นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
R
related topic
200948
release date

คลิกไปหน้าสารบัญ(1)
คลิกไปหน้าสารบัญ
(2)
คลิกไปหน้าสารบัญ(3)
คลิกไปหน้าสารบัญ(4)
เพื่อดูบทความใหม่สุด

เว็ปไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
จะช่วยแก้ปัญหาได้
ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
เว็ปไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานของท่านมายัง midarticle(at)yahoo.com หรือ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work and immediately places it in the public domain... [copyleft] กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร

The Midnight University

สารานุกรมฟรีฉบับมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
เรียบเรียงโดย
สมเกียรติ ตั้งนโม
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

สารานุกรมฟรีฉบับนี้ เรียบเรียงมาจากข้อมูลบนเว็ปไซต์และหนังสือสำคัญต่างๆจำนวนมาก
และงานเรียบเรียงฉบับนี้ยังอยู่ในขั้นตอนเริ่มต้นโครงการ
ซึ่งได้พยายามรักษาความถูกต้องเอาไว้ให้มากที่สุด เพื่อประโยชน์ของการนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามสมควร

(หากพบข้อผิดพลาด กรุณาท้วงติงเพื่อประโยชน์และความสมบรูณ์ของข้อมูล)
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

(สารานุกรมเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
สารานุกรมฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 900
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 10,000 หน้ากระดาษ A4)


ปัญหาอย่างหนึ่งของการจัดทำข้อมูลสารานุกรมโดยทั่วไป ก็คล้ายๆกับการปรับปรุงเว็ปไซต์ทั้งหลาย
ที่มักจะแจ้งว่าอยู่ระหว่างการดำเนินการปรับปรุง(under construction)
ซึ่งผู้ใช้บริการไม่ทราบว่า ได้มีการดำเนินการปรับปรุงไปมากน้อยเพียงใด
เหตุนี้ผู้เรียบเรียงจึงได้จัดทำส่วนของการรายงานความก้าวหน้านี้ขึ้น เพื่อให้นักศึกษาและผู้ใช้บริการได้มองเห็นว่า
การดำเนินการดังกล่าว กำลังทำอะไรอยู่ และได้กระทำไปถึงขั้นตอนใด เพื่อจะสามารถคาดการณ์ได้ว่า จะเข้ามาใช้บริการได้เมื่อใด และมีเรื่องอะไรบ้าง ดังนั้นจึงกำหนดให้ส่วนนี้เป็นช่องทางที่ผู้เรียบเรียงกับผู้ใช้บริการสามารถติดต่อกัน

เข้ามาเพิ่มเติมข้อมูลล่าสุดวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๘
รายงานความก้าวหน้าการจัดทำสารานุกรม
ขณะนี้กำลังค้นคว้าคำว่า
Postmodernism
(ข้อมูลสารานุกรมที่ให้บริการแล้ว จะขีดเส้นใต้ตัวอักษร สามารถคลิกเข้าไปอ่านได้)



Stephen Hawking's Universe, big bang...
"สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง" กับ ความกล้าหาญทางจริยธรรม - ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ [email protected]

. . .สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและยอมรับมากทั่วโลกจากการไขปริศนา "บิ๊กแบง" ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นจุดกำเนิดของเอกภพและสรรพสิ่งที่เราเห็นๆ กันอยู่ทุกวันนี้ ด้วยการนำเอาเทคนิคด้านคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นโดย โรเจอร์ เพนโรส มาพิสูจน์ทฤษฎีบิ๊กแบง ทฤษฎีนี้บอกว่าเอกภพเกิดขึ้นจากจุดเล็กๆ จุดหนึ่งที่มีความหนาแน่นและแรงโน้มถ่วงเป็นอนันต์ (สภาวะซิงกูลาลิตี้)

ในขณะเดียวกัน คณิตศาสตร์ของเพนโรสก็ไม่เพียงใช้กับการกำเนิดของเอกภพเท่านั้น แต่ยังใช้กับการกำเนิดหลุมดำด้วย หลุมดำซึ่งเกิดการจากการยุบตัวของดาวขนาดใญ่พอควรเมื่อถึงกาลอายุของมัน กลายเป็นจุดเล็กๆ ที่มีสภาวะซิงกูลาลิตี้ สำหรับฮอว์กิ้ง กำเนิดเอกภพก็คือกระบวนการด้านกลับของการเกิดหลุมดำนั่นเอง และจะเข้าใจเอกภพและสรรพสิ่งได้ ก็ต้องเข้าใจหลุมดำให้ได้

ในช่วงทศวรรษ 1970-80 เป็นยุคทองของการวิจัยค้นคว้าเกี่ยวกับหลุมดำ นักวิทยาศาสตร์เริ่มเข้าใจธรรมชาติของมันทีละน้อยๆ กระนั้นก็ตาม สิ่งที่คาใจฮอว์กิ้งมาตลอดก็คือ การศึกษาทำความเข้าใจหลุมดำทั้งหมดที่ผ่านมานั้นใช้กรอบทฤษฎีฟิสิกส์ในระดับมหภาค ซึ่งไม่สอดคล้องกับฟิสิกส์ระดับเล็กที่ลงไปในเรื่องความเคลื่อนไหวของอะตอม และอนุภาค หรือ กลศาสตร์ควอนตัม

จึงมีความพยายามที่จะรวมฟิสิกส์ทั้งสองแบบเข้าด้วยกัน หรือพูดให้เข้าใจและจำง่ายก็คือ ฮอว์กิ้งปรารถนาที่จะพัฒนาทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ ให้เข้ากับกลศาสตร์ควอนตัม ภายในสภาวะซิงกูลาลิตี้ของหลุมดำ ผลอย่างหนึ่งของความพยายามก็คือ ฮอว์กิ้งเชื่อว่าเมื่อเกิดหลุมดำมันจะบดขยี้ทุกสิ่งทุกอย่างกลืนหายไปไม่มีอะไรหลุดรอดออกมาได้แม้แต่แสง เมื่อแสงยังหลุดรอดออกมาไม่ได้ อย่าไปหวังถึงอย่างอื่น แวดวงวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่งก็เชื่อกันอย่างนี้มานาน หลุมดำกลืนกินทุกอย่างแล้วแผ่รังสีออกมา เรียกรังสีนี้กันว่า "รังสีฮอว์กิ้ง" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หลุมดำระเหิดหรือปราศนาการไป

และไม่เพียงแค่นั้น ปี 2519 ฮอว์กิ้งยังประกาศด้วยว่าไม่เพียงหลุมดำจะระเหิดหายไป ข้อมูลทุกสิ่งทุกอย่างในนั้นก็จะหายไปด้วย ทฤษฎีนี้ของฮอว์กิ้ง มีคนแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคิดว่าฮอว์กิ้งผิด เพราะมันขัดกับหลักการทางฟิสิกส์อย่างชัดเจน อีกพวกหนึ่งพยายามหาทางพิสูจน์ และถ้าเป็นไปตามที่ฮอว์กิ้งคิด หลักการทางฟิสิกส์จะต้องเขียนกันขึ้นใหม่ทั้งหมด เวลาผ่านไปยี่สิบปียังไม่มีฝ่ายไหนยอมแพ้ จนกระทั่งนักคณิตศาสตร์หนุ่มชาวอาเจนติน่า "ฮวน มัลดาเซน่า" เสนอรายงานว่าข้อมูลในหลุมดำไม่ได้หายไปไหน

ฮอว์กิ้งให้ความสนใจกับรายงานชิ้นนี้ แต่เชื่อว่าสามารถใช้เทคนิคคณิตศาสตร์ของมัลดาเซน่ามาพิสูจน์ในทางตรงกันข้ามได้ เขาใช้เวลาสองปีโดยยังไม่สามารถพิสูจน์สิ่งที่ตั้งใจได้

แล้วฮอว์กิ้งก็ล้มป่วยด้วยนิวโมเนีย ต้องเข้าโรงพยาบาล หมอถึงกับคิดว่าเขาน่าจะไม่รอดชีวิต ระหว่างที่นอนอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลาสามเดือนท่ามกลางหมอและพยาบาลที่คอยดูแลความเจ็บป่วย ฮอว์กิ้งกลับใช้สมองขบคิดปัญหาเรื่องข้อมูลในหลุมดำ เรียกกันว่า "อินฟอร์เมชั่น พาราดอกซ์" ที่เกาะกินใจเขามาสามสิบกว่าปี

ราวเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว ฮอว์กิ้งเอาชนะคำทำนายของหมอได้อีกครั้ง แม้จะทรุดโทรมลง สื่อสารกับคนอื่นได้ยากมากขึ้นกว่าเดิม เขากลับมาพร้อมกลับข้อพิสูจน์อันลือลั่นในวงการฟิสิกส์และผู้เฝ้าติดตาม

แต่เขากลับขึ้นไปพิสูจน์ว่าเขาผิดมาตลอดสามสิบปี ความเชื่อว่าข้อมูลในหลุมดำหายไปหมดแต่เดิมเขานั้น "ผิด" ที่จริงแล้วหลุมดำปลดปล่อยข้อมูลออกมา นี่คือ "ความกล้าหาญทางจริยธรรม" ที่ขาดแคลนอย่างยิ่งไม่ว่าในแวดวงไหนๆ

กระนั้นก็ตามหนึ่งปีผ่านไปหลังจากฮอว์กิ้งขึ้นไปเกริ่นในเรื่องนี้ โลกก็ยังเฝ้ารอรายละเอียดจากเขา แต่ถ้าคิดถึง ฮอว์กิ้ง ลองเตรียมตัวใจพบกับ "ประวัติย่นย่อของกาลเวลา" ในงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติที่ศูนย์สิริกิติ์ 6-16 ตุลาคมนี้(2548) บู๊ธมติชน โซนพลาซ่า ที่เดิม

ฮอว์กิ้งนำเอา "ประวัติย่อของกาลเวลา" มาเขียนกันใหม่อีกที ทำให้มันง่ายขึ้น ตัดส่วนที่เป็นทฤษฎีเข้าใจยากออกไป เติมเนื้อหาให้ทันสมัยมากขึ้น มีข้อมูลการค้นพบและการสังเกตการณ์ใหม่ๆ ล่าสุดบรรจุเพิ่มเติมเข้ามา

เล่มนี้ยังคงแปลเป็นไทยโดย "รอฮีม ปรามาท" (เจ้าเก่า) ฉบับภาษาไทยวางตลาดพร้อมกับฉบับภาษาอังกฤษทั่วโลก จังหวะเดียวกันกับที่รอฮีมจะได้พบกับ "ฮอว์กิ้ง" ตัวเป็นๆ ในแฟรงก์เฟิร์ตหากไม่มีอะไรผิดไปจากแผนเดิม
(มติชนสุดสัปดาห์ 280948)



 

 

บทความวิชาการฟรีที่ผ่านมา ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 670 เรื่อง หนากว่า 9000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

คำโปรย คัดลอกมาจากบทความ เพื่อให้มองเห็นเนื้อความที่น่าสนใจบางส่วน
H
สำหรับคำว่า"ครอบครัว"(family) ในตัวของมันเองมาจากรากเดิมในภาษาลาตินว่า famulus, หมายถึงทาสในเรือน(household slave), และคำว่า familia, จำนวนทั้งหมดของทาส(the totality of slaves) ที่เป็นของผู้ชายคนหนึ่ง
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี

Stephen Hawking's Universe
. . .สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและยอมรับมากทั่วโลกจากการไขปริศนา "บิ๊กแบง" ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นจุดกำเนิดของเอกภพและสรรพสิ่งที่เราเห็นๆ กันอยู่ทุกวันนี้ ด้วยการนำเอาเทคนิคด้านคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นโดย โรเจอร์ เพนโรส มาพิสูจน์ทฤษฎีบิ๊กแบง ทฤษฎีนี้บอกว่าเอกภพเกิดขึ้นจากจุดเล็กๆ จุดหนึ่งที่มีความหนาแน่นและแรงโน้มถ่วงเป็นอนันต์ (สภาวะซิงกูลาลิตี้)

ในขณะเดียวกัน คณิตศาสตร์ของเพนโรสก็ไม่เพียงใช้กับการกำเนิดของเอกภพเท่านั้น แต่ยังใช้กับการกำเนิดหลุมดำด้วย หลุมดำซึ่งเกิดการจากการยุบตัวของดาวขนาดใญ่พอควรเมื่อถึงกาลอายุของมัน กลายเป็นจุดเล็กๆ ที่มีสภาวะซิงกูลาลิตี้ สำหรับฮอว์กิ้ง กำเนิดเอกภพก็คือกระบวนการด้านกลับของการเกิดหลุมดำนั่นเอง และจะเข้าใจเอกภพและสรรพสิ่งได้ ก็ต้องเข้าใจหลุมดำให้ได้

ในช่วงทศวรรษ 1970-80 เป็นยุคทองของการวิจัยค้นคว้าเกี่ยวกับหลุมดำ นักวิทยาศาสตร์เริ่มเข้าใจธรรมชาติของมันทีละน้อยๆ กระนั้นก็ตาม สิ่งที่คาใจฮอว์กิ้งมาตลอดก็คือ การศึกษาทำความเข้าใจหลุมดำทั้งหมดที่ผ่านมานั้นใช้กรอบทฤษฎีฟิสิกส์ในระดับมหภาค ซึ่งไม่สอดคล้องกับฟิสิกส์ระดับเล็กที่ลงไปในเรื่องความเคลื่อนไหวของอะตอม และอนุภาค หรือ กลศาสตร์ควอนตัม (อ่านเนื้อความที่สมบูรณ์ข้างล่าง)