นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
R
related topic
231048
release date

คลิกไปหน้าสารบัญ(1)
คลิกไปหน้าสารบัญ
(2)
คลิกไปหน้าสารบัญ(3)
คลิกไปหน้าสารบัญ(4)
เพื่อดูบทความใหม่สุด

เว็ปไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
จะช่วยแก้ปัญหาได้
ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
เว็ปไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานของท่านมายัง midarticle(at)yahoo.com หรือ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work and immediately places it in the public domain... [copyleft] กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร

The Midnight University

สารานุกรมฟรีฉบับมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
เรียบเรียงโดย
สมเกียรติ ตั้งนโม
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

สารานุกรมฟรีฉบับนี้ เรียบเรียงมาจากข้อมูลบนเว็ปไซต์และหนังสือสำคัญต่างๆจำนวนมาก
และงานเรียบเรียงฉบับนี้ยังอยู่ในขั้นตอนเริ่มต้นโครงการ
ซึ่งได้พยายามรักษาความถูกต้องเอาไว้ให้มากที่สุด เพื่อประโยชน์ของการนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามสมควร

(หากพบข้อผิดพลาด กรุณาท้วงติงเพื่อประโยชน์และความสมบรูณ์ของข้อมูล)
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

(สารานุกรมเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
สารานุกรมฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 900
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 10,000 หน้ากระดาษ A4)


ปัญหาอย่างหนึ่งของการจัดทำข้อมูลสารานุกรมโดยทั่วไป ก็คล้ายๆกับการปรับปรุงเว็ปไซต์ทั้งหลาย
ที่มักจะแจ้งว่าอยู่ระหว่างการดำเนินการปรับปรุง(under construction)
ซึ่งผู้ใช้บริการไม่ทราบว่า ได้มีการดำเนินการปรับปรุงไปมากน้อยเพียงใด
เหตุนี้ผู้เรียบเรียงจึงได้จัดทำส่วนของการรายงานความก้าวหน้านี้ขึ้น เพื่อให้นักศึกษาและผู้ใช้บริการได้มองเห็นว่า
การดำเนินการดังกล่าว กำลังทำอะไรอยู่ และได้กระทำไปถึงขั้นตอนใด เพื่อจะสามารถคาดการณ์ได้ว่า จะเข้ามาใช้บริการได้เมื่อใด และมีเรื่องอะไรบ้าง ดังนั้นจึงกำหนดให้ส่วนนี้เป็นช่องทางที่ผู้เรียบเรียงกับผู้ใช้บริการสามารถติดต่อกัน

เข้ามาเพิ่มเติมข้อมูลล่าสุดวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๘
รายงานความก้าวหน้าการจัดทำสารานุกรม
ขณะนี้กำลังค้นคว้าคำว่า
Postmodernism
(ข้อมูลสารานุกรมที่ให้บริการแล้ว จะขีดเส้นใต้ตัวอักษร สามารถคลิกเข้าไปอ่านได้)




หนี้สินและความยากจน
นิธิ เอียวศรีวงศ์
http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act01171048&day=2005/10/17

หนึ่งในบรรดาสิ่งที่กฎหมายไม่สามารถกำหนดได้ คืออัตราดอกเบี้ย เพราะดอกเบี้ยคือราคาของเงินที่เป็นสินค้า เมื่อสินค้าใดเข้าถึงได้ยาก ก็ย่อมมีราคาแพงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เช่นเดียวกับเงินกู้นอกระบบ ที่แพร่หลายก็เพราะผู้คนเข้าไม่ถึงเงินกู้ในระบบ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือลูกค้าของเงินกู้นอกระบบไม่อาจ"ซื้อ"สินค้าเงินในราคาตามกฎหมายได้ จึงต้องหันไปซื้อกับพ่อค้าเงินนอกระบบ แล้วจะมีพ่อค้าที่ไหนขายสินค้าในราคาเดียวกับในระบบเล่า

ทางแก้ก็คือทำให้ผู้คนเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบให้ง่ายขึ้น อย่างที่รัฐบาลทำไปแล้วโดยให้ธนาคารออมสินปล่อยเงินกู้แก่พ่อค้ารายย่อย, หรือตั้งกองทุนหมู่บ้าน, เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ฯลฯ นั้นแหละ แต่รัฐบาลและคนทั่วไปก็เห็นแล้วว่า ความต้องการเงินของคนไทยนั้นมีมากเหมือนท้องมหาสมุทร เงินของรัฐและธนาคารของรัฐเพียงอย่างเดียวเป็นแค่หยดน้ำเท่านั้น

ยิ่งกว่านั้น ความต้องการเงินของคนไทยอีกมากก็อยู่ในลักษณะที่บริหารเงินกู้ได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการนี้สูงเกินไป จนกระทั่งไม่มีสถาบันการเงินที่ไหนอยากลงทุน ด้วยเหตุดังนั้นจึงเป็นธรรมดาที่ความต้องการที่ล้นเกินนี้ย่อมต้องไหลไปหาแหล่งเงินกู้นอกระบบ

จริงอยู่ สาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้คนจนไม่อาจปลดหนี้ตัวเองได้เสียที เกิดจากการที่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงเกินไปกว่าจะไปประกอบการอะไรให้มีความคุ้มทุนได้ แต่นี่เป็นสาเหตุเดียวของการเป็นหนี้สิน หนี้สินนั้นมีหลายชนิดและมาจากหลายสาเหตุ

ในบรรดาเกษตรกรรายย่อย การกู้เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนเพื่อประกอบการเกษตรกรรมขนาดเล็กของตน ไม่ว่าจะกู้เป็นเงินหรือเป็นปุ๋ยหรือเป็นค่าแรงแทรกเตอร์ก็ตาม เกษตรกรรายย่อยหลีกเลี่ยงโดยสิ้นเชิงไม่ได้ ฉะนั้นจะกล่าวว่าหนี้สินส่วนนี้เป็นหนี้สินเพื่อการลงทุนก็ได้ แต่ในขณะเดียวกัน เกษตรกรรายย่อยก็ใช้เงินจำนวนนี้ไปสำหรับการบริโภคอยู่ด้วย เพราะในวิถีการผลิตของเขาแยกสองอย่างออกจากกันได้ยาก

ผลผลิตที่ได้ หากไม่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างใดขึ้น ก็จะเพียงพอสำหรับใช้หนี้และบริโภคไปชนปี แต่ไม่เหลือสำหรับการลงทุนในฤดูการผลิตครั้งต่อไป ฉะนั้นเขาจึงต้องหันไปกู้หนี้ยืมสิน เท่าที่จะเอื้อมมือไปถึงได้ และเท่าที่จะหมุนเวียนหนี้จากรายหนึ่งไปชดใช้อีกรายหนึ่งได้

วงจรหนี้สินของเกษตรกรรายย่อยจึงไม่ได้อยู่ที่อัตราดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว แต่การที่เขาเป็นผู้รับความเสี่ยงแต่ผู้เดียวในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ, ความผันผวนของตลาด, หรืออุบัติภัยใดๆ ทางสังคมซึ่งอาจกระทบต่อราคาพืชผลของเขา ก็เป็นเหตุให้เขาไม่สามารถหลุดจากวงจรนี้ได้

ทางแก้ที่มีผู้ทำแล้วได้ผล ไม่ใช่การปลดหนี้ด้วยการยอมรับสภาพล้มละลาย แล้วกลับไปผลิตในลักษณะเดิมต่อไป แต่คือการเปลี่ยนการผลิตเพื่อป้อนตลาดเป็นหลัก มาเป็นการผลิตเพื่อบริโภคเป็นหลัก การลดต้นทุนการผลิตด้วยการใช้สารเคมีและยาปราบศัตรูพืชให้น้อยลง หรือไม่ใช้เลย ซึ่งหมายถึงการจัดการไร่นาอีกลักษณะหนึ่ง เกษตรกรรายย่อยหลายรายที่ปรับเปลี่ยนเช่นนี้สามารถใช้หนี้สินจนหมดได้

จริงอยู่ มีเกษตรกรรายย่อยที่ประสบความสำเร็จ โดยการผลิตป้อนตลาดให้เข้มข้นขึ้นเหมือนกัน เช่นเปลี่ยนพืชไปสู่การผลิตสิ่งที่ได้ราคาดีในตลาด แต่เกษตรกรที่ประสบความสำเร็จด้วยวิธีนี้มีจำนวนน้อย และต้องอาศัยเงื่อนไขพิเศษบางอย่างที่เกษตรกรทั่วไปไม่มี เช่นความรู้ด้านเกษตรอย่างดี, หรือด้านการตลาดอย่างดี เป็นต้น

ในส่วนของการเข้าถึงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำนั้น วิธีแก้ที่มีผู้ทำสำเร็จแล้วก็คือ การตั้งกองทุนที่ชาวบ้านมีส่วนร่วมจัดการบริหาร และเข้าถึงได้ง่าย เช่นเครดิตยูเนียน เพราะโดยวิธีนี้เท่านั้นที่จะทำให้ค่าบริหารเงินกู้ทำได้ในราคาต่ำลง โดยอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจกันของคนในชุมชน และอาศัยแรงกดดันที่คนในชุมชนหรือสมาชิกอาจกระทำแก่ลูกหนี้ที่เบี้ยวหนี้ได้

ตัวเงินจึงไม่ใช่เงื่อนไขสำคัญสุดในการจัด"สหกรณ์"ที่ประสบความสำเร็จ แต่อยู่ที่ฟื้นฟูและสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน และการจัดการองค์กรด้วยวัฒนธรรมที่ชาวบ้านยอมรับ ถ้ารัฐบาลจับประเด็นนี้ถูก ป่านนี้กองทุนหมู่บ้านที่เกิดจากการให้เงินเริ่มต้นจากรัฐคงงอกงาม และแก้ปัญหาหนี้สินกับความยากจนไปได้มากแล้ว

ความยากจนไม่ได้เกิดจากการไม่มีเงิน แต่เกิดจากขาดความร่วมแรงร่วมใจกัน ขาดอำนาจต่อรองในตลาดสินค้าและตลาดเงิน ขาดอำนาจการจัดการทรัพยากรท้องถิ่น ขาดโอกาสของการเรียนรู้ ฉะนั้นหว่านเงินลงไปเฉยๆ จึงไม่ช่วยให้เขาหลุดจากวงจรหนี้สินได้

หนี้สินอีกประเภทหนึ่งเกิดกับกลุ่มบุคคลที่ขอเรียกกว้างๆ ว่าคนชั้นกลางระดับล่าง หรือที่เรียกกันด้วยสำนวนญี่ปุ่นว่า"มนุษย์เงินเดือน" ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในประมาณหนึ่งทศวรรษกว่าๆ ที่ผ่านมา กลุ่มคนเหล่านี้มีหนี้สินค่อนข้างมาก และเพราะเป็น"มนุษย์เงินเดือน"ส่วนใหญ่ของหนี้สินที่เกิดขึ้นจึงเป็นหนี้สินเพื่อการบริโภค เพราะตัวเองไม่มีเวลาที่จะเอาเงินที่ได้จากการกู้ไปเพื่อการลงทุนอย่างจริงจังได้

คำถามสำคัญซึ่งผู้เขียนตอบไม่ได้ก็คือ คนกลุ่มนี้มี"รายได้จริง"ลดลงหรือเพิ่มขึ้น แม้ตลอดเวลากว่าทศวรรษที่ผ่านมามีการปรับอัตราเงินเดือนประจำอยู่เสมอ แต่รายได้ที่เพิ่มขึ้นนี้เพียงพอที่จะชดเชยเงินเฟ้อ และการเข้าไม่ถึงทรัพยากร(เช่นยอดกระถิน)ได้มากน้อยเพียงใด สิ่งที่น่าสงสัยอย่างมากก็คือ บางระดับของคนกลุ่มนี้มี"รายได้จริง"เพิ่มขึ้น ในขณะที่บางระดับมีน้อยลง กลุ่มคนที่เป็นหนี้สินรุงรังซึ่งรัฐบาลเสนอโครงการที่จะเข้ามาช่วยนั้น คือคนกลุ่มไหน?

หนี้สินเพื่อการบริโภคเป็นหนี้สินที่มีความเสี่ยงสูง จึงเป็นธรรมดาที่สถาบันการเงินในระบบไม่ยินดีจะให้กู้มากนัก ยกเว้นแต่จะมั่นใจว่าสามารถเข้าถึงรายได้ของผู้กู้ได้ในระดับหนึ่ง (เช่นฟ้องศาลหรือโวยกับผู้บังคับบัญชา จนทำให้ผู้กู้เดือดร้อน ซึ่งล้วนเป็นราคาที่ต้องจ่ายทั้งสิ้น) แต่ในขณะเดียวกัน กลุ่มคนเหล่านี้ก็ประกอบขึ้นเป็นตลาดสำหรับค้าขายเงินที่ใหญ่และทำกำไรได้มาก

ฉะนั้นผู้ที่เข้ามาค้าขายเงินกับกลุ่มคนเหล่านี้จึงมีสองส่วน หนึ่งได้แก่แหล่งเงินกู้นอกระบบ ซึ่งประกันความเสี่ยงของตนเองด้วยกำปั้นหรือปืน (เพราะไม่มีวิธีอื่น) จึงเป็นธรรมดาที่ต้องเก็บดอกเบี้ยในอัตราสูง เพราะการประกันความเสี่ยงของเขาก็มีราคาสูงเช่นเดียวกัน

แหล่งเงินกู้ที่สองคือบัตรเครดิตประเภทต่างๆ ซึ่งสถาบันการเงินในระบบทำเองบ้าง บริษัทธุรกิจให้เงินกู้รายย่อยบ้าง ตลอดจนห้างสรรพสินค้าที่ออกบัตรสินเชื่อของตนเอง และการขายสินค้าด้วยเงินผ่อน

แหล่งเงินกู้ทั้งสองนี้ขยายตลาดการบริโภคให้ใหญ่ขึ้นอย่างมโหฬาร จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นส่วนที่ขาดหายไปในระบบเศรษฐกิจปัจจุบันไม่ได้ ไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทย แต่ทั้งโลก เพราะระบบเศรษฐกิจปัจจุบันมีกำลังการผลิตสูงกว่ากำลังการบริโภคหลายเท่าตัว

ฉะนั้นจึงอาจสรุปโดยไม่พลาดจากความจริงไปมากนักได้ว่า ส่วนใหญ่ของหนี้สินล้นพ้นตัวของคนชั้นกลางระดับล่างเหล่านี้ เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนวิถีชีวิต จากพออยู่พอกินมาสู่การบริโภคตามการสาธิตของโฆษณาและวิถีชีวิตของคนชั้นอื่น ปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะในเมืองไทย แต่เกิดขึ้นเกือบทั่วไปในโลกทุนนิยม ทั้งในอเมริกาและยุโรป

เรื่องหนี้สินของคนชั้นกลางจึงสลับซับซ้อนกว่าการปราบมาเฟียเงินกู้ด้วย ปปง. หรือการเปลี่ยนเจ้าหนี้มาเป็นรัฐ (หรือบริษัทมหาชน) เสียเอง เพราะแหล่งเงินกู้เดิมก็ยังอยู่ ตราบเท่าที่ไม่เปลี่ยนวิถีชีวิต คนเหล่านี้ก็จะต้องหันกลับไปกู้อย่างเดิม และเกิดภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวเหมือนเดิม (หรือแย่กว่า เพราะอยู่ในสภาพบุคคลล้มละลายด้วย ซึ่งทำให้ราคาของเงินที่ตัวจะเข้าถึงหรือดอกเบี้ยต้องอยู่ในอัตราสูงลิบลิ่ว)

คำถามที่ประชาชนทั่วไปน่าจะถามตนเองก็คือ รัฐบาลนี้ได้ทำอะไรเพื่อบรรเทาต้นเหตุของปัญหาหนี้สินคนชั้นกลางบ้าง นั่นคือวิถีชีวิตบริโภคนิยม นอกจากออกหวยบนดิน, ออกสินค้า"เอื้ออาทร"นานาชนิด, เอฟทีเอ, โลว์คอสต์แอร์ไลน์, การท่องเที่ยว, การลงทุนกับ"พิธีกรรม"อย่างไม่อั้น ไม่ว่าจะเป็นการประชุมนานาชาติหรือ"เจิม"สนามบินใหม่, จัดประกวดนางงาม, เผยแพร่การบริโภคแบบเอาเด่น (conspicuous consumption) ของคนชั้นสูง ฯลฯ ในขณะที่ตัวเลขการออมของคนไทยลดลง (ซึ่งเหมือนกับอีกหลายสังคม เช่นอเมริกา)

แน่นอนว่า การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาย่อมยากกว่า และไม่อาจทำได้ง่ายๆ เพียงการตรวจฉี่เด็กเที่ยว อีกทั้งต้องการความร่วมแรงร่วมใจของทุกภาคส่วนในสังคม ไม่ใช่อาศัยแต่อัศวินม้าขาวมาประกาศมาตรการพิลึกพิลั่นอย่างง่ายๆ

อันที่จริง ปัญหาอะไรๆ ของสังคมก็พึงแก้ได้โดยการเขยื้อนสังคมทั้งนั้น สังคมใดที่ไม่อยากขยับเขยื้อนอะไร ได้แต่รอให้มีอัศวินม้าขาวมาแก้ปัญหาให้ จึงมักตกเป็นเหยื่อของมายากรทางวาทกรรม (demagogue) เป็นธรรมดา

 

ลำดับตัวอักษร A-Z
search engine เครื่องมือค้นหาของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
http://midnightuniv.tumrai.com/search/index.php




กลับไปหน้าเริ่มต้นสารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
เพื่อตั้งต้นค้นหาตามลำดับตัวอักษร A-Z

บทความวิชาการฟรีที่ผ่านมา ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 670 เรื่อง หนากว่า 9000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

คำโปรย คัดลอกมาจากบทความ เพื่อให้มองเห็นเนื้อความที่น่าสนใจบางส่วน
H
สำหรับคำว่า"ครอบครัว"(family) ในตัวของมันเองมาจากรากเดิมในภาษาลาตินว่า famulus, หมายถึงทาสในเรือน(household slave), และคำว่า familia, จำนวนทั้งหมดของทาส(the totality of slaves) ที่เป็นของผู้ชายคนหนึ่ง
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี

หนี้สินและความยากจน
หนึ่งในบรรดาสิ่งที่กฎหมายไม่สามารถกำหนดได้ คืออัตราดอกเบี้ย เพราะดอกเบี้ยคือราคาของเงินที่เป็นสินค้า เมื่อสินค้าใดเข้าถึงได้ยาก ก็ย่อมมีราคาแพงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เช่นเดียวกับเงินกู้นอกระบบ ที่แพร่หลายก็เพราะผู้คนเข้าไม่ถึงเงินกู้ในระบบ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือลูกค้าของเงินกู้นอกระบบไม่อาจ"ซื้อ"สินค้าเงินในราคาตามกฎหมายได้ จึงต้องหันไปซื้อกับพ่อค้าเงินนอกระบบ แล้วจะมีพ่อค้าที่ไหนขายสินค้าในราคาเดียวกับในระบบเล่า

ทางแก้ก็คือทำให้ผู้คนเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบให้ง่ายขึ้น อย่างที่รัฐบาลทำไปแล้วโดยให้ธนาคารออมสินปล่อยเงินกู้แก่พ่อค้ารายย่อย, หรือตั้งกองทุนหมู่บ้าน, เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ฯลฯ นั้นแหละ แต่รัฐบาลและคนทั่วไปก็เห็นแล้วว่า ความต้องการเงินของคนไทยนั้นมีมากเหมือนท้องมหาสมุทร เงินของรัฐและธนาคารของรัฐเพียงอย่างเดียวเป็นแค่หยดน้ำเท่านั้น
(อ่านเนื้อความที่สมบูรณ์ข้างล่าง)