกิดขึ้นมาจากผลของการประกอบสร้างนั้น ดูจะยากที่จะยอมรับ และความยากนี้เองที่เป็นผลจากการเปลี่ยนตำแหน่งแห่งที่ในการคิดถึงเรื่องเกี่ยวกับเพศวิถีและเพศสภาวะในฐานะที่เป็นการ "แสดงออก" ซึ่งในบางครั้งเป็นการแสดงออกทางอ้อมและบางครั้งเป็นการแสดงออกทางตรงจากการมีอยู่จริงของจิต (Psychic Reality)

อย่างไรก็ตาม การปฎิเสธถึงอำนาจการควบคุมตัวเองของอัตบุคคล ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นการปฎิเสธอัตบุคคล ในความเป็นจริงแล้ว ที่ปฎิเสธคือการยุบรวมอัตบุคคลเข้ากับสภาวะของจิต (Psyche) ซึ่งทำให้เห็นว่าความคิดและจิตอยู่เหนือปริมณฑลของอัตบุคคล และจิตของเขา ความที่อยู่เหนือของจิต (Psyche Excess) นี้ได้ถูกแยกออกไปแล้วโดยระบบที่ไม่ได้เปิดโอกาสให้ "อัตบุคคล" ที่มีความมุ่งมาดปราถนาหรือที่มีสติ ได้เลือกเพศวิถีหรือเพศสภาวะของตัวเองได้ในเวลาใดและสถานที่ใด การที่มันจะยังคงสภาพให้ตัวมันเองอยู่เหนือจากสติและสำนึกของอัตบุคคลได้ถูกก่อกวนและล้มล้างจากโครงสร้างภายใน โดยเฉพาะจากการที่การแสดงออกและท่าทางที่มีความซ้ำซ้อนที่ได้ประกอบสร้างกันขึ้นมาเป็นหนึ่งเดียวของตำแหน่งแห่งที่ของกลุ่มรักต่างเพศ และในความซ้ำนี้เองที่เปิดโอกาสในการที่จะทำให้เกิดความล้มเหลวได้อย่างมากเช่นกัน

ในความหมายนี้เ พราะในความที่อยู่นอกเหนือนี้เอง ซึ่งเป็นพื้นฐานของรักต่างเพศได้รวมเอารักเพศเดียวกันเข้าไปด้วย ซึ่งจะกลายเป็นสิ่งที่รุกล้ำและเป็นความพยายามที่จะก่อกวนระบบที่ถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยความซ้ำของความเหมือนเป็นเครื่องมือ [หมายถึงผลิตสร้างอย่างซ้ำๆ ของสิ่งที่รักต่างเพศเชื่อและยึดถือปฎิบัติซ้ำเดิม] (Repetition of the Same) และถ้าความซ้ำนี้เป็นเครื่องมือแห่งอำนาจในการก่อให้เกิดภาพมายาของอัตลักษณ์ทางเพศของรักต่างเพศแล้ว หรือพูดในอีกแบบหนึ่งคือ ถ้ารักต่างเพศถูกกระตุ้นให้เกิดการ สร้างซ้ำในตัวมันเอง เพื่อที่จะก่อให้เกิดภาพมายาของความเป็นกลุ่มก้อนและอัตลักษณ์แล้ว อัตลักษณ์ที่ว่านี้ ก็จะก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างถาวร

เพราะถ้าความซ้ำไม่เกิดขึ้น หรือความซ้ำไม่เกิดซ้ำในตัวมันเองแล้ว หรือถ้าการสร้างซ้ำกลับถูกใช้ในอีกลักษณะหนึ่ง และก่อให้เกิดการแสดงออกเพื่อจุดประสงค์อย่างอื่น หรือถ้ามันจำเป็นต้องมีการประกอบสร้างซ้ำตลอดเวลา ความซ้ำนี้เป็นสิ่งที่จะบอกว่าอัตลักษณ์นี้ เกิดขึ้นอย่างไม่สมบูรณ์. ความจำเป็นที่จะต้องมีการผลิตซ้ำ คือนัยยะที่จะบ่งบอกว่า อัตลักษณ์ไม่ใช่การกำหนดสร้างขึ้นได้ด้วยตัวมันเอง มันเรียกร้องให้ตัวมันเองถูกกำหนดซ้ำแล้วซ้ำอีก และแน่นอนว่าการที่มันเรียกร้องนี้กลับก่อให้เกิดความเสี่ยงในการที่ตัวมันจะ "ถูกรื้อและการปฎิเสธ" การกำหนดสร้างนี้ได้ตลอดเวลา

เพศวิถี เป็นเรื่องภายในที่ไม่ได้ปรากฏตามเพศสภาวะ
อะไรคือสิ่งที่เรียกว่า ความที่อยู่เหนือของจิต และมันจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือก่อให้เกิดการรื้อและการปฎิเสธความซ้ำได้อย่างไร? ก่อนอื่น มันมีความจำเป็นที่จะต้องคำนึงว่าเพศวิถีนั้นอยู่นอกเหนือไปจากรูปแบบของการแสดงอะไรก็ตาม ที่ถูกหยิบยื่นให้. อยู่นอกเหนือไปจากการนำเสนอ หรือการเล่าเรื่องใดๆ จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะอ่านเพศวิถีจากการนำเสนอรูปแบบใดๆ ก็ตามของเพศสภาพ และอาจจะกล่าวได้ว่า เพศวิถีอยู่นอกเหนือไปจากวิถีการกำหนดอ่านใดๆ

เพศวิถีไม่เคย "ปรากฏหรือถูกแสดงออกมา" อย่างเต็มรูปแบบในการแสดงหรือการปฎิบัติการ เช่นว่าในกลุ่มเลสเบี้ยน มันมีลักษณะของความบึกบึนแต่เป็นฝ่ายรับ มีลักษณะที่เป็นหญิงและชอบความก้าวร้าวรุนแรง และเป็นทั้งสองอย่าง. สิ่งที่มันเกิดขึ้นกลายเป็นว่า ลักษณะและประเภทต่างๆ เหล่านี้ กลับถูกแบ่งแยกตามสรีระทาง "เพศชาย" หรือ "เพศหญิง" ไม่มากก็น้อย

มันไม่มีการแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาหรือมีเส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่าง เพศ (Sex) เพศสภาพ (Gender) การนำเสนอเพศสภาพ (Gender Presentation) การปฏิบัติการทางเพศ (Sexual Practice) จินตนาการและเพศวิถี (Fantasy and Sexuality) ทุกคำที่กล่าวมา ไม่สามารถใช้หรือนำมากำหนดสิ่งอื่นๆ ได้

บางส่วนของการกำหนดสร้างเพศวิถีนั้น คือเกิดจาก การที่มันไม่สามารถปรากฏให้เห็นหรือบางครั้งไม่เคยปรากฏออกมา เนื่องจากเหตุผลหลักที่ว่า ทำไมเพศวิถีจึงมักจะอยู่ภายใต้การปกปิด ดังนั้นอาจจะเป็นไปได้สำหรับพวกที่ชอบนำเสนอตัวเองผ่านการแสดงออกที่เรียกว่า"การเก็บตัว" เพราะการเก็บตัวนั้น เป็นเสมือนการทำให้รูปแบบใดๆ ก็ตามของการนำเสนอเพศสภาพ ถูกแยกออกไป เพื่อไม่ให้เพศสภาพนั้นอยู่เหนือเพศวิถีไปได้. และอะไรก็ตามที่ถูกนำเสนออกไปในเชิงเพศวิถี คือเป็นไปในลักษณะของความสัมพันธ์แบบ "ย้อนกลับ" (Inverted Relation) ระหว่างเพศสภาพและการนำเสนอของเพศสภาพ และระหว่างการนำเสนอของเพศสภาพและเพศวิถี

ความสัมพันธ์แบบย้อนกลับ (Inverted Relation)
ในทางตรงกันข้าม ทั้งการนำเสนของเพศสภาพ และการปฏิบัติการทางเพศ อาจจะมีการตอบสนองกันไปในทิศทางเดียวกัน เช่นความเป็นเพศสภาพจะไปปรากฏออกมาในการปฎิบัติการทางเพศ และในทางกลับกันทั้งคู่อาจกลับกลายเป็นผลผลิตที่ถูกประกอบสร้างขึ้นจากความเป็นไปได้ของเพศวิถี ที่พวกเขาได้ตัดมันออกไปแล้วตั้งแต่แรก

ในตรรกะของการย้อนกลับ ดูเหมือนว่าจะเกิดขึ้นอย่างน่าสนใจในกลุ่มเลสเบี้ยนที่มีความบึกบึนหรือมีรูปแบบการนำเสนอความเป็นเพศสภาพในลักษณะที่มีความเป็นชายสูง และกลุ่มเลสเบี้ยนที่นำเสนอรูปแบบของเพศสภาพความเป็นหญิงสูง. สำหรับกลุ่มเลสเบี้ยนที่บึกบึนแล้วมักจะนำเสนอรูปแบบของตัวของพวกเธอ ในลักษณะของบุคคลที่มีความสามารถ มีกำลังมาก และชอบที่จะเป็น"ฝ่ายให้" และสำหรับพวกที่มีความบึกบึนมาก อาจจะมีการแสดงออกกับคนที่เธอรักโดยมองพวกเธอว่าเป็นพื้นที่แห่งความมุ่งมาดปราถนาทางกามารณ์

พวกกลุ่มเลสเบี้ยนที่บึกบึนเหล่านี้ ที่มักจะเป็นผู้ "ให้" ในตอนแรก ดูเหมือนเป็นการจำลองบทบาททางเพศสภาพของเพศชายในฐานะของสามี และพบว่า พวกเธอกลับตกอยู่ในตรรกะของการย้อนกลับนี้ที่ซึ่ง "การให้" กลับย้อนมาเป็นการสังเวยตัวเอง เป็นการทำให้พวกเธอตกอยู่ในหลุมพรางเดิมๆ ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ในยุคโบราณที่เรียกว่า "การละทิ้งตัวเองของเพศหญิง" (Feminine Self-Abnegation) พวกเธออาจจะพบว่า พวกเธอนั้นตกอยู่ในสภาวะที่ต้องการสิ่งต่างๆ อยากมากมาย ซึ่งกลายเป็นเหตุจูงใจที่ทำให้พวกเธอต้องค้นหาความรัก กำหนดมัน และเติมเต็มความรู้สึกของพวกเธอจากคนรัก ในผลกระทบที่เกิดขึ้น. คนที่แสดงออกถึงความบึกบึน กลับกลายเป็นคนที่อ่อนแอ และต้องการการดูแลเอาใจใส่ หรืออาจจะตกอยู่ในสภาวะของการย้อนกลับไปตลอด และคอยรับความรู้สึกดีๆ จากการที่จะต้องตกอยู่ในสภาวะนั้น

ในทางตรงกันข้าม สำหรับเลสเบี้ยนผู้ซึ่ง "เปิดหนทาง" ให้กับตัวเองโดยการผ่าตัดแปลงเพศนั้น อาจจะถือได้ว่าเป็นการตัดสินใจในการแยกออกเป็นอิสระ เพียงเพื่อที่จะเรียนรู้ว่าการที่จะทำให้ตัวเองมีอำนาจได้นั้น เธอจะต้องได้มาซึ่งอำนาจที่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือย้อนกลับได้ ในจุดนี้เอง การที่เธอเลือกที่จะเปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนที่บึกบึน หรือติดยึดอยู่กับการเปลี่ยนแปลงได้ก่อให้เกิดความสุขให้กับพวกเธอ

มันไม่ได้มีสิ่งที่เรียกว่า "เพศ" (Sex) ที่อยู่ในรูปของสรีระทางกายภาพ เป็นสิ่งซึ่งสามารถ "แสดงออก" ได้ในท่าทาง, การแสดงออกทางร่างกาย, หรือสำหรับเพศวิถี และสามารถแสดงออกได้โดยผ่านเพศสภาพแล้วจะกลายเป็นความเป็นเพศที่วิเศษ ถ้าเพศสภาพเป็นสิ่งที่ถูกแสดงออกในฐานะเดียวกัน การที่ผู้ชายแสดงออกในความเป็นหญิง (Drag - dress as girl) และถ้าการแสดงออกนั้นคือการลอกเลียนแบบที่ก่อให้เกิดการผลิตสร้างแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นเพศแล้ว ดังนั้น เราจะเชื่อว่าเพศสภาพคือการแสดงออก ที่ซึ่งสามารถผลิตสร้างภาพมายาของความเป็นเพศที่อยู่ภายใน หรือเนื้อหาที่อยู่ภายในจิตใต้สำนึกแห่งแกนกลางของความเป็นเพศ มันผลิตสร้างออกมาผ่านเนื้อหนัง ผ่านท่าทางการแสดงออก การเคลื่อนไหว

ซึ่งในความหมายนี้จะถือได้ว่า การแสดงออกทางสรีรทางกายภาพของเรา คือการนำเสนอของเพศสภาพ มันคือภาพมายาของสิ่งที่มีอยู่ภายใน ผลที่เกิดขึ้นตามมาคือ เชื่อว่าเพศสภาพกลายเป็นธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ซึ่งถูกสร้างขึ้นเสมือนอยู่ภายในจิตใต้สำนึกและ "ตามข้อจำกัด" ทางกายภาพ. แต่อย่างไรก็ตาม เราต้องยอมรับว่ามันมีสัญญะที่ปรากฎออกมาให้เห็นบนพื้นผิวที่เกิดขึ้น มีการกำหนดความหมายลงบนร่างกายที่ปรากฎต่อสาธารณะ ซึ่งผลิตสร้างความรู้สึกถึงสิ่งที่อยู่ภายในจิตใต้สำนึก ความจำเป็น และเนื้อหาที่วิเศษที่สามารถถูกนำเสนออกมาได้

จิตใต้สำนึก (unconscious) สามารถกำหนดสร้างอัตลักษณ์ใหม่ได้
การที่จะโต้เถียงว่า"จิต"(Psyche) เป็นเสมือน "ความลึกล้ำที่อยู่ภายใน" นั้นไม่ใช่เป็นการปฎิเสธถึงการมีอยู่ของจิต ในทางตรงกันข้าม สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อพูดถึงจิตนี้ มันกลับเรียกร้องให้มีการคิดทบทวนใหม่ในฐานะของกฎเกณฑ์ของความจำเป็นต่อการผลิตซ้ำ ซึ่งสิ่งนี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการแสดงออกทางอัตลักษณ์

ถ้าในการแสดงออกทุกท่วงท่ามีการซ้ำในตัวเอง นั่นคือ การก่อร่างให้เกิดเป็นผลของอัตลักษณ์ และถ้าในทุกท่วงท่าที่ประกอบสร้างนั้นมันมีช่องว่างรอยต่อ ระหว่าง "การซ้ำ" มันก็กำลังเสี่ยงต่อการถูกก่อกวนท้าทาย และทำให้ความซ้ำของการประกอบสร้างอัตลักษณ์นั้นสะดุดลง จิตใต้สำนึกที่บริสุทธิ์ (Unconscious) คือเป็นช่องทางที่จะทำให้สามารถเจาะเข้าไปและท้าทายผ่านทางการแสดงออก ซึ่งมันไม่สามารถที่จะปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจนในตัวมันเอง ส่วนจิต (Psyche) ไม่ใช่อยู่ "ใน" ร่างกาย แต่ทว่ามันคือกระบวนการกำหนดสร้าง ที่ซึ่งทำให้ร่างกายปรากฎขึ้นมา มันก่อให้เกิดการสร้างซ้ำ และกลายเป็นข้อกำหนดและกฎเกณฑ์ที่ต้องยอมรับ และต้องทำ และตรงนี้เองที่การแสดงออกสามารถที่จะค้นหาจุดในการปฎิเสธท้าทายมันจากจุดเริ่มต้น

[ตามความเข้าใจของผู้แปล จะเห็นได้ว่า Butler ใช้คำสองคำเพื่อแยกให้เห็นถึงสภาวะของจิต คือคำว่า Psyche และจิตใต้สำนึก Unconscious ซึ่งในที่นี้คำว่า Psyche ดูเหมือนจะมีนัยยะของการถูกประกอบสร้าง หรือไม่ใช่เป็นจิตใต้สำนึกที่แท้ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นจิตที่ถูกครอบงำจากกฎเกณฑ์ของความเป็นธรรมชาติไปแล้วตั้งแต่แรก. ในขณะที่คำว่าจิตใต้สำนึก(Unconscious) ดูเหมือนจะเป็นนัยยะที่อยู่นอกเหนือไปจากการประกอบสร้างจากกฎเกณฑ์ต่างๆ ซึ่ง Butler เชื่อว่าจะเป็นช่องทางในการที่จะเข้าไปกำหนดสร้างอัตลักษณ์ใหม่ได้ โดยปราศจากกฎเกณฑ์มาเป็นปัจจัยในการสร้างนั้น]

การที่จะระบุให้ได้ว่าพื้นที่ของจิต (Psyche) นี้อยู่ในกระบวนการให้ความหมายและกำหนดสร้าง ไม่ได้เหมือนกับการอ้างว่ามันคือใจกลางที่อยู่ภายใน ที่กำลังรอเวลาในการแสดงออกอย่างเต็มที่และอย่างเป็นอิสระ. ในทางตรงกันข้ามจิต (Psyche) นี้ มันคือความล้มเหลวอย่างถาวรต่อการแสดงออก และความล้มเหลวนี้เองที่กลายมาเป็นคุณค่าของตัวมัน มันเปิดโอกาสให้เกิดการผลิตสร้างของความซ้ำ และในขณะเดียวกันมันกลายเป็นช่องทางของการท้าทายและรื้อสร้าง เรากำลังจะหมายถึงอะไรเมื่อเราพูดถึงการก่อกวน ไม่ให้เกิดความต่อเนื่องของการผลิตซ้ำที่เกิดขึ้นภายในโครงสร้างหลักของกลุ่มรักต่างเพศ

เพศสภาพ เป็นการประกอบสร้าง
ถึงแม้ว่าภายใต้โครงสร้างหลักของกลุ่มรักต่างเพศนี้ บ่อยครั้งจะทำให้ดูเหมือนว่าเริ่มต้นจาก เพศ (Sex) และความเป็นเพศนั้นจะต้องถูกแสดงออกผ่านทางเพศสภาพ (Gender) และต่อมาผ่านทางเพศวิถี (Sexuality)… แต่ตอนนี้ มันกำลังจะถูกเรียกร้องให้คิดทบทวนใหม่ถึงการย้อนแย้ง และการปรับเปลี่ยนตำแหน่งภายในกระบวนการคิด

ถ้าในแนวคิดหลักที่คิดเกี่ยวกับเพศวิถีว่า มันคือการแสดงทางเพศ การแสดงก็จะเป็นเพียงเครื่องมือ ที่จะยืนยันถึงแนวคิดของคู่สองเพศของเพศสภาพและคู่สองเพศของเพศวิถี และมันก็ยังจะทำให้เรามองเห็นแต่เพียงว่า การจัดแบ่งกลุ่มตามลักษณะของความเป็นเพศ หรือตามอัตลักษณ์ทางเพศ หรือตามเพศสภาพที่ถูกผลิตหรือถูกทำให้คงสภาพในลักษณะของ "ผลที่เกิดขึ้น" จากการแสดงออกนั้นๆ มันกลายเป็นเพียงแค่"ผลที่เกิดขึ้น" ซึ่งไม่ใช่"ต้นเหตุ" ไม่ใช่"ต้นแบบ" มันเป็นเสมือนของเลียนแบบ ที่ถูกนำเข้ามาผลิตสร้างอย่างเป็นขั้นเป็นตอนของค่านิยมในกลุ่มรักต่างเพศ. มันเป็นเสมือนการสร้างให้เกิดความชอบธรรมในตัวของมันเองในฐานะ"ต้นกำเนิด"หรือ"ต้นแบบ"ของความเป็นเพศทั้งปวง (คำถามคือ)… แล้วเราจะทำอย่างไรที่จะเปิดโปงถึงการผลิตสร้างความชอบธรรมนี้ และทำอย่างไรที่จะชี้ให้เห็นว่า ความซ้ำที่เกิดขึ้นภายในเพศสภาพนั้นเป็นการประกอบสร้าง

จะทำอย่างไรที่จะเปิดโปงให้เห็นว่า การประกอบสร้างเพศสภาพนั้นคือ"การอ้างถึงความเป็นต้นแบบ". สิ่งที่อยู่ภายในความจริง และความจริงแท้ และสิ่งเหล่านั้นไม่ได้มีอะไรมากไปกว่า สิ่งที่กลุ่มชายที่แสดงออกถึงความเป็นหญิง (Drag) ได้แสดงออกให้เห็น เพราะคนกลุ่มนี้ได้เปิดช่องทางให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยน สร้างความย้อนแย้งถึงสิ่งที่ถูกแสดง และถูกนำมาแสดงใหม่เพื่อที่จะทำให้ "ความเป็นเพศ" ของเพศสภาพ (the "Sex" of Gender) กลายเป็นพื้นที่ของการต่อต้านทางการเมือง

บางทีสิ่งที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นความพยายามที่จะใช้"เพศวิถี" ต่อต้าน "อัตลักษณ์ทางเพศ" ซึ่งรวมไปถึงต่อต้าน"เพศสภาพ"ด้วย และเพื่อที่จะบอกว่า จะไม่มีทางเป็นไปได้ถึงการป้องกันคำมั่นสัญญาของการก่อกวนเพื่อสร้างให้เกิดความไม่ต่อเนื่อง ในเมื่อความเป็นเพศนั้น ไม่สามารถที่จะปรากฏตัวออกมาอย่างเต็มที่ภายใต้รูปแบบของการแสดง

บทความเกี่ยวเนื่อง: เพศไม่มีประวัติศาสตร์ แต่เพศวิถีมีประวัติศาสตร์

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ : Release date 16 May 2008 : Copyleft by MNU.

"ชาวเกย์"ในฐานะการเป็นวัตถุต้องห้าม: ในการเมืองของอเมริกาทุกวันนี้ มันมีหลายทิศทางที่เกิดขึ้นที่ทำให้แนวคิดแบบนิยมเลสเบี้ยน ถูกเข้าใจไปว่า เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ หรือไม่กล้าที่จะ"เป็น"ในแนวคิดแบบนี้ดังเช่นที่ เจสซี เฮม (Jesse Helm) ได้โจมตี National Endowment for the Arts ในสิ่งที่เปิดโปงถึงการใช้ภาพตัวแทนของแนวคิดนิยมความต้องการทางเพศ ของพวกที่รักเพศเดียวกัน(Homoeroticism) ที่มุ่งเน้นไปที่ความหลากหลายของความคิดเพ้อฝันของพวกที่เกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน ที่คิดไปว่า"เกย์"คืออะไร หรือทำอะไร. จากงานของนักถ่ายภาพ โรเบิร์ต มาเบิลโทรป (Robert Mapplethorpe) สำหรับ Jesse Helm แล้ว กลุ่มชาวเกย์ผู้ชายมีตัวตนอยู่ในสภาพของ"วัตถุสำหรับต้องห้าม"

H