บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนทุกชิ้นที่เผยแพร่ เป็นสมบัติสาธารณะ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ ภายใต้นโยบายลิขซ้าย (copyleft) เพื่อสังคมไทย



สำหรับผู้สนใจส่งบทความเผยแพร่บนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ความยาวไม่น้อยกว่า ๑๐ หน้ากระดาษ กรุณาส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com
นักศึกษาและผู้สนใจสมัครเป็นสมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คลิกเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่แบนเนอร์ข้างบนนี้
อุดมศึกษาทางเลือก สำหรับผู้เรียนรู้ด้วยตัวเอง
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014

Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licen
e document, but changing
it is not allowed. - Editor
อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๐๐ เผยแพร่วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ : date 5 March 2008
ขณะนี้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ผลิตแผ่นซีดี รวมบทความทั้งหมดจำหน่ายเพื่อเป็นทุนสนับสนุนการดำเนินงานเว็บไซต์ หากสนใจสั่งซื้อได้ที่อีเมล์ midnightuniv(at)gmail.com
H

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
ค้นหาบทความโดยคลิกที่แบนเนอร์และใส่คำค้นที่สำคัญ



05-03-2551 (1500)

เบื้องหลังการเมืองในเคนยา เบื้องหลังวิกฤตทุนนิยมรอบใหม่
ความโกลาหลในประเทศเคนยา เบื้องหลังวิกฤตธนาคาร Northern Rock
หนังสือพิมพ์เลี้ยวซ้าย ฉบับมีนาคม ๒๕๕๑
พรรคแนวร่วมภาคประชาชน ตู้ ป.ณ.๒๐๔๙ ป.ณ.ฝ.จุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๒

งานแปลและงานเขียนต่อไปนี้ ได้รับมาในรูป pdf ผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิก
จากหนังสือพิมพ์เลี้ยวซ้าย สำหรับผู้สนใจสามารถคลิกไปอ่านได้ที่ www.pcpthai.org
ส่วนนักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจต้องการอ่าน นสพ.เลี้ยวซ้ายฉบับเต็ม คลิก
www.polsci.tu.ac.th/polsci2550/srisompop.pdf
เฉพาะบนหน้าเว็บเพจนี้ คัดลอกนำเสนอเฉพาะเพียงบางส่วนเท่านั้น คือ
๑. เบื้องหลังความโกลาหลในประเทศเคนยา โดย Ken Olende
๒. อะไรอยู่เบื้องหลังวิกฤตธนาคาร Northern Rock โดย ใจ อึ้งภากรณ์

โดยเรื่องแลกเกี่ยวข้องกับเหตุความรุนแรงในประเทศเคนยาในรอบไม่กี่สัปดาห์นี้
เริ่มต้นจากการโกงผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี กระทั่งกลายเป็นปัญหาความขัดแย้ง
ทางชาติพันธุ์ บานปลายกระทั่งมีการสังหารโหดผู้หญิงและเด็กกว่า ๓๐ คนในโบสถ์
ส่วนเรื่องที่สองเป็นปัญหาเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ทุนนิยมซ้ำซาก ซึ่งมีที่มานับจากทศวรรษที่ ๗๐
จนกระทั่งถึงปัญหาวิกฤต sub-prime ที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา และส่งผลกระทบทาง
ด้านเศรษฐกิจไปทั่วโลกขณะนี้ ทางออกจะเป็นอย่างไร มีคำตอบแล้วในบทความชิ้นดังกล่าว

midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๐๐
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๔ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เบื้องหลังการเมืองในเคนยา เบื้องหลังวิกฤตทุนนิยมรอบใหม่
ความโกลาหลในประเทศเคนยา เบื้องหลังวิกฤตธนาคาร Northern Rock
หนังสือพิมพ์เลี้ยวซ้าย ฉบับมีนาคม ๒๕๕๑
พรรคแนวร่วมภาคประชาชน ตู้ ป.ณ.๒๐๔๙ ป.ณ.ฝ.จุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๒

๑. เบื้องหลังความโกลาหลในประเทศเคนยา
โดย Ken Olende จากหนังสือพิมพ์ Socialist Worker ฉบับที่ ๒๐๘๓ ประจำวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๑

การประท้วงและการจลาจลที่เกิดจากการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม สะท้อนให้เห็นถึงก้น
บึ้งแห่งความไม่พอใจในประเทศแอฟริกาที่มีเสถียรภาพ

การจลาจลเริ่มต้นขึ้นหลังจากการประกาศชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของนายวาอิ คิบากิ (Mwai Kibaki) เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2550 ผู้นำการประท้วงคือ นายไรลา โอดิงกา (Raila Odinga) ซึ่งไม่พอใจผลที่ออกมา โดยกล่าวหาว่า พรรคของชนชั้นปกครองทุจริตการเลือกตั้ง. คนยากจนที่สนับสนุนนายโอดิงกาคัดค้านพวกอภิสิทธิ์ชนเริ่มก่อตัวมากขึ้น และออกมาประท้วงการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรมบนท้องถนน เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองกำลังรักษาความมั่นคงภายในได้เข่นฆ่าประชาชน โดยยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุมประท้วงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งพวกเขาต้องรับผิดชอบต่อผู้เสียชีวิตทั้งหมด

ในการเดินขบวนประท้วงครั้งนี้เป็นการลุกฮือของคนยากจนที่ต้องการปฏิรูปสังคม แม้ว่าความไม่พอใจจะเกี่ยวข้องกับปัญหาความตึงเครียดทางชาติพันธุ์ แต่คนทั่วไปก็ออกมาต่อต้านการทุจริตการเลือกตั้ง. ย้อนไปเมื่อห้าปีก่อน มีการเลือกตั้งเสรีเป็นครั้งแรก ในครั้งนั้นมีการสร้างแนวร่วมกับนายโอดิงกา เมื่อนายคิบากิเอาชนะนายฮูรู เคนยัตตา (Uhuru Kenyatta) ผู้ซึ่งสืบทอดมรดกจากอดีตเผด็จการเดเนียล อารับ มัว (Daniel ArapMoi) ที่เคยปกครองประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 และในครั้งนั้นนายคิบากิและนายโอดิงการวมตัวกันเป็นแนวร่วมสายรุ้งแห่งชาติ (The National Rainbow Coalition) ซึ่งเป็นแนวร่วมรณรงค์ต่อต้านระบอบเผด็จการของนายมัวและรณรงค์เปลี่ยนแปลงสังคม

นายซาอิด (Zahid) นักสังคมนิยมในกรุงไนโรบิ เมืองหลวงของเคนยา กล่าวกับหนังสือพิมพ์ Socialist Worker ว่า "เคยมีการโกงการเลือกตั้ง 2 ครั้ง หลังจากที่มีการใช้ระบบหลายพรรค ในปี พ.ศ. 2535-2540 แต่การเปลี่ยนแปลงจริงๆ เกิดขึ้นในปี 2545 ซึ่งนายโอดิงกามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้น แต่พอมาถึงการเลือกตั้งใหม่ล่าสุดนายคิบากิ ถูกกล่าวหาว่าโกงการเลือกตั้งประธานาธิบดีเพราะมีหลักฐานที่ชี้ให้เห็นถึงการทุจริตการเลือกตั้ง ผู้สังเกตการณ์จากต่างประเทศต่างมองว่าเป็นการทุจริต อีกทั้งมีผู้ประท้วงออกมาประท้วงบนท้องถนน

สาเหตุที่ทำให้นายคิบากิเสื่อมความนิยม หลังจากปี พ.ศ. 2545 มาจากเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ คือ

เหตุการณ์แรก เป็นความพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อส่งเสริมสิทธิพลเมืองและปกป้องสิทธิของชนกลุ่มน้อย แต่รัฐบาลกลับเพิ่มอำนาจให้แก่ประธานาธิบดีมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ประชาชนจึงเกิดความกลัวว่าระบอบอำนาจนิยมจะกลับมา จึงลงประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2545 รวมทั้งนายโอดิงกามีส่วนสำคัญในการรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ และได้จัดตั้ง "ขบวนการประชาธิปไตยสีส้ม" (The Orange Democratic Movement - ODM) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นจุดรวมแห่งความไม่พอใจ

เหตุการณ์ที่สอง คือการทุจริตคอร์รัปชั่น รัฐบาลของนายคิบากิได้แต่งตั้งนายจอห์น กิทองโก (John Githongo) เป็นกรรมาธิการต้านการคอรัปชั่น ซึ่งในรายงานของนายจอห์น ได้กล่าวหาสมาชิกอาวุโสของรัฐบาลของนายคิบากิว่าทุจริต

เมื่อกล่าวถึง "ขบวนการประชาธิปไตยสีส้ม" ซึ่งรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญปี 2545 พบว่า เป็นแนวร่วมหลวมๆ ไม่มีฐานมวลชนรากหญ้าสนับสนุน วิธีที่ใช้ต่อสู้กับการโกงการเลือกตั้งนั้นสับสนมาก และไม่ยอมพูดถึงปัญหาคนจน การตกงาน ไร้ที่อยู่อาศัย และปัญหาที่ดินในชนบท และนี่กลายเป็นสาเหตุที่ทำให้ความขัดแย้งถูกเบี่ยงเบนไปเป็นเรื่องของชาติพันธุ์ เพราะอันที่จริงแล้วควรเป็นประเด็นความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจน. หากพิจารณาถึงประเด็นปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ พบว่า ในประเทศเคนยา มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ถึง 43 กลุ่ม. กลุ่มที่ใหญ่ที่สุด คือ กลุ่มคิคูยู(Kikuyu) มีจำนวนประมาณ 22% ของประชากรทั้งหมด, ถัดลงมาเป็นกลุ่มลูยา(Luhya), กลุ่มลูโอ (Luo), และคาเลนจิน (Kalenjin) เป็นต้น

นายคิบากิเป็นชาวคิคูยู ส่วนนายโอดิงกาเป็นชาวลูโอ แต่การเลือกตั้งในปี 2545 ชาติพันธุ์ไม่ใช่ประเด็นสำคัญของการอธิบายว่า ทำไมกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มได้รับเลือก. นายสตีฟ ชาวสหราชอาณาจักรที่อาศัยในเคนยา เล่าให้หนังสือพิมพ์ Socialist Worker ว่า ความแตกร้าวทางเชื้อชาติ/ชาติพันธุ์เกิดขึ้นเป็นเวลาเนิ่นนานมาแล้วในเมืองต่างๆ เช่น เมืองไนโรบิ ในเขตชุมชนแออัดที่ๆ มีผู้คนนับล้านอาศัยอยู่อย่างยากจน บางครั้งก็มีการปะทะกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น กลุ่มตาลิบันซึ่งเป็นชาวลูโอ, กลุ่มเจชิลาซี (Jeshi la Mzee) ชาวลูยา, กลุ่มมุงกิกิ (Mungiki) ชาวคิคูยู. กลุ่มมุงกิกิอ้างว่าอาจมีการนำเอาวิธีการก่อจลาจลแบบเก่าคือ แบบ Mau Mau ที่เคยเอาชนะการปกครองของสหราชอาณาจักรมาแล้ว และต่อสู้เพื่อสิทธิของคนที่ถูกกระทำ แต่ทว่ากลับเป็นการใช้ความรุนแรง

ชาวเคนยาหลายคนเชื่อว่า เผ่าคิคูยูทั้งหมดได้ประโยชน์เนื่องจากชาวคิคูยูส่วนใหญ่เป็นชนชั้นนำปกครองประเทศ ด้วยเหตุนี้ในส่วนที่เป็นคนยากจนโกรธแค้นระบอบคิบากิ และการทุจริตของคนรวย. สหประชาชาติประมาณการว่า มีประชาชนจำนวน 250,000 คนได้หลบหนีการปะทะทางเชื้อชาติทั่วประเทศในช่วงวิกฤติการเลือกตั้งประธานาธิบดี. นายซาอิดกล่าวว่า ความรุนแรงดังกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ชาวเคนยาหลายล้านคนเคยมีประสบการณ์การต่อสู้ทางเชื้อชาติมาแล้ว โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท หุบเขาริฟท์ทางตอนเหนือของเมืองหลวง

นายมุงไก (Mungai) ซึ่งเคยไปเที่ยวงานคริสต์มาสที่หุบเขาริฟท์ แห่งเมืองเคริโค เล่าให้หนังสือพิมพ์ Socialist Worker ว่า "ผมพยายามจะกลับไปเมืองไนโรบิ แต่ไร้ประโยชน์ เพราะปรากฏว่ามีกลุ่มวัยรุ่นปิดกั้นถนนด้วยการล้มต้นไม้ เราจึงต้องใช้เลื่อยเคลียร์เส้นทาง ผมเห็นทรัพย์สินของชาวคิคูยูและคิซิอิ ถูกเผาและถูกขโมย ผู้คนก็ถูกเข่นฆ่าอย่างโหดร้าย การปะทะที่เลื่องลือนี้ คือการสังหารผู้หญิงและเด็กกว่า 30 คนในโบสถ์เมือง Eldoret ในหุบเขาริฟท์

นายสตีฟกล่าวว่า ป้าของผมหนีตายในการสังหารหมู่ครั้งนั้นมาได้ ปัจจุบันนี้ชาวคิคูยูอาศัยในพื้นที่ที่ครั้งหนึ่งเคยถูกมองว่าเป็นของอีกชนเผ่าหนึ่ง "เราเคยอยู่ร่วมกันและแต่งงานระหว่างชนเผ่ามานานแล้ว มันทำให้ผมรู้สึกกลัวว่าคนจำนวนมากไม่เข้าใจว่า การแบ่งชาติพันธุ์ในประเทศนี้ จริงๆ แล้วเป็นเรื่องระหว่างคนรวยกับคนจน. การมองว่าเป็นประเด็นความขัดแย้งระหว่างคนรวยกับคนจนเพราะ นายซาอิดมองว่า คนหลายล้านมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำกว่าเส้นความยากจน อัตราการเติบโตที่สูงขึ้นเป็นประโยชน์ต่อคนรวยเท่านั้น

นายโอเทียโน (Otieno) นักเคลื่อนไหวสหภาพในกรุงไนโรบิ มองว่า "มันเหมือนกับสงครามในย่านคนจน เราไม่มีอาหาร น้ำมันก๊าด หรือเงิน แต่เราจะชุมนุมครั้งใหญ่ในสวนสาธารณะอูรู ในกรุงไนโรบิ เพื่อคัดค้านการทุจริตเลือกตั้ง เราคิดว่าคนทั่วไปจะออกมาชุมนุม" ฉะนั้นจะเป็นเรื่องความแตกร้าวทางชาติพันธุ์ได้อย่างไร เมื่อคนส่วนใหญ่ถูกปราบปราม และตำรวจยังปราบปรามคนจนในสลัมของเมืองไนโรบี ซึ่งเป็นชาวคิคูยู เชื้อชาติเดียวกันกับนายคิบากิ

การจัดตั้งองค์กร
ตั้งแต่ปี 2545 เคยมีสื่ออิสระและพื้นที่ให้แก่กลุ่มฝ่ายค้านเพื่อจัดตั้งมวลชน ถ้าคิบากิรอดจากการเลือกตั้งที่ทุจริตครั้งนี้ อาจจะไม่มีสื่อและพื้นที่อิสระให้แก่ฝ่ายค้านอีกต่อไป. คุณเชอรี่ (Shirley) นักสังคมนิยมผู้อยู่ในช่วงการเลือกตั้ง กล่าวว่า "การรณรงค์หาเสียงน่าตื่นเต้นอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะเริ่มส่อให้เห็นถึงการหักหลังประชาชน". "ดิฉันพักอยู่กับครอบครัวคิคูยูที่ลงคะแนนให้นายคิบากิ พวกเขารู้สึกตกใจที่มีข่าวการโกงการเลือกตั้งอย่างครึกโครม ซึ่งรายงานสดทางโทรทัศน์ท้องถิ่นที่ได้ไปสำรวจโพลล์ก่อนที่คณะกรรมการการเลือกตั้งในเมืองหลวงจะประกาศผลว่า นายคิบากิได้คะแนนเสียงอย่างท่วมท้น และก็เป็นเหตุผลที่รัฐบาลออกมาห้ามการรายงานสดของสถานีโทรทัศน์"

การรณรงค์เรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งซ่อมยังคงดำเนินอยู่ ซึ่งอาจจะทำให้นายโอดิงกาได้เป็นประธานาธิบดี. มุงไก กล่าวว่า "นายโอดิงกาเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า แม้ว่าจะมีเรื่องที่น่าสงสัยเกี่ยวกับตัวเขา แต่ชัยชนะของเขาจะไม่ก่อให้เกิดการปฏิวัติ แต่จะเป็นการก้าวไปข้างหน้า". ครั้งหนึ่งในรัฐบาลมีคำถามว่า จะกดดันนายโอดิงกาอย่างไรเพื่อให้การเลือกตั้งของเขาเป็นความหวังขึ้นมาได้ ดีกว่าที่จะเดินตามทางของนายคิบากิ นอกเสียไปจากวาทะโวหารเอาใจประชาชนในการต้านการคอรัปชั่น นโยบายของนายโอดิงกาก็ไม่มีอะไรใหม่ คือ มีแนวทางเดียวกันกับพรรคชนชั้นปกครอง ดังเห็นได้จากฝ่ายค้านในขบวนการ ODM ใช้นโยบายการค้าเสรีเป็นทางเลือกทางการเมืองสำหรับชนชั้นที่มีอยู่

ในเดือนมกราคมปี 2550 นักเคลื่อนไหวนับพันคนได้เข้าร่วมเวทีสมัชชาสังคมโลก ในกรุงไนโรบิ เพื่อหาทางเลือกการพัฒนาแนวเสรีนิยมใหม่ การประชุมดังกล่าวเริ่มต้นด้วยการเดินขบวนอย่างเข้มแข็งจำนวน 5,000 คนจากคิเบรา ถึงสวนสาธารณะอูรู

การต่อต้านลุกลามท่ามกลางวิกฤตการเลือกตั้งในเคนยา โดย Ken Olende
เป็นเวลาสามวันของการประท้วงในเคนยาได้มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 30 ราย ด้วยน้ำมือของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้เดินขบวนยังคงท้าทายต่อความชอบธรรมของประธานาธิบดีคิบากิ ที่อ้างชัยชนะจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2550. อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานการโกงการเลือกตั้งปรากฏเพิ่มเติม.

"องค์กรเคนยาเพื่อสันติภาพ ความจริง และความยุติธรรม" ได้เปรียบเทียบจำนวนคะแนนเสียงในการเลือกตั้งรัฐสภาในช่วงเดียวกันกับกับการเลือกตั้งประธานาธิบดี ปรากฏว่า การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีมีจำนวนมากกว่ามาก คือฝ่ายค้าน ODM ที่ต่อต้านการทุจริตการเลือกตั้งได้คะแนนเสียงในรัฐสภา โดยได้ที่นั่ง 99 ที่นั่งจากจำนวนทั้งหมด 210 ที่นั่ง, สำหรับพรรค PNU ของนายคิบากิ ได้ 43 ที่นั่ง. ฝ่ายค้าน ODM สามารถได้ตำแหน่งประธานและรองประธานต่อต้านพรรค PNU

อย่างไรก็ตาม ท่าทีปฏิกิริยาของฝ่ายค้าน ODM นอกรัฐสภาที่มีต่อการโจมตีรัฐบาลเป็นที่น่าสับสนอย่างยิ่ง สัปดาห์ที่ผ่านมาฝ่ายค้านได้หยุดการประท้วง และเรียกร้องการคว่ำบาตรบริษัทที่สมาชิกของรัฐบาลเป็นเจ้าของ แต่พอมาตอนนี้ก็กลับมาชุมนุมประท้วงอีก. ซาอิด นักสังคมนิยมกล่าวว่า ไม่มีฝ่ายค้านเข้าไปร่วมในการชุมนุมบนท้องถนน เนื่องจากบรรยากาศน่าหวั่นเกรงมาก เจ้าหน้าที่เตรียมพร้อมยิงเข้าใส่ผู้ประท้วงตลอดเวลา แต่มีการจัดตั้งกลุ่มสันติภาพจำนวนมาก เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ทุกข์ยาก

วิกฤติการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น ตามมาด้วยความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ ในบางพื้นที่สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์เผชิญปัญหาการสังหารหมู่ คนจำนวนมากเชื่อว่า ชาวคิคูยูยากจนได้รับการอุปถัมภ์เลี้ยงดูจากชาวคิคูยูที่เป็นชนชั้นนำร่ำรวย. ในการปะทะกันเมื่อเร็วๆ นี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจฆ่าประชาชนเป็นจำนวนมากกว่าการปะทะทางเชื้อชาติ คือ มีผู้เสียชีวิต 600 ราย เพียงแค่ปีที่แล้วปีเดียว รัฐบาลได้ทำร้ายกลุ่มมุงกิกิ ชาวคิคูยูยากจนในเขตชุมชนแออัดเมืองไนโรบิ และนำไปสู่การเสียชีวิตถึง 500 ราย แต่พอมาถึงตอนนี้กลุ่มมุงกิกิกลับแสดงตัวเป็นพันธมิตรของรัฐบาล

โอเทียโน นักสหภาพแรงงานในเมืองไนโรบิกล่าวว่า "กลุ่มมุงกิกิ โจมตีกลุ่มผู้ประท้วงโดยได้รับการติดอาวุธ เราถูกผลักออกไปจากพื้นที่ของรัวรากา (Ruaraka) ทางตะวันออกของเมืองที่เราอาศัยอยู่. นักประวัติศาสตร์เดเนียล บรานช์ (Daniel Branch) ได้กล่าวกับหนังสือ "the London Review of Books" ว่า ศูนย์กลางของการต่อต้านเผ่าคิคูยู มีประสบการณ์คล้ายๆ กับช่วงการใช้ความรุนแรงก่อนหน้าที่จะมีการเลือกตั้ง "ความแตกร้าวทางชาติพันธุ์ในปี 2535 ถึง 2540 ผู้คนหลายร้อยคนถูกฆ่า และหลายพันถูกคุกคามให้ออกจากบ้าน นักการเมืองใช้ช่องโหว่ความแตกร้าวของชุมนุมต่างๆ ดังกล่าวเข้าถึงทรัพยากร

ลัทธิล่าอาณานิคม
เคนยายังคงประสบปัญหาที่เป็นมรดกมาจากลัทธิล่าอาณานิคม และการแทรกแซงขององค์การต่างๆ เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ เช่น นโยบายปรับเปลี่ยนโครงสร้างในช่วงทศวรรษ 2533 ที่ได้ทำลายอุตสาหกรรมสิ่งทอ การจ้างงานตัดเย็บลดลงจาก 200,000 ราย เหลือเพียง 35,000 ราย. ซาอิดกล่าวว่า สื่อตะวันตกเรียกร้องให้ประชาชนใจเย็นๆ ซึ่งมันไร้สาระมาก เพราะประเทศไม่สามารถปกครองได้ การประท้วงที่ดำเนินอยู่นี้ สามารถทำให้รัฐบาลสะดุดลงได้ แต่คนยากจนจะไม่ได้รับส่วนแบ่งในความมั่งคั่งของประเทศ หากพวกขาไม่ยอมจัดตั้งองค์กรของตนเองอย่างเป็นอิสระ

ต้นฉบับภาษาอังกฤษ
Behind the turmoil in Kenya
http://www.socialistworker.co.uk/art.php?id=13839

The protests and riots that followed the "stolen election" have shown the depth of discontent in a
"stable" African country, writes Ken Olende

Rioting began in Kenya after sitting president Mwai Kibaki was declared winner in presidential elections on 27 December. Opposition leader Raila Odinga challenged the result, accusing the ruling party of ballot rigging.

Odinga's popularity had grown out of discontent with the ruling elite. In many poor areas demonstrators took to the streets in anger at the "stolen election". The notorious GSU internal security forces killed scores of people as they opened fire on protests around the country. They are responsible for the majority of deaths that have occurred in the last weeks.

The demonstrations and riots were an uprising of the poor, and a demand for change and reform.

Though the discontent has also laid bare festering ethnic tensions, the most striking thing is that ordinary people have had the confidence to contest a rigged ballot. The first really free election in recent history was held only five years ago. In 2002 there was rejoicing across the country when Kibaki beat Uhuru Kenyatta, the anointed successor to former dictator Daniel arap Moi, who had ruled Kenya since 1978.

At the time Kibaki and Odinga were together in the National Rainbow Coalition - an alliance of parties campaigning against the Moi regime and promising change.

Zahid, a socialist in Kenya's capital Nairobi, told Socialist Worker, "There were two flawed elections after the return to multi-party democracy, in 1992 and 1997. Real change only came in 2002. Raila Odinga was important in pushing to turn things around."

Now Kibaki stands accused of the kind of election rigging that his original victory was supposed to end.

In the parliamentary poll that ran at the same time as the presidential ?election the government suffered heavy defeats, with 20 ministers losing their seats. Evidence emerged of widespread ballot rigging in the presidential vote. International observers complained and protesters took to the streets.

Within days members of Kibaki's own electoral commission were distancing themselves from the results.

Rights
Two events sum up the reasons why Kibaki's popularity fell after 2002.

First was the attempt to introduce a promised new constitution. It was drafted to enshrine civil rights and defend ethnic minorities. However, the government then added clauses increasing the power of the president. Fearing that this might herald a return to authoritarian rule, voters rejected the modified constitution in a referendum during 2005. Odinga was a leading figure in the no campaign and soon afterwards launched the Orange Democratic Movement (ODM), which became a focus for discontent.

The second issue was corruption. Kibaki's government appointed John Githongo as an anti-corruption commissioner.

His reports, particularly into a scheme to print Kenyan passports through the British company Anglo Leasing, accused senior members of Kibaki's government of the kind of corruption that it been elected to eradicate. These were not isolated incidents and as Kibaki's fortunes waned Odinga positioned himself at the head of the opposition. Since last month's election Odinga has called himself "the people's president", but his party has not offered leadership to the demonstrators on the streets.

His ODM is a loose alliance. It doesn't have the kind of grassroots organisation that could maintain the demonstrations and organise to challenge ethnic attacks. It has nothing serious to say about the grievances that are leading to the ethnic fighting - chronic unemployment and lack of housing in the cities, and landlessness in the countryside. This has allowed the slide into ethnic fighting to go unchecked.

There are 43 ethnic groups in Kenya. The largest is the Kikuyu who make up 22 percent of the population. Other major groups include the Luhya, the Luo, and the Kalenjin. Kibaki is Kikuyu, Odinga is Luo. In the excitement of the 2002 election ethnicity was not a central issue explaining why either was elected.

Steve, a Kenyan living in Britain, told Socialist Worker, "Tribal tensions have smouldered for a long time in places like Nairobi's Kibera, the biggest slum in Africa, where a million people live in total poverty.

"Sometimes this has flared up in battles between ethnic gangs such as the 'Taliban' who are Luo, 'Jeshi la Mzee' who are Luhya or 'Mungiki' who are Kikuyu."

Mungiki originally emerged claiming it would bring back the spirit of the Mau Mau rebellion that fought British rule and win rights for the dispossessed. But it degenerated into a violent gang living on extortion, mostly targeting fellow Kikuyus. Many Kenyans believe that all Kikuyus benefit because a large proportion of the ruling elite is Kikuyu. So one section of the poor takes out its anger at Kibaki's regime and the corruption of the rich on its equally impoverished Kikuyu neighbours.

The United Nations estimates that 250,000 people have fled ethnic attacks across the country during the election crisis. Zahid said, "This violence is not new. Millions of Kenyans have already been experiencing ethnic strife, particularly in rural areas like the Rift Valley north of the capital."

Mungai, who spent Christmas in the Rift Valley town of Kericho, told Socialist Worker, "I tried in vain to get back to Nairobi. Finally, armed police escorted us. Youth had barricaded roads and we had to use power saws to clear the way. I saw the property of Kikuyus and Kisii [a minority ethnic group] burnt and stolen. People were being killed for belonging to these communities. It was terrible."

The most notorious attack was the massacre of more than 30 women and children sheltering in a church in the town of Eldoret in the Rift Valley. Steve said, "My aunt narrowly escaped death in the Eldoret massacre. Many Kikuyus now live in areas that were once seen as belonging to other tribes.

"We have lived together and intermarried for a long time. It frightens me that so many people can't see that Kenya's real tribal division is between rich and poor."

Zahid said, "Millions of Kenyans continue to live below the poverty line. The high growth rates that international bankers talk about have only affected the rich." Otieno, a union activist in Nairobi, told Socialist Worker, "It is like war in poor areas. I don't have food, paraffin or money. I can't even go out to get more airtime for my phone. "But we are hoping for a big rally in Uhuru Park in central Nairobi over the election rigging. I think ordinary people will go."

Unfortunately after we spoke the ODM called off the protest. Despite the ugly ethnic clashes, the majority of the confirmed killings have been by the internal security forces attacking protesters. And these are not ethnic attacks by a Kikuyu dominated state on non-Kikuyus. In Nairobi's Kariobangi slum the GSU paramilitary police attacked Kikuyu slum dwellers.

Organise
Since 2002 there has been a relatively free media and some space for opposition groups to organise. If Kibaki is allowed to get away with stealing this election all this could end. Shirley, a British socialist who was in Kenya during the election, told Socialist Worker, "The excitement of the election campaign was unbelievable. There was none of the cynicism you see in Britain. So the sense of betrayal is much greater.

"I stayed with a Kikuyu family who had voted for Kibaki. They were genuinely shocked at the blatant ballot rigging. Live TV broadcast local returns from polling stations long before electoral commissioners in Nairobi announced them with Kibaki's vote vastly inflated. That was why the government banned live TV reports."

The campaign for a recount or a rerun of the election must continue. Either would almost certainly make Odinga president. Mungai said, "Odinga was the better candidate, though there are questionable characters around him. His victory would not result in a revolution but it would be a step forward, even if it was only a matter of time before power struggles disintegrated his coalition."

Once in government the question would arise of what could pressurise Odinga to keep his election promises, rather than following Kibaki's path. Beyond populist rhetoric about opposing corruption and cronyism there is nothing particularly radical in Odinga's programme. Like the ruling party, the ODM is committed to free market policies. A real political alternative to the existing elite is needed.

In January 2007 thousands of activists met at the World Social Forum in Nairobi to develop alternatives to neoliberalism. The event started with a 5,000 strong march from Kibera to Uhuru Park - just as protesters were attempting last week when they were met with water cannon and tear gas. Onyango Oloo, one of the organisers of the forum, has answered calls for general calm by saying, "No justice, no peace".

The following should be read alongside this article:
- Kenya's rulers are allies of the West
- The brutal legacy of Britain's colonial rule in Kenya

http://www.socialistworker.co.uk/art.php?id=13839

๒. อะไรอยู่เบื้องหลังวิกฤตธนาคาร Northern Rock
ใจ อึ้งภากรณ์ : พรรคแนวร่วมภาคประชาชน (www.pcpthai.org)
ตู้ ป.ณ.2049 ป.ณ.ฝ.จุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ 10332

การดิ่งลงของตลาดหุ้นทั่วโลกในปลายเดือนมกราคม เป็นอาการภายนอกที่บ่งบอกถึงวิกฤตเศรษฐกิจรอบปัจจุบัน ปัญหาสำหรับเราชาวกรรมาชีพไม่ได้อยู่ที่ตลาดหุ้น เพราะมันเป็นบ่อนการพนันของพวกคนรวยที่หากินบนพื้นฐานมูลค่าจริงที่กรรมาชีพผลิต คนที่ได้กำไรจากการซื้อขายหุ้นเป็นเพียงกาฝากที่ดูดเลือดเราเท่านั้น แต่ปัญหาสำหรับพวกเราอยู่ที่เศรษฐกิจจริง ซึ่งตอนนี้เริ่มมีปัญหาหนักในภาคการเงินและการธนาคาร ปัญหานี้มีศูนย์กลางที่สหรัฐฯ แต่เชื่อมโยงไปทั่วโลก ก่อให้เกิดการล้มละลายของธนาคาร Northern Rock ในอังกฤษ และอาจก่อให้เกิดปัญหาการส่งออกในเอเซีย

ต้นกำเนิดของปัญหาเศรษฐกิจที่เราเห็นครั้งนี้ เริ่มในปลายๆ ทศวรรษที่ 70 สามสิบปีมาแล้วในช่วงนั้นวิกฤตเศรษฐกิจที่หายไปชั่วคราว ท่ามกลางการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการผลิตอาวุธในช่วงสงครามเย็น ได้กลับมาเป็นวงจรอีกครั้ง คือมีวิกฤตตามด้วยการฟื้นและวิกฤตเป็นช่วงๆ อย่างต่อเนื่อง นี่คือลักษณะแท้ของทุนนิยม และเป็นสาเหตุที่ตรอทสกีเขียนว่า วิกฤตกับการฟื้นตัว เปรียบเสมือน "การหายใจเข้าออก" ของทุนนิยม

ในปลายทศวรรษที่ 70 มีการลดลงของอัตรากำไรในการผลิตทั่วโลก ซึ่งทำให้นายทุนชลอการลงทุนใหม่ การลดลงของอัตรากำไรนี้ เป็นสิ่งที่คาร์ล มาร์คซ์ พูดถึงในหนังสือ "ว่าด้วยทุนเล่มสาม" มันเกิดจากการแข่งขันในตลาดที่ผลักดันให้นายทุนลงทุนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในการซื้อเครื่องจักร นอกจากนี้มันเกิดจากการผลิตสินค้าที่ล้นตลาด เพราะมีการทุ่มเทสินค้าเพื่อเอาชนะคู่แข่ง โดยไม่มีการวางแผน. อีกสาเหตุหนึ่ง ของการผลิตล้นเกิน คือการที่กรรมาชีพได้ค่าจ้างต่ำกว่ามูลค่าสินค้าที่ตนเองผลิต เพราะมีการขูดรีดมูลค่าส่วนเกิน ซึ่งทำให้ไม่สามารถซื้อสิ้นค้าทั้งหมดได้

ธรรมดาเวลาเกิดวิกฤตทุนนิยม นายทุนและรัฐนายทุนจะพยายามกดค่าแรง ตัดสวัสดิการ และยืดเวลาทำงาน แต่การกระทำแบบนั้นก็มีปัญหาอีก เพราะมันอาจเพิ่มความร้ายแรงของวิกฤต เนื่องจากจะมีการตัดกำลังซื้อของคนธรรมดา. อีกสิ่งหนึ่งที่นายทุนหรือรัฐนายทุนทำได้คือการพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการตัดอัตราดอกเบี้ย และตัดภาษี หรืออาจเลือกเพิ่มการลงทุนของรัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจตาม "แนวเคนส์" การดึงทุนจากธนาคารไทยที่กองอยู่ไม่ทำอะไร ลงมาในหมู่บ้านต่างๆ ภายใต้นโยบายของ ไทยรักไทย เป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นการพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤตปี ๔๐

วิธีแก้ปัญหาของชนชั้นปกครองในทศวรรษที่ 70 คือการนำนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยมกลไกตลาดมาใช้ มีการลดบทบาทรัฐ แปรรูปรัฐวิสาหกิจ และที่สำคัญที่สุดมีการกดค่าแรงผ่านการทำลายสหภาพแรงงาน และขยายการรับเหมาช่วง ฯลฯ นอกจากนี้มีการเริ่มทำลายรัฐสวัสดิการและบังคับให้คนงานทำงานนานขึ้นและหนักขึ้น นี่คือยุคของ Reagan ในสหรัฐฯ และ Thatcher ในอังกฤษ. การกดค่าแรงและเร่งความเข้มข้นของการขูดรีด สามารถฟื้นอัตรากำไรได้ระดับหนึ่ง ซึ่งทำให้คนสหรัฐฯ มีฐานะแย่ลง แต่มันไม่เพียงพอ และไม่สม่ำเสมอทั่วโลก เช่นเศรษฐกิจญี่ปุ่นเกือบจะไม่มีการฟื้นตัวเลย ซึ่งทำให้นายทุนญี่ปุ่นหันมาลงทุนในส่วนอื่นๆ ของเอเชียมากขึ้น เช่นประเทศไทย

นอกจากมาตรการในการกดค่าแรงและทำลายสวัสดิการแล้ว ในปลายทศวรรษที่ 90 นายทุนตะวันตกพยายามลงทุนในเศรษฐกิจใหม่ทางอินเตอร์เน็ต หรือที่เขาเรียกว่าเศรษฐกิจ dot com เพราะมันเป็นพื้นที่ใหม่ที่ยังมีอัตรากำไรสูง แต่เป็นการแห่กันไปลงทุน มีการปั่นราคาหุ้นให้พุ่งสูงขึ้นจนเกิดสภาวะฟองสบู่. ในเอเซียก่อนหน้านั้นมีฟองสบู่เกิดกับภาคอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะเดียวกัน และนั้นคือสิ่งที่นำไปสู่วิกฤตในไทยในปี ๔๐

เมื่อฟองสบู่ dot com แตกรัฐบาลสหรัฐฯ และสถาบันการเงินต่างๆ พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐอีกรอบ โดยการปล่อยกู้ให้คนจนมากขึ้น. คนจนเหล่านี้ธรรมดาแล้วจะถูกธนาคารปฏิเสธไม่ให้กู้เงินจึงเรียกว่าพวก "Sub-Prime" การปล่อยกู้ในราคาดอกเบี้ยต่ำในระยะแรก เป็นวิธีเพิ่มกำลังซื้อในเศรษฐกิจ โดยที่นายทุนไม่ต้องไปเพิ่มค่าแรงให้กรรมาชีพ หนี้สินของคนจนในตลาด Sub-Prime นี้ ถูกขายต่อให้ธนาคารอื่นๆ ทั่วโลก ดังนั้นเมื่อคนจนเริ่มจ่ายหนี้ไม่ได้ คือฟองสบู่ Sub-Prime แตก ก็มีผลกระทบต่อระบบธนาคารในสหรัฐฯ และส่วนอื่นของโลก

สรุปแล้วมันมีวิกฤตอัตรากำไรในภาคการผลิต และวิกฤตในสถาบันการเงิน นอกจากนี้โลกกำลังขาดแคลนสินค้าพื้นฐานบางอย่าง โดยเฉพาะน้ำมันและเชื้อเพลิง เพราะจีนและอินเดียขยายตัวอย่างรวดเร็ว ปัญหานี้ทำให้เกิดเงินเฟ้อ เพราะราคาเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นในสภาวะขาดแคลน ซึ่งส่งผลต่อราคาสินค้าอื่นๆ อีกด้วย. ยิ่งกว่านั้นการเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกเพื่อผลิตเชื้อเพลิงพืช (bio-fuel) แทนการผลิตอาหาร ทำให้ราคาอาหารเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งมีผลกระทบร้ายแรงกับคนจน และเราเริ่มเห็นในกรณีถั่วเหลืองและอาหารหลักอื่นๆ

วิกฤตของสถาบันการเงินและธนาคารเป็นวิกฤตหนี้เสียที่แก้ยาก แต่มันอาจไม่กระทบกับบริษัทเงินทุนใหญ่โดยตรงในระยะแรก เพราะบริษัทยักษ์ใหญ่มีการออมมูลค่าส่วนเกินหรือกำไร เพื่อลงทุนต่อ ไม่ได้พึ่งธนาคารเพื่อหาทุนอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม ปัญหาสถาบันการเงินมันสะท้อนปัญหาเรื้อรังในระบบการผลิตอยู่แล้ว และมันจะมีผลต่อกำลังซื้อของประชาชน. ในปลายเดือนมกราคมประธานาธิบดีบุช พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ด้วยการตัดภาษีและการลดอัตราดอกเบี้ย แต่ปัญหาคือมันอาจไม่พอที่จะกระตุ้นการผลิตและกำลังซื้อได้ และในขณะเดียวกันการกระตุ้นกำลังซื้อถ้าทำได้จริง อาจทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ประกอบกับปัญหาของราคาน้ำมันอีกด้วย

ทั้งหมดนี้ บวกกับปัญหาโลกร้อนและปัญหาสงคราม น่าจะพิสูจน์ให้ทุกคนที่มีสติปัญญาสรุปว่า ทุนนิยมมันไร้ประสิทธิภาพในการสร้างสังคมที่เจริญและสันติสุข ดังนั้น เราต้องรวมตัวกันปฏิวัติสังคม!! ล้มอำนาจนายทุน และยกเลิกกลไกตลาดบ้าๆ ของมัน แต่ก็ต้องยอมรับว่านั้นเป็นเรื่องระยะยาว. ในระยะสั้นถ้าสหรัฐฯ มีวิกฤต มันจะมีผลกระทบต่อเรา เพราะประเทศไทยอาศัยการส่งออกเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และนอกจากนี้เราจะต้องเผชิญหน้ากับอัตราเงินเฟ้อ พูดง่ายๆ ข้าวของจะแพงขึ้น บางคนจะตกงาน และนายทุนและรัฐจะบีบค่าจ้างและสวัสดิการของเรา

ปัญหาแบบนี้เราแก้ไม่ได้ถ้ามองในกรอบสหภาพแรงงานของแต่ละโรงงาน หรือสถานประกอบการ ต้องแก้ในภาพกว้างทางการเมือง เราต้องรวมตัวกันต่อสู้สมานฉันท์กลุ่มต่างๆ ในภาคประชาชน เพื่อเรียกร้องให้รัฐใช้งบประมาณเพื่อเพิ่มสวัสดิการและดูแลชีวิตของเรา เราต้องเรียกร้องรัฐสวัสดิการ. อย่าลืมว่าเงินของรัฐมาจากภาษีและการทำงานของเรา อย่าลืมว่ารัฐบาลอ้างว่าเป็นผู้แทนของประชาชน อย่าลืมว่าเวลาเขาจัดงานศพ... หรือซื้อเครื่องบินรบและเรือดำน้ำ เขามีเงินเพียงพอเสมอ

อย่าหลงถูกรัฐหลอกว่าเราต้องเสียสละเพื่อชาติ ตรงกันข้ามมันถึงเวลาที่พวกเขาต่างหากต้องหัดเสียสละเพื่อคนส่วนใหญ่บ้าง แต่ถ้าจะกดดันให้รัฐทำแบบนี้เราต้องมีพรรคของเรา ต้องเคลื่อนไหวอย่างเข้มแข็ง ต้องสร้างสหภาพที่สู้เป็นและแสดงความสมานฉันท์ซึ่งกันและกันเสมอ วิกฤตเศรษฐกิจไม่ใช่เพราะเราทำงานช้าลงหรือขี้เกียจ วิกฤตเศรษฐกิจมันไม่ใช่เรื่องธรรมชาติที่เราต้องอดทน มันมาจากระบบตลาดที่พวกนายทุนสร้างและควบคุมต่างหาก

 

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com


Words from the Text
เมื่อฟองสบู่ dot com แตกรัฐบาลสหรัฐฯ และสถาบันการเงินต่างๆ พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ อีกรอบ โดยการปล่อยกู้ให้คนจนมากขึ้น. คนจนเหล่านี้ธรรมดาแล้วจะถูกธนาคารปฏิเสธ ไม่ยอมให้กู้เงินจึงเรียกว่าพวก "Sub-Prime" ในการปล่อยกู้ด้วยราคาดอกเบี้ยต่ำ ในระยะแรก เป็นวิธีเพิ่มกำลังซื้อในเศรษฐกิจ โดยที่นายทุนไม่ต้องไปเพิ่มค่าแรงให้กรรมาชีพ หนี้สินของคนจนในตลาด Sub-Prime นี้ ถูกขายต่อให้ธนาคารอื่นๆ ทั่วโลก ดังนั้นเมื่อคนจนเริ่มจ่ายหนี้ไม่ได้ คือฟองสบู่ Sub-Prime แตก ก็มีผลกระทบต่อระบบธนาคารในสหรัฐฯ และส่วนอื่นของโลก สรุปแล้วมันมีวิกฤตอัตรากำไรในภาคการผลิต และวิกฤตในสถาบันการเงิน นอกจากนี้โลกกำลังขาดแคลนสินค้าพื้นฐานบางอย่างโดยเฉพาะน้ำมัน
Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
Postcolonialism deals with cultural identity in colonised societies:
the dilemmas of developing a national identity after colonial rule;
the ways in which writers articulate and celebrate that identity
(often reclaiming it from and maintaining strong connections with
the coloniser); the ways in which the knowledge of the colonised (subordinated) people has been generated and used to serve
the coloniser's interests; and the ways in which the coloniser's literature
has justified colonialism via images of the colonised as
a perpetually inferior people, society and culture.

นายมุงไก ซึ่งเคยไปเที่ยวงานคริสต์มาสที่หุบเขาริฟท์ แห่งเมืองเคริโค เล่าให้หนังสือพิมพ์ Socialist Worker ว่า
ผมพยายามจะกลับไปเมืองไนโรบิ แต่ไร้ประโยชน์ เพราะปรากฏว่ามีกลุ่มวัยรุ่นปิดกั้นถนนด้วยการล้มต้นไม้ เราจึงต้องใช้เลื่อยเคลียร์เส้นทาง ผมเห็นทรัพย์สินของชาวคิคูยูและคิซิอิ ถูกเผาและถูกขโมย ผู้คนก็ถูกเข่นฆ่าอย่างโหดร้าย การปะทะที่เลื่องลือนี้ คือการสังหารผู้หญิงและเด็กกว่า 30 คนในโบสถ์เมือง Eldoret ในหุบเขาริฟท์

นายสตีฟกล่าวว่า ป้าของผมหนีตายในการสังหารหมู่ครั้งนั้นมาได้ ปัจจุบันนี้ชาวคิคูยูอาศัยในพื้นที่ที่ครั้งหนึ่งเคยถูกมองว่าเป็นของอีกชนเผ่าหนึ่ง "เราเคยอยู่ร่วมกันและแต่งงานระหว่างชนเผ่ามานานแล้ว มันทำให้ผมรู้สึกกลัวว่าคนจำนวนมากไม่เข้าใจว่า การแบ่งชาติพันธุ์ในประเทศนี้ จริงๆ แล้วเป็น เรื่องระ หว่างคนรวยกับคนจน. การมองว่าเป็นประเด็นความขัดแย้งระหว่างคนรวยกับคนจนเพราะ นายซาอิดมองว่า คนหลายล้านมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำกว่าเส้นความยากจน อัตราการเติบโตที่สูงขึ้นเป็นประโยชน์ต่อคนรวยเท่านั้น