1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
ชุดความรู้เที่ยงคืน:
ปกิณกะการเมืองไทยร่วมสมัย
จากเรื่อง
"ซื้อปืน-เลิกเสียภาษี" ถึง "I am very weak" ในวันคริสต์มาส
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
: รวบรวม
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
บทความรวบรวมต่อไปนี้
ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความบนหน้าเว็บเพจนี้รวบรวมมาจากเว็บไซต์ประชาไทออนไลน์
ประกอบด้วย
- สมเกียรติ ตั้งนโม: สิ่งที่ต้องทำ 2 อย่าง 'ซื้อปืน-เลิกเสียภาษี' ถ้ารัฐบาลไม่ปกป้อง
'นิติรัฐ-นิติธรรม
- "เฉลิม"ตั้งกระทู้ถามเอาผิดพันธมิตรยึดสนามบิน - ไล่บี้"กษิต"
"มาร์ค"ยันตรงไปตรงมา เสร็จแล้ว 4 คดี
- ผลประกอบการธนาคารปี 2551 กำไร 8 หมื่นล้าน เพิ่มขึ้น 14.5 เท่าจากปีก่อน
- 'I am very weak' : จดหมายจากห้องขังนักเขียนออสเตรเลียถึงแม่และพ่อในวันคริสต์มาส
- รัฐบาลออสเตรเลียวอนไทยอภัยโทษ 'Harry Nicolaides' หลังถูกตัดสินคดีหมิ่นฯ
จำคุก 3 ปี
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
: midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๖๗๖
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๒๓ มกราคม ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๔.๕ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ชุดความรู้เที่ยงคืน:
ปกิณกะการเมืองไทยร่วมสมัย
จากเรื่อง
"ซื้อปืน-เลิกเสียภาษี" ถึง "I am very weak" ในวันคริสต์มาส
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
: รวบรวม
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
จากเรื่อง "ซื้อปืน-เลิกเสียภาษี" ถึง "I am very weak" ในวันคริสต์มาส
(1) สมเกียรติ ตั้งนโม:
สิ่งที่ต้องทำ 2 อย่าง 'ซื้อปืน-เลิกเสียภาษี' ถ้ารัฐบาลไม่ปกป้อง 'นิติรัฐ-นิติธรรม
(นำมาจากประชาไทออนไลน์ - เชิงอรรถเพิ่มเติมโดย: สมเกียรติ
ตั้งนโม)
ในรายการ "มองคนละมุม" ทางสถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน FM 100 MHz มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลิตโดยโครงการพื้นที่ทางสังคมและสื่อทางเลือก ดำเนินรายการโดย นายมานพ คีรีภูวดล ซึ่งออกอากาศในวันที่ 17 มกราคม 2552 ที่ผ่านมา มีแขกรับเชิญคือ รศ.สมเกียรติ ตั้งนโม คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน แลกเปลี่ยนในประเด็นหลังการจัดตั้งรัฐบาลของประชาธิปัตย์ และสถานการณ์ของการเมืองในปัจจุบัน
๐ การใช้นโยบายประชานิยม ของพรรคการเมืองในอดีตมาใช้ และมองว่า สิ่งที่ประชาชน ควรจะระวัง สิ่งที่ประชาชนจะได้รับประโยชน์ และรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ควรจะทำต่อไปอย่างไร
ผมมองว่าการกระทำของพรรคประชาธิปัตย์ ณ วันนี้ เป็นการลอกการบ้านเพื่อน ในฐานะที่ผมเป็นครู ผมใช้ศัพท์ครูสอนหนังสือว่า "ลอกการบ้านเพื่อน" ถามว่าเป็นประโยชน์ไหม? ตอบแบบพื้นๆ ในที่นี้ได้ว่า เป็นประโยชน์กับประชาชน สามารถทำให้ประชาชนมีรายได้. แต่แท้ที่จริง การกระทำเช่นนี้ควรมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายให้มันเสร็จสรรพไปเลย แทนที่จะเป็นนโยบายหาเสียง เพราะการเป็นนโยบายหาเสียง มันวูบวาบ แต่ถ้าเป็นกฎหมาย หมายถึงว่า ต้องมีการบังคับใช้. แน่นอนว่า ประชาชนต้องได้ประโยชน์จากการที่รัฐบาลใดก็ตามปฏิบัติตามกฎหมายและทำให้เขาสามารถมีชีวิตรอดได้โดยไม่อดตายข้างถนนและป่วยตายเหมือนคนอนาถา (1) ทั้งหมดระบุชัดว่า ภาระหน้าที่ของรัฐจะต้องไม่เป็นเพียงนโยบาย ผมคิดว่าแบบนี้จะมั่นคงกว่า และเมื่อตราเป็นกฎหมายก็เป็นความมั่นคง แต่ถ้าเป็นนโยบายก็วูบวาบเป็นไปตามกระแสอย่างที่ผมบอกไว้
(1) ในที่นี้หมายความว่า ควรมีการตราเรื่อง"สวัสดิการ"ไว้เป็นหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีความหมายครอบคลุมเรื่องสุขภาพ การศึกษา ที่อยู่อาศัย ผู้สูงอายุ ผู้พิการ การเลี้ยงดูบุตร การประกันสังคม และคุณภาพชีวิต โดยประยุกตเรื่องของ"รัฐสวัสดิการ"(welfare state) มาใช้ร่วมกับหลัก"มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม"(social minimum)
เรื่องที่ถามไว้ว่าภาวะการเมืองเป็นอย่างไร การเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ในภาวะเช่นนี้ ผมสงสารประชาธิปัตย์ในฐานะรัฐบาลลากตั้ง เขาไม่สามารถมีอิสระมากพอที่จะดำเนินตามนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์อย่างเต็มตัว จะเห็นว่ารัฐมนตรี หลายคนเป็นรายการแบบ"คุณขอมา" ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ เป็นภาวะที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องทนทำงานที่เป็นทางเลือกของตนเองไม่มากนัก อันที่จริง รัฐบาลแบบพรรคประชาธิปัตย์เป็น"รัฐบาลแบบเบี้ยล่าง" แสดงว่ามีเบื้องบน. ถ้าในสำนวนของผมก็คือเป็น 'รัฐบาลเบี้ยล่าง' หมายความว่า มีกลุ่มบุคคลบางกลุ่มมีอิทธิพลเหนือกว่ารัฐบาลกำลังแทรกแซงอยู่
๐ ความหมายเบื้องหลังของการจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้ คือ
กลุ่มคน ที่มีอิทธิพลมากกว่าประชาธิปัตย์เกี่ยวข้องด้วย
เรื่องนี้ปรากฏมานานพอสมควร โดยฝังอยู่ในวิกฤติทางการเมืองของสังคมไทย จะเห็นว่ามีสำนวนหลายสำนวน เช่น จะเรียกกลุ่มพันธมิตรว่า"ม็อบมีเส้น" บวกกับ "ม็อบบรรดาศักดิ์"บ้าง หรืออะไรก็แล้วแต่ ซึ่งทั้งหมดเป็นภาพหรือสำนวนที่สะท้อนให้เห็นเบื้องหลังของวิกฤติการเมืองในคราวนี้ และรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เป็นเสียงข้างน้อยมาก่อน เป็นพรรคฝ่ายค้านมาก่อน ไม่ได้ฝ่าฟันมาด้วยตัวของเขาเอง มาจากอิทธิพลที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ และผมอยากจะพูดว่า รู้สึกว่าเราเสียเวลาไปมากพอสมควรกับการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยแล้ว มันเป็นการถอยหลังกลับ
๐ สิ่งที่ควรจะทำเป็นกฎหมาย และนโยบายอื่นๆ ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ ใช้โอกาสนี้
สิ่งที่คุณอภิสิทธิ์ เคยได้แถลงนโยบายไว้ว่า จะสมานฉันท์ด้วยหลักความยุติธรรม ผู้คนทั้งหลายกำลังรอดูอยู่ และที่รัฐบาลประชาธิปัตย์ว่าจะทำหลักความยุติธรรม ได้ทำหรือยัง? และคำถามการบุกยึดทำเนียบรัฐบาลและการเข้าไปครอบครองพื้นที่ปิดสนามบินทั้ง 2 แห่งของกรุงเทพฯ สิ่งเหล่านี้ ได้ดำเนินการไปถึงไหนและมีความเอาใจใส่ สนใจเรื่องเหล่านี้อย่างไร? อันนี้ ผมไม่ได้หมายความว่าละเว้นพวกปาอิฐบล็อกใส่รถนักการเมืองที่เข้าประชุมในรัฐสภานะครับ หมายถึงพวกเสื้อแดงด้วย. จริงๆ ก็คือว่า หลักความยุติธรรมจะต้องถูกปฏิบัติให้สมดุลและทำไปอย่างตรงไปตรงมา
๐ มองว่าการยึดสนามบินและทุบรถต้องเคลียร์และจัดการให้หมด
จัดการ เพราะว่าทุกฝ่ายกำลังรอดูอยู่ว่า เราปล่อยให้อันธพาลเหล่านี้ใช้อารมณ์ ใช้ความบันดาลโทสะ และเหตุผลส่วนตัวมาแก้ปัญหาไม่ได้ และเราทุกคนอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายและกฎหมายจะคุ้มครองคนที่อ่อนแอในสังคม. ถ้าเกิดเราปล่อยให้คนที่เป็นอันธพาลที่มีความแข็งแรงและมีอำนาจเหนือกฎหมาย ผมคิดว่า จะต้องหาอาวุธมาประจำบ้าน เพราะเราไม่สามารถได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายได้ นอกจากหาอาวุธมาแล้ว เราไม่ควรเสียภาษีด้วย เพราะว่าภาษีที่เราจ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อม เราจ่ายเพื่อเราจะได้รับความมั่นใจได้ว่าได้มีการคุ้มครองทางกฎหมาย เราได้รับความยุติธรรม เราได้รับความเสมอภาค และเรามีเสรีภาพ ฉะนั้น ภาษีที่เราจ่ายไปจึงมีหลายความหมายในแง่การปฏิบัติ
ถ้ารัฐบาลไม่สามารถปกป้องสิ่งที่เรียกว่านิติรัฐและนิติธรรมได้ ผมว่าเราควรเตรียมสองอย่าง หนึ่ง. "ซื้อปืน" สอง. "เลิกเสียภาษี" ผมว่าถ้าไม่บังคับกฎหมายก็เท่ากับ"ซ่องโจร"คือ ใครมีกล้ามใหญ่และใครมีกระบองคนนั้นก็ปกครองประเทศล่ะหรือ? ไม่ใช่ครับ เราพัฒนามากกว่าสภาพป่าและความเป็นสัตว์มานานแล้ว เราอยู่ภายใต้กฎกติกา ฉะนั้น กฎกติกาจะต้องได้รับการปฏิบัติ และถูกบังคับใช้ได้อย่างเสมอภาคและยุติธรรม
๐ มันจะกลายเป็นบรรทัดฐานอย่างอื่น หรือเปล่า
คิดว่า จะปล่อยให้เหตุการณ์แบบนี้ไว้ไม่ได้ เพราะว่าเป็นการละเมิดสิทธิผู้อื่น ทำลายข้าวของ ทำร้ายร่างกาย ไม่ว่าจะจากฝ่ายใดก็ตาม ทุกฝ่าย คือเราไม่สามารถอยู่ได้ในสภาวะสับสนอลหม่านในลักษณะนี้ และสังคมใดก็ตามที่มันมีความสับสนอลหม่านอย่างที่กล่าว ไม่มีใครอยากสมาคมกับสังคมคุณหรอก เพราะว่าวันดีคืนดี เขามาลงทุนกับคุณ แล้วคุณไม่เคารพกฎกติกา ไม่มีวินัยมากพอ ผมคิดว่าสังคมโลกจะทิ้งคุณแน่. ฉะนั้น เราจะกลับมาสู่หลักการ โดยใช้หลักนิติรัฐ-นิติธรรม ให้เร็วที่สุดอย่างไร ก็ประกาศแล้วไม่ใช่หรือว่า จะใช้หลักยุติธรรมในการจัดการปัญหา ฉะนั้น ก็กำลังรอดูอยู่ไงว่าเมื่อไหร่จะลงมือ ตอนนี้ก็เห็นอยู่แต่นโยบายประชานิยมอย่างเดียว
๐ ในมุมมองของอาจารย์ว่าในส่วนของฝ่ายเสื้อแดง มีการไม่ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น
อันนี้ก็ไม่ถูกต้อง เอาอย่างนี้ดีกว่า คุณถามเป็นช่วงๆ ไม่ได้ เพราะเรื่องนี้มันเป็นเรื่องไหลมาจากอดีต ผมคิดว่าผู้นำของกลุ่มเสื้อแดงได้ประกาศไว้นานแล้วว่า ถ้ารัฐบาลสามารถถูกขับไล่โดยกลุ่มคนไม่เคารพกฎหมายเหล่านี้ได้ เราก็สามารถทำแบบนี้ได้ เพราะว่ามันราคาไม่แพง เราก็สามารถทำอย่างนี้ได้ ถ้าเราอยากเป็นรัฐบาล และถ้าอย่างนั้นกฎ กติกา อยู่ที่ไหน?
ที่น่าสงสารที่สุดคือประชาชนส่วนใหญ่ ถูกนำไปวางไว้ตรงไหน? ถ้ากลุ่มอันธพาลทั้ง 2 ฝ่ายกำลังเท่ากัน และบุคคลที่ 3 ประชาชนถูกวางไว้ตรงไหน? คนเหล่านี้รอคุณต่อสู้กันจนเสร็จแล้ว จนบ้านเมืองมันพินาศฉิบหายไปแล้ว รอคนที่แข็งแรงที่สุดมาปกครองบ้านเมืองอย่างนั้นหรือ ผมคิดว่า ต้องยุตินะครับกรณีแบบนี้และทุกอย่างต้องจบลงอย่างถูกต้อง ผมไม่อยากให้เราย้อนกลับไปอีกหลายสิบปีหลังจากที่เราพัฒนามาสู่ระบอบประชาธิปไตยแล้ว ในความหมายของผม ประชาธิปไตยหมายถึง การที่ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจอธิปไตย ไม่ใช่ขุนนาง ชนชั้นสูง ไม่ใช่กลุ่มทหาร ไม่ใช่พวกมีเครื่องแบบและมีอาวุธ เราเดินมาไกลจากขอบเขตของอำนาจรัฐแบบนั้นไกลโขแล้ว เราจะย้อนกลับไปหรือ
ที่น่าเสียใจมากที่สุด ถ้าเราปล่อยให้มี"รัฐบาลเงา"มีอำนาจกว่า"รัฐบาลเบี้ยล่าง" คำถามผมก็คือ ถ้าต่างประเทศอยากทำธุรกิจเขาจะติดต่อกับใคร เขาจะติดต่อกับรัฐบาลเบี้ยล่าง หรือเขาจะติดต่อกับรัฐบาลเงาที่เหนือกว่ารัฐบาลที่เสนอหน้าอยู่นี้
๐ รัฐบาลเงาในความหมายใด
"รัฐบาลเงา"ในความหมายใหม่ เพราะว่ารัฐบาลเงาที่ผมพูดถึงเป็นกลุ่มบุคคลที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ สามารถมีอำนาจในการบีบบังคับรัฐบาลได้. ผมตั้งข้อสงสัยว่า ถ้า"รัฐบาลเงา"มีอำนาจเหนือ"รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์" การติดต่อทางธุรกิจในอนาคตจะมีการคอรัปชั่นแหลกเลย เพราะว่าแทนที่เขาจะไปหานายกรัฐมนตรี เขาก็ไปหานายกรัฐมนตรีเงาแทน ผมคิดว่าแล้วบ้านเมืองจะอยู่กันอย่างไร
๐ คือ "หนึ่งประเทศ มีสองรัฐบาล" และรัฐบาลที่ออกหน้าตา กลับไม่มีอำนาจในการตัดสินใจจริง
ใช่ครับเป็น 'รัฐบาลปลอม' ผมใช้คำเบากว่านี้ว่า 'รัฐบาลเบี้ยล่าง'. จริงๆ แล้วมันน่ากลัว แทนที่จะซึ่งหน้า โปร่งใส หลักธรรมาภิบาลใช้ไม่ได้เลย ปราศจากความโปร่งใส การตรวจสอบได้ ความรับผิดไม่มี ความโปร่งใสไม่มี การมีส่วนร่วมไม่มี ก็ไม่ใช่ธรรมาภิบาลแน่นอน. ผมถึงบอกไงว่ามันน่ากลัว เราจะย้อนยุคกลับไปสู่อดีตที่เราจากมา เราจะแก้ไขอะไรได้ไหม. ผมคิดว่านักวิชาการ ทั้งนักสื่อสารมวลชนรวมทั้งผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ต้องขยายความเข้าใจว่า เราจะไม่ยอมให้เกิดภาวะเช่นนี้ได้ เพราะว่าภาวะแบบนี้เป็นภาวะทุจริต ไม่โปร่งใส อยู่เหนือการตรวจสอบ
๐ สิ่งที่เสื้อแดงไม่ยอม มันมีนัยยะ มีความหมายคล้ายๆ กับที่พูดเมื่อสักครู่หรือเปล่า
ผมไม่ได้ติดตามเสื้อแดงนะ ถ้าเขาจะพูดตรงกับผมก็เป็นเพียงแค่คนที่คิดตรงกันเท่านั้นเอง เพราะผมไม่รู้จักคนเสื้อแดงเลยสักคน ผมรู้จักคุณวีระ มุสิกพงศ์ ผ่านหน้าหนังสือพิมพ์ ไม่เคยคุยกัน ผมไม่รู้จักใครเลย ที่ใส่เสื้อแดง แต่ถ้าจะคิดตรงกันก็เป็นเรื่องปกติที่จะคิดตรงกันได้
๐ คิดว่ารัฐบาลนี้ทำอะไรได้บ้าง
อันที่จริงรัฐบาลนี้คิดว่าทำอะไรไม่ได้เลยหรือ ผมเชื่อว่าทำได้บางส่วน อย่างเช่นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้รัฐธรรมนูญกลับมาอยู่ในครรลองคลองธรรม มีการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ แต่ไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่ทำให้ฝ่ายบริหารอ่อนแอ. เราต้องไม่ลืมนะครับว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดขึ้นมาภายใต้เงื่อนไขของวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่ คปค. แล้วเปลี่ยนไปเป็น คมช. เป็นผู้ตกแต่งจัดการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ขึ้น สิ่งที่รัฐธรรมนูญทำอยู่ ณ วันนี้ มันมีหลายสิ่งหลายอย่างทำให้รัฐบาลหรือกลไกรัฐค่อนข้างอ่อนแอ ไม่สามารถที่จะมีอำนาจในการบริหารประเทศได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย คือฝ่ายบริหารอ่อนแอ ฉะนั้นจะต้องแก้ไขให้เกิดดุลยภาพ ไม่ให้ใครอ่อนแอหรือแข็งแรงเกินไป
อันที่จริง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเคยเสนอแล้วว่า ให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับ โดยให้มี สสร. ที่เป็นอิสระจากพรรคการเมืองหรือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับนักการเมือง เป็นผู้ร่างกติกาฉบับนี้เป็นกติกาของประเทศ หรือรัฐธรรมนูญของประเทศ นั่นคือถ้าจะให้ดี ก็คือยกร่างใหม่ทั้งฉบับโดยใช้คนกลาง
๐ ประเด็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เป็นหลักการที่พรรคประชาธิปัตย์น่าจะสามารถทำได้
ผมคิดว่าทำได้ และก็มีนักวิชาการจำนวนมากสนับสนุน ส่วนพันธมิตรจะไม่สนับสนุนก็เป็นเรื่องของพันธมิตร แต่ว่าจริงๆ แล้ว การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะทำให้เรากลับมาใช้กติกาที่มันมีความยุติธรรม ในขณะที่รัฐธรรมนูญปี 50 มาอย่างไม่ถูกต้องตั้งแต่ต้น ทั้งกระบวนการไม่ดี และเนื้อหาก็ไม่ดี. ลองไปพลิกดูเถิด ลองค้นรัฐธรรมนูญและอ่านมาตราที่ว่าด้วยเรื่องรายชื่อ 20,000 รายชื่อว่า มันล็อกไว้ในมาตราอื่นอย่างไร อ่านให้ละเอียด เราจะเห็นว่าหลายอย่างทำไม่ได้
๐ จะกระตุ้นทางการเมืองอย่างไร ในเมื่อทุกคน ก็เริ่มเบื่อการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ
สิ่งที่ผมจะพูด ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ ก็คือว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่เรามองเห็น ที่เป็นกฎ กติกา นี้ ยังมีรัฐธรรมนูญฉบับคู่ขนานอีก ซึ่งหลายๆ คนเรียกว่า 'รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม' มันเป็นสำนึกของสังคม ซึ่งมันจะต้องเปลี่ยนไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย. ตราบใดก็ตามที่รัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรที่มีการประกาศใช้แล้ว รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมยังไม่พัฒนาไปตาม เหตุการณ์ก็จะสามารถตีกลับได้แบบนี้บ่อยๆ ที่ผมพูดหมายความว่า เรายังถูกปลูกฝังให้เคารพกลุ่มบุคคลชั้นสูง คนในเครื่องแบบ ผ่านวาทกรรมและปฏิบัติการทางวาทกรรมอยู่อย่างสม่ำเสมอ การปลูกฝังวาทกรรมชุดนี้ให้ยังใช้ได้อยู่ กระทำผ่านระบบโรงเรียน สถาบันการศึกษา ผ่านระบบสื่อ ผ่านขนบจารีต ประเพณีต่างๆ ตลอดเวลา และรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม ต้องถูกแก้ไขอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อที่คุณจะไปยืนอยู่ในสภาวะที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
๐ แนวโน้มของประชาธิปัตย์จะแข็งแกร่งมากขึ้นไหม ถ้าดูจากการเลือกตั้งซ่อมและเลือกตั้งผู้ว่า
ผมอยากให้ย้อนไปดูพรรคภูมิใจไทยที่เกิดขึ้นด้วย อย่ามองเฉพาะตอนนี้ว่ารัฐบาลได้มา 29 เสียงอะไรประมาณนี้ ภูมิใจไทยจะเป็นหอกข้างแคร่ในอนาคต ขอให้สังเกตให้ดูดีๆ นะครับ ตอนนี้เขารวมกันได้ 30 กว่าคน ถ้าเป็นก้อนหิน 30 ก้อน ไปวางอยู่บนตราชั่งข้างไหน ข้างนั้นก็เอียงทันที. ฉะนั้น จริงๆ ก็คือว่า เราอย่าดูแค่ตัวเลขผลการเลือกตั้ง มองให้ลึกเข้าไปในความซับซ้อนของตัวเลข เราเห็นกลุ่ม ถ้าเปรียบเป็นก้อนหิน คือมีก้อนหินอยู่หลายก้อน และหลายก้อนมีน้ำหนักมากพอ วางไว้บนตราชั่งด้านใดด้านหนึ่ง มันเอียงเลย
ทั้งหมดของความซับซ้อนจากปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เราเห็นอยู่ มันมีอะไรอยู่ข้างหลัง มันมีอะไรซ่อนอยู่ ถ้าเรามองให้ละเอียด รอบคอบ ผมขอพูดให้เป็นรูปธรรม อย่างเช่น การเลือกตั้งผู้ว่าฯ ที่กรุงเทพฯ มีคู่แข่งอยู่ 4 คน ประกอบด้วยสุขุมพันธ์, แซม, แก้วสรร, และปลื้ม คนที่แข่งกันจริงๆ คือ "สุขุมพันธุ์" กับ "แซม" ซึ่งไม่แน่ว่าใครจะชนะ. แต่เบื้องหลังปรากฏการณ์นี้มีแผนการอยู่ มีการวางแผนให้มีการตัดคะแนนเสียงของแซม โดยผ่านแก้วสรรและปลื้ม (ขอให้ย้อนกลับไปดูอดีตของคนทั้งสองนี้ กับความสัมพันธ์ทางการเมืองที่ไม่สลับซับซ้อนอะไร และไม่ใช่เรื่องเก่าแก่จนผู้คนหลงลืมกันแล้ว) ถ้าคุณเอาคะแนนเสียงสุขุมพันธ์ทั้งหมดมาดู ว่าได้กี่เปอร์เซ็นต์ และเอาของแซมมาบวกแก้วสรรและปลื้ม ไปดูเถิด เปอร์เซนต์มันสูสี. เห็นไหมครับ เรื่องนี้มีความซับซ้อนกว่าที่เราเห็นว่าแข่งกันอย่างยุติธรรมและเปิดเผย (conspiracy) ไม่ใช่ มีการสร้างตัวแทนให้มาตัดคะแนนกัน ซึ่งมันซับซ้อนกว่าปรากฏการณ์ที่เรามองเห็น คุณลองรวมคะแนนของแก้วสรรและปลื้มดูว่ากี่เปอร์เซ็นต์แล้วบวกกับแซม ซึ่งแข่งกับสุขุมพันธ์ เห็นไหมครับจริงๆ ก็คือว่ามันมีอะไรที่ซับซ้อนกว่าที่เปิดเผยกันอยู่
๐ ควรสังเกตการเมืองอย่างไร การเมืองแต่ละเรื่องมันมีเบื้องหลังเบื้องลึกอย่างไร?
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ที่เป็นปรากฏการณ์ซึ่งมีเบื้องหลังซับซ้อน มันถูกวางแผนเป็นอย่างดี มันไม่ได้ตรงไปตรงมา การเมืองเป็นเรื่องของการแย่งชิงผลประโยชน์ ฉะนั้น มันจึงไม่ตรงไปตรงมาเท่าไหร่หรอก เวลาที่เราอ่านการเมือง จึงต้องอ่านความสลับซับซ้อนเหล่านี้ให้ลึกที่สุด เราถึงจะวิเคราะห์การเมืองได้ชัดเจน
ส่วนคำถามว่าควรสังเกตการเมืองอย่างไร
การเมืองแต่ละเรื่องมันมีเบื้องหลังเบื้องลึกอย่างไร? ผมคิดว่า อันดับแรก เราต้องไม่เชื่อวาทกรรมชุดหนึ่งที่เราถูกสอนว่า
"ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมือง" ผมเสนอว่า "ถ้าคุณเสียภาษี คุณต้องยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
เพราะภาษีเป็นเรื่องที่คุณต้องจ่าย เพื่อความเป็นสุขของคุณ" ฉะนั้น ทุกคนควรสนใจการเมือง
(2)
"เฉลิม"ตั้งกระทู้ถามเอาผิดพันธมิตรยึดสนามบิน - ไล่บี้"กษิต"
"มาร์ค"ยันตรงไปตรงมา เสร็จแล้ว 4
คดี
(นำมาจากประชาไทออนไลน์)
22 มกราคม 2552: ที่รัฐสภา เวลา 13.30 น. ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย ได้ตั้งกระทู้ถามสดถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กรณีการดำเนินการกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) ว่า พธม.เคลื่อนไหวตั้งแต่ปี 2548-2549 แม้แต่นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันก็ยังเคยแวะไปและได้รับฉายา "มาร์ค ม. 7" ต่อมาได้มีการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 โดยคณะรัฐประหารได้ร่างรัฐธรรมนูญ แต่พรรคพลังประชาชน รณรงค์กับประชาชนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ และได้รับเลือกเป็นรัฐบาล
แต่ปรากฏว่า พธม.ชุมนุมประท้วงตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค.51 จากนั้นวันที่ 25 ส.ค.51 กระจายกำลังปิดล้อมสถานที่ราชการ และวันที่ 7 ต.ค. 51 มีการล้อมรัฐสภา จนเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องสลายการชุมนุม นายอภิสิทธิ์ ได้กล่าวต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่า รัฐบาลสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำเกินกว่าเหตุ แต่ตนยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่มีการสั่งการ เป็นเพียงความบังเอิญในการปฏิบัติหน้าที่ ในสถานการณ์ที่มีคนนับหมื่นเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกาศสงคราม 9 ทัพของนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำ พธม.นั้นไม่เหมาะสม เพราะสงคราม 9 ทัพ เป็นเรื่องของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน กลุ่มพวกนี้ไม่มีสิทธิที่จะยึดสนามบิน ดังนั้นจึงขอถามว่าการกระทำของ พธม.ตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค.51 จนถึงวันที่ 2 ธ.ค.51 รวม 192 วันนั้นมีความผิดกฎหมายหรือไม่ และผิดกฎหมายอะไรบ้างM
นายอภิสิทธิ์ ได้ลุกขึ้นชี้แจง ว่า ตนได้กำชับ ผบ.ตร.ว่า คดีความทั้งหลายที่เกี่ยวกับ พธม.ขอให้ดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา ส่วนใครทำผิดอะไรบ้างนั้นตนมีความเห็นแต่บอกไม่ได้ เพราะหากตนบอกว่าใครผิดบ้างจะเป็นการชี้นำเจ้าหน้าที่ ดังนั้น ขอให้เจ้าหน้าที่ทำงานอย่างตรงไปตรงมา แต่ย้ำว่าให้ตรงไปตรงมา อย่าละเว้น กลั่นแกล้งหรือถ่วงเวลา แต่อย่ารวบรัดจนเกิดความไม่เป็นธรรม อย่างไรก็ตาม หลังจากการตอบกระทู้แล้วตนจะปรึกษาหรือกับแกนนำพรรคฝ่ายค้านถึงกรณีที่ตั้งกระทู้นี้ต่อไป
"คดีของ พธม.มีทั้งสิ้น 32 คดี พิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว 4 คดี ยังไม่เสร็จสิ้น 26 คดี อยู่ระหว่างการสอบสวน 2 คดี ส่วนคดีที่น่าสนใจคือ การชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาลนั้น เจ้าพนักงานสอบสวนเสร็จแล้วอยู่ระหว่างขั้นตอนอัยการพิจารณา สำหรับคดี 7 ต.ค.51 นั้น อยู่ระหว่างการสอบสวนกำลังจะแจ้งข้อกล่าวหาผู้ถูกกล่าวหาต่อไป ส่วนคดีปิดสนามบินดอนเมือง เจ้าหน้าที่รายงานว่าสอบสวนไปแล้วประมาณ 80 เปอร์เซนต์ และกรณีสนามบินสุวรรณภูมิ สอบสวนแล้ว 30 เปอร์เซนต์ ยืนยันว่าทุกคดีมีการเดินหน้าแน่นอน" นายกรัฐมนตรี กล่าว
ร.ต.อ. เฉลิม โต้ว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่ม พธม.เข้าข่ายความผิดฐานผู้ก่อการร้ายสากลจากการปิดกั้นสนามบิน ทำให้ระบบขนส่งสาธารณะทางอากาศเป็นอัมพาต ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาม. 135 / 1 ซึ่งร่างตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงของ UN สมัยรัฐบาลทักษิณ. ดังนั้นนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ซึ่งร่วมกับกลุ่ม พธม. ต้องผ่านกระบวนการฟ้องร้องก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี และอยากถามว่าหากนายกษิต ซึ่งยึดสนามบินไม่ผิดฐานก่อการร้ายสากลแล้ว จะเข้าข่ายความผิดอะไร?
นาย อภิสิทธิ์ ตอบว่า การกระทำของ พธม. เป็นการก่อการร้ายสากลหรือไม่นั้น ในสมัยรัฐบาลของท่าน ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดเหตุการณ์ยังไม่มีหน่วยงานที่เสียหายทั้งสนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ หรือทำเนียบรัฐบาล แจ้งความในข้อหานี้ มีแต่ข้อหาร่วมกันบุกรุกสถานที่ราชการ ทั้งหมดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะเข้ามารับผิดชอบ ส่วน รมว.ต่างประเทศนั้นไม่ได้เป็นแกนนำ พธม. วันนี้รัฐมนตรี เข้ามาทำงาน แต่ถ้าปรากฏวันข้างหน้าว่าถูกแจ้งข้อหาและมีมูล ก็ต้องดำเนินการตามมาตรฐานที่เคยประกาศ ไม่สามารถอยู่ในตำแหน่งได้ ทั้งนี้การดำเนินคดีต่างๆ เพื่อรักษากฎหมาย ความยุติธรรม. ความยุติธรรม ต้องเป็นไปอย่างตรงไปตรงมา ถ้าทำแล้วตนต้องพ้นจากตำแหน่งก็ยอม เพราะประเทศชาติต้องอยู่เหนือผลประโยชน์ของคนใดคนหนึ่ง
ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม ลุกขึ้นแย้งอีกรอบว่า นายกษิตนั้น แม้จะไม่ได้เป็นแกนนำ แต่ก็ร่วมกระทำความผิดก็ต้องมีส่วนรับผิดด้วย แม้ว่าที่ผ่านมาจะไม่มีการแจ้งความในข้อหาก่อการร้าย แต่เมื่อสอบสวนแล้วอาจจะพบความผิดก็ได้ ถ้านายกรัฐมนตรีไม่รู้เรื่องให้ไปถามนาย ชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เพราะมีคำพิพากษาศาลฎีการะบุชัดเจนว่า เวลาปล้นทรัพย์นั้น แม้จะเป็นคนดูต้นทางก็ถือว่าเป็นตัวการร่วม ดังนั้นนายกษิตขึ้นเวทีตลอดทั้งวัน จึงต้องถือว่าร่วมกันด้วย นอกจากนี้นายกฯ ไม่เชื่อที่สื่อต่างประเทศ รายงานข่าวว่านายกษิตกล่าวว่าในการชุมนุม พธม.นั้นมีอาหารดี ดนตรีเพราะ แต่กลับเชื่อสื่อต่างประเทศและพร้อมตั้งกรรมการสอบสวนกรณีผู้อพยพชาวโรฮิงญา และรัฐบาลนี้จะตั้งกลุ่มพันธมิตรฯ เข้าร่วมรัฐบาลอีกกี่ตำแหน่ง "นายกฯไม่รู้จริงๆ หรือว่า ใครเอาท่านเป็นนายกฯ ท่านอยู่ไปเถอะ ยังไงผมก็ล้มไม่ได้ เพราะท่านมีตัวช่วยเยอะ " ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
นาย อภิสิทธิ์ ลุกขึ้นสวนกลับว่า ตนไม่ได้ตอบว่าเมื่อแจ้งข้อหาแล้วจะแจ้งเพิ่มเติมไม่ได้ แต่ตนบอกว่าวันนั้นท่านเป็นรัฐบาล แต่หน่วยงานที่เสียหายเขาเห็นไม่ตรงกับท่าน เขาจึงไม่ได้ไปแจ้งความข้อหาก่อการร้ายสากล ส่วนในเรื่องสื่อต่างประเทศที่เสนอข่าวผู้อพยพชาวโรฮิงญานั้น ตนก็ไม่ได้เชื่อ เพราะตนได้ตรวจสอบข้อมูลจากฝ่ายปฏิบัติแล้วยืนยันว่า มีการเข้าเมืองผิดกฎหมายและตนได้ย้ำว่า การดำเนินการต้องคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน ต้องตรวจสอบให้ชัดเจนเพื่อให้เกิดความมั่นใจทั้งชาวไทยและชาวโลกว่า นโยบายทุกเรื่องได้ดำเนินการตามมาตรฐานสากล โดยไทยจะไม่ตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดีหรือเป็นจำเลยของสังคมโลก
"ย้ำว่าการดำเนินคดีทุกคดีว่ากันตามเนื้อผ้า ผมจะไม่ชี้นำ ส่วนคดีแพ่งผู้เสียหายในทำเนียบฯ ได้รวบรวมความเสียหายแล้วดำเนินการต่อไป ผมบอกว่าให้ทุกคนรักษาสิทธิ์ของตัวเอง จะตั้ง พธม.อีกกี่คนไม่แน่ใจจะตอบได้หรือไม่ เพราะไม่รู้ว่าตามมาตรฐานของ ร.ต.อ.เฉลิม นั้นใครคือ พธม.บ้าง " นายกรัฐมนตรี กล่าว
ฝ่ายค้านซัดเลือกนายกฯ ไม่ชอบธรรม "มาร์ค"ยันไม่ได้เป็นนอมินีพันธมิตร
เมื่อเวลา 14.30 น.ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายจุมพฏ บุญใหญ่ ส.ส. สกลนคร พรรคเพื่อไทย ได้ตั้งกระทู้ถามสด เรื่องการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรี ถามนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ว่า รัฐบาลมีความชอบธรรมในการเข้าสู่ตำแหน่งของนายกฯ ตามมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 หรือไม่ เนื่องจากมีข้อสังเกต 3 ข้อคือ
1. นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ยังมีสถานะเป็นประธานรัฐสภาหรือไม่
2. มีอำนาจในการเปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญหรือไม่ และ
3. มีอำนาจในการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการหรือไม่
ทั้งนี้ เนื่องจากโดยข้อกฎหมาย สมาชิกภาพของ ส.ส. จะหมดลง เมื่อ ส.ส.ไม่ได้สังกัดพรรค ซึ่งพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ได้ถูกยุบพรรคในวันที่ 2 ธันวาคม 2551 แต่ปรากฏว่า นายชัยได้รับสนองพระบรมราชโองการในวันที่ 11 ธันวาคม 2551 ซึ่งถือว่า เป็น ส.ส.ที่ไม่ได้สังกัดพรรคแล้ว จึงถือว่า ตำแหน่งประธานรัฐสภาหลุดไป ทำให้การเปิดประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 ไม่สมบูรณ์
นอกจากนี้ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน 37 คน ที่ไม่ได้สังกัดพรรค แต่ไปเลือกนายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ ถือว่า เป็นโมฆะ จึงอยากถามนายกฯ ว่า ได้ตรวจสอบหรือไม่ว่า นายชัย ชิดชอบ ได้สังกัดพรรคหรือไม่ และนายกฯได้สอบถามนายเนวิน ชิดชอบ อดีต 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยหรือไม่ว่า กลุ่มเพื่อนเนวินได้สังกัดพรรคหรือไม่ และในวันประชุมเพื่อแถลงนโยบาย นายกฯ ได้ไปลงชื่อเข้าร่วมประชุมที่ไหน ซึ่งองค์ประชุมครบหรือไม่
นายอภิสิทธิ์ ชี้แจงว่า ในอำนาจหน้าที่ไม่สามารถตอบประเด็นเรื่องข้อกฎหมายได้ แต่จากที่อ่านรัฐธรรมนูญมาตรา 106 จะพบว่า สมาชิกภาพของ ส.ส. ในกรณีที่พรรคถูกยุบ จะสิ้นสุดลงหลังจากที่ไม่สามารถหาพรรคสังกัดได้ภายใน 60 วัน โดยนับวันรุ่งขึ้นหลังจากครบกำหนด 60 วันเป็นวันสิ้นสมาชิกภาพ แต่ในวันเลือกนายกฯ ทำในช่วง 60 วัน หลังจากยุบพรรค. อย่างไรก็ตาม หากใครติดใจสามารถส่งเรื่องให้ กกต. หรือศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ เพราะเรื่องวินิจฉัยสมาชิกภาพไม่ใช่หน้าที่รัฐบาล
ส่วนวันแถลงนโยบายนั้น ประธานสภาฯ ได้แจ้งว่า ให้เปลี่ยนสถานที่ประชุมไปที่กระทรวงต่างประเทศ เนื่องจากมีกลุ่มผู้ชุมนุมปิดล้อมอยู่ที่รัฐสภา และเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเปิดทางให้เข้ามาประชุมได้ อีกทั้งประธานสภาฯ เกรงว่า จะเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยวันที่ 7 ตุลาฯ และไม่อยากให้เกิดความสูญเสียและความรุนแรง เขาและสมาชิกไปพร้อมกันตามที่นัดหมาย ที่ประธานสภาฯ ได้แจ้งกับที่ประชุมว่า มีสมาชิกมาครบองค์ประชุมเกินกึ่งหนึ่ง ซึ่งตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า การแถลงนโยบายต้องทำต่อรัฐสภา ซึ่งได้ระบุว่า รัฐสภาต้องประกอบด้วยสมาชิกผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ดังนั้น เมื่อครบองค์ประชุม ก็สามารถแถลงนโยบายได้
นายจุมพฏ ถามต่อว่า มีประชาชนส่วนใหญ่สงสัยว่า นายอภิสิทธิ์เข้ามาเป็นนายกฯ นั้น เป็นนอมินีใครหรือไม่ เพราะเหตุการณ์ในวันที่ 7 ต.ค. ได้มีรถติดตราพรรคประชาธิปัตย์ ขนเสบียงมาให้พันธมิตรฯ รวมถึงมีสมาชิกพรรคบางคนอยู่ในที่เกิดเหตุ จะเป็นตัวการช่วยสนับสนุนหรือผู้ร่วมกระทำการ และเป็นนอมิบุคคลใดหรือไม่ ซึ่งเขาขอหยิบยกคำพูดของ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ที่ให้สัมภาษณ์ว่า นักการเมืองต้องตระหนักว่า ถ้าไม่มีพันธมิตรฯ ก็ไม่มีรัฐบาลชุดนี้ พวกคุณต้องเข้าใจว่า พันธมิตรฯ มีส่วนสำคัญที่ทำให้คุณยืนอยู่บนตำแหน่งเก้าอี้ ไม่ใช่เที่ยวไปให้กุหลาบแดงคนนั้นคนนี้ พวกคุณเหยียบศพ เหยีบกองเลือดของพันธมิตรฯไป คุณจะลืมเรื่องนี้ไมได้
นอกจากนี้ น.ต.ประสงค์ ยังบอกว่า ขณะนี้ กฎหมายรอฆ่าคุณอยู่หลายเรื่อง แม้กระทั่ง ส.ส.ระบบสัดส่วนของพรรคที่ถูกยุบ ไปโหวตก็ทำไม่ได้ คนเหล่านี้ไม่เคารพกฎหมาย ซึ่งเขาขอถามนายกฯ ว่า เป็นนอมินีพันธมิตรฯหรือไม่
ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ ได้กล่าวตอบว่า "ผมไม่ได้เป็นครับ"
ประชาไทออนไลน์ นำมาจาก: http://www.komchadluek.com
(3) ผลประกอบการธนาคารปี
2551 กำไร 8 หมื่นล้าน เพิ่มขึ้น 14.5 เท่าจากปีก่อน
(นำมาจากประชาไทออนไลน์)
ธนาคารพาณิชย์ได้แจ้งผลประกอบการงวดปี 2551 มายังตลาดหลักทรัพย์ครบทั้ง 11 แห่ง ปรากฏว่าภาพรวมส่วนใหญ่ ผลประกอบการปรับตัวดีขึ้น โดยมีกำไรสุทธิรวม 80,579 ล้านบาทเทียบกับงวดปี 2550 ที่มีกำไรสุทธิ 5,169 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 75,409 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 1,458% หรือ 14.5 เท่า จากปีก่อน. ไทยพาณิชย์กำไร 2.1 หมื่นล้าน, กรุงเทพ 2 หมื่นล้าน, กสิกร 1.5 หมื่นล้าน, กรุงไทย 1.2 หมื่นล้าน
ธนาคารที่มีกำไรสุทธิมากสุด คือ 4 ธนาคารใหญ่ ประกอบด้วยธนาคารไทยพาณิชย์ 2.1 หมื่นล้านบาท ธนาคารกรุงเทพ 2 หมื่นล้านบาท, ธนาคารกสิกรไทย 1.5 หมื่นล้านบาท และกรุงไทย 1.2 หมื่นล้านบาท ส่วนธนาคารที่มีผลประกอบการปรับตัวดีขึ้นคือนครหลวงไทยที่เพิ่งมีกำไรสุทธิ 4.1 พันล้านบาทจากขาดทุน 2 พันล้านบาท รองมาคือกรุงศรีอยุธยาและทหารไทย
ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารมีกำไรสุทธิ 15,333 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 6.41 บาท เทียบกับผลประกอบการในช่วงเดียวกันของปี 2550 ที่มีกำไรสุทธิ 15,005 ล้านบาท และมีกำไรต่อหุ้น 6.28 บาท เท่ากับมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 2.19% และมีกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น 2.07%
ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 1,303,554 ล้านบาท มีเงินให้สินเชื่อ 904,008 ล้านบาท และมีเงินฝากรวม 967,949 ล้านบาท มีเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ 15.05% แบ่งเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่ 9.84% และเงินกองทุนชั้นที่ 2 ที่ 5.21% มีสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (NPL Gross) เท่ากับ 3.09% และมีสัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพสุทธิต่อเงินให้สินเชื่อ (NPL Net) ที่ 1.47%
ขณะที่นายตัน คอง คูน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวถึงกรณีที่บริษัทจีอี แคปิตอล อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง คอร์ปอเรชั่น สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ธนาคาร 33% มีปัญหาเรื่องฐานะการเงินและมีกระแสข่าวว่าจะตัดขายธุรกิจบางอย่างออกไปนั้น จากการหารือกับจีอีในเบื้องต้น ณ วันนี้ นโยบายของจีอียังคงเป็นผู้ถือหุ้นธนาคารกรุงศรีอยุธยาเหมือนเดิม
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วในฐานะผู้ถือหุ้น คงไม่เข้ามากำหนดกลยุทธ์ให้กับฝ่ายบริหาร การกำหนดกลยุทธ์นั้นดำเนินการโดยคณะผู้บริหาร ที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการธนาคาร ซึ่งคณะกรรมการจะเป็นตัวแทนจากผู้ถือหุ้น เพราะฉะนั้นคณะกรรมการธนาคารจึงทำหน้าที่เหมือนกับผู้ถือหุ้น ณ วันนี้ ราคาหุ้นกับผลประกอบการไม่สัมพันธ์กัน เกิดขึ้นในช่วงที่ภาวะผันผวนสูง ซึ่งราคาหุ้นไม่ได้สะท้อนถึงคุณภาพฐานะของธนาคาร แต่เชื่อว่าในที่สุดแล้วคงอยู่ตัวและกลับมาสู่ภาวะปกติได้ในอนาคต. เขากล่าวว่า นโยบายของธนาคารในปีนี้ได้ตั้งเป้าสินเชื่อ 35,000 ล้านบาท หรือเติบโต 6% บนพื้นฐานเศรษฐกิจขยายตัว 0.5-2% และใช้กลยุทธ์ ดูแลลูกค้ารายเก่า เพิ่มประสิทธิภาพการขาย รวมทั้งให้มีสภาพคล่อง และมีการขยายตัวที่ดี
ทั้งนี้เพื่อให้ฐานะการเงินมีความแข็งแกร่ง โดยแบ่งเป็นสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดใหญ่ 9,000 ล้านบาท สินเชื่อเพื่อธุรกิจเอสเอ็มอี 11,000 ล้านบาท และสินเชื่อเพื่อลูกค้ารายย่อย 15,000 ล้านบาท เหตุที่เน้นสินเชื่อรายย่อยเพิ่มเพราะลูกค้ารายย่อยเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้ให้กับธนาคารสูงกว่าลูกค้ารายใหญ่ และเอสเอ็มอี เพราะลูกค้ารายใหญ่มีอำนาจในการต่อรองสูง และที่สำคัญลูกค้ารายย่อยมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า และเป็นการกระจายฐานลูกค้าไม่ให้กระจุกตัว
นอกจากนี้ธนาคารก็ได้เตรียมเข้าไปซื้อกิจการภายนอกที่เกี่ยวกับธุรกิจรายย่อย เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ โดยเน้นคุณภาพเป็นหลัก เพื่อเป็นการสร้างปริมาณให้กับธนาคาร ส่วนใครจะมาเสนอขายสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ให้กับธนาคารเพิ่มเติมหรือไม่นั้น ณ ขณะนี้ความสนใจเรื่องนี้ลดลงเพราะที่ผ่านมาได้ซื้อกิจการเช่าซื้อรถยนต์มาแล้ว การเข้าซื้อกิจการต่างๆ เข้ามาก็เพื่อให้ธนาคารมีการเติบโต และย้ำว่าให้ความสำคัญกับธุรกิจรายย่อยเป็นหลัก
"หากธนาคารสามารถซื้อกิจการได้ตามที่ธนาคารตั้งใจไว้ ธนาคารก็จะทำการออกหุ้นกู้ประมาณ 10,000 ล้านบาท เพื่อมารองรับกับกรณีดังกล่าวเพราะการออกหุ้นกู้จะต้องเสนออัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะยาวให้กับผู้ซื้อ และหากอายุของหุ้นกู้ 2-3 ปีให้ดอกเบี้ยที่ดีกับผู้ซื้อก็น่าจะเป็นที่สนใจของผู้ซื้อได้ แต่ขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นในการออกหุ้นกู้ สำหรับผลประกอบการของธนาคารในปี 2551 ที่ผ่านมามีกำไรสุทธิ 4,890 ล้านบาท มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอลเหลือ 8.9% จากเดิมอยู่ที่ 15.5%"
นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย กล่าวถึงสาเหตุกำไรสุทธิในปี 2551 เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากในปี 2550 ธนาคารได้ตั้งสำรองหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญเพื่อให้ครบถ้วนตามมาตรฐานบัญชีระหว่างประเทศฉบับที่ 39 (ไอเอเอส 39) ทำให้สำรองหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญลดลงในปี 2551 จำนวน 4,920 ล้านบาท หรือ 70.93% และสำรองขาดทุนจากการด้อยค่าของทรัพย์สินรอการขายลดลงจำนวน 1,328 ล้านบาท หรือ 79.33%
ส่วนแผนงานปีนี้ ธนาคารได้ตั้งเป้าสินเชื่อเติบโต 6-7% หรือคิดเป็นเม็ดเงิน 18,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันมีเอ็นพีแอลก่อนหักสำรอง 7.56% ซึ่งธนาคารมีเป้าจะลดลงเหลือ 5.5% ในสิ้นปี โดยจะเน้นการบริหารจัดการลูกค้า ซึ่งหากพบว่าหากลูกค้ารายใดมีปัญหาก็จะรีบเข้าไปดูแล ทั้งนี้ภายในต้นเดือน มี.ค.จะมีความชัดเจนว่าแผนการเพิ่มเงินกองทุนของธนาคารจะเป็นอย่างไร โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกที่ปรึกษาทางการเงิน. อย่างไรก็ตามปัจจุบันธนาคารมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส) อยู่ที่ 11.73% ตัวเลขบีไอเอสที่ต้องการเห็นอยู่ที่ 13-14% เท่ากับระบบ แต่การจะเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ต้องรอที่ปรึกษาทางการเงิน
นอกจากนี้ ในปลายเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา ธนาคารได้ขออนุมัติคณะกรรมการในการออกหุ้นกู้วงเงิน 80,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งธนาคารจะออกเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ สามารถนำมาเพิ่มเป็นเงินกองทุนขั้นที่ 2 ได้แต่การออกหุ้นกู้นี้ จะแบ่งเป็นการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิจำนวนเท่าใด และเป็นการออกหุ้นกู้เพื่อเพิ่มสภาพคล่องจำนวนเท่าใดต้องปรึกษาที่ปรึกษาทางการเงินอีกเช่นกัน
ประชาไทออนไลน์ นำมาจาก: เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ
(4)
'I am very weak' : จดหมายจากห้องขังนักเขียนออสเตรเลียถึงแม่และพ่อในวันคริสต์มาส
(นำไมาจากประชาไทออนไลน์)
จากบทความ: 'I am very
weak' Melbourne author tells parents in Christmas letter
จากหนังสือพิมพ์ Manningham Leader เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2009 เขียนโดย แฮร์รี่
นิโคไลดส์
ชาวเมลเบิร์น ที่ถูกคุมขังในประเทศไทย. แปลจาก: ...
http://manningham-leader.whereilive.com.au/news/story/i-am-very-weak-melbourne-author-tells-parents-in-christmas-letter/
แม่ครับ
ผมคิดถึงแม่และพ่อมากเหลือเกิน
ยิ่งในช่วงสองสามวันมานี้ เป็นช่วงเวลาที่คริสต์มาสใกล้จะมาถึง ความหวังเดียวของผมที่จะผ่านพ้นสิ่งนี้ไปได้
มันคือการที่แม่และพ่อยังคงมีสุขภาพแข็งแรงดี หากเกิดอะไรขึ้นกับพ่อหรือแม่ ผมจะไม่สามารถผ่านพ้นมันไปได้
ผมอ่อนแอเหลือเกิน หัวใจของผมรวดร้าวด้วยความเศร้าโศกและสิ้นหวัง
สิ่งเดียวที่จะหยุดความเศร้าโศกได้ชั่วขณะคือการคิดถึงปัจจุบัน
ในห้วงเวลาใดที่ผมหยุด... แล้วเริ่มหวนคิดถึงเรื่องราวในอดีต หรือยึดมั่นกับอนาคต มันทำให้ผมตกอยู่ในห้วงแห่งความโศกเศร้า ผมสูญเสียแรงปรารถนาที่จะดูแลสุขภาพและจิตใจของตัวเอง ปัจจุบันเป็นการถูกทำร้ายความรู้สึกและสภาพจิตใจของผม อย่างไม่มีการผ่อนปรน ผมคิดถึงการกลับคืนสู่ชิวิตของผมเองอีกครั้ง หลังจากที่เรื่องทั้งหมดนี้จบสิ้นลง แต่ผมจะถูกหลอกหลอนด้วยความทรงจำเหล่านี้หรือไม่?
กลิ่นเหม็นของขยะเน่าเสียจะลบเลือนไปจากจมูกของผมหรือไม่? ผมจะเดินก้มศีรษะอยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เหยียบเท้าตัวเองหรือไม่? ฝุ่นที่ติดอยู่ตามเนื้อตัวของผมจะชำระล้างออกให้หมดจดได้หรือไม่?
มันเป็นเวลาที่เนิ่นนาน
นับจากครั้งสุดท้ายที่ได้ดื่มเครื่องดื่มเย็นๆ ได้อาบน้ำอุ่น กินอาหารที่มีอุณหภูมิเหมาะสม
ผมไม่ได้ใช้ช้อน ส้อม จาน มาเป็นเวลาสามเดือน ผมกินอาหารจากถุงพลาสติก ผมเหนื่อยหน่ายกับการนั่ง
ยืน คุกเข่า บนพื้นคอนกรีต ผมโกนหนวดและล้างหน้าโดยไม่มีกระจก ผมรอเวลาที่จะได้สูดอากาศบริสุทธิ์เข้าปอดอีกครั้งหนึ่งโดยไม่ต้องกังวลว่ามีการติดเชื้อ
ผมปรารถนาถึงการนอนหลับสนิท ไม่ใช่ต้องอดทนนอนครึ่งหลับครึ่งตื่นอยู่บนพื้นคอนกรีต ผมปรารถนาถึงการใช้ห้องน้ำอย่างเป็นส่วนตัว ไม่ใช่อยู่ท่ามกลางผู้ชายคนอื่นๆ อีกห้าสิบคน แม้ปัจจุบันเป็นเรื่องที่เลวร้ายสำหรับผม แต่มันยังดีกว่า การคิดถึงความทรงจำที่มีต่อเมลเบิร์น หรือเรื่องเกี่ยวกับอนาคตที่จะเกิดขึ้น ความคิดเหล่านี้ย้ำเตือนถึงการสูญเสียสิ่งต่างๆ ไป ผมพยายามจะไม่คิดถึงชีวิตข้างนอก แต่ผมก็ไม่สามารถทำได้นาน
ผมเห็นภาพในหนังสือแมกกาซีนฉบับหนึ่ง ได้ยินเสียงเรียกชื่อผม แล้วทันทีทันใดความทรงจำต่างๆ ก็ผุดพรายขึ้นมา ผมถูกปลุกให้ตื่น เมื่อผมรู้ตัวว่า ตอนนี้ผมอยู่ที่ไหน ผมคิดเรื่องการเดินทางในชีวิตของพวกเรา พวกท่านอยู่เคียงข้างผม ให้การศึกษาผม และรักผม แม่และพ่อเดินทางจากไซปรัสมายังออสเตรเลียในปี 1955 พวกท่านอยู่ในประวัติศาสตร์ออสเตรเลียมาครึ่งศตวรรษ
ผมมาจบลงที่นี่ ในประเทศไทย ที่ซึ่งผมถูกยืดเวลาการกักขัง ซึ่งทำลายประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของพวกเราลงไป นี่คือเรื่องราวของเรา ประวัติศาตร์ครอบครัวของเรา และสายตระกูลของพวกเรา เราต้องไม่ให้มันถูกทำลายและถูกทำให้แตกสลาย ผมจะเข้มแข็งและมุ่งมั่น หากพวกท่านจะเข้มแข็งเช่นเดียวกัน ผมไม่มีวันที่จะทิ้งแม่ไป และผมขออ้อนวอนให้ท่านไม่มีวันที่จะทิ้งผมไป
ลูกรักของพ่อแม่ตลอดไป
แฮรี่
(5) รัฐบาลออสเตรเลียวอนไทยอภัยโทษ 'Harry Nicolaides' หลังถูกตัดสินคดีหมิ่นฯ จำคุก 3 ปี
22 มกราคม 52 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานโดยอ้างคำเปิดเผยของนายสตีเฟน สมิธ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลียว่า ได้ส่งหนังสือมายังนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย เพื่อแสดงการสนับสนุนของรัฐบาลออสเตรเลีย ต่อข้อเรียกร้องของนายแฮรี่ นิโคลายด์ นักเขียนวัย 41 ปี ในการขอพระราชทานอภัยโทษ หลังจากถูกศาลตัดสินจำคุกเป็นเวลา 3 ปี ในข้อหาหมิ่นสถาบันฯ จากการเขียนบทความจาบจ้วงสถาบันลงในหนังสือที่มีการตีพิมพ์เมื่อปี 2548
สำหรับนายนิโคไล เคยเป็นนักข่าวและคอลัมนิสต์ มีงานเขียนด้านการท่องเที่ยว เข้ามาทำงานในประเทศไทยเมื่อปี 2546 โดยเป็นผู้บรรยายวิชาจิตวิทยาสงคม ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากนั้นได้ย้ายไปเป็นผู้บรรยายวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ซึ่งถูกควบคุมตัวมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 31 ส.ค.2551 ก่อนจะถูกศาลไทยตัดสินจำคุกเมื่อวันที่ 19 ม.ค.51 ที่ผ่านมา โดยผู้พิพากษาขึ้นนั่งบัลลังก์พิพากษาคดีหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความ อาฆาต มาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ระหว่างพนักงานอัยการโจทก์ และนายนิโคไล โดยศาลพิพากษาว่า จำเลยเขียนหนังสือชื่อ Verisimilitude ซึ่งมีข้อความเป็นการหมิ่นประมาทและหมิ่นพระเกียรติพระมหากษัตริย์และพระบรม ราชกุมาร จึงตัดสินจำคุกจำเลยเป็นเวลา 6 ปี จำเลยสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือ 3 ปี ทั้งนี้ จำเลยเป็นผู้แต่งหนังสือ ซึ่งเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป พฤติการณ์เป็นความผิดร้ายแรงไม่สมควรรอลงอาญา
ด้านหนังสือพิมพ์"เฮรัลด์ ซัน"รายงานว่า นายฟอร์เด้ นิโคลายด์ พี่ชายของนายแฮร์รี่บอกว่า เขายังไม่ได้รับรู้เรื่องทางการออสเตรเลียได้ยื่นเรื่องขออภัยโทษให้แก่นาย แฮร์รี่ โดยบรรดาเพื่อน ๆ ที่ไปเยี่ยมนายแฮร์รี่บอกว่า นายแฮร์รี่จะยื่นเรื่องขออภัยโทษภายในอีก 2 วันข้างหน้า อย่างไรก็ตาม นายฟอร์เด้ ยังได้ตำหนิรัฐบาลออสเตรเลียด้วยว่า กระทำการล่าช้าในการช่วยเหลือน้องชายของเขาที่ถูกศาลไทยตัดสินจำคุกในข้อหา หมิ่นสถาบันฯ
ขณะเดียวกัน นายศักดิ์ศรี พรหมโยธี อัครราชทูตที่ปรึกษาไทยประจำกรุงแคนเบอร์ร่า บอกว่า กฎหมายหมิ่นสถาบันฯ ถูกนำมาใช้อยู่ในปัจจุบันเพราะรัฐธรรมนูญไทยได้บัญญัติให้ กษัตริย์ไทยอยู่เหนือการเมือง และเพื่อคุ้มครองพระองค์จากการถูกโจมตีส่วนพระองค์ อย่างไรก็ตาม เขาคิดว่า กรณีดังกล่าว ชาวต่างชาติที่เผชิญข้อหาดังกล่าวมีโอกาส 99 % ที่จะได้รับการอภัยโทษและถูกส่งตัวกลับประเทศ
(ประชาไทออนไลน์ นำมาจาก: เว็บไซต์มติชน)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
บรรดาศิลปะคลาสสิก ไม่ชอบแสดงออกถึงเรื่องราวอารมณ์ความรู้สึกมากนัก ส่วนใหญ่ พวกเขามักนำเสนอความเงียบขรึมโดยธรรมชาติ หลักการและข้อจำกัดในทางศิลปะ แต่พวกสมัยใหม่นิยมกลับพยายามสืบเสาะเข้าไปในอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งยืนยันบนพื้นฐานข้อสงสัยและคลางแคลงใจร่วมกันอันหนึ่งเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ และพลังอำนาจของสิ่งที่เราทั้งหลายต่างรู้สึก - ยกตัวอย่างเช่นบรรดานักเขียนอย่าง Eliot, Joyce, Lawrence, Conrad, Camus, นักเขียนเหล่านี้ทั้งหมดต่างรู้ดีว่า เรารู้สึกน้อยกว่าเราถูกทึกทักว่ารู้สึกเสมอๆ. หรือความรู้สึกนั้นมันเป็นไปในลักษณะที่แตกต่าง หรือมันเจือปนไปด้วยความรู้สึกต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม บรรดาศิลปินสมัยใหม่นิยมรู้กันดี เช่นเดียวกันในงานวรรณกรรมสัจนิยม อารมณ์ความรู้สึกมิได้โฉ่งฉ่าง...