นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
เว็ปไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานของท่านมายัง midarticle(at)yahoo.com หรือ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work and immediately places it in the public domain... [copyleft] กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร


The Midnight University

รายงานสรุปศาสนเสวนาพุทธ-อิสลาม
วิจารณ์ศาสนิกตนเองจุดเริ่มของการแก้ปัญหาไฟใต้
อับดุชชะกูร์ บินซาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
นักศึกษาปริญญาเอก-ศาสนาเปรียบเทียบ
มหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติมาเลเซีย

หมายเหตุ
บทความนี้ได้รับมาจากผู้เขียนรายงานสรุป
วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
ศาสนเสวนาพุทธ - อิสลาม : ความรุนแรงและความสมานฉันท์
ซึ่งจัดโดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล
คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ
และกรมกิจการพลเรือนทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด


(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
บทความฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 766
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๘

(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 6.5 หน้ากระดาษ A4)



ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสดามูฮัมมัด และผู้เจริญรอยตามท่านสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน


วันที่ 24 พฤศจิกายน 2548 ที่ผ่านมา มีปรากฏการณ์ที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งในการผ่อนคลายสถานการณ์ความรุนแรงบนพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะผู้นำทางจิตวิญญาณ นักวิชาการ นักพัฒนา ผู้นำชุมชน ตัวแทนจากภาครัฐ ประชาชนทั่วไป และสื่อมวลชน ทั้งในศาสนาพุทธและอิสลาม กว่า 150 คน(รวมทั้งผู้เขียน) ได้มาพูดคุยกันในรูปแบบการสานเสวนาเรื่อง 'ศาสนเสวนาพุทธ - อิสลาม : ความรุนแรงและความสมานฉันท์' ซึ่งจัดโดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ และกรมกิจการพลเรือนทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด

ทั้งนี้ หากสังเกตสถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดภาคใต้ในระยะหลัง จะพบว่าการก่อเหตุหลายครั้งมีลักษณะมุ่งเป้า หรือมีเจตนาจู่โจมทำลายในจุดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องศาสนา ทั้งศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม. การถักทอในการสร้างความเข้าใจระหว่างคนในพื้นที่ชายแดนใต้ที่มีความแตกต่างด้านศาสนา ชาติพันธ์และวัฒนธรรมด้วย สันติวิธีเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะองค์กรศาสนาต้องเป็นองค์กรนำ

ศูนย์สันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดลมองว่า สันติวิธี มิใช่ความอ่อนแอ การยอมจำนน หรือการหนีปัญหาดังที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นวิธีการอันกอปรด้วยพลังสติปัญญา ความกล้าหาญ จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในอันที่จะแสวงหาและพัฒนาวิธีจัดการปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรง ที่เหมาะสมกับเงื่อนไขและบริบทของแต่ละสถานณการณ์ เพราะวิธีรุนแรงอาจดูเสมือนว่าสามารถกดข่มหรือระงับปัญหาลงได้ในระยะเวลาหนึ่ง กระนั้นความไม่พอใจ ความเกลียดชังหรือความเป็นปฏิปักษ์ที่ยังแฝงตัวอยู่เองจากข้อขัดแย้งซึ่งยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถึงรากเหง้า อาจจะประทุเป็นวัฎจักรใหม่ของความรุนแรงตามแต่เงื่อนไขปัจจัยจะนำพาไป

หนึ่งในเครื่องมือสำคัญของสันติวิธีที่จะต้องรีบทำคือศาสนเสวนามุสลิม-พุทธ หรือมลายู-กับมิใช่มลายู เพราะหากไม่รีบทำอาจจะนำไปสู่สงครามระหว่างศาสนา-เชื้อชาติได้

ศาสนเสวนาหรือสานเสวนา จะต่างกับการสนทนาทั่วไปตรงที่ไม่มีการคุกคามอัตลักษณ์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะมุ่งให้ผู้ร่วมศาสนเสวนารับฟังและเรียนรู้จุดยืนซึ่งกันละกัน บนพื้นฐานการให้เกียรติความแตกต่างโดยปราศจากการครอบงำ บีบบังคับ โน้มน้าวหรือบีบคั้นให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเปลี่ยนแปลงความคิดความศรัทธาของตน หากแต่เป็นการเรียนรู้และเติบโตไปพร้อมกัน

อัลลอฮฺเจ้าได้โองการในคัมภีร์อัลกุรอานความว่า
ท่านทั้งหลายจงสานเสวนาด้วยวาจาที่สุภาพยิ่งด้วยเหตุและผล (โปรดดูอัลกุรอานซูเราะฮอัลอันนะห์ลุ .16 : 125)

และอัลลอฮฺเจ้ายังได้โองการในคัมภีร์อัลกุรอานอีกความว่า
ไม่มีการบังคับในเรื่องศาสนา (โปรดดูอัลกุรอานซูเราะฮอัล บะกอเราะฮฺ 2 : 256 )

พระครูสุทธิธรรมมานุศาสก์ เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดยะลา ยืนยันว่า ทุกศาสนายืนยันได้ว่าไม่มีศาสนาใดสอนให้ทำผิด หรือสอนให้ต่อสู้กับใคร หากแต่ศาสนาสอนให้ต้องต่อสู้กับตัวเอง และปัญหาที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยส่วนใหญ่คือ การสื่อภาษา การสื่อสารที่ไม่เข้าใจกันจะทำให้เกิดปัญหาตามมา ภาษาที่ใช้ในการลงไปแก้ไขปัญหาในพื้นที่ อยากให้ใช้ภาษาที่สื่อสารง่ายๆ ไม่ใชเภาษาวิชาการมากนัก เพราะชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ไม่สามารถเข้าใจคำศัพท์วิชาการได้

ท่านอยากจะเสนอให้ผู้นำเอาคนที่มีความรู้เรื่องจิตวิญญาณมาพูดคุยกัน ไม่เป็นวิชาการเกินไป ก็เหมือนกับคนเราเห็นไฟ มองเห็นแต่ไกลๆ แต่ไม่เคยจับกองไฟก็คงจะไม่รู้ว่าไฟมันจะร้อนแค่ไหน และถ้าคนฉลาดมากด้วยกิเลสปัญหา ความวุ่นวายก็จะยังเกิดขึ้นไม่รู้จบตลอดไป"

นายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การเสวนาจะช่วยเปลี่ยนแปลงเรื่องที่เข้าใจผิด และความบาดหมางที่เคยมี ก้าวไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์ที่ปราศจากอคติและความเกลียดชัง และก่อให้เกิดความร่วมมือและความสมานฉันท์ อันเป็นจิตสำนึกพื้นฐานสำคัญที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์สังคมแห่งสันติและรู้จักสามัคคี

นายวินัย สะมะอุน คณะกรรมการอิสลามกลางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า "ศาสดาบอกว่าจิตวิญญาณถ้ารู้จักบริหาร จะเป็นกองทัพที่เกรียงไกร ถ้ามีความเข้าใจซึ่งกันและกัน ความสมานฉันท์ก็จะเกิดขึ้น แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เราไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน ไม่เข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งตรงนี้ควรจะสร้างความเข้าใจ"

นายการุณ กูใหญ่ นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า คนที่เป็นผู้นำศาสนาจะต้องสร้างมิติให้ชัดเจน คนที่เป็นผู้รู้จะต้องมีเวทีเสวนาแบบนี้เพิ่มมากขึ้น อยากให้มีเวทีเสวนาศาสนิกสัมพันธ์ เพื่อให้ทุกศาสนาเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

พระไพศาล วิสาโล :
"ศาสนิกชนต้องกล้าวิจารณ์และก้าวให้พ้นจากการเป็นพวกเขาพวกเรา หรือขยายความเป็นพวกเราให้กว้าง คือต้องคิดว่าทุกศาสนาเป็นเพื่อนกัน ต้องเป็นกัลยาณมิตร ตอนนี้มีความไม่สมมาตรคือศาสนิกชนไม่กล้าวิจารณ์ตัวเอง ไม่กล้าวิจารณ์ความรุนแรงเพื่อรักษาชีวิตผู้อื่น ในขณะที่ การพลีชีพคือการกล้าที่จะตายเพื่อศาสนาที่เชื่อ"

ความมีทิฐิทางความเชื่อและอุดมการณ์สำคัญต่อปัญหาความรุนแรงมาก เพราะเวลาพูดถึงอุดมการณ์ใน 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รวมศาสนาเข้าไปด้วย ต้องยอมรับว่า การฆ่ากันเพราะความขัดแย้งทางศาสนานั้นมีอยู่จริง อาจจะพูดดูสวยงามได้ว่า ศาสนาไม่ใช่สาเหตุแห่งความรุนแรง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าความรุนแรงบางครั้งเกิดจากศาสนา แม้แต่ในศาสนาเดียวกันแต่ต่างลัทธิก็มีความรุนแรงระหว่างกัน

ทิฐิและอุดมการณ์สามารถนำไปสู่การสร้างความรุนแรงได้ ต้องยอมรับว่า การที่มนุษย์ยึดติดกับอะไรก็ตามแม้ในสิ่งที่ดีก็สามารถทะเลาะกันได้ พระเองก็มีการทะเลาะกันเรื่องศีล เรื่องวินัย สงครามที่เกิดขึ้นในนามสันติภาพก็เกิดขึ้นประจำ ดังนั้น สันติภาพจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องยอมรับความจริงตรงนี้ก่อน ต้องยอมรับว่าทุกศาสนาสามารถเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความรุนแรงและสงครามได้ ยกตัวอย่างเช่น การฆ่านักศึกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลา 2519 ก็ทำในนาม ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ คือถ้ายึดติดและไม่มีสติก็นำไปสู่ความรุนแรงได้ แม้จะเป็นสิ่งดีงามก็ตาม

การแก้ปัญหาก็คือ ทุกศาสนาต้องกล้าที่จะวิจารณ์ตัวเองว่า ในศาสนาของเรามีความผิดพลาดเกิดขึ้น ต้องไม่ยึดติดกับการเป็นพวกเรา ตอนนี้ยึดติดตรงนี้มาก พอเป็นพวกเราก็ไม่วิจารณ์ แต่วิจารณ์ศาสนาคนอื่น ที่ผ่านมา หากคนในศาสนาเรามีความผิดพลาดเรามักปกป้อง ไม่ยอมพูดว่าคนของเราทำความผิดพลาดอะไรบ้าง เราต้องไม่ปกป้องและไม่ควรกลัวพวกเขาด้วย

คนในศาสนาพุทธเองก็มีเรื่องที่ผิดพลาดมากมาย พระภิกษุในศรีลังกาก็ไปยิงนายกรัฐมนตรีของเขา ซึ่งอ้างว่าทำในนามศาสนา หรือการที่ญี่ปุ่นไปรุกรานจีนและเกาหลี ก็บอกว่าทำภายใต้การมองว่า ศาสนาหรือศรัทธาของตนดีกว่าจีนและเกาหลี แต่ช่วงเวลานั้นเองชาวพุทธในญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยไม่เห็นด้วยกับความรุนแรงที่ไปส่งเสริมสงครามในจีนและเกาหลี แต่ก็ไม่กล้าวิจารณ์ ไม่กล้าต่อต้าน เพราะกลัวในความเป็นชาตินิยมที่จัดมาก

สถานการณ์ในขณะนี้ก็เป็นเช่นเดียวกัน มีสิ่งที่ไม่น่าดูทั้งในพุทธและอิสลาม มีอยู่ในบางบุคคล แต่ศาสนิกชนไม่กล้าท้วงติงความรุนแรงที่เกิดขึ้น เพราะกลัวโดนวิจารณ์ กลัวโดนโจมตี จึงกลายเป็นเรื่องที่น่าเศร้า เพราะกลุ่มเหล่านี้กำลังโดนพวกหัวรุนแรงคลั่งชาติ คลั่งลัทธิศาสนาผูกขาดความคิดของสังคม กลุ่มผูกขาดนี้จะเริ่มต้นจากกลุ่มเล็กๆ และขยายให้ใหญ่โต ศาสนิกชนต้องกล้าท้วงติง อย่าปกป้อง ต้องทำด้วยความเมตตา ทำด้วยสันติภาพ ทำด้วยความเข้าใจ

ส่วนสาเหตุหนึ่งที่เกิดกลุ่มหัวรุนแรงขึ้นเพราะถูกกดดัน เช่น ลัทธินาซี เกิดจากการที่เยอรมันถูกรังแกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศชาติจึงยากจนและต้องลุกฮือขึ้นมา เมื่อเกิดลัทธิแปลกๆ ที่รุนแรงและคลั่งชาติ ก็สามารถดึงดูดความรู้สึกของคนที่ยากไร้ได้. ลัทธิคอมมิวนิสต์ก็เกิดจากการที่กรรมกรถูกเอาเปรียบ ถูกรังแก ลัทธิหัวรุนแรงสุดโต่งในพุทธศาสนา ในศาสนาฮินดู หรือในศาสนาอิสลามก็เหมือนกัน มักมาจากการถูกรังแกโดยเฉพาะการรังแกที่มาจากรัฐ

การที่รัฐเข้าไปใช้ความรุนแรง จะทำให้กลุ่มเหล่านี้ขยายตัวมากขึ้น ถ้าไม่อยากให้กลุ่มเหล่านี้ขยายตัวต้องยุติการกระทำรุนแรงอย่างเหวี่ยงแห จนทำให้เกิดกลุ่มหัวรุนแรงมากขึ้น และเมื่อมาร่วมมือกับลัทธิชาตินิยมหรือนักการเมือง ก็จะยิ่งเกิดความรุนแรงมากขึ้น ต้องเข้าใจว่าเขามีปัญหา เขาถูกรุกรานด้วยลัทธิทางโลก มีการเอาศาสนามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการค้า ทำให้กลุ่มที่รักศาสนาถูกกดดันจึงต้องสู้

และหากการสู้ ไม่ได้รับการยอมรับก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น จนมีการบิดเบือนเพื่อปลุกเร้าอารมณ์ผู้คน โดยเอาเรื่องศาสนาและประวัติศาสตร์มาใช้เป็นเครื่องมือ ตรงนี้ต้องเข้าใจ ไม่อยากเรียกร้องใคร นอกจากศาสนิกชนให้เข้าถึงหัวใจทางศาสนา มาร่วมมือกัน ต้องกล้าวิจารณ์ตัวเองและเผยแพร่สิ่งที่เราคิดว่าถูก แต่อย่าไปยึดติดกับความคิด อย่าปกป้องพวกของตัวเอง ต้องก้าวให้พ้นจากการเป็นพวกเขาพวกเรา

พวกระเบิดพลีชีพ เขามีศาสนาที่มั่นคงมาก เขาเชื่อแบบนั้นจริงๆ เคร่งครัดจริงๆ แต่เขาเลือกที่จะตายเพื่อฆ่าผู้อื่น แต่ศาสนิกชนที่รักสันติภาพไม่กล้าที่ตายเพื่อรักษาชีวิตของผู้อื่น เป็นความไม่สมมาตรที่เกิดขึ้น

อับดุชชะกูร์ บินซาฟิอีย์
"การขาดผู้นำมุสลิมที่เป็นปราชญ์ ที่กล้ายืนหยัดวิจารณ์ตัวเองว่า สิ่งนี้ทำไม่ถูกต้อง ทำให้คนที่ไม่ใช่นักปราชญ์จริงๆ ไม่ใช่นักวิชาการทางศาสนาจริงๆ ออกมาจูงคนเหล่านั้น"

ผมเห็นด้วยกับ ดร.อิสมาอีล ลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีวิทยาลัยอิสลามยะลา จังหวัดยะลา ที่ให้ความเห็นว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานกว่า 100 ปีแล้ว เพียงแต่ในปัจจุบันอาจจะแสดงอาการมากขึ้น จากความไม่ปกติในสังคม ปัญหาที่เกี่ยวกับการปกครอง การบริหารงานในพื้นที่ และท้องถิ่นที่มีความผิดพลาดพอสมควร ใช้เวลานานในการแก้ปัญหา จนทำให้ความอดทนของบางฝ่ายสิ้นสุด จึงเกิดเรื่องนี้ขึ้นมา

ศาสนาไม่ใช่สาเหตุหลักหรือสอนความรุนแรง(ผู้นำศาสนาทั้งพุทธ-มุสลิมยอมรับ) ที่สำคัญผมเห็นด้วยกับประเด็นของพระไพศาล วิสาโล ที่ทุกคนต้องกล้าวิจารณ์และมองตัวเอง มุสลิมเองก็ต้องมองตัวเอง เราต้องยอมรับความจริงว่าเกิดอะไรขึ้น ทั่วโลกมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น เช่น เหตุระเบิดที่เกาะบาหลี การเกิดระเบิดที่ลอนดอน การเกิดระเบิดที่อียิปต์ และล่าสุดการเกิดระเบิดที่จอร์แดน สิ่งที่ต้องพูดคืออิสลามสอนให้พิจารณาตัวเองก่อนที่จะตาย ถ้าตายจะถูกสอบสวน

ดังนั้นต้องกลับมามองและยอมรับว่า เหตุการณ์การก่อการร้ายที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีมุสลิมทำ ในภาคใต้ก็เช่นกัน แม้ว่าข้อกล่าวหาจากรัฐจะเป็นอย่างไร หรือประชาชนจะไม่เชื่อในฝ่ายรัฐ แต่ถามว่ามีคนมุสลิมทำหรือไม่ ตรงนี้ปฏิเสธไม่ได้ ส่วนเหตุผลหรือแรงผลักในการกระทำนั้นต้องแยกไว้เป็นอีกประเด็นหนึ่ง

เราที่มาเสวนากันในครั้งนี้ต้องบอกว่า อยู่ในฐานะที่เป็นนักวิชาการหรือในฐานะที่เป็นผู้นำมุสลิม ดังนั้นจะต้องออกมาแสดงความคิดเห็นและถามตัวเองว่า ความรุนแรงเกิดขึ้นในหมู่มุสลิมจริงหรือไม่
ศาสตราจารย์ ดร.อิรฟาน อับดุลฮาหมีด ฟัตาห์ อาจารย์ประจำวิชาศาสนาเปรียบเทียบมหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติมาเลเซีย ได้บรรยายให้ น.ศ.ปริญญาเอก(รวมทั้งผู้เขียน) วิชาศาสนาเปรียบเทียบว่า

"แต่ละศาสนาจะมีศาสนิกอยู่ 3 กลุ่ม คือ 1.ผู้เป็นแนวคิดสุดโต่ง 2.ผู้ที่ละเลยต่อศาสนา 3.ผู้มีแนวคิดสายกลาง กลุ่มที่หนึ่งและสอง จะนำความเสื่อมเสียให้กับสังคมและเป็นภัยคุกคามต่อโลก ในขณะที่ผู้ที่มีแนวคิดสายกลางจะนำความผาสุกและสันติสุขต่อโลกนี้"

ในขณะเดียวกัน กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มคนที่ละเลยต่อศาสนา ไม่ปฏิบัติในสิ่งที่ศาสนาได้ใช้ และละเว้นในสิ่งที่ศาสนาห้ามกลับมีบทบาทมากในสังคมเช่นกัน และสิ่งที่อันตรายที่สุดคือ เมื่อกลุ่มคนเหล่านี้มีอำนาจในการตัดสินใจในนโยบายสาธารณะ และการออกกฎหมายของประเทศ กลุ่มคนเหล่านี้อยู่ในองค์กรของรัฐหรือองค์กรเอกชนที่ทำมาค้าขาย(ที่เกี่ยวกับปัจจัยยังชีพของประชาชน)

แน่นอน กลุ่มคนเหล่านี้จะไม่สนใจในธรรมมาภิบาล กลุ่มคนเหล่านี้จะเข้าหาศาสนาบ้างก็ในแง่พิธีกรรมเท่านั้น เช่น เมื่อขึ้นบ้านใหม่และตาย ก็จะเชิญผู้นำศาสนามาทำพิธีกรรม เป็นต้น แต่แนวทางการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ สังคม กลับไม่นำศาสนามาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตเลย

สำหรับแนวคิดสายกลางของแต่ละศาสนา ถือว่าเป็นแนวคิดด้านบวก และผู้เขียนมั่นใจว่าประชาชนส่วนใหญ่ก็คงมีแนวคิดสายกลาง (ถึงแม้โดยพฤติกรรมโดยรวมของประชาชนจะอยู่ในกลุ่มที่สอง หรืออย่างน้อยทำในสิ่งที่ศาสนาใช้ และไม่ได้ละเว้นในสิ่งที่ศาสนาห้าม) ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้นำศาสนา ที่จะทำอย่างไรให้ศาสนิกของตนเข้าใจศาสนาในแนวสายกลาง และนำไปสู่แนวทางการดำเนินชีวิตในทางปฏิบัติให้ได้และมีการสร้างเครือข่ายการทำความดี

ดังนั้นเมื่อศาสนิกมีหลายกลุ่มก็มีความคิดหลายแบบ
ชัยคฺ ดร.ยุซุฟ อัลก็อรฏอวีย์ (ชาวอียิปต์) ประธานของสหภาพนักปราชญ์มุสลิมนานาชาติ (IAMS) กล่าวถึง ปัจจัยต่างๆ ของปรากฏการณ์ความรุนแรงว่า

1. การขาดแนวคิดสายกลาง เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้แนวคิดอิสลามสายกลางเป็นที่แพร่หลายในหมู่คนหนุ่มสาว เพื่อที่พวกเขาจะพบวิถีทางที่ถูกต้อง แทนที่พวกเขาจะทำตัวไม่เปิดเผย ซึ่งการขาดแนวคิดเช่นนี้ได้เปิดโอกาสให้แนวคิดสุดโต่งแทรกเข้ามา

2. การขาดอุละมาอฺ(นักปราชญ์อิสลามศึกษา) ที่แท้จริง ซึ่งสามารถให้ความเชื่อมั่น (ต่อแนวทางสายกลาง) ด้วยหลักฐานที่มาจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺ (วจนศาสดา) พวกเขาได้หายไปจากสนามแห่งนี้ จึงเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ขาดคุณสมบัติ ที่ถูกเรียกว่าอุละมาอฺซึ่งทำงานเพื่อผู้ที่มีอำนาจ ดังนั้น คนหนุ่มสาวจึงสูญเสียความเชื่อมั่นไป และได้ตั้งตัวพวกเขากันเองให้เป็นชัคย์ (คือเป็นโต๊ะครูหรือนักปราชญ์อิสลามศึกษา) ในการฟัตวา (วินิจฉัยหลักศาสนา) ประเด็นปัญหาที่ซับซ้อน

3. การแพร่กระจายของความชั่วร้ายและเพิ่มขึ้นของการกดขี่ในสังคม เป็นเหตุผลที่สร้างความไม่พอใจอย่างรุนแรง

สิ่งเหล่านี้ชาวมุสลิมเองต้องยอมรับ และถ้าจะแก้ปัญหาภาคใต้ให้เป็นรูปธรรม ต้องยอมรับด้วยว่าชาวบ้านไม่วางใจรัฐ หากเป็นไปได้ก็ควรมีองค์กรภาคประชาชนช่วยผลัก คือต้องมีองค์กรที่ไม่ใช่องค์กรรัฐช่วยค้ำจุน ความไว้วางใจใน กอส. ยังมีอยู่ในภาพรวมของคนที่รักสันติ

และเรารู้ว่าชาวมุสลิมเชื่อผู้นำทางจิตวิญญาณสูง ต้องทำให้ผู้นำเหล่านั้นเคลื่อนมาอยู่ข้างหน้า มองข้ามเรื่องความเป็นไทย, มลายู, พุทธ, มุสลิม, ก่อน ต้องสร้างแนวคิดในการมองว่าเป็นมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ผู้นำองค์กรศาสนาต้องกล้ามายืนตรงนั้น รวมทั้งผู้นำด้านอื่นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ต้องออกมายืนตรงนั้นด้วย ส่วนในเรื่องวิธีที่เป็นรูปธรรมต้องเอาไปพูดคุยกันอีกที เพราะเราเองก็มีนักวิชาการอยู่มากมาย

นพ.ประเวศ วะสี รองประธาน กอส.ปาฐกถาปิดท้ายว่า ขอเสนอวิธีแก้ไขปัญหาความไม่เข้าใจของศาสนา 3 ข้อ คือ

1. ขอให้ศาสนิกชนทุกศาสนาทำความเข้าใจให้ถึงแก่นแท้ของหัวใจศาสนาตนเองและศาสนาอื่นๆ
2. ขอให้ทุกคนร่วมมือร่วมใจกันระหว่างศาสนาของตนและศาสนาอื่นๆ
3. ขอให้มนุษย์ถอนตัวออกจากวัตถุนิยม

 


 




บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 700 เรื่อง หนากว่า 10000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

H
ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบบทความฟรีสำหรับนักศึกษา จัดทำโดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อให้ทุกคนที่สนใจศึกษาสามารถ เข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี

ทิฐิและอุดมการณ์สามารถนำไปสู่การสร้างความรุนแรงได้ ต้องยอมรับว่า การที่มนุษย์ยึดติดกับอะไรก็ตามแม้ในสิ่งที่ดีก็สามารถทะเลาะกันได้ พระเองก็มีการทะเลาะกันเรื่องศีล เรื่องวินัย สงครามที่เกิดขึ้นในนามสันติภาพก็เกิดขึ้นประจำ ดังนั้น สันติภาพจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องยอมรับความจริงตรงนี้ก่อน ต้องยอมรับว่าทุกศาสนาสามารถเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความรุนแรงและสงครามได้ ยกตัวอย่างเช่น การฆ่านักศึกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลา 2519 ก็ทำในนาม ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ คือถ้ายึดติดและไม่มีสติก็นำไปสู่ความรุนแรงได้ แม้จะเป็นสิ่งดีงามก็ตาม

การแก้ปัญหาก็คือ ทุกศาสนาต้องกล้าที่จะวิจารณ์ตัวเองว่า ในศาสนาของเรามีความผิดพลาดเกิดขึ้น ต้องไม่ยึดติดกับการเป็นพวกเรา
(พระไพศาล วิสาโล)

R
related topic
051248
release date
คลิกไปหน้าสารบัญ(1)
คลิกไปหน้าสารบัญ
(2)
คลิกไปหน้าสารบัญ(3)
คลิกไปหน้าสารบัญ(4)
เพื่อดูบทความใหม่สุด
เว็ปไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
จะช่วยแก้ปัญหาได้


อุดมศึกษาบนเว็ปไซต์ เพียงคลิกก็พลิกผันความรู้ ทำให้เข้าใจและเรียนรู้โลกมากขึ้น
สนใจค้นหาความรู้ในสารานุกรมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คลิกที่แบนเนอร์สีน้ำเงิน
สนใจเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คลิกที่แบนเนอร์สีแดง