นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
R
related topic
231048
release date

คลิกไปหน้าสารบัญ(1)
คลิกไปหน้าสารบัญ
(2)
คลิกไปหน้าสารบัญ(3)
คลิกไปหน้าสารบัญ(4)
เพื่อดูบทความใหม่สุด

เว็ปไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
จะช่วยแก้ปัญหาได้
ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
เว็ปไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานของท่านมายัง midarticle(at)yahoo.com หรือ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work and immediately places it in the public domain... [copyleft] กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร

The Midnight University

สารานุกรมฟรีฉบับมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
เรียบเรียงโดย
สมเกียรติ ตั้งนโม
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

สารานุกรมฟรีฉบับนี้ เรียบเรียงมาจากข้อมูลบนเว็ปไซต์และหนังสือสำคัญต่างๆจำนวนมาก
และงานเรียบเรียงฉบับนี้ยังอยู่ในขั้นตอนเริ่มต้นโครงการ
ซึ่งได้พยายามรักษาความถูกต้องเอาไว้ให้มากที่สุด เพื่อประโยชน์ของการนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามสมควร

(หากพบข้อผิดพลาด กรุณาท้วงติงเพื่อประโยชน์และความสมบรูณ์ของข้อมูล)
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

(สารานุกรมเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
สารานุกรมฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 900
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 10,000 หน้ากระดาษ A4)


ปัญหาอย่างหนึ่งของการจัดทำข้อมูลสารานุกรมโดยทั่วไป ก็คล้ายๆกับการปรับปรุงเว็ปไซต์ทั้งหลาย
ที่มักจะแจ้งว่าอยู่ระหว่างการดำเนินการปรับปรุง(under construction)
ซึ่งผู้ใช้บริการไม่ทราบว่า ได้มีการดำเนินการปรับปรุงไปมากน้อยเพียงใด
เหตุนี้ผู้เรียบเรียงจึงได้จัดทำส่วนของการรายงานความก้าวหน้านี้ขึ้น เพื่อให้นักศึกษาและผู้ใช้บริการได้มองเห็นว่า
การดำเนินการดังกล่าว กำลังทำอะไรอยู่ และได้กระทำไปถึงขั้นตอนใด เพื่อจะสามารถคาดการณ์ได้ว่า จะเข้ามาใช้บริการได้เมื่อใด และมีเรื่องอะไรบ้าง ดังนั้นจึงกำหนดให้ส่วนนี้เป็นช่องทางที่ผู้เรียบเรียงกับผู้ใช้บริการสามารถติดต่อกัน

เข้ามาเพิ่มเติมข้อมูลล่าสุดวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๘
รายงานความก้าวหน้าการจัดทำสารานุกรม
ขณะนี้กำลังค้นคว้าคำว่า
Postmodernism
(ข้อมูลสารานุกรมที่ให้บริการแล้ว จะขีดเส้นใต้ตัวอักษร สามารถคลิกเข้าไปอ่านได้)




วิทยุชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน'
วิทยุชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน' ปาฐกถาโดยจอน อึ๊งภากรณ์
ปาฐกถาเนื่องในโอกาสครบรอบ ๓ ปี สหพันธุ์วิทยุชุมชน
โดย จอน อึ๊งภากรณ์ สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร
ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย วันที่ ๑๐ ต.ค. ๔๘

คำว่า "วิทยุชุมชน" นั้น หากเป็นของจริงของแท้ย่อมต้องหมายถึงสถานีวิทยุ "ของชุมชน" "โดยชุมชน" และ "เพื่อชุมชน"

การที่ชุมชนเป็น "เจ้าของ" นั้น ย่อมหมายความว่าชุมชนนั้นเป็นผู้ตัดสินใจก่อตั้งสถานี เป็นผู้ลงทุนหรือสรรหาทุนร่วมกัน เป็นผู้กำหนดนโยบายต่างๆ ของสถานี ตลอดจนเป็นผู้เลือกตั้งและถอดถอนกรรมการและผู้บริหารของสถานี ทั้งนี้โดยอาศัยที่ประชุมของชุมชนซึ่งสมาชิกชุมชนทุกคนมีสิทธิในการมาร่วมประชุม และในการเสนอญัตติหรือเสนอความคิดเห็น และในการลงคะแนนเสียงคนละหนึ่งคะแนนเท่าเทียมกันหมด

การดำเนินการ "โดยชุมชน" หมายความว่าทุกคนในชุมชนมีโอกาสที่จะมีส่วนร่วมในกิจการของสถานีตามความสมัครใจ เช่นเป็นผู้บริหารหรือกรรมการดำเนินงาน ผู้ดูแลผังรายการ ผู้กำกับรายการ ผู้ประกาศ ผู้อ่านข่าว ผู้ศึกษาและรวบรวมข้อมูล ผู้เขียนบท ดีเจ ผู้ควบคุมเสียง ผู้ดูแลรักษาเครื่องส่ง ตลอดจนผู้ชงกาแฟ ฯลฯ

การดำเนินการ "เพื่อชุมชน" หมายความว่ารายการวิทยุต่างๆ ต้องสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาของชุมชน และไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อชุมชน ดังนั้นรายการวิทยุจะต้องไม่มีลักษณะ หลอกลวง มอมเมา โฆษณาชวนเชื่อ ส่งเสริมผลประโยชน์เฉพาะบุคคล สร้างความแตกแยก หรือทำลายวัฒนธรรมที่ดีหรือความเข้มแข็งของชุมชน ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าสถานีวิทยุดังกล่าวจะเสนอความคิดเห็นและมุมมองที่หลากหลายของคนในชุมชนไม่ได้ เพราะสถานีวิทยุควรเป็นเวทีกลางที่ทุกคนสามารถแลกเปลี่ยนความเห็นและถกเถียงกันได้ แต่ที่สำคัญสถานีจะต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกคนเท่าเทียมกันหมด เพราะทุกคนเป็นเจ้าของสถานีเหมือนกัน

ข้อความที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้น่าจะสามารถใช้เป็นเกณฑ์และบรรทัดฐานในการตรวจสอบและประเมินผลวิทยุชุมชนว่า ใช่ของจริงหรือไม่ แต่ผมค่อนข้างเชื่อว่าในปัจจุบันจะหาสถานีวิทยุที่เป็น "ของชุมชน" "โดยชุมชน" และ "เพื่อชุมชน" อย่างแท้จริงนั้นได้ยาก แม้แต่ในหมู่พวกท่านกันเองที่ทำวิทยุชุมชนด้วยอุดมการณ์เพื่อส่วนรวมก็ตาม

ดังนั้นสิ่งที่ผมอยากจะท้าทายพวกท่านคือ ขอให้ช่วยกันพัฒนาสถานีวิทยุชุมชนให้เป็น "ของชุมชน" "โดยชุมชน" และ "เพื่อชุมชน" ให้ได้ แม้จะต้องทุ่มเทกำลังและใช้เวลานานในการส่งเสริมการเป็นเจ้าของและการมีส่วนร่วมของชุมชน และในการพัฒนาคุณภาพและความหลากหลายของรายการวิทยุก็ตาม

วันนี้ผมตั้งใจจะไม่พูดถึงปัญหาอุปสรรคที่มาจากภาครัฐ เพราะเป็นเรื่องที่ทราบกันดี เห็นพ้องต้องกัน และพูดกันมามากแล้ว จึงขอพูดแต่ในเรื่องที่เป็นโจทย์สำหรับพวกท่านที่เป็นผู้บุกเบิกวิทยุชุมชน ผมเห็นด้วยกับผู้ช่วยของผมซึ่งได้ช่วยผมในการเตรียมประเด็นที่กล่าวถึงในวันนี้ ว่าคำว่า "ชุมชน" นั้นไม่จำเป็นต้องหมายถึงชุมชนในทางภูมิศาสตร์

ถ้าเป็นชุมชนทางภูมิศาสตร์ เช่นเป็นชุมชนระดับหมู่บ้าน ตำบล หรือชุมชนสลัม การกระจายเสียงด้วยกำลังส่งไม่เกิน ๓๐ วัตต์ และเสาอากาศสูงไม่เกิน ๓๐ เมตรอาจจะเหมาะสมอยู่ แต่ผมเห็นว่า รูปแบบของ 'ชุมชน' ไม่อาจถูกตีกรอบที่อาณาเขตทางภูมิศาสตร์เพียงอย่างเดียว เพราะชุมชนยังหมายถึงกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องหนึ่งๆ ร่วมกันหรือมีประสบการณ์ร่วมกัน

แม้ว่าผมจะมีวิทยุชุมชนที่ใกล้ตัวผมมาก คือที่ปากทางเข้าหมู่บ้านที่ผมอาศัยอยู่ มีห้องแถวห้องหนึ่งที่ติดป้ายตัวโตอยู่ด้านหน้าว่า จุดปฏิบัติการการเรียนรู้วิทยุชุมชน ซึ่งเป็นคลื่นเท่าไรผมก็จำไม่ได้ จัดแต่รายการเพลงตามคำขอซึ่งผมก็ไม่สนใจ เมื่ออยู่หน้าเครื่องวิทยุ ผมก็ลืมปรับหน้าปัดวิทยุของผมไปฟัง อาจเป็นเพราะผมไม่ได้มีประเด็นร่วม และก็ไม่คิดว่ามันเป็นหน้าที่ของผมที่จะต้องฟังวิทยุชุมชน เพียงเพราะเราเป็นสมาชิกคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นเท่านั้น ผมจึงไม่ค่อยเชื่อเท่าไรว่า เรื่อง 'พื้นที่' จะมีส่วนสำคัญในความเป็น 'ชุมชน' เสมอไป มากไปกว่าความหมายของชุมชนในแง่ของกลุ่มคนที่มีความใกล้ชิด ความสนใจ และประสบการณ์ร่วมกัน

เพื่อนๆ ของผมที่ทำงานเอดส์ ก็มีส่วนหนึ่งที่ทำรายการวิทยุชุมชนอยู่แถวถนนรามคำแหง โดยทีมงานที่ทำ มาจากพื้นเพที่หลากหลายในเมืองไทย แต่พวกเขายึดโยงกันด้วยเนื้อหาที่ต่อสู้ร่วมกัน คือ เรื่องสิทธิของผู้ติดเชื้อฯ ซึ่งประเด็นเด่นร้อนที่พวกเขาเสนอในช่วงที่ผ่านมา คือเรื่องนโยบายของประเทศไทยที่มีต่อการเจรจาการค้าเสรีแบบทวิภาคี หรือ เอฟทีเอ โดยเฉพาะในเรื่องของสิทธิบัตรยา แต่ตามข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ของวิทยุชุมชน เขาสามารถส่งกระจายเสียงได้เฉพาะในรัศมีแคบๆ โดยไม่มีหลักประกันว่าจะมีผู้ฟังที่สนใจในประเด็นที่เขาเสนอ แต่ถ้าเขามีโอกาสกระจายเสียงทั่วประเทศ เขาอาจได้แฟนประจำที่สนใจมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดจำนวนเป็นพันก็ได้ ตอนหลังพอพวกเขาพูดเรื่องนี้มากๆ เข้า เรื่องสิทธิบัตรยา จึงไปกระเทือนต่อคลื่นวิทยุการบิน จน กทช. ก็ส่งหนังสือมาให้ระงับการออกอากาศเสีย

แต่เรื่องสั่งปิดวิทยุชุมชน ไม่ใช่ประเด็นของผมในวันนี้ ผมกำลังมุ่งประเด็นที่ว่า สังคมไทยจะมีส่วนร่วมกับวิทยุชุมชนอย่างไร ทั้งนี้ ผมให้ฐานะวิทยุชุมชนว่าเป็นสื่อที่ไม่ต่างจากสื่ออื่นๆ ที่จะอยู่ได้ก็ต่อเมื่อมีกลุ่มคนฟังที่เหนียวแน่น ทว่าคนฟังของวิทยุชุมชนไม่ได้มีฐานะแบบผู้รับสื่อเชิงพาณิชย์อื่นๆ ที่มีหน้าที่เสพสื่อนั้นๆ เพื่อล่อให้ผู้สนับสนุนเข้ามาจ่ายเงินซื้อเวลา แต่คนฟังของวิทยุชุมชน เป็นแกนหลักสำคัญที่จะทำให้วิทยุชุมชนเข้มแข็ง

แต่คำถามคือ ทุกวันนี้ นอกจากคนจัดวิทยุชุมชนแล้ว เรามีชุมชนที่ ติดตาม เข้ามามีส่วนร่วม และรับฟังวิทยุชุมชนมากน้อยเพียงไร แล้วเมื่อวิทยุชุมชนถูกทำให้ตายไป มีชุมชนที่ลุกขึ้นมาทวงสิทธิหวงแหนคลื่นของพวกเขาหรือไม่ หรือผู้ที่เดือดร้อน ยังคงเป็นคนที่อยากทำวิทยุชุมชนเท่านั้น

ดังนั้นเราอาจต้องมองคำว่า "วิทยุชุมชน" กว้างกว่าที่ผ่านมา และวิทยุชุมชนบางประเภทที่เกิดจากประเด็นร่วมมากกว่าภูมิศาสตร์ร่วม อาจต้องสามารถรับฟังได้ทั่วประเทศ ซึ่งหมายความว่าเราจะต้องคิดใหม่เรื่องวิธีการกระจายเสียง เช่นเน้นการกระจายเสียงทางอินเตอร์เนตเป็นต้น

ส่วนวิทยุชุมชนที่เป็นชุมชนร่วมทางภูมิศาสตร์ก็คงยังสามารถกระจายเสียงในระดับตำบลตามสูตร ๓๐ วัตต์ คูณ ๓๐ เมตร ได้ และในบางพื้นที่อาจมีทั้งประเด็นร่วมและภูมิศาสตร์ร่วม เช่นในพื้นที่ที่ชาวบ้านกำลังต่อสู้ในเรื่องเดียวกัน อาทิ คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าในชุมชนเป็นต้น แต่ก็ควรจะต้องแบ่งเวลาให้กับชาวบ้านส่วนที่สนับสนุนโรงไฟฟ้าด้วย จริงหรือไม่?

เพื่อการมีพลังและความน่าสนใจของวิทยุชุมชน อาจจะต้องมีการเชื่อมกันเป็นเครือข่ายทั่วประเทศ ทั้งวิทยุชุมชนที่เป็นชุมชนประเด็น และที่เป็นชุมชนทางภูมิศาสตร์ เพื่อที่จะสามารถออกอากาศร่วมกันในโอกาสที่สำคัญ (คล้ายกับโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ) และเพื่อการแลกเปลี่ยนรายการให้มีทั้งคุณภาพและความหลากหลาย

ทั้งหมดที่ผมเสนอมานี้ เป็นเรื่องที่เสนอมาเพื่อการพิจารณาขบคิด จะได้ไม่หมกมุ่นกับประเด็นอำนาจรัฐจนไม่คิดที่จะพัฒนาวิทยุชุมชน เมื่อพวกท่านได้รับฟังแล้วคิดเห็นอย่างไร

ลำดับตัวอักษร A-Z
search engine เครื่องมือค้นหาของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
http://midnightuniv.tumrai.com/search/index.php




กลับไปหน้าเริ่มต้นสารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
เพื่อตั้งต้นค้นหาตามลำดับตัวอักษร A-Z

บทความวิชาการฟรีที่ผ่านมา ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 670 เรื่อง หนากว่า 9000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

คำโปรย คัดลอกมาจากบทความ เพื่อให้มองเห็นเนื้อความที่น่าสนใจบางส่วน
H
สำหรับคำว่า"ครอบครัว"(family) ในตัวของมันเองมาจากรากเดิมในภาษาลาตินว่า famulus, หมายถึงทาสในเรือน(household slave), และคำว่า familia, จำนวนทั้งหมดของทาส(the totality of slaves) ที่เป็นของผู้ชายคนหนึ่ง
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี

วิทยุชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน'
ถ้าเป็นชุมชนทางภูมิศาสตร์ เช่นเป็นชุมชนระดับหมู่บ้าน ตำบล หรือชุมชนสลัม การกระจายเสียงด้วยกำลังส่งไม่เกิน ๓๐ วัตต์ และเสาอากาศสูงไม่เกิน ๓๐ เมตรอาจจะเหมาะสมอยู่ แต่ผมเห็นว่า รูปแบบของ 'ชุมชน' ไม่อาจถูกตีกรอบที่อาณาเขตทางภูมิศาสตร์เพียงอย่างเดียว เพราะชุมชนยังหมายถึงกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องหนึ่งๆ ร่วมกันหรือมีประสบการณ์ร่วมกัน

แม้ว่าผมจะมีวิทยุชุมชนที่ใกล้ตัวผมมาก คือที่ปากทางเข้าหมู่บ้านที่ผมอาศัยอยู่ มีห้องแถวห้องหนึ่งที่ติดป้ายตัวโตอยู่ด้านหน้าว่า จุดปฏิบัติการการเรียนรู้วิทยุชุมชน ซึ่งเป็นคลื่นเท่าไรผมก็จำไม่ได้ จัดแต่รายการเพลงตามคำขอซึ่งผมก็ไม่สนใจ เมื่ออยู่หน้าเครื่องวิทยุ ผมก็ลืมปรับหน้าปัดวิทยุของผมไปฟัง อาจเป็นเพราะผมไม่ได้มีประเด็นร่วม และก็ไม่คิดว่ามันเป็นหน้าที่ของผมที่จะต้องฟังวิทยุชุมชน เพียงเพราะเราเป็นสมาชิกคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นเท่านั้น ผมจึงไม่ค่อยเชื่อเท่าไรว่า เรื่อง 'พื้นที่' จะมีส่วนสำคัญในความเป็น 'ชุมชน' เสมอไป มากไปกว่าความหมายของชุมชนในแง่ของกลุ่มคนที่มีความใกล้ชิด ความสนใจ และประสบการณ์ร่วมกัน
(อ่านเนื้อความที่สมบูรณ์ข้างล่าง)