ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



31-03-2551 (1517)

การเดินทางจากเหนือลงใต้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน (ปลายมีนาคม ๕๑)
จากอุตสาหกรรมขยะ(โรงถลุงเหล็ก) ถึงรัฐธรรมนูญฉบับอุบาทวาธิปไตย
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
นำมาจากปาฐกถาการรับเหรียญเจริญ วัดอักษร และรายงานข่าว นสพ.

ปลายเดือนมีนาคม ๒๕๕๑ คณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้จัดให้มีการมอบเหรียญเจริญ วัดอักษร ซึ่งเป็นเหรียญเชิดชูเกียรติ
แก่บุคคลหรือชุมชน ในการลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิ วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับปีนี้ ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้มีฉันทามติมอบเหรียญเจริญ วัดอักษรให้กับ กลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง
ในการลุกขึ้นมาต่อสู้กับโครงการโรงถลุงเหล็กมูลค่านับหลายแสนล้านบาท เพื่อปกป้องผืนป่าชุ่มน้ำ ชายหาด และวิถีชีวิต
ของชาวอำเภอบางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ กล่าวได้ว่า โรงถลุงเหล็กเป็นอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยมลพิษสูงและใช้พลังงานมหาศาล
เป็นอุตสาหกรรมขยะที่ถูกผลักจากประเทศพัฒนาแล้วไปสู่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในเอเชียเช่น จีน อินเดีย และไทย
ในส่วนของผืนดินซึ่งถูกเลือกเป็นที่ตั้งโรงงานถลุงเหล็กที่อำเภอบางสะพาน โดยเฉพาะบริเวณที่กลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึงกำลังปกปักษ์
รักษาอยู่ เป็นบริเวณที่ปลาทูมาวางไข่มากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งกรมประมงได้ประกาศปิดอ่าวทุกปี ส่วนบริเวณป่าชุ่มน้ำก็เต็มไปด้วย
พืชพันธุ์และสัตว์นานาชนิด ที่ชาวบ้านได้พึ่งพาอาศัยดังตู้กับข้าวขนาดใหญ่ เพื่อเลี้ยงคนเป็นพันเป็นหมื่นครอบครัว แต่สภาพัฒน์ฯ และบีโอไอ
กลับเลือกผืนดินและบริเวณอ่าวดังกล่าวเป็นเขตอุตสาหกรรมภาคตะวันตก (western seaboard) โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหิวพลังงาน
และผลิตมลพิษหรือขยะ(อุตสาหกรรมตะวันตกดิน)ซึ่งไม่ต่างอะไรไปจากส้วม ด้วยเหตุนี้ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวกับการพัฒนาและการส่งเสริม
จึงกำลังเลือกการทำลายมากกว่าการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการวิ่งไล่กวดขบวนรถไฟสายโลกาภิวัตน์ โดยการพยายามขึ้นให้ทันโบกี้สุดท้ายอย่างน่าสงสาร
ด้วยการเลือกส้วมมาบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาพื้นที่ตะวันตก(western toilet) การลุกขึ้นมาของชาวบางสะพาน ในนามกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง
ซึ่งประกอบด้วยชาย หญิง คนแก่ และเด็ก จึงเป็นตัวอย่างของพลังภาคประชาชนที่มองเห็นกาลไกลได้มากกว่าหน่วยงานรัฐ และมีสำนึกทางสังคมอันควรยกย่อง

ในปลายเดือนเดียวกันนี้ คณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนยังได้จัดให้มีการเสวนาทางวิชาการเรื่อง "การเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปฏิปักษ์ประชาธิปไตย"
พร้อมทั้งออกแถลงการณ์เรื่อง "ไปให้พ้นจากรัฐธรรมนูญฉบับปฏิปักษ์ประชาธิปไตย" ทั้งนี้เพราะตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา หลังการใช้รัฐธรรมนูญฉบับ
ปี ๕๐ ที่ถูกร่างขึ้นภายใต้บรรยากาศของการรัฐประหาร ๑๙ กันยา ได้เกิดความวุ่นวายตามมาโดยลำดับ ทั้งนี้เพราะเนื้อในอันเป็นสาระของรัฐธรรมนูญ
ฉบับดังกล่าว เป็นความพยายามที่จะลดบทบาทของอำนาจฝ่ายบริหาร เพิ่มอำนาจฝ่ายตุลาการ และทำลายพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม อันเป็นการสะท้อนถึง
การเมืองในระดับนำของเหล่าชนชั้นปกครองที่พยายามพิฆาตกัน ทั้งๆ ที่สมาทานเศรษฐกิจทุนนิยมและประชาธิไปไตยไร้เสรีเหมือนๆ กัน ซึ่งได้สร้างความกระอัก
กระอ่วนให้กับประชาชนเป็นอย่างยิ่ง เป็นไปได้ที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะก่อให้เกิดความแตกแยกในอนาคตระหว่างเครือข่ายฝ่ายขวาทั้งสองด้าน (ขวาพิฆาตขวา)
การที่พรรคพลังประชาชนที่เป็นรัฐบาลอยู่ในเวลานี้กำลังจะออกมาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็เป็นที่กังขาว่าจะเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของนักการเมืองโดยเฉพาะ
ทั้งที่รัฐธรรมนูญคือแผนที่ดำเนินการและการจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจในทุกระดับ แต่กลับมองเพียงเรื่องผลประโยชน์เฉพาะตัว เฉพาะกลุ่ม
โดยมองไม่เห็นถึงความเป็นองค์รวมดังกล่าว คณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจึงมีข้อเสนอให้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยอาศัยกระบวนการร่าง
รัฐธรรมนูญของปี ๔๐ มาเป็นต้นแบบ และจัดให้มีประชาพิจารณ์อย่างกว้างขวาง เพื่อแทงทะลุปัญหาอุบาทวาธิปไตยที่กำลังเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการทอน
อำนาจฝ่ายบริหาร เพิ่มอำนาจตุลาการ การทำลายพรรคการเมือง และให้กำเนิดองค์กรอิสระในกำกับ(ของอำนาจเก่า) ให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนอย่างแท้จริง

บทปาฐกถาของตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง, แถลงการณ์ และรายงานข่าวเกี่ยวกับ
การเสวนาทางวิชาการรัฐธรรมนูญปี ๕๐ ต่อไปนี้ ได้แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ
ส่วนที่ ๑ : ปาฐกถาพิเศษ ๒ ปี การต่อสู้เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บางสะพาน
ส่วนที่ ๒ : แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน "ไปให้พ้นจากรัฐธรรมนูญฉบับปฏิปักษ์ประชาธิปไตย"
และรายงานเนื้อหาการเสวนา"การเมืองไทยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปฏิปักษ์ประชาธิปไตย"

ส่วนที่ ๓ : แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน "อรุณี ศรีโต - ปาฐกเจริญ วัดอักษรประจำปี ๒๕๕๐"
สำหรับส่วนที่ ๓ นี้ เป็นส่วนเพิ่มเข้ามาใหม่ เนื่องจากยังไม่เคยเผยแพร่บนเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืนมาก่อน
จึงนำมาเสนอบนหน้าเว็บเพจนี้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเกี่ยวกับการมอบเหรียญเจริญ วัดอักษร ประจำปี ๒๕๕๐

midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๑๗
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๘ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

การเดินทางจากเหนือลงใต้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน (ปลายมีนาคม ๕๑)
จากอุตสาหกรรมขยะ(โรงถลุงเหล็ก) ถึงรัฐธรรมนูญฉบับอุบาทวาธิปไตย
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
นำมาจากปาฐกถาการรับเหรียญเจริญ วัดอักษร และรายงานข่าว นสพ.


ส่วนที่ ๑
ในโอกาสการมอบเหรียญเจริญ วัดอักษร ประจำปี ๒๕๕๑ นี้ คณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้เดินทางไปยังศูนย์ศึกษาป่าชุ่มน้ำ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อมอบเหรียญดังกล่าวให้กับกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง โดยได้เชิญให้อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นผู้กล่าวนำถึงความสำคัญของพื้นที่บริเวณดังกล่าวในแง่ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และโบราณคดี จากนั้นตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึงได้แสดงปาฐกถาในหัวข้อง "๒ ปี การต่อสู้ เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บางสะพาน" เฉพาะบนหน้าเว็บเพจนี้ เพียงนำเสนอในส่วนของปาฐกถาของกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึงเท่านั้น

กำหนดการมอบเหรียญ"เจริญ วัดอักษร" ประจำปี ๒๕๕๑ โดย มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กิจกรรมการมอบเหรียญฯ ให้แก่กลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง ณ ศูนย์ศึกษาป่าชุ่มน้ำ หาดแม่รำพึง อ.บางสะพาน จ. ประจวบคีรีขันธ์ (วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑)

๙.๑๕ น. เปิดป้าย ศูนย์ศึกษาป่าชุ่มน้ำ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
๙.๓๐ น. กล่าวเปิดงาน โดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

๑๐.๐๐ น. แสดงปาฐกถานำโดย คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ
๑๐.๓๐ น. ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึงแสดงปาฐกถา "๒ ปี การต่อสู้ เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บางสะพาน"
๑๑.๐๐ น. เวทีเสวนาวิชาการหัวข้อ "การก่อการร้ายต่อทรัพยากรธรรมชาติและชุมชนท้องถิ่น"
โดย รศ.ดร. วรวิทย์ เจริญเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, รศ.ดร. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คุณสุรพงษ์ กองจันทึก ศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและพัฒนา" (Karen Studies and Development Centre), อ.ชัชวาล ปุณปัน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

๑๒.๐๐ น. พิธีมอบเหรียญเจริญ วัดอักษรแก่ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง โดย รศ. สมเกียรติ ตั้งนโม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ปาฐกถาพิเศษ ๒ ปี การต่อสู้ เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บางสะพาน
โดย กลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง ในโอกาสรับเหรียญ เจริญ วัดอักษร วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๑
นายสุพจน์ ส่งเสียง (รองประทานกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง) : ปาฐก

กราบเรียน ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คณะอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ และพี่น้องที่ร่วมต่อสู้เพื่อความถูกต้องและเป็นธรรม ที่มีเกียรติทุกท่าน นับเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่กระผมได้มีโอกาสเป็นตัวแทนของพี่น้องนักต่อสู้ชาวบางสะพาน ในการนำบรรยายเรื่อง "ชุมชนท้องถิ่นและการต่อสู้เพื่อพิทักษ์ทรัพยากร" เพื่อขัดขวางการเบียดเบียน แย่งชิงทรัพยากร หรืออาจจะเรียกว่า การต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของเรา

การต่อสู้เพื่อรักษาทรัพยากรของชุมชนในตำบลแม่รำพึงที่ยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ ถึงแม้ว่ายังจะหาจุดยุติตามความประสงค์ไม่ได้ก็ตาม แต่ถือว่าเป็นการลุกขึ้นต่อสู้ ต่อกรกับกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่มากไปด้วยพลังทุน พลังอิทธิพล แต่พวกเราทุกคน ก็ได้ยืนหยัดมาได้กว่า 2 ปี ที่ถือเป็นประวัติศาสตร์ในการรวมตัวร่วมต่อสู้ของเราอย่างเข้มแข็ง ที่มีทั้งเหตุและผลเพียงพอต่อการยอมรับของสังคมพอสมควร

ก่อนที่จะนำเรื่องราวการต่อสู้ของพี่น้อง บางสะพาน ในนามกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึงให้ทราบต่อไป ขอนำกลับไปพูดถึงสาเหตุ และต้นต่อของปัญหาในมุมมองของเรา ที่หลังจากต้องประสบกับตนเอง และมีเวลาได้ทบทวนเรื่องราวมากว่า 2 ปี เพื่ออาจจะเป็นข้อคิด หรือข้อเสนอแนะความคิด อันที่จะทำให้เกิดขบวนการสำนึกรู้ สำนึกคิดให้สมบูรณ์ต่อไป

จากปัญหาสภาพแวดล้อมโลกที่ประชากรของโลก เพิ่มจำนวนกว่า 6,500 (ล้านคน) ในปัจจุบันหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมตั้งแต่มีการค้นพบเครื่องจักรไอน้ำในศตวรรษที่ 18 จนมาถึงการสร้างรถยนต์ในศตวรรษที่ 19 เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพแวดล้อมโลกอย่างมากเรื่อยมา จนกระทั้งช่วงทศวรรษก่อนศตวรรษที่ 21 มีการเคลื่อนไหวและรณรงค์ให้ตระหนักถึงอนาคตของโลก และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างมากมาย อันล้วนมาจากการกระทำของมนุษย์, การพัฒนาของมนุษย์, ที่มักจะคิดแยกตนเองจากระบบนิเวศ ฝืนกฎเกณฑ์ธรรมชาติ ทั้งที่ตนเป็นสิ่งมีชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ซึ่งมีความสัมพันธ์อยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน

มนุษย์ได้คิดค้นทดลองนำทรัพยากรที่มีอยู่ในโลก มาใช้ในรูปแบบแปลกๆ ใหม่ๆ ในการดำรงชีวิตเพื่ออำนวยความสะดวก และตอบสนองความต้องการ ความสุขสบายแก่มนุษย์ ซึ่งมนุษย์เรียกมันว่า"การพัฒนา" หรือความทันสมัย ส่งผลให้มนุษย์มีกิจกรรมเกิดขึ้นมากมาย โดยกำหนดสิ่งจูงใจให้มีการตอบแทนการออกแรงกาย แรงคิด เป็นวัสดุสมมุติค่า ใช้แลกเปลี่ยนวัสดุสิ่งของ อาหาร หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นสิ่งจำเป็น และต้องการของมนุษย์ หรือที่เราเรียกมันว่า"เงิน"นั้นเอง จึงส่งผลให้มนุษย์คิดอะไรตามๆ กัน จุดสูงสุดของความต้องการคือความร่ำรวย ความสุขสบาย แต่เส้นทางที่มนุษย์ไปสู่ความต้องการนั้นๆ กลับมีแต่ความลำบาก และเต็มไปด้วยการทำลายล้าง

สิ่งที่แท้จริงแล้ว มนุษย์ต้องการมากก็คือ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเดิมบนโลกใบนี้ เริ่มจากการเกิดมาใช้ทรัพยากรหล่อเลี้ยงชีวิตให้เติบโต มุ่งหน้าศึกษาร่ำเรียนหลักสูตรต่างๆ ที่คิดขึ้นมาได้ เพื่อจบการศึกษาแล้ว จะได้ทำกิจกรรมต่างๆ ที่เรียกว่าการพัฒนา ที่หวังว่าการจบการศึกษาดีๆ จะมีงานทำดีๆ เงินเดือนหรือผลตอบแทนสูงๆ และจะสุขสบาย คิดเหมือนกันทั้งโลก แต่ความจริงก็ทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ตามโอกาส ตามสภาวะการแย่งชิงของมนุษย์กันเอง

ตอนที่ช่วงผมเด็กๆ ก็ได้รู้มาว่า โลกเราใบนี้มีพื้นดิน 1 ส่วน มีน้ำ 3 ส่วน มนุษย์ต้องอาศัยอยู่บนพื้นดินเป็นหลัก ในขณะที่จำนวนประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้น จากอัตราการเพิ่มประชากรโลก ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2530 ที่มีองค์กรอนามัยโลกประกาศให้เป็นวันประชากรครบ 5,000 ล้านคน, ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 6,500 ล้านคน, โดยเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2530 คิดเป็น 75 ล้านคนต่อปีโดยประมาณ มากกว่าประชากรของประเทศไทยรวมกันเสียอีก. ในขณะที่ประชากรเพิ่มขึ้น มีความต้องการที่ดินมากขึ้น แต่กิจกรรมของมนุษย์ก็กลับทำให้พื้นดินลดลง และแทนที่ด้วยน้ำไปจำนวนมาก เช่นการสร้างเขื่อนเป็นต้น ยังไม่รวมถึงการก่อสร้างสิ่งฟุ่มเฟือย หรือสิ่งปลูกสร้างทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอีกจำนวนมาก เช่น สนามก๊อล์ฟ หรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เพื่อตอบสนองความต้องการ ความร่ำรวย ความมั่งคั่งเกินความจำเป็นของมนุษย์ จนส่วนหนึ่งไม่มีที่แม้แต่จะอาศัยนอน หรือทำกิน

และจากเหตุของการกำหนดค่าเงินที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ทุกสิ่งทุกอย่าง จึงทำให้โลกเต็มไปด้วยการแย่งชิงอำนาจ แย่งชิงทรัพยากรเพื่อให้ตนมีส่วนแบ่งที่เป็นส่วนตัวมากที่สุด และได้พยายามนำทรัพยากรที่มีอยู่ในโลก ขุด ดูด ขน ออกมาจัดการแปรเปลี่ยนเป็นเงิน ที่เป็นสิ่งสมมุติในสมุดบัญชี คือตัวเลขต่อแถวกันยาวๆ ต่อๆ กัน ยิ่งมากยิ่งดี โดยไม่คำนึงถึงว่าทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดนั้น หากเร่งนำออกมาใช้อย่างไม่มีความจำเป็น มองเพียงเป็นแค่การตลาด หาผลกำไรสูงสุด หมดแล้วหมดเลย โลกไม่สามารถสร้างใหม่ทดแทนได้ ในอนาคตลูกหลานเราก็คงต้องกลับไปสู่ยุคมืดมิด ไม่มีน้ำมัน ไม่มีทรัพยากรหลงเหลืออยู่ในโลกนี้อีกต่อไป และอย่าคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ อย่าคิดว่ามันยังอีกไกล

ปัจจุบันผมมีอายุ 40 ปี เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ผมจำได้ว่าราคาน้ำมันดีเซลตกลิตรละประมาณ 5-7 บาทเท่านั้น แต่ขณะนี้ผ่านมาสิบกว่าปี ราคาน้ำมันดีเซลสูงถึง 30-40 บาทในปัจจุบัน แสดงให้เห็นชัดเจนว่าในขณะที่น้ำมันเหลือน้อย แต่ความต้องการใช้กลับมากขึ้น อันเนื่องจากประชากรโลกเพิ่มสูงขึ้นทำให้ผลกระทบต่างๆ เห็นได้ชัดเจนขึ้นมากตามลำดับ ผมยกตัวอย่างล่าสุดประเทศของเรา บ้านของเราเมื่อเร็วๆ นี้ อาจเป็นเรื่องเล็กๆ ง่ายๆ แต่หน้าสนใจก็คือ เนื้อหมู มีราคาแพงขึ้น สาเหตุก็หน้าจะมาจากตลาดขาดแคลน หรือต้นทุนสูงขึ้น เพราะเป็นการเลี้ยงแบบฟาร์ม ใช้อาหารสำเร็จรูปในการเลี้ยง ส่งผลให้คนลดการบริโภคหมูลงมาก แต่สิ่งที่กระทบตามมาคือผักคะน้าล้นตลาด และราคาตกลงเหลือเพียงกิโลกรัมละ 1 บาทเมื่อวันที่ 26 (มีนาคม)ที่ผ่านมา ความหมายก็คือ ส่วนใหญ่คนมักทำอาหารโดยการนำหมูมาปรุงอาหารร่วมกับ ผักคะน้า จึงกระทบไปด้วยเป็นต้น

มีเหตุการณ์หลายสิ่งหลายอย่าง ที่เป็นตัวเริ่มบ่งบอก ถึงความหายนะของโลกเราเริ่มขึ้นแล้ว และชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ หากมนุษย์ยังไม่หยุดทำลายความสมดุลของธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การที่คนเรามุ่งแต่เรียนรู้สิ่งที่จะนำไปสู่อนาคตอันทันสมัย หรือวิวัฒนาการต่างๆ ซึ่งหนีความเป็นธรรมชาติ อันหมายถึงนับวันเรากลับไม่รู้จักธรรมชาติ ไม่รู้คุณค่าธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่เรียกตัวเองว่าเป็นผู้มีความรู้ เป็นผู้พัฒนาแล้ว ตัวอย่างชัดเจนที่ภาคใต้ที่ผ่านมา มีเหตุการณ์คลื่นยักษ์ซึนามิถล่มชายฝั่งทะเลอันดามัน ผู้ที่เสียชีวิตมากที่สุดคือชาวต่างชาติที่เรียกว่าผู้ที่มีความรู้ ผู้ที่พัฒนาแล้ว แต่ชาวมอร์แกน ที่อยู่กับธรรมชาติทั้งชีวิตและรู้จักมันดีกลับรอด และประเทศไทยของเราจากเดิมที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศเกษตรกรรม เป็นครัวของโลก แต่เหตุการณ์ล่าสุด มีการขโมยข้าวในนา มีการขโมยเป็ดในเล้า เริ่มมีการแย่งชิงอาหาร หลายประเทศที่เร่งสร้างความเจริญให้กับประเทศตนเองโดยนำอุสาหกรรมเป็นตัวเร่งสร้าง ส่งผลให้มีพื้นที่สร้างอาหารลดลงจำนวนมาก เช่นพื้นที่นาข้าว ปริมาณน้ำใช้ในภาคการเกษตร ซึ่งประเทศเราเองหากไม่สนใจสิ่งเหล่านี้ ไม่คำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่และรักษาดูแลอย่างดี ก็คงต้องนำเข้าข้าวจากประเทศที่ด้อยพัฒนาที่สุด ที่ยังมีพื้นที่ทำเกษตรอยู่ ในราคาแพงที่สุดด้วยเช่นกัน

หลายประเทศที่ผ่านการพัฒนามาแล้ว จากการเร่งสร้างเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ได้บทเรียนหลายอย่างที่ผิดพลาด และพยายามหามาตรการแก้ไข จึงมีแนวคิดที่จะนำอุตสาหกรรมมลพิษสูง ออกจากประเทศตนเอง โดยการสนับสนุนไปลงทุนต่างประเทศ เป็นต้น. และหนึ่งในนั้นคือประเทศไทยเรานี้เอง ใกล้ตัวสุดขณะนี้ก็คือ โครงการโรงถลุงเหล็ก บางสะพาน ที่กลุ่มพี่น้องบางสะพาน ในนามกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง และพี่น้องกลุ่มอนุรักษ์ฯ บ้านกรูด ร่วมต่อสู้มากว่า 2 ปี ซึ่งเริ่มจากคนกลุ่มเล็ก ๆ เพียง 3 คน ที่มีความรู้สึก หวงแหนต่อทรัพยากรของชุมชน ที่เคยใช้ประโยชน์มาจากอดีตถึงปัจจุบัน กำลังจะถูกทำลายจากทุนเห็นแก่ตัว ก็คือป่าพรุแม่รำพึง กว่า 2,000 ไร่ ที่ชาวบ้านเรียกมาแต่โบราณว่า"ในพรุ" โดยมีพื้นที่รวมกับวนอุทยาน เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ 1,200 ไร่ เป็นระบบนิเวศ 3 น้ำ ที่เชื่อมต่อกับทะเลโดยคลองแม่รำพึง และป่าพรุแห่งนี้ก็ยังเป็นต้นคลองแม่รำพึง เป็นแก้มลิงธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สุดก่อนระบายลงสู่ทะเลของ อำเภอบางสะพาน ที่มีพื้นที่น้ำท่วมถึงในฤดูน้ำหลากถึง เกือบ 3,000 ไร่ ระดับน้ำสูงเกือบ 3 เมตร และยังเป็นที่สร้างระบบห่วงโซ่อาหาร ส่งลงธารลำเลียงคลองแม่รำพึง ออกไปสู่แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำในอ่าวบางสะพาน โดยเฉพาะแหล่งวางไข่ปลาทูที่ใหญ่และหนาแน่นที่สุดแห่งเดียวในอ่าวไทย หลักฐานจากกรมประมงที่มีการปิดอ่าวทุกปี บนเนื้อที่ 26,400 ตารางกิโลเมตร

จากการเข้าตรวจสอบของกลุ่มชาวบ้านช่วงแรก ประมาณปลายปี พ.ศ.2549 ที่ยื่นหนังสือ สอบถามและคัดค้านไปตามหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อม ๆ ไปกับการเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในชุมชน ได้ทราบถึงการถูกแย่งชิงทรัพยากร และที่สาธารณะที่เตรียมจะสร้างโครงการขนาดใหญ่กลางชุมชน ก็คือโรงถลุงเหล็ก จากนั้นการรวมตัวของชาวบ้านก็เพิ่มมากขึ้น จากการนำข้อมูลข่าวสารบอกต่อกัน และปรึกษาหารือกันถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อชุมชน แน่นอนคือผลกระทบต่าง ๆ ที่จะตามมาอีกมากมาย จึงเกิดการค้นหาและแลกเปลี่ยนความคิดกับสมาชิกที่มีในกลุ่ม และนอกกลุ่ม เพื่อหาหนทางรู้ลึกถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น จึงได้รวมตัวกันกับกลุ่มอนุรักษ์บ้านกรูด ที่มีประสบการณ์จากการต่อสู้กับโรงไฟฟ้ามลพิษสูงมาก่อน คือโรงไฟฟ้าหินกรูด

และจากช่วงเวลาที่เปลี่ยนจากการพัฒนาของกลุ่มทุน จึงทำให้งานนี้ไม่ง่ายอย่างที่คิด จำเป็นที่สุดที่ทางกลุ่มชาวบ้านต้องมีในขณะนี้ก็คือ ความสามัคคีในการรวมกลุ่ม, ข้อมูลเชิงลึก, เหตุและผล, ความเข้มแข็ง, ในการยืนระยะเวลาช่วงต่อสู้ให้ได้. จากการแลกเปลี่ยนทางความคิด ไปสู่การปฏิบัติ จึงเกิดการวิวัฒนาการต่อยอดทางความคิดเกิดขึ้นมากมายที่หลายคนเรียกว่าชุมชนเข้มแข็ง แต่กลุ่มทุนเรียกว่า"พวกขวางความเจริญ" ในทางยุทธ์ศาสตร์การต่อสู้กับทุนครั้งนี้ มีความแตกต่างจากที่อื่นอยู่บ้างก็คือ กลุ่มทุนอาศัยอยู่ในพื้นที่มานาน มีผลประโยชน์เอื้อถึงบุคคลหลายกลุ่มในพื้นที่ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ และกลุ่มอิทธิพลท้องถิ่นหลายภาคส่วน

ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ชาวบ้านต้องทำงานหนักทุกด้านในเวลาที่จำกัด ซึ่งต้องแข่งกับการรุกรานทางทรัพยากรธรรมชาติของกลุ่มทุนที่ไม่เคยหยุดนิ่ง จึงจำเป็นต้องค้นข้อมูล ลำดับเรื่องราว พร้อมไปกับเพิ่มมวลชน ทำความเข้าใจกับพี่น้องที่ยังไม่ทราบข้อมูล ซึ่งเป็นไปด้วยความยากลำบากอย่างยิ่ง เนื่องจากส่วนใหญ่เกรงกลัวผู้มีอิทธิพลและถูกแย่งชิงโดยการใช้ทุน พวกเราเป็นชาวบ้านธรรมดาที่มิใช่นักวิชาการ แต่ต้องลุกขึ้นมาเรียนรู้อย่างหนัก ด้วยเหตุการณ์บังคับให้ลำดับเรื่องราวย้อนหลัง ถึงที่มาที่ไป และสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้คือโครงการเดิมที่ก็มีผลกระทบกับชุมชนพอสมควร เรียนรู้โครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้นอย่างละเอียด ติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เรียนรู้หน่วยงานรัฐที่มีบทบาทเกี่ยวข้องทุกกระทรวง ทบวง กรม จึงลำดับเรื่องราวท้องถิ่นเดิมที่มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว และสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้พอสมควร คือ

เริ่มจาก อำเภอบางสะพาน คือหนึ่งในอำเภอของจังหวัดประจวบฯ ซึ่งเป็นจังหวัดที่เป็นจุดแคบที่สุดเพียง 12กิโลเมตรที่ที่ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง และมีชายหาดยาวเหยียดทางด้านทิศตะวันออก ซึ่งติดอ่าวไทย เป็นระยะทาง 224.8 กิโลเมตร เป็นเมืองชายทะเลที่สวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้ยังมีทิวเขาสลับซับซ้อน สมดังความหมายของชื่อจังหวัดที่แปลว่า "เมืองที่เป็นภูเขาเป็นหมู่ ๆ ยาวพืดทั่วไป" ดังนั้น นอกจากแหล่งท่องเที่ยวประเภทชายหาดแล้ว ยังมีป่าเขาที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว สำหรับผู้ที่รักความสงบสวยงามของธรรมชาติอีกด้วย และยังมีสิ่งที่ดีที่สุดขึ้นชื่อที่สุดอีกอย่างก็คือ แหล่งทองเนื้อเก้า หรือที่เรียกว่าทองนพคุณ ดังมีคำขวัญประจำจังหวัดก็ คือ "เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สับปรด สวยสด หาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ป่าชุ่มน้ำผืนใหญ่ แหล่งวางไขปลาทู" สองวักหลังผมเติมเอง

แต่ที่น่าสนใจ กลับถูกกำหนดพื้นที่จังหวัดประจวบฯ ให้มีการส่งเสริมการลงทุนเขต 3 สิทธิ์ลดหย่อนภาษีสูงสุดจาก (BOI) โดยเฉพาะอำเภอบางสะพาน เดิมทีก่อนปี พ.ศ.2530 มีเพียง 6 ตำบล แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าเหตุใดจึงมีการแยกตำบลกำเนิดนพคุณ ที่มีพื้นที่เดิมประมาณ 104 ตารางกิโลเมตร ซึ่งถือว่ามีพื้นที่น้อยกว่าตำบลอื่นๆ อีกหลายตำบล แต่ได้ประกาศแยกหมู่ 1 ถึงหมู่ 6 ออกมาเป็นตำบลรำพึง เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2530 มีพื้นที่ 36.08 ตารางกิโลเมตร (หรือ 22,550 ไร่) และมีการประกาศผังเมืองให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม (พื้นที่สีม่วง) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เกือบทั้งตำบล โดยทุนกลุ่มนี้เข้าไปมีบทบาทในการกำหนดอย่างชัดเจน ทั้ง ๆ ที่พื้นที่จริงเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เป็นวนอุทยาน เป็นพื้นที่ชุมชนอยู่อาศัย แหล่งท่องเที่ยว พื้นที่เกษตร และประมง แสดงให้เห็นถึงว่ามีการกำหนดทุกอย่างเอาไว้ล่วงหน้าโดยประชาชนในพื้นที่ไม่ได้มีส่วนรู้เห็น และไม่เข้าใจ ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับกลุ่มทุนกลุ่มนี้เข้ามามีบทบาทในพื้นที่คือประมาณปี พ.ศ. 2528-2529 โดยมีการรวบรวมที่ดินอย่างแยบยล

คือตั้งเป็น บริษัททางการเกษตร ชื่อ บริษัทบางสะพานการเกษตร จำกัด ในการซื้อที่ดิน (ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นบริษัทประจวบพัฒนา จำกัด) และเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านไม่เท่าทันข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งกลุ่มทุนมองประโยชน์จากพื้นที่ไปในทิศทางเดียวในการลงทุน คือให้ประโยชน์สูง ลงทุนต่ำ ไม่ได้คำนึงถึงความสำคัญของพื้นที่และวิถีชีวิตชุมชนอย่างละเอียดแท้จริง และที่ดินส่วนหนึ่งก็ได้มาโดยไม่ถูกต้องโปร่งใส ทับที่สาธารณะ เป็นป่าชายเลน เป็นทางน้ำในสมัยนั้นก็ได้ถูกตรวจสอบจากภาครัฐมีปัญหากว่า 50 แปลง จำนวนประมาณ 900 ไร่ แต่ปัจจุบันมีหลักฐานการเช่าที่ อบจ.เพียง 300 ไร่ (จากเดิมอ้างมีเอกสารสิทธิ์ถูกต้อง) ค่าเช่าประมาณ 1 ล้านบาทต่อปี ที่เหลือยังไม่ทราบที่มาที่ไป แต่ส่งผลกระทบต่อชาวบางสะพานเรื่องน้ำท่วมซ้ำซากตลอดมา ปีละหลายครั้ง เสียหายกว่า 100 ล้านบาทต่อปี คุ้มกันหรือไม่ ใครรับผิดชอบ โดยเฉพาะนักการเมืองท้องถิ่น และข้าราชการต่างก็ผลัดเปลี่ยนกันเสพผลประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนใคร

นับวันในตำบลแม่รำพึงเอง แตกแยกฆ่าฟันแย่งชิงผลประโยชน์กันเห็น ๆ ไม่เว้นญาติพี่น้องที่ต้องแตกแยกกันหนักขึ้นทุกวัน...หากแต่ว่าโครงการที่ไม่โปร่งใสนี้เกิดขึ้นได้ เท่ากับว่าเม็ดเงินจะเสริมพลังให้กับผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ ให้รุนแรงยิ่งใหญ่ขึ้นไปอีก ต่อยอดอันธพาลปลายแถวให้เติบโตมาสร้างความเดือดร้อนให้เมืองบางสะพานไม่สามารถสงบสุขอีกต่อไป ในอนาคตและชาวบ้านก็จะไม่สามารถปกปักรักษาทรัพยากรของท้องถิ่นได้อีกต่อไป

ในอดีตชาวบ้านในอำเภอบางสะพายเคยคัดค้านโครงการโรงถลุงเหล็กมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 เคยมีป้ายขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ที่กลางตลาดสดตัวอำเภอบางสะพานว่า "ชาวบางสะพานไม่ต้องการโรงถลุงเหล็ก" และในสมัยนั้นทางฝ่ายประชาสัมพันธ์ของกลุ่มทุนเอง ก็เคยรับปากชาวบางสะพานว่าไม่สร้างโรงถลุงเหล็ก จึงทำเอกสารชี้แจงว่าไม่ใช้โรงถลุงเหล็กแต่เป็นโรงรีดเหล็ก 3 โครงการที่ไม่มีมลพิษใด ๆ และเอกสารดังกล่าวชาวบ้านยังเก็บไว้เป็นหลักฐานจนถึงทุกวันนี้. แต่มาถึงวันนี้เพียงสิบกว่าปี โรงถลุงเหล็กมลพิษสูงก็ถูกหยิบยื่นให้คนบางสะพานอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ชาวบ้านไม่ได้ด้อยข้อมูลข่าวสารอย่างเช่นอดีตอีกต่อไป ที่จะใช้วิธีเดิม ๆ และที่สำคัญชาวบ้านมีบทเรียนจากโครงการเก่ามาพอสมควร เช่นอ้างความเจริญ กระจายรายได้ แท้ที่จริงความเจริญไม่ได้ทำให้คนบางสะพานดีขึ้นแต่อย่างใด ผลประโยชน์ต่าง ๆ ถูกแย่งชิงจากพรรคพวก ผู้มีอิทธิพลเครือข่ายของกลุ่มทุนเองเท่านั้น ชาวบ้านแท้ ๆ ได้แต่เป็นลูกจ้างทั่วไปพอประทังชีวิต แต่ต้องรับภาระจ่ายแพง กับข่าวของที่ดีดราคาขึ้นตามความเจริญ ทรัพยากรเดิมก็เสื่อมโทรมลงจะกลับไปทำอย่างเดิมก็ไม่ได้ ต้องซื้อน้ำดื่มเพราะชาวบ้านขาดความเชื่อมั่นน้ำฝนในบริเวณรอบโครงการเกือบทั้งอำเภอ แต่กลุ่มทุนพยายามออกมาบอกสังคมว่าน้ำฝนสะอาดดื่มได้ ชาวบ้านมีอุปทานไปเอง อยากถามว่าใครเป็นต้นเหตุอุปทาน แล้วจะแก้อย่างไรให้กลับเป็นอย่างเก่า ที่แน่ ๆ กระทบไปแล้วทุกครัวเรือน

ยังไม่รวมผลกระทบอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพประมงชายฝั่ง หรือทางสังคมอื่น ๆ อีกมากมาย ที่สำคัญกลุ่มทุนเองบอกกับสังคมมาโดยตลอดว่าอุตสาหกรรมนี้เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน เพียงสิบกว่าปีมา วันนี้บอกว่าถ้าไม่มีโรงถลุงเหล็ก โครงการเก่าไม่สามารถอยู่ได้ แล้วจะยั่งยืนได้อย่างไร และหากว่าในอนาคตถ้าโครงการโรงถลุงเกิดขึ้นได้ มลภาวะทำลายสิ่งแวดล้อมไปแล้ว ทำลายอาชีพเกษตร ประมงไปแล้ว บอกว่าไม่มีแร่เหล็กจำเป็นต้องปิดโรงถลุงเพื่อลดภาระประเทศชาติขึ้นมาอีก จะให้ชาวบ้านไปทำมาหากินอะไรกัน คนบางสะพานเกือบแสนคน โครงการรับคนงานไม่เกิน 4,000 คนเทียบกันไม่ได้เลย...

อีกตัวการใหญ่ในการกำเนิดโครงการมลพิษสูงแห่งนี้ก็คือ แผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันตก หรือที่เรียกกันว่า เวสเทิร์นซีบอร์ด ที่มีการกำหนดแผนพัฒนา แผนที่ 7 จากสภาพัฒน์ฯ ตั้งแต่ปี 2538 โดยกำหนดให้มีการขยายเขตอุตสาหกรรม ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน หรือภาคตะวันตกให้เหมือนกับนิคมอุตสาหกรรมตะวันออก ที่ไม่มีการวิเคราะห์ความเหมาะสมของพื้นที่ โดยกำหนดให้กลุ่มทุนที่มีอยู่เดิมเป็นหัวหอกในการพัฒนา โครงการจึงเกิดขึ้นด้วยความอยากมั่งคั่งของกลุ่มทุน โดยไม่ได้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อแหล่งสร้างอาหารให้ประเทศ ซึ่งความจริงแล้วการพัฒนาควรคำนึงถึงประชาชน ให้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนา ไม่ใช้เป็นเพียงผลพวงของการพัฒนา ที่สำคัญสภาพัฒน์ฯ ควรที่จะปรับแผนการพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบัน ที่แผน 10 ให้ความสำคัญต่อทรัพยากรท้องถิ่นเดิม ตามกระแสพระราชดำรัส เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงเราเป็นหลัก และเนื่องจากโครงการโรงถลุงเหล็กดังกล่าว หรืออุตสาหกรรมหนักอื่น ๆ ที่จะตามมาในนิคมอุตสาหกรรม บางสะพานหากเกิดขึ้นได้ เป็นที่รู้กันดีว่าสามารถทำกำไรให้กลุ่มทุนอย่างมหาศาล จึงไม่สนความเดือดร้อนใคร เมื่อมีชาวบ้านเดือดร้อนมาค้าน ก็บอกว่า NGO ชี้นำ

ปัจจุบันชาวบ้านบางสะพานส่วนใหญ่ในพื้นที่ มิใช่เหมือนอดีตเมื่อ 20 ปีก่อนที่อาจจะไม่เท่าทันข้อมูล จะต้องมีใครมาชี้นำ โดยเฉพาะชาวประจวบฯ อยู่ติทะเลอากาศบริสุทธิ์ มีอาหารทะเลสด ๆ กินดี มีโปรตีนสูง ฉลาดพอที่จะรู้อะไรดีหรือไม่ดีได้เอง และปัจจุบันพวกเราก็ใช่ว่าจะไม่มีความรู้ ลูกหลานคนในพื้นที่จบดอกเตอร์ก็มีมากมาย เราเองก็ใช่คนไร้การศึกษา แต่ถ้าเทียบกับการดูแลรักษาทรัพยากรแล้วก็ไม่จำเป็นต้องเรียนสูง มันอยู่ที่จิตสำนึกต่างหาก อย่าดูถูกชาวบ้านว่าใครจะมาสั่งมากำหนดชะตาชีวิตเราได้ เรามีอาชีพที่ถือได้ว่าเป็นอาชีพตามสัญชาติญาณเดิม คือเป็นผู้หาอาหาร เป็นผู้สร้างอาหาร ประมงและเกษตร ที่เรียกว่าวิถีชีวิตดั้งเดิม ไม่ต้องพึ่งพาภาคอุตสาหกรรมก็อยู่ได้ ไม่เป็นภาระภาครัฐ ประเด็นสำคัญของการไม่รับโครงการของชุมชน อยากจะให้มองที่เนื้อหาเป็นหลัก อย่ามองว่าใคร จำนวนเท่าไร หากไปคำนึงถึงจำนวนคนเป็นหลัก จะสร้างปัญหากลับให้ระบบโดยรวมในภายหลัง ที่จะสร้างความยุ่งยากให้กับการพัฒนาอีกไม่รู้จบ

ยกตัวอย่างหากพวกเราไปยื่นหนังสือที่รัฐมนตรีเพียง 20 คน ก็มักจะมองว่าคนส่วนน้อย ไม่ใส่ใจ ไม่มารับหนังสือ ไม่มาแก้ไข จะต้องให้ขนคนไปเป็นพันเป็นหมื่น ถึงจะยอมรับเป็นต้น เช่นกรณีสามจังหวัดชายแดนใต้ก็เช่นกัน ก่อนหน้านี้บอกคนกลุ่มน้อย โจรกระจอก แล้วเป็นไงจำนวนล้นกระฉอกแก้ไม่ได้จนวันนี้ ควรเก็บเป็นบทเรียนและแก้ไข กรุณาอย่าถามว่าใครค้าน จำนวนเท่าไร แต่ให้เข้าไปดูว่าเขาค้านทำไม่ ปัญหาขัดแย้งส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นทุกวันนี้มักจะมาจากการถูกเบียดเบียน เอารัดเอาเปรียบเป็นหัวใจหลัก ครั้งนี้ก็เช่นกันเกิดขึ้นที่บ้านของเราคือการเบียดเบียนทรัพยากร แย่งชิงทรัพยากร โดยการอ้างพัฒนาประเทศ แท้จริงประชาชนไม่เคยได้รับ เหลือถึงก็น้อยมาก

การพัฒนาประเทศก็เช่นกัน คนผลักดันโครงการที่เราเรียกว่าภาครัฐ รัฐคือใคร? รัฐก็คือการรวมตัวของนักการเมือง นักการเมืองคือใคร? นักการเมืองก็คือนักธุรกิจหรือเทียบเท่าที่ผลักดันตัวเองผ่านการเลือกตั้งที่ให้ประชาชนเป็นคนเลือก โดยยกย่องว่าประชาชนมีอำนาจสูงสุด แต่เอาเข้าจริงก็ใช้ทุนนำทางซื้ออำนาจประชาชน...ซะงั้น...และก็เข้าไปผลักดันโครงการต่างๆ ภาคธุรกิจที่เป็นมิตรกับตนเองโดยอ้างการพัฒนา หากนอกเหนือธุรกิจของข้า แต่ว่า...ข้าก็ต้องมีเอี่ยว

ความจริงการพัฒนาที่ดีจะต้องเอาประชาชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ไม่ใช้ให้ประชาชนเป็นผลพวงของการพัฒนา ยกตัวอย่างเราทุกคนเกิดมาจากครอบครัวเล็ก ๆ ทุกคนเวลาแม่ทำอาหารให้เรากินแม่จะถามว่าจะกินอะไรกัน แล้วก็จะจัดให้ตามความต้องการ แล้วจะถามว่าอร่อยไหมลูก แม่ก็จะมีความสุขกับการที่ให้ตามความต้องการของลูก แต่นี้การพัฒนาประเทศไม่เคยถามประชาชนแม้แต่คำเดียว แต่จะสนับสนุนเอาใจแต่กลุ่มทุนที่จะเป็นคนทำ โดยคำนึงถึงตัวเลขผลประโยชน์ตอบแทนเป็นหลักสำคัญ ผลกระทบความเดือดร้อนใครข้าไม่สน พอคนออกมาค้านก็บอกว่า NGO มีผลประโยชน์อย่างโน้น อย่างนี้ มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง สลับซับซ้อน เออ... เรื่องง่าย ๆ มันคิดไม่ออก ไอ้ที่เรื่องยาก ๆ คิดได้เป็นฉาก ๆ นี้และ...มนุษย์อาจจะเรียนมากไป จึงไม่รู้จักดินที่ตัวเองเหยียบอยู่ ไม่รู้จักบุญคุณลมหายใจบริสุทธิ์ที่หายใจได้ฟรี ๆ โดยไม่เคยคิดว่าหากเสียเงินต่อครั้งจะคิดเป็นเงินเท่าไหร่

ดังนั้นการดำเนินการจึงเต็มไปด้วยคำว่าไม่มีธรรมมาภิบาลอย่างมาก ซึ่งคำนี้เป็นคำที่กลุ่มทุนพยายามบอกว่าตนเองมีมาตลอด จากการเรียนรู้ของชาวบ้านถึงความหมายของคำว่าธรรมมาภิบาล ก็จะประกอบไปด้วย หลักธรรมมาภิบาลดังนี้คือ

1. หลักนิติธรรม : การใช้กฎระเบียบที่เป็นธรรม เป็นที่ยอมรับได้ไม่ตามกระแส ไม่ใช้อำนาจที่ตัวบุคคล มีความเสมอภาค
2. หลักคุณธรรม : การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่สังคมด้วยความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน

3. หลักความโปร่งใส: การทำงานอย่างโปร่งใส เปิดเผย เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ถูกต้อง ตรงไปตรงมา ตรวจสอบได้
4. หลักการมีส่วนร่วม : การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม รับรู้ เสนอความคิดเห็นในการบริหารงาน
5. หลักความรับผิดชอบ : ตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม มุ่งแก้ปัญหา กล้ายอมรับผลการกระทำของตน
6. หลักความคุ้มค่า : บริหารจัดการและใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดเกิดประโยชน์สูงสุด

จากส่วนประกอบของ คำว่าธรรมมาภิบาล เท่าที่เห็นต่อการเริ่มต้นของทุนกลุ่มนี้ก็คือ ไม่มีหลักความโปร่งใส ข้อที่ 3 จึงปิดกันการมีส่วนร่วมของชุมชน ข้อที่ 4 สาเหตุเพราะส่วนใหญ่การดำเนินโครงการผิดหลักนิติธรรม ข้อที่ 1 เช่นการรุกที่สาธารณะ และมีการจัดการกับชาวบ้านที่ตรวจสอบตนด้วนกฎหมายต่าง ๆ เพราะคุณไม่มีหลักคุณธรรม ข้อที่ 2 และ ไม่มีหลักความรับผิดชอบต่อชุมชน ข้อที่ 5 แต่สิ่งที่คุณมีจนเหลือเฟือก็คือหลักความคุ้มค่า ข้อสุดท้าย ที่ 6 ที่ทุกขบวนการคิดหวังเพียงความคุ้มค่าเท่านั้น โดยเป็นตัวการในการก่อเกิด คำว่าคอรับชั่น หรือฉ้อราษฎร์บังหลวง ฉ้อหลวงบังราษฎร์ ไม่สนใจว่าใครจะเดือดร้อน แตกแยกเพียงใด โดยการระดมจ้างกลุ่มนักเลง ท้องถิ่นเป็นมือเป็นไม้คอยจัดการกลุ่มผู้คัดค้าน อย่างต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่าใช้ความรุนแรงจัดการ

แท้จริงใครผู้เริ่มเหตุความรุนแรง สังคมภายนอกมองเหมือนว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้น มาจากชาวบ้านสองกลุ่ม ที่มีความคิดต่างกัน แต่หากสัมผัสลงลึกจริง ๆ แล้วมีรายละเอียดเบื้องหน้าเบื้องหลังมากกว่าที่คิด กลุ่มชาวบ้านคัดค้านโครงการส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านรอบโครงการ จาก 4 ตำบล คือ

- ตำบลแม่รำพึง (หมู่ที่ 1 บ้านดอนสำราญ, หมู่ที่ 2 บ้านท่ามะนาว, หมู่ที่ 5 บ้านปากคลอง, หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งลานควาย)
- ตำบลธงชัย บ้านกรูด
- ตำบลกำเนิด หมู่ที่2 บ้านนาผักขวง และ
- ตำบลพงศ์ประศาสน์

โดยมีเหตุผลการคัดค้านด้านทรัพยากรท้องถิ่น ป่าพรุ และวนอุทยานแม่รำพึง ที่เกี่ยวพันกับทรัพยากรชายฝั่ง วิถีชีวิตและอาชีพประมงที่เป็นแหล่งอาหารสำคัญ และด้านมลพิษ โครงการที่มีมลพิษสูงตั้งอยู่กลางชุมชนหลายหมู่บ้านห่างเพียง 100 เมตร ใกล้ทะเลที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ดีแห่งหนึ่งของประเทศ ด้วยการเคลื่อนไหวตามรัฐธรรมนูญยื่นหนังสือต่อหน่วยงานต่าง ๆ มากมาย และมีการตรวจสอบจากหน่วยงานต่าง ๆ กว่า 1 ปี ส่งผลให้มีการเพิกถอนที่ดิน และจะมีการประกาศยกระดับพื้นที่ชุ่มน้ำให้มีความสำคัญระดับชาติ

การคัดค้านที่ผ่านมาต่อโครงการขนาดใหญ่ของกลุ่มทุน แน่นอนว่าต้องไปขัดขวางผลประโยชน์ก้อนมหาศาลของคนบางกลุ่มในพื้นที่ เช่นเบื้องต้นธุรกิจปรับพื้นที่ถมดิน ของนักการเมืองท้องถิ่น และกลุ่มอิทธิพลในบางสะพาน ที่มีบรรดาลูกน้องอันธพาล กินเหล้าเมายาอยู่ในเครือข่ายเป็นไม้เป็นมือให้ เสนอตัวเข้าจัดการกับกลุ่มคัดค้านโดยมีข้อเสนอเป็นงบประมาณลับ ๆ ส่งผ่านโครงการบริจาคสร้างภาพต่าง ๆ ในสังคมบางสะพานเป็นสิ่งจูงใจ

แต่ที่หน้าตกใจที่สุดก็คือ คุณทำให้กลุ่มวัยรุ่นที่ถือว่าเป็นเยาวชน อายุหลายคนไม่เกิน 18 ปี ถืออาวุธเช่นมีด มุ่งเข้าทำร้ายชาวบ้านที่สูงอายุกว่าโดยไม่มีเรื่องบาดหมางกันมาก่อน ไม่รู้จักหน้ามาก่อน และดูเหมือนจะหมายเอาชีวิตด้วยซ้ำ ด้วยค่าจ้างเพียง 300 บาทได้ นี่หรือธรรมาภิบาล และอีกผลประโยชน์หนึ่งที่ล่อใจจะแบ่งให้ก็คือโคว์ต้าในการถมดินที่มีเม็ดเงินมหาศาลเช่นกัน จึงมีการจัดตั้งกลุ่มสนับสนุนโครงการขึ้นมา ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือเหยื่อของกลุ่มทุนที่เรียกว่าการพัฒนา ถึงจะมีการออกมาปฏิเสธว่า ไม่รู้ไม่เห็น ไม่ข้องเกี่ยว แต่ความจริงก็คือความจริง นับวันหาก ว่ากลุ่มทุนที่ชุมชนถือว่าเป็นบุคคลภายนอก ที่จะเข้ามาทำผลประโยชน์ในชุมชน ไม่มีความจริงใจ ไม่มีธรรมมาภิบาลจริง ใช้เล่ห์เหลี่ยมกลอุบายด้วยทุนที่เหนือกว่า แต่อย่าลืมว่าสังคมส่วนใหญ่จับตาดูอยู่ จะเดินหน้าโดยไม่สนใจใยดีคนรอบข้างซึ่งถือว่าเป็นชุมชนเจ้าของพื้นที่ ที่อาศัยมาก่อนเป็นเวลาช้านาน โดยอ้างกฎหมายแต่ไร้คุณธรรมที่แท้จริง อย่าว่าแต่หลอกสังคมเลย ถือว่าหลอกตัวเองด้วยซ้ำ เพียงเท่านี้ยังไม่สามารถออกมารับความจริงได้ แล้วจะพัฒนาแข่งขันกับต่างชาติตามที่อ้างได้อย่างไร

อีกอย่างที่ทำให้ความรุนแรงเกิดขึ้น น่าจะมาจากขบวนการแทรกซึมเอื้อเฟื้อของกลุ่มทุ่นที่เกิดขึ้นต่อหน่วยงานรัฐ ในท้องถิ่นบางสะพาน ซึ่งมีตั้งแต่ผลประโยชน์ การบริจาค จนกลุ่มทุนเข้าไปนั่งเป็นกรรมการ ตำรวจระดับสถานีตำรวจ (หรือโรงพัก) หลายคน จนสามารถรับประกันกับกลุ่มสนับสนุนว่าไม่มีปัญหา เคลียร์ได้ จนกลุ่มอันธพาลมั่นใจที่จะกระทำอะไร ที่ไหนก็ได้ไม่เกรงกลัวใคร สามารถถืออาวุธในสถานที่ราชการต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ ข้อสังเกตกลุ่มชาวบ้านคัดค้านด้วยเหตุด้วยผลเกือบสองปี ไม่มีความรุนแรงใด ๆ แต่กลุ่มที่อ้างสนับสนุนเกิดขึ้นมาไม่ถึง 3 เดือนประทุความรุนแรงต่อเนื่อง โดยมีกำลังที่ต่างกันมาก

นั่นคือ กลุ่มคัดค้านเป็นชาวบ้านที่ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและสูงอายุ แต่กลุ่มสนับสนุน มีแต่ชายฉกรรจ์และวัยรุ่นต้องมีเหล้าเบียร์และอาวุธทุกครั้งที่ออกมาเคลื่อนไหว ปัญหาจนถึงวันนี้ชาวบ้านพอสรุปได้ว่า กลุ่มทุนไม่เคยยอมรับว่าตนผิดแม้แต่เรื่องเดียว ชาวบ้านชี้ให้เห็นสิ่งที่ผิดแต่กลุ่มทุนไม่เคยชี้แจงหรือยอมรับ แต่กลับไปสร้างกลุ่มสนับสนุนตนว่าไม่ผิด ถือเป็นการสร้างความแตกแยกที่เห็นแก่ตัวที่สุด เอารัดเอาเปรียบประชาชนที่ด้อยกว่าทุก ๆ ด้านอย่างไม่มีคุณธรรม ใช้เงินเปลี่ยนผิดเป็นชอบ เปลี่ยนรุกเป็นเช่า ตลอดมา

ปัจจุบันและอนาคต เรื่องที่ชาวบางสะพานต้องต่อสู้ตรวจสอบ เพิ่มขึ้นอีกมากมายคือ
1. การรุกที่สาธารณะป่าชายเลน กว่า 1,000 ไร่
2. นิคมอุตสาหกรรมเหล็ก บางสะพาน หรือเวสเทิร์นซีบอร์ด
3. โครงการโรงถลุงเหล็กครบวงจร 500,000 ล้านบาท
4. โครงการท่าเรือน้ำลึก 2.04 ก.ม.
5. โครงการขุดคลอง แก้ปัญหาน้ำท่วม บิดเบือน 1,200 ล้านบาท
6. เขื่อน และ ฝายกักเก็บน้ำเพื่อโครงการ 4 ลูก
7. ผังเมืองรวมบางสะพาน
8. ถนนตัดผ่านชุมชน เพชรเกษม-ท่าเรือน้ำลึก
9. พื้นที่ใกล้เคียงติดกันเช่น โรงไฟฟ้าถ่านหินทับสะแก
10. โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อ.ประทิว

เป้าหมายสูงสุดในการต่อสู้ของเราก็คือ กลับไปใช้ชีวิตปกติธรรมโดยไม่มีการต่อสู้ใด ๆ อีก อันหมายถึงไม่มีผู้ก่อการร้ายมาเบียดเบียนธรรมชาติอีกต่อไป แต่หากผู้ก่อการร้ายยังไม่หมดไป เราก็จะดูแลรักษาแหล่งอาหารระดับชาติแห่งนี้ และพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ให้คงไว้ด้วยวิถีชีวิตดั่งเดิมที่ยั่งยืนจริง เราได้จริง ทั่วถึงจริง ต่อไปชั่วลูก ชั่วหลานโดยไม่ย่อท้อ....ตลอดไป

และวันนี้ ถือได้ว่าเป็นวันที่สำคัญมาก พวกเรารู้สึกได้อย่างดีว่า เราไม่ใช้อยู่เพียงลำพัง เราไม่ได้โดดเดี่ยวในสภาวะที่สับสนวุ่นวายทั้งกายและใจ ต่อการที่ลุกขึ้นมาเผชิญกับปัญหาที่เราไม่เคยคิด และเราไม่ได้เป็นผู้ก่อ ที่สำคัญมันไม่ใช้เรื่องของคนใดคนหนึ่ง มันเป็นเรื่องของทุกคนในชุมชน ในประเทศ และในโลกใบนี้ เหรียญรางวัลที่ได้รับวันนี้ ไม่ใช้รางวัลที่ได้มาจากการแข่งขันหรือแย่งชิงด้วยวิธีการใด ๆ ในความอยากจะได้ แต่ได้มาจากผู้ที่ติดตามพวกเรามา และมอบให้จากกิจกรรมที่เราไม่ได้อยากจะทำตามความรู้สึก แต่ต้องทำด้วยเหตุการณ์บังคับอย่างจดจ่อและตั้งใจ อย่างแข็งขันและยาวนานและอาจจะยาวไกล ซึ่งท้อมิได้ อันนี้ต่างหากที่ภาคภูมิใจที่สุดที่อีกด้านหนึ่งของมนุษย์ที่ไม่อยาก แต่ต้องทำ..จนชนะใจตนเอง ชนะใจผู้เฝ้าดู ชนะใจคนที่เข้าใจ และได้มาซึ่งสัญลักษณ์ที่สุดของการเสียสละ... คือ เหรียญเจริญ วัดอักษร...

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ส่วนที่ ๒
วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๑ คณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้เดินทางจากอำเภอบางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ ไปยังกรุงเทพฯ โดยได้จัดให้มีการเสวนาทางวิชาการที่ สมาคมนักข่าวและนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในัหวข้อ "การเมืองไทยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปฏิปักษ์ประชาธิปไตย" โดยผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย คุณไพโรจน์ พลเพชร สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, รศ. ดร. เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, รศ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, รศ.ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, อ. ไพสิฐ พาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หลังจากการเสวนาทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ออกแถลงการณ์เรื่อง "ไปให้พ้นจากรัฐธรรมนูญฉบับปฏิปักษ์ประชาธิปไตย" โดย รศ.สมเกียรติ ตั้งนโม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเสนอให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยใช้กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญมาจากข้างล่างหรือประชาชนแบบปี ๔๐ แทนที่ ๓๐ อรหันต์ที่ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาแล้ว กลายเป็นฉบับอำมาตยาธิปไตย(อุบาทวาธิปไตย) ซึ่งก่อให้เกิดความแตกแยก ลดอำนาจฝ่ายบริหาร เพิ่มอำนาจฝ่ายตุลาการ จ้องทำลายพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม และสร้างองค์กรอิสระในกำกับ

สำหรับในส่วนที่ ๒ นี้ได้แบ่งออกเป็น ๓ หัวข้อดังต่อไปนี้

๑. แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน "ไปให้พ้นจากรัฐธรรมนูญฉบับปฏิปักษ์ประชาธิปไตย"
๒. เสวนา"การเมืองไทยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปฏิปักษ์ประชาธิปไตย"
๓. มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เสนอยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ ๕๐ ใหม่ทั้งฉบับ (รายงาน)

๑. แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไปให้พ้นจากรัฐธรรมนูญฉบับปฏิปักษ์ประชาธิปไตย

แม้มีความคาดหวังของบางฝ่ายว่าการลงประชามติรับรัฐธรรมนูญ 2550 และการเลือกตั้งเมื่อ 23 ธันวาคมที่ผ่านมา จะทำให้สังคมการเมืองไทยสามารถหวนกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยได้อย่างมั่นคง แต่ก็เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ความคาดหวังดังกล่าวล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิง

ความล้มเหลวนี้เป็นที่คาดหมายกันมาก่อนล่วงหน้า รัฐธรรมนูญ 2550 เป็นสาเหตุสำคัญของความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมการเมืองไทย เนื่องจากทั้งที่มา เจตนารมณ์และโครงสร้างทางการเมืองที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญมีปัญหาความชอบธรรมอย่างมาก ความพยายามสถาปนาระบอบรัฐสภาภายใต้อำมาตยาธิปไตยที่ไร้ความรับผิดชอบต่อประชาชนเป็นระบอบที่ยากจะดำรงอยู่ในสังคมประชาธิปไตย

แต่ในอีกด้านหนึ่ง ความพยายามผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ทำให้เกิดคำถามว่าจะเป็นไปเพียงเพื่อประโยชน์ของนักการเมืองและพรรคพวกหรือไม่ โดยไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ของสังคมเป็นที่ตั้ง ดังจะเห็นได้จากการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญในบางมาตรา ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้กับนักการเมืองบางกลุ่มเท่านั้น แม้พรรคการเมืองจะมีความสำคัญต่อระบบรัฐสภา แต่ประสบการณ์ของสังคมการเมืองไทยในยุคของพรรคไทยรักไทย ก็เป็นบทเรียนที่ชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของระบอบประชาธิปไตยแบบผู้เทนที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเช่นเดียวกัน

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้มีแนวโน้มที่จะขยายตัวไปสู่การเผชิญหน้าได้อีกครั้งหนึ่ง คำถามสำคัญที่สังคมไทยต้องร่วมกันขบคิดก็คือว่าจะก้าวไปให้พ้นจากสภาวะของความขัดแย้งและสร้างระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งการรัฐประหารและอำนาจนอกระบบย่อมมิใช่คำตอบอย่างแน่นอน ดังรัฐประหาร 19 กันยายน เป็นตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจน

ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มีความจำเป็นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง การคงรัฐธรรมนูญไว้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะเป็นให้ระบบรัฐสภาและพรรคการเมืองมีความอ่อนแอในระยะยาว โดยมีเหล่าอำมาตย์จากระบบราชการเป็นผู้ทำหน้าที่ควบคุม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนมีความเห็นว่าแนวทางในการจะก้าวให้พ้นไปจากรัฐธรรมนูญ 2550 อย่างสันติจะเกิดขึ้นได้ ดังต่อไปนี้

ประการแรก การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงทั้งในแง่ที่มา เจตนารมณ์ และโครงสร้าง ซึ่งความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพียงบางมาตรา หากต้องมีการแก้ไขเพื่อให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นทั้งฉบับ โดยนำเอาแนวทางการร่างรัฐธรรมนูญ 2540 มาเป็นต้นแบบในเชิงกระบวนการ

ประการที่สอง การจะทำให้เกิดรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายจะเกิดขึ้นได้จากกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง การทำประชาพิจารณ์อย่างแท้จริงว่าจะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่การร่างใหม่ทั้งฉบับ จะเป็นแนวทางที่ทำให้การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เกิดขึ้นจากฉันทามติของสังคมไทย และจะเป็นฐานความชอบธรรมที่ทำให้รัฐธรรมนูญดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
30 มีนาคม 2551

๒. เสวนา"การเมืองไทยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปฏิปักษ์ประชาธิปไตย
โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา (รายงาน) http://www.tjanews.org/cms/index.php?option=com_content&task=vie...
1 of 2 3/30/2008 8:18 PM

วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม 2008 10.00-12.00 น.
ม.เที่ยงคืนจวกรัฐธรรมนูญปี 50 เป็นฉบับอุบาทวาธิปไตย จี้รัฐแก้ทั้งฉบับ เชื่อแก้หนีบางมาตราย่อมเกิดการเผชิญหน้า แขวะมีการแก้เพื่อแลกผลประโยชน์สองกลุ่ม ใช้ ม. 309 เป็นตัวล่อ ส่วน ประชาชนตกเป็นเหยื่อ

ที่สมาคมนักข่าวฯ ได้มีการจัดเสวนา การเมืองไทยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปฎิปักษ์ประชาธิปไตย จัดโดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นายสมชาย ปรีชาศิลปกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, นายไพสิฐ พาณิชย์กุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, นายอรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, และนายชำนาญ จันทร์เรือง
อาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

นายสมเกียรติ ตั้งนโม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กล่าวว่า การเสวนาเรื่องนี้เนื่องจากมีการนำเสนอในการแก้ไขรัฐธรรมนูญและบรรยากาศทางการเมืองเป็นแบบอำเภอใจพอสมควร อย่างกรณีนายสมัคร สุนทรเวช นายกฯ พูดกับนักข่าวว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตรา โดยไม่ต้องถามฝ่ายค้านและจะไม่ทำประชามติ แบบนี้จะทำให้กลับไปสู่การเมืองเผด็จการรัฐสภาอีกครั้ง ดังนั้นเราขอเสนอให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เนื่องจาก

1. จากเหตุการณ์19 ก.ย. 49 เราได้ 30 อรหันต์มาร่างรัฐธรรมนูญ ภายใต้บรรยากาศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
2. รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นเรื่อง"ขวาพิฆาตขวา" คนข้างบนเล่นคนข้างบน โดยประชาชนเป็นเหยื่อ ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรทั้งสิ้น และ
3. รัฐธรรมนูญที่ออกมาเป็นฉบับอุบาทวาธิปไตย (ไม่ใช่อำมาตยาธิปไตย) แปลว่าอำนาจทางการเมือง 3 ส่วนก้าวก่าย ทับซ้อน มันไม่คานดุลกัน ดังนั้นแบบนี้เราไม่เอาทั้งสิ้น

นายเกษียร กล่าวว่า แนวโน้มทางการเมืองไทย 4-5 ปีข้างหน้าจะมีเหตุการณ์ทะเลาะกันหลายเรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องระบอบการเมืองการปกครอง คือ

ระบอบประชาธิปไตยไม่เสรี และระบอบเสรีไม่ประชาธิปไตย. แม้ประเทศไทยจะเป็นประชาธิปไตย แต่ในแง่ระบอบนิติธรรมกลับไม่เสรี เป็นรูปแบบหนึ่งที่ทำให้ประชาชนอยากย้อนกลับไปสู่ระบอบทักษิณ ซึ่งคู่ชกของเขาคือระบอบเสรีแต่ไม่เป็นประชาธิปไตย อย่างพวก คมช.คือปฏิเสธความเสมอภาคของประชาชน จึงให้คนจำนวนหนึ่งมาร่างรัฐธรรมนูญ ให้คนจำนวนหนึ่งมาปกครอง แล้วบอกตัวเองอยากแก้เรื่องเสรีภาพ. หลักนิติธรรมเป็นระบอบที่อ้างเสรี แต่ไม่ให้ประชาธิปไตย ทำให้พรรคการเมืองถูกจำกัดและทำให้อ่อนแอลง

นอกจากนี้การเมืองไทยจะเกิดการเผชิญหน้าระหว่าง "เครือข่ายอำนาจราชการที่มีอยู่ในกลุ่มบุคคลที่ถูกเรียกว่าผู้มีอำนาจนอกระบบ" และ"เครือข่ายทักษิณ" ซึ่งก็ยังมีการต่อสู้กันระหว่าง 2 กลุ่ม และใช้ประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพประชาชนเป็นเดิมพัน

นายเกษียร กล่าวต่อว่า หากดูรายละเอียดในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการแก้ไขเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับการเมืองภาคตัวแทน ไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรกับการเมืองภาคประชาชน แก้ให้นักการเมืองได้อำนาจแต่ประชาชนไม่ได้อะไรเลย กลับสู่กรอบเก่า แล้วมีการนำอำนาจประชาชนไปแลกเปลี่ยกัน เอาสิทธิเสรีภาพของเราไปแลก
จะเห็นได้ว่ามีการเอารัฐธรรมนูญ มาตรา 309 ไปแลกไม่ให้มีการแก้ไข ทั้งที่มาตราดังกล่าวละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน และจริงแล้วก็มีกฎหมายอื่นที่ควรแก้มากกว่านี้อย่าง พ.ร.บ.ความมั่นคง

จะเห็นว่ากระบวนการแก้รัฐธรรมนูญก็จะทำโดยเร่งรัดโดยเร็ว โดยออกมาบอกว่าไม่อยากรบกวนประชาชน ดังนั้นเห็นได้ชัดว่า ประชาชนกลายเป็นเบี้ยให้คุณแลกอีกแล้ว สิ่งที่ตนวิตกคือแก้แบบนี้ประชาชนจะลงเอยแบบซวย 2 ต่อ คือ ได้ระบบประชาธิปไตยครึ่งใบแบบไม่เสรี ดังนั้นต้องให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไข
ไม่ใช้เอาอำนาจประชาชนไปต่อรอง ไม่ใช่แบบ 2 เครือข่ายนึกอยากทำอะไรก็ทำ

ด้านนายสมชาย กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองจะเกิดปฏิปักษ์ของ 2 ฝ่ายซึ่งอยู่รวมกันไม่ได้ คือ

- กลุ่มหนึ่ง มุ่งสนับสนุนอมาตยาธิปไตยใหม่ คือ ระบอบรัฐสภาที่มีอยู่ แต่ทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุมเทวดาอีกกลุ่มหนึ่ง ที่อยู่ในรูปองค์กรอิสระที่เข้ามาควบคุม คือประชาชนไม่ได้มีอำนาจ แต่มีกลุ่มคนที่มีอำนาจอีกกลุ่มหนึ่งคอยควบคุมนักการเมือง บทบาทที่เราเห็นคือพิทักษ์รัฐธรรมนูญ 2550 และ

- กลุ่มที่สอง พวกที่มาจากพรรคการเมือง สิ่งที่เกิดขึ้นคือการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อที่จะสร้างและช่วงชิงอำนาจทางการเมืองให้เกิดขึ้น เห็นได้ว่ามาตราที่พรรคพลังประชาชนเสนอแก้ไขเพื่อให้อำนาจนักการเมืองเพิ่มสูงขึ้น ให้นักการเมืองอยู่ภายใต้การเลือกตั้ง ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มจะเป็นภาพการเมืองไทยต่อไป

นายสมชาย กล่าวต่อว่ารัฐธรรมนูญไทย 2550 มีลักษณะเด่น 3 ด้าน คือมาจากการทำรัฐประหาร และปกป้องพวกที่ทำรัฐประหาร ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอลง และทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าระบอบอำมาตยาธิปไตยที่ไร้การตรวจสอบ อำนาจอันนี้ปราศจากการตรวจสอบกำกับ ไม่มีบทบัญญัติไหนที่บอกว่าหากเลือกมาผิดพลาดผู้เลือกเข้ามาต้องรับผิดชอบอย่างไร ซึ่งตรงนี้ต้องระวัง จึงเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ยืนอยู่กับระบอบอำมาตยาธิปไตยใหม่ ตั้งแต่เกิดขึ้น เป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่สมานฉันท์ เป็นการปิดประตูตีแมว ไม่เหมาะกับสังคมไทยต่อไป

ซึ่งอนาคต หากไม่แก้รัฐธรรมนูญเราจะมีระบบรัฐสภาที่มีพรรคการเมืองหน่อมแน่ม เพราะพรรคการเมืองพร้อมที่จะถูกยุบได้ทุกเมื่อ พรรคการเมืองมีพลังในการต่อรองน้อย หลักนิติธรรมจะถูกทำลายต่อไป เพราะการทำรัฐประหารได้ถูกรับรองในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ในมาตรา 309. แต่หากมีความพยายามจะแก้อย่างแนวทางที่พรรคพลังประชาชนทำอยู่ จะทำให้มีแนวโน้มในการเผชิญหน้ามากขึ้นระหว่างกลุ่มพันธมิตรรากหญ้าและกลุ่มพันธมิตรที่มีผู้นำเป็นคนชนชั้นกลาง ทำให้การเผชิญหน้าและการเป็นปฏิปักษ์อาจเกิดขึ้น หรือไม่ก็อาจเกิดการแลกผลประโยชน์เกิดขึ้น อาจยอมให้แก้ไขเรื่องอำนาจทางการเมือง แต่ไม่มีการแก้ไขในมาตรา 309

นายไพสิฐ กล่าวว่า เมื่อเทียบกับรัฐธรรมนูญปี 2540 มีตัวปัญหาเยอะ แต่รัฐธรรมนูญปี 50 เป็นการตัดตีนให้เท่ากับเกือกมากกว่า กล่าวคือ เป็นรัฐธรรมนูญที่ย้อนยุคระบบราชการไป 20 ปี อันเป็นระบบราชการที่พยายามวิ่งหาอำนาจ ทำให้กลุ่มการเมืองภาคประชาชนที่เติบโตมาต้องหยุดชะงัก และจะเกิดการปะทะกัน
หากปล่อยไประบบราชการใช้อำนาจรุกรานคนที่อ่อนแอคือคนจน ซึ่งจะทำให้เกิดความรุนแรงเกิดขึ้น
และนำไปสู่การติดตันทางการเมือง

ส่วนทางออกไม่ใช่ทำเพียงแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างที่พรรคพลังประชาชนทำ แต่อยากให้มองไกลๆ ว่า หากให้ผ่านพ้นไป ต้องสถาปนาความคิดทางการเมืองใหม่ว่า เป้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่แก้ไขอย่างเดียวแต่เราต้องพัฒนาด้านอื่นๆ ด้วย (เช่น สื่อ ควรเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้ มากกว่าแค่รายงานข่าว)

ผู้ สื่อข่าวรายงานหลังการเสวนา นายสมเกียรติ ได้อ่านแถลงการณ์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเรื่อง
การไปให้พ้นจากรัฐธรรมนูญฉบับปฏิปักษ์ประชาธิปไตย (ดังหัวข้อที่ 1 แถลงการณ์ฯ ข้างต้น)

๓. มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เสนอยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ ๕๐ ใหม่ทั้งฉบับ
INN Politic News :: http://www.innnews.co.th/politic.php?nid=99279
1 of 1 3/30/2008 8:21 PM


มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เสนอยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ 50 ใหม่ทั้งฉบับ ชี้รัฐธรรมนูญ ปี 2550 ไม่สร้างประโยชน์แท้จริงให้ประชาชน ทำให้อำนาจ 3 ฝ่ายก้าวก่ายและไม่คานดุลอำนาจกันมีแนวโน้มทำให้เกิดการเผชิญหน้ากัน ในการเสวนาเรื่อง "การเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปฏิปักษ์ประชาธิปไตย" จัดโดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน นายสมเกียรติ ตั้งนโม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน อ่านแถลงการณ์สรุป ว่ามหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ขอเสนอให้แก้รัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยนำรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 มาเป็นต้นแบบในเชิงกระบวนการ เพราะจากเหตุการณ์ วันที่ 19 กันยายน 2549 ผู้ร่างรัฐธรรมนูญมาจากกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและไม่มีประโยชน์ต่อประชาชน

นายสมเกียรติ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ใช่ฉบับอำมาตยาธิปไตย แต่เป็นฉบับอุบาทวาธิปไตย เนื่องจากอำนาจทั้งสามส่วนของประเทศมีการก้าวก่ายทับซ้อนไม่คานดุลกัน ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มขยายตัวไปสู่การเผชิญหน้าอีกครั้ง ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 จึงมีความจำเป็นไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า แนวโน้มทางการเมืองใน 4-5 ปีข้างหน้า จะมีเรื่องการทะเลาะกันในเรื่องใหญ่ คือ ระบอบการเมืองการปกครอง นโยบายเศรษฐกิจการเมือง ซึ่งความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้เป็นการแก้ไขเพื่อให้นักการเมืองได้อำนาจคืนมา แต่ประชาชนไม่ได้อะไรเลย. นายเกษียร กล่าวว่า สิ่งที่ควรแก้ไขมากกว่ารัฐธรรมนูญยังมีอีกมาก โดยเฉพาะ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งเป็นการสร้างอำนาจรัฐซ้อนรัฐ

ส่วนกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีความพยายามที่จะรวบรัดโดยรัฐบาล จะทำเองโดยไม่เอาประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม สิ่งที่น่าวิตกหากยังคงดำเนินการแก้ไขกันไปเช่นนี้ คือ ประชาชนจะได้รับระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ไม่เสรี

นายสมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองขณะนี้กับตัวรัฐธรรมนูญจะทำให้เกิดการเมืองแบบปฏิปักษ์หรือคู่ตรงข้ามที่กลับมารวมกันไม่ได้ คือ การปะทะระหว่างผู้สนับสนุนระบอบอำมาตยาธิปไตยใหม่ ที่ไม่วางใจนักการเมือง แต่ให้ความไว้วางใจและไม่มีความระแวงกับคนที่มาจากระบบราชการ กับกลุ่มที่หนุนระบบรัฐบาลภายในอำนาจของพรรคการเมือง และนักการเมืองที่พยายามช่วงชิงอำนาจกันของนักการเมือง

นายสมชาย กล่าวว่า สิ่งที่สังคมไทยควรทำ คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยคิดถึง สิทธิเสรีภาพของประชาชน การทำให้ระบบประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองไทยกลับมาและการสร้างหลักนิติธรรม เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงในการแก้ไขมากกว่าความพยายามสร้างอำนาจของนักการเมือง

นายไพโรจน์ พลเพชร สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า การเมืองปัจจุบันเป็นการเมืองปะทะกันระหว่างความต่อเนื่องของการต่อต้านระบอบ "ทักษิณ" และความต่อเนื่องในการฟื้นระบอบ "ทักษิณ" ซึ่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เป็นตัวสะท้อนการดำรงอยู่ของระบบการเมือง โดยมีพลัง 3 ส่วน คือ พลังของการเมืองจากชนชั้นนำข้าราชการ, พลังของชนชั้นนำการเมืองภาคธุรกิจ, และอำนาจประชาชน. ดังนั้น ไม่ว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไรจะไม่สามารถสร้างเสรีภาพที่แท้จริง หรือการเมืองภาคประชาชนขึ้นเลย การแก้ไขปัญหาของรัฐธรรมนูญ คือต้องมีกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ชัดเจนว่าจะทำอะไร

นายอรรถจักร สัตยานุรักษ์ นักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กล่าวว่า ความขัดแย้งที่จะเกิดจากความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 จะทำให้เกิดความขัดแย้ง เราต้องคิดถึงการสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างสังคมกับพลเมือง โดยมุ่งให้เกิดพลเมืองและสังคมไทยที่มีความก้าวหน้าและเสมอภาค ทั้งนี้
การจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจจะต้องอยู่ในมือภาคประชาชนให้มากที่สุด

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ส่วนที่ ๓

อรุณี ศรีโต - ปาฐกเจริญ วัดอักษรประจำปี ๒๕๕๐

ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของแรงงานไทยจะขาดชื่อของคุณอรุณี ศรีโตไปไม่ได้

ในพ.ศ.๒๕๓๖ คุณอรุณี ศรีโตและกรรมการสหภาพถูกปลดออกจากงาน เหตุผลที่บริษัทให้ก็คือ โรงงานต้องการจะใช้เครื่องจักรในกระบวนการผลิต และด้วยเหตุดังนั้น แรงงานบางส่วน โดยเฉพาะที่สูงอายุ จึงไม่จำเป็น การปลดคนงานครั้งนี้นำไปสู่การยึดโรงงานไทเกรียงโดยแรงงานภายใต้การนำของคุณอรุณี อันเป็นเหตุการณ์โด่งดังที่รู้กันทั่วไป การนัดหยุดงานครั้งนี้กินเวลาประมาณ ๒ เดือน กลายเป็นปัญหาระดับชาติ เมื่อสภาแรงงานแห่งประเทศไทยจัดการประท้วงหน้าทำเนียบรัฐบาล เรียกร้องให้รับแรงงานที่ถูกปลดออกกลับเข้าทำงาน ในท้ายที่สุด บริษัทได้ยอมจ้างแรงงานทั้งหมดใหม่

ในประมาณช่วงเวลาเดียวกันนี้ กรณีเพลิงไหม้โรงงานเคเดอร์ได้ทำให้คุณอรุณี จัดตั้งคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน ภารกิจไม่แต่เพียงการช่วยเหลือแรงงานที่ประสบภัยจากไฟไหม้โรงงานอุตสาหกรรม แต่คุณอรุณียังขวนขวายมุ่งไปสู่การปฏิรูประบบสุขภาพและความปลอดภัย โดยร่วมมือกับสหภาพแรงงาน และกลุ่มแรงงานที่ประสบภัย อันอยู่ในสถาบันสุขภาพและความปลอดภัย

นอกจากนี้คุณอรุณี ศรีโตยังเป็นประธานของกลุ่มแรงงานสามัคคี องค์กรแห่งนี้จัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มสมาชิกสหภาพแรงงานหญิง เพื่อผลักดันให้แรงงานหญิงได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนำในสหภาพแรงงาน องค์กรเคลื่อนไหวรณรงค์ต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงในสถานที่ทำงาน

เป็นเพราะการนำของคุณอรุณี ศรีโตนี่เอง ที่ทำให้สหภาพแรงงานประสบความสำเร็จในการเดินขบวนเพื่อเรียกร้องนโยบายลาพักคลอด ๙๐ วัน

ในพ.ศ.๒๕๔๒ ก็เกิดวิกฤตกับไทเกรียงเป็นครั้งที่สอง คุณอรุณีและสมาชิกอีกหลายคนถูกเลิกจ้างโดยฝ่ายจัดการชุดใหม่ของโรงงาน ผู้ถูกเลิกจ้างไม่สามารถเข้าไปในเขตโรงงานได้ คุณอรุณีกับเพื่อนแรงงานกว่าร้อยจึงไปตั้งค่ายหน้าทำเนียบรัฐบาลอยู่เกือบเดือน ในช่วงนี้เองที่ทำให้กลุ่มของคุณอรุณีได้พบปะกับสมัชชาคนจน ซึ่งเดินทางเข้ามาประท้วงหน้าทำเนียบเช่นกัน กลุ่มแรงงานได้รับค่าชดเชยตามข้อเรียกร้อง เพราะโรงงานไม่ยื่นเรื่องการเลิกจ้างก่อนตามกำหนด อย่างไรก็ตามคุณอรุณีและพรรคพวกย่อมตกงาน

หลังจากนั้น คุณอรุณีก็เคลื่อนไหวจัดตั้งกรรมกรตกงานของไทเกรียง ส่วนสหภาพแรงงานของไทเกรียงก็ยังอยู่ แต่ทำงานอยู่นอกโรงงาน กรรมกรตกงานเหล่านี้ร่วมกันดำเนินงานธุรกิจชุมชน ขณะเดียวกันก็เจรจากับรัฐบาลให้ขยายการประกันสังคมมายังแรงงานนอกระบบด้วย ในปัจจุบัน แนวโน้มโรงงานทอผ้าและตัดเย็บเสื้อผ้าในกรุงเทพฯ มักปิดตัว เคลื่อนย้ายการลงทุนออกไป

เพราะการเคลื่อนไหวในประเด็นที่กว้างกว่าผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เฉพาะหน้า ทำให้คุณอรุณี ศรีโตและกลุ่มของคุณอรุณีมีเครือข่ายกว้างขวาง ในหมู่ผู้คนเล็กๆ ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบโดยทั่วไป

ความเสียเปรียบของฝ่ายแรงงานในประเทศไทยฝังแน่นอยู่ในระบบและแนวทางการพัฒนา ยากที่จะต่อรองเพื่อได้รับความเป็นธรรม เว้นไว้แต่ฝ่ายแรงงานจะเป็นหัวหอกในการผลักดันให้เกิดกฏเกณฑ์ที่เป็นธรรมขึ้นเอง แต่การที่ฝ่ายแรงงานจะมีพลังที่จะทำเช่นนั้นได้ จำเป็นต้องมีแกนนำที่เสียสละ เห็นแก่ส่วนรวม และมีสายตากว้างไกลพอจะเชื่อมโยงปัญหาของแรงงานเข้ากับปัญหาของคนเล็กคนน้อยทั่วทั้งประเทศได้ คุณอรุณี ศรีโตเป็นหนึ่งในแกนนำที่มีคุณสมบัติดังกล่าวอย่างชัดเจน ประสบการณ์อันยาวนานของคุณอรุณี ศรีโตจึงมีคุณค่าอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการทำงานกับกลุ่มแรงงานที่ตกงานซึ่งมักไม่ค่อยได้รับการเหลียวแลจากหน่วยงานใดๆ

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจึงรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่คุณอรุณี ศรีโตรับเป็นปาฐกของปาฐกถาเจริญ วัดอักษรประจำปี ๒๕๕๐ ปาฐกถาประจำปีนี้ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้จัดเป็นปีที่ ๔ แล้ว เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่คุณเจริญ วัดอักษร แกนนำกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรของชาวบ่อนอก ซึ่งได้เสียชีวิตอันมีคุณค่าไปให้แก่ทุนนิยมสามานย์ซึ่งครอบงำทั้งการบริหารและการเมืองไทยอยู่ในเวลานี้ เพื่อให้เป็นที่จดจำแก่ประชาชนชาวไทยทั่วไปว่า การที่ชาติไทยดำรงอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ และจะมีอนาคตต่อไปในภายหน้าได้ ก็เพราะความเสียสละอย่างยิ่งของประชาชนคนเล็กคนน้อย เช่นคุณเจริญ วัดอักษรเช่นนี้เอง

คุณอรุณี ศรีโตเป็นหนึ่งในคนที่พึงได้รับเหรียญแสดงปาฐกถาเจริญ วัดอักษร ก็เพราะเหตุที่คุณอรุณีเป็นพลังอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยจรรโลงชาติบ้านเมืองของเราให้มีความยุติธรรม อันเป็นธรรมที่จะทำให้ชาติมีความเข้มแข็งและมีคุณค่าที่จะดำรงอยู่ต่อไป ฉะนั้นหลังจากที่คุณอรุณี ศรีโตได้แสดงปาฐกถาจบลงแล้ว คุณกรณ์อุมา พงษ์น้อย ภรรยาของคุณเจริญ วัดอักษรจะกล่าวแสดงมุทิตาจิต หลังจากนั้น อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์จะกล่าวสุนทรกถา ก่อนจะมอบเหรียญและรางวัลแก่คุณอรุณี ศรีโต


 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๑ : Release date 31 March 2008 : Copyleft by MNU.
วันนี้ เราไม่ใช้อยู่เพียงลำพัง เราไม่ได้โดดเดี่ยวในสภาวะที่สับสนวุ่นวายทั้งกายและใจต่อการที่ลุกขึ้นมาเผชิญกับปัญหาที่เราไม่เคยคิด และเราไม่ได้เป็นผู้ก่อ ที่สำคัญมันไม่ใช้เรื่องของคนใดคนหนึ่ง มันเป็นเรื่องของทุกคนในชุมชน ในประเทศ และในโลกใบนี้ เหรียญรางวัลที่ได้รับวันนี้ ไม่ใช้รางวัลที่ได้มาจากการแข่งขันหรือแย่งชิงด้วยวิธีการใด ๆ แต่ได้มาจากผู้ที่ติดตามพวกเรามา และมอบให้จากกิจกรรมที่เราไม่ได้อยากจะทำ แต่ต้องทำด้วยเหตุการณ์บังคับอย่างจดจ่อและตั้งใจ อย่างแข็งขันและยาวนานและอาจจะยาวไกล ซึ่งท้อมิได้ อันนี้ต่างหากที่ภาคภูมิใจที่สุดที่อีกด้านหนึ่งของมนุษย์ที่ไม่อยาก แต่ต้องทำ..จนชนะใจตนเอง ชนะใจผู้เฝ้าดู ชนะใจคนที่เข้าใจ และได้มาซึ่งสัญลักษณ์ที่สุดของการเสียสละ... คือ เหรียญเจริญ วัดอักษร...
H
โรงถลุงเหล็กเป็นอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยมลพิษสูงและใช้พลังงานมหาศาล
เป็นอุตสาหกรรมขยะที่ถูกผลักจากประเทศพัฒนาแล้วไปสู่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในเอเชียเช่น จีน อินเดีย และไทย ในส่วนของผืนดินซึ่งถูกเลือกเป็นที่ตั้งโรงงานถลุงเหล็กที่อำเภอบางสะพาน โดยเฉพาะบริเวณที่กลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึงกำลังปกปักษ์รักษาอยู่ เป็นบริเวณที่ปลาทูมาวางไข่มากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งกรมประมงได้ประกาศปิดอ่าวทุกปี ส่วนบริเวณป่าชุ่มน้ำก็เต็มไปด้วยพืชพันธุ์และสัตว์นานาชนิดที่ชาวบ้านได้พึ่งพาอาศัยดังตู้กับข้าวขนาดใหญ่ เพื่อเลี้ยงคนเป็นพันเป็นหมื่นครอบครัว แต่สภาพัฒน์ฯ และบีโอไอ กลับเลือกผืนดินและบริเวณอ่าวดังกล่าวเป็นเขตอุตสาหกรรมภาคตะวันตก (western seaboard) โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหิวพลังงาน และผลิตมลพิษหรือขยะ(อุตสาหกรรมตะวันตกดิน)ซึ่งไม่ต่างอะไรไปจากส้วม ด้วยเหตุนี้ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวกับการพัฒนาและการส่งเสริม จึงกำลังเลือกการทำลายมากกว่าการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการวิ่งไล่กวดขบวนรถไฟสายโลกาภิวัตน์ โดยการพยายามขึ้นให้ทันโบกี้สุดท้ายอย่างน่าสงสาร ด้วยการเลือกส้วมมาบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาพื้นที่ตะวันตก(western toilet) การลุกขึ้นมาของชาวบางสะพาน ในนามกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง ซึ่งประกอบด้วยชาย หญิง คนแก่ และเด็ก จึงเป็นตัวอย่างของพลังภาคประชาชนที่มองเห็นกาลไกลได้มากกว่าหน่วยงานรัฐ และมีสำนึกทางสังคมอันควรยกย่อง