นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ


The Midnight University

ย้อนรอยข่าว แกะเกาด้วยสาระ
หนังสือราชการหรือหนังสือส่วนตัว
ชำนาญ จันทร์เรือง
นักวิชาการทางกฎหมาย


หมายเหตุ : บทความนี้ได้รับมาจากผู้เขียน
ทางกองบรรณาธิการได้รวบรวมเป็นส่วนหนึ่งของสารานุกรมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เพื่อใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการ

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 782
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 3.5 หน้ากระดาษ A4)



ย้อนรอยข่าว แกะเกาด้วยสาระ
หนังสือราชการหรือหนังสือส่วนตัว

จากการที่มีนายทหารผู้หนึ่งส่งหนังสือที่มีตราครุฑหรือที่เราเรียกว่า "หนังสือราชการ" ไปยังนักจัดรายการวิทยุโทรทัศน์ชื่อดัง ซึ่งไม่ต้องบอกชื่อก็คงรู้แล้วว่าเป็นใคร ให้ยุติการกระทำที่ตนเองเห็นว่าไม่สมควรเสีย ซึ่งเรื่องดังกล่าวก็เป็นที่ฮือฮา มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

ที่เห็นด้วยก็บอกเป็นสิทธิที่ทำได้เพราะเป็นเรื่องส่วนตัว แต่ที่ไม่เห็นด้วยก็บอกว่าเป็นการไม่เหมาะสมต่อวิชาชีพทหาร หรือหนักกว่านั้นก็เห็นว่าเป็นการข่มขู่สื่อมวลชนและล่าสุดก็เป็นเรื่องของหนังสือเชิญไปขึ้นบ้านใหม่โดยมีตราของส่วนราชการอยู่บนหัวกระดาษ ซึ่งในส่วนของผมคงไม่มีความเห็นว่าวิวาทะครั้งนี้ใครถูกใครผิดหรืออยู่ข้างใคร แต่จะเสนอความเห็นในเรื่องของการใช้หนังสือราชการว่าจริง ๆ แล้วคืออะไรและจะใช้อย่างไรกับใคร ในเรื่องอะไร ฯลฯ

ราชการ
คำว่าราชการนั้นมีการให้คำนิยามไว้มากมายแต่ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน คือ

- พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ให้ความหมายไว้ว่า "ราชการ น. การงานของรัฐบาลหรือของพระเจ้าแผ่นดิน"
- พจนานุกรมฉบับมติชนให้ความหมายไว้ว่า "ราชการ น. งานของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งรัฐบาลเป็นผู้จัดการ"

- พจนานุกรมไทยฉบับอธิบาย ๒ ภาษา ของ เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ ให้ความหมายไว้ว่า ราชการ (กิจการของรัฐ) official (/public) business; public affair; government service และยังให้ความหมายของ "หนังสือราชการ" ว่า official document; official (/business) letter

หนังสือราชการ
และเมื่อพิจารณาถึงความหมายของหนังสือราชการตามระเบียบสำนักนายก
รัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ แล้วจะเห็นว่า หนังสือราชการ หมายถึง เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ซึ่งได้แก่

ก) "หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ" เช่น หนังสือกระทรวงมหาดไทย มีถึง กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น หรือ

ข) "หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่น ซึ่งมิใช่สำนักงานราชการหรือไปถึงบุคคลภายนอก" เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มีหนังสือถึง โรงพยาบาลเอกชน กระทรวงมหาดไทย มีหนังสือถึง นายชำนาญ จันทร์เรือง เป็นต้น หรือ

ค) "หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือที่บุคคลภายนอก มีมาถึงส่วนราชการ" เช่น สมาคมโรงพยาบาลเอกชน มีหนังสือถึงกระทรวงศึกษาธิการ หรือ นายชำนาญ จันทร์เรือง มีหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทย เป็นต้น หรือ

ง) "เอกสารที่ทางราชการ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ" เช่น ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น หรือ

จ) "เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ" เช่น ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษฯ เป็นต้น

หนังสือราชการ มี ๖ ชนิด
คือ หนังสือภายนอก หนังสือภายใน หนังสือประทับตรา หนังสือสั่งการ หนังสือประชาสัมพันธ์ และหนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้น หรือรับไว้เป็นหลักฐานใน
ราชการ

๑) หนังสือภายนอก คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธี โดยใช้กระดาษตราครุฑ เช่น หนังสือติดต่อราชการระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นใด ซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก

๒) หนังสือภายใน คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอกเป็นหนังสือติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน โดยใช้กระดาษบันทึกข้อความ

๓) หนังสือประทับตรา คือ หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปเป็นผู้รับผิดชอบ ลงชื่อย่อกำกับตรา โดยมีความมุ่งหมายว่าเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระในเรื่องการลงชื่อในหนังสือราชการ เช่น ปลัดกระทรวง อธิบดี เป็นต้น สมควรจะให้ข้าราชการชั้นหัวหน้ากองเป็นผู้รับผิดชอบในหนังสือธรรมดาได้บ้าง จึงได้กำหนดให้มีหนังสือที่มิต้องลงชื่อขึ้น เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว

การใช้หนังสือประทับตราจะใช้ในกรณีที่เป็นเรื่องไม่สำคัญมากนัก เช่น การขอรายละเอียดเพิ่มเติม การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของหรือเอกสาร การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญหรือการเงิน การแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ การเตือนเรื่องที่ค้างหรือเรื่องที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปกำหนด โดยทำเป็นคำสั่งว่าให้ใช้หนังสือประทับตรา

๔) หนังสือสั่งการ มี ๓ ชนิด คือ คำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ

4.1 คำสั่ง คือ บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย

4.2 ระเบียบ คือบรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว ้โดยจะอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้
เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นการประจำ

4.3 ข้อบังคับ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายที่บัญญัติให้กระทำได้

๕) หนังสือประชาสัมพันธ์ มี ๓ ชนิด คือ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว

5.1 ประกาศ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบหรือแนะแนวทางปฏิบัติ

5.2 แถลงการณ์ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการหรือเหตุการณ์หรือกรณีใด ๆ
ให้ทราบชัดเจนโดยทั่วกัน

5.3 ข่าว คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ

๖) หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ คือ หนังสือที่ทางราชการทำขึ้นนอกจากที่กล่าวมาแล้ว มี ๔ ชนิด คือ

6.1 หนังสือรับรอง คือ หนังสือที่ส่วนราชการออกให้เพื่อรับรองแก่บุคคล นิติบุคคล หรือหน่วยงาน เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดให้ปรากฎแก่บุคคลโดยทั่วไปไม่จำเพาะเจาะจง

6.2 รายงานการประชุม คือ การบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม และมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน

6.3 บันทึก คือ ข้อความที่ผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชาสั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือข้อความที่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานระดับต่ำกว่าส่วนราชการระดับกรมติดต่อกันในการปฏิบัติราชการ

6.4 หนังสืออื่น คือ หนังสือหรือเอกสารอื่นใดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นหลักฐานในทางราชการซึ่งรวมถึง ภาพถ่าย ฟิล์ม แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพด้วย หรือหนังสือของบุคคลภายนอกที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ และเจ้าหน้าที่ได้รับเข้าทะเบียนรับหนังสือของทางราชการแล้ว มีรูปแบบตามที่กระทรวง ทบวง กรม จะกำหนดขึ้นใช้ตามความเหมาะสม เว้นแต่จะมีแบบตามกฎหมายเฉพาะเรื่องที่ให้ทำตามแบบ เช่น โฉนด แผนที่ แบบ แผนผัง สัญญา หลักฐานการสืบสวนและสอบสวน และคำร้อง เป็นต้น

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าการที่จะใช้หนังสือราชการนั้นจะต้องเป็นเรื่องราชการเท่านั้น หากนำไปใช้ในเรื่องอื่นที่มิใช่เรื่องราชการแม้ว่าจะมีตราครุฑหรือตราส่วนราชการอยู่บนหัวกระดาษ และลงนามโดยผู้ดำรงตำแหน่งราชการก็ตาม ย่อมมิใช่เป็นหนังสือราชการแต่จะเป็นหนังสือส่วนตัวโดยแท้ ...ส่วนคำถามที่ว่าเหมาะสมหรือไม่นั้น คงเป็นเรื่องของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องเป็นผู้ตอบครับ


 



บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 760 เรื่อง หนากว่า 11000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

H
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี