The Midnight University
คำถามฝากนายกไปญี่ปุ่น
โรงพยาบาลไทย หัวใจบริการ(ต่างชาติ)
กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน
(FTA Watch)
บทความฟรี
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 658
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 4 หน้ากระดาษ A4)
กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน(FTA Watch) เรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำลังเดินทางไปประเทศญี่ป่นในวันพรุ่งนี้ ให้ทบทวนและยกเลิกข้อตกลงการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทยญี่ปุ่น(Japan-Thailand Economic Partnership Agreement, JTEPA) เรื่องการยอมรับให้เปิดเสรีบริการการแพทย์ โดยยินยอมให้คนญี่ปุ่นที่ป่วย มารับการรักษาพยาบาลในประเทศไทยได้ โดยสามารถเบิกจ่ายเงินจากกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลตามกฎหมายญี่ปุ่นในอัตรา 70 %
ข้อตกลงนี้จะเป็นสาเหตุสำคัญของการทำลาย "ระบบการดูแลรักษาสุขภาพของคนไทย ที่จำเป็นต้องใช้บริการโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ" ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาคุณภาพ เพื่อช่วยให้คนไทยทุกคนได้รับการดูแลรักษาจากรัฐ ตามพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
พร้อมเสนอให้มีการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข การจัดสรรงบประมาณและทรัพยากร รวมทั้งการปฏิรูปแนวความคิดต่อบริการสาธารณสุข ที่จะต้องไม่คำนึงถึงกำไรสูงสุดจากการให้บริการ
การเดินหน้าอย่างเต็มพิกัดในการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี เพราะเหตุผลที่ได้ยินซ้ำซากอยู่เกือบตลอดเวลาว่า "เราจะส่งทุเรียน มังคุด ไปขายกับคนเป็นพันล้านคนแทนที่จะเป็นเพียงคนไทย 63 ล้านคน" "อะไรที่ปลูกสู้เขาไม่ได้ก็ต้องเลิกปลูก" หรือบอกว่า "เราจะได้กินแอปเปิ๊ล พีช ราคาถูก"
ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจเพียงด้านเดียว ว่า ข้อตกลงเขตการค้าเสรี มีเพียงการลดภาษีนำเข้าส่งออกเท่านั้น แต่หลายประเทศที่รัฐบาลไทยได้ทำข้อตกลงไปแล้วนั้นได้ครอบคลุมด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น การเงินการธนาคาร การลงทุน การบริการ และทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น และที่เพิ่งจะตกลงไปเมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กับประเทศญี่ปุ่นได้รวมถึงการเปิดเสรีการบริการจำนวน 65 สาขาย่อย รวมถึงบริการโรงพยาบาล รัฐบาลไม่ได้คิด หรือ คิดเอาแต่ได้ ทำให้ขาดความรอบคอบ ในการพิจารณาผลกระทบในด้านต่างๆ ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับ "เรื่องการดูแลรักษาผู้ป่วย การผลิตยาใช้เองภายในประเทศ"
การที่รัฐบาล นายกทักษิณ ต้องการเปิดเสรีการบริการด้านสุขภาพ เป็นทิศทางหลักของนโยบาย การส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์แห่งเอเชีย (Medical Hub) เช่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การดูแลผู้สูงอายุ ทันตกรรม สปา หรือนวดแผนไทย และขณะเดียวกันรัฐบาลก็มีนโยบายส่งเสริมหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ดำเนินการในนามโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งนโยบายทั้งสองด้านนี้ (Dual Policy) ต่างต้องใช้ทรัพยากรบุคคลกลุ่มเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนจำกัดและไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทยังมีความขาดแคลน หมอ พยาบาล เภสัชกร และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอื่นๆ อีกมากเป็นพิเศษ
คนไทยเดือนร้อนแน่ๆ จากนโยบายที่รัฐต้องการทำ
เขตการค้าเสรี ไทย ญี่ปุ่น
1. ผลกระทบต่อระบบบริการสุขภาพ
การที่รัฐจะเปิดเสรีบริการสุขภาพ นั้น จากผลการวิจัยการให้บริการทันตกรรมในจังหวัดภูเก็ต
ซึ่งเป็นจังหวัดนำร่องการให้บริการกับชาวต่างชาติ พบว่า หากคาดการณ์ว่า จากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด
จะมีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการทันตกรรมร้อยละ 5 จะทำให้มีชาวต่างประเทศใช้บริการทันตกรรม
มากถึง 72,671 คน จากจำนวนนักท่องเที่ยว 1,453,426 คน และเมื่อพิจารณาจากศักยภาพด้านทันตกรรมที่มีอยู่
ทั้งจากจำนวนเก้าอี้ทำฟันและชั่วโมงที่ใช้ต่อคนไข้หนึ่งคน ขณะนี้จังหวัดภูเก็ตสามารถรองรับคนไข้ทำฟันได้เพียง
60,840 คน ซึ่งหากสนับสนุนให้มีชาวต่างประเทศมาใช้บริการเพิ่มขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อการใช้บริการของคนไทยแน่นอน
(1)
2. ผลกระทบต่อการขาดแคลนแพทย์และบุคลากรอื่น
ๆ
หากมีคนไข้จากต่างประเทศมากขึ้น ย่อมเป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดการไหลของแพทย์จากภาครัฐ
โดยเฉพาะชนบทเข้าสู่ภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ดังการศึกษาของน.พ.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย
และ ดร.ครรชิต สุขนาค ที่พบว่า "การเปิดการค้าเสรีด้านบริการ จะทำให้แพทย์หลั่งไหลไปสู่ภาคเอกชน
การลงทุนผลิตแพทย์สูญเปล่าไปถึง 420 -1,260 ล้านบาทต่อการรับผู้ป่วยต่างชาติ
1 แสนคนต่อปี
ขณะนี้ประเทศไทยมีแพทย์น้อยมาก ประมาณ 27,000 คนที่ยังเป็นแพทย์ หรือแพทย์หนึ่งคนต่อประชาชนประมาณ
2,400 คน ซึ่งถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับสิงคโปร์ ฮ่องกง ยุโรป อเมริกา... ถ้าเอาชาวต่างชาติเข้ามารักษามากในขณะที่แพทย์ไทยยังไม่พอจะเกิดอะไรขึ้น
ผู้ที่ได้ประโยชน์แน่นอน คือ โรงพยาบาลเอกชน แพทย์ที่ทำงานเอกชน และในเมื่อมีผู้ป่วยที่เอกชนมาก
แพทย์ที่ทำงานให้ภาครัฐก็จะลาออก... ใครจะดูแลผู้ป่วย 30 บาท และใครจะเป็นครูแพทย์?!
(2)
3. ผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการรักษาพยาบาล
1. ข้อเสียที่อาจจะพบเห็นกันได้ชัดเจนทุกคน คือ การต้องรอหรือเข้าคิวในการรักษาพยาบาลทั้งในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน เพราะมีจำนวนคนรับบริการที่เพิ่มขึ้น
2. การเข้าไม่ถึงบริการในกลุ่มโรคที่ไม่มีความเร่งด่วน โดยอ้างเหตุผลบุคลากรไม่เพียงพอ เช่น สัดส่วนจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้บริการในระบบอาจจะน้อยลงเพราะต้องให้บริการชาวต่างชาติเพิ่มขึ้น ดังที่เริ่มเป็นปัญหาในปัจจุบัน เช่น การใส่เล็นส์ตาเทียมในผู้สูงอายุ อาจจะต้องรอมากกว่า 3-6 เดือน
ข้อเสนอต่อเรื่องนี้
ต้องทบทวนการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีทั้งหมด
1. ให้มีกระบวนการการดำเนินการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี ต้องผ่านขั้นตอนของรัฐสภา และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างกว้างขวาง
2. ต้องมีการศึกษาถึงผลได้และผลเสียในการทำและไม่ทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี ,การกระจายของรายได้จากการเปิดเสรีบริการสุขภาพ
3. จะต้องรีบดำเนินการปฏิรูประบบสุขภาพดังนี้3.1. การปฏิรูประบบบริการ งบประมาณและทรัพยากร การจัดสรรงบประมาณไปยังหน่วยบริการโดยตรง หรืออย่างน้อยจัดสรรให้โดยตรงกับระดับจังหวัด เพื่อทำให้เกิดการกระจายบุคลากรด้านสุขภาพที่เป็นธรรมและเพิ่มการสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานในโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลของรัฐ
3.2. การปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข ผลักดันให้เกิดมาตรฐานเดียวในการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นบริการด้านการรักษา คุณภาพยา ในหน่วยบริการระดับต่าง ๆ ของกองทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องหมด เช่น สวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ประกันสังคม 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นต้น3.3. การปฎิรูปแนวคิดด้านสุขภาพ"บริการสาธารณสุข ไม่เป็นไปเพื่อแสวงกำไรสูงสุดในเชิงธุรกิจ" ดังเช่นมติขององค์การสหประชาชาติ ให้การทำกิจการที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคสำคัญบางด้าน เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า เป็นสินค้ามนุษยธรรม ที่ต้องไม่มีการทำกำไรสูงสุดหรือ
3.4. การพัฒนาความเข้มแข็งของผู้บริโภคและองค์กรต่าง ๆ ให้ผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้ดูแลตนเองเพิ่มขึ้น3.4.1. การสนับสนุนให้ชุมชนหรือท้องถิ่น มีระบบพัฒนาบุคลากรสุขภาพในระดับท้องถิ่นของตนเอง
3.4.2. การมีส่วนร่วมของกลุ่มต่าง ๆ การตัดสินใจด้านนโยบายในปัจจุบัน นับว่ายังไม่ได้ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ตามที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 57 ที่กำหนดให้มีองค์การอิสระผู้บริโภคทำหน้าที่ให้ความเห็นในการกำหนดนโยบาย ซึ่งนับแต่มีรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นเวลามากกว่า 8 ปี ยังไม่มีการดำเนินการให้มีกฎหมายองค์การอิสระผู้บริโภค3.5. การรายงานสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เช่น การรายงานสถานการณ์การกระจายบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้กับสาธารณชน
3.6. นำเข้าบุคลากรทางการแพทย์ มาให้บริการในประเทศไทย สำหรับผู้ป่วยชาวต่างประเทศ ที่ใช้บริการอยู่แล้วจำนวนมากในปัจจุบัน เพื่อไม่ให้กระทบต่อการใช้บริการของคนไทย
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
สารี อ๋องสมหวัง 01-668-5240
นิมิตร์ เทียนอุดม 01-6666-047
เชิงอรรถ
(1) รศ.ดร ชื่นฤทัย กาญจนจิตรา และคณะ ,เอกสารประกอบการสังเคราะห์ประเด็น ประชุมสมัชชาสุขภาพ ว่าด้วยผลกระทบต่อสุขภาพจากนโยบายการค้าเสรี
(2) นพ.พินิจ กุลละวณิชย์ "บทความส่องโลกส่องสุขภาพกับแพทยสภา" มติชน กันยายน 2547
บทความวิชาการฟรีที่ผ่านมา
ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา
3
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 650 เรื่อง หนากว่า 8500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
คลิกไปหน้าสารบัญ(1)
คลิกไปหน้าสารบัญ(2)
คลิกไปหน้าสารบัญ(3)
คลิกไปหน้าสารบัญ(4)
เพื่อดูบทความใหม่
เว็ปไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน
กรุณาลด text size ของ font ลง
จะช่วยแก้ปัญหาได้
การที่รัฐจะเปิดเสรีบริการสุขภาพนั้น จากผลการวิจัยการให้บริการทันตกรรมในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นจังหวัดนำร่องการให้บริการกับชาวต่างชาติ พบว่า หากคาดการณ์ว่า จากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด จะมีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการทันตกรรมร้อยละ 5 จะทำให้มีชาวต่างประเทศ ใช้บริการทันตกรรม มากถึง 72,671 คน จากจำนวนนักท่องเที่ยว 1,453,426 คน และเมื่อพิจารณาจากศักยภาพด้านทันตกรรมที่มีอยู่ ทั้งจากจำนวนเก้าอี้ทำฟันและชั่วโมงที่ใช้ต่อคนไข้หนึ่งคน ขณะนี้จังหวัดภูเก็ตสามารถรองรับคนไข้ทำฟันได้เพียง 60,840 คน ซึ่งหากสนับสนุนให้มีชาวต่างประเทศมาใช้บริการเพิ่มขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อการใช้บริการของคนไทย