ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




23-04-2551 (1541)

สิทธิพลเมือง - คนชายขอบในประเทศสหรัฐอเมริกา
พัฒนาการคู่ขนานระหว่างทุนนิยมและอัตลักษณ์ของเกย์-เลสเบียน
ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ : แปลและเรียบเรียง
อาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

บทความเพื่อสิทธิพลเมืองและสังคม-วัฒนธรรม
บทแปลต่อไปนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับพัฒนาของวัฒนธรรมย่อย โดยเฉพาะกลุ่มเกย์และเลสเบียน
ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งพัฒนาไปควบคู่กับการมาถึงของระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม
งานแปลนี้นำมาจากหนังสือ Powers of Desire: The Politics of Sexuality
ในบท Capitalism and Gay Identity เขียนโดย John D'Emilio ซึ่งมีสาระสำคัญ
ดังประเด็นต่อไปนี้ ปี 1970 เสรีภาพที่ได้มาของกลุ่มเกย์, ๑๙๘๐ ปีแห่งการโต้กลับของกลุ่มฝ่ายขวา,
อดีตอันโดดเดี่ยวและเลวร้ายของชาวเกย์, กลุ่มเกย์และเลสเบี้ยนมาพร้อมกับทุนนิยมและระบบแรงงานเสรี,
อุดมการณ์สถาบันครอบครัวยุคอาณานิคม, เศรษฐกิจแบบครอบครัว สู่การพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยม,
ผู้เคร่งศาสนายกยอการแต่งงาน และอัตราการเกิด, ระบบทุนนิยม และความปรารถนาทางเพศ,
ความเป็นอิสระจากเศรษฐกิจครอบครัว ก่อให้เกิดคนรักเพศเดียวกัน, พื้นที่คนรักเพศเดียวกันยังเป็นของผู้ชาย,
ผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 2 โอกาสใหม่ๆ ของคนรักเพศเดียวกัน,
จากการเติบโตของวัฒนธรรมเกย์ ถึงการเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพ,
ชะตากรรมของเกย์ - ยุคล่าแม่มดสมัยใหม่, เลสเบี้ยน เกย์ และ สตรีนิยม กลายเป็นแพะรับบาป,
ทุนนิยมแยกเราออกจากเพศวิถีซึ่งมีหน้าที่เพียงผลิตลูก,
จากการต่อสู้ของวัฒนธรรมย่อย สู่ประเด็นที่กว้างกว่าเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน,
สิทธิของเยาวชนที่เป็นอิสระจากครอบครัว, โครงสร้างใหม่ที่มาแทนที่สถาบันครอบครัว.
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๔๑
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๐.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

สิทธิพลเมือง - คนชายขอบในประเทศสหรัฐอเมริกา
พัฒนาการคู่ขนานระหว่างทุนนิยมและอัตลักษณ์ของเกย์-เลสเบียน
ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ : แปลและเรียบเรียง
อาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ทุนนิยมและอัตลักษณ์ของเกย์ (Capitalism and Gay Identity)
โดย จอห์น ดี อีมิลิโอ (John D'Emilio)

Powers of Desire: The Politics of Sexuality
edited by Ann Snitow, Christine Stansell, & Sharan Thompson. 1983.
New Feminist Library Series. New York: Monthly Review Press.
SS.330 Cultural Studies.


แนะนำผู้เขียน และบทนำ
จอห์น ดี อีมิลิโอ (John D'Emilio) เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกา และประวัติศาสตร์ของกลุ่มเลสเบี้ยนและกลุ่มเกย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ผลงานวิจัยชิ้นสำคัญเขา ในบทความชิ้นนี้เขาได้อธิบายว่า กลุ่มเลสเบี้ยนและกลุ่มเกย์ไม่ได้มีขึ้นมาในประวัติศาสตร์ตั้งแต่แรกเริ่ม โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่มีอัตลักษณ์ของเลสเบี้ยนและของเกย์และในวัฒนธรรมย่อยกลุ่มต่างๆ เกิดขึ้น จนกระทั่งในคริสตศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อเกิดการพัฒนาการของระบบทุนนิยม ซึ่งเป็นเหตุให้อัตลักษณ์เหล่านี้ถือกำเนิดขึ้น ทุนนิยมมีความจำเป็นที่จะต้องมีระบบแรงงานเข้ามารองรับ และระบบแรงงานที่ว่าตั้งอยู่บนพื้นฐานของค่าจ้างแรงงาน มากกว่าตั้งอยู่บนพื้นฐานเศรษฐกิจภายในครัวเรือนหรือแรงงานแบบทาส ค่าจ้างจึงทำให้คนแต่ละคนมีโอกาสที่เป็นอิสระ ปกครองดูแลตัวเอง ซึ่งนั่นคือปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดความเป็นเลสเบี้ยนและความเป็นเกย์ เสียงร้องที่ป่าวประกาศเรื่องราวทางการเมืองของกลุ่มเลสเบี้ยนและกลุ่มเกย์ในยุคสมัยของเรา สำหรับ ดี อีมิลิโอเขาได้สรุปเอาไว้ว่า มันจะต้องทำให้หนักแน่นมั่นคงเหมือนอย่างที่เราพยายามคลี่คลายมุมมองที่คลุมเครือ หรือมุมมองที่น่าเคลือบแคลงสงสัยในอดีต ซึ่งเขาคาดหวังว่างานเขียนชิ้นนี้หรือในอีกหลายชิ้น จะช่วยทำให้มันเป็นจริงขึ้นมาได้

John D'Emilio (born 1948, New York City) is a professor of history and of women's and gender studies at the University of Illinois at Chicago. He has taught previously at George Washington University and the University of North Carolina at Greensboro. He earned his Ph.D. from Columbia University in 1982, where his advisor was Kenneth T. Jackson.

His most important and widely cited book, Sexual Politics, Sexual Communities (University of Chicago Press, 1983), is considered a definitive history of the U.S. homophile movement from 1940 to 1970. For this book, D'Emilio was awarded the Stonewall Book Award in 1984.

ปี 1970 เสรีภาพที่ได้มาของกลุ่มเกย์
สำหรับกลุ่มเกย์และกลุ่มเลสเบี้ยน ช่วงระหว่างปี 1970 ถือได้ว่าเป็นปีแห่งความสำเร็จ เสรีภาพที่ได้มาของกลุ่มเกย์และเสรีภาพที่ได้มาซึ่งกลุ่มผู้หญิงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องราวของเพศของทั้งประเทศ คนที่เป็นเกย์ทั้งชายและหญิงเป็นร้อยๆ พันๆ คน ต่างเปิดเผยและแสดงตัวออกมาอย่างชัดเจน เพื่อยืนยันถึงความรักและความปราถนาที่มีต่อเพศเดียวกัน พวกเขาชนะกฎหมายที่ว่าด้วยการร่วมเพศทางทวารหนักในหลายรัฐ เกือบครึ่งหนึ่งของประเทศ และในบางส่วนถือได้ว่าเป็นการต่อสู้ต่อการถูกกีดกันในการว่าจ้างในระบบราชการของประเทศ รวมถึงการได้มาซึ่งสิทธิพลเมืองที่ได้รับการปกป้องคุ้มครองจากในหลายๆ เมือง

มีการผนวกสิทธิของเกย์เข้ากับแนวคิดของทางพรรคประชาธิปไตย (Democratic Party) และที่สำคัญคือการลบชื่อกลุ่มรักเพศเดียวกัน (Homosexuality) ออกจากรายการกลุ่มผู้ป่วยทางจิตของนักจิตวิทยา วัฒนธรรมย่อยของกลุ่มเกย์มีการขยายตัว และกลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ตามเมืองใหญ่ๆ หลายๆ เมือง และกลุ่มสตรีนิยมที่เป็นเลสเบี้ยน กลายเป็นผู้นำในการสร้างสถาบันทางเลือกใหม่ๆ ขึ้นมา และสร้างวัฒนธรรมทางเลือกใหม่ ซึ่งเป็นความพยายามที่จะเสริมสร้างเสรีภาพตามวิสัยทัศน์แห่งอนาคต

1980 ปีแห่งการโต้กลับของกลุ่มฝ่ายขวา
อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 1980 มีการโต้กลับของกลุ่มนิยมฝ่ายขวา กลุ่มเกย์และกลุ่มเลสเบี้ยนต้องเผชิญหน้ากับอนาคตอย่างระมัดระวัง ชัยชนะที่ได้มาดูเหมือนจะเปราะบาง การได้มาซึ่งอิสรภาพในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา ดูเหมือนจะเร็วเกินไปที่จะวางใจว่าจะเป็นแบบนี้อย่างถาวร ในกลุ่มชุมชนเลสเบี้ยนและกลุ่มเกย์บางกลุ่ม ความรู้สึกถึงความหวาดระแวงและหดหู่เริ่มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา คือเมื่อ "ความวิปราศทางเพศ" กลายเป็นเป้าโจมตีของกลุ่มอนุรักษ์นิยมขวาจัด และเกิดขึ้นกับความทรงจำที่มากับนาซีเยอรมันที่ที่เกย์ถูกจับตัวส่งไปในค่ายกักกัน. ความคิดความทรงจำแบบนี้กำลังก่อตัวขึ้นอย่างมากและบ่อยมากขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ดูเหมือนจะเกิดขึ้นในทุกๆ ที่ มีความรู้สึกถึงการเตรียมการให้พร้อมถึงยุทธวิถีใหม่ๆ อยู่เสมอ ถ้าเราต้องการที่จะปกป้องดูแลสิ่งที่เราได้รับมาและเคลื่อนที่ไปข้างหน้า

อดีตอันโดดเดี่ยวและเลวร้ายของชาวเกย์
ผมเชื่อว่าสิ่งใหม่ หรือพูดให้ชัดเจนคือความเที่ยงตรงของทฤษฏีที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเกย์จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการต่อรองทางการเมืองนี้ เมื่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองเกี่ยวกับเสรีภาพของกลุ่มเกย์เริ่มขึ้นเมื่อช่วงปลายปี 1960 เกย์และเลสเบี้ยนไม่มีประวัติศาสตร์ที่เราจะสามารถนำมาใช้ในการเรียกร้องและในการสร้างยุทธวิถีต่างๆ ในการต่อรอง และในช่วงปีที่ต่อเนื่องมา ก็ไม่ได้มีการสร้างความเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยมีหลักฐานอ้างอิงใดๆ ทางประวัติศาสตร์ของพวกเราเอง ในทางกลับกันเรากลับสร้างให้เกิดเป็นตำนาน. ตำนานประวัติศาสตร์ที่ว่านี้ถูกสร้างขึ้นจากประสบการณ์ส่วนตัวของแต่ละบุคคล ซึ่งเรากำลังอ่านย้อนหลังกลับไป เช่น กลุ่มเลสเบี้ยนและกลุ่มเกย์ส่วนใหญ่ในช่วงปี 1960 ได้ค้นพบถึงความปราถนาทางเพศของตัวเอง ที่เกิดขึ้นกับคนเพศเดียวกันนั้นมีลักษณะที่ค่อนข้างโดดเดียว ไม่รู้ถึงคนอื่นๆ ปราศจากข้อมูลไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดที่จะใช้เรียกความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับพวกเขาเหล่านี้

จากประสบการณ์ส่วนตัวนี้เอง พวกเราสร้างตำนานของความเงียบ ความซ่อนเร้น การอำพราง และความโดดเดียวซึ่งกลายเป็นคุณลักษณะที่เกิดขึ้นกับการดำรงชีพของคนที่เป็นเกย์ในสมัยก่อนและแน่นอนว่าเกิดขึ้นเช่นเดียวกันนี้กับเกย์หลายๆ คนในปัจจุบัน. มากไปกว่านั้น เพราะว่าเราจะต้องเผชิญหน้ากับกฏหมายต่างๆ ที่พยายามสร้างความกดขี่เรา นโยบายสาธารณะ และวัฒนธรรมความเชื่อ พวกเราถูกสร้างภาพให้เป็นเสมือนภาพแห่งความเลวร้าย เสมือนอยู่ในขุมนรกแห่งอดีต จวบจนกระทั่งการได้มาซึ่งอิสรภาพของกลุ่มเกย์ เลสเบี้ยน และบรรดาเกย์ต่างก็เป็นเหยื่อของระบบ ที่พยายามลดทอนและลบความแตกต่าง ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบที่สร้างความกดขี่ที่เลวร้าย

ตำนานเหล่านี้กลับกลายเป็นข้อจำกัดของเราในการกำหนดมุมมองทางการเมือง พวกเขามีความไว้วางใจเกินไปต่อยุทธวิธีในการแสดงตัวตน - พวกเขาเชื่อว่าถ้าเกย์และเลสเบี้ยนทุกคนในประเทศสหรัฐอเมริกาแสดงตัวออกมา ความกดดันที่คุกคามเกย์และเลสเบี้ยนจะหมดไป - และเอื้ออำนวยให้เราสามารถละเลยที่จะไม่ผลิตซ้ำสิ่งที่เกิดขึ้นในระดับสถาบัน เช่น ความเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน หรือแนวคิดที่ว่าคนรักต่างเพศเป็นใหญ่ พวกเขาพยายามที่จะสนับสนุนในหลายๆ ครั้งที่จะไม่หลบซ่อนอยู่ในความกลัว โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ คำถามที่เกิดขึ้นคือ พวกเราจะทำการแก้ไขสิ่งที่แข็งแกร่งและดูเหมือนยากที่จะทำการเปลี่ยนแปลงซึ่งเข้ามาเป็นประเด็นในการกดขี่กลุ่มเกย์ได้อย่างไร

ประวัติศาสตร์บ่งชัดว่า คนรักเพศเดียวกันมีอยู่แล้วในอดีต
ยังมีตำนานทางประวัติศาสตร์อีกชิ้นหนึ่งที่ค่อนข้างทำให้มีความปิติในการยอมรับตำนานนี้ท่ามกลางการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มเกย์ นั้นคือตำนานของรักเพศเดียวกันที่มีอยู่อย่างนมนานอันเป็นนิรันดร์ คำกล่าวอ้างถึงตำนานนี้ว่า กลุ่มชายชาวเกย์และหญิงชาวเลสเบี้ยนนั้นเป็นอยู่อย่างนั้นมาตั้งแต่แรกและจะเป็นอยู่อย่างนั้นต่อไปในอนาคต พวกเราอยู่ในทุกที่ไม่เพียงแต่ในเวลานี้ แต่มีอยู่ทั่วไปในอดีตกาลแห่งประวัติศาสตร์ในทุกสังคมและในทุกยุคสมัย ตำนานนี้นำไปสู่ความคิดในแง่บวก ซึ่งได้กลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่สำคัญในช่วงแรกๆ ของการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของกลุ่มเกย์ ในต้นปี 1970 เมื่อพวกเราพยายามต่อสู้กับอุดมการณ์ที่พยายามจะบอกว่าพวกเราไม่มีตัวตน หรือที่จะพยายามโจมตีพวกเราว่าเป็นกลุ่มคนโรคจิตที่เป็นความผิดปกติของธรรมชาติ

กลุ่มเกย์และเลสเบี้ยนมาพร้อมกับทุนนิยมและระบบแรงงานเสรี
การต่อสู้กับอุดมการณ์แนวคิดเหล่านี้คือการพยายามจะบอกว่า "พวกเรามีอยู่ทุกที่" แต่ในช่วงเวลาเร็วๆ นี้มันกลับกลายเป็นว่าเราถูกกรอบทฤษฏีทางการแพทย์ของกลุ่มที่เกลียดคนรักเพศเดียวกันครอบเอาไว้ ทำให้การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดจากตำนานดังกล่าวอ่อนตัวลง ข้าพเจ้าต้องการที่จะท้าทายตำนานที่ว่านี้ ข้าพเจ้าต้องการที่จะโต้แย้งว่ากลุ่มเกย์และกลุ่มเลสเบี้ยนไม่ได้มีตัวตนเสมอมาอย่างที่เข้าใจในตำนาน ในทางตรงกันข้าม พวกเขาเป็นผลผลิตของประวัติศาสตร์ พวกเราเกิดมีตัวตนขึ้นในช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจง การเกิดขึ้นนั้นมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับระบบทุนนิยม มันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของระบบทุนนิยม หรือถ้าจะให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น มันคือผลผลิตส่วนหนึ่งของระบบแรงงานเสรี ซึ่งเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ชายและกลุ่มผู้หญิงกลุ่มใหญ่ทีเดียวในศตวรรษที่ 20 ให้สามารถเรียกตัวเองว่ากลุ่มเกย์ ให้เห็นว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชุมชนที่มีความคล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชายหรือกลุ่มหญิง และให้เกิดการเรียกร้องจัดการทางการเมือง ซึ่งข้อเรียกร้องดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานของอัตลักษณ์ และสุดท้ายข้าพเจ้าต้องการที่จะเสนอให้เห็นถึงบทเรียนทางการเมืองจากสิ่งที่เราได้อ่านและมองจากมุมมองของประวัติศาสตร์

ความสัมพันธ์ที่อาจคิดกันว่าไม่เข้ากัน
อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่าง "ระบบแรงงานเสรีในโลกทุนนิยม" และ "ความเป็นรักเพศเดียวกัน"
ก่อนอื่นเราลองมาดูสาระสำคัญของระบบทุนนิยม. ภายใต้ระบบทุนนิยมคนใช้แรงงานมี "ความเป็นอิสระ" ทางการใช้แรงงานอยู่สองทาง เรามีอิสระในการเลือกหางาน ความสามารถในการทำงานอยู่กับเรา และมีอิสระที่จะขายแรงงานของเราเพื่อค่าแรงให้กับใครก็ได้ที่สนใจอยากจะซื้อ ในขณะเดียวกันเราก็มีถูกทำให้เป็นอิสระจากความเป็นเจ้าของของสิ่งต่างๆ (ในมุมนี้คำว่า "อิสระ" ค่อนข้างเป็นความหมายทางลบ คือไม่เป็นเจ้าของสิ่งใดหรือปราศจากสิ่งใด) ยกเว้นกำลังแรงงานของเราที่เราเป็นเจ้าของ

โดยส่วนใหญ่แล้วพวกเราไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินหรือเครื่องไม้เครื่องมือในการผลิต สิ่งที่เราต้องการ. แต่เราทำงานเพื่อการดำรงอยู่ เพื่อที่จะมีชีวิตอยู่รอด ดังนั้นในแง่บวก ถ้าเราจะเป็นอิสระที่จะขายแรงงานของเราในแง่มุมหนึ่งแล้ว ในแง่ลบเราก็เป็นอิสระจากความหลากหลายอื่นๆ เช่นกัน. ในความสัมพัทธ์กันนี้มันกลายเป็นการสะท้อนกลับไปกลับมาระหว่างการเอารัดเอาเปรียบ และการปกครองตนเอง ซึ่งปรากฏอยู่ตามหน้าประวัติศาสตร์ของพวกเราที่ดำรงชีพอยู่ภายใต้ระบบทุนนิยม

พัฒนาการของระบบทุนนิยม
ดังเช่นความเป็นทุนได้เพิ่มเติมขยายตัวออก - นั่นคือการใช้เงินต่อเงิน - เช่นเดียวกันกับระบบแรงงานเสรี ทุนเพิ่มพูนขึ้นจากหลายปัจจัย โดยปกติแล้วมันจะมีการขยายตัวในที่ทางของมัน เช่นการเปลี่ยนแปลงจากบริษัทห้างร้านขนาดเล็กไปสู่บรรษัทขนาดใหญ่ขึ้น แต่มันก็มีการขยายตัวในลักษณะที่ยึดครองผลผลิตอื่นๆ เข้ามาเป็นของตัวเองด้วย เช่น ธุรกิจการทอผ้า หรือธุรกิจการอบขนมปัง ในที่สุดแล้วทุนได้ขยายตัวตามลักษณะทางภูมิศาสตร์

ในประเทศสหรัฐอเมริกา ระบบทุนนิยมเริ่มต้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเวลาที่แรงงานทาสเป็นระบบแรงงานหลักที่ครอบคลุมอยู่ทางใต้ของประเทศ และในช่วงเวลาเดียวกันกับที่กลุ่มชนชาวพื้นเมืองที่ไม่ได้ตกอยู่ในระบบทุนนิยม ยังคงอาศัยอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศเกือบครึ่งทวีป. ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 19 ระบบทุนนิยมได้แผ่กระจายตัวจากฝั่งแอตแลนติกไปสู่แฟซิฟิก และในคริสตศตวรรษที่ 20 ระบบทุนนิยมในแบบของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แผ่กระจายปกคลุมไปจนเกือบทุกส่วนของโลก

อุดมการณ์สถาบันครอบครัวยุคอาณานิคม
การขยายตัวของระบบทุนนิยมและการแพร่กระจายของระบบการจ้างงาน ได้กลายเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อโครงสร้างและหน้าที่แบบครอบครัวเดี่ยว อุดมการณ์ของสถาบันครอบครัว และความหมายของความสัมพันธ์ที่เป็นคนรักต่างเพศ การเปลี่ยนแปลงที่ได้เหยียบย่างเข้ามาสู่ครอบครัวนี้เอง ที่ส่งผลโดยตรงในการปรากฏตัวขึ้นเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของกลุ่มเกย์

นักล่าอาณานิคมผิวขาวในคริสตศตวรรษที่ 17 ในเมืองนิวอิงแลนด์ (New England) ได้สร้างโครงสร้างของหมู่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจในครัวเรือน การประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยของครอบครัวนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง มีความเป็นเอกเทศ มีความอิสระ และอิงอยู่กับโครงสร้างชายเป็นใหญ่ ผู้ชาย ผู้หญิง เด็ก ที่ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางพื้นที่นาซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วพื้นที่เหล่านี้จะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ชายหัวหน้าครอบครัว ถึงแม้จะมีการแบ่งงานระหว่างผู้ชายและผู้หญิง แต่ในความเป็นครอบครัวแล้วถือได้ว่า เป็นหน่วยย่อยที่มีความเป็นเอกเทศจากระบบการแบ่งงาน. การเอาชีวิตรอดของทั้งหมดขึ้นอยู่กับการร่วมมือกันทั้งครอบครัว บ้านถือได้ว่าเป็นสถานที่ทำงานของผู้หญิง ที่หุงหาอาหารจากผลผลิตที่มีอยู่ฟาร์มเพื่อการบริโภคประจำวันของครอบครัว และถือได้ว่าเป็นที่ที่พวกเธอตัดเย็บเสื้อผ้า ทำสบู่ ทำเทียน บ้านเป็นสถานที่ๆ สามี ภรรยา และลูกๆ ทำงานร่วมกันเพื่อที่จะผลิตสิ่งจำเป็นต่างๆ ในการบริโภคของพวกเขา

ในคริสตศตวรรษที่ 19 ลักษณะของระบบครอบครัวที่กล่าวมาข้างต้น เริ่มมีการเสื่อมถอย. ในแถบตะวันออกเฉียงเหนือ พ่อค้านายทุนเริ่มที่จะระดมการลงทุนโดยผ่านการซื้อขายสินค้า การจ้างงาน. แรงงานเริ่มกลายเป็นสิ่งที่ปกติสามัญ ผู้ชายและผู้หญิงถูกดึงเข้าออกจากระบบเศรษฐกิจที่เพียงพอต่อการตอบสนองความจำเป็นภายในครัวเรือนในยุคของการเป็นอาณานิคม ไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเงินและการจ้างแรงงาน. สำหรับผู้หญิงก่อนแต่งงานในคริสตศตวรรษที่ 19 ที่จะทำงานเพื่อแลกกับค่าจ้างค่อนข้างมีน้อย ส่วนผู้ชายปัจจัยของการจ้างงานในระบบนี้กลายเป็นปัจจัยถาวร

ครอบครัวไม่สามารถที่จะเป็นหน่วยของการผลิตที่เป็นเอกเทศอีกต่อไป แต่ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถคงความเป็นเอกเทศได้ ครอบครัวยังคงมีความเป็นเอกเทศ เพราะว่าระบบทุนนิยมยังไม่ได้ถูกทำให้แผ่ขยายไปมากมายในช่วงนี้ และเพราะว่าในช่วงนี้ระบบทุนนิยมยังไม่ได้เข้ามายึดครองหรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดต่อการผลิตสินค้าเพื่อการบริโภค ในบ้านผู้หญิงยังคงเป็นกำลังสำคัญในการผลิต ครอบครัวหลายๆ ครอบครัวไม่ได้สีข้าวอีกต่อไป แต่ภรรยาก็ยังคงทำหน้าที่ในการอบขนมปังโดยการใช้แป้งที่ซื้อมาจากค่าแรงของสามี หรือพวกเขาซื้อเส้นด้ายที่ใช้สำหรับถักเสื้อผ้า พวกเขาก็ยังคงตัดเย็บเสื้อผ้าสำหรับใช้ภายในครอบครัวด้วยตัวเอง จนถึงตอนกลางของช่วงปี 1800 ระบบทุนนิยมได้ทำลายเศรษฐกิจแบบพอเพียงของหลายๆ ครอบครัว แต่ไม่ได้ทำลายความพึ่งพาอาศัยกันของสมาชิกในครอบครัว

เศรษฐกิจแบบครอบครัว สู่การพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
การเปลี่ยนแปลงจากระบบเศรษฐกิจแบบครอบครัว ไปสู่การพัฒนาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเต็มตัวเกิดขึ้นค่อนข้างช้า เรียกได้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นประมาณ 200 ปี. ในปี 1920 ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของประชากรประเทศสหรัฐอเมริกา อาศัยอยู่ในชุมชนซึ่งมีจำนวนประชากรในชุมชนน้อยกว่า 2500 คน. กลุ่มคนผิวสีส่วนใหญ่ในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 นี้ยังอยู่นอกระบบแรงงานเสรี ไม่เพียงแต่การดำรงชีพด้วยการทำงานในฟาร์ม ยังคงเป็นการดำรงชีพของชาวอเมริกันส่วนใหญ่หลายล้านคน แต่ในอีกหลายๆ เมืองทั้งเมืองเล็กและเมืองใหญ่ผู้หญิงยังคงทำหน้าที่เพาะปลูกและทำกับข้าว ตัดเย็บเสื้อผ้า และเข้าไปมีส่วนร่วมกับอีกหลายๆ งานที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว

แต่สำหรับหลายๆ คนพวกเขารู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลง ครอบครัวได้รับการมอบหมายที่สำคัญกลายเป็นสถาบันครอบครัว ซึ่งไม่เน้นที่การผลิตสินค้า แต่เป็นความรู้สึกพึงพอใจและความสุข. ในช่วงปี 1920 ท่ามกลางกลุ่มชนชั้นกลางผิวขาว อุดมการณ์ที่ปกคลุมพวกเขาสามารถถูกอธิบายได้ว่า เป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้ผู้ชาย ผู้หญิง สร้างตนให้เกิดความสุข ความพึงพอใจ เกิดการเสริมสร้างความสัมพันธ์และสร้างให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงดูบุตร ครอบครัวกลายเป็นพื้นที่ที่อยู่เพื่อ "ชีวิตความเป็นส่วนตัว"ก่อให้เกิดการแบ่งแยกที่ชัดเจนและก่อให้เกิดการตัดขาดจากพื้นที่ของโลกสาธารณะเกี่ยวกับการทำงานและการผลิต

ผู้เคร่งศาสนายกยอการแต่งงาน และอัตราการเกิด
ความหมายของความสัมพันธ์ในแบบรักต่างเพศก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน ในเมืองขึ้นนิวอิงแลนด์ (New England) อัตราเกิดเฉลี่ยอยู่ที่มารดา 1 คนต่อบุตร 7 คน ผู้ชายและผู้หญิงต้องการกำลังแรงงานช่วยเหลือจากลูกๆ การมีลูกถือได้ว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดการอยู่รอด เพศสัมพันธ์ถูกผนวกเข้ากับประเด็นของการสร้างสมาชิกใหม่ให้แก่ครอบครัว ผู้ที่เคร่งในศาสนาไม่ได้เยินยอความเป็นรักต่างเพศ แต่ยกยอการแต่งงาน พวกเขาดูถูกหรือกล่าวร้ายต่อการแสดงออกทางเพศในทุกรูปแบบที่อยู่ภายนอกการแต่งงาน และที่สำคัญพวกเขาไม่ได้แบ่งแยกอย่างชัดเจนระหว่างการร่วมประเวณีทางทวารหนัก และการผิดประเวณีของกลุ่มคนรักต่างเพศ

ในช่วงปี 1920 อัตราการเกิดได้ตกต่ำลงไปเหลือประมาณต่ำกว่าสอง ยกเว้นผลที่เกิดขึ้นจากภาวะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็วแล้ว การลดลงของอัตราการเกิดมีติดต่อกันนานกว่าสองศตวรรษ ซึ่งเกิดปรากฏการณ์ในภาวะแบบนี้คู่ขนานไปกับการเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวางของการเปลี่ยนแปลงในระบบทุนและการผลิต การลดลงของอัตราการเกิดก็ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะมีมาตรากีดกันไม่ให้ใช้ยาคุมกำเนิดหรือการทำแท้ง การลดลงนี้มีผลกระทบต่อทุกส่วนของประชากร คนในเมืองหรือครอบครัวชนบท คนผิวสีหรือคนผิวขาว เชื้อชาติต่างๆ ชนชั้นกลางหรือชนชั้นกรรมกร

ระบบทุนนิยม และความปรารถนาทางเพศ
ในขณะที่แนวคิดค่าจ้างแรงงานแพร่ขยายออกไป และแนวคิดเรื่องผลผลิตซึ่งรวมทั้งการผลิตลูก ก็เริ่มถูกทำให้เกิดมีนัยยะทางสังคมมากขึ้น นั่นหมายถึงแนวคิดนี้กำลังจะทำให้ความคิดเรื่องเพศ เพศสัมพันธ์ และการร่วมเพศ ได้หลุดออกไปจากความต้องการหรือความจำเป็น ไปสู่การเพิ่มหรือก่อให้เกิดผลผลิต. ตามอุดมการณ์แล้ว การแสดงออกในทางรักต่างเพศกลายเป็นสื่ออย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อสร้างความอบอุ่นใกล้ชิด นำเสนอนิยามของความสุข และนำมาซึ่งประสบการณ์ของความปรารถนา ในขณะที่ระบบทุนนิยมได้พยายามที่เข้ามาปรับเปลี่ยนความเป็นอิสระของเศรษฐกิจในครอบครัว และการแยกระหว่างความต้องการทางเพศจากความจำเป็นในการผลิตลูกนั้น ระบบทุนนิยมยังได้สร้างให้เกิดปัจจัยบางประการที่อนุญาตให้ผู้หญิงหรือผู้ชายบางคน สามารถที่จะเข้ามาดูแลชีวิตส่วนตัวของพวกเขาได้ โดยเฉพาะเมื่อพวกเขาจัดการชีวิตของพวกเขาบนพื้นฐานของความปราถนาทางเพศ. ความรู้สึกที่นิยมชมชอบคนที่เพศเดียวกันกับพวกเขา สิ่งนี้กลายเป็นปัจจัยที่ทำให้ชุมชนต่างๆ ของกลุ่มเลสเบี้ยนและเกย์ที่อยู่ในเมือง ใช้เป็นการต่อรองทางการเมือง ซึ่งแนวคิดนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ อัตลักษณ์ทางเพศ (Sexual Identity)

หลักฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมรักเพศเดียวกัน
หลักฐานที่ได้มาจากการพิจารณาในชั้นศาล เมือง นิว อิงแลนด์ ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมรักเพศเดียวกันของทั้งชายและหญิงมีปรากฎให้เห็นตั้งแต่ในยุคคริสตศตวรรษที่ 17 แต่อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่า "พฤติกรรมรักเพศเดียวกัน"แตกต่างออกไปจาก"อัตลักษณ์ของคนรักเพศเดียวกัน" พื้นที่ทางสังคมในช่วงเวลาสมัยนั้นไม่ได้ปรากฏตัวขึ้นเหมือนอย่างทุกวันนี้ ซึ่งอนุญาตให้ผู้ชายและผู้หญิงเป็นเกย์. การเอาตัวรอดถูกสร้างให้ผนวกอยู่กับการมีปฎิสัมพันธ์กับโครงสร้างของครอบครัวเดียว

แน่นอนว่า มีพฤติกรรมของคนรักเพศเดียวกันหลายอย่างปรากฎ เช่น การร่วมเพศทางทวารหนักของผู้ชายและ "พฤติกรรมทางเพศที่รุนแรงและไม่น่าชื่นชม" (Lewdness) ของผู้หญิง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นเรื่องส่วนบุคคล ครอบครัวไม่สามารถพึ่งพาได้ เพราะสังคมในขณะนั้นยังไม่มีแม้แต่คำศัพท์ที่นิยามความรักเพศเดียวกันหรือเลสเบี้ยน ที่จะใช้ในการอธิบายพฤติกรรมของคนๆ นั้น. มันเป็นไปได้ทีเดียวที่ผู้ชายและผู้หญิงบางคน จะมีประสบการณ์ชื่นชอบคนเพศเดียวกันมากกว่าคนต่างเพศ หลักฐานในชั้นศาลบางกรณีได้อ้างถึงผู้ชายที่มีความนิยมชมชอบที่ "ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ" ซึ่งในขณะนั้นยังไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นทางเลือกของการใช้ชีวิต. กฎหมายในบางรัฐ เช่น แมทซาชูเสต (Massachusetts) ซึ่งในขณะนั้นยังตกอยู่ภายใต้การปกครองอาณานิคม ได้ออกกฎหมายห้ามมิให้ผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิงที่ไม่ได้แต่งงาน อาศัยอยู่ภายนอกการดูแลของครอบครัว

ความเป็นอิสระจากเศรษฐกิจครอบครัว ก่อให้เกิดคนรักเพศเดียวกัน
จนกระทั่งถึงครึ่งศตวรรษหลังของคริสตศตวรรษที่ 19 สถานการณ์ของการเลือกที่จะดูแลตัวเองนั้นเริ่มจะเห็นได้ชัดเจนขึ้นเมื่อระบบทุนนิยมของการจ้างแรงงานเสรี ได้เข้ามายึดพื้นที่ทางเศรษฐกิจ คือเมื่อปัจเจกชนสามารถดำรงชีพอยู่ได้โดยอาศัยค่าจ้างแรงงาน แทนที่จะต้องพึ่งพาเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยอิสระของครอบครัว ซึ่งตรงจุดนี้เองที่เอื้อให้ความปราถนาทางเพศเดียวกัน สามารถหล่อหลอมรวมตัวและแสดงออกมาในลักษณะของอัตลักษณ์ส่วนบุคคล - อัตลักษณ์ที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความสามารถ ในการดำรงชีพที่อยู่ภายนอกขอบเขตของครอบครัวคนรักต่างเพศ และในการสร้างชีวิตความเป็นส่วนตัวขึ้นบนพื้นฐานของความชื่นชอบคนเพศเดียวกัน

ในช่วงปลายของคริสตศตวรรษที่ 19 กลุ่มชนที่สามารถกำหนดรู้ความต้องการทางเพศของตัวเองทั้งชายและหญิง จึงได้ปรากฎขึ้น ถึงแม้จะมีการถูกจำกัดพื้นที่กีดกันออกจากชนกลุ่มใหญ่ในสังคม พวกเขามีความต้องการที่จะรวมกลุ่มก้อนสำหรับคนที่มีความต้องการคล้ายคลึงกัน ดังนั้นในช่วงแรกของการดำรงชีพแบบเกย์ ซึ่งปรากฏออกมาในความหลากหลายทางกลุ่มคน อาชีพ และชนชั้นทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นคนรับราชการและนักธุรกิจระดับสูง คนคุมห้องเก็บสินค้าในห้างสรรพสินค้าและศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย คนงานในโรงงาน รัฐมนตรี ทนายความ แม่ครัวพ่อครัว คนที่ทำงานบ้าน และคนร่ำรวย ทั้งผู้ชายผู้หญิง คนผิวสี คนผิวขาว คนที่อพยพย้ายถิ่นและคนที่เกิดในที่ตรงนั้น

เริ่มมีบาร์และสถานที่นัดพบสำหรับกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน
ในช่วงศตวรรษนี้ เกย์และเลสเบี้ยนเริ่มที่จะสร้างวิธีการพบปะกันและสร้างวิธีที่จะทำให้การดำรงชีพแบบเป็นกลุ่มก้อนมีความมั่นคง ในต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เมืองใหญ่ๆ หลายๆ เมืองเริ่มมีบาร์สำหรับคนที่เป็นรักเพศเดียวกันเพศชาย (Male Homosexual Bars) เกย์เริ่มออกไปสร้างพื้นที่ของการพบปะ (Cruising Areas) เช่นใน Riverside Drive ในเมืองนิวยอร์กและใน Lafayette Park ในเมืองวอชิงตัน ส่วนในเมืองเซนต์หลุยส์และในเมืองใหญ่ของประเทศ การมีพบปะกันในลักษณะงานบอลล์ประจำปีเป็นเสมือนการนำพาให้เกย์ผิวสีจำนวนมากมาพบปะเจอกัน ในโรงอาบน้ำสาธารณะ และในสถานออกกำลังกาย เช่น วายเอ็มซีเอ (YMCAs) กลายเป็นที่ที่พบเกย์มาพบปะกัน

ส่วนเลสเบี้ยนได้เริ่มตั้งกลุ่มที่สนใจทางด้านวรรณกรรม และกลุ่มที่มีการทำกิจกรรมทางสังคมร่วมกัน แต่ทว่ามีความเป็นส่วนตัวของกลุ่มสูง คนชนชั้นแรงงานเพศหญิงหลายคนได้แสดงออกในลักษณะเช่นเดียวกันเพศชาย เพื่อจะได้ไม่ถูกสังเกต (Passed) เพื่อที่จะได้ค่าจ้างแรงงานที่ดีและจะได้อยู่กับผู้หญิงคนอื่น นั่นคือการมีชีวิตคู่แบบเลสเบี้ยนที่ประหนึ่งอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยา ท่ามกลางโรงเรียนหญิงล้วน ในโรงเรียนประจำ และในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ผู้หญิงได้มีโอกาสสร้างความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดกับเพื่อน ซึ่งกลายเป็นโครงข่ายเพื่อนเลสเบี้ยนในเวลาต่อมา. ในช่วงปี 1920 และ 1930 เมืองใหญ่ๆ เช่นในมหานครนิวยอร์กและในชิคาโกเริ่มจะมีการปรากฏขึ้นของบาร์เลสเบี้ยน รูปแบบของการดำรงชีพในลักษณะนี้เกิดขึ้นเพราะการพัฒนาการของระบบทุนนิยม ที่เปิดโอกาสให้ปัจเจกชนสามารถมีชีวิตอยู่รอดโดยไม่ต้องพึ่งพึงข้อกำหนดและขอบเขตของสถาบันครอบครัว

แพทย์กับการเปลี่ยนแปลงทัศนะความรักเพศเดียวกัน
ในขณะเดียวกัน แนวคิดและมุมมองที่ใช้อธิบายพฤติกรรมแบบรักเพศเดียวกันก็เปลี่ยนไป แพทย์ได้พัฒนาทฤษฏีที่ว่าด้วยความรักเพศเดียวกัน ซึ่งอธิบายว่า เป็นเสมือนกับคุณสมบัติอย่างหนึ่งหรือต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ซึ่งมองว่าเป็นคุณสมบัติที่ซ่อนอยู่ภายในตัวบุคคลนั้น และเป็นส่วนหนึ่งของ"ธรรมชาติ"ของตัวของเขาและเธอ. ทฤษฏีนี้ไม่ใช่สิ่งใหม่ ไม่ใช่การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์ แต่ทว่าคำอธิบายนี้เป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้เกิดการสร้างทางออกใหม่ๆ หนทางใหม่ๆ ต่อการใช้ชีวิตการดำรงชีพของผู้คน สิ่งนี้กลายเป็นคำอธิบายที่ถูกใช้กันอย่างกว้างขวาง ส่งผลกระทบต่อความคิดและสำนึกของการใช้ชีวิตของทั้งผู้ชายและผู้หญิง ผู้ซึ่งพบว่าตัวเองมีประสบการณ์ของความปราถนาทางเพศต่อเพศเดียวกัน พวกเขาและเธอจึงกล้าที่จะออกมากำหนดตัวตนของตัวเองผ่านความต้องการทางเพศของตัวเองได้

พื้นที่คนรักเพศเดียวกันยังเป็นของผู้ชาย
ในรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นของอัตลักษณ์เกย์ และรูปแบบอันหลายหลากของดำรงชีพแบบเป็นกลุ่มก้อน สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างภายในเพศสภาพ เชื้อชาติ ชนชั้น ซึ่งมีมากมายในสังคมทุนนิยม ท่ามกลางเกย์ผิวขาวดูเหมือนว่าจะมีการปรากฏให้เห็นได้มากกว่ากลุ่มเลสเบี้ยน ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นจากการแบ่งแยกระหว่างโลกสาธารณะของผู้ชาย กับโลกส่วนตัวของผู้หญิง. ถนน สวนสาธารณะ และบาร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนกลางคืนถูกเข้าใจว่าเป็น "พื้นที่ของผู้ชาย" (Male Space) ซึ่งแน่นอนว่าการที่เกย์ผิวขาวปรากฏให้เห็น สะท้อนว่าพวกเขามีจำนวนมากมายขนาดไหน

การศึกษาของคินซี (Kinsey) ในช่วงระหว่างปี 1940 ถึง 1950 พบว่า โดยส่วนมากแล้วผู้ชายจะมีจำนวนมากกว่าผู้หญิงที่มีประสบการณ์ในเชิงรักเพศเดียวกัน บางครั้งเกิดขึ้นเฉพาะบางสถานการณ์. อย่างไรก็ตามน่าคิดว่า ในความเป็นจริงแล้วระบบทุนนิยมได้ผลักดันในผู้ชายเข้าสู่โลกของการใช้แรงงานแลกค่าตอบแทนมากกว่าผู้หญิง และที่สำคัญในค่าตอบแทนที่สูงกว่าด้วย ผู้ชายจึงดูเหมือนว่าจะมีโอกาสสร้างและกำหนดรูปแบบของการใช้ชีวิตที่เป็นอิสระจากการที่ต้องอยู่กินกับคนเพศตรงข้ามได้มากกว่า ในขณะที่พบว่าการดำรงชีพของผู้หญิงหลายๆ คนยังคงขึ้นอยู่กับผู้ชาย. คินซียังค้นพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนปีที่อยู่ในโรงเรียนและกิจกรรมทางเพศของกลุ่มเลสเบี้ยน ผู้หญิงผิวขาวที่มีการศึกษาที่ดีสามารถที่จะเลี้ยงดูตัวเองได้ดีกว่าผู้หญิงในชนชั้นใช้แรงงาน และสามารถที่จะดำรงชีพเอาชีวิตรอด โดยปราศจากการมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับผู้ชาย

คนผิวสีมีต้องอดทนต่อความเป็นคนรักเพศเดียวกันสูงกว่า
ท่ามกลางกลุ่มคนใช้แรงงานที่อพยพย้ายถิ่นในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีความเหนี่ยวแน่นในระบบเครือญาติและยึดถือในระบบครอบครัว ทำให้มีความกดดันเป็นอย่างมากต่อปัจเจกชนหลายๆ คนสำหรับการที่จะเลือกดำรงชีพตามความเป็นเกย์ของพวกเขา ในทางตรงกันข้าม - เหตุผลที่สนับสนุนอาจจะไม่ชัดเจนนัก - พบว่าในชุมชนคนผิวสีในเมืองหลายๆ ชุมชนพบว่ามีความอดทนต่อความเป็นคนรักเพศเดียวกันสูงกว่า พบได้จากจำนวนเพลงที่เขียนขึ้นเพื่อกลุ่มเกย์และเลสเบี้ยนในช่วงปี 1920 และปี 1930 เป็นจำนวนมากเช่น "B.D. Woman", "Prove It on Me", "Sissy Man", "Fairy Blues" เพลงเหล่านี้นำเสอนการแสดงออกของความเป็นรักเพศเดียวกันอย่างชัดเจนและที่สำคัญมากกว่ากลุ่มคนผิวขาว

ท่ามกลางกลุ่มชายที่อาศัยในย่านนอกเมืองฝั่งตะวันตกในช่วงปี 1940 คินซีพบว่า มีหลักฐานมากมายของพฤติกรรมของคนรักเพศเดียวกัน แต่ในทางตรงกันข้าม ผู้ชายในเมืองใหญ่ๆ กลับมีความคิดและสำนึกถึงอัตลักษณ์ของเกย์น้อยมาก ดังนั้นถึงแม้ว่าดูเหมือนระบบทุนนิยมจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตัวมันเองไปในทิศทางเดียวกัน แต่อิทธิพลในการปรับเปลี่ยนของปัจเจกชนเข้าไปเป็นกลุ่มชนชั้นแรงงานที่ดำรงชีพอยู่บนค่าแรง และผลักดันให้พวกเขาแยกตัวออกจากกลุ่มชุมชนดั้งเดิม เราต้องไม่ลืมว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นกับปัจเจกชนแต่ละคน มีผลกระทบที่ต่างกัน และก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ต่างกัน

ผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 2 โอกาสใหม่ๆ ของคนรักเพศเดียวกัน
การตัดสินใจของกลุ่มผู้ชายหรือกลุ่มผู้หญิงบางกลุ่มที่มีความคิดตระหนักถึงการที่จะแสดงตัวตนของตัวเองออกมา เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่าง ความปราถนาและความรู้สึกที่มีต่อคนเพศเดียวกัน กลายเป็นข้อมูลพื้นฐานของการเกิดขึ้นของวัฒนธรรมย่อยของกลุ่มเกย์และเลสเบี้ยนในเมือง อย่างไรก็ตามในช่วงปี 1930 (ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2) วัฒนธรรมย่อยยังคงไม่พบเห็นชัดเจน ยังไม่ก่อตัวตั้งมั่นคง และยากต่อการค้นหา แต่เราจะอธิบายถึงการเกิดขึ้นของชุมชนของเกย์ที่มีการพัฒนาที่ดี มีความสลับซับซ้อนของชุมชน และได้ถือกำเนิดขึ้นในช่วงที่มีการเคลื่อนไหวเรียกร้องอิสรภาพและเสรีภาพได้อย่างไร คำตอบจะพบได้จากช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายและต่อเนื่องกันหลายสิบปี และก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยน การก่อร่างสร้างตัวใหม่ของชุมชนอย่างมีคุณภาพ

สงครามก่อให้เกิดผลกระทบต่อรูปแบบเดิมๆ ของระบบความสัมพันธ์ทางเพศสภาพและเพศวิถี และก่อให้เกิดรูปแบบความต้องการทางเพศใหม่ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกทางความต้องการของกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน สงครามได้ผลักดันให้คนหนุ่มคนสาวหลายล้านคน ผู้ซึ่งอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองเพิ่งจะเริ่มก่อตัวขึ้น ออกไปจากบ้านครอบครัว ออกไปจากเมืองเล็กๆ ออกไปจากสภาพแวดล้อมทางครอบครัวของคนรักต่างเพศ และผลักดันพวกเขาเข้าไปสู่สถานการณ์ที่จะต้องอยู่ร่วมกันของคนเพศเดียวกัน เช่น ทหารอเมริกันที่มักจะเรียกกันว่าGovernment Issues (GIs), Women's Army Corps (WACs) หรือ Women Accepted for Volunteer Emergency Service (WAVEs) ในบ้านที่มีแต่คนเพศเดียวกัน เช่นบ้านพักสำหรับผู้หญิงล้วน สำหรับผู้หญิงที่จำเป็นต้องเดินทางเปลี่ยนสถานที่ทำงานเพื่อการจ้างงาน

สงครามได้ปลดปล่อยให้ชายหญิงนับล้านคนเป็นอิสระจากสภาพแวดล้อมที่ครอบครอง โดยสถาบันของคนรักต่างเพศ สำหรับผู้ชายและผู้หญิงที่เป็นเกย์เป็นเลสเบี้ยนอยู่แล้ว สงครามได้เปิดโอกาสให้พวกเขาพบคนอื่นๆ ที่มีความปราถนาทางเพศเช่นเดียวกับพวกเขา สำหรับคนอื่นๆ ที่กลายมาเป็นเกย์ เป็นเพราะความที่พวกเขามีอิสระในช่วงเวลานั้นในการที่ลองมีเพศสัมพันธ์ที่แตกต่างออกไปในช่วงระหว่างสงคราม

- ลิซ่า เบน (Lisa Ben) แสดงตัวตนของเธอออกมาระหว่างสงคราม เธอออกจากเมืองเล็กๆ ในแคลิฟอร์เนีย ที่ซึ่งเธอได้ถูกเลี้ยงมา มาสู่ลอสแองเจอลิสเพื่อมาหางาน และได้พักอาศัยอยู่กับผู้หญิงคนอื่นๆ ในบ้านพักหญิงล้วน ที่นั่นเธอได้พบกับกลุ่มเลสเบี้ยนเป็นครั้งแรก และได้พาเธอไปที่บาร์เกย์ และแนะนำเธอต่อผู้หญิงที่เป็นเลสเบี้ยนคนอื่นๆ

- โดแนล วีนนิ่ง (Donald Vining) เป็นคนหนุ่มที่มีความปราถนาทางเพศเดียวกัน แต่มีประสบการณ์ทางเพศไม่มากนัก เขาย้ายไปสู่มหานครนิวยอร์กระหว่างช่วงสงคราม และทำงานในสถานออกกำลังกาย วายเอ็มซีเอ. ในสมุดบันทึกของเขาได้เปิดเผยว่า เขามีประสบการณ์ทางเพศเพิ่มขึ้นอย่างมาก เป็นเสมือนการผจญภัยด้วยแรงปราถนา ไม่ว่ากับทหาร กลาสี นาวิกโยธินที่ทำงานในเรือดำน้ำ และข้าราชการอีกหลายคนในสถานที่ที่เขาทำงาน เช่นเดียวกันกับที่คลับของผู้ชายหลายๆ ที่ที่ซึ่งเขาพักอาศัย ในสวนสาธารณะ บาร์ และในโรงหนัง ทหาร GIs หลายๆ คนพักรออยู่ตามเมืองท่าเหมือนอย่างเช่นที่นิวยอร์ก และไปออกกำลังกายในสถานออกกำลังกายอย่าง YMCA ที่วีนนิ่งทำงาน

- สำหรับประวัติศาสตร์เกย์ที่เมืองซานฟรานซิโกในช่วงปี 1940 ที่บันทึกจากเรื่องเล่า อลัน เบอกบี (Allan Berube) กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามเป็นสิ่งทีสำคัญ เพราะมันเป็นมูลเหตุที่ก่อให้เกิดการตั้งชุมชนเกย์ขึ้นในเมือง พื้นที่ต่างๆ อย่างเช่นในซานโจ (San Jose), เดนเวอร์ (Denver), และเมืองแคนซัส (Kansas City) ปรากฏขึ้นของบาร์เกย์แห่งแรกเมื่อ 1940 และถึงแม้ว่าจะมีการกดขี่ที่รุนแรงก็ตาม แต่ก็อาจจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดี

- แพท บอน์น (Pat Bond) เลสเบี้ยนจากเมืองเดแวนพอร์ต (Devenport) รัฐไอโอวา ได้เข้าร่วมกับกลุ่ม WACs ในช่วงระหว่างปี 1940 เธอได้เข้าร่วมกับกลุ่มเลสเบี้ยนอีกหลายร้อยคนจากในกลุ่ม WACs ในแปซิฟิก เธอไม่ได้กลับไปใช้ชีวิตที่ไอโอวาอีกเลย เธออาศัยอยู่ที่ซานฟรานซิโกและกลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเลสเบี้ยนที่นั่น เลสเบี้ยนและเกย์หลายคนมีประสบการณ์ร่วมกันได้อย่างไร เราพบเห็นการเติบโตของกลุ่มชุมชนเกย์และเลสเบี้ยนในเมืองได้อย่างไร

จากการเติบโตของวัฒนธรรมเกย์ ถึงการเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพ
เกย์และเลสเบี้ยนในช่วงปี 1940 ถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิก พวกเขาตัดสินใจที่จะแสดงออกถึงความปรารถนาของพวกเขา ซึ่งก่อร่างสร้างให้เกิดเป็นวัฒนธรรมย่อยของกลุ่มเกย์และเลสเบี้ยนในเมือง ตลอดช่วงเวลา 1950 และ 1960 วัฒนธรรมเกย์เติบโตขึ้นและมั่นคงแข็งแรงมาโดยตลอด ดังนั้นผู้คนกล้าที่จะแสดงตัวตนมากขึ้น และการพบปะเกย์หรือเลสเบี้ยนคนอื่นๆ ดูจะเป็นสิ่งที่ง่ายขึ้นกว่าในอดีต หนังสือพิมพ์และแม็กกาซีนมีปรากฏข้อความหรือเรื่องราวที่เกี่ยวกับชีวิตของเกย์ มีนิยายจำนวนเป็นร้อยๆ เรื่องที่พูดถึงเลสเบี้ยนได้ถูกตีพิมพ์ นักจิตวิเคราะห์กล่าวตำหนิในความง่ายในการที่คนไข้ที่เป็นเกย์ของเขาสามารถพบหาคู่นอน

วัฒนธรรมย่อยของกลุ่มเกย์มิใช่เพิ่งจะเริ่มก่อตัวในเมืองใหญ่ๆ เท่านั้น บาร์เลสเบี้ยนและเกย์หลายๆ ที่มีขึ้นในพื้นที่อย่างเช่น เมืองโวเชสเตอร์ (Worcester) ในรัฐแมสซาชูเสทท์ (Massachusetts), เมืองบัฟฟาโล (Buffalo) ในรัฐนิวยอร์ก (New York) ชีวิตเกย์ในช่วงปี 1950 และปี 1960 กลายเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับประเทศ จนถึงการเดินทางประท้วงครั้งใหญ่ (Stonewall Riots)(*) ในเมืองนิวยอร์กในปี 1969 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียกร้องเสรีภาพของกลุ่มเกย์ สถานะของพวกเกย์เป็นเสมือนกลุ่มที่อยู่ในความเงียบ มองไม่เห็น และแยกตัวออกจากสังคม และการรวมพลังให้เกิดการเดินขบวนประท้วงเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของกลุ่มเกย์และเลสเบี้ยนเพียงชั่วข้ามคืนได้ ก็เพราะว่าชุมชนของกลุ่มเกย์และเลสเบี้ยนมีตัวตนและมีอยู่จริง

(*)The Stonewall Riots were a series of violent conflicts between LGBT people and New York City police officers that began during a 28 June 1969 police raid, and lasted several days. They were centered at the Stonewall Inn and are widely recognized as the catalyst for the modern-day movement towards LGBT rights. Also called the Stonewall Rebellion, Stonewall Revolution or simply Stonewall, the clash was a watershed for the worldwide gay rights movement, as gay, lesbian and transgender people had never before acted together in such large numbers to forcibly resist police harassment directed towards their community. Many also credit the events as igniting a movement to celebrate gay pride with events such as pride parades and dyke marches.

กลุ่มอนุรักษ์นิยมประณามกลุ่มเกย์และเลสเบี้ยน "กลุ่มวิปริตทางเพศ"
ถึงแม้ว่าชุมชนเกย์จะเป็นข้อแม้แรกที่ก่อให้เกิดการเดินขบวนครั้งใหญ่ แต่แรงกดดันที่มีอยู่กับกลุ่มเลสเบี้ยนและกลุ่มเกย์ก็ถือว่าเป็นแรงพลักดันในการเคลื่อนไหวนี้มีพลังมากขึ้น ซึ่งพบเห็นได้จากการที่วัฒนธรรมย่อยเหล่านี้ได้มีการเพิ่มขึ้นและขยายตัวมากขึ้น ซึ่งพบเห็นได้มากในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2. การกดดันที่ก่อขึ้นโดยรัฐดูมีพลังและเข้มข้นมากขึ้น และยิ่งถูกทำให้กลายเป็นระบบและมี่ผลกระทบมากขึ้นด้วย กลุ่มอนุรักษ์นิยมได้ทำให้กลุ่มเกย์และเลสเบี้ยนกลายเป็น "กลุ่มวิปริตทางเพศ" ในช่วงยุคแมคคาทีย์ (McCarthy) ในยุคไอเซนฮาวท์ (Eisenhower) ได้ประกาศให้ต่อต้านการว่าจ้างคนที่เป็นเกย์และเลสเบี้ยนในการเข้าทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ในรัฐบาลกลางและในการว่าจ้างจากรัฐบาล กีดกันกลุ่มเลสเบี้ยนและกลุ่มเกย์จากการเข้าเป็นทหาร เจ้า

ชะตากรรมของเกย์ - ยุคล่าแม่มดสมัยใหม่
หน้าที่สืบราชการลับ (FBI) เข้าตรวจสอบและจับตามองสถานที่หลายๆ แห่งของเกย์และเลสเบี้ยน รวมถึงองค์กรต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเกย์และเลสเบี้ยนอีกด้วย เช่น กลุ่ม the Daughters of Bilitis (*) และ the Mattachine Society (**). ที่ทำการไปรษณีย์ ทำการบันทึกร่องรอยที่เกิดขึ้นเพื่อที่จะตรวจสอบและติดตามชายที่เป็นเกย์และส่งผ่านข้อมูลเหล่านี้ไปยังพนักงานอื่นๆ ตำรวจที่คอยดูแลความเรียบร้อยในเมืองเข้าตรวจค้นบ้านเรือนส่วนตัว เข้าตรวจค้นและจับกลุ่มบาร์เลสเบี้ยนและบาร์เกย์ วางกับดักเพื่อจับกลุ่มเกย์ที่ใช้พื้นที่สาธารณะในการพบปะกับเกย์คนอื่นๆ เป็นเสมือนกลับไปสู่ยุคล่าแม่มดเลยทีเดียว สัญญาณอันตรายของการเข้าไปมีส่วนร่วมกับกลุ่มเกย์มีมากพอๆ กับการที่เป็นเกย์ได้ถูกทำให้รุนแรงยิ่งขึ้น แน่นอนว่าการเรียกร้องเสรีภาพของกลุ่มเกย์ก็เพื่อที่จะตอบโต้ต่อความรุนแรงและความขัดแย้งที่กล่าวถึงนี้

(*)The Daughters of Bilitis (DOB or, the Daughters), is considered to be the first lesbian rights organization in the United States. It was formed in San Francisco, California in 1955. The group was conceived as a social alternative to lesbian bars, which were considered illegal and thus subject to raids and police harassment. It lasted for fourteen years and became a tool of education for lesbians, gay men, researchers, and mental health professionals.

As the DOB gained members, their focus shifted to providing support to women who were afraid to come out, by educating them about their rights and their history. Historian Lillian Faderman declared, "Its very establishment in the midst of witch-hunts and police harassment was an act of courage, since members always had to fear that they were under attack, not because of what they did, but merely because of who they were."

(**) The Mattachine Society was the earliest lasting homophile organization in the United States. The Society for Human Rights (1924) in Chicago predated the Mattachine Society, but was shut down by the police after only a few months.

The organization was founded by Harry Hay along with a small group of friends. The group first met in Los Angeles, on November 11, 1950. The primary goals of the society were to 1. Unify homosexuals isolated from their own kind; 2. Educate homosexuals and heterosexuals toward an ethical homosexual culture paralleling the cultures of the Negro, Mexican and Jewish peoples; 3. Lead the more socially conscious homosexual to provide leadership to the whole mass of social deviates; and 4. Assist our people who are victimized daily as a result of our oppression.

ถึงแม้ว่ากลุ่มเลสเบี้ยนและกลุ่มเกย์ได้รับชัยชนะที่สำคัญในปี 1970 และสามารถเปิดพื้นที่ทางสังคมที่ปลอดภัยเพื่อที่จะยืนยันถึงความมีตัวตน แต่เราก็ไม่สามารถที่จะบอกได้อย่างเต็มปากว่าเราสามารถรับมือกับความคิดรักต่างเพศเป็นใหญ่ และความคิดที่เกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน. บางคนอาจโต้แย้งว่า แรงที่เข้ามากระทำ เข้ามากดขี่คนที่เป็นเกย์เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เกิดการเคลื่อนย้ายต้นกำเนิดของแรงกระทำที่เกิดจากกฎเกณฑ์ของรัฐ ไปสู่พื้นที่ที่มีแรงกระทำที่รุนแรงไปกว่ากฎเกณฑ์ของรัฐ ซึ่งอยู่ในรูปแบบที่มีการทำร้ายร่างกายอย่างเปิดเผยต่อกลุ่มเกย์และเลสเบี้ยน และถึงแม้กระบวนการเคลื่อนไหวของพวกเรามีความคืบหน้า แต่ผลที่เกิดขึ้นอาจจะสร้างให้เกิดผลกระทบในเชิงย้อนกลับที่มีแรงมากกว่า และทำให้สิ่งที่เราได้สร้างขึ้นสูญสลายหายไป

ความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งของระบบทุนนิยมต่อระบบครอบครัว
อย่างสำคัญทีเดียวที่กลุ่มทุนนิยมขวาจัดกลุ่มใหม่ได้เข้ามาปลุกเร้าจิตสำนึกถึง "สถาบันครอบครัว" เป็นไปได้อย่างไรที่โครงสร้างของระบบทุนนิยมที่เอื้อให้เกิดอัตลักษณ์ของเกย์ และสร้างให้เกิดชุมชนของเกย์กลับพบว่า ไม่สามารถที่จะยอมรับกลุ่มเกย์และกลุ่มเลสเบี้ยนได้ ทำไมความคิดของคนรักต่างเพศเป็นใหญ่ และความคิดของคนที่เป็นคนเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกันถึงยากที่จะต่อต้าน

คำตอบสามารถพบได้ในความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งของระบบทุนนิยมต่อระบบครอบครัว ในมุมหนึ่งเหมือนอย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ระบบทุนนิยมค่อยๆ คืบคลานเข้ามาลดทอนความสำคัญของระบบครอบครัวเดี่ยว โดยได้แยกเอาหน้าที่หลักของเศรษฐกิจในครอบครัวไป ซึ่งเสมือนเป็นเครื่องมือที่ผสานความสัมพันธ์กันระหว่างสมาชิกในครอบครัว ผู้ใหญ่ถูกดึงตัวเข้าไปในระบบแรงงานเสรี และระบบทุนได้แผ่ขยายตัวมันเองไปทุกแห่ง จนกระทั่งมันผลิตสินค้าและการบริการทุกอย่างที่เราต้องการในการดำรงชีพ แรงดึงที่ดึงให้ผู้ชายและผู้หญิงจะต้องอยู่ติดกับครอบครัวได้ศูนย์เสียกำลังของมัน

ในมุมตรงกันข้าม แนวคิดแบบอุดมคติของสังคมทุนนิยมได้ยกระดับให้ครอบครัวเป็นแหล่งที่มาของความรัก ความอบอุ่น ความรู้สึกปลอดภัย และเป็นพื้นที่ที่เราต้องการสำหรับความมั่นคง และความสัมพันธ์แบบลึกซึ้งของคนจะสามารถพบได้ในพื้นที่แห่งนี้. แต่อย่างไรก็ตาม ภาพที่เกิดขึ้นของครอบครัวเดี่ยวที่มีผลต่อชีวิตส่วนตัวของคน ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีสาเหตุ ทุกสังคมต้องการโครงสร้างสำหรับการผลิตสร้างและการเลี้ยงดูเด็ก แต่ความเป็นไปได้ไม่ใช่จำกัดอยู่แต่เพียงรูปแบบของครอบครัวเดี่ยว สำหรับครอบครัวที่มีความเป็นส่วนตัวสูง แน่นอนว่าจะมีรูปแบบการดำรงชีพ และโครงสร้างครอบครัวที่เหมาะสมกับพื้นฐานการผลิตของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในระบบทุน

ระบบทุนนิยมได้ก่อให้ผลผลิตเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในแง่มุมของสังคมมากขึ้น ในขณะที่พยายามรักษาความสัมพันธ์ทางสังคมของคนใช้แรงงาน เพราะพวกเขาเป็นของนายทุนเจ้าของกิจการ และสินทรัพย์ส่วนตัวเหล่านี้ในหลายๆ มุม การเลี้ยงดูบุตรก็ถูกทำให้เป็นสังคมมากขึ้นตลอดช่วงสองศตวรรษที่ผ่านมา โดยผ่านโรงเรียน ด้วยสารสนเทศต่างๆ โดยกลุ่มเพื่อนๆ ด้วยลูกจ้างที่เข้ามายึดครองหน้าที่ของความเป็นผู้ดูแลเด็กไป. อย่างไรก็ตาม สังคมทุนนิยมก็ยังคงรักษาให้การสืบพันธุ์และการเลี้ยงดูบุตรเป็นงานที่มีความเป็นส่วนตัว ลูกๆ "เป็นของ" ผู้ปกครองผู้ซึ่งมีสิทธิในการเป็นเจ้าของ

เลสเบี้ยน เกย์ และ สตรีนิยม กลายเป็นแพะรับบาป
คิดอย่างอุดมคติระบบทุนนิยมเป็นแรงขับเคลื่อนให้คนมุ่งไปสู่การเป็นครอบครัวคนรักต่างเพศ ในคนแต่ละยุคสมัยได้มีความคิดที่ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงจากภายในถึงรูปแบบความรักแบบลึกซึ้งและความสัมพันธ์แบบของคนรักต่างเพศ ในทางวัตถุแล้ว ระบบทุนนิยมได้ลดทอนแรงที่เกาะเกี่ยวยึดโยงความเป็นครอบครัว ดังนั้นสมาชิกในครอบครัว จึงมักจะประสบกับความรู้สึกที่ไม่มีความมั่นคงแน่นอนในที่ที่พวกเขาและพวกเธอคาดหวังว่า จะได้ความสุขและความรู้สึกที่อบอุ่นปลอดภัย ดังนั้นในขณะที่ระบบทุนนิยมได้ทำร้ายวัตถุดิบตัวนี้จากรากฐานของครอบครัว เลสเบี้ยน เกย์ และ สตรีนิยมรักต่างเพศจึงกลายเป็นแพะรับบาป สำหรับการถูกกล่าวโทษที่ทำให้ระบบเกิดความไม่มั่นคงแน่นอน

ในการวิเคราะห์นี้ก่อให้เกิดการนำไปใช้สำหรับพวกเราในวันนี้ มันมีผลกระทบต่อการรับรู้อัตลักษณ์ของเรา ลักษณะหรือข้อมูลต่างๆ ที่ประกอบกันเพื่อจุดมุ่งหมายทางการเมือง และการตัดสินใจของเราในการเลือกยุทธวิถีในการต่อรอง. อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วตอนต้น อัตลักษณ์ของเลสเบี้ยนและเกย์ ถูกสร้างขึ้นผ่านประวัติศาสตร์ ผลที่เกิดขึ้นจากพัฒนาการของระบบทุนนิยมได้มีมาอย่างต่อเนื่องหลายยุคสมัย การโต้เถียงในบทความนี้คือ พวกเราไม่ใช่ชนกลุ่มย่อยที่ถูกเทียบเคียงกับจำนวนประชากรทั้งหมดอยู่ตลอดเวลา พวกเรามีมาก และมีมานานกว่าหลายร้อยปีแล้ว มีมานานปีแล้ว และประชากรของเกย์และเลสเบี้ยนอาจจะมีเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

เพศวิถีถูกำหนดไว้แล้วจริงหรือ
หลายๆ ข้อโต้แย้งที่ถูกสร้างขึ้นจากกลุ่มเกย์และกลุ่มที่ไม่ใช่เกย์ว่า เพศวิถีถูกกำหนดเอาไว้แล้วตั้งแต่ในช่วงอายุน้อย ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นอิทธิพลจากกลุ่มเกย์และกลุ่มเลสเบี้ยนอื่นๆ ที่เห็นได้ชัดเจนอยู่ในสังคม สื่อสารสนเทศต่างๆ หรือแม้กระทั่งโรงเรียน ก็จะไม่สามารถมีอิทธิพลต่อการเกิดขึ้นหรือการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ทางเพศของเด็กคนนั้นได้. ข้อโต้แย้งดังกล่าวผิด ระบบทุนนิยมสามารถสร้างให้มีปัจจัยทางวัตถุ เพื่อที่จะให้ความปราถนาทางเพศเดียวกันได้ถูกแสดงออกมา ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของการใช้ชีวิตแบบปัจเจกชน บัดนี้ การเคลื่อนไหวทางการเมืองก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด สามัญสำนึก และได้สร้างให้เกิดปัจจัยทางอุดมการณ์ที่ก่อให้เกิดความง่ายมากขึ้น สำหรับคนที่จะเลือกการใช้ชีวิตของพวกเขาเอง

เพื่อสร้างความมั่นใจ, ข้อโต้แย้งนี้ต้องการยืนยันถึงความกลัวที่แย่ที่สุด และเนื้อหาทางการเมืองที่เราต้องการนำเสนอ ซึ่งการตอบโต้ของเราจะต้องนำไปสู่การท้าทายแนวความคิดที่ว่า การมีความสัมพันธ์ทางเพศเดียวกันเป็นสิ่งผิด และเป็นทางเลือกอันดับสองที่แย่กว่า พวกเราอย่าหลงเชื่อคำแก้ตัวที่ว่าสังคมไม่จำเป็นต้องกังวลพวกเรา เพราะคนที่เป็นรักเพศเดียวกัน (ตั้งแต่เกิด) เท่านั้นจะเป็นคนรักเพศเดียวกัน อย่างดีที่สุด การศึกษาวิเคราะห์ถึงกลุ่มชนเล็กๆ เหล่านี้ในสังคมและยุทธวิถีที่เรียกร้องสิทธิพลเมืองจะเป็นของพวกเราผู้ซึ่งเป็นเกย์ไปแล้ว แต่มันละทิ้งกลุ่มเยาวชนของวันนี้ ซึ่งพรุ่งนี้คือกลุ่มเลสเบี้ยน กลุ่มเกย์ ที่จะต้องถูกล้างสมองด้วยระบบและรูปแบบรักต่างเพศเป็นใหญ่ ซึ่งมันจะต้องใช้ทั้งชีวิตเพื่อจะลบความคิดนั้นไป

ทุนนิยมแยกเราออกจากเพศวิถีซึ่งมีหน้าที่เพียงผลิตลูก
ข้าพเจ้าได้กล่าวไปแล้วตอนต้นว่า ระบบทุนนิยมได้นำเราไปสู่การแยกตัวออกจากเพศวิถีซึ่งทำหน้าที่จากการผลิตลูก ความต้องการทางเพศของมนุษย์ไม่จำเป็นอีกต่อไปในระบบการสืบพันธุ์ที่เน้นการสร้างทายาท การแสดงออกของความต้องการทางเพศนั้นได้เข้าสู่อาณาเขตของทางเลือกมากขึ้น

กลุ่มเลสเบี้ยนและกลุ่มรักเพศเดียวกันเป็นผลผลิตที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของทางแยกนี้ เพราะเนื่องจากว่าความสัมพันธ์แบบเกย์ไม่ได้อยู่ในสารบบของการผลิตลูกแม้แต่น้อย การยอมรับความรู้สึกทางเพศตามทางเลือกของพวกเรานั้น ขึ้นอยู่กับว่าสังคมยอมที่จะเข้าใจว่า การแสดงออกทางเพศเป็นเสมือนรูปแบบหนึ่งของการแสดง เป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ และเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตมากน้อยเพียงใด. การเคลื่อนไหวของพวกเราอาจจะเริ่มจากอุปสรรค และการจำกัดให้เราอยู่ในสถานะของ "ชนกลุ่มน้อย" แต่สิ่งที่เราควรจะทำคือพยายามที่จะ "ปลดปล่อย" ความคิดและอิสระในการดำรงอยู่ของคนทุกคน ซึ่งสิ่งหนึ่งคือการแสดงออกทางเพศ

ทุนนิยมทำให้ปัจเจกมีชีวิตอยู่ได้นอกพื้นที่ของครอบครัว
เข้ามาถึงส่วนสุดท้าย ข้าพเจ้าได้นำเสนอว่าความสัมพันธ์ระหว่างระบบทุนนิยมและระบบครอบครัวเป็นการขัดแย้งกันในขั้นพื้นฐาน ในมุมหนึ่งระบบทุนนิยมได้ก่อให้เกิดการอ่อนแออย่างต่อเนื่องให้กับพื้นฐานของครอบครัว ก่อให้เกิดความเป็นไปได้ที่ปัจเจกชนสามารถที่จะดำรงชีพอยู่รอดได้ภายนอกพื้นที่ของครอบครัว. และสำหรับเลสเบี้ยนและเกย์แล้ว เป็นโอกาสที่จะทำให้อัตลักษณ์ทางเพศของพวกเขาได้มีการพัฒนา. ในมุมตรงกันข้าม มันต้องการที่จะผลักดันให้ผู้ชายและผู้หญิงกลับเข้าสู่ระบบครอบครัว อย่างน้อยให้นานเพียงพอที่จะผลิตคนรุ่นต่อไปออกมาสำหรับเป็นคนใช้แรงงาน ภาพลักษณ์ของครอบครัวเป็นเสมือนภาพในอุดมคติที่ยืนยันว่า ระบบสังคมทุนนิยมจะไม่ผลิตแค่เฉพาะเด็ก แต่รวมถึงระบบรักต่างเพศเป็นใหญ่ และความเกลียดกลัวรักเพศเดียวกัน

ถ้าเราจะมองในมุมที่สุดโต่งที่สุด เราจะพบว่าระบบทุนนิยมคือต้นตอของปัญหา เราจะทำอย่างไรที่จะไม่ตกเป็นแค่เพียงแพะรับบาป หรือเหยื่อทางการเมืองของสังคมที่ไม่มั่นคงซึ่งถูกสร้างขึ้นจากระบบทุนนิยมนี้ เราจะสามารถใช้ความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งนี้ เพื่อเคลื่อนตัวไปยังอิสรภาพที่เราถามหาได้อย่างไร

จากการต่อสู้ของวัฒนธรรมย่อย สู่ประเด็นที่กว้างกว่าเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
เกย์และเลสเบี้ยนมีตัวตนอยู่ในสังคมและอยู่นอกเหนือจากขอบเขตของระบบครอบครัวรักต่างเพศ ชุมชนของเราได้สร้างให้เกิดพื้นที่ทางสังคมขึ้นแล้ว ความอยู่รอดของเราและอิสรภาพของพวกเราขึ้นอยู่กับความสามารถที่จะต่อสู้ป้องกัน และเพิ่มขยายขอบเขตพื้นที่ของพวกเรา ไม่ใช่แค่เฉพาะของตัวเราคนเดียว แต่สำหรับทุกคน. นั่นหมายความว่าเราสนับสนุนประเด็นที่เพิ่มโอกาสในการอาศัยอยู่ภายนอกหน่วยของครอบครัวรักต่างเพศที่เป็นไปตามกรอบจารีต ประเด็นที่สนับสนุนทางเลือกในการทำแท้งและการได้มาซึ่งสิทธิเท่าเทียม ซึ่งเป็นการยืนยันอย่างต่อเนื่องของการกระทำของคนผิวสีและผู้หญิง การเพิ่มสวัสดิการในการดูแลรักษา และการบริการให้กับประชาชนที่สำคัญอื่นๆ การจ่ายเงินให้สวัสดิการที่ดี การจ้างงานที่เต็มรูปแบบ และสิทธิของเยาวชน หรือถ้าพูดอีกอย่างหนึ่ง เราควรจะสนับสนุนให้เกิดแนวทางและประเด็นต่างๆ ที่จะสามารถใช้เป็นวัตถุดิบขั้นพื้นฐานในการสร้างให้เกิดความเป็นตัวตนขึ้น

สิทธิของเยาวชนที่เป็นอิสระจากครอบครัว
โดยเฉพาะสิทธิของเยาวชนเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ความเชื่อที่มองว่าเด็กๆ แต่ละคนยังจำเป็นต้องอาศัยการพึ่งพา ผู้ปกครองมีสิทธิเป็นเจ้าของชีวิตของพวกเขา แนวคิดแบบนี้ฝังรากลึกมากยิ่งไปกว่าที่พวกเราคิด เราจะทำอย่างไรถ้าจะมีมุมมองที่ว่า พวกเขาเป็นเสมือนคนที่มีอิสระในทางเลือกในฐานะคนๆ หนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเลือกที่จะแสดงออกถึงความต้องการทางเพศและทางเลือกของพวกเขา ก่อนสิ่งนั้นจะเกิดขึ้น อิสรภาพที่เกย์ใฝ่หาจะยังคงเป็นเป้าหมายที่อยู่สูงกว่าเราจะเอื้อมถึง

แต่การที่จะได้มาซึ่งความเป็นส่วนตัวเป็นเพียงแค่เรื่องราวเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ความรู้สึกถึงความไม่มั่นคงของครอบครัว และความรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยในปัจจุบันนี้ที่ผู้คนได้รับประสบการณ์ในความสัมพันธ์ส่วนตัว ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญของสังคมทุกวันนี้ และจำเป็นต้องได้รับการดูแล เราต้องการทางออกให้กับปัญหาดังกล่าว ทางออกที่ว่าไม่น่าจะมาในรูปแบบสุดโต่งที่ต้องการตอกย้ำจุดยืนที่เน้นความสำคัญของครอบครัว หรือจากแนวนโยบายของฝ่ายซ้ายที่ต้องการสร้างให้ระบบครอบครัวให้มีความแข็งแกร่งขึ้น นักสังคมนิยมไม่ควรที่จะสร้างทางออกที่จะตอบสนองต่อการเอารัดเอาเปรียบและกลายเป็นต้นทุนสำหรับความไม่เท่าเทียมในระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม โดยการเรียกร้องให้กลับไปสู่ระบบครอบครัวแบบชาวนาชาวไร่ และพึ่งพาอยู่แต่เพียงผลผลิตแบบครัวเรือน เราควรจะตระหนักได้ว่าผลผลิตที่เกิดขึ้นอย่างมากมายที่ระบบทุนนิยมได้ก่อให้เกิดขึ้นโดยการสร้างให้ผลผลิตมีมิติทางสังคมเข้าไป มีการแบ่งแยกส่วนต่างๆ ให้เกิดขึ้นในผลผลิตนั้น เป็นเนื้อหาที่สำคัญประเด็นหนึ่งของระบบทุนนิยม ในความคล้ายคลึงกันเราควรจะไม่พยายามที่จะย้อนเวลากลับไปในอดีต เพื่อตำนานแห่งความสุขของครอบครัว

โครงสร้างใหม่ที่มาแทนที่สถาบันครอบครัว
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราจำเป็นคือโครงสร้างและแนวทางที่จะช่วยให้เราแก้ปัญหานี้ ปัญหาของการแยกตัวออกของครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับครอบครัวเดี่ยวที่ต้องเลี้ยงดูลูกแบบเดียวดาย เราต้องการความเป็นชุมชน หรือการดูแลลูกๆ ให้กับคนงาน บ้านพักที่ซึ่งความเป็นส่วนตัวและความเป็นชุมชนอยู่ผสมผสานกัน ระบบสถาบันของเพื่อนบ้าน ตั้งแต่คลีนิกหมอไปจนถึงศูนย์การแสดงศิลปะและการละคร เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพให้กับหน่วยของสังคม ที่ซึ่งคนแต่ละคนสามารถมีพื้นที่ที่มั่นคงและปลอดภัยของตัวเอง และถ้าเป็นอย่างนั้นจริง เรากำลังสร้างโครงสร้างที่อยู่นอกเหนือจากระบบสังคมครอบครัวเดี่ยว และยังคงสามารถมอบความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ. ปัจจุบัน ระบบครอบครัวเริ่มที่จะลดบทบาทลง มีความสำคัญน้อยลงและน้อยลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราสามารถเกิดความรู้สึกถึงความมั่นคงและความปลอดภัยในสังคมได้

ในแนวความคิดนี้ กลุ่มเกย์และกลุ่มเลสเบี้ยนได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็น เพื่อที่จะให้พวกเขาได้ดำเนินบทบาทที่สำคัญ การที่พวกเขาอยู่แยกออกจากครอบครัวซึ่งพวกเราเกือบทั้งหมดเป็นไปในลักษณะนั้น สิ่งที่พวกเราต้องสร้างขึ้นคือ โครงข่ายที่ซึ่งเข้ามาสนับสนุนพวกเรา และการสนับสนุนไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับความผูกผันทางสายเลือด หรือใบอนุญาตจากทางรัฐ แต่มันควรเป็นสิ่งที่สามารถเลือกได้และสามารถนำไปใช้ได้

ชุมชนที่เข้มแข็ง หนึ่งในนโยบายและเป้าหมาย
การสร้างให้เกิดขึ้นเป็น "ชุมชนที่มีความเข้มแข็ง" นี้ จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายและเป้าหมายของการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งเสมือนหนึ่งของนโยบายสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในทิศทางนี้ เราสามารถที่จะมองเห็นรูปร่างของความสัมพันธ์ส่วนตัวในสังคมได้ ซึ่งเกิดขึ้นมาจากรากฐานของความเท่าเทียมและความยุติธรรม มากกว่าการเอารัดเอาเปรียบและการกดขี่ สังคมที่ซึ่งตัวตนและความปลอดภัยไม่ได้อยู่แยกจากกัน แต่จะอยู่เคียงข้างกันไป

[บทความนี้เป็นฉบับปรับปรุงของการบรรยายที่ได้บรรยายในหลายๆ ที่ช่วงระหว่างปี ๑๙๗๙ และ ๑๙๘๐]

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๑ : Release date 23 April 2008 : Copyleft by MNU.
หน้าที่สืบราชการลับของ FBI คือเข้าตรวจสอบและจับตามองสถานที่หลายๆ แห่งของเกย์และเลสเบี้ยน รวมถึงองค์กรต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเกย์และเลสเบี้ยนอีกด้วย เช่น กลุ่ม the Daughters of Bilitis และ the Mattachine Society. ที่ทำการไปรษณีย์ ทำการบันทึกร่องรอยที่เกิดขึ้นเพื่อที่จะตรวจสอบและติดตามชายที่เป็นเกย์ และส่งผ่านข้อมูลเหล่านี้ ไปยังพนักงานอื่นๆ ตำรวจที่คอยดูแลความเรียบร้อยในเมืองเข้าตรวจค้นบ้านเรือนส่วนตัว เข้าตรวจค้นและจับกลุ่มบาร์เลสเบี้ยนและบาร์เกย์ วางกับดักเพื่อจับกลุ่มเกย์ที่ใช้พื้นที่สาธารณะในการพบปะกับเกย์คนอื่นๆ เป็นเสมือนกลับไปสู่ยุคล่าแม่มดเลยทีเดียว สัญญาณอันตรายของการเข้าไปมีส่วนร่วมกับกลุ่มเกย์มีมากพอๆ กับการที่เป็นเกย์ได้ถูกทำให้รุนแรงยิ่งขึ้น
H
การต่อสู้กับอุดมการณ์แนวคิดเหล่านี้คือการพยายามจะบอกว่า "พวกเรามีอยู่ทุกที่" แต่ในช่วงเวลาเร็วๆ นี้มันกลับกลายเป็นว่าเราถูกกรอบทฤษฏีทางการแพทย์ของกลุ่มที่เกลียดคนรักเพศเดียวกันครอบเอาไว้ ทำให้การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดจากตำนานดังกล่าวอ่อนตัวลง ข้าพเจ้าต้องการที่จะท้าทายตำนานที่ว่านี้ ข้าพเจ้าต้องการที่จะโต้แย้งว่ากลุ่มเกย์และกลุ่มเลสเบี้ยนไม่ได้มีตัวตนเสมอมาอย่างที่เข้าใจในตำนาน ในทางตรงกันข้าม พวกเขาเป็นผลผลิตของประวัติศาสตร์ พวกเขาเกิดมีตัวตนขึ้นในช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจง การเกิดขึ้นนั้นมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับระบบทุนนิยม มันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของระบบทุนนิยม หรือถ้าจะให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น มันคือผลผลิตส่วนหนึ่งของระบบแรงงานเสรี ซึ่งเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ชายและกลุ่มผู้หญิงกลุ่มใหญ่ทีเดียวในศตวรรษที่ 20 ให้สามารถเรียกตัวเองว่ากลุ่มเกย์ ให้เห็นว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชุมชนที่มีความคล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชายหรือกลุ่มหญิง และให้เกิดการเรียกร้องจัดการทางการเมือง ซึ่งข้อเรียกร้องดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานของอัตลักษณ์ และสุดท้ายข้าพเจ้าต้องการที่จะเสนอให้เห็นถึงบทเรียนทางการเมืองจากสิ่งที่เราได้อ่านและมองจากมุมมองของประวัติศาสตร์