ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




05-05-2551 (1553)

ด้านลบของการปฏิวัติจีเอ็มโอ: บทเรียนจากละตินอเมริกา
ประหารเมล็ดพันธุ์เพชฌฆาต (จีเอ็มโอ): ขจัดลัทธิอาณานิคมชีวภาพ (๑)
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

บทความเพื่อสิทธิพลเมือง อธิปไตยทางอาหาร
บทแปลต่อไปนี้เดิมชื่อ : ด้านลบของการปฏิวัติจีเอ็มโอ: บทเรียนจากละตินอเมริกา
แปลจาก Latin America: The Downside of the GM Revolution,"
เขียนโดย Carmelo Ruiz-Marrero, " Americas Policy Program Special Report
(Washington, DC: Center for International Policy, December 3, 2007)
โดยมีลำดับหัวข้อโดยสังเขปต่อไปนี้...
- ถั่วเหลืองในอเมริกาใต้: หายนะของสิ่งแวดล้อม
- พื้นที่ลุ่มน้ำแอมะซอน บราซิล
- อาร์เจนตินา: เปลี่ยนจากยุ้งฉางของโลก กลายเป็นสาธารณรัฐอาหารสัตว์
- เวเนซุเอลา: จุดยืนที่ขัดแย้งกันเอง
- พืชดัดแปลงพันธุกรรม: ความจริงและความลวง
- เม็กซิโก: การรุกรานของพืชจีเอ็มโอ
- ยุทธศาสตร์ "สีเขียว" ของระบบทุนนิยม
- ประหารเมล็ดพันธุ์เพชฌฆาต: ชัยชนะที่เมืองกูรีตีบา
- ลัทธิอาณานิคมทางชีวภาพ: การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
- การรณรงค์ด้านเมล็ดพันธุ์ของ MST และ เวียคัมเปซินา
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๕๓
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๓.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ด้านลบของการปฏิวัติจีเอ็มโอ: บทเรียนจากละตินอเมริกา
ประหารเมล็ดพันธุ์เพชฌฆาต (จีเอ็มโอ): ขจัดลัทธิอาณานิคมชีวภาพ (๑)
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ประหารเมล็ดพันธุ์เพชฌฆาต (จีเอ็มโอ): บทเรียนจากละตินอเมริกา
Web location: http://americas.irc-online.org/am/4786

ขณะที่ถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมยึดพื้นที่เพาะปลูกกว้างใหญ่ในอเมริกาใต้ และมีรายงานมากมายเกี่ยวกับการที่พืชจีเอ็มโอปนเปื้อนกับรหัสพันธุกรรมของข้าวโพดพื้นบ้านในภูมิภาคอเมริกากลาง ขบวนการรากหญ้าที่ต่อต้านพืชดัดแปลงพันธุกรรมก็ขยายตัวมากขึ้นเช่นกัน การประท้วงกลายเป็นส่วนหนึ่งในขบวนการประชาชนตลอดซีกโลกตะวันตก โดยประสานการคัดค้านลัทธิเสรีนิยมใหม่เข้ากับการต่อต้านธุรกิจเกษตร รวมทั้งเรียกร้องการปฏิรูปที่ดิน อธิปไตยทางอาหาร และการเกษตรแบบยั่งยืน

ถั่วเหลืองในอเมริกาใต้: หายนะของสิ่งแวดล้อม
ไม่มีที่ไหนในโลกอีกแล้วที่รู้สึกถึงผลกระทบของพืชจีเอ็มโอได้เข้มข้นเท่าอเมริกาใต้ ในปัจจุบัน ถั่วเหลือง (*) ครองพื้นที่เพาะปลูกกว่า 16 ล้านเฮกตาร์ (98.8 ล้านไร่) ในประเทศอาร์เจนตินา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ใหญ่กว่ารัฐคอนเนตทิคัตถึง 10 เท่า และครองพื้นที่กว่า 20 ล้านเฮกตาร์ (123.5 ล้านไร่) ในประเทศบราซิล (มากกว่าหนึ่งในห้าของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดในบราซิลและเท่ากับเกือบหนึ่งในสามของรัฐเทกซัส) โบลิเวียและปารากวัยรวมกันปลูกถั่วเหลืองอีกอย่างน้อย 3 ล้านเฮกตาร์ (18.525 ล้านไร่) ถั่วเหลืองกำลังรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่เกษตรกรรมของอุรุกวัยด้วยเช่นกัน

(*) ถั่วเหลืองที่เพาะปลูกกันส่วนใหญ่ไม่ใช่ปลูกเพื่อเลี้ยงดูประชาชนในประเทศยากจน แต่เพื่อทำอาหารเลี้ยงปศุสัตว์ในสหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก และจีน เพื่อผลิตเป็นเนื้อวัวที่คนจนในโลกไม่มีปัญญาซื้อกิน ส่วนที่เหลือจะนำไปใช้ในอุตสาหกรรม เช่น การผลิตหมึก สบู่ และกาว ที่เหลืออีกเพียงเล็กน้อยนำไปใช้เป็นสารเติมแต่งถั่วเหลืองที่พบในอาหารแปรรูปกว่าครึ่งหนึ่งของที่มีอยู่ทั้งหมด เช่น ขนมปัง ช็อกโกแลต และมายองเนส ในปัจจุบัน ถั่วเหลืองที่มีการเพาะปลูกเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในโลกถูกนำไปใช้ทำไบโอดีเซล

ถั่วเหลืองเกือบทั้งหมดที่ปลูกในอเมริกาใต้คือพันธุ์ Roundup Ready (RR ดูภาคผนวก) เหตุผลที่ใช้พันธุ์นี้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและชีววิทยาของการทำไร่ถั่วเหลือง การเพาะปลูกถั่วเหลืองเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่สามารถทำได้และมีประสิทธิภาพคุ้มต้นทุนด้วยการใช้เครื่องจักรหว่านเมล็ดโดยไม่ต้องไถพรวน แต่การทำไร่แบบไม่ไถพรวนนี้คือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการเติบโตของวัชพืช ด้วยเหตุนี้ การเพาะปลูกถั่วเหลืองเชิงเดี่ยวจึงต้องใช้ยากำจัดวัชพืชจำนวนมาก การพัฒนาเมล็ดถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมพันธุ์ RR ขึ้นมา ก็เพื่อให้แรงงานเกษตรสามารถใช้ยากำจัดวัชพืชยี่ห้อราวด์อัพ (Roundup) ของมอนซานโตได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะทำลายต้นถั่วเหลือง ดังนั้น ถั่วเหลืองจีเอ็มโอที่มีภูมิต้านทานยากำจัดวัชพืช จึงทำให้การเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์

ความเฟื่องฟูของการเพาะปลูกถั่วเหลือง ซึ่งบรรดาเจ้าของที่ดิน บริษัทธุรกิจเกษตร บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ และรัฐบาลในอเมริกาใต้ สรรเสริญว่าเป็นความสำเร็จยิ่งใหญ่ แท้จริงแล้วมีต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมหาศาล. "การเพาะปลูกถั่วเหลืองเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ทำให้ดินแถบลุ่มน้ำแอมะซอนเสียหายจนใช้การไม่ได้" คือข้อมูลจากศาสตราจารย์มิเกวล อัลเทียรี แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และศาสตราจารย์วัลเตอร์ เพนเก แห่งมหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส "การผลิตถั่วเหลืองที่มีภูมิต้านทานยากำจัดวัชพืชทำให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การตัดไม้ทำลายป่า ดินเสื่อมสภาพ การใช้ยาฆ่าแมลง และการปนเปื้อนทางพันธุกรรม"

"ถั่วเหลืองหมายถึงการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว และการทำไร่ด้วยเครื่องจักรขนาดใหญ่" ข้อมูลจาก GRAIN องค์กรเอกชนระหว่างประเทศที่สนับสนุนการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน "ผลลัพธ์ก็คือ การเพาะปลูกถั่วเหลืองทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างหนักหนาสาหัส ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าถึง 21 ล้านเฮกตาร์ในบราซิล 14 ล้านเฮกตาร์ในอาร์เจนตินา และ 2 ล้านเฮกตาร์ในปารากวัย". การทำไร่ถั่วเหลืองทำลายความอุดมสมบูรณ์ของดินอย่างร้ายแรง อัลเทียรีและเพนเกบอกว่า ในพื้นที่ที่ดินไม่ดี หลังจากทำไร่ถั่วเหลืองแค่สองปี ก็ต้องใส่ปุ๋ยและสารประกอบแคลเซียมลงในดินอย่างหนักถึงจะเพาะปลูกต่อไปได้ ทั่วทั้งทวีปอเมริกาใต้ การผลิตถั่วเหลืองที่กำลังขยายตัวส่งผลกระทบต่อการใช้ที่ดิน สิ่งแวดล้อม และสังคม

โบลิเวีย
"ในโบลิเวีย การผลิตถั่วเหลืองกำลังรุกคืบไปทางภาคตะวันออก และในหลาย ๆ พื้นที่ ดินเริ่มอัดแน่นและเสื่อมโทรมลงอย่างรุนแรง ดินกว่าแสนเฮกตาร์ที่เสื่อมสภาพเพราะการปลูกถั่วเหลืองถูกทิ้งร้างให้เป็นทุ่งหญ้าสำหรับปศุสัตว์ ทำให้ดินยิ่งเสื่อมโทรมลงไปอีก เมื่อที่ดินถูกทิ้งร้าง เกษตรกรก็ย้ายไปสู่พื้นที่อื่น ๆ และลงมือเพาะปลูกถั่วเหลืองอีก สร้างวัฏจักรชั่วร้ายให้แก่ความเสื่อมโทรมของดินอย่างไม่รู้จบสิ้น" อัลเทียรีและเพนเกขยายความในรายงาน

การขยายตัวของการเพาะปลูกถั่วเหลืองในโบลิเวียช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ทำให้มีการทำลายป่ากว่า 1 ล้านเฮกตาร์ (6.175 ล้านไร่) ข้อมูลนี้ได้มาจาก "เครือข่ายเพื่อโบลิเวียปลอดจีเอ็มโอ" (Network for a GM-free Bolivia - Red por una Bolivia Libre de Transg?nicos) ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับความเห็นชอบจากองค์กรประชาสังคมกว่ายี่สิบแห่ง จากเอกสาร ค.ศ. 2006 ของเครือข่ายนี้ อัตราการทำลายป่าเพื่อเพาะปลูกถั่วเหลืองในโบลิเวียมีมากเกือบ 60,000 เฮกตาร์ (370,500 ไร่) ต่อปี. "หากการทำลายป่ายังดำเนินต่อไปในอัตรานี้ พื้นที่ป่าในเขตที่มีการเพาะปลูกถั่วเหลืองย่อมเสี่ยงต่อการสาบสูญไปหมดสิ้น เช่นในกรณีของเขตเทศบาลซานฆูลีอัน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ผลิตถั่วเหลืองจำนวนมากใน (เขต) เมืองซานตากรุซ หากการทำลายป่าดังเช่นปัจจุบันดำเนินต่อไป ป่าในเขตนี้จะสาบสูญไปอย่างสิ้นเชิงในเวลาไม่ถึง 9 ปี"

พื้นที่ลุ่มน้ำแอมะซอน บราซิล
การเพาะปลูกถั่วเหลืองจีเอ็มโอเป็นภัยต่อพื้นที่ลุ่มน้ำแอมะซอนเช่นกัน พื้นที่แห่งนี้อุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก องค์กร GRAIN (*) ออกมาเตือนถึงภัยร้ายแรงใน ค.ศ. 2007 ว่า "หากรัฐบาลบราซิลไม่เข้าไปปกป้องพื้นที่นี้อย่างจริงจัง ก็มีแนวโน้มที่ถั่วเหลืองจะเข้ายึดครองพื้นที่ลุ่มน้ำแอมะซอนเกือบทั้งหมดในช่วงสิบปีข้างหน้า ภายในเวลาแค่ไม่กี่ปี พรมแดนของภาคเกษตรรุกคืบเข้าไปในลุ่มน้ำแอมะซอนอย่างไม่บันยะบันยัง และมีแนวโน้มที่จะทำลายป่าดงดิบจนถึง 'จุดวิกฤต' กระทั่งพื้นที่ป่าเริ่มแห้งแล้งและกลายเป็นทุ่งหญ้า หากเป็นเช่นนั้นขึ้นมาเมื่อไร ก็ไม่มีอะไรจะมาหยุดยั้งเกษตรกรได้อีก เพราะเกษตรกรย่อมไม่เข้าใจว่า เหตุใดจึงไม่ควรนำป่าที่กำลังสูญพันธุ์มาใช้ในทางเศรษฐกิจ"

(*)GRAIN is an international non-governmental organization based in Barcelona, Spain, which works toward sustainable agriculture. It was formed upon the realization that the genetic diversity of the world's food crops has been drastically eliminated. Very few breeds of crop plants are in use today; this is because many have stopped being used in favor of the most robust and productive strains. This is termed genetic erosion. GRAIN's goal is to preserve the diversity of plants used for food and fiber by human beings. GRAIN is generally in opposition of genetically modified organisms.
(http://www.grain.org/front/)

องค์กรนี้ชี้ให้เห็นว่า การสูญเสียป่าแอมะซอนให้แก่ถั่วเหลืองมีส่วนอย่างมากที่ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน "เมื่อป่าหมดสิ้นไป ผู้อยู่อาศัยตามลำน้ำ ครอบครัวที่ทำเกษตรยังชีพและชาวพื้นเมืองหลายแสนคนย่อมสิ้นเนื้อประดาตัว และโลกจะสูญเสียมวลชีวภาพที่มีความพิเศษเฉพาะ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างความสมดุลแก่ภูมิอากาศโลก ประเด็นที่ร้ายแรงพอ ๆ กันอีกประเด็นหนึ่งก็คือ การทำลายป่าแอมะซอนจะปลดปล่อยคาร์บอนถึง 90 พันล้านตันออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งจะทำให้อัตราของภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้นถึง 50%"

ปารากวัย
ต้นทุน "ความสำเร็จ" ของถั่วเหลืองจีเอ็มโอ ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อกลุ่มเกษตรกรชาวปารากวัย ปารากวัยเป็นผู้ส่งออกถั่วเหลืองรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก การผลิตถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าในช่วงระยะเวลาจาก ค.ศ. 1989-2006 มีการปลูกถั่วเหลืองบนพื้นที่ 2 ล้านเฮกตาร์ (เกือบสองในสามของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมดในประเทศ) และประเมินว่า การเพาะปลูกถั่วเหลืองกำลังขยายพื้นที่ออกไปในอัตรา 250,000 เฮกตาร์ (1,543,750 ไร่) ต่อปี

ความเฟื่องฟูของถั่วเหลืองในปารากวัย เกิดขึ้นพร้อมกับครอบครัวเกษตรกรและชาวพื้นเมืองประมาณ 90,000 ครอบครัวถูกขับไสออกไปจากที่ดิน เกษตรกรที่พลัดถิ่นฐานเพราะไร่ถั่วเหลืองต้องอพยพไปอาศัยในเขตสลัมตามชายขอบของเมืองใหญ่ หรือไม่ก็บุกรุกยึดที่ดินเอกชน หรือยืนหยัดต่อต้านการถูกไล่ที่ ประเทศปารากวัยไม่อาจรองรับการพลัดถิ่นฐานหรือผลักดันประชาชนไปอยู่ชายขอบมากกว่านี้อีกแล้ว ชาวปารากวัยถึง 85% ดำรงชีวิตในความยากจน ขณะที่ที่ดินถึง 80% ตกอยู่ในมือของกลุ่มคนร่ำรวยที่สุดที่มีเพียง 1% ของประชากร

รัฐบาลและเจ้าของที่ดินตอบโต้ต่อความปั่นป่วนทางสังคมที่เกิดจากการขยายตัวของถั่วเหลือง ด้วยการใช้ความรุนแรงของกองกำลังกึ่งทหารที่เรียกกันว่า "กองกำลังพลเรือน" กองกำลังที่ไม่เป็นทางการนี้ประกอบด้วยสมาชิกที่ผ่านการฝึกอบรมและติดอาวุธประมาณ 13,000 คน ปฏิบัติการเย้ยกฎหมายของกองกำลังเหล่านี้มีทั้ง "บุกเข้าไปในบ้านเรือน ทรมานและกักขังคนที่ไม่ยอมรับคำสั่งผิดกฎหมาย ซึ่งกองกำลังบังคับใช้โดยอาศัยความกลัวและความรุนแรง" คือคำบรรยายของ Grupo de Reflexi?n Rural (GRR) องค์กรเอกชนที่ติดตามและบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของอุตสาหกรรมเกษตร โดยเฉพาะพืชจีเอ็มโอ "กองกำลังพลเรือนมีความเกี่ยวโยงกับพวกเจ้าของที่ดินและผู้ปลูกถั่วเหลือง ทั้งยังมีกระทรวงมหาดไทยคอยสมรู้ร่วมคิด.... และมีเป้าหมายหลักคือการรังควานผู้นำชาวนา"

"เนื่องจากการปฏิรูปที่ดินไม่ได้มีการบังคับใช้จริงจัง เกษตรกรไร้ที่ดินจำนวนมากจึงยืนยันสิทธิของตนด้วยการใช้วิธีอารยะขัดขืน ปฏิกิริยาของรัฐมักเป็นการกดขี่ปราบปรามและความรุนแรง กล่าวหาว่าการประท้วงและความคับข้องใจเป็นอาชญากรรม และใส่ร้ายว่าคนจนเป็นพวกกระทำผิดกฎหมาย" นี่คือคำบอกเล่าของ ริตา ซานอตโต แห่งเวียคัมเปซินา (Via Campesina) (*) องค์กรซึ่งเป็นตัวแทนชาวนาและเกษตรกรรายย่อยหลายสิบล้านคนทั่วโลก

(*)Via Campesina (from Spanish la via campesina, the campesino way) describes itself as "an international movement which coordinates peasant organizations of small and middle-scale producers, agricultural workers, rural women, and indigenous communities from Asia, Africa, America, and Europe". They are a coalition of over 100 organizations, advocating family-farm-based sustainable agriculture and were the group that first coined the term "food sovereignty". Food sovereignty refers to the right to produce food on one's own territory. Probably their best known spokesperson is the French farmer Jos? Bov?.

The organisation was founded in 1992 by Rafael Alegr?a, and had its original headquarters in Tegucigalpa, Honduras. The headquarters office of Via Campesina is now in Jakarta, Indonesia. Henry Saragih is the International Operative Secretary. Organized worldwide into eight regions, the group has members throughout the world. It receives support from UK charity War on Want amongst others.
(http://viacampesina.org/main_en/index.php)

อาร์เจนตินา: เปลี่ยนจากยุ้งฉางของโลก กลายเป็นสาธารณรัฐอาหารสัตว์
ในอาร์เจนตินา การใช้ถั่วเหลืองพันธุ์ RR มีมาตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เพื่อสร้างรายได้ไว้จ่ายหนี้ต่างประเทศ รวมทั้งสนองความต้องการอาหารสัตว์ของกลุ่มประเทศในยุโรปและจีน องค์กร GRR รายงานว่า "การเพาะปลูกรูปแบบนี้ ทำให้อาร์เจนตินา ซึ่งครั้งหนึ่งเคยอ้างตัวเป็นยุ้งฉางของโลก เดี๋ยวนี้กลายเป็นสาธารณรัฐอาหารสัตว์ และไม่มีปัญญาเลี้ยงดูประชากรของตัวเองด้วยซ้ำ อาร์เจนตินาไม่สามารถแก้ปัญหาการว่างงานได้ ก็เพราะระบบเศรษฐกิจถูกวางแนวทางให้ส่งออกแต่วัตถุดิบ

"การเพาะปลูกถั่วเหลืองทำให้ประชาชนต้องอพยพออกจากพื้นที่ ทำลายชุมชนในชนบทและทำลายจารีตประเพณี วัฒนธรรม และความผูกพันที่ชาวอาร์เจนตินาหลายล้านคนมีต่อผืนดิน เกษตรกรรมรูปแบบนี้ ทำให้เมืองกลายเป็นมหานครขนาดยักษ์ที่ไร้ความปลอดภัย และหมิ่นเหม่ต่อการล่มสลาย มันทำลายล้างป่าท้องถิ่น สร้างมลภาวะแก่ลุ่มน้ำด้วยสารเคมีทางการเกษตรที่เป็นพิษ ทำให้ดินเสื่อมโทรม และเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อความหลากหลายทางชีวภาพและพฤกษพันธุกรรมที่เป็นมรดกของเรา"

เวเนซุเอลา: จุดยืนที่ขัดแย้งกันเอง
ประธานาธิบดีอูโก ชาเวซ แห่งเวเนซุเอลา เป็นประมุขรัฐเพียงประเทศเดียวในละตินอเมริกาที่คัดค้านการเพาะปลูกพืชจีเอ็มโอ รัฐบาลชาเวซมีจุดยืนในเรื่องนี้ควบคู่ไปกับโครงการปฏิรูปที่ดิน. ชาเวซเสนอข้อตกลง ALBA (Bolivarian Alternative of the Americas) ซึ่งเป็นข้อตกลงทางเลือกต่อต้านจักรวรรดินิยมที่แตกต่างจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีทวีปอเมริกา (Free Trade Area of the Americas) และข้อตกลงการค้าระดับภูมิภาคและทวิภาคีอื่น ๆ ที่รัฐบาลสหรัฐฯ พยายามผลักดันตามแนวทางเสรีนิยมใหม่. รัฐบาลชาเวซได้หารือกับนักนิเวศวิทยาเกษตรกรรมที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ เช่น มิเกวล อัลเทียรี และสนับสนุนแนวคิดเกี่ยวกับอธิปไตยทางอาหารของเวียคัมเปซินา รวมทั้งประกาศออกมาอย่างชัดเจนในเวทีโลก ว่าด้วยอธิปไตยทางอาหารที่จัดขึ้นในแอฟริกาเมื่อ ค.ศ. 2007

กระนั้นก็ตาม ด้วยจุดยืนที่ดูเหมือนขัดแย้งกับข้างต้น ชาเวซกลับสนับสนุนการปลูกถั่วเหลืองเชิงเดี่ยวอย่างแข็งขัน ระหว่างเดินทางไปเยือนปารากวัยใน ค.ศ. 2006 เขาเสนอให้อเมริกาใต้ผนึกกำลังกันเป็นแนวหน้าในการผลิตและการบริโภคถั่วเหลือง "ในหลายประเทศเพื่อนบ้านของเรา (ถั่วเหลือง) ปลูกง่ายและเป็นเมล็ดให้น้ำมันที่มีความสำคัญ เราสามารถนำถั่วเหลืองมาผลิตเป็นเนื้อ น้ำมัน นม และโยเกิร์ต นอกเหนือจากนำมาทำอาหารอื่น ๆ" ประธานาธิบดีเวเนซุเอลากล่าวในกรุงอาซุนซีออน นครหลวงของประเทศปารากวัย "เราต้องกระตุ้นการผลิตของเรา เพราะสหรัฐอเมริกาให้ทุนอุดหนุนแก่พืชผลของเขา"

อาร์เจนตินาและเวเนซุเอลามีข้อตกลงกัน อาร์เจนตินาได้รับน้ำมันจากเวเนซุเอลา โดยแลกเปลี่ยนกับเครื่องจักรทางการเกษตรและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการเกษตรจากสถาบันการวิจัยเกษตรกรรมแห่งชาติ (INTA) (*) ของอาร์เจนตินา

(*)The National Agricultural Technology Institute (Spanish: Instituto Nacional de Tecnologia Agropecuaria), commonly known as INTA, is an Argentine federal agency in charge of the generation, adaptation and diffusion of technologies, knowledge and learning procedures for the agriculture, forest and agro-industrial activities within an ecologically clean environment.

องค์กร GRR จับตามองการส่งเสริมการเพาะปลูกถั่วเหลืองในเวเนซุเอลาอย่างใกล้ชิด และส่งเสียงเตือนหลายครั้งแล้วว่า การเพาะปลูกถั่วเหลืองเชิงเดี่ยวเป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับการปฏิรูปที่ดิน อธิปไตยทางอาหาร และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังทำให้เมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอแทรกซึมเข้ามาอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง องค์กรชี้ให้เห็นว่า INTA ก่อตั้งขึ้นหลังการรัฐประหาร ค.ศ. 1955 ซึ่งล้มล้างรัฐบาลประธานาธิบดีเปรอง. INTA ส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแบบสหรัฐฯ ที่ใช้ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ เช่น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ และล่าสุดคือเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอ

GRR ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับบทบาทโดดเด่นของเจ้าพ่อถั่วเหลืองชาวอาร์เจนตินา นายกุสตาโว โกรโบโคปาเตล ที่พยายามขายแนวคิด "มหัศจรรย์แห่งถั่วเหลือง" ให้ประธานาธิบดีชาเวซ. โกรโบโคปาเตล ประธานบริษัท Grupo Los Grobo บริษัทธุรกิจเกษตรชั้นนำของอาร์เจนตินา เดินทางไปเวเนซุเอลาเนือง ๆ และเป็นผู้จัดงานนิทรรศการ Expo Barinas ด้านอุปกรณ์การเกษตรในเวเนซุเอลาเมื่อ ค.ศ. 2005

"เราเชื่อว่า เทคโนโลยีที่อาร์เจนตินานำเข้าไป [ในเวเนซุเอลา] ผ่านทาง INTA และเจ้าพ่อวงการธุรกิจเกษตร คือปัจจัยพื้นฐานที่จะนำมาซึ่งการเข้าข้างและให้อำนาจแก่ภาคส่วนที่เป็นปฏิกิริยามากที่สุด ภาคส่วนนี้จะเป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิรูปเกษตรกรรม ต่อต้านการผลิตในท้องถิ่นและการผลิตของเกษตรกรรายย่อย" GRR ประกาศเตือนในเดือนเมษายน 2007 "การที่คนอย่างโกรโบโคปาเตล อวดอ้างความสัมพันธ์ที่มีกับการปฏิวัติโบลิวาร์ แค่นี้ก็พอแล้วที่จะทำให้เราวิตกและจำต้องส่งเสียงเพื่อปกป้องเวเนซุเอลาและประชาชนของประเทศนี้ รวมทั้งอนาคตร่วมกันของเรา" GRR พยายามสื่อสารความกังวลไปยังรัฐบาลเวเนซุเอลาหลายครั้ง ทว่ายังไม่เกิดผลสะท้อนจนถึงบัดนี้

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ภาคผนวก:

พืชดัดแปลงพันธุกรรม: ความจริงและความลวง
คนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่า พืชดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับความอดอยากในโลก ในความเป็นจริงนั้น พืชจีเอ็มโอส่วนใหญ่ไม่ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นหรือเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ แต่พัฒนาเพื่อให้มีภูมิต้านทานยากำจัดวัชพืชต่างหาก. รูปแบบเกษตรกรรมประเภทนี้ทำลายความหลากหลายของสายพันธุ์พืช ที่ดินเกือบทั้งหมดในโลกที่ปลูกพืชจีเอ็มโอจะเพาะปลูกพืชเพียงชนิดเดียวเท่านั้น นั่นคือ ถั่วเหลือง และถั่วเหลืองจีเอ็มโอนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทเดียว นั่นคือ บริษัทมอนซานโตที่มีฐานอยู่ในสหรัฐอเมริกา

โดยที่มอนซานโตมีความคิดอย่างเดียว นั่นคือ ทำให้ถั่วเหลืองมีภูมิต้านทานต่อยากำจัดวัชพืชราวด์อัพของมอนซานโตเอง ด้วยเหตุนี้ ถั่วเหลืองจีเอ็มโอของมอนซานโตจึงมีชื่อว่า ราวด์อัพเรดี้ (Roundup Ready) กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ พืชจีเอ็มโอที่มีการเพาะปลูกเชิงพาณิชย์มาตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 ส่วนใหญ่ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์เดียวคือ เพิ่มปริมาณการขายเมล็ดพันธุ์และยากำจัดวัชพืชของมอนซานโต โดยทำให้ขายเป็นชุดคู่กันได้

ถั่วเหลืองที่เพาะปลูกกันส่วนใหญ่ไม่ใช่ปลูกเพื่อเลี้ยงดูประชาชนในประเทศยากจน แต่เพื่อทำอาหารเลี้ยงปศุสัตว์ในสหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก และจีน เพื่อผลิตเป็นเนื้อวัวที่คนจนในโลกไม่มีปัญญาซื้อกิน ส่วนที่เหลือจะนำไปใช้ในอุตสาหกรรม เช่น การผลิตหมึก สบู่และกาว ที่เหลืออีกเพียงเล็กน้อยนำไปใช้เป็นสารเติมแต่งถั่วเหลืองที่พบในอาหารแปรรูปกว่าครึ่งหนึ่งของที่มีอยู่ทั้งหมด เช่น ขนมปัง ช็อกโกแลต และมายองเนส ในปัจจุบัน ถั่วเหลืองที่มีการเพาะปลูกเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในโลกถูกนำไปใช้ทำไบโอดีเซล

มอนซานโตมีคู่แข่งน้อยมาก ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ระดับโลกมีการกระจุกตัวมากในช่วงสองทศวรรษหลัง ทำให้เหลือบริษัทในโลกไม่ถึงครึ่งโหลที่เป็นคู่แข่งกันจริง ๆ นอกจากมอนซานโต ก็มีบริษัท Dupont และ Dow Agroscience ของสหรัฐอเมริกา Syngenta และ Bayer Cropscience ของยุโรป. มอนซานโตไม่เพียงเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในธุรกิจเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอ แต่ไม่นานมานี้ยังขยายตัวจนกลายเป็นบริษัทด้านเมล็ดพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย โดยมีดูปองท์ตามมาติด ๆ ในช่วงกลางทศวรรษ 1970 มีบริษัทเมล็ดพันธุ์ถึงประมาณ 7,000 บริษัท และไม่มีบริษัทไหนเลยที่มีส่วนแบ่งตลาดโลกถึง 0.5% แต่ทุกวันนี้ บริษัทเพียง 10 แห่งควบคุมตลาดเมล็ดพันธุ์โลกถึง 49% ทุกบริษัทต่างแข่งขันกันพัฒนาและทำการตลาดสายพันธุ์พืชจีเอ็มโอชนิดต่าง ๆ

ข้อมูลจาก:

- ETC Group, "Las diez compa??as semilleras m?s grandes del mundo," October 2007, http://www.etcgroup.org/es/materiales/publicaciones.html?pub_id=657.

- ETC Group, "Oligopoly Inc. 2005," http://www.etcgroup.org/en/materials/publications.html?pub_id=42

ความเป็นพิษของยากำจัดวัชพืชราวด์อัพ
ถึงแม้บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพมักยืนยันว่า ยากำจัดวัชพืชไม่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อม หากมีการใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม แต่สองนักวิจัย มิเกวล อัลเทียรี และวัลเตอร์ เพนเก ยืนยันว่า ในทางปฏิบัติเป็นคนละเรื่องกันเลย ในไร่ขนาดใหญ่ที่เพาะปลูกพืชจีเอ็มโอที่มีภูมิต้านทานยากำจัดวัชพืช ยากำจัดวัชพืชจะพ่นลงมาจากเครื่องบิน และยาที่พ่นลงมาส่วนใหญ่เปล่าเปลืองไปกับการฟุ้งกระจายและระเหยหายไป การวิจัยชี้ให้เห็นว่า ไกลโฟเสท (glyphosate) สารประกอบในราวด์อัพ ทำให้โครงกระดูกตัวอ่อนของหนูทดลองมีการพัฒนาล่าช้า นอกจากนี้ มันยังขัดขวางการสังเคราะห์ของสเตียรอยด์ และเป็นพิษต่อพันธุกรรมในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ปลา และกบ ไส้เดือนที่โดนยากำจัดวัชพืชเสียชีวิตอย่างน้อย 50% และส่วนที่เหลือที่รอดชีวิตนั้น อวัยวะภายในก็ถูกทำลายเสียหายอย่างมีนัยสำคัญ

ในส่วนผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ มีการค้นพบว่า ยากำจัดวัชพืชราวด์อัพก่อให้เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปรกติ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง บุตรของผู้สัมผัสไกลโฟเสทมีความบกพร่องทางประสาทเพิ่มมากขึ้น ในรัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา การวิจัยด้านระบาดวิทยาพบว่า การสัมผัสไกลโฟเสท ทำให้ความเสี่ยงที่จะแท้งบุตรเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าในหญิงตั้งครรภ์ท้องแก่ และคณะนักวิจัยชาวฝรั่งเศส ซึ่งนำโดยนักชีวเคมีแห่งมหาวิทยาลัยก็อง ฌีลส์-เอริก เซราลินี ค้นพบว่า เซลล์ในรกของมนุษย์มีความไวต่อราวด์อัพมาก ถึงแม้สัมผัสไกลโฟเสทในปริมาณเพียงเล็กน้อยมาก ก็สามารถรบกวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อได้

ข้อมูลจาก:
- Altieri, Miguel & Walter Pengue, "GM Soybean: Latin America's New Colonizer," Seedling, January 2006, http://www.grain.org/seedling/?id=421.

- Independent Science Panel, "The Case for A GM-Free Sustainable World," 2003,
http://www.indsp.org/ISPreportSummary.php.

อธิปไตยทางอาหาร
อธิปไตยทางอาหาร (food sovereignty) คือ สิทธิของประชาชนต่อการได้มาซึ่งอาหารที่ถูกสุขลักษณะและเหมาะสมทางวัฒนธรรม ด้วยกรรมวิธีการผลิตที่ยั่งยืนและสมเหตุสมผลในเชิงนิเวศวิทยา ตลอดจนสิทธิของประชาชนในการกำหนดอาหาร และระบบเกษตรกรรมของตนเอง อธิปไตยทางอาหารถือว่าหัวใจของระบบและนโยบายเกี่ยวกับอาหารอยู่ที่ความต้องการและความจำเป็นของผู้คนที่ผลิต กระจายและบริโภคอาหาร มากกว่าความต้องการของตลาดและบรรษัท. อธิปไตยทางอาหาร ปกป้องผลประโยชน์และคำนึงถึงคนรุ่นต่อไป นำเสนอยุทธศาสตร์ในการต่อต้านขัดขืน และรื้อถอนระบอบการค้าและอาหารของบรรษัทที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผู้ผลิตและผู้บริโภคท้องถิ่นคือผู้กำหนดแนวทางที่กำกับระบบอาหาร การเกษตร ปศุสัตว์และประมง

อธิปไตยทางอาหารให้ความสำคัญสูงสุดต่อระบบเศรษฐกิจและตลาดระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับชาติ เพิ่มอำนาจแก่วิถีเกษตรของเกษตรกรรายย่อยและครัวเรือน ประมงพื้นบ้าน ปศุสัตว์แบบธรรมชาติ การผลิตอาหาร การจำหน่ายและการบริโภคที่วางพื้นฐานบนความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ อธิปไตยทางอาหารส่งเสริมการค้าที่โปร่งใส ซึ่งรับประกันรายได้ที่เป็นธรรมแก่ทุกคน รวมทั้งสิทธิของผู้บริโภคในการควบคุมอาหารและโภชนาการของตนเอง รับประกันว่าสิทธิในการใช้และจัดการที่ดิน อาณาเขต น้ำ เมล็ดพันธุ์ ปศุสัตว์ และความหลากหลายทางชีวภาพ อยู่ในมือของผู้ผลิตอาหาร. อธิปไตยทางอาหารหมายถึงความสัมพันธ์ทางสังคมแบบใหม่ ที่ปลอดจากการกดขี่และปราศจากความไม่เท่าเทียม ระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง ระหว่างประชาชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ ชนชั้นทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมไปถึงคนรุ่นต่าง ๆ

ที่มา: Nyeleni Declaration แถลงการณ์ที่เขียนร่วมกันโดยตัวแทนกว่า 500 คน จากกว่า 80 ประเทศ ประกอบด้วย องค์กรของเกษตรกรรายย่อย / เกษตรกรครัวเรือน ชาวประมงพื้นบ้าน ชาวพื้นเมือง แรงงานไร้ที่ดิน แรงงานในชนบท ผู้อพยพ ผู้เลี้ยงปศุสัตว์แบบธรรมชาติ ชุมชนป่า กลุ่มสตรี เยาวชน ผู้บริโภค ตลอดจนขบวนการด้านสิ่งแวดล้อมและเมือง ซึ่งเข้าร่วมสมัชชาโลกเพื่ออธิปไตยทางอาหารในหมู่บ้าน Nyeleni ที่เมือง Selingue ประเทศมาลี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 http://www.nyeleni2007.org/spip.php?article290.

"เขตปลอดจีเอ็มโอ" ในคอสตาริกา
เขตเทศบาลสามแห่งในประเทศคอสตาริกา ประกาศตนเองเป็นเขตปลอดจีเอ็มโอ แถลงการณ์เขตปลอดจีเอ็มโอนี้ เป็นผลผลิตของ "การตัดสินใจอย่างกล้าหาญของสภาเทศบาลและการทำงานอย่างมีคุณค่าขององค์กรชุมชน" ตามคำกล่าวของฟาเบียง ปาเชโก แห่งองค์กรพันธมิตรอเมริกากลาง เพื่อการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ "ผลงาน [ครั้งนี้] ก้าวข้ามการต่อต้านการเข้ามาของพืชจีเอ็มโอ ไปสู่การเรียกร้องให้ส่งเสริมการทำเกษตรเชิงนิเวศวิทยา โภชนาการที่ดี และการสร้างชุมชนที่ปลอดจากค่านิยมของบรรษัทที่พยายามควบคุมทุกสิ่งทุกอย่าง อีกทั้งมีเสรีภาพที่จะเลือกว่า อะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับพลเมืองในภูมิภาคนี้"

ปาเชโกเสริมว่า "การต่อสู้กับพืชจีเอ็มโอ ช่วยให้เราสร้างฐานการต่อต้านโมเดลอุตสาหกรรมเกษตรที่ทำลายอธิปไตยทางอาหารของชุมชนท้องถิ่น

ข้อมูลจาก:
- Pacheco, Fabian, "En Defensa de Nuestras Semillas: Territorios Libres de Transg?nicos," Revista Biodiversidad,
Sustento y Culturas, July 2007.

พืชบีที เป็นสิ่งที่วางใจได้และปลอดภัยจริงหรือ?
ข้าวโพดจีเอ็มโอในตลาดทุกวันนี้ ถ้าไม่ใช่เป็นชนิดมีภูมิต้านทานต่อยากำจัดวัชพืช (ราวด์อัพเรดี้) ก็เป็นชนิดสายพันธุ์บีที ที่มีภูมิต้านทานแมลง หรือไม่ก็เป็นชนิดสายพันธุ์ที่ตัดต่อพันธุกรรมให้เป็นทั้งราวด์อัพเรดี้และบีทีในต้นเดียวกัน. พืชบีที ซึ่งรวมถึงฝ้ายบีทีด้วย มียีนตัวหนึ่งที่นำมาจากแบคทีเรียชื่อ Bacillus thuringiensis (Bt) ซึ่งสามารถสังเคราะห์และปล่อยสารที่มีพิษฆ่าแมลงออกมาได้

เกษตรกรที่ปลูกพืชบีทีน่าจะได้กำไร เพราะไม่ต้องพ่นยาฆ่าศัตรูพืชเพื่อฆ่าแมลง แต่พืชชนิดนี้ทำได้อย่างในโฆษณาจริงหรือ? มันปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมหรือเปล่า? ข้อมูลเท่าที่มีอยู่ชวนให้วิตกมากกว่า. จากการศึกษาของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ซึ่งเผยแพร่ใน ค.ศ. 1999 ชี้ให้เห็นว่า ไม่มีความแตกต่างในเชิงสถิติอย่างมีนัยสำคัญในการใช้ยาฆ่าศัตรูพืชระหว่างพืชบีทีกับพืชที่ไม่ใช่บีที อันที่จริง งานวิจัยชิ้นนี้พบว่า ในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี มีการพ่นยาฆ่าศัตรูพืชกับพืชบีทีมากกว่าด้วยซ้ำ แต่ปัญหาใหญ่ที่สุดคือ การที่สารพิษที่พืชบีทีปล่อยออกมากลับทำให้แมลงศัตรูพืชพัฒนาภูมิต้านทานขึ้น ดังคำเตือนของศาสตราจารย์ มิเกวล อัลเทียรี แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียว่า "ไม่มีนักกีฎวิทยาที่รู้จริงคนไหนตั้งคำถามว่า ภูมิต้านทานของแมลงจะพัฒนาขึ้นมาหรือไม่ คำถามก็คือ มันจะพัฒนาเร็วแค่ไหนต่างหาก?"

พืชบีทียังเป็นอันตรายต่อแมลงที่มีประโยชน์และทำลายนิเวศวิทยาของดินอย่างร้ายแรง ผลกระทบด้านลบที่พืชบีทีมีต่อแมลงที่มีประโยชน์มีบันทึกเอกสารอย่างน้อยก็ตั้งแต่ ค.ศ. 1999 เมื่อการวิจัยที่นำโดยชาร์ลส์ โลซีย์ แห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนลล์ค้นพบว่า เรณูของข้าวโพดบีทีเป็นพิษต่อผีเสื้อพันธุ์ monarch ภายในสภาพแวดล้อมของห้องทดลอง โลซีย์ถูกโจมตีอย่างไม่ปรานีปราศรัยจากบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่เข้าข้างอุตสาหกรรม แต่นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้เพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงว่า งานวิจัยหลังจากนั้นยืนยันว่า พืชบีทีเป็นอันตรายต่อสิ่งที่มีชีวิต "ที่ไม่ใช่เป้าหมาย" จริง ๆ

"ความเป็นไปได้ที่พิษของพืชบีทีจะเคลื่อนไปตามโซ่อาหารแมลง หมายถึงผลกระทบที่ร้ายแรง" อัลเทียรี เตือน "หลักฐานในระยะหลังชี้ให้เห็นว่า พิษของพืชบีทีสามารถเป็นอันตรายต่อผู้ล่าแมลงที่กินแมลงเข้าไป....พิษของพืชบีทีอาจส่งต่อไปยังผู้ล่าและปรสิตผ่านทางเรณู ไม่เคยมีใครวิเคราะห์ถึงผลที่ตามมาของการส่งต่อเป็นทอด ๆ ผ่านสิ่งมีชีวิตที่เป็นศัตรูกันตามธรรมชาติ ซึ่งต้องอาศัยเรณูในการสืบพันธุ์และการดำรงชีวิต

"งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า พืชบีทีส่งผลกระทบด้านลบต่อแมลงเต่าทองที่กินแมลงที่เป็นศัตรูพืชของมันฝรั่งพันธุ์โคโลราโด และตัวอ่อนของแมลง lacewing ที่กินแมลงศัตรูพืชที่กินข้าวโพดบีทีเข้าไป มีอัตราการตายสูงมาก ยิ่งกว่านั้น พิษบีทีตกค้างในดินได้หลายเดือน โดยเกาะอยู่กับอนุภาคของดิน พบว่ามันตกค้างได้นานถึง 234 วัน"

ข้อมูลจาก:
- Altieri, Miguel, "Genetic Engineering in Agriculture: The Myths, Environmental Risks, and Alternatives,"
(Second Edition), Food First Books, 2004.

- Independent Science Panel, "The Case for A GM-Free Sustainable World," 2003,
http://www.indsp.org/ISPreportSummary.php.

คลิกไปอ่านต่อบทความเรื่องเดียวกัน ตอนที่ ๒

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑ : Release date 05 May 2008 : Copyleft by MNU.
คนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่า พืชดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับความอดอยากในโลก ในความเป็นจริงนั้น พืชจีเอ็มโอส่วนใหญ่ไม่ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นหรือเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ แต่พัฒนาขึ้นเพื่อให้มีภูมิต้านทานยากำจัดวัชพืชต่างหาก โดยที่มอนซานโตมีความคิดอย่างเดียว นั่นคือ ทำให้ถั่วเหลืองมีภูมิต้านทานต่อยากำจัดวัชพืชราวด์อัพของมอนซานโตเอง ด้วยเหตุนี้ ถั่วเหลืองจีเอ็มโอของมอนซานโต จึงมีชื่อว่า Roundup Ready กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ พืชจีเอ็มโอที่มีการเพาะปลูกเชิงพาณิชย์มานับตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 ส่วนใหญ่ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยวัตถุประ สงค์เดียวคือ เพิ่มปริมาณการขายเมล็ดพันธุ์และยากำจัดวัชพืชของมอนซานโต โดยทำให้ขายเป็นชุดคู่กันได้ (คัดจากบทความ)
H