1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
ชุดความรู้เที่ยงคืน:
Awesome Sculptures Of Ron Mueck
Ron
Mueck: ประติมากรผู้สร้างงานประติมากรรมอภิเหมือนจริงขนาดยักษ์
รศ.
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
สาขาจิตรกรรม
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
หมายเหตุ:
บทความต่อไปนี้ เรียบเรียงมาจากบทความเรื่อง
1. Awesome Sculptures Of Ron Mueck เขียนโดย Sunseven
2. The body beautiful เขียนโดย Craig Raine, The Guardian, Saturday 12 August
2006
โดยเรื่องที่หนึ่ง นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจศิลปะสามารถคลิกไปอ่านต้นฉบับได้ที่
http://hubpages.com/hub/Awesome_Sculptures_Of_Ron_Mueck
เรื่องที่สอง http://www.guardian.co.uk/artanddesign/2006/aug/12/art.edinburgh2006
Ron Mueck เป็นนักทำหุ่นจำลอง
นักเชิดหุ่น และอยู่ในแวดวงภาพยนตร์โฆษณามาก่อน
ภายหลังได้พลิกผันตัวเองมาเป็นประติมากร ซึ่งทำงานประติมากรรมแบบเหมือนจริงขนาดใหญ่
ที่จัดอยู่ในประเภท Super real หรือ Hyper real. ผลงานของเขามีความน่าสนใจในแง่ขนาด
และสัดส่วนขนาดยักษ์ ซึ่งทำให้ผู้ดูรู้สึกทึ่ง และรู้สึกถูกคุกคาม ผสมกับความอยากรู้อยากเห็น
อยากสำรวจ บรรดานักวิจารณ์และนักประวัติศาสตร์ศิลป์ต่างพูดถึงเขามากมายด้วยสุ้มเสียงที่มีทั้งชื่นชม
และตำหนิ และที่สำคัญคือ ตัวประติมากรเองมีวัตถุประสงค์อะไรในการสร้างสรรค์ผลงานเหล่านี้
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๖๗๕
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๑๖ มกราคม ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๑.๕ หน้ากระดาษ A4)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ชุดความรู้เที่ยงคืน:
Awesome Sculptures Of Ron Mueck
Ron
Mueck: ประติมากรผู้สร้างงานประติมากรรมอภิเหมือนจริงขนาดยักษ์
รศ.
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
สาขาจิตรกรรม
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
Ron Mueck
http://hubpages.com/hub/Awesome_Sculptures_Of_Ron_Mueck
Ron Mueck เป็นประติมากรออสเตรเลียนทางด้านรูปแบบ"อภิเหมือนจริง หรือที่เรียกว่า "hyperrealist" ที่ทำงานอยู่ในประเทศอังกฤษ อาชีพช่วงต้นของ Mueck เป็นผู้สร้างโมเดลหรือหุ่นจำลองและเป็นนักเชิดหุ่นกระบอกในรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์สำหรับเด็ก ในส่วนของภาพยนตร์เรื่อง "Labyrinth" (*) เขาเป็นผู้ให้เสียงในตัวละครชื่อว่า Ludo.
(*)Labyrinth is a 1986 fantasy film, directed by Jim Henson, produced by George Lucas, and designed by Brian Froud. Henson collaborated on the screenwriting with children's author Dennis Lee and Monty Python alumnus Terry Jones. The leads are David Bowie as Jareth the Goblin King, and Jennifer Connelly as Sarah Williams. The plot revolves around Sarah's quest to rescue her little brother from the Goblin King while trapped in a world that is an enormous otherworldly maze. Most of the other significant roles are played by puppets or by a combination of puppetry and human performance. It was shot on location in New York and at Elstree Studios in the UK. It was the last feature film directed by Henson before his death in 1990.
Mueck ได้ก่อตั้งบริษัทของตนเองขึ้นในกรุงลอนดอน ซึ่งให้บริการในด้านการถ่ายภาพเหมือนจริงและภาพเคลื่อนไหวเพื่อใช้ประกอบฉากในอุตสาหกรรมภาพยนตร์โฆษณา. แม้ว่ามันจะเต็มไปด้วยรายละเอียดมากมาย แบบจำลองใช้ประกอบฉากเหล่านี้มักจะได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อการถ่ายภาพจากมุมมองด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ ทั้งนี้เพื่อซ่อนความรุงรังหรือความไม่เรียบร้อยของโครงสร้างที่จะถูกมองเห็นจากมุมมองอื่น. Mueck มีความปรารถนามากขึ้นที่จะผลิตผลงานประติมากรรมเหมือนจริง ซึ่งดูสมบูรณ์แบบได้จากทุกๆ ด้าน
งานประติมากรรมของ Mueck เป็นการผลิตซ้ำเรือนร่างของมนุษย์ ที่เต็มไปด้วยรายละเอียดอย่างพิถีพิถันและทุ่มเท ที่สำคัญคือผลงานของเขาเป็นการเล่นกับเรื่องของสัดส่วน เพื่อจะสร้างภาพคันๆ มันๆ แบบกวนประสาท ทำให้ผู้ดูรู้สึกกระอักกระอ่วนใจ. ผลงานประติมากรรมขนาดสูง 5 เมตรของเขาที่เป็นรูปเด็กนั่งยอง (Boy 1999) คือรูปลักษณ์หนึ่ง ซึ่งนำออกแสดงใน the Millennium Dome (*) และต่อมาได้นำเสนอในงานนิทรรศการ the Venice Biennale.(**)
(*) The Millennium Dome, often referred to simply as The Dome, is the original name of a large dome-shaped building, originally used to house the Millennium Experience, a major exhibition celebrating the beginning of the third millennium. Located on the Greenwich Peninsula in south-east London, England.
(**)The Venice Biennale (Italian: Biennale di Venezia; also called in English the "Venice Biennial") is a major contemporary art exhibition that takes place once every two years (in odd years) in Venice, Italy. The Venice Film Festival is part of it, as is the Venice Biennale of Architecture, which is held in even years.
Mueck เคยกล่าวไว้ว่า ภาพถ่ายนั้น ส่วนมากแล้วมันไปทำลายการแสดงตัวของวัตถุต้นแบบในเชิงกายภาพลงไปมาก และด้วยเหตุนี้ เขาจึงหันมาสร้างงานประติมากรรมและงานด้านวิจิตรศิลป์. ในต้นทศวรรษ 1990s ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าว เขายังคงทำงานอยู่ในแวดวงโฆษณา Mueck ได้รับมอบหมายให้ทำงานบางอย่างที่ต้องสมจริงมากๆ และเขากำลังสงสัยว่า วัสดุอะไรจะถูกนำมาใช้พลิกแพลงเพื่อการนี้. ปกติแล้วเขาใช้วัตถุดิบประเภทลาเท็กซ์ แต่เขาต้องการบางสิ่งบางอย่างที่แข็งแรงกว่าและพิถีพิถันมากกว่า โชคดี ที่เขาเหลือบไปเห็นวัสดุที่ใช้สำหรับตกแต่งสถาปัตยกรรมชิ้นเล็กๆ บนผนังร้านบูติก และได้ไต่ถามเกี่ยวกับสมรรถภาพของมัน. เรซินไฟเบอร์กลาสส์(Fiberglass resin) คือคำตอบ และ Mueck ได้นำเอาวัตถุดิบดังกล่าวมาใช้แทนบรอนส์และหินอ่อนในงานของเขาตั้งแต่นั้นมา
ผลงานประติมากรรมPregnant woman ((หญิงอุ้มท้อง) จัดเป็นงานที่มีความปรารถนาอันแรงกล้าสุดๆ ของยุคสมัย ประติมากรรมชิ้นนี้มีความสูง 2.5 เมตร มันสร้างความประทับและซาบซึ้งใจอย่างที่สุด และดูจะข่มขู่ผู้ดูไปในตัวเมื่อผู้พบเห็นมีประสบการณ์กับประติมากรรมชิ้นดังกล่าวเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ความเป็นมารดาอันสูงส่งจะคืนกลับมาในความคุ้นเคย ไม่มีลักษณะของการคุกคาม กลายเป็นความรักใคร่และดูอบอุ่น. เธอถูกทำให้หมดแรง มือทั้งสองข้างถูกยกขึ้นเหนือศีรษะ ใบหน้าแสดงออกถึงความอ่อนไหว เปราะบางต่อสิ่งรอบข้าง อันที่จริงการปรากฏตัวของเธอเต็มไปด้วยพลังอำนาจ และร่างกายของเธอปลุกเร้าให้หลายๆ คนให้เกิดการฉุกคิด นับจากความสงสัยในความเป็นแม่ การเป็นผู้ให้กำเนิดและการควบคุมประชากร นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการมีภาระหรือพันธะเกี่ยวกับบทบาทความรับผิดชอบในฐานะความเป็นเพศหญิงด้วย (ซึ่งบรรดานักสิทธิสตรีร่วมสมัยอาจไม่ชอบ)
ตลอดสามเดือนที่ Mueck ทำงานกับหญิงตั้งครรภ์คนหนึ่งซึ่งมาเป็นแบบ เริ่มต้นจากการที่เธอตั้งครรภ์มาแล้ว 6 เดือน เขายังใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายต่างๆ และโดยปราศจากข้อสงสัย มีตัวอย่างของผู้ทำงานประเภทนี้มาก่อนหน้าเขาในประวัติศาสตร์ศิลป์จำนวนมากที่อยู่เบื้องหลังผลงานประติมากรรมชิ้นดังกล่าว. ศิลปินได้ซึมซับผลงานมาจากปรมาจารย์ชาวยุโรปที่มีความสามารถทั้งหลายซึ่งสั่งสมอยู่ในสถาบันและห้องแสดงงานศิลปะในกรุงลอนดอน เขาได้สร้างผลงานประติมากรรมชิ้นนี้ขึ้นมาจากวัสดุไฟเบอร์กลาสส์. อย่างไรก็ตาม วัสดุประเภทไฟเบอร์กลาสส์นั้นออกจะดูแข็งเกินไป ดังนั้น เขาจึงแยกส่วนของใบหน้าออกมา โดยการทำขึ้นจากซิลิโคน เพื่อจะได้ดูสมจริงมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถติดขนตาและเส้นผมลงไปได้ง่ายขึ้นด้วย แต่นั่นมิได้หมายความว่าจะทำให้ความพยายามและความอุตสาหะที่ต้องทุ่มเทให้กับงานชิ้นนี้ลดน้อยลงแต่อย่างใด. เข็มขนาดเล็กต่างๆ ถูกนำมาใช้เพื่อเย็บติดขนตากับเปลือกตา และเส้นผมกับหนังศรีษะทีละเส้นๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างอดทน
ในช่วงเวลาสามปี นับจากการมีส่วนร่วมของเขาในงานนิทรรศการ
Sensation: Works from the Saatchi Collection, ตัวของ Mueck เองได้นำผลงานของตนตระเวณแสดงที่แกลอรีสำคัญต่างๆ
ทั้งในนิวยอร์ค, เยอรมนี, โดยไม่ได้นับรวมผลงานที่จัดแสดงอยู่ที่ Millenium Dome
ในกรุงลอนดอน. ไม่นานมานี้ ผลงานของเขามีการนำเสนอโดยการแสดงเดี่ยว(a solo exhibition)ในกรุงลอนดอน
ณ The Anthony d'Offay gallery (*) ซึ่งถือเป็นพื้นที่ทางศิลปะร่วมสมัยที่โดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่ง
(*) Anthony d'Offay (born Sheffield, England, 1940)
is a British Art dealer whose sudden closure of his gallery (called simply
the Anthony d'Offay Gallery) in 2002 caused a major shock to the London art
world. D'Offay had begun dealing contemporary art in the late 1960s and with
the closure of the Robert Fraser and John Kasmin galleries became one of the
pre-eminent art dealers in London operating from premises in Dering Street.
The Anthony d'Offay gallery opened in 1980. D'Offay was the main agent for Joseph Beuys and represented Christian Boltanski, Gerhard Richter, Anselm Kiefer, Gilbert and George, Richard Long, Jeff Koons and Richard Hamilton. The last exhibition at the Anthony d'Offay Gallery, of Bill Viola, had 50,000 visitors and helped fund Rachel Whiteread's Monument (2001) in Trafalgar Square.
Ron Mueck ได้ยึดครองพื้นที่ของเขาในขนบจารีตของผู้คน ซึ่งพยายามที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นตัววัตถุให้ดูเหมือนจริงและเป็นจริงเป็นจังมากกว่าปกติ บรรดาคำศัพท์ อย่างเช่น Super-Real และ Hyper-Real ได้ถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายถึงศิลปินทั้งหลายที่พยายามสร้างสรรค์งานออกมาให้เหมือนจริงอย่างที่สุด. Ron Mueck แสวงหาช่องทางที่จะบรรลุถึงความสมบูรณ์นั้น โดยการสาธิตและแสดงให้เห็นถึงความถูกต้องเกี่ยวกับความเป็นจริง ดังที่เขานำเสนอมันออกมา
ผลงานของ Mueck มักจะสร้างขึ้นให้ผิดไปจากสัดส่วนธรรมดา หรือสัดส่วนในโลกของความเป็นจริง ผลงานประติมากรรมภาพคนของเขา ถ้าไม่ใหญ่กว่าสัดส่วนของคนจริง ก็ถูกทำให้เล็กกว่าไปเลย ผลงานเหล่านี้พยายามจะไปให้ถึงลัทธิ super-realism (อภิเหมือนจริง - จริงยิ่งกว่าภาพถ่าย หรือภาพคนจริงที่เคยสร้างกันมา), มันเป็นการเผชิญหน้าทางจิตวิทยาระหว่างความจริงที่ขัดแย้งกันสองด้าน กล่าวคือ ความมานะพยายามที่จะใช้กลวิธีเพื่อไปให้ถึงความสมบูรณ์แบบ กับความแตกต่างไปจากสเกลหรือสัดส่วนของชีวิตจริง. ผลงานของ Ron Mueck จัดอยู่ในประเภทงานทางด้านประติมากรรม เขามิได้กำลังสร้างหุ่นจำลองแต่อย่างใด งานของเขาไม่ใช่หุ่นกระบอกขนาดยักษ์หรือหุ่นกระบอกขนาดจิ๋ว เขาใช้เทคนิคในทุกรูปแบบ ติดตามความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่ดูสมจริงยิ่งกว่าจริงของตนขึ้น
ผลงาน Dead dad เป็นงานประติมากรรมสามมิติอีกชิ้นที่จัดอยู่ในประเภทอภิเหมือนจริง ซึ่งเป็นรูปพ่อของเขาเองที่ถึงแก่กรรม งานชิ้นนี้ได้ถูกนำเสนอออกมาในภาพชายชราสภาพเปลือยนอนอยู่บนพื้น ด้วยเหตุนี้ บรรดาผู้ดูจึงสามารถเดินดูไปได้รอบๆ เรือนร่างของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ร่างกายของเขามีขนาดความยาวเพียงแค่สามฟุตเท่านั้น (เล็กกว่าสัดส่วนของคนจริง) ผลงานที่พิเศษชิ้นนี้มีพลังทางด้านอารมณ์ความรู้สึกมาก และบรรดาผู้เคยชมผลงานชิ้นดังกล่าวแล้ว ต่างจดจำถึงมันได้เป็นอย่างดี
การสร้างสรรค์ผลงานแต่ละชิ้นของ Mueck ค่อนข้างเป็นไปอย่างช้าๆ กล่าวคือ ผลงานแต่ละชิ้นใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 4 สัปดาห์ แม้ว่าผลงาน"ผู้หญิงอุ้มท้อง"(Pregnant woman) จะใช้เวลามากกว่านั้น ซึ่งถือเป็นผลงานที่น่าประทับใจมากที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว. โดยในปี ค.ศ.2002 เมื่อผลงานประติมากรรม"ผู้หญิงอุ้มท้อง"ได้รับการสร้างขึ้น เขาเพิ่งจะสร้างสรรค์งานประติมากรรมทั้งหมดได้เพียง 30 ชิ้นเท่านั้น
Mueck ทำงานกับแบบแผนทางศิลปะโดยเฉพาะในลัทธิศิลปะ super-realism ซึ่งมีประวัติศาสตร์มาเป็นเวลายาวนาน มันเชิญชวนให้ผู้คนเข้ามาดูงานของเขาแบบใกล้ชิด เพื่อสำรวจถึงเส้นผม รอยตกกระที่อยู่ตามเนื้อตัว และรอยตำหนิไฝฝ้าต่างๆ เพื่อพินิจพิเคราะห์หุ่นจำลองอย่างรอบคอบ และทำการไตร่ตรองถึงความต่างระหว่างความเป็นจริงที่สร้างขึ้นโดยศิลปิน กับโลกที่พวกเราอาศัยอยู่. เขาเคยกล่าวเอาไว้ครั้งหนึ่งว่า
"ผมไม่เคยสร้างรูปคนขนาดเท่าชีวิตจริง เพราะนั่นมันไม่ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้นหรือเรียกร้องความสนใจแต่อย่างใด พวกเราต่างพบกับขนาดของคนจริงๆ อยู่ทุกเมื่อเชื่อวันอยู่แล้ว." "ไม่ปฏิเสธเลยว่า ผมมีข้อมูลเพรียบพร้อมอยู่แล้วในมือ ผมมีหุ่นที่มาเป็นแบบซึ่งมีชีวิตจริงๆ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผมจะมีแบบจริงซึ่งมีลมหายใจก็ตาม แต่สิ่งที่ผมกระทำลงไปในตอนจบ ผมต้องละทิ้งแบบที่มีชีวิตเหล่านั้น เพื่อเดินทางต่อไปตามความรู้สึกต่างๆ ที่ถูกต้องของผม"
ผลงานของศิลปินได้รับการปรบมือโดยนักวิจารณ์บางคน ในฐานะงานประติมากรรมชิ้นเยี่ยม ซึ่งเกิดขึ้นกับรูปคนสามมิติ'ในคนชั่วรุ่นต่างๆ. (Peter Plagens in Newsweek), แต่บางคนกลับเมินเฉย ไม่ได้ให้ความสนใจเขาแต่อย่างใด และมองว่าเขาเป็นเพียง"ผู้สร้างหุ่นจำลอง"เท่านั้น. ตัวอย่างของนักวิจารณ์ศิลปะคนหนึ่งซึ่งได้พูดถึงผลงานของ Ron Mueck ไว้ใน The Guardian (*) ที่จะหยิบยกมาบางส่วนต่อไปนี้ เป็นการพิสูจน์ของความข้อนี้ และยังได้ให้รายละเอียดถึงแง่มุมที่ต่างออกไปอย่างน่าสนใจ ซึ่งจะทำให้เรามองเห็นงานของ Mueck ในมิติที่แตกต่าง
(*)The Guardian is a British newspaper owned by the Guardian Media Group. It is published Monday to Saturday in the Berliner format from its London and Manchester headquarters.
The Guardian Weekly, which circulates worldwide, provides a compact digest of four newspapers. It contains articles from The Guardian and its Sunday, sister paper The Observer, as well as reports, features and book reviews from The Washington Post and articles translated from France's Le Monde.
ความงามของเรือนร่าง:
Craig Raine (The Guardian)
นำมาจาก Craig Raine The Guardian, Saturday 12 August
2006 Article history
http://www.guardian.co.uk/artanddesign/2006/aug/12/art.edinburgh2006
"แม้ว่าขนาดและสัดส่วนต่างๆ จะใหญ่มหึมาดั่งกับอนุสาวรีย์ และรายละเอียดที่พิถีพิถันมาก แต่ผลงานประติมากรรมของ Ron Mueck ยังคงทำความเข้าใจได้ และด้วยสิ่งเหล่านี้ ทำให้มันมีพลังแฝงที่น่าหวั่นไหว"
เรื่องราวที่เกิดขึ้นในปี 1997, ณ the Royal Academy, ความตื่นเต้นเกี่ยวกับงาน Sensation: Young British Artists from the Saatchi Collection ในครั้งนั้นดูเหมือนว่า งานศิลปะซึ่งโดดเด่นของศิลปินรุ่นเยาว์ชาวอังกฤษจะสร้างความประทับใจให้ผู้ดูพอสมควร โดยเฉพาะความน่าทึ่งของผลงานประติมากรรม Dead Dad (พ่อตาย) มีอะไรที่ดูเหมือนว่าจะขัดแย้งกันอยู่ กล่าวคือ ความสมบูรณ์แบบมากเกินไปของมัน บอกกับเราว่า ยังคงขาดอะไรบางอย่างไป. ผลงานประติมากรรมชิ้นนี้ได้บันทึกทุกๆ รายละเอียดเอาไว้อย่างประณีตซับซ้อน รวมถึงความกระด้างของเรือนร่างไว้อย่างปราศจากอคติ. เส้นเอ็นต่างๆ ที่ยึดกล้ามเนื้อและกระดูก ทิศทางของเส้นขนบริเวณน่อง ขนบริเวณหัวเหน่าที่ออกสีจางๆ แต่ดูหลอกๆ เล็กน้อย เส้นขนสีเทาที่ดูมีระเบียบ การขัดถู ขนาดพอประมาณของอวัยวะเพศที่ไม่ผ่านการขลิบซึ่งอยู่ในทิศทาง 4 นาฬิกา อยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับหัวนิ้วโป้ง และฝ่ามือที่หงายขึ้น
ถึงอย่างนั้นก็ตาม แม้เรือนร่างนี้คือร่างของคนตายอย่างไม่ต้องสงสัย และร่างนี้ถูกตระเตรียมให้มีสภาพตรงข้ามกับท่าทารกในครรภ์ ซึ่งเราจะไม่อยู่ในท่านอนนี้(ท่านอนหงายเหยียดตรง)ในขณะที่หลับ. บริเวณรอบดวงตาออกสีชมพูอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งเป็นลักษณะขอบตาของคนตาย ที่ดูบุ๋มลงไปเล็กน้อย และมือที่ดูไร้พลัง มือที่สูญเสียอำนาจของมันไปอย่างไม่อาจฟื้นคืนกลับมาได้ ทุกสิ่งทุกอย่างยังคงอยู่ที่นั่น แต่ถูกทำให้เป็นอยู่อย่างนั้น รวมถึงบางสิ่งบางอย่างที่เป็นศูนย์กลาง(วิญญาน)ที่จากไป. ผลงานประติมากรรมชิ้นนี้ถูกลดทอนโดยขนาด ด้วยเหตุผลบางประการ มันได้นำเสนอถึงการสูญเสีย เรือนร่างนี้มีสัดส่วนเล็กกว่าชีวิตจริง - สำหรับบางอย่าง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัว จะเบาลงกว่า 21 กรัม ซึ่งนั่นคือน้ำหนักของวิญญาน และมันคือความแตกต่างที่ได้รับการยืนยันในน้ำหนักตัวระหว่างก่อนและหลังความตาย
ในเดือนตุลาคม 2000 ผู้เขียน (Craig Raine) ได้มีโอกาสพบปะกับ Ron Mueck ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าว เขาเป็นศิลปินรับเชิญของ the National Gallery, และพวกเขาได้สนทนากันถึงผลงานประติมากรรม Dead Dad. Mueck มีความกังวลใจเกี่ยวกับเรื่องอารมณ์ความรู้สึกที่ออกจะอ่อนไหวเกินไป "อันที่จริง ผมไม่ค่อยเป็นมิตรกับพ่อของตัวเองมากนัก ดังที่ผมสร้างผลงานชิ้นนี้ขึ้นมา ผมพบว่าตัวเองคิดถึงพ่อ และรู้สึกห่วงใย" ความระมัดระวังในการบรรจงสร้างสรรค์ผลงาน กระทำไปในช่วงที่รู้สึกห่วงใยในความสัมพันธ์ในความหมายกว้างๆ. ตามข้อเท็จจริง อารมณ์ความรู้สึกวูบไหวจะไม่อาจพบเห็นได้ที่ใดเลยในผลงานชิ้นนี้ แม้ว่าความรู้สึกนั้นจะติดตรึงอยู่ก็ตาม - มันกลายเป็นอีกอย่างหนึ่งไปเลยทีเดียว - กล่าวคือมันละลายไปกับความเหมาะสมและความสมบูรณ์แบบอย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้ อารมณ์ความรู้สึกที่รุนแรง และความอยากรู้อยากเห็น
Mueck ยังกล่าวด้วยว่า ในการสร้างสรรค์ผลงาน Dead Dad เขากระทำขึ้นจากความทรงจำและจินตนาการ. จินตนาการในงานศิลปะย้อนอดีตของ Lucian Freud (*) ที่แกลอรี่ Tate ในอังกฤษปี ค.ศ.2002 ในภาพ no 113, ชื่อภาพ The Painter's Mother Dead 1989 (ความตายของแม่ศิลปิน 1989), คือผลงานวาดเส้นที่ทำขึ้นจากชีวิตจริง ในช่วงที่แม่ของเขาเพิ่งตายลงใหม่ๆ. มันเป็นการบันทึกถึงความตายในสภาพของคนที่เป็นอัมพาต ซึ่งส่งผลกระทบให้รูปปากดูบิดเบี้ยว. Karl Kraus กล่าวว่า มันเป็นภาพที่เขียนรูปปากผิด. ในสภาพของคนตาย ปากของผู้ตายต่างผิดดรูปทั้งสิ้น. ลักษณะหน้าตาบูดเบี้ยวคือการแสดงออกของความเจ็บปวดแปลกๆ อย่างไม่คาดฝัน หน้าตาดูน่าเกลียด. สัปเหร่อและช่วงเวลาประมาณ 12 ชั่วโมง ในการฟื้นฟูเปลี่ยนแปลงสภาพไม่อาจแก้ไขร่างกายอันน่าเวทนานั้นได้ คนที่อยู่ดูแลอยู่ข้างเตียงผู้ป่วยต่างรู้ดี.
(*)Lucian Michael Freud, OM, CH (b. 8 December 1922, Berlin) is a British painter of German origin. He is the son of Jewish parents Ernst Ludwig Freud, an architect, and Lucie n?e Brasch. He is the grandson of Sigmund Freud, brother of writer and politician Clement Raphael Freud and of Stephan Gabriel Freud, and uncle of radio and television broadcaster Emma Freud.
Freud and his family moved to the England in 1933 to escape the rise of Nazism, and became British citizens in 1939. During this period he attended Dartington Hall school in Totnes, Devon, and later Bryanston School.
แต่ Mueck ไม่เคยมีประสบการณ์ดังกล่าว และด้วยเหตุนี้ จึงไม่ได้รับการคาดหวังว่าจะล่วงรู้และทำการบันทึกการแสดงออกนี้เกี่ยวกับความเร้าอารมณ์ชั่วแล่นนั้นได้. ด้วยเหตุดังนั้น ผลงาน Dead Dad จึงไม่ถูกทำให้มีสภาพดังกล่าว โดยการละเลยไปอย่างน่าเสียดาย
ตามความเป็นจริงในเชิงที่สมดุลกัน บางทีผลงานประติมากรรมจะได้รับประโยชน์และผลกำไรไปฟรีๆ กล่าวคือ ผลงานศิลปะของ Mueck นับว่าเป็นที่เข้าใจได้ในเชิงอัตลักษณ์ของงานสร้างสรรค์ศิลปะ ดังที่ Bacon ได้กล่าวไว้ว่า มิใช่สำหรับตัวเขา เครื่องหมายสวัสดิกะต่างๆ และส่วนที่อยู่ใต้ผิวหนังของชิ้นงาน อันนี้เป็นเรื่องพิเศษของการแสดงออกที่เกินจริงของบรรดาศิลปิน. งานที่เขาชอบนำมาอ้างอิงคือผลงานกายวิภาค ที่ดูมีชีวิตของศาสตราจารย์ R D Lockhart ในผลงานชุด Living Anatomy ("ซึ่งเป็นผลงานเกี่ยวกับภาพโครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อในท่าทางที่แสดงออกถึงปฏิกิริยาต่างๆ). (http://www.amazon.com/Living-Anatomy-Faber-covered-editions/dp/0571091776)
ในบรรดาศิลปะคลาสสิก ไม่ชอบแสดงออกถึงเรื่องราวอารมณ์ความรู้สึกมากนัก ส่วนใหญ่พวกเขามักนำเสนอความเงียบขรึมโดยธรรมชาติ หลักการและข้อจำกัดในทางศิลปะ แต่พวกสมัยใหม่นิยมกลับพยายามสืบเสาะเข้าไปในอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งถูกยืนยันบนพื้นฐานข้อสงสัยและคลางแคลงใจร่วมกันอันหนึ่งเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ และพลังอำนาจของสิ่งที่เราทั้งหลายต่างรู้สึก - ยกตัวอย่างเช่น Eliot, Joyce, Lawrence, Conrad, Camus, นักเขียนเหล่านี้ทั้งหมดต่างรู้ดีว่า เรารู้สึกน้อยกว่าเราถูกทึกทักว่ารู้สึกเสมอๆ. หรือความรู้สึกนั้นมันเป็นไปในลักษณะที่แตกต่าง หรือมันเจือปนไปด้วยความรู้สึกต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม บรรดาศิลปินสมัยใหม่นิยมรู้กันดี เช่นเดียวกันในงานวรรณกรรมสัจนิยม อารมณ์ความรู้สึกมิได้โฉ่งฉ่างบ้าบอคอแตกแต่อย่างใด - คล้ายๆ กับความรู้สึกขวยเขิน, ความอยากรู้อยากเห็น - บ่อยครั้ง ได้ถูกขจัดออกไปโดยการทำให้เข้าใจง่ายในด้านอารมณ์ความรู้สึกที่มีขนาดใหญ่มากๆ
ในงานนิทรรศการศิลปะ the new Edinburgh exhibition, มีผลงานอยู่ชิ้นหนึ่งชื่อว่า Spooning Couple: เป็นภาพคนนอนสองคนที่มีขนาดเล็กมาก (ผู้ชายอยู่ในชุดเสื้อยืด ท่อนล่างเปลือย และผู้หญิงที่นอนคู้อยู่ด้านหน้า สภาพร่างกายท่อนบนเปลือย ส่วนท่อนล่างสวมแต่กางเกงชั้นใน นอนแนบชิดกันคล้ายช้อนที่ซ้อนกันอยู่ ใบหน้าของทั้งคู่หันไปในทิศทางเดียวกัน มีลักษณะคล้ายกับพนักงานเสริพสลัดจานใหญ่. ข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นของคนดูคือ เป็นเรื่องของความอบอุ่นและความรัก. มองไม่เห็นถึงความเป็นปรปักษ์ที่ชัดเจนใดๆ ของสิ่งที่ได้รับการบันทึกเอาไว้อย่างอ่อนโยนโดยบทกวี Asra ของ Paul Muldoon (*) ที่ซึ่งคู่สมรสคู่หนึ่ง "ลุกขึ้นมา ก่อนที่จะล้มลง: หลังชนกัน: กำลังจะดวลกัน
(*) Paul Muldoon (born 20 June 1951) is a Pulitzer Prize-winning poet from County Armagh, Northern Ireland as well as an educator and academic at Princeton University. Muldoon has lived in the United States since 1987; he teaches at Princeton University and is an Honorary Professor in the School of English at the University of St Andrews. He held the chair of Professor of Poetry at Oxford University for the five-year term 1999-2004, and he is an Honorary Fellow of Hertford College, Oxford University. In addition, he teaches in Vermont at The Bread Loaf School of English, Middlebury College's graduate program.
กระนั้น ทั้งหมดก็ไม่ค่อยดีนัก พวกเขามิได้มีท่าทีสบายในลักษณะพักผ่อน หรือดูเหมือนว่าจะเป็นเช่นนั้นเมื่อมองดูครั้งแรก. ตาของทั้งคู่เปิดอยู่ แต่ปราศจากการสื่อสาร พวกเขากำลังคิดคำนึง ในความเงียบดังกล่าว พวกเขากำลังคิดถึงอะไร? เราได้เพียงแต่เดา ร่างกายท่อนบนของผู้หญิงที่มิได้สวมใส่อะไรเลย อันที่จริงเสื้อของเธอถูกนำไปสวมใส่ในร่างของฝ่ายชาย ส่วนร่างกายท่อนล่างที่เปลือยเปล่าของผู้ชายนอนคุดคู้แนบกับร่างกายท่อนล่างของฝ่ายหญิงซึ่งมีกางเกงชั้นในเพียงตัวเดียว เสื้อยืดที่ไม่ได้รีดสีขาวเรียบ ส่วนกางเกงชั้นในของผู้หญิงท่อนล่าง สีดูคลุมๆ เครือๆ - ออกสีม่วงจางๆ อันอาจเป็นผลเนื่องมาจากการถูกนำไปซักรวมกับผ้าสีอื่นและถูกสีของผ้าอื่นตกใส่ มันดูโรแมนติกหรือไม่ ?
ครั้งหนึ่ง Vladimir Nabokov (*) เคยถามบุตรบุญธรรมของเขา Alfred Appel, ว่า สถาบันการศึกษาต่างๆ ได้ผ่านช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายที่ก่อขึ้นมาโดยบรรดานักศึกษาในช่วงทศวรรษที่ 1960s ได้อย่างไร. Appel ตอบว่า บรรยากาศโดยรอบที่มหาวิทยาลัยของเขากลับเงียบสงบ: แม่ชีบ่นว่า หนุ่มสาวหลายคู่กำลังคลอเคลียกันอย่างกับช้อน(ซ้อนกัน)อยู่หลังห้องเรียน. Nabokov โพล่งออกมาทันทีว่า "น่าจะบอกกับเธอว่า ควรขอบคุณพระเจ้าที่พวกเขาไม่ได้กำลังเปลี่ยนเป็นส้อม"
(*) Vladimir Vladimirovich Nabokov (23 April [O.S. 10 April] 1899, Saint Petersburg - 2 July 1977, Montreux) was a multilingual Russian-American novelist and short story writer. Nabokov wrote his first nine novels in Russian, then rose to international prominence as a master English prose stylist. He also made contributions to entomology and had an interest in chess problems.
ผลงาน Spooning Couple ของ Mueck ไม่ใช่ภาพของส้อมอย่างแน่นอน. และดูเหมือนว่าพวกเขาก็มิใช่ช้อนด้วยในความหมายเชิงกามวิสัย พวกเขาดูคล้ายๆ กับเครื่องใช้ในครัวที่วางเคียงกันมากกว่าที่จะดูว่าพวกเขาเป็นคนจริงๆ ที่กำลังทำรัก. Mueck ได้นำเสนอภาพความเคยชินเกี่ยวกับความรักให้กับเราในท่าของการนอนคุดคู้เคียงคู่กัน. ในผลงานประติมากรรม Dead Dad, เขาได้นำเสนอภาพความตายอันดูลึกลับให้กับเรา ในลักษณะที่ยังดูมีชีวิตหรือตายแล้ว (to be and not to be). ส่วนในภาพ Spooning Couple, เขาได้นำเสนอความลึกลับขึ้นมาอีกครั้ง นั่นคือ ช่วงเวลาของการมีเพศสัมพันธ์ที่ผ่านไปแล้วชั่วขณะ อารมณ์ความรู้สึกในที่นี้ถูกทำให้เล็กลงในสัดส่วนของรูปร่าง - ความกังวลน้อยๆ อะไรที่เราได้จากภาพนี้ หากว่าสภาวะดังกล่าว มันเป็นตัวของเราเอง ?
ปัจจุบัน Mueck ได้สร้างสรรค์ผลงานตามที่คำนวนคร่าวๆ ประมาณ 35 ชิ้น ในช่วงเวลา 9 ปี ซึ่งไม่ใช่ความล้มเหลว (เจ้าตัวเคยกล่าวไว้ในปี 2000 เกี่ยวกับแรงกดดันในความสำเร็จว่า: "คุณจะต้องทำบางสิ่งให้ดีขึ้นเรื่อยๆ บทวิจารณ์ต่างๆ หยุดยั้งการทำงานของผมไป 2 ปีเต็ม) มีเพียงงานชิ้นเดียวเท่านั้นที่ผมได้ทำขึ้นในขนาดเท่าของจริง นั่นคือรูปสุนัข: นั่นเป็นเพียงผลงานชิ้นเดียวขนาดเท่าชีวิตจริงที่ผมเคยทำ" ผมเห็นมันในรูปถ่าย ไม่ใช่ประติมากรรม สุนัขที่มีเขี้ยว ดูเป็นธรรมชาติ มันแสดงอาการคุกคาม มันมีขนาดเล็กมาก อยู่ในอาการเกรี้ยวกราด ส่วนผลงานชิ้นอื่นๆ ถ้าไม่มีขนาดเล็กกว่าของจริงก็ใหญ่กว่าของจริงไปเลย ไม่ว่าจะขนาดไหนก็ต้องใช้ความมานะพยายาม และความบากบั่นเหมือนๆ กัน
และ ในทุกๆ กรณี อารมณ์ความรู้สึกจะถูกต้องตรงตามรายละเอียดทางด้านกายภาพ. ผลงานชื่อว่า Ghost ผลงานช่วงต้นชิ้นหนึ่งที่แสดง ณ Edinburgh, เป็นที่น่าประหลาดใจ ดูเป็นงานประติมากรรมซึ่งไม่ได้แสดงความพิเศษใดๆ มันพรรณนาถึงความรู้สึกหนึ่งซึ่งไม่ค่อยจะได้หมายเหตุเอาไว้โดยตัวศิลปินว่า "ความสำนึกส่วนตัว". เป็นภาพของผู้หญิงที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าคนจริงที่อยู่ในชุดว่ายน้ำเรียบๆ และมีท่าทีออกจะงุ่มง่าม ราวกับว่าเธอเป็นโต๊ะสามขามากกว่าจะเป็นสัตว์สองเท้า ซึ่งอยู่ในสภาวะทางอารมณ์สองแบบ
สภาวะแรก, เป็นคนธรรมดาที่ดูป่วยเป็นโรค. ส่วนอีกสภาวะหนึ่ง เธอดูคล้ายผู้ลี้ภัยที่ออกจะพิลึกพิลั่น มีอาการตื่นตกใจ ส่วนแววตาแสดงความอยากรู้อยากเห็น. ขนาดรูปร่างของตัวเธอ สัดส่วน ดูเธอจะรู้สึกอะไรบางอย่างเกี่ยวกับร่างกายเธอ. ในเชิงเทคนิค ความไม่กลมกลืนกันในการรับรู้นี้ถูกเรียกว่า anosognosia (*) (อาการที่ผู้ป่วยไร้ความสามารถ อันเนื่องมาจากผลกระทบทางสมอง โดยการไม่รับรู้หรือปฏิเสธความบกพร่องของตัวเอง) มีสภาพทนทุกข์ เธอคิดว่าเธอเป็นคนที่งุ่มง่าม ไม่มีความน่าเชื่อถือ เธอเพียงป่วยและขี้อายเท่านั้น
(*) Anosognosia is a condition in which a person who suffers disability due to brain injury seems unaware of or denies the existence of his or her handicap. This may include unawareness of quite dramatic impairments, such as blindness or paralysis. It was first named by neurologist Joseph Babinski in 1914, although relatively little has been discovered about the cause of the condition since its initial identification. The word comes from the Greek words "nosos" disease and "gnosis" knowledge.
บรรดานักประวัติศาสตร์ศิลป์พยายามค้นหาที่มาที่ไปในงานศิลปะของ Mueck พวกเขาสืบเสาะถึงสิ่งต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่เขาพำนักอยู่ที่ the National Gallery - ไม่ว่าจากคำสนทนาหรือการป็นหนี้บุญสถาบันศิลปะแห่งนั้น. การไม่มีรากเดิมถูกมองในหนทางที่แปลกๆ ในฐานะหลักประกันหนึ่งของความมีคุณค่า - เนื่องมาจากบทบาทของนักประวัติศาสตร์ งานประติมากรรมของ Mueck ได้ถูกจำลองและคัดลอกอย่างพิถีพิถัน ถูกจินตนาการอย่างละเอียดลออ และถูกจัดวางองค์ประกอบอย่างเอาใจใส่ คล้ายคลึงกับผลงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่อื่นๆ ในอดีต ผลงานเหล่านี้ต่างมีส่วนร่วมปันกับรากฐานความจำเป็นทั้งหลายเหล่านี้
อีกตัวอย่างหนึ่งคือผลงานในชื่อ Pregnant Woman (2002) (ผู้หญิงอุ้มท้อง) ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงใบหน้าและเรือนร่างว่า สามารถเป็นกระจกเงาสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกให้เข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งเช่นไร ใบหน้าทำหน้าที่สะท้อนความคิด ดวงตาทั้งสองและจมูก รวมทั้งขนคิ้วคือตัวอย่างต่างๆ คล้ายจะแข่งกันล้อเลียน. คิ้วที่ยกสูงขึ้นข้างหนึ่ง รูปของจมูก รูปปากที่ปิด. ในงานวาดเส้นของ Matisse ปี ค.ศ.1914 ชื่อภาพ Elsa Glaser, "ปาก"คือ"ดวงตาอย่างหนึ่ง" สำหรับผลงานของ Mueck ใน Pregnant Woman, สายใยนี้ที่ขนานกัน ได้ถูกขยายแทรกอยู่ในลักษณะที่ซ่อนเร้น
อันดับแรก เราได้ถูกทำให้เกิดความรู้สึกถั่งโถมโดยขนาดของงานประติมากรรมชิ้นนี้ เธอมีขนาดสัดส่วนใหญ่กว่าคนจริง สูงกว่า 8 ฟุต ภาพผู้หญิงอุ้มท้องนี้เป็นบางสิ่งที่เหลือเชื่อ เกี่ยวกับกายวิภาคของเธอซึ่งศิลปินได้เตือนความทรงจำเราถึงความจริงที่คุ้นเคยเอามากๆ ขาทั้งสองของเธอปักหลั่นดั่งอนุสาวรีย์ เราคิดถึงผู้หญิงในฐานะอิตถีเพศ ละเอียดอ่อนและซับซ้อน มีบั้นเอวและสะโพกผาย. เธอเป็นเช่นนั้น เธอเป็นผู้หญิง แต่ดูแกร่งเหมือนอนุสาวรีย์ การตั้งครรภ์เผยให้เห็นถึงกระดูกเชิงกรานที่โผล่ออกมาอย่างชัดเจน
และเมื่อเราถูกเพิ่มเติมด้วยรายละเอียดต่างๆ ทำให้เกิดความรู้สึกท่วมท้นขึ้นมา ผู้ดูจะเกิดอารมณ์ความรู้สึกประหลาดใจ อันตรายจากการเพิ่มอัตราส่วน เกี่ยวกับขนาดที่ใหญ่ขึ้นคือ มันจะไม่สามารถเก็บความละเอียดละออได้มากพอทุกจุดในการเดินสำรวจไปรอบๆ พื้นที่ขนาดพิเศษนี้ นี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพื้นที่จุดบอดที่เกิดขึ้น จะโดยบังเอิญหรือไม่ก็ตาม น่องและหน้าแข้งของผู้หญิงอุ้มท้องมีลักษณะคล้ายถูกโกนขนหน้าแข้ง และมีอยู่สองจุดที่ไม่สะดุดตาเกี่ยวกับก้นของเธอ แต่พบว่ามีลักษณะผิดปกติ
แต่อย่างไรก็ตาม กล่าวได้ว่า ผลงานที่นำเสนอในที่นี้ ทั้งหมดได้บอกกับเราว่า เรากำลังเข้าไปเกี่ยวข้องกับผลงานที่มีความยิ่งใหญ่ ทั้งในเรื่องของขนาดและคุณภาพอย่างไม่มีข้อสงสัย แม้ว่าเราจะเกิดความรู้สึกประทับใจในประติมากรรมของ Ron Mueck แต่ในเวลาเดียวกัน ผลงานเหมือนจริงเหล่านี้ก็เตือนเราอยู่ตลอดเวลาว่า ในท้ายที่สุด เราซึ่งเป็นผู้ดูต่างหาก คือมนุษย์ที่มีลมหายใจจริงๆ
http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/gallery/2005/12/29/GA2005122900888_index_frames.htm?startat=1
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
บรรดาศิลปะคลาสสิก ไม่ชอบแสดงออกถึงเรื่องราวอารมณ์ความรู้สึกมากนัก ส่วนใหญ่ พวกเขามักนำเสนอความเงียบขรึมโดยธรรมชาติ หลักการและข้อจำกัดในทางศิลปะ แต่พวกสมัยใหม่นิยมกลับพยายามสืบเสาะเข้าไปในอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งยืนยันบนพื้นฐานข้อสงสัยและคลางแคลงใจร่วมกันอันหนึ่งเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ และพลังอำนาจของสิ่งที่เราทั้งหลายต่างรู้สึก - ยกตัวอย่างเช่นบรรดานักเขียนอย่าง Eliot, Joyce, Lawrence, Conrad, Camus, นักเขียนเหล่านี้ทั้งหมดต่างรู้ดีว่า เรารู้สึกน้อยกว่าเราถูกทึกทักว่ารู้สึกเสมอๆ. หรือความรู้สึกนั้นมันเป็นไปในลักษณะที่แตกต่าง หรือมันเจือปนไปด้วยความรู้สึกต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม บรรดาศิลปินสมัยใหม่นิยมรู้กันดี เช่นเดียวกันในงานวรรณกรรมสัจนิยม อารมณ์ความรู้สึกมิได้โฉ่งฉ่าง...