นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
R
related topic
200948
release date

คลิกไปหน้าสารบัญ(1)
คลิกไปหน้าสารบัญ
(2)
คลิกไปหน้าสารบัญ(3)
คลิกไปหน้าสารบัญ(4)
เพื่อดูบทความใหม่สุด

เว็ปไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
จะช่วยแก้ปัญหาได้
ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
เว็ปไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานของท่านมายัง midarticle(at)yahoo.com หรือ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work and immediately places it in the public domain... [copyleft] กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร

The Midnight University

เรียนรู้ที่จะเข้าใจทุนนิยม
ทำไมจึงต้องต่อต้านลัทธิทุนนิยม
ความล้าหลังของทุนนิยมร่วมสมัย

เรียบเรียงโดย
สมเกียรติ ตั้งนโม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความชิ้นนี้เรียบเรียงจาก
HOW CAPITALISM SURVIVES
http://www.resistance.org.au/documents/wssf/introtxt.shtml

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
บทความฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 675
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 10 หน้ากระดาษ A4)





บทนำ

ในลัทธิทุนนิยม ใครคือผู้ปกครอง และผู้ปกครองในระบบเศรษฐกิจเช่นนี้ปกครองกันอย่างไร? รัฐคืออะไร, รัฐสภาและกฎหมายเป็นอย่างไร รวมไปถึงระบบควบคุมความคิดของผู้คนในรัฐกระทำอย่างไร? นอกจากนี้ ทำไมลัทธิทุนนิยมจึงกดขี่ผู้หญิง และผู้หญิงต้องเผชิญกับสภาพเงื่อนไขทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมอย่างไร? ครอบครัวภายใต้ระบบทุนนิยมในระบบดังกล่าวเป็นแบบใด?

ทำไมลัทธิทุนนิยมจึงต้องการให้เรื่องของเชื้อชาติสีผิวยังคงอยู่ ทำไมต้องให้ผู้หญิงเป็นพลเมืองชั้นสอง และทำไมลัทธิทุนนิยมต้องแปลกแยกผู้คนด้วย? เหล่านี้คือคำถามที่ชวนให้ใฝ่หาคำตอบ ซึ่งผู้สนใจทุกท่านสามารถหาคำอธิบายได้ในลักษณะสังเขปจากบทความ โดยผู้เรียบเรียงได้นำเสนอคำถามสำคัญข้างต้นตามลำดับดังนี้

1. ใครเป็นผู้ปกครอง ? (WHO RULES?)
2. มีชนชั้นปกครองในออสเตรเลียหรือไม่ ? (Is there a Ruling Class in Australia?)
3. พวกชนชั้นปกครอง ปกครองอย่างไร (HOW THE RULING CLASS RULES)
4. รัฐคืออะไร ? (What is the State?)
5. รัฐสภา และกฎหมาย (Parliament and the Law)
6. ระบบการควบคุมความคิด (The System of Thought Control)
7. ทำไมลัทธิทุนนิยมจึงกดขี่ผู้หญิง (WHY CAPITALISM OPPRESSES WOMEN)
8. ครอบครัวภายใต้ลัทธิทุนนิยม (The Family under Capitalism)
9. พลเมืองชั้นสอง (Second Class Citizens)
10. ทำไมลัทธิทุนนิยมต้องการลัทธิเชื้อชาติสีผิว (WHY CAPITALISM NEEDS RACISM)
11. ลัทธิทุนนิยมแปลกแยกผู้คน (CAPITALISM ALIENATES PEOPLE)

งานชิ้นนี้เรียบเรียงจากเว็ปไซต์ http://www.resistance.org.au/documents/wssf/introtxt.shtml ซึ่งมีสัญชาติออสเตรเลีย ดังนั้นตัวอย่างหลายหลาก และการอ้างอิงบางอย่างจึงเป็นเรื่องของสถานการณ์และบริบทแวดล้อมของประเทศดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนำมาพิจารณาเปรียบเทียบในกรอบสังคมไทย และสังคมอื่นๆ ที่มีระบบเศรษฐกิจทุนนิยมแล้ว จะพบว่างานชิ้นนี้ได้ให้คำตอบที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน


1. ใครเป็นผู้ปกครอง ? (WHO RULES?)
ในสังคมทุนนิยมจะมีคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีพลังอำนาจอย่างแท้จริง มันไม่ใช่ความลับใหญ่โตอะไรมากมายหรอก กับการที่มีพลังอำนาจอย่างนั้นอยู่ในออสเตรเลีย โดยพื้นฐานแล้ว พวกที่มีอำนาจมักจะอยู่ในมือของผู้คนที่มีอำนาจตัดสินใจในการลงทุนว่าจะผลิตอะไร และจะกระจายผลผลิตอะไร? คนพวกนี้จะจัดตั้งรัฐบาล เลือกคน วางแผน และสร้างเงื่อนไขทั่วๆไปขึ้นมา เพื่อเก็บทุกๆคนเอาไว้ในที่ทางของพวกเขา พวกคนเหล่านี้คือ"ชนชั้นปกครอง"

ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์ส่วนใหญ่ สังคมต่างๆได้ถูกแบ่งแยกออกเป็นชนชั้น อย่างเช่น โรมในยุคโบราณจะมีพวกขุนนางหรือชนชั้นผู้ดี(patrician), สามัญชน(plebeian), นายทาส(slave owners), และทาส(slave). ส่วนในยุคกลางก็จะมีพวกลอร์ดหรือขุนนางศักดินา, เจ้าของที่ดิน, ผู้ชำนาญทางวิชาชีพ, นักเดินทาง, เด็กฝึกงาน และทาสติดที่ดิน. พัฒนาการของสังคมทุนนิยมไม่ได้หยุดยั้งการแบ่งแยกชนชั้นลงไปแต่อย่างใด และหากถามว่าลัทธิทุนนิยมปฏิบัติกับผู้คนอย่างไร คำตอบก็คือ ลัทธิทุนนิยมจัดการกับผู้คนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ลัทธิทุนนิยมได้แบ่งแยกสังคมออกเป็น 2 ชนชั้นอย่างชัดเจนมากขึ้น นั่นคือ "ชนชั้นปกครอง"และ"ชนชั้นแรงงาน", "ชนชั้นผู้กดขี่"และ"ชนชั้นผู้ถูกกดขี่". ส่วนใหญ่ของผู้คนนั้นอยู่ด้านหนึ่งซึ่งประกอบอาชีพด้วยการขายแรงงานของพวกตน ให้กับบรรดานายทุนซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจและที่ดิน. ถ้าหากว่าพวกคุณทำงานให้กับบริษัทหรือองค์กรหนึ่งที่รัฐเป็นเจ้าของ บรรดานายทุนทั้งหลายก็ยังคงได้ประโยชน์หรือกำไรทางอ้อมจากแรงงานของพวกคุณอยู่ดี โดยผ่านการช่วยเหลือและการสนับสนุนที่รัฐบาลต่างๆให้กับธุรกิจดังกล่าว, นอกไปจากผลประโยชน์ต่างๆของบริษัทที่รัฐให้การอุปถัมภ์ และนำภาษีต่างๆของพวกคุณไปใช้เพื่อการนั้น

บรรดาชนชั้นปกครองอาศัยกฎหมายเศรษฐกิจของลัทธิทุนนิยม, ซึ่ง"ทั้งหมดสำหรับพวกของเขาเอง และไม่มีเหลือสำหรับคนอื่นๆ". พวกเขาจะจัดการสังคมให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์นี้ด้วย. ดังนั้น แม้ว่าชนชั้นปกครองจะมีอยู่ไม่มากนัก ส่วนชนชั้นผู้ถูกปกครองจะมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ผู้คนทั้งหลายก็ต้องเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น

2. มีชนชั้นปกครองในออสเตรเลียหรือไม่ ? (Is there a Ruling Class in Australia?)
นี่เป็น"ประเทศที่โชคดี" มันเพียงโชคดีกว่าประเทศอื่นเท่านั้น คนรวยประมาณ 2000 คนในออสเตรเลียเป็นเจ้าของทรัพย์สินมากกว่า 2.5 ล้านคนที่ยากจนที่สุด. ผู้คนบางคนจะมีฐานะดีกว่าคนอื่น และจำนวนมากของผู้คนเหล่านี้ชอบคิดว่า พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของพวกชนชั้นสูงของสังคม แต่บ่อยครั้งพวกเขาเพียงแบ่งภัตตาคารและทัศนคติทางการเมืองกับนายทุนด้วยกันเท่านั้น. มีผู้คนหลายพันคนในประเทศออสเตรเลียที่เป็นเจ้าของหุ้นและทรัพย์สินต่างๆ ในบริษัทส่วนใหญ่. ความมั่งคั่งร่ำรวยนี้ทำให้พวกเขามีอำนาจล้นเหลือ. เพียงไม่กี่พันคนเท่านั้นเป็นนายเหนือคนจำนวน 17 ล้านคน

การตัดสินใจต่างๆเกี่ยวกับ"ความจำเป็นเร่งด่วนระดับชาติ"ไม่ได้ถูกทำโดยประชาชาติ เมื่อไรที่พวกเราได้ใช้สิทธิ์ออกเสียงเพื่อจะลดภาษีบริษัทลงมา, นำเสนอค่าธรรมเนียมต่างๆทางการศึกษา, ปิดโรงเรียนนับเป็นร้อยๆแห่ง, หรือส่งทหารไปในสงครามอ่าว เมื่อไรกันเล่าที่เราออกเสียงในสิ่งเหล่านี้? คุณสามารถที่ออกเสียงเลือกตั้งพรรคแรงงานหรือพรรคเสรีนิยมได้นอกบริษัท แต่คุณไม่สามารถออกเสียงให้ผู้มีอำนาจคนนี้หรือคนนั้นหลุดออกจากอำนาจได้

คนรวยและมีอำนาจในออสเตรเลียไม่มีหลักความเสมอภาคด้วย พวกเขาแข่งขันช่วงชิงกันอย่างรุนแรงเพื่อจะเป็นคนที่อยู่บนสุด ซึ่งหมายความว่าพวกเขายังคงพยายามอย่างต่อเนื่อง ที่จะทำกำไรสูงสุดของพวกเขาจากค่าใช้จ่ายของพวกเรา. ช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1980s การตัดค่าแรงและสวัสดิการลงได้ก่อให้เกิดการโยกย้ายเงินจำนวน 35 พันล้านเหรียญต่อปี จากค่าจ้างแรงงานของคนงานไปสู่ผลกำไรทางธุรกิจ

ไม่ใช่ทั้งหมดของคนรวยที่จะอยู่บนยอดสุดไปตลอด บางคนก็ล่วงลงมาจากการแข่งขัน และจะมีคนอื่นๆป่ายปีนขึ้นไปถมช่องว่างดังกล่าวจนเต็ม และประสบกับความร่ำรวยและอำนาจมากขึ้น. ขณะที่คนรวยนั้นรวยขึ้นและมีจำนวนน้อยลง จำนวนมากขึ้นของบรรดาคนงานที่รายได้น้อยที่สุดก็กำลังไหลเลื่อนลดต่ำลงไปสู่ใต้เส้นแบ่งความยากจน เพื่อร่วมชะตากรรมกับคนอื่นๆมากกว่า 2 ล้านคน ซึ่งตามปรกติแล้ว คนจนออสเตรเลียคือ… คนที่ไม่มีงานทำและพวกชนพื้นเมือง(aborigines), สามีภรรยาที่แยกทางกันซึ่งต้องเลี้ยงลูกโดยลำพัง, ผู้อพยพที่เพิ่งมาถึงเมื่อเร็วๆนี้, ผู้คนที่ไร้ความสามารถ, และคนแก่ทั้งหลายนั่นเอง

3. พวกชนชั้นปกครอง ปกครองอย่างไร (HOW THE RULING CLASS RULES)
ในสังคมก่อนๆ บรรดาชนชั้นปกครองต่างรู้สึกภาคภูมิใจเกี่ยวกับบทบาทของพวกเขา พวกเขาเดินแห่ไปรอบๆด้วยขนนกที่เสียบประดับอยู่บนหมวก หรือด้วยชุดเสื้อคลุมแฟนซีสีสวยและสิ่งประดับตกแต่ง พวกเขามักจะได้รับการตระเตรียมให้ฆ่าพวกชาวนาหรือทาสบางคนในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นเครื่องหมายหนึ่งเกี่ยวกับการแสดงอำนาจของพวกตน เมื่อพวกเขาเดินไปตามท้องถนน ผู้คนจะสังเกตเห็น

วันคืนเหล่านี้ ชนชั้นปกครองค่อนข้างมีอำนาจมากยิ่งกว่ายุคใดๆ พวกเขาสามารถฆ่าคนไม่เพียงคนหรือสองคน แต่เป็นสิบหรือเป็นร้อยเป็นพันคนเพียงแค่เพียงชั่วเวลากลัดกระดุมเสื้อเท่านั้น แต่พวกเขาปกครองในลักษณะที่อำพราง พวกเขาต้องให้ชนชั้นปกครองซึ่งเป็นพวกนายทุนน้อยมีความสัมพันธ์กับส่วนที่เหลือของสังคม

ดังนั้น ลัทธิทุนนิยมจึงสร้างภาพหรือ"สิ่งแสดงทางด้านประชาธิปไตย"ทั้งหมดขึ้นมา พลเมืองโดยเฉลี่ยไม่ได้มีบทบาทในการดำเนินการในบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่ควบคุมชีวิตทางเศรษฐกิจและในปริมณฑลทางการเมืองเอาไว้ ก็บริษัทเดียวกันเหล่านี้แหละที่มีบทบาทสำคัญในการคัดเลือกผู้นำทางการเมืองของพวกเราขึ้นมา การควบคุมของพวกเขาเกี่ยวกับสื่อ ได้กำหนดทางเลือกทางการเมือง และข่าวสารต่างๆที่ถูกนำเสนอไปยังผู้มีสิทธิ์ออกเสียงทั้งหลาย

สำหรับลัทธิทุนนิยม การแสดงโชว์ประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า ซึ่งไม่ใช่ประชาธิปไตย. ทุกคนมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง แต่ไม่มีใครเลยที่มีสิทธิ์ตัดสินใจอะไรได้เลย. การตัดสินใจทั้งหลายได้ถูกทำให้กับพวกคุณๆ พวกมันถูกสร้างขึ้นมาโดยสถาบันต่างๆ ทั้งมวลของรัฐทุนนิยม

4. รัฐคืออะไร ? (What is the State?)
รัฐคือที่ซึ่งชนชั้นปกครอง"ครอบครองกลไกรัฐสภา", การบริการสาธารณะ, ระบบการศาล, ตำรวจและทหาร บุคคลที่อยู่บนยอดสุดของทั้งหมดในสภาบันต่างๆ ทางการเมืองเหล่านี้ ต่างจงรักภักดีต่อชนชั้นที่มั่งคั่งร่ำรวย. พวกเขาได้รับเงินเดือนก้อนโต เพื่อจัดวางพวกเขาลงบนที่ทางอันนั้น

ในสถาบันรัฐเหล่านี้ทั้งหมด เป็นช่องทางที่มั่นคงดีเยี่ยมในการไต่เต้าขึ้นไปสู่บันไดวิชาชีพ บนหนทางนั้น ผู้คนทั้งหลายต้องขายตัวของพวกเขาเองและผูกมัดตัวเข้ากับระบบดังกล่าว และพวกเขาเรียนรู้อย่างรวดเร็วว่า ผลตอบแทนคืนมาสำหรับข้อผูกพันและการมีวินัยในงานของพวกเขาก็คือ พวกเขาจะได้สิทธิพิเศษ. ยิ่งคุณก้าวหน้าสูงขึ้นไปในบริษัท, ในกรมกองของรัฐบาล, ในระบบการศาลหรือการทหาร คุณก็จะได้รับสิทธิพิเศษมากขึ้น

ไม่น่าประหลาดใจเลยว่า ยิ่งเข้าไปใกล้สู่ความเป็นคนสูงสุด พวกเขาก็จะยิ่งส่งเสริมและสนับสนุนระบบอันนั้นมากขึ้นอย่างมีสำนึก. ปรกติแล้ว ณ จุดสูงสุดคือคนเหล่านั้น ที่ได้รับการคัดเลือกโดยตรงมาจากชนชั้นปกครอง. คนเหล่านี้คือเจ้าหน้าที่ทางด้านการทหาร, หัวหน้าหน่วยงานรัฐบาล, ผู้พิพากษาซึ่งไม่มีความลังเลใจที่จะใช้เครื่องมือทุกชนิดเพื่อธำรงรักษาระบบเอาไว้

5. รัฐสภา และกฎหมาย (Parliament and the Law)
หน้าที่ตามปรกติของระบบพึ่งพิงอาศัยสถาบันทางกฎหมายและรัฐสภา. บนท้องถนน กฎหมายถูกรักษาโดยอำนาจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตำรวจจะคอยทำหน้าที่คุ้มครองทรัพย์สินส่วนตัวเหนือสิ่งอื่นใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทรัพย์สินส่วนตัวของคนรวย. ตำรวจจะคอยเตือนทุกๆ คนว่า อะไรสามารถเกิดขึ้นกับพวกเขาได้ถ้าหากว่าพวกเขาก้าวข้ามออกมานอกเส้น. บางครั้งก็เพียงขับรถพาตระเวณไปรอบๆ ในละแวกใกล้เคียง หรือบางครั้งก็โดยการทุบตี หรือการไล่ตีคนที่ก่อการสไตร์ค และพวกที่พากันเดินขบวนบนท้องถนน

สิทธิที่อยู่เบื้องหลังตำรวจคือระบบการศาล อันนี้คือสถาบันที่ใช้ตัดสินคนที่ละเมิดหรือฝ่าฝืนกฎหมาย และบ่อยครั้งที่สถาบันนี้ได้แสดงให้เห็นว่า"กฎหมาย"หมายความว่าอะไรอย่างแท้จริง. บรรดาผู้พิพากษาทั้งหลายไม่ได้ถูกเลือกตั้งขึ้นมา และด้วยเหตุดังนั้น พวกเขาจึงไม่ต้องรับผิดกับผลที่ตามมาใดๆ. พวกเขาเพียงทำหน้าที่ปกป้องระบบ. พวกเขาต้องทำให้เกิดความมั่นใจว่า การปล้นธนาคารเป็นเรื่องที่จะต้องถูกลงโทษอย่างรุนแรง ขณะที่การปล้นบ้านเรือนผู้คนในชนบทจะได้รับโทษสถานเบา. อาชญากรรมเกี่ยวกับบริษัทถูกมองว่าเป็นเพียงเรื่องที่หยาบคาย ไม่สมควรทำ และไม่ใช่การกระทำผิดทางอาญา

ผู้พิพากษาต่างๆ ที่ธำรงรักษากฎหมาย ยังคงพิพากษาว่าผู้หญิงยินยอมให้ตัวเองถูกข่มขืน. เพราะขณะที่กฎหมายบางฉบับเรียกร้องเรื่องสิทธิมนุษยชนให้ได้รับความเคารพ กฎหมายอีกบางฉบับกลับให้อำนาจในการละเมิดสิทธิดังกล่าว. การข่มขืนกระทำชำเราเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย แต่การจ่ายเงินให้ผู้หญิงที่เสียหาย 80% ของรายได้ของผู้ชาย ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย

จุดยอดสุดของระบบกฎหมายทุนนิยมคือ"รัฐสภา" รัฐสภาอ้างว่าตัวเองเป็นตัวแทนของผู้คน มันคือตัวแทนของคนธรรมดาสามัญทั้งหลาย ความจริงคือว่า สถาบันนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแสดงหรือรายการโชว์ทางด้านประชาธิปไตยเท่านั้น ผู้คนธรรมดาได้สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งนักการเมืองคนหนึ่งหรือไม่ก็อีกคนหนึ่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ของนักการเมืองเหล่านั้นให้การสนับสนุนระบบอย่างตั้งใจ ใครบ้างที่สามารถบอกได้ถึงความแตกต่างระหว่าง"พรรคแรงงาน"และ"พรรคเสรีนิยม"? (หมายถึงพรรค labor และพรรค Liberal ในออสเตรเลีย)

ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีความคิดแตกต่างอย่างแท้จริง หรือเป็นทางเลือกไม่ได้รับเงินสนับสนุนมากนัก และสื่อก็ไม่ค่อยส่งเสริมให้นักการเมืองเหล่านี้ดำเนินการในรัฐสภา สิ่งที่พูดคุยกันในรัฐสภาส่วนใหญ่ เป็นประเด็นการเผชิญหน้ากันของชนชั้นปกครอง อย่างเช่น ควรจะตัดค่าจ้างลงจำนวนเท่าใด จะหั่นงบประมาณเกี่ยวกับการบริการสาธารณะลงมากน้อยแค่ไหน เป็นต้น

ไม่เคยมีการพูดถึงว่า ระบบสังคมนี้หรือสังคมนั้นอาจจะทำงานได้ดีกว่าเพื่อประโยชน์สุขของผู้คนส่วนใหญ่ ถ้าสิ่งเหล่านี้ได้เคยมีการหยิบยกกันขึ้นมาพูดในรัฐสภา ชนชั้นปกครองก็มักจะได้รับการหนุนหลังเสมอ. อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า รัฐธรรมนูญของออสเตรเลียไม่เคยยินยอมให้รัฐสภายกเอาบริษัทเอกชนต่างๆ ขึ้นมาเป็นชาติ

6. ระบบเกี่ยวกับการควบคุมความคิด (The System of Thought Control)
หลักประกันที่สำคัญมากที่สุดของลัทธิทุนนิยมไม่ใช่กำลังทหาร หรือรัฐสภา แต่คือโครงสร้างทั้งหมดในการควบคุมความคิด. ลัทธิทุนนิยมฝึกให้ผู้คนไม่คิด(not to think). ระบบการศึกษาสอนให้คุณเชื่อฟังอำนาจและรักษากฎเกณฑ์ต่างๆเอาไว้ และสื่อก็ทำหน้าที่ทำให้เกิดความมั่นใจว่าคุณจะไม่ลืมมัน

สิ่งที่ถูกสอนกันที่โรงเรียนคือความรู้ที่มากพอต่อการเป็นคนงานที่มีประสิทธิภาพคนหนึ่ง เช่นทำอย่างไรจึงจะอ่านและนับเลขได้ เป็นต้น. มันไม่ได้รับการพิจารณาว่ามีความจำเป็นใดๆ ที่คุณจะเข้าใจว่าสังคมทำงานอย่างไร เว้นแต่ให้เรียนรู้สายโซ่ของอำนาจและคำสั่งเท่านั้น. โรงเรียนทำหน้าที่คัดเลือก และส่งคุณออกไป

ระบบดังกล่าวเรียกมันว่า"การไหลเลื่อน" หมายความว่า ถ้าคุณไปโรงเรียนที่ดีหรือทำหน้าที่อย่างไม่บกพร่อง คุณก็จะถูกสอนว่าจะได้เลื่อนขั้นสูงขึ้นไปบนโลกนี้อย่างไร หรืออย่างน้อยที่สุดถูกขายภาพหลอน. ระบบการศึกษาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาน้อยมาก แต่ไปเกี่ยวข้องกับการทำเชื่อฟังมากกว่า เกี่ยวกับการสร้างคุณค่าต่างทางด้านลัทธิทุนนิยมให้กับสังคม, สอนให้แข่งขันและอยู่ในโอวาท, รวมถึงอุปนิสัยที่เซื่องซึม

พวกเราไม่ได้ถูกสอนว่าจะพัฒนาความคิดเห็นต่างๆที่ได้มาอย่างไร ความคิดเห็นทั้งหลายถูกสร้างให้เรา นั่นคือบทบาทของสื่อ. สื่อมวลชนถูกทำให้มีเจ้าของและถูกควบคุมโดยคนรวย. ในออสเตรเลีย เพียงคนรวยไม่กี่คนเท่านั้นซึ่งควบคุมหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ สถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุ. บรรณาธิการและผู้ควบคุมรายการทั้งหมดถูกแต่งตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการของบริษัท

บรรณาธิการทั้งหลายแต่งตั้งตัวแทนต่างๆ ของพวกเขาเองและหัวหน้าแผนกหลายหลากขึ้น ทั้งหมดกระทำไปเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า สื่อมวลชนจะแสดงบทบาทที่ทำให้ระบบดังกล่าวมีความมั่นคงและเสถียรภาพต่อไป. มุมกล้องทุกมุมต่างเล็งมาจากฝ่ายของคนรวย คุณไม่มีวันเคยเห็นทหารอเมริกันฆ่าชาวนาที่ยากจน คุณเพียงแต่เห็นพวกชาวนาพยายามที่จะปกป้องตัวของพวกเขาเอง และสื่อจะจะเรียกการกระทำนั้นว่าความก้าวร้าว. เมื่อทหารอเมริกันตาย จะได้รับการเรียกว่าการฆ่า แต่เมื่อบรรดาผู้อยู่อาศัยที่ยากจนของเมืองหนึ่งในโลกที่สามถูกยิงหรือทิ้งระเบิด มันคือการทำลายล้างทางอ้อม

สื่อมวลชนจะจะแยกและโดดเดี่ยวผู้คน คนดูทีวีแต่ละคนเพียงถูกเชื่อมโยงกับส่วนที่เหลือของโลก ถ้าหากว่าเขาดูละครทีวีเรื่อง Dallas. เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถเชื่อมร้อยผู้คนได้ ที่สามารถช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันทางวัฒนธรรมและการเรียนรู้จากกันและกัน หรือสามารถกระตุ้นให้เกิดความคิดและการสร้างสรรค์ กลับถูกนำไปใช้เพื่อทำให้ผู้คนทั้งหลายมึนชาและไร้ความรู้สึกแทน

7. ทำไมลัทธิทุนนิยมจึงกดขี่ผู้หญิง (WHY CAPITALISM OPPRESSES WOMEN)
ผู้หญิงทั้งหลายต่างถูกกดขี่ ไม่ใช่เพราะเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่เป็นเพราะระบบต้องการให้เป็นอย่างนั้น

ในสังคมก่อนหน้านั้นส่วนใหญ่ เว้นแต่รูปแบบการดำรงชีวิตในช่วงต้นสุดของชุมชนต่างๆ ของการล่าสัตว์และด้วยการเก็บของป่า บทบาทของผู้หญิงได้ถูกกำหนดโดยครอบครัว ซึ่งทำให้เธอเป็นส่วนหนึ่งหรืออยู่ในสังกัด และผู้ชายเป็นหัวหน้าครอบครัว. ในสังคมทั้งหลายเหล่านี้ ครอบครัวแสดงบทบาทที่สำคัญในการธำรงรักษาการแบ่งแยกทางชนชั้นเอาไว้ เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่า คนรวยจะส่งผ่านความมั่งคั่งร่ำรวยของพวกเขา และคนจนก็จะส่งผ่านความนอบน้อมของตนต่อไปในอนาคต

ระบบครอบครัวที่ทำให้เป็นสถาบันดังกล่าว ต่างกดขี่บีบคั้นผู้หญิง. สำหรับคำว่า"ครอบครัว"(family) ในตัวของมันเองมาจากรากเดิมในภาษาลาตินว่า famulus, หมายถึงทาสในเรือน(household slave), และคำว่า familia, จำนวนทั้งหมดของทาส(the totality of slaves) ที่เป็นของผู้ชายคนหนึ่ง
(The family system institutionalised the oppression of women. The word family itself comes from the original Latin famulus, meaning household slave, and familia, the totality of slaves belonging to one man.)

8. ครอบครัวภายใต้ลัทธิทุนนิยม (The Family under Capitalism)
ลัทธิทุนนิยมไม่ได้โยนสิ่งที่ดีอันหนึ่งทิ้งไป นายทุนในช่วงต้นฉลาดเฉียบคมในการทำกำไรที่รวดเร็วบางอย่าง โดยการใช้ผู้หญิงและเด็กในโรงงานของพวกเขา แต่ในไม่ช้า พวกเขาก็เรียนรู้ว่าการเก็บผู้หญิงเอาไว้ที่บ้านและรักษาครอบครัวไว้ได้กำไรมากกว่า

งานสำรวจในปี 1990 โดยสำนักงานสถิติออสเตรเลียประเมินว่า การทำงานที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายของผู้หญิงเกี่ยวกับงานบ้าน เช่นปรุงอาหาร ทำความสะอาด ซักล้าง การดูแลเด็ก มีค่าเท่ากับ 83% ของ GDP. (ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ). ดังนั้น ครอบครัวจึงจำลองแรงงานที่ลัทธิทุนนิยมต้องการในราคาที่ถูกสุด ลองจินตนาการดูว่านายทุนทั้งหลายจะสูญเสียผลกำไรไปมากเท่าไร หากว่าโรงงานของพวกเขาจะต้องจัดหาสถานดูแลเด็ก และอาหารให้กับบรรดาแรงงานของตน

สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ครอบครัวทำให้บรรทัดฐานทางสังคมยังคงอยู่ซึ่งเหมาะกับระบบ มันทำหน้าที่หล่อหลอมพฤติกรรมของเด็กๆ ให้เชื่อฟังในอำนาจ เคารพผู้ที่เหนือกว่าพวกเขา รู้จักแข่งขัน ระวังรักษาความเป็นหนึ่ง และก้าวไปข้างหน้า. มันยังรักษากฎเกณฑ์ทางศีลธรรมของสังคมไว้ด้วย มันทำหน้าที่ข่มระงับและบิดเบือนเรื่องเพศ ดูแลการแสดงออกทางเพศภายในขอบเขตของการบ่มเพาะของครอบครัว

ลักษณะทางเพศในแบบเกย์และเลสเบี้ยนถือเป็นเรื่องต้องห้าม เฉพาะเพียงแต่ลักษณะทางเพศแบบหญิงรักชาย-ชายรักหญิง(heterosexual)เท่านั้นที่เป็น"ธรรมชาติ" เพราะมันรักษาเอาไว้ซึ่งสถาบันครอบครัว. ระบบต้องการให้ทุกคนมีระเบียบ ตรงไปตรงมา. ดังนั้นการแสดงออกทางเพศจึงถูกกดเอาไว้ และบิดเบือนไปนับจากวัยทารก. คนหนุ่มสาวที่มีความกระตือรือร้นทางเพศถือว่ามีจิตใจสกปรก ไม่ต้องประหลาดใจเลยว่า เรื่องเพศของคนหนุ่มสาวไปเกี่ยวพันกับความกลัวต่างๆ มากมาย นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องความรู้สึกตึงเครียด และเป็นเรื่องอคติต่างๆ ด้วย

หน่วยครอบครัวถือว่าเป็นทุนสำรองทางด้านแรงงานของลัทธิทุนนิยม. ผู้หญิงสามารถถูกดึงเข้ามาสู่กำลังแรงงานได้ อย่างเช่นในภาวะสงคราม และหลังสงครามก็ส่งคืนผู้หญิงกลับบ้าน"ที่ที่พวกเขาเป็นคนของที่นั่น" เมื่อไรก็ตามที่มันเหมาะสมกับสถานการณ์และระบบ. การยอมรับที่แผ่ขยายออกไปเกี่ยวกับความคิดกีดกันทางเพศ(sexist - การแบ่งแยกทางเพศ) ยอมให้บรรดานายทุนทั้งหลายให้งานที่สร้างสรรค์น้อยที่สุดแก่ผู้หญิง และด้วยการจ่ายค่าแรงที่ต่ำสุด

9. พลเมืองชั้นสอง (Second Class Citizens)
ทุนนิยมไม่เคยรู้สึกละอายเลยเกี่ยวกับนวัตกรรม เมื่อมันสามารถทำเงินได้ ลัทธิทุนนิยมก่อให้เกิดลัทธิกีดกันทางเพศอย่างมโหฬารโดยการขาย"มายาคติของความงาม" ผู้หญิงไม่เพียงต้องซักผ้าและทำความสะอาดบ้านเท่านั้น แต่พวกเธอจะต้องดูเป็นคนทันสมัย ทันแฟชั่นล่าสุดตามแบบจำลองอุตสาหกรรม. พวกเธอจะต้องลดน้ำหนัก แม้ว่าจะทำให้พวกเธอเป็นคนที่สุขภาพไม่ดี พวกเธอต้องทนหิวและจ่ายมันด้วยน้ำหนักตัวเพื่อชุดพิเศษ น้ำหอม ทรงผม ชุดชั้นใน หรือเครื่องประดับ รวมถึงอัญมณี

มันเหมาะกับระบบที่จะเปลี่ยนผู้หญิงให้เหลือเพียงแค่ความเป็นวัตถุ เพื่อเก็บผู้หญิงเอาไว้ในฐานะพลเมืองชั้นสอง ผู้หญิงไม่อาจได้รับการยินยอมให้มีสิทธิ์ในขั้นพื้นฐานเพื่อควบคุมร่างกายของพวกเธอเอง ในออสเตรเลีย ผู้หญิงยังคงไม่มีสิทธิที่จะทำแท้งตามกฎหมาย

ลัทธิสตรีนิยม(feminism)กำลังต่อสู้เรื่องความเสมอภาคของผู้หญิง กำลังสู้กับความไม่เท่าเทียม ซึ่งยึดครองไว้โดยชนชั้นปกครองด้วยหลักการ"แบ่งแยกและปกครอง", ที่พยายามทำลายความเป็นเอกภาพของคนงาน และคนเหล่านั้นทั้งหมดที่ถูกกดขี่โดยระบบ

10. ทำไมลัทธิทุนนิยมต้องการลัทธิเชื้อชาติสีผิวให้มีอยู่ (WHY CAPITALISM NEEDS RACISM)
ปิรามิดของสังคมในลัทธิทุนนิยมคือ คนดำอยู่ที่ฐานปิรามิดและคนขาวอยู่บนยอดสุด. ในแอฟริกาใต้ มันได้รับการจัดตั้งขึ้นมาในวิธีการนี้และเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย. ทุกๆที่ ความเป็นทาสถูกทำให้เป็นอาชญากรรมหรือสิ่งผิดกฎหมายมานับศตวรรษแล้ว แต่ก็ยังคงเป็นอยู่อย่างนั้น นั่นคือคนที่ร่ำรวยสุดคือคนที่ขาวที่สุด และคนซึ่งยากจนสุดคือคนที่ดำสุด

ลัทธิเชื้อชาติสีผิวเหมาะกับลัทธิทุนนิยม มันเป็นวิธีการที่สำคัญอันหนึ่งของการแบ่งแยกทางเศรษฐกิจที่พิสูจน์ได้ ไม่ใช่ความบังเอิญเลยว่า ที่ใดที่คุณพบลัทธิเชื้อชาติสีผิว ที่นั่นคุณจะพบว่าบางคนดูเหมือนจะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้และทำเงินได้มากขึ้น

ในปี ค.ศ.1492 โคลัมบัสทำให้อเมริกาเป็นอาณานิคม. ณ ที่นั่น เขาประกาศว่า "คริสเตียนทั้งหมดจะสร้างธุรกิจ". ชนพื้นเมืองจะถูกทำให้เป็นทาสและถูกฆ่าล้างโคตรหากพวกเขาต่อต้าน ตามคำกล่าวของโคลัมบัส พวกทาสเพียงเป็นประโยชน์ต่อการรับคำสั่งและทำงาน เช่น ทำไร่-ทำสวน และกระทำในสิ่งที่จำเป็นทุกอย่าง เช่น สร้างบ้านเรือน และเรียนรู้ที่จะสวมใส่เสื้อผ้า รวมทั้งใช้ขนบธรรมเนียมของพวกเรา

ในออสเตรเลีย สหราชอาณาจักรอังกฤษกระทำในสิ่งเดียวกัน. ออสเตรเลียถูกประกาศว่า Terra Nullius, หมายถึง"ผืนแผ่นดินที่ไร้ผู้คน" ไม่เป็นไร ไม่ต้องคำนึงถึงชนเผ่าอะบอริจินนับร้อยๆ อังกฤษต้องการอีกอาณานิคม เพื่อกำจัดบรรดานักโทษของตน และต่อมาภายหลังต้องการมันเป็นแหล่งวัตถุดิบต่างๆ ไม่มีประชากรพื้นเมืองที่จะสอดแทรกเข้ามาปกป้องเรื่องราวเหล่านี้ได้

ถึงตอนนี้ เรามีลัทธิจักรวรรดิ์นิยมมาแทนลัทธิอาณานิคมในช่วงต้น สหรัฐอเมริกาเดินไปในประเทศโลกที่สามได้อย่างอิสระ เพื่อช่วยเหลือหรือปกป้องผู้คนจากพวกเขาเอง ไม่มีใครถูกทำให้เป็นทาสโดยกฎหมาย แต่ค่าจ้างของพวกเขาถูกเก็บหนึ่งเหรียญต่อวัน เช่นดังในฟิลิปปินส์และบราซิล เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่า ผู้คนเหล่านี้จะไม่หนีไปที่อื่น

การแผ่ขยายของลัทธิเชื้อชาติสีผิว ยังช่วยให้ลัทธิทุนนิยมใช้ตักตวงผลประโยชน์อย่างมหาศาลจากบรรดาผู้อพยพ, อันนี้รวมถึงพวกต่างชาติและชาติพันธ์ส่วนน้อยทั้งหลายด้วย. มันช่วยทำให้ธุรกิจของชาวออสเตรเลียยังคงรักษามายาคติเอาไว้ได้ "พวกวอกพวกนั้น(wog - เป็นคำเรียกชาวเอเชียและแอฟริกันในลักษณะที่เหยียดหยาม)ไม่กังวลใจหรอกกับงานที่สกปรก, ใช้แรงมาก, และคนพวกนี้ไม่เกี่ยงค่าแรงต่ำ กลับดีใจเสียอีกที่จะได้เงินใช้". และมันเป็นอีกวิธีการหนึ่งของการแบ่งแยกคนงานจากคนงาน. เมื่อภาวะไม่มีงานทำเพิ่มสูงขึ้น มันมักจะง่ายที่จะประณามด้วยคำว่า"ไอ้พวกวอก"(the wogs) สำหรับการแย่งงานไปจาก"ชาวออสเตรเลียนที่แท้จริง"

11. ลัทธิทุนนิยมแปลกแยกผู้คน (CAPITALISM ALIENATES PEOPLE)
ลัทธิทุนนิยมทำให้ระบบโหดร้ายและทารุณ มันประณามผู้คนที่อยู่เบี่ยงเบนไปจากปรกติของมัน ซึ่งมีชีวิตอยู่ในลักษณะที่หยุดนิ่ง อ่อนแรงและยากจน นั่นไม่ใช่เรื่องเศรษฐศาสตร์ แต่เป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก เป็นเรื่องสติปัญญาและวัฒนธรรมด้วย

สำหรับผู้คนจำนวนมาก ชีวิตเป็นเพียงกระบวนการหนึ่งของการแปลกแยกไปจากงานของพวกเขาอย่างลึกซึ้ง จากครอบครัวของพวกเขา และจากพวกเขาเอง. ในการขายพลังและแรงงานของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นแรงกายหรือสมอง พวกเขาได้ขายความคิดและจิตวิญญาณสร้างสรรค์ของตนเองไปด้วย. บรรดาคนงานทั้งหลายกลายเป็นฟันเฟืองในเครื่องจักรทุนนิยม. ทุกสิ่งซึ่งได้รับการผลิตถูกเป็นเจ้าของโดยนายทุน. คนงานถูกแยกไปจากผลผลิตจากแรงงานของพวกเขา เพราะพวกเขาเป็นเพียงผู้บริโภคคนหนึ่งเท่านั้น

ลัทธิทุนนิยมได้ลดทอนจุดมุ่งหมายในชีวิตของเราแต่ละคนลงให้เหลือเพียงการบริโภค. อุตสาหกรรมโฆษณาหลายพันล้านเหรียญ ได้ถูกอุทิศให้กับการขายความสุขของมันให้กับผู้คน. ความสุข(ความพึงพอใจ)ที่ดื่มได้เป็นสิ่งที่ถูกพบได้บนโค๊กกระป๋อง

ลัทธิทุนนิยมไม่เพียงเพิ่มพูนความยากจนสู่การเติมเต็มความร่ำรวยให้มากขึ้นเท่านั้น มันยังเพิ่มเติมความโดดเดี่ยวและส่งเสริมความเชื่อฟังและการว่านอนสอนง่ายให้มากขึ้นด้วย. ตัวคนเดียว, การแข่งขันกับคนอื่นๆ สำหรับการทำคะแนนที่โรงเรียนและหน้าที่การงาน ผู้คนทั้งหลายกลายเป็นพวกตะกละพวกที่มีจิตใจละโมบ, มีอคติและยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง. นายทุนทั้งหลายไม่ชอบอะไรเลยยิ่งไปกว่าคนงานที่ไม่ยอมหยุดงานประท้วงไปกับเพื่อนคนงานอื่นๆ และคนเหล่านี้จะได้รับการเลื่อนตำแหน่งในอนาคต

ในความโดดเดี่ยว ความแปลกแยกจากทุกๆคนรวมทั้งพวกเขากันเอง ผู้คนทั้งหลายต้องพบกับความไม่สมหวังมากกว่าจะค้นพบความหมายของชีวิต นี่เป็นเรื่องน่าประหลาดใจหรือ ที่ในสังคมเช่นนี้มันเต็มไปด้วยความเกลียดชังและความรุนแรง ซึ่งไม่เพียงพบเห็นได้ตามท้องถนน แต่มันยังพบเห็นได้ภายในบ้านเรือนต่างๆด้วย


+++++++++++++++++++

หมายเหตุ : สำหรับผู้สนใจต้นฉบับภาษาอังกฤษ สามารถคลิกไปอ่านได้ที่
http://www.resistance.org.au/documents/wssf/introtxt.shtml


 

 

บทความวิชาการฟรีที่ผ่านมา ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 670 เรื่อง หนากว่า 9000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

คำโปรย คัดลอกมาจากบทความ เพื่อให้มองเห็นเนื้อความที่น่าสนใจบางส่วน
H
เชิญชวนผู้สนใจภาษาอังกฤษ นำเสนอคำศัพท์ใหม่ๆ พร้อมคำอธิบายเพื่อทำความเข้าใจโลก และความคิดร่วมสมัย ทั้งในมิติด้านการมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
สำหรับคำว่า"ครอบครัว"(family) ในตัวของมันเองมาจากรากเดิมในภาษาลาตินว่า famulus, หมายถึงทาสในเรือน(household slave), และคำว่า familia, จำนวนทั้งหมดของทาส(the totality of slaves) ที่เป็นของผู้ชายคนหนึ่ง
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี


ลัทธิทุนนิยมไม่ได้โยนสิ่งที่ดีอันหนึ่งทิ้งไป นายทุนในช่วงต้นฉลาดเฉียบคมในการทำกำไรที่รวดเร็วบางอย่าง โดยการใช้ผู้หญิงและเด็กในโรงงานของพวกเขา แต่ในไม่ช้า พวกเขาก็เรียนรู้ว่าการเก็บผู้หญิงเอาไว้ที่บ้านและรักษาครอบครัวไว้ได้กำไรมากกว่า

งานสำรวจในปี 1990 โดยสำนักงานสถิติออสเตรเลียประเมินว่า การทำงานที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายของผู้หญิงเกี่ยวกับงานบ้าน เช่นปรุงอาหาร ทำความสะอาด ซักล้าง การดูแลเด็ก มีค่าเท่ากับ 83% ของ GDP. ดังนั้น ครอบครัวจึงจำลองแรงงานที่ลัทธิทุนนิยมต้องการในราคาที่ถูกสุด ลองจินตนาการดูว่านายทุนทั้งหลายจะสูญเสียผลกำไรไปมากเท่าไร หากว่าโรงงานของพวกเขาจะต้องจัดหาสถานดูแลเด็ก และอาหารให้กับบรรดาแรงงานของตน