บทความวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนบนไซเบอร์สเปซทุกเรื่องไม่สงวนลิขสิทธิ์ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ









Free Documentation License
Copyleft : 2006, 2007, 2008
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim
copies of this license
document,
but changing it is not allowed.
บทความลำดับที่ ๑๐๕๐ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๙
23-10-2549



Anti - Coup d' atat
The Midnight University

เกี่ยวกับกรณีการปิดกั้นเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
การต่อสู้เพื่อให้ความจริงพูดได้ กรณีการบล็อคเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน
(รายงานประชาชนฉบับที่ ๒)
(การดำเนินคดี)
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เรียบเรียงจากเหตุการณ์จริง

บทความที่ปรากฎบนหน้าเว็บเพจนี้ เป็นการรวบรวมจากเหตุการณ์จริง
เกี่ยวกับการปิดกั้นเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืนโดยกระทรวง ICT ตั้งแต่เวลา ๑๙.๐๐ น ของวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๙
โดยมีลำดับหัวข้อที่สำคัญดังต่อไปนี้

1. การดำเนินการทางกฎหมาย กรณีการปิดเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน
2. ความคืบหน้าเกี่ยวกับคดี การปิดเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน
3. วันไต่สวนเพื่อขอการคุ้มครองชั่วคราว กรณีการปิดกั้นเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน
4. รายงานกระบวนการพิจารณา (ขั้นไต่สวน) (ต.๑๒) (ต.๑๓)

5.
ยุติปิดกั้นเว็บ ม.เที่ยงคืน และยกคำขอการคุ้มครองชั่วคราว
6. คำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุแห่งการฟ้องคดีหมดสิ้นไป
midnightuniv(at)yahoo.com


(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 1050
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 32.5 หน้ากระดาษ A4)

 

การต่อสู้เพื่อให้ความจริงพูดได้ กรณีการบล็อคเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน (รายงานประชาชนฉบับที่ ๒) (การดำเนินคดี)
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เรียบเรียงจากเหตุการณ์จริง
(หมายเหตุ : รายชื่อผู้เกี่ยวข้องบางท่านเกี่ยวกับการต่อสู้ครั้งนี้ ผู้เขียนขอปกปิดเป็นความลับ เพื่อความปลอดภัยจากการถูกคุกคามในทุกรูปแบบตั้งแต่ขั้นเล็กน้อยไปจนกระทั่งถึงขั้นรุนแรง ภายใต้สถานการณ์ที่ยังไม่นับว่าเป็นปรกติ)
(เพิ่มเติมเนื้อหาล่าสุด วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙)

ความนำ
รายงานประชาชนฉบับที่ ๒ นี้ เป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ตั้งแต่เริ่มต้นการทำคำร้องยื่นไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และการยื่นคำฟ้องไปยังศาลปกครองกลาง เกี่ยวกับการใช้อำนาจปกครองโดยมิชอบ รวมถึงรายงานเกี่ยวกับความคืบหน้าแห่งคดีระหว่าง นายสมเกียรติ ตั้งนโม กับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

โดยรายงานประชาชนฉบับที่ ๒ ได้ลำดับหัวข้อเอาไว้ดังต่อไปนี้
1. การดำเนินการทางกฎหมาย กรณีการปิดเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน
2. ความคืบหน้าเกี่ยวกับคดี การปิดเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน
3. วันไต่สวนเพื่อขอการคุ้มครองชั่วคราว กรณีการปิดกั้นเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน
4. รายงานกระบวนการพิจารณา (ขั้นไต่สวน) (ต.๑๒) (ต.๑๓)

1. การดำเนินการทางกฎหมาย กรณีการปิดเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน
โดยการปรึกษาหารือกันของคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เกี่ยวกับการถูกบล็อคเว็บไซต์ จึงตัดสินใจให้มีการดำเนินการทางกฎหมายเพื่อเป็นตัวอย่างแก่หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ของภาคเอกชน ประชาชนที่เคารพกฎหมายและเชื่อมั่นในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งได้รับผลกระทบจากหน่วยงานราชการที่ใช้อำนาจปกครองโดยมิชอบ โดยกรณีนี้เว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน ไม่เคยได้รับการแจ้ง การเตือน หรือชี้มูลความผิดจากกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ แต่กลับถูกบล็อค จึงไม่อาจสรุปเป็นอย่างอื่นได้นอกจากเป็นการใช้อำนาจเถื่อน เป็นการกระทำตามอำเภอใจ ที่กระทรวง ICT กำลังประพฤติตนอยู่เหนือนิติรัฐ มีพฤติกรรมที่ไม่เคารพต่อกฎหมายบ้านเมือง อันเป็นสัญญาประชาคมของการอยู่ร่วมกัน ดังนั้นจึงได้ดำเนินการทางกฎหมายออกเป็น 2 ส่วนคือ

1.1 ยื่นคำร้องต่อกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
1.2 ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองกลางและขอการคุ้มครองเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืนชั่วคราว

โดยรายละเอียดของคำบรรยายคำร้องและคำฟ้องมีดังต่อไปนี้

1.1 ยื่นคำร้องต่อกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50202

วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2549

เรียน ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เรื่อง การถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพในทางวิชาการและการสื่อสาร
(กรณีกระทรวง ICT ปิดการให้บริการเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนโดยมิชอบ)

เอกสารแนบ
1. เอกสารประกอบการยื่นคำร้องต่อประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
หมายเลข ๑ รายชื่อส่วนของผู้ไม่เห็นด้วยกับการปิดกั้นเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน

2. เอกสารประกอบการยื่นคำร้องต่อประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หมายเลข ๒ : จดหมายเปิดผนึกประชาชน นักวิชาการและเพื่อนสื่อมวลชน "การต่อสู้เพื่อให้ความจริงพูดได้"

3. เอกสารประกอบการยื่นคำร้องต่อประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หมายเลข ๓ : ข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ กรณีกระทรวง ICT ปฏิเสธการบล็อคเว็บไซต์ "ไอซีทีปัดไม่เคยบล็อกเว็บไซต์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน"

คำร้อง
เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2549 เวลา 20.00 น ที่ผ่านมา เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการทางวิชาการในทุกสาขา ตั้งแต่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ รวมไปถึงศิลปะและศาสนา และสารานุกรม ซึ่งมี URL : http://midnightuniv.tumrai.com ได้ถูกระงับ(block)การให้บริการลง โดยกระทรวง ICT โดยไม่มีการแจ้งเตือน หรือชี้ถึงความผิดแต่อย่างใด
เหตุที่ทำให้ทราบว่า ได้ถูกกระทรวง ICT ทำการระงับการให้บริการเพราะ

1. เมื่อเวลา 20.00 น วันที่ 29 กันยายน ผู้ดูแลระบบ(webmaster) ได้คลิกเข้าไปตรวจตราความเรียบร้อยเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนที่ URL : http://midnightuniv.tumrai.com ปรากฎว่า URL ดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงเป็น http://mict.go.th/ci/block.htm และหน้าจอแรกซึ่งปรกติจะปรากฏเป็นภาพ homepage ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กลับปรากฎเป็นภาพตัวหนังสือ อ่านได้ใจความว่า The page cannot be displayed - The page you are looking for is currently unavailable…อันเป็นภาพหน้าจอที่มักปรากฎเสมอเมื่อเข้าสู่ระบบ internet แล้ว ต้องการเรียกดูข้อมูลตาม URL ต่างๆ แล้ว ไม่พบข้อมูลโดยทั่วไป

2. ย้อนกลับไปยังเหตุการณ์ก่อนหน้านั้นคือ เวลาประมาณ 19.00 น วันที่ 29 กันยายน (ก่อนที่เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะถูกระงับการใช้) ทางเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศชื่อนายสุรชัย (ไม่ทราบนามสกุล) ได้โทรศัพท์ไปยังบริษัท thaiis.com อันเป็นบริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการให้เช่าพื้นที่และการจัดทำเว็บไซต์ให้กับภาคธุรกิจ บริษัทดังกล่าวได้ให้เนื้อที่ฟรีแก่ทางมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในทุกสาขาฯ อันเป็นส่วนหนึ่งของการบริการสังคมแบบให้เปล่า ซึ่งทางบริษัท thaiis.com และมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ได้ร่วมมือกันมาโดยตลอดหลายปีที่ผ่านมา (1)

ในวันและเวลาดังกล่าว นายสุรชัย (ไม่ทราบนามสกุล) จากกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศได้โทรศัพท์ไปถึงพนักงานคอมพิวเตอร์ของบริษัท thaiis.com ซึ่งเป็นหญิง(ไม่ขอเปิดเผยนาม) ให้ระงับการให้บริการเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน แต่เนื่องจากว่า เวลาดังกล่าวเป็นยามวิกาลหลังเลิกงานแล้ว จึงไม่อาจดำเนินการใดๆ ได้ตามคำสั่ง นายสุรชัยจึงได้ให้เบอร์โทรศัพท์เอาไว้คือ ๐๒-๕๖๘-๒๔๖๘ และ ๐๑-๓๕๒-๐๓๙๓ เพื่อให้ผู้บริหารบริษัทติดต่อกลับไป แต่ปรากฏว่า เว็บไซต์ประมาณ ๓๐ เว็บซึ่งใช้พื้นที่ทั้งหมดที่อยู่ใน IP เดียวกันของบริษัทได้ถูกปิดกั้นทั้งหมดในคืนนั้น

3. วันต่อมา เสาร์ที่ 30 กันยายน 2549 นายวรรณชัย วงษ์ตะลา ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัท thaiis.com ได้รับการติดต่อจากลูกค้าประมาณ 30 ราย ซึ่งได้มาเช่าใช้บริการเว็บไซต์ของบริษัท ได้โทรศัพท์มาถามว่า ทำไมจึงเข้าไปดูข้อมูลทางธุรกิจของตนไม่ได้ และให้รีบแก้ไขโดยด่วน เนื่องจากได้ทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อธุรกิจของบรรดาบริษัทที่มีการเช่าใช้เหล่านี้

นายวรรณชัย วงษ์ตะลา(เจ้าของบริษัท thaiis.com) จึงได้โทรศัพท์เพื่อสอบถามถึงสาเหตุดังกล่าวไปยังนายสุรชัย ที่กระทรวงฯ (ที่ได้ทิ้งเบอร์ติดต่อไว้ให้ดังแจ้งแล้ว) ซึ่งได้รับการตอบกลับมาว่า เป็นวิธีการบล็อคที่ได้ผลและง่ายที่สุด และได้กล่าวต่อว่า หากไม่กันเว็บไซต์นี้ออกไปจากบริการ ก็จะไม่เปิดบล็อคให้ ดังนั้นเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจึงจำต้องย้ายไปอยู่ ณ ที่อยู่ใหม่

จากเหตุการณ์ที่ชี้แจงนี้ เป็นที่ชัดเจนว่าเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ถูกบล็อคโดยกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นๆ อันเป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน และขัดกับหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนดังที่ประเทศไทยได้ลงนามรับรอง

ดังนั้น กระผมนายสมเกียรติ ตั้งนโม ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเว็บมาสเตอร์ ผู้ดูแลเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน จึงร้องต่อประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อทำการไต่สวนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนครั้งนี้ของกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ และขอให้ดำเนินการยุติการบล็อคเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนโดยทันที

ขอแสดงความนับถือ
นาย สมเกียรติ ตั้งนโม
เว็บมาสเตอร์เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

(1) ก่อนหน้านั้น เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ได้ไปขอใช้พื้นที่ฟรีจาก www.geocities.com ซึ่งมี URL อยู่ที่ http://www.geocities.com/midnightuniv แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ และการเข้าใช้(login) ทำให้ไม่ได้รับความสะดวก จึงได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่เว็บไซต์ไปอยู่ที่บริษัท thaiis.com
-------------------------------------------------------------------------------------------
1. เอกสารประกอบการยื่นคำร้องต่อประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
หมายเลข ๑ : รายชื่อส่วนของผู้ไม่เห็นด้วยกับการปิดกั้นเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน
(กรุณาดูที่หัวข้อที่ 7. บนเว็บเพจนี้ <บทความลำดับที่ 1049> หรือ <บทความลำดับที่ 1052>)

2. เอกสารประกอบการยื่นคำร้องต่อประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
หมายเลข ๒ : จดหมายเปิดผนึกประชาชน นักวิชาการและเพื่อนสื่อมวลชน "การต่อสู้เพื่อให้ความจริงพูดได้"
(กรุณาดูที่หัวข้อที่ 8. บนเว็บเพจนี้ <บทความลำดับที่ 1049>)

3. เอกสารประกอบการยื่นคำร้องต่อประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หมายเลข ๓ : ข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ กรณีกระทรวง ICT ปฏิเสธการบล็อคเว็บไซต์ "ไอซีทีปัดไม่เคยบล็อกเว็บไซต์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน"

บล็อกเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ประกาศฉีกร่างธรรมนูญ คปค. [30 ก.ย. 49 - 07:31]
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน หรือ www.midnightuniv.org ถูกบล็อกการเข้าใช้แล้ว ตั้งแต่เวลา 20.00 น. เมื่อวันที่ 29 ก.ย. ที่ผ่านมา โดยผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตของบริษัท ทรู ทีโอที ทีทีแอนด์ที จะไม่สามารถเข้าเว็บไซต์นี้ได้ มีเพียงผู้ให้บริการบางแห่งและในต่างประเทศเท่านั้นที่ยังเข้าไปอ่านและแสดงความคิดเห็นได้ตามปกติ เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับเว็บไซต์ www.19sep.net

นายสมเกียรติ ตั้งนโม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ในฐานะผู้ดูแลเว็บให้สัมภาษณ์โดยเชื่อว่า การปิดกั้นการเข้าถึงเว็บฯ ครั้งนี้ น่าจะเกิดจากการที่มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้แถลงข่าวและประกาศฉีกร่างธรรมนูญการปกครองของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นำโดยนายนิธิ เอียวศรีวงศ์ เมื่อวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา เพราะถือว่าเป็นการกระทำเชิงสัญลักษณ์ที่รุนแรงมาก โดยที่ คปค. หรือหน่วยงานรัฐไม่สามารถดำเนินการทางกฎหมายใดๆ กับมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ เนื่องจากยังคงเป็นร่างกฎหมายที่ยังมิได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ และทรงลงพระปรมาภิไธยเพื่อประกาศใช้

"เราประเมินกันว่า นี่เป็นการเคลื่อนไหวทางสัญลักษณ์ที่รุนแรงมาก และอาจจะทำให้ไม่พอใจ จนเป็นเหตุใช้อำนาจแทรกแซงให้ปิดหรือป่วนเว็บ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทุกครั้งที่ชนชั้นปกครองรบกัน ประชาชนจะเป็นผู้เดือดร้อนเสมอ และสิทธิเสรีภาพก็ถูกยึดไป เหมือนกับที่ประชาธิปไตยถูกยึดไป ทั้งที่การอ่านบทความวิชาการ การแสดงความคิดเห็นเป็นสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์" อธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกล่าว

นายสมเกียรติ กล่าวอีกว่า การกระทำครั้งนี้ถือเป็นการคุกคามทางวิชาการ เป็นการคุกคามเสรีภาพของสื่อ และเป็นการคุกคามพื้นที่สาธารณะที่สำคัญ เป็นการทำให้พื้นที่สาธารณะสาบสูญไปจากสังคม ซึ่งไม่อาจยินยอมได้ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น และพฤติการณ์ที่ปรากฏชัดนี้ แสดงให้เราเห็นแล้ว เราจะสนับสนุนการกระทำรัฐประหารต่อไปไม่ได้

สำหรับเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เป็นเว็บที่รวบรวมบทความวิชาการจำนวนมาก ครอบคลุมทุกสาขา ตั้งแต่วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ จำนวนกว่า 1,500 เรื่อง หนากว่า 20,000 หน้า มีกระดานข่าวที่เพิ่งเปิดใหม่เป็นครั้งที่ 3 ซึ่งมีเนื้อหากว่า 1,300 หัวข้อ ช่วงเดือนที่ผ่านมามียอดผู้อ่านและแสดงความเห็นกว่า 2.5 ล้านครั้ง มีอัตราผู้ใช้จากประเทศไทยเป็นสัดส่วนประมาณ 85% นอกนั้นเป็นผู้ใช้จากต่างประเทศ

เลิกบล็อกมหา'ลัยเที่ยงคืน-เว็บไซต์ต่อต้านคณะปฏิรูปฯ [30 ก.ย. 49 - 17:36]
หลังจากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน หรือ www.midnightuniv.org ถูกบล็อกการเข้าใช้งานตั้งแต่เวลา 20.00 น. วานนี้ (29 ก.ย.) เนื่องจากได้แถลงข่าวและประกาศฉีกร่างธรรมนูญการปกครองของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการทุกรายสามารถเข้าไปอ่านและแสดงความคิดเห็นในเว็บไซต์ดังกล่าวได้ตามปกติแล้ว เช่นเดียวกับเว็บไซต์ www.19sep.net ที่เปิดให้ผู้เข้าใช้งานแสดงความคิดเห็นต่อต้านรัฐประหารที่ถูกบล็อกการเข้าใช้งานมาตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย. 2549 ก็สามารถเข้าชมได้แล้วเช่นกัน

สำหรับเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เป็นเว็บที่รวบรวมบทความวิชาการจำนวนมาก ครอบคลุมทุกสาขา ตั้งแต่วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ จำนวนกว่า 1,500 เรื่อง หนากว่า 20,000 หน้า และมีกระดานข่าวเปิดใหม่เป็นครั้งที่ 3 ซึ่งมีเนื้อหากว่า 1,300 หัวข้อ ซึ่งขณะนี้ พบว่า การนำเสนอเนื้อหาภายในเว็บไซต์ยังเป็นปกติ รวมทั้งแถลงข่าวและประกาศฉีกร่างธรรมนูญการปกครองของ คปค. ที่ยังไม่ถูกถอดออก

ส่วนเว็บไซต์ www.19sep.net เป็นเว็บกระดานข่าวที่เปิดให้ผู้เข้าชมตั้งกระทู้และแสดงความคิดเห็นต่อต้านการรัฐประหารอย่างชัดเจน มีกระทู้ต่างๆ มากกว่า 250 กระทู้ โดยกระทู้ที่มีคนอ่านมากที่สุดอยู่ที่ 3,206 คลิก

1.1.1 หนังสือตอบรับจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ที่ สม 0003.05 / ต..396
ถึง นายสมเกียรติ ตั้งนโม

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนวันที่ 10 ตุลาคม 2549 ของท่านแล้ว เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2549 สำนักงานฯ กำลังดำเนินการกับเรื่องร้องเรียนของท่านตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 หากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีมติเป็นอย่างไรจะแจ้งผลการดำเนินการให้ท่านทราบต่อไป

ในกรณีที่ท่านมีความประสงค์จะติดตามเรื่อง หรือชี้แจงข้อเท็จจริง หรือจัดส่งเอกสารเพิ่มเติม ขอได้โปรดอ้างถึงคำร้องเลขที่ 492/2549 ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการตรวจสอบข้อมูลของเจ้าหน้าที่เพื่อแจ้งให้ท่านได้รับทราบ รวมถึงการรวบรวมข้อมูลหลักฐานเข้าสู่เรื่องเดิม

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
10 ตุลาคม 2549
(ตราประทับครุฑแดง รูปวงกลม)

สำนักคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
กลุ่มงานประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
โทรศัพท์ / โทรสาร 02 2193573
สายด่วน 1377

1.2 ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองกลางและขอการคุ้มครองเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืนชั่วคราว

คำฟ้องศาลปกครองกลาง

คดีหมายเลขดำที่.............../๒๕๔๙
ศาลปกครองกลาง

วันที่ ๑๐ เดือน ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙

ข้าพเจ้า นายสมเกียรติ ตั้งนโม ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกิดวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๐๑ อายุ ๔๘ ปี อาชีพ ข้าราชการ อยู่ที่ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ ๕๐๒๐๒ โทรศัพท์ ๐๘๕- ๗๐๗๐๕๖๘ และ ๐๕๓-๘๓๙๐๒๒ อีเมล์ midnightuniv(at)gmail.com

มีความประสงค์ขอฟ้องกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ (ICT) ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร โดย เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๙ เจ้าพนักงานของกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ ( ICT ) ได้กระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรค หนึ่ง ( ๑ ) และ ( ๓ ) ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นการละเมิดต่อหลักนิติธรรม และในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ใช้อำนาจที่ไม่เป็นไปตามหลักนิติรัฐ โดยข้าพเจ้าใคร่ขอลำดับเหตุการณ์ที่เป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดหลักการขั้นพื้นฐานเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนพลเมือง และมีพฤติการณ์ที่เป็นการข่มขู่ ฉ้อฉล บิดเบือน การใช้อำนาจ และได้ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งต่อตัวข้าพเจ้า วงวิชาการ นักเรียนนักศึกษาในระดับต่างๆ ทั้งที่อยู่ภายในประเทศและต่างประเทศ

ดังมีรายละเอียดการกระทำดังต่อไปนี้

๑. เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เปิดดำเนินการเพื่อให้บริการทางวิชาการในความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ รวมไปถึงศิลปะและศาสนา และการให้บริการสารานุกรม ซึ่งมี URL : http://midnightuniv.tumrai.com โดยเว็บไซต์นี้ไม่คิดค่าบริการใดๆ ผลจากการดำเนินการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดผลประโยชน์อย่างกว้างขวางในการพัฒนาทางวิชาการ ดังจะเห็นได้จากการมีผู้เข้ามาใช้บริการสืบค้นข้อมูลและนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการ เป็นจำนวนประมาณ ๒ ล้านคลิกต่อเดือน มีสถาบันการศึกษาชั้นนำทั้งในและต่างประเทศให้ความสนใจในการศึกษาปรากฎการณ์ดังกล่าวเข้ามาศึกษาวิจัย เข้ามาแลกเปลี่ยนสนทนาทางวิชาการมากมาย

๒. เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2549 เวลา 20.00 น ที่ผ่านมา เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ได้ถูกระงับ(block)การให้บริการลง โดยกระทรวง ICT โดยไม่มีการแจ้งเตือน หรือชี้แจงถึงการกระทำใดๆ ของเว็บไซต์ที่เป็นความผิดในทางกฎหมายให้ข้าพเจ้าทราบ และได้มีโอกาสชี้แจงอันเป็นหลักสากลของอารยะประเทศพึงกระทำ ข้าพเจ้าในฐานะที่ทำหน้าที่ในการดูแลเว็บไซต์ทราบว่ามีการกระทำอันเป็นการละเมิดกฎหมายของเจ้าหน้าที่กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ(ICT) โดย

๓. เวลา 20.00 น วันที่ 29 กันยายน) ผู้ดูแลระบบ(webmaster) ได้คลิกเข้าไปตรวจตราความเรียบร้อยเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนที่ URL : http://midnightuniv.tumrai.com ปรากฏว่า URL ดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงเป็น http://mict.go.th/ci/block.htm และหน้าจอแรกซึ่งปรกติจะปรากฏเป็นภาพ homepage ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กลับปรากฏเป็นภาพตัวหนังสือ อ่านได้ใจความว่า The page cannot be displayed - The page you are looking for is currently unavailable…อันเป็นภาพหน้าจอที่มักปรากฏเสมอเมื่อเข้าสู่ระบบ internet แล้ว ต้องการเรียกดูข้อมูลตาม URL ต่างๆ แล้ว ไม่พบข้อมูลโดยทั่วไป

๔. ย้อนกลับไปยังเหตุการณ์ก่อนหน้านั้นคือ เวลาประมาณ 19.00 น วันที่ 29 กันยายน 2549 (ก่อนที่เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะถูกระงับการใช้) ทางเจ้าหน้าที่ของกระทรวง ICT ชื่อนายสุรชัย (ไม่ทราบนามสกุล) ได้โทรศัพท์ไปยังบริษัท Thaiis.com อันเป็นบริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการให้เช่าพื้นที่และการจัดทำเว็บไซต์ให้กับภาคธุรกิจ บริษัทดังกล่าวได้ให้เนื้อที่ฟรีแก่ทางมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในทุกสาขาฯ อันเป็นส่วนหนึ่งของการบริการสังคมแบบให้เปล่า ซึ่งทางบริษัท thaiis.com และมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ได้ร่วมมือกันมาโดยตลอดหลายปีที่ผ่านมา

ในวันและเวลาดังกล่าว นายสุรชัย (ไม่ทราบนามสกุล) จากกระทรวง ICT ได้โทรศัพท์ไปถึงพนักงานคอมพิวเตอร์ของบริษัท thaiis.com ซึ่งเป็นหญิง(ไม่ขอเปิดเผยนาม) ให้ระงับการให้บริการเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน แต่เนื่องจากว่า เวลาดังกล่าวเป็นยามวิกาลหลังเลิกงานแล้ว จึงไม่อาจดำเนินการใดๆ ได้ตามคำสั่ง นายสุรชัยจึงได้ให้เบอร์โทรศัพท์เอาไว้สำหรับติดต่อกลับไปยังกระทรวงคือ ๐๒-๕๖๘-๒๔๖๘ และ ๐๑-๓๕๒-๐๓๙๓ อย่างไรก็ตาม ในเวลา 20.00 น เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนก็ได้ถูกระงับการใช้ลง

๕. วันต่อมา เสาร์ที่ 30 กันยายน 2549 นายวรรณชัย วงษ์ตะลา ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัท thaiis.com ได้รับการติดต่อจากลูกค้าประมาณ 30 ราย ซึ่งได้มาเช่าใช้บริการเว็บไซต์ของบริษัท ได้โทรศัพท์มาถามว่า ทำไมจึงเข้าไปดูข้อมูลทางธุรกิจของตนไม่ได้ และให้รีบแก้ไขโดยด่วน เนื่องจากได้ทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อธุรกิจของบรรดาบริษัทที่มีเช่าใช้เหล่านี้

นายวรรณชัย (เจ้าของบริษัท thaiis.com) จึงได้โทรศัพท์เพื่อสอบถามถึงสาเหตุดังกล่าวไปยังนายสุรชัย ที่กระทรวง ICT (ที่ได้ทิ้งเบอร์ติดต่อไว้ให้ดังแจ้งแล้ว) ซึ่งได้รับการตอบกลับมาว่า เป็นวิธีการบล็อคที่ง่ายและได้ผลที่สุด และได้กล่าวต่อว่า หากไม่กันเว็บไซต์นี้ออกไปจากบริการ ก็จะไม่เปิดบล็อคให้ ดังนั้นเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจึงจำต้องย้ายไปอยู่ ณ ที่อยู่ใหม่

จากเหตุการณ์ที่ชี้แจงนี้ เป็นที่ชัดเจนว่าเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ถูกบล็อคโดยกระทรวง ICT ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน และการโฆษณาอย่างใหญ่หลวง

ดังนั้น ข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นเว็บมาสเตอร์ผู้ดูแลเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และในนามของผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายที่เกิดจากการกระทำที่เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงใคร่ขอให้ศาลปกครองห้ามการกระทำใดๆ ของกระทรวง ICTที่มีผลทำให้เกิดการปิดเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และขอให้ศาลสั่งให้กระทรวง ICT ดำเนินการเปิดเว็บไซต์ให้แก่มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนดังเดิม ตามความในมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง ( 1 ) และ ( 3 ) ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒

( ลงชื่อ )............................................. ผู้ฟ้องคดี
(นาย สมเกียรติ ตั้งนโม)


คำขอคุ้มครองชั่วคราว

คดีหมายเลขดำที่........................../ ๒๕๔๙
คดีหมายเลขแดงที่......................./ ๒๕๔๙
ศาลปกครองกลาง

วันที่………เดือน………………………………….พุทธศักราช ๒๕๔๙

ระหว่าง นายสมเกียรติ ตั้งนโม ผู้ฟ้องคดี / กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ

ข้าพเจ้า นายสมเกียรติ ตั้งนโม ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกิดวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๐๑ อายุ ๔๘ ปี อาชีพ ข้าราชการ อยู่ที่ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ ๕๐๒๐๒ โทรศัพท์ ๐๘๕- ๗๐๗๐๕๖๘ และ ๐๕๓-๘๓๙๐๒๒ อีเมล์ midnightuniv(at)gmail.com
ขอยื่นคำขอคุ้มครองชั่วคราว ดังมีข้อความตามที่จะกล่าวต่อไปนี้

ขอให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เพื่อระงับการปิดกั้นหรือการกระทำใดๆเกี่ยวกับเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน อันเป็นเว็บที่เปิดกว้างทางการศึกษาสำหรับประชาชนไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา

นายสมเกียรติ ตั้งนโม
เว็บมาสเตอร์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

คำขอไต่สวนฉุกเฉิน

คดีหมายเลขดำที่.........................../ ๒๕๔๙
คดีหมายเลขแดงที่........................./ ๒๕๔๙
ศาลปกครองกลาง

วันที่...........เดือน...............................พุทธศักราช ๒๕๔๙

ระหว่าง นายสมเกียรติ ตั้งนโม ผู้ฟ้องคดี / กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ

ข้าพเจ้า นายสมเกียรติ ตั้งนโม ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกิดวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๐๑ อายุ ๔๘ ปี อาชีพ ข้าราชการ อยู่ที่ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ ๕๐๒๐๒ โทรศัพท์ ๐๘๕- ๗๐๗๐๕๖๘ และ ๐๕๓-๘๓๙๐๒๒ อีเมล์ midnightuniv(at)gmail.com
ขอยื่นคำขอไต่สวนฉุกเฉิน ดังมีข้อความตามที่จะกล่าวต่อไปนี้

ขอให้ศาลปกครองกลางได้มีการพิจารณาไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน นักศึกษา ครู อาจารย์ และนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งได้ใช้ประโยชน์ทางวิชาการจากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งมีเนื้อหาข้อมูลกว่า ๒ หมื่นหน้า และมีผู้คลิกเข้าใช้บริการไม่น้อยกว่าเดือนละ ๒ ล้านคลิกโดยด่วน

นายสมเกียรติ ตั้งนโม
เว็บมาสเตอร์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

(หมายเหตุ : ในส่วนของคำขอไต่สวนฉุกเฉิน ซึ่งได้ยืนต่อเจ้าพนักงานศาลผู้รับเรื่องเวลา 16.00 น ภายหลังมิได้ยื่นต่อศาลปกครองไปพร้อมกัน ทั้งนี้เพราะทางเจ้าพนักงานฯชี้แจงว่า จะต้องอยู่ที่กรุงเทพฯ ในวันรุ่งขึ้นเพื่อไต่สวนทันที (การมอบฉันทะให้ตัวแทนเป็นผู้ชี้แจงสามารถกระทำได้ - แต่ด้วยเหตุสุดวิสัยเกี่ยวกับคดีที่ซับซ้อนดังกล่าว จึงไม่สามารถมอบให้ผู้อื่นเป็นผู้ทำการแทนได้) เนื่องจากผู้ฟ้องมีภารกิจราชการที่สำคัญซึ่งนัดหมายไว้แล้วมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงจำเป็นต้องถอนคำขอไต่สวนฉุกเฉินออก)

(เพิ่มเติม : ในส่วนของคำฟ้องที่ยื่นต่อศาลปกครองกลางนี้ ผู้ฟ้องได้แนบเอกสารประกอบคำฟ้อง ความยาวประมาณ 17 หน้ากระดาษ A4 ให้กับเจ้าพนักงานฯ ประกอบด้วย 1. รายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน ซึ่งบรรยายถึงเนื้อหาที่มีอยู่ครบถ้วน พร้อมผู้ใช้บริการ 2. รายชื่อนักวิชาการและเพื่อนสื่อมวลชน ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการปิดเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน ประมาณ 1000 รายชื่อ)

หลังจากยื่นเอกสารคำฟ้องต่อเจ้าพนักงานศาลปกครองกลางแล้ว ทางเจ้าพนักงานฯ ได้ให้ใบรับคำฟ้อง พร้อมเอกสารสำเนาคู่ฉบับและประทับตราศาลปกครองกลางสีน้ำเงิน ดังมีรายละเอียดดังนี้

ใบรับ สำนักงานศาลปกครองกลาง (แผ่นสีฟ้า)
คดีหมายเลขดำที่ 1811 / 2549
ชื่อผู้ฟ้อง… นายสมเกียรติ ตั้งนโม
ชื่อผู้ถูกฟ้อง… กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT)
ชื่อผู้อุทธรณ์............................................................
ชื่อผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่ง.............................................
เรื่อง......................................................................
ลงวันที่..................................................................
ส่งทางไปรษณีย์เมื่อวันที่......เดือน...........................พ.ศ.25...............
รับเรื่องวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2549 เวลา 16.00 น
(ลงชื่อ)…นางสาววีระนุช มีชัยรัตน์…เจ้าหน้าที่ศาลปกครอง
พนักงานคดีปกครอง

(หมายเหตุ : การดำเนินการทั้งหมดในหัวข้อที่ 9 กระทำเมื่อวันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม 2549 โดยในช่วงประมาณ 13.30 น ได้เข้ายื่นคำร้องต่อตัวแทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยนายสุรสีห์ กุศลนาวิน เป็นผู้รับเรื่อง. จากนั้นได้เดินทางไปยังศาลปกครองกลางเพื่อยื่นคำฟ้องต่อเจ้าพนักงานฯ โดยมีนางสาววีระนุช มีชัยรัตน์ เป็นผู้รับเรื่อง)

2. ความคืบหน้าเกี่ยวกับคดี การปิดเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน
2.1 ในส่วนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
วันที่ 13 ตุลาคม 2549 เวลา 13.30 น ที่ทำการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผมได้เข้าพบคุณจรัล ดิษฐาอภิชัย เพื่อให้ปากคำเกี่ยวกับรายละเอียดบางประการ และได้รับแจ้งว่า เรื่องนี้จะมีการนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในวันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม 2549

2.2 ในส่วนของศาลปกครองกลาง
วันที่ 13 ตุลาคม 2549 เวลา 15.30 น ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานศาลปกครองทางโทรศัพท์ ว่าจะส่งหนังสือคำสั่งเรียกตัวเพื่อทำการไต่สวนเกี่ยวกับคดีฟ้องนี้ โดยนัดผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย ประกอบด้วย

1. นายวรรณชัย วงษ์ตะลา (ในฐานะพยาน) ผู้บริหารบริษัท thaiis.com ผู้ให้เว็บไซต์ ม.เที่ยงคืนใช้พื้นที่
2. นายสมเกียรติ ตั้งนโม เว็บมาสเตอร์ ม.เที่ยงคืน (ผู้ฟ้องคดี)
3. ตัวแทนกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ (ถูกฟ้องคดี)

เพื่อไต่สวนและให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับคดี ที่ห้องพิจารณาคดี 4 ณ ศาลปกครองกลาง วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม 2549 เวลา 13.00 น

3. วันไต่สวนเพื่อขอการคุ้มครองชั่วคราว กรณีการปิดกั้นเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน
ในช่วงระหว่างรอถึงวันคำสั่งเรียกตัวไต่สวนเพื่อขอการคุ้มครองชั่วคราว (20 ตุลาคม) ผมและผู้บริหารบริษัท thaiis.com ได้มีการปรึกษาหารือร่วมกับนักกฎหมาย 2 ท่าน เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบริษัทเนื่องมาจากการที่เจ้าหน้าที่ของกระทรวง ICT ได้ใช้วิธีการปิดกั้นเว็บไซต์ด้วยวิธีการที่มักง่าย โดยการบล็อคทั้ง IP ซึ่งทำให้เว็บไซต์ธุรกิจที่อยู่บน IP เดียวกันประมาณ 30 เว็บไซต์ต้องพลอยใช้การไม่ได้ตามไปด้วย ดังนั้นจึงได้ร่างคำร้องสอดฝ่ายผู้ฟ้องคดี เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากกระทรวง ICT ดังรายละเอียดต่อไปนี้

3.1 คำร้องสอดฝ่ายผู้ฟ้องคดี (ร่าง)
คำร้องสอดฝ่ายผู้ฟ้องคดี คดีหมายเลขดำที่ ๑๘๑๑ / ๒๕๔๙
ศาลปกครองกลาง

วันที่ ๒๐ เดือน ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙

ข้าพเจ้า นายวรรณชัย วงษ์ตะลา ตำแหน่ง ผู้บริหารบริษัท thaiis.com (ไทยอินเตอร์แอ็คทีฟ สตูดิโอ)เกิดเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๑๗ อายุ ๓๑ ปี อาชีพ รับจ้าง อยู่ที่ บ้านเลขที่ ๒๒๘/๒ หมู่ ๗ ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ ๕๐๓๐๐ โทรศัพท์ …อีเมล์ …

เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๙ เวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น เจ้าหน้าที่กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศชื่อ นายสุรชัย (ไม่ทราบนามสกุล) เบอร์โทรศัพท์ ๐๒-๕๖๘๒๔๖๘ และ ๐๑-๓๕๒๐๓๙๓ ได้โทรมาแจ้งที่บริษัท thaiis.com ให้ปิดกั้นเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน แต่เนื่องจากเป็นยามวิกาลเจ้าหน้าที่บริษัทจึงไม่อาจดำเนินการให้ได้ หลังจากนั้นทางกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ ได้ทำการปิดกั้น IP 208.109.17.162 ซึ่งบน IP ดังกล่าวมีเว็บไซต์ที่ให้บริการทั้งหมด ๓๑ เว็บไซต์ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ทางด้านธุรกิจ ๓๐ เว็บไซต์ มีเพียงเว็บไซต์เดียวที่เป็นของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนซึ่งให้บริการทางวิชาการ(ที่ทางกระทรวงฯ ต้องการปิดกั้น)

เช้าวันรุ่งขึ้น (๓๐ กันยายน) ลูกค้าของบริษัท thaiis.com อย่างน้อย ๒ ราย คือนาย… และนาย… ซึ่งได้มาเช่าใช้พื้นที่เว็บไซต์ในการประกอบธุรกิจ ได้โทรศัพท์มาสอบถามว่าทำไมไม่สามารถเข้าไปใช้และให้บริการลูกค้าได้เหมือนปรกติ ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงได้ประสานกลับไปยังนายสุรชัย (ไม่ทราบนามสกุล) เจ้าหน้าที่กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น ระหว่างเวลา ๑๐.๐๐ - ๑๕๐๐ น (วันเดียวกัน) รวมแล้วได้มีการติดต่อกันทางโทรศัพท์ถึง ๖ ครั้ง ซึ่งรวมความแล้ว นายสุรชัย (ไม่ทราบนามสกุล) ต้องการให้ขับไล่เว็บไซต์ ม.เที่ยงคืนออกไปจาก IP ดังกล่าว มิฉะนั้นจะไม่คลายบล็อค IP นี้ ซึ่งวิธีการเช่นนี้ไม่ต่างไปจากการจับตัวประกันเพื่อบีบบังคับทำให้ต้องปฏิบัติตาม

จากผลของการกระทำดังกล่าวของนายสุรชัย (ไม่ทราบนามสกุล) เจ้าหน้าที่ของกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ ทำให้ทางบริษัทได้รับความเสียหายดังต่อไปนี้

๑. ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายให้กับพนักงาน ๔ คน เพื่อมาแก้ปัญหากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และรับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้าบริษัทในวันเสาร์ที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นเงิน ๒,๘๐๐ บาท

๒. บริษัท thaiis.com ขาดความน่าเชื่อถือในทางธุรกิจที่ประกอบการโดยสุจริตมาเป็นตลอดระยะเวลา ๕ ปี โดยไม่สามารถชี้แจงกับลูกค้าให้เข้าใจถึงการบีบคั้นนี้ได้ ดังนั้นทางบริษัทจึงขอเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้ เพื่อเยียวยาความเสียหายแก่การที่ไม่สามารถให้บริการตามปรกติเป็นเวลา ๒๐ ชั่วโมง เป็นจำนวนเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท.

๓. เป็นการบีบคั้นการประกอบธุรกิจโดยสุจริต

รวมค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับบริษัท thaiis.com เท่ากับ ๑๗,๘๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นเจ็ดพันแปดร้อยบาทถ้วน) และขอให้ศาลมีคำสั่งตักเตือนกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ ในการดำเนินการตามอำนาจการปกครองโดยมิชอบ และมักง่ายนี้

ลงชื่อ นายวรรณชัย วงษ์ตะลา
ผู้บริหารบริษัทไทยอินเตอร์แอ็คทีฟ สตูดิโอ

(หมายเหตุ : สำหรับคำร้องสอดฝ่ายผู้ฟ้อง(จริง) มีการแก้ไขจากฉบับร่างนี้เล็กน้อย)

3.2 บรรยากาศของการไต่สวนเพื่อการคุ้มครองชั่วคราว

ในวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ ศาลปกครองกลาง โดยตุลาการเจ้าของสำนวน นาย... ได้มีคำสั่งเรียกตัวให้ผู้ฟ้องคดี พยาน และผู้ถูกฟ้องคดี มาพบกันทั้ง ๓ ฝ่ายเพื่อทำการไต่สวน โดยในฝ่ายของผู้ฟ้องคดีมีนายสมเกียรติ ตั้งนโม, ฝ่ายพยานมีนายวรรณชัย วงษ์ตะลา และฝ่ายตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจจากกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศมี(นาย............ นามสกุล)์ (นิติกร) และนาย.................... (ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดี)[คนปิดกั้น IP ของบริษัท thaiis.com และเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน] ได้เข้าพบตุลาการเจ้าของสำนวน ที่ห้องพิจารณาคดี ๑๐ ศาลปกครองกลาง(เปลี่ยนจากห้องพิจารณาคดี ๔) ตึกเอ็มไพน์ทาวเวอร์ ชั้นที่ ๓๑ โดยในการไต่สวนครั้งนี้ ได้มีตัวแทนสื่อมวลชนคือ นายประวิทย์ โรจนพฤกษ์ (The Nation)นั่งฟังด้วย ตลอดเวลาการไต่สวนประมาณ ๔ ชั่วโมง

ในการไต่สวนครั้งนี้ ตุลาการเจ้าของสำนวนได้เรียกให้พยานให้การ ตามคำถามการไต่สวนเพื่อลำดับเหตุการณ์เรื่องราวทั้งหมดให้กระจ่าง จากนั้นตัวแทนจากกระทรวงได้นำหลักฐานว่าได้รับคำสั่งจาก คปค. (คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ฉบับที่ ๕ / ๒๕๔๙ เรื่อง ให้กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศและการสื่อสาร ควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และคำสั่งกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศและการสื่อสารที่ ๘๒ / ๒๕๔๙ เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานประสานงานผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) และผู้ดูแลเว็บไซต์ (Web Master) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ก. คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ฉบับที่ ๕ / ๒๕๔๙ เรื่อง ให้กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศและการสื่อสาร ควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองแล้วนั้น จึงให้กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการควบคุม ยับยั้ง สกัดกั้น และทำลายการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในระบบสารสนเทศ ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารทั้งปวง ที่มีบทความ คำพูด หรืออื่นใด อันอาจจะส่งผลกระทบต่อการปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตามที่คณะการปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีประกาศในเบื้องต้นแล้ว

สั่ง ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
ลงชื่อ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะการปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์เป็นทรงเป็นประมุข

ข. คำสั่งกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศและการสื่อสารที่ ๘๒ / ๒๕๔๙ เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานประสานงานผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) และผู้ดูแลเว็บไซต์ (Web Master)

ด้วย คณะการปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้มีคำสั่งที่ ๕ / ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ มอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศและการสื่อสาร ควบคุมการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องและเป็นไปตามคำสั่งดังกล่าว จึงแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบและประสานงานผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต และผู้ดูแลเว็บไซต์ โดยมีองค์ประกอบและหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้

1. องค์ประกอบ
1.1 นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ (หัวหน้าคณะทำงาน) ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศและการสื่อสาร
1.2 นายทศพร ซิมตระการ (คณะทำงาน) ที่ปรึกษาอาวุโส 12 บมจ.กสท โทรคมนาคม
1.3 นายอาจิน จิรชีพพัฒนา (คณะทำงาน) นักวิชาการคอมพิวเตอร์ 8 วช
1.4 นายกฤษฏิ์พงษ์ หริ่มเจริญภาค (คณะทำงาน) นักวิชาการคอมพิวเตอร์ 7 ว
1.5 นายสุรชัย นิลแสง (คณะทำงาน) นักวิชาการคอมพิวเตอร์ 7 ว
1.6 นายธนิศ สงกรานต์ (คณะทำงาน) เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 5

2. หน้าที่รับผิดชอบ
ให้ทำหน้าที่ชี้แจงและเสนอแนะในการให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) และผู้ดูแลเว็บไซต์ (Web Master)

ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2549
(นายไกรสร พรสุธี)
ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศและการสื่อสาร

(หมายเหตุ : .................................................................................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................................................... )


ตามการให้การของ(นาย............ นามสกุล) (นิติกร ผู้ได้รับมอบอำนาจจากกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ) ได้แสดงต่อตุลาการเจ้าของสำนวนในระหว่างการไต่สวน ระบุว่าหลังจากการปิดกั้นเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืนเป็นข่าวขึ้นมาแล้ว ทาง คปค. ได้พิจารณาเห็นว่าการปิดกั้น เว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน ซึ่งเป็นเว็บไซต์ทางวิชาการ ซึ่งมีผู้ใช้บริการเดือนละ 2 ล้านคลิก อาจก่อให้เกิดความกระทบกระเทือนต่อ คปค.และผู้ใช้บริการ จึงสั่งให้มีการคลายบล็อคในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ เวลา ๑๕.๐๐ น แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ใช้บริการยังไม่สามารถเข้าใช้เว็บไซต์ดังกล่าวนี้ได้ตามปรกติ เนื่องจากว่ายังมีผู้ให้บริการบางราย (ISP) อย่างเช่น TT&T ยังไม่คลายบล็อค จนกระทั่งวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๙

ตุลาการเจ้าของสำนวนจึงมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ ได้ทำหนังสือไปแจ้งผู้ให้บริการ (ISP) ทุกรายในประเทศไทย ให้คลายบล็อคทั้งหมด โดยให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยพลัน และให้กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศรายงานแจ้งมายังศาลปกครองกลางในวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

4. รายงานกระบวนการพิจารณา (ขั้นไต่สวน) (ต.๑๒) และ (ต.๑๓)
หลังจากใช้เวลาไปประมาณ ๔ ชั่วโมง ในขั้นไต่สวนเพื่อขอการคุ้มครองชั่วคราว กรณีปิดกั้นเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน ได้มีการบันทึกการไต่สวนเป็นลายลักษณ์อักษร และตุลาการเจ้าของสำนวนได้อนุญาตให้มีการคัดสำเนาการไต่สวนของตุลาการเจ้าของสำนวน, ฝ่ายพยาน, ฝ่ายผู้ฟ้องคดี, และฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดี ทั้งหมดรวม ๔ ฉบับให้ผู้เกี่ยวข้อง ตามคำขอของแต่ละฝ่ายนำไปถือไว้ดังนี้

4.1 รายงานกระบวนการพิจารณา(ขั้นไต่สวน) (ต.๑๒) [ตุลาการเจ้าของสำนวน]
คดีหมายเลขดำที่ ๑๘๑๑ / ๒๕๔๙ ศาลปกครองกลาง
วันที่ ๒๐ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙

ระหว่าง นายสมเกียรติ ตั้งนโม (ผู้ฟ้องคดี) กับ กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศและการสื่อสาร (ผู้ถูกฟ้องคดี)

...............................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................................................................/ อ่านแล้ว

....................................ตุลาการเจ้าของสำนวน
(นาย............ นามสกุล) บันทึก / อ่าน
....................................ผู้ฟ้องคดี
(นายสมเกียรติ ตั้งนโม)
....................................ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดี
(นาย............ นามสกุล)
....................................ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดี
(นาย............ นามสกุล)
....................................พยาน
(นายวรรณชัย วงษ์ตะลา)

4.2 รายงานกระบวนการพิจารณา(ขั้นไต่สวน) (ต.๑๓) [พยาน]
คดีหมายเลขดำที่ ๑๘๑๑ / ๒๕๔๙ ศาลปกครองกลาง
วันที่ ๒๐ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙

ระหว่าง นายสมเกียรติ ตั้งนโม (ผู้ฟ้องคดี) กับ กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศและการสื่อสาร (ผู้ถูกฟ้องคดี)

ข้าพเจ้าได้สาบานตนแล้วขอให้ถ้อยคำดังนี้
๑. ข้าพเจ้าชื่อ นายวรรณชัย วงษ์ตะลา
๒. เกิดวันที่ ๒๒ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ อายุ ๓๑ ปี
๓. ตำแหน่งหรืออาชีพ รับจ้าง
๔. ตั้งบ้านเรืออยู่ที่ เลขที่ ... หมู่ที่ ... ตำบล... อำเภอ... จังหวัดเชียงใหม่
๕. เกี่ยวข้องกับคู่กรณี พยาน

และขอให้ถ้อยคำดังต่อไปว่า......................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................................................................/ อ่านแล้ว

....................................ตุลาการเจ้าของสำนวน
(นาย............ นามสกุล) บันทึก / อ่าน
....................................ผู้ฟ้องคดี
(นายสมเกียรติ ตั้งนโม)
....................................ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดี
(นาย............ นามสกุล)
....................................ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดี
(นาย............ นามสกุล)
....................................พยาน
(นายวรรณชัย วงษ์ตะลา)

4.3 รายงานกระบวนการพิจารณา(ขั้นไต่สวน) (ต.๑๓) [ผู้ฟ้องคดี]
คดีหมายเลขดำที่ ๑๘๑๑ / ๒๕๔๙ ศาลปกครองกลาง
วันที่ ๒๐ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙

ระหว่าง นายสมเกียรติ ตั้งนโม (ผู้ฟ้องคดี) กับ กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศและการสื่อสาร (ผู้ถูกฟ้องคดี)

ข้าพเจ้าได้สาบานตนแล้วขอให้ถ้อยคำดังนี้
๑. ข้าพเจ้าชื่อ นายสมเกียรติ ตั้งนโม
๒. เกิดวันที่ ๑๓ เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๑ อายุ ๔๘ ปี
๓. ตำแหน่งหรืออาชีพ ข้าราชการ ตำแหน่งรองศาสตราจารย์
๔. ตั้งบ้านเรืออยู่ที่ เลขที่ ... ถนน... ตำบล... อำเภอ... จังหวัดเชียงใหม่
๕. เกี่ยวข้องกับคู่กรณี ผู้ฟ้องคดี

และขอให้ถ้อยคำดังต่อไปว่า.....................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................................................................/ อ่านแล้ว

....................................ตุลาการเจ้าของสำนวน
(นาย............ นามสกุล) บันทึก / อ่าน
....................................ผู้ฟ้องคดี
(นายสมเกียรติ ตั้งนโม)
....................................ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดี
(นาย............ นามสกุล)
....................................ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดี
(นาย............ นามสกุล)
....................................พยาน
(นายวรรณชัย วงษ์ตะลา)

4.4 รายงานกระบวนการพิจารณา(ขั้นไต่สวน) (ต.๑๓) [พยาน]

คดีหมายเลขดำที่ ๑๘๑๑ / ๒๕๔๙ ศาลปกครองกลาง
วันที่ ๒๐ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙

ระหว่าง นายสมเกียรติ ตั้งนโม (ผู้ฟ้องคดี) กับ
กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศและการสื่อสาร (ผู้ถูกฟ้องคดี)

ข้าพเจ้าได้สาบานตนแล้วขอให้ถ้อยคำดังนี้
๑. ข้าพเจ้าชื่อ (นาย............ นามสกุล)
๒. เกิดวันที่...เดือน.... พ.ศ. ๒๕๐๙ อายุ ... ปี
๓. ตำแหน่งหรืออาชีพ ข้าราชการ
๔. ตั้งบ้านเรืออยู่ที่ เลขที่ ... ตำบล... อำเภอลำลูกกา จังหวัด...
๕. เกี่ยวข้องกับคู่กรณี ผู้แทนผู้ถกฟ้องคดี

ข้าพเจ้าได้สาบานตนแล้วขอให้ถ้อยคำดังนี้
๑. ข้าพเจ้าชื่อ (นาย............ นามสกุล)
๒. เกิดวันที่....เดือน..................พ.ศ. ๒๕๐๐ อายุ ...ปี
๓. ตำแหน่งหรืออาชีพ ข้าราชการ
๔. ตั้งบ้านเรืออยู่ที่ เลขที่ ... ตำบล... อำเภอลำลูกกา จังหวัด...
๕. เกี่ยวข้องกับคู่กรณี ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดี

และขอให้ถ้อยคำดังต่อไปว่า.....................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................................................................/ อ่านแล้ว

....................................ตุลาการเจ้าของสำนวน
(นาย............ นามสกุล) บันทึก / อ่าน
....................................ผู้ฟ้องคดี
(นายสมเกียรติ ตั้งนโม)
....................................ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดี
(นาย............ นามสกุล)
....................................ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดี
(นาย............ นามสกุล)
....................................พยาน
(นายวรรณชัย วงษ์ตะลา)

5. ความคืบหน้าแห่งคดี (๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙)
ยุติปิดกั้นเว็บ ม.เที่ยงคืน และยกคำขอการคุ้มครองชั่วคราว


(เน้นข้อความ) ...จึงรับฟังได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดี(กระทรวง ICT) ได้แจ้งไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider) ยกเลิกการระงับเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี (midnightuniv.org) และอินเตอร์เน็ตโปรโตคอลแอดเดรส (IP Address : Internet Protocol Address) IP 208.109.17.162 ของ บริษัทไทยอินเตอร์แอคทีฟ สตูดิโอ จำกัด เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ แล้ว แต่ปรากฏว่าผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตบางราย ยังไม่ได้ทำการยกเลิกการระงับเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี ซึ่งผู้ถูกฟ้องรับว่าจะได้ตรวจสอบ และแจ้งให้ผู้บริการอินเตอร์เน็ตดำเนินการยกเลิกการระงับเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี อีกครั้งหนึ่ง (และรายงานให้ศาลทราบในวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๙)

...อีกทั้งเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี สามารถที่จะให้บริการบนอินเตอร์เน็ตโปรโตคอลแอดเดรส (IP Address) ได้ในต่างประเทศอีกด้วย

ดังนั้นความเดือดร้อนเสียหายของผู้ฟ้องคดี จึงได้รับการแก้ไขเยียวยาไปแล้วบางส่วน จึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่ศาล จะนำวิธีการคุ้มครองตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้ ตามมาตรา ๒๕๕ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

ด้วยเหตุดังที่วินิจฉัยข้างต้น จึงมีคำสั่งยกคำขอให้ศาลกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาของผู้ฟ้องคดีเสีย
(บางส่วนจากคำวินิจฉัยของศาลปกครอง ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๙ - ส่งถึง นายสมเกียรติ ตั้งนโม, คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙)

(ข้อความสมบูรณ์)
คำสั่งยกคำขอให้ศาลกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษา (ต.๒๐)
คดีหมายเลขดำที่ ๑๘๑๑ / ๒๕๔๙
ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
ศาลปกครอง

วันที่ ๒๖ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙

ระหว่าง นายสมเกียรติ ตั้งนโม ผู้ฟ้องคดี กับ
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ถูกฟ้องคดี

เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของและผู้ดูแลเว็บไซต์ (Web Master)มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี (Web site midnightuniv.org) หรือเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยเว็บไซต์ดังกล่าว บริษัทไทยอินเตอร์แอคทีฟ สตูดิโอ จำกัด ใช้ชื่อทางการค้าว่า Thaiis ซึ่งประกอบธุรกิจเป็นผู้ให้เช่าพื้นที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต (Host) ให้ผู้ฟ้องคดีใช้พื้นที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตบนอินเตอร์เน็ตโปรโตคอลแอดเดรส (IP Address : Internet Protocol Address) IP 208.109.17.162 โดยไม่คิดค่าเช่า

เว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี เป็นเว็บไซต์ให้บริการด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลป ศาสนา และการให้บริการสารานุกรมแก่ผู้สนใจทั่วไปโดยไม่คิดค่าบริการใดๆ ซึ่งมีผู้เข้ามาใช้บริการสืบค้นข้อมูล และสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศเข้ามาศึกษาวิจัยและแลกเปลี่ยนสนทนาทางวิชาการประมาณกว่าสองล้านครั้งต่อเดือน

เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๙ เวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น. เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีได้โทรศัพท์ไปยังบริษัทไทยอินเตอร์แอคทีฟ สตูดิโอ จำกัด ให้ระงับการให้บริการเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี แต่เจ้าหน้าที่ของบริษัทไม่อาจดำเนินการตามคำสั่งได้ เนื่องจากเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเลิกงานแล้ว แต่ในเวลา ๒๐.๐๐ น. เว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี ได้ถูกระงับการใช้โดยไม่ทราบสาเหตุ

ต่อมาวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ บริษัทไทยอินเตอร์แอคทีฟ สตูดิโอ จำกัด ได้รับการติดต่อจากลูกค้าประมาณ ๓๐ ราย ที่ได้เช้าพื้นที่บริการอินเตอร์เน็ตกับบริษัทว่า ไม่สามารถทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ตได้ บริษัทจึงได้สอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีว่า ได้แจ้งบริษัทผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP: Internet Service Provider)ประมาณ ๑๔ รายให้ระงับ(block)การให้บริการอินเตอร์เน็ตโปรโตคอลแอดเดรส (IP Address : Internet Protocol Address) IP 208.109.17.162 ซึ่งเป็นวิธีระงับการใช้อินเตอร์เน็ตที่ง่ายและได้ผลที่สุด และหากบริษัทไม่ระงับการให้บริการเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี ก็จะไม่ยกเลิกการระงับการให้บริการอินเตอร์เน็ตโปรโตคอลแอดเดรสดังกล่าว ดังนั้นบริษัทจึงได้ย้ายเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จีออกจากอินเตอร์เน็ตโปรโตคอลแอดเดรสของบริษัท

การกระทำดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดี(กระทรวง ICT) โดยไม่มีการแจ้งเตือนหรือชี้แจงต่อผู้ฟ้องคดีว่าเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี กระทำผิดกฎหมายอย่างไร เพื่อจะได้มีการชี้แจงตามหลักสากลของอารยะประเทศ ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายอันประเมินค่าไม่ได้ การกระทำดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ และละเมิดต่อหลักนิติธรรม อีกทั้งในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ใช้อำนาจที่ไม่เป็นไปตามนิติรัฐ

จึงขอให้ศาลปกครองห้ามการกระทำใดๆ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่มีผลทำให้เกิดการปิดเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี และสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการเปิดเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี ดังเดิม และได้มีคำขอลงวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เพื่อระงับการปิดกั้นหรือการกระทำใดๆ เกี่ยวกับเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา

ศาลได้ตรวจคำขอบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนพิพากษาในคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีลงวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ และได้ตรวจพิจารณาบทกฎหมายและกฎที่สำคัญคือ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๓ รวมทั้งศาลได้ไต่สวนคู่กรณีเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ แล้ว เห็นว่า

ในการพิจารณาคำขอให้บรรเทาทุกข์ชั่วคราวของผู้ฟ้องคดีในกรณีนี้ ต้องใช้หลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ข้อ ๗๗ ของระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๓ ซึ่งกำหนดไว้ว่า ให้นำความในลักษณะ ๑ ของภาค ๔ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับกับหลักเกณฑ์พิจารณาคำขอ เงื่อนไขในการออกคำสั่งของศาล เพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา โดยอนุโลมเท่าที่สภาพของเรื่องจะเปิดช่องให้กระทำได้ และโดยไม่ขัดต่อระเบียบนี้และหลักกฎหมายทั่วไปว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง

เมื่อศาลได้พิจารณาบทบัญญัติในลักษณะ ๑ ของภาค ๔ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว เห็นว่า บทบัญญัติที่จะนำมาใช้ในการพิจารณาคำขอบรรเทาทุกข์ชั่วคราวของผู้ฟ้องคดีในกรณีนี้ โดยไม่ขัดต่อระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๓ และหลักกฎหมายทั่วไปว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง ได้แก่ บทบัญญัติในมาตรา ๒๕๔ วรรคหนึ่ง (๒) และบทบัญญัติในมาตรา ๒๕๕ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คดีนี้ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๙ เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีได้ระงับการใช้เว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี (Web site midnightuniv.org) หรือเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนของผู้ฟ้องคดี ซึ่งเป็นเว็บไซต์ให้บริการด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลป ศาสนา และการให้บริการสารานุกรมแก่ผู้สนใจทั่วไปโดยไม่คิดค่าบริการใดๆ ซึ่งมีผู้เข้ามาใช้บริการสืบค้นข้อมูล และสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศเข้ามาศึกษาวิจัยและแลกเปลี่ยนสนทนาทางวิชาการประมาณกว่าสองล้านครั้งต่อเดือน ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายอันประเมินค่าไม่ได้ การกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ เห็นว่า

ผู้ถูกฟ้องคดีได้ให้ถ้อยคำต่อศาลในขั้นการไต่สวนคู่กรณีและบริษัทไทยอินเตอร์แอคทีฟ สตูดิโอ จำกัด ในฐานะพยาน เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ โดยผู้ถูกฟ้องคดี(กระทรวง ICT)ให้ถ้อยคำว่า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) ได้มีคำสั่งที่ ๕/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๙ ให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการควบคุม ยับยั้ง สกัดกั้น และทำลายการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในระบบสารสนเทศ ผ่านเครือข่ายการสื่อสารทั้งปวง ที่มีบทความ คำพูด หรืออื่นใดอันส่งผลกระทบต่อการปฏิรูปปกครอง ผู้ถูกฟ้องจึงได้มีคำสั่ง ๘๒/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๙ แต่งตั้งคณะทำงานประสานงานผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider) และผู้ดูแลเว็บไซต์ (Webmaster) โดยให้ผู้มีหน้าที่ชี้แจงและเสนอแนะในการให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต และผู้ดูแลเว็บไซต์

ต่อมาคณะทำงานดังกล่าวได้ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี ลงบทความไม่เหมาะสม จึงได้แจ้งไปที่บริษัทไทยอินเตอร์แอคทีฟ สตูดิโอ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าพื้นที่อินเตอร์เน็ต (Host) เพื่อขอทราบข้อมูลและผู้ดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เจ้าหน้าที่บริษัทให้ข้อมูลไม่ชัดแจ้ง จึงได้ขอความร่วมมือไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider) ที่เกี่ยวข้องทำการระงับ (Block) เว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี โดยระงับไปที่ชื่อเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี และ IP Address ของบริษัทไทยอินเตอร์แอคทีฟ สตูดิโอ จำกัด ที่ให้ผู้ฟ้องคดีใช้พื้นที่อินเตอร์เน็ต

ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีได้รับแจ้งจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) ว่า สถานการณ์ด้านความมั่นคงคลี่คลายลง ผู้ถูกฟ้องคดีจึงได้แจ้งไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider) ยกเลิกการระงับเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ แล้ว แต่ยังมีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) บางบริษัทที่ยังไม่ได้ทำการยกเลิกการระงับเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีจะได้แจ้งให้ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง

ส่วนพยานได้ให้ถ้อยคำว่า บริษัทไทยอินเตอร์แอคทีฟ สตูดิโอ จำกัด เป็นผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตต่อลูกค้า (Host) และให้บริการกับผู้ฟ้องคดีโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เนื่องจากบริษัทให้การส่งเสริมเว็บไซต์เพื่อการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๙ เวลา ๑๙.๐๐ น. เจ้าหน้าที่ของบริษัทได้รับการติดต่อประสานงานจากเจ้าหน้าที่ผู้ถูกฟ้องคดีให้ทำการปิดเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี เนื่องจากลงบทความที่ไม่เหมาะสม แต่เจ้าหน้าที่ของบริษัทไม่อาจดำเนินการได้ เพราะไม่ใช่เจ้าหน้าที่ทางด้านเทคนิค

ต่อมาได้มีผู้เช่าพื้นที่อินเตอร์เน็ตซึ่งอยู่ในอินเตอร์เน็ตโปรโตคอลแอดเดรสเดียวกับ เว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี ประมาณ ๓๐ ราย ไม่สามารถทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ตได้ พยานจึงได้ติดต่อเจ้าหน้าที่ผู้ถูกฟ้องคดีเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งต่อมาวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ พยานได้แก้ไขเว็บไซต์อื่นๆ ให้สามารถทำการได้ แต่สำหรับเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี พยานยังไม่สามารถดำเนินการให้บริการตามปกติได้ เนื่องจากผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครอง จึงต้องรอความชัดเจนก่อน

จึงรับฟังได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดี(กระทรวง ICT) ได้แจ้งไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider) ยกเลิกการระงับเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี และอินเตอร์เน็ตโปรโตคอลแอดเดรส (IP Address : Internet Protocol Address) IP 208.109.17.162 ของ บริษัทไทยอินเตอร์แอคทีฟ สตูดิโอ จำกัด เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ แล้ว แต่ปรากฏว่าผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตบางราย ยังไม่ได้ทำการยกเลิกการระงับเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี ซึ่งผู้ถูกฟ้องรับว่าจะได้ตรวจสอบและแจ้งให้ผู้บริการอินเตอร์เน็ต ดำเนินการยกเลิกการระงับเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี อีกครั้งหนึ่ง

นอกจากนี้ บริษัทไทยอินเตอร์แอคทีฟ สตูดิโอ จำกัด ที่ให้ผู้ฟ้องคดีใช้พื้นที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต ได้ย้ายเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี กลับคืนมาไว้ที่อินเตอร์เน็ตโปรโตคอลแอดเดรสดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้เชื่อม (Link) ไปยังเว็บเพจ (Web page) ของเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี ซึ่งผู้ฟ้องคดีกับบริษัทไทยอินเตอร์แอคทีฟ สตูดิโอ จำกัด จะต้องไปว่ากล่าวกันเองเพื่อให้เว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี สามารถบริการได้เช่นเดิม อีกทั้งเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี สามารถที่จะให้บริการบนอินเตอร์เน็ตโปรโตคอลแอดเดรส (IP Address) ได้ในต่างประเทศอีกด้วย

ดังนั้นความเดือดร้อนเสียหายของผู้ฟ้องคดีจึงได้รับการแก้ไขเยียวยาไปแล้วบางส่วน จึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่ศาลจะนำวิธีการคุ้มครองตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้ ตามมาตรา ๒๕๕ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

ด้วยเหตุดังที่วินิจฉัยข้างต้น จึงมีคำสั่งยกคำขอให้ศาลกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาของผู้ฟ้องคดีเสีย

นายชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว (ตุลาการเจ้าของสำนวน)
ตุลาการศาลปกครองกลาง

นายประวิตร บุญเทียม
ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง

นายณัฐ รัฐอมฤต
ตุลาการศาลปกครองกลาง

(หมายเหตุ : การที่ศาลปกครองกลางยกคำขอความคุ้มครองชั่วคราว นอกจากคำพิพากษาข้างต้นแล้ว ยังประกอบด้วย การที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ที่ให้ผู้ถูกฟ้องคดี(กระทรวง ICT) ดำเนินการแจ้งการยกเลิกการขอความร่วมมือยุติการเผยแพร่เว็บไซต์ www.midnightuniv.org ไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ดังจดหมายยืนยันของกระทรวงฯ ที่มีไปถึงผู้ให้บริการอินเตอร์(ISP)ในประเทศไทย จำนวน ๑๗ ราย ดังรายละเอียดที่รายงานถึงตุลาการศาลปกครองกลาง เจ้าของสำนวน ตามสำเนาคัดลอกต่อไปนี้)

ที่ ทก 0200.14/5907
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
89/2 หมู่ 3 บมจ.ทีโอที ถนนเจ้งวัฒนะ
เขตหลักสี่ กทม.10210

27 ตุลาคม 2549

เรื่อง รายงานผลการดำเนินการแจ้งให้ผู้บริการยกเลิกการปิดกั้นเว็บไซต์ www.midnightuniv.org
เรียน ท่านตุลาการศาลปกครองกลาง (นายชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว)
อ้างถึง คดีศาลปกครองกลาง หมายเลขคดีที่ 1811/2549 ระหว่างนายสมเกียรติ ตั้งนโม ผู้ฟ้องคดี กับ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

สิ่งที่ส่งมาด้วย สำเนาเอกสารที่จะดำเนินการส่งให้ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต

ตามที่มีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดี (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ในคดีหมายเลขดำที่ 1811/2549 ดำเนินการแจ้งการยกเลิกการขอความร่วมมือยุติการเผยแพร่เว็บไซต์ www.midnightuniv.org ไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่แจ้งขอความร่วมมือไปนั้น
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ดำเนินการส่งอีเมล์ที่มีเนื้อหาเช่นเดียวกับที่ส่งมาด้วยไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต และได้ดำเนินการประสานไปยัง บมจ. กสท. โทรคมนาคม ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต กับ บมจ.ทีทีแอนด์ที ให้ยกเลิกการปิดกั้นเว็บไซต์ www.midnightuniv.org แล้ว

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

ขอแสดงความนับถือ

(นายไกรสร พรสุธี)
ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

สำนักงานปลัดกระทรวงฯ
กลุ่มตรวจสอบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
โทร 0 2505 7147
โทรสาร 0 2505 2498

(ข้างล่างนี้คือสำเนาแจ้งจากผู้ถูกฟ้องคดี (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ที่มีถึงบริษัทที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตรายหนึ่ง)

ที่ ทก 0200.14/ ว 5908
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
89/2 หมู่ 3 บมจ.ทีโอที ถนนเจ้งวัฒนะ
เขตหลักสี่ กทม.10210

27 ตุลาคม 2549

เรื่อง ขอยกเลิกการปิดกั้นเว็บไซต์ www.midnightuniv.org
เรียน กรรมการผู้จัดการ Reach Network (Thailand)

ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ส่งอีเมล์ขอความร่วมมือไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ให้ยุติการเผยแพร่เว็บไซต์ www.midnightuniv.org ในวันที่ 29 กันยายน 2549 และได้ส่งอีเมล์ยกเลิกขอความร่วมมือยุติการเผยแพร่เว็บไซต์ www.midnightuniv.org ในวันที่ 30 กันยายน 2549 นั้น

โดยที่ปรากฏว่ากรณีดังกล่าว ได้มีการฟ้องคดีไปยังศาลปกครองกลาง ในกรณีที่กระทรวงฯ ได้มีการขอความร่วมมือไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ให้ยุติการเผยแพร่เว็บไซต์ www.midnightuniv.org ซึ่งกระทรวงฯ ได้ชี้แจงต่อศาลฯ ว่า ได้ยกเลิกการขอความร่วมมือในการยุติการเผยแพร่เว็บไซต์ดังกล่าวแล้ว ดังนั้น ก่อนการพิจารณาคำขอคุ้มครองชั่วคราว ศาลปกครองกลางจึงได้มีคำสั่งให้กระทรวงฯ ดำเนินการแจ้งยืนยันไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต เพื่อขอความร่วมมือยกเลิกการปิดกั้นเว็บไซต์บางเว็บไซต์ที่ยังปิดกั้นอยู่ กระทรวงฯ

จึงขอเรียนยืนยันเพื่อยกเลิกการขอความร่วมมือยุติการเผยแพร่เว็บไซต์ทางอีเมล์ ซึ่งส่งไปวันที่ 29 กันยายน 2549 อีกครั้งหนึ่ง ตามรายการเว็บไซต์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติดังนี้

1. รายการที่ 3323 www.midnightuniv.org
2. รายการที่ 3324 midnightuniv.org
3. รายการที่ 3325 www.geocities.com/midnightuniv
4. รายการที่ 3326 geocities.com/midnightuniv

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย จักขอบคุณยิ่ง

ขอแสดงความนับถือ

(นายไกรสร พรสุธี)
ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

สำนักงานปลัดกระทรวงฯ
กลุ่มตรวจสอบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
โทร 0 2505 7147
โทรสาร 0 2505 7118

รายชื่อบริษัทต่างๆ ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้แจ้งให้ยุติการปิดกั้นเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ประกอบด้วยบริษัทที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต(ISP)ในประเทศไทย ดังต่อไปนี้

เรียน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เลนโซ่ดาด้าคอม จำกัด
เรียน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เวิล์ดเน็ต แอนด์ เซอร์วิสเซส จำกัด
เรียน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเน็ต จำกัด
เรียน กรรมการผู้จัดการ บริษัท แปซิฟิค อินเตอร์เน็ต (ประเทศไทย) จำกัด
เรียน กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เน็ต จำกัด
เรียน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด
เรียน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดาด้าลายไทย จำกัด
เรียน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน)
เรียน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟาร์อิสท์ อินเตอร์เน็ต จำกัด
เรียน กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทอร์เน็ต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวานเดอร์ จำกัด
เรียน กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิลคอมซิสเต็มซ จำกัด
เรียน กรรมการผู้จัดการ บริษัท สามารถ อินโฟเน็ต จำกัด
เรียน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรู อินเตอร์เน็ต จำกัด
เรียน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชมะนันท์เวิล์ดเน็ต จำกัด
เรียน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เค เอส ซี คอมเมอร์เชียล อินเตอร์เน็ต จำกัด
เรียน กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน)

(เอกสารข้างต้นนี้ได้รับเมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๙)

(หมายเหตุ : สำหรับคดี ระหว่างนายสมเกียรติ ตั้งนโม (ผู้ฟ้องคดี) กับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ผู้ถูกฟ้องคดี) หากมีความคืบหน้าอย่างไร จะได้รับการรายงานอยู่บนเว็บเพจนี้ต่อไป)

6. การสิ้นสุดแห่งคดี ยกที่ ๑
คำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุแห่งการฟ้องคดีหมดสิ้นไป

6.1 หนังสือแจ้งคำสั่งศาล
คดีหมายเลขดำที่ ๑๘๑๑ /๒๕๔๙
คดีหมายเลขแดงที่ ๖๕/๒๕๕๐
ศาลปกครองกลาง

วันที่ ๒๓ เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
ระหว่าง นายสมเกียรติ ตั้งนโม…ผู้ฟ้องคดี และ
บริษัท ไทยอินเตอร์แอดทีฟ สตูดิโอ จำกัด…ผู้ร้องสอด
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร…ผู้ถูกฟ้องคดี

หนังสือถึง นายสมเกียรติ ตั้งนโม…ผู้ฟ้องคดี

ด้วยคดีนี้ ศาลมีคำสั่ง…ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ…รายละเอียดปรากฎตามสำเนาคำสั่งที่แนบมาพร้อมหนังสือนี้
ฉะนั้นจึงแจ้งมาเพื่อทราบ

(นายอลงกต ไผ่พูล)
ผู้อำนวยการกลุ่มออกหมายและแจ้งคำสั่งศาล
ปฏิบัติราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานศาลปกครองกลาง

หมายเหตุ: ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความต่อศาลปกครองสูงสุดภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งศาล. การยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวให้ยื่นต่อศาลปกครองกลาง โดยจะไปยื่นที่ศาลหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้

ศาลปกครองกลาง
๑๙๕ อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ถนนสาทรใต้ เขจสาทร กรุงเทพฯ ๑๐๑๒๐
โทรศัพท์ ๐-๒๖๗๐-๑๒๐๐ - ๖๓ ต่อ ๗๐๑๓ - ๔
โทรสาร ๐-๒๖๗๐-๑๓๒๓

+++++++++++++++++++++++++++++++++

6.2 คำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุแห่งการฟ้องคดีหมดสิ้นไป
คดีหมายเลขดำที่ ๑๘๑๑ /๒๕๔๙
คดีหมายเลขแดงที่ ๖๕/๒๕๕๐
พระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
ศาลปกครองกลาง

วันที่ ๑๙ เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
ระหว่าง นายสมเกียรติ ตั้งนโม…ผู้ฟ้องคดี และ
บริษัท ไทยอินเตอร์แอดทีฟ สตูดิโอ จำกัด…ผู้ร้องสอด
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร…ผู้ถูกฟ้องคดี

เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของและผู้ดูแลเว็บไซต์ (Webmaster) มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี (Website : www.midnightuniv.org) หรือเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยเว็บไซต์ดังกล่าวบริษัทไทยอินเตอร์แอคทีฟ สตูดิโอ จำกัด ใช้ชื่อทางการค้าว่า Thaiis ซึ่งประกอบธุรกิจเป็นผู้ให้เช่าพื้นที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต (Host) ให้ผู้ฟ้องคดีใช้พื้นที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต บนอินเตอร์เน็ตโปรโตคอลแอดเดรส (IP address : Internet Protocol address) IP 208.109.17.162 โดยไม่คิดค่าเช่า ซึ่งเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี เป็นเว็บไซต์ให้บริการทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลป และศาสนา และการให้บริการสารานุกรมแก่ผู้สนใจทั่วไปโดยไม่คิดค่าให้บริการใดๆ ซึ่งมีผู้เข้ามาใช้บริการสืบค้นข้อมูล และสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศเข้ามาศึกษา วิจัย และแลกเปลี่ยนสนทนาทางวิชาการประมาณกว่าสองล้านครั้งต่อเดือน

เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน๒๕๔๙ เวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น. เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีได้โทรศัพท์ไปยังบริษัทไทยอินเตอร์แอคทีฟ สตูดิโอ จำกัด ให้ระงับการให้บริการเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี แต่เจ้าหน้าที่ของบริษัทไม่อาจดำเนินการตามคำสั่งได้ เนื่องจากเป็นเวลา ๒๐.๐๐ นาฬิกา ซึ่งเป็นช่วงเลิกงานแล้ว เว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี จึงได้ถูกระงับการใช้โดยไม่ทราบสาเหตุ

ต่อมาวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ บริษัทไทยอินเตอร์แอคทีฟ สตูดิโอ จำกัด ได้รับการติดต่อจากลูกค้าประมาณ ๓๐ รายที่ได้เช่าพื้นที่บริการอินเตอร์เน็ตกับบริษัทว่า ไม่สามารถทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ตได้ บริษัทจึงได้สอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีว่า ได้แจ้งบริษัทให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP: Internet Service Provider) ประมาณ ๑๔ รายให้ระงับ (Block) การให้บริการอินเตอร์เน็ตโปรโตคอลแอดเดรส (IP address : Internet Protocol address) IP 208.109.17.162 ซึ่งเป็นวิธีการระงับการใช้อินเตอร์เน็ต ที่ง่ายและได้ผลที่สุด และหากบริษัทไม่ระงับการให้บริการเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี ก็จะไม่ยกเลิกการระงับการให้บริการอินเตอร์เน็ตโปรโตคอลแอดเดรสดังกล่าว ดังนั้นบริษัทจึงได้ย้ายเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จีออกจากอินเตอร์เน็ตโปรโตคอลแอดเดรสของบริษัท

การกระทำดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ผู้ถูกฟ้องคดี โดยไม่มีการแจ้งเตือนหรือชี้แจงต่อผู้ฟ้องคดีว่าเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จีกระทำผิดกฎหมายอย่างไร เพื่อที่จะได้มีการชี้แจงตามหลักสากลของอารยประเทศ ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายอันประเมินค่าไม่ได้ การกระทำดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑)และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ และละเมิดต่อหลักนิติธรรม อีกทั้งในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ใช้อำนาจได้ใช้อำนาจที่ไม่เป็นไปตามหลักนิติรัฐ

จึงขอให้ศาลปกครองห้ามการกระทำใดๆ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่มีผลทำให้เกิดการปิดเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี และสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการเปิดเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จีดังเดิม และได้มีคำขอลงวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เพื่อระงับการปิดกั้นหรือการกระทำใดๆ เกี่ยวกับเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา

ในระหว่างการพิจารณาคดีผู้ฟ้องได้ยื่นคำร้องสอด ลงวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ เข้ามาเป็นฝ่ายผู้ฟ้องคดี โดยเรียกค่าเสียหาจากผู้ถูกฟ้องคดีจำนวน ๑๗,๘๐๐ บาท

ศาลได้มีคำสั่งยกคำขอให้ศาลกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๙ และมีคำสั่งไม่รับคำร้องสอดไว้พิจารณาเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๐

ศาลได้ตรวจคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีลงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ และได้ตรวจพิจารณาบทกฎหมายและกฎที่สำคัญคือ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๓ รวมทั้งศาลได้ไต่สวนคู่กรณีเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ แล้วเห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีคือ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีปิดเว็บไซต์มิดไนท์ยูนิฟดอทโออาร์จี ทำให้ผู้ฟ้องคดีในฐานะผู้ดูแลเว็บไซต์ (Webmaster) ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒

แต่เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีได้ชี้แจงต่อศาลว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้แจ้งไปยัง บมจ. กสท.โทรคมนาคม กับ บมจ.ทีที่แอนดที ซึ่งเป็นผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ให้ยกเลิกการปิดกั้นเว็บไซต์ www.midnightuniv.org แล้ว ตามหนังสือด่วนที่สุดที่ ทก.๐๒๐๐.๑๔/๕๙๔๗ ลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๙ เป็นผลให้เว็บไซต์ www.midnightuniv.org กลับให้บริการได้เช่นเดิม เหตุแห่งการฟ้องคดีดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง ความเดือดร้อนหรือเสียหายของผู้ฟ้องคดีได้หมดสิ้นไปแล้ว และไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องออกคำบังคับเพื่อเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายของผู้ฟ้องคดี ตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันอีกต่อไป

จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

นายชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว…ตุลาการเจ้าของสำนวน
ตุลาการศาลปกครองกลาง

นายประวิตร บุญเทียม
ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง

นายณัฐ รัฐอมฤต
ตุลาการศาลปกครองกลาง


สนใจอ่านต่อ กรุณาคลิกไปอ่านบทความลำดับที่ 1051

 


 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม



มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1000 เรื่อง หนากว่า 17000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com


สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 


 

H
สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นนี้ไม่อาจถูกพรากไปจากตัวของประชาชนทุกคนได้ และหากสิทธินี่ถูกพรากจากไปด้วยการใช้กำลังบังคับดังที่เป็นอยู่ ก็จะทำให้ทั้งประชาชนและผู้ปกครองไม่สามารถทราบถึงปัญหา ความกังวลใจ ของสมาชิกในสังคมที่มีอยู่ได้ ประเพณีทางการปกครองในประเทศของเราที่ผ่านมา ไม่ว่าจะยุคใดสมัยใดนั้น ได้ให้ความเคารพกับความคิดเห็นที่หลากหลายของประชาชนมาโดยตลอด การทำลายเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นโดยเฉพาะการปิดกั้นการแสดงออกทางความคิดเห็น และปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นไปในด้านเดียวกับที่ท่านต้องการได้ยินนั้น ไม่ได้เป็นหลักประกันที่ดีถึงความจริงใจ และความเข้าใจของท่านที่มีต่อกระบวนการทางประชาธิปไตยที่ได้ดำเนินมาเป็นเวลายาวนานในสังคมของเรา
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.
R