ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




13-12-2551 (1666)

งานแปลเกี่ยวกับความคิดศิลปกรรมหลังสมัยใหม่
ศิลปะหลังสมัยใหม่: จากศิลปะเกี่ยวเนื่อง ถึงความลับในประวัติศาสตร์
Sebastien Tayac / Rene Smith
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

แปลและเรียบเรียงจาก:
เรื่องที่หนึ่ง, Nicolas Bourriaud: From Relational Aesthetics" to "Altermodern"
เรื่องที่สอง, The Secret History

บทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

บทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้ นำมาจากบทความ ๒ ชิ้น ดังนี้
1. Nicolas Bourriaud: From Relational Aesthetics" to "Altermodern"
2. The Secret History
โดยเรื่องแรก เป็นชื่อภาษาไทยว่า: "จากสุนทรียศาสตร์เกี่ยวเนื่อง ถึง สมัยใหม่ที่เปลี่ยนไป"
ส่วนเรื่องที่สองมีชื่อภาษาไทยคือ: "ความลับในประวัติศาสตร์"
บทแปลและเรียบเรียงข้างต้น ได้รับการนำมาเน้นประเด็นสำคัญ ดังนี้
- บทบาทของงานศิลปะ ไม่ใช่โลกยูโธเปีย แต่เป็นตัวเร่งปฏิกริยาการเปลี่ยนแปลง
- คำวิจารณ์สุนทรียศาสตร์เกี่ยวเนื่อง : การไม่ยอมรับความเป็นปรปักษ์ และไม่เป็นประชาธิปไตย
- ศิลปะเกี่ยวเนื่องยังคงอยู่ในปริมณฑลของสถาบันต่างๆ แนวจารีต
- ความลับในประวัติศาสตร์ - The Secret History
- ภาพประกอบ ผลงานจิตรกรรม ๑. Amnesia ๒. Secret History
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๖๖
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๑ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

งานแปลเกี่ยวกับความคิดศิลปกรรมหลังสมัยใหม่
ศิลปะหลังสมัยใหม่: จากศิลปะเกี่ยวเนื่อง ถึงความลับในประวัติศาสตร์
Sebastien Tayac / Rene Smith
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word


1. Nicolas Bourriaud: "จากสุนทรียศาสตร์เกี่ยวเนื่อง ถึง สมัยใหม่ที่เปลี่ยนไป"
(From Relational Aesthetics" to "Altermodern")
(1)
Sebastien Tayac : เขียน

ความนำ
Nicolas Bourriaud เกิดในปี ค.ศ. 1965 ที่ประเทศฝรั่งเศส เขาเป็นภัณฑารักษ์ นักปรัชญา และนักวิจารณ์ศิลปะ. นับจากปี 1999 ถึง 2006 เขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการร่วมของ the Palais de Tokyo (2) ในปารีส กับ Jerome Sans (3). เขายังเป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการนิตยสาร Documents sur l'art (1992-2000), ผู้ร่วมก่อตั้ง La revue perpendiculaire (1995-1998) และนักข่าวของนิตยสาร Flash Art (1987-95) ในปารีสด้วย.

ในปี 2008, เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งนิตยสาร Stream กับนักวิจารณ์ศิลปะ Christophe Le Gac (Archistorm, Monographik). ในฐานะนักวิจารณ์ศิลปะ Bourriaud ได้เขียนบทวิจารณ์เกี่ยวกับนิทรรศการและศิลปะการแสดงต่างๆ ระดับนานาชาติอันมีชื่อเสียงจำนวนมาก เช่น Aperto (Venice Biennale, 1993), Traffic (Capc Bordeaux, 1995), Joint Ventures, (Basilico Gallery, New York, 1996), Touch (San Francisco Art Institute, 2002), GNS and Playlist (Palais de Tokyo, 2002 and 2003), และยังเป็นภัณฑารักษ์ร่วมของ Lyon Biennale (2005) และ Moscow Biennales (2005 and 2007) ด้วย. ในช่วงปีดังกล่าวเขายังได้เป็นภัณฑารักษ์นิทรรศการ Strates ใน Murcia (ประเทศสเปน) ซึ่งปฏิเสธที่จะได้รับการเรียกขานว่า biennale (การแสดงศิลปะที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกๆ สองปี) ซึ่งหมายความว่า ปัจจุบันมันเป็นวลีสำเร็จรูปที่อ่อนระโหยโรยแรงเต็มที สำหรับนักวิจารณ์ นิทรรศการครั้งนี้เป็นเช่นเดียวกันกับ the Playlist exhibition, ที่จัดเป็นหนึ่งในผลงานที่ดีที่สุดของเขา

เมื่อตอนที่ Bourriaud ระบุถึง ศิลปะเกี่ยวเนื่อง (Relational Art - ศิลปะสัมพันธ์) ในฐานะที่เป็นขบวนการศิลปะที่ปรากฏตัวขึ้นมา เขายังแสดงให้เห็นด้วยว่า อาชีพของเขาได้สะท้อนถึงการเจริญเติบโตของภัณฑารักษ์ ในฐานะที่มีอิทธิพลอันโดดเด่นต่อวาทกรรมศิลปะร่วมสมัยในช่วงทศวรรษที่ 1990s. แนวคิดเกี่ยวกับ"ศิลปะเกี่ยวเนื่อง"(Relational Art) โดยกว้างๆ ได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานของศิลปินร่วมสมัยจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น Jacques Lennep, Fred Forest (4) หรือ Herve Fischer (5) . Jacques Lennep ได้สร้างสรรค์ ? the CAP group?, ในปี 1972 ที่ Bruxelles. Fred Forest และ Herve Fischer ก่อตั้ง ? the collective of sociological art? ร่วมกับ Jean-Paul Thenot, ในเดือนตุลาคม 1974.

ในปี 1995, Nicolas Bourriaud ได้ประดิษฐ์ศัพท์คำว่า"สุนทรียศาสตร์เกี่ยวเนื่อง"(Relational Aesthetics - สุนทรียศาสตร์สัมพันธ์)ขึ้น ซึ่งเขาได้สรุปสาระสำคัญเอาไว้ในตัวบทของสูจิบัตรงานนิทรรศการ Traffic ที่ได้รับการนำเสนอที่ CAPC (6) พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยใน Bordeaux. Traffic, ประกอบด้วยบรรดาศิลปินที่ Bourriaud ได้กล่าวถึงอย่างต่อเนื่องตลอดทศวรรษที่ 1990s, ยกตัวอย่างเช่น Liam Gillick, Rikrit Tiravanija, Philippe Parreno, Pierre Huyghe, Carsten Holler, Christine Hill, Vanessa Beecroft, Maurizio Cattelan และ Jorge Pardo (7).

หลังจากรวบรวมเข้ากับบทความจำนวนมากของเขาในหัวข้อนี้ โดยใช้ผลงานของบรรดาศิลปินและกิจกรรมต่างๆ ของศิลปินที่ได้รับการคัดเลือก เขาได้พัฒนาความคิดเกี่ยวกับ "ศิลปะเกี่ยวเนื่อง" (Relational Art) (หรือ relationalism) ขึ้นมาในปี 1998 ในหนังสือของตนเอง Esthetique Relationnelle ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 2002 (Relational Aesthetics - สุนทรียศาสตร์เกี่ยวเนื่อง).

บทบาทของงานศิลปะ ไม่ใช่โลกยูโธเปีย แต่เป็นตัวเร่งปฏิกริยาการเปลี่ยนแปลง
Bourriaud ได้อ้างถึง "บทบาทของผลงานศิลปะว่า มันไม่ได้ทำหน้าที่สร้างจินตนาการความจริงในลักษณะยูโธเปียอีกต่อไปแล้ว อันที่จริง มันเป็นวิถีทางของการดำรงอยู่ และแบบจำลองเชิงปฏิบัติในความจริงที่ดำรงอยู่ ในสเกลต่างๆ ที่ถูกเลือกสรรโดยตัวศิลปิน (the role of artworks is no longer to form imaginary and utopian realities, but to actually be ways of living and models of action within the existing real, whatever scale chosen by the artist.)(8) "ในศิลปะเกี่ยวเนื่อง ศิลปินมิได้เป็นศูนย์กลางอีกต่อไปแล้ว, ไม่ได้เป็นจิตวิญญานของผู้สร้าง, ไม่ได้เป็นปรมาจารย์หรือแม้กระทั่งคนที่มีชื่อเสียง. อันที่จริง บรรดาศิลปินทั้งหลายคือตัวเร่งปฏิกริยาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากกว่า (the catalysts).

ความคิดของ Bourriaud โดยสรุปอย่างสั้นๆ ก็คือ ศิลปินจำนวนมากในช่วงทศวรรษที่ 1990s สามารถได้รับการอธิบายได้ว่า ทำงานภายในขอบเขตของความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างกัน โดยไม่คำนึงถึงการแสดงออกและเนื้อหา. เขาอรรถาธิบายถึงแกนทางแนวคิดศิลปะโดยศิลปินเหล่านี้ ในฐานะสิ่งมีชีวิตซึ่งมีการแลกเปลี่ยนกันทางสังคมมากกว่าการเป็นตัวแทนแสดงออกหนึ่งๆ. "ศิลปะเกี่ยวเนื่อง" (Relational Art) ได้ถูกนิยามโดย Nicolas Bourriaud ในฐานะ "ชุดหนึ่งของปฏิบัติการทางศิลปะ ซึ่งเข้าใจว่าประเด็นทางทฤษฎีและปฏิบัติของพวกเขาเดินออกมาจาก"สัมพันธภาพมนุษย์ทั้งหมดและบริบททางสังคมของพวกเขา" ค่อนข้างมากกว่าจะเป็น"พื้นที่อิสระและเป็นส่วนตัว". ผลงานศิลปะได้สรรค์สร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมอันหนึ่งขึ้นมา ที่ผู้คนได้มาร่วมกัน มามีส่วนร่วมปันในกิจกรรมของกันและกัน. "ผลงานศิลปะถูกตัดสินอยู่บนแท่นฐานความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ที่พวกเขาแสดง ผลิต หรือให้การสนับสนุน (10)

ในปี 2002, Bourriaud ได้ทำหน้าที่ภัณฑารักษ์นิทรรศการงานหนึ่ง ณ สถาบันศิลปะซาน ฟรานซิสโก ชื่อว่า Touch: Relational Art from the 1990s to Now "an exploration of the interactive works of a new generation of artists". (สัมผัส: ศิลปะเกี่ยวเนื่อง จากทศวรรษ 1990s จนถึงปัจจุบัน "การสำรวจเกี่ยวกับผลงานร่วมกันของศิลปินรุ่นใหม่) ศิลปินที่ร่วมแสดงอยู่ในนิทรรศการครั้งนี้ ประกอบด้วย Angela Bulloch, Liam Gillick, Felix Gonzalez-Torres, Jens Haaning, Philippe Parreno, Gillian Wearing และ Andrea Zittel.

ในปีเดียวกัน เขาได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ Postproduction. Culture as Screenplay: How Art Reprograms the World (หลังการผลิต. วัฒนธรรมในฐานะบทภาพยนตร์: ศิลปะได้โปรแกรมโลกใบนี้ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง อย่างไร). หนังสือเล่มนี้อ้างว่า บรรดาศิลปินร่วมสมัยจำนวนมากสามารถได้รับการนำไปเปรียบเทียบได้กับโปรแกรมเมอร์ทางคอมพิวเตอร์, หรือ DJs: พวกเขาได้น้อมนำเราไปสู่ผลผลิตทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ก่อนแล้ว และผสมผสานมันขึ้นมาใหม่เพื่อผลิตความหมายทางวัฒนธรรมใหม่ๆ. ผู้เขียนสนทนาถึงว่า นับจากช่วงต้นของยุคเก้าสิบ ผลงานศิลปะซึ่งมีจำนวนมากขึ้นกว่าที่เคยได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นบนพื้นฐานของผลงานต่างๆ ที่มีอยู่ก่อน: ศิลปินทั้งหลายตีความมันเพิ่มเติม มีการผลิตซ้ำ นำออกแสดงครั้งแล้วครั้งเล่า และใช้ผลงานต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นโดยคนอื่น หรือผลผลิตทางวัฒนธรรมที่สามารถหาได้. ศิลปะนี้เกี่ยวกับ"หลังผลผลิต"(postproduction) ดูเหมือนว่าจะตอบสนองต่อความสับสนอลหม่านที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของวัฒนธรรมโลกในยุคข่าวสารข้อมูล ที่ได้ถูกทำให้มีคุณลักษณ์พิเศษขึ้นมา โดยการเพิ่มเติมในด้านอุปทานของผลงาน(supply of works) และสิ่งที่ผนวกเข้ามาในโลกศิลปะของรูปทรงต่างๆ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้รับการเมินเฉยหรือได้รับการปฏิบัติด้วยการดูถูกเหยียดหยาม แม้กระทั่งปัจจุบัน

นักวิจารณ์ Chris Cobb (9) เสนอว่า งานศิลปะภายใต้ชื่อ "snapshot" ของ Bourriaud ในช่วงทศวรรษที่ 1990s เป็นการยืนยันถึงคำว่า "ศิลปะเกี่ยวเนื่อง"(Relational Art - ศิลปะสัมพันธ์), ขณะที่ได้แสดงออกถึง"รูปแบบที่แตกต่างของการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ในฐานะศิลปะที่เกี่ยวข้องโดยพื้นฐานกับประเด็นปัญหาต่างๆ ซึ่งเกี่ยวพันกับพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัว ("different forms of social interaction as art that deal fundamentally with issues regarding public and private space.")

นักเขียนและผู้อำนวยการ Ben Lewis (10) กล่าวว่า"ศิลปะเกี่ยวเนื่อง"คือ"ลัทธิใหม่"(the new "ism"), ในลักษณะอะนาล็อกหรือต่อเนื่องเป็นลำดับจาก"ลัทธิศิลปะต่างๆ ก่อนหน้า อย่างเช่น ลัทธิอิมเพรสชั่นนิสม์, เอ็กเพรสชั่นนิสม์ และคิวบิสม์. Lewis ได้ค้นพบความคล้ายคลึงต่างๆ เป็นจำนวนมากระหว่าง"ศิลปะเกี่ยวเนื่อง" และ"ลัทธิต่างๆ" ณ จุดเริ่มต้นของพวกมัน กล่าวคือ "ศิลปะเกี่ยวเนื่อง" มักจะไม่ได้รับการพิจารณาในฐานะศิลปะแต่อย่างใด เพราะว่ามันได้นิยามหรือให้คำจำกัดความใหม่เกี่ยวกับแนวคิดศิลปะนั่นเอง (it redefines the concept of art.)

Claire Bishop (11) ระบุถึงหนังสือของ Bourriaud ว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญเล่มหนึ่ง ซึ่งบ่งชี้ถึงแนวโน้มต่างๆ ในศิลปกรรมร่วมสมัย. และดังคำกล่าวของ Bourriaud ง่ายๆ ที่ว่า บรรดาศิลปินทั้งหลายทุกวันนี้ "ดูเหมือนว่ากำลังกดดันเพื่อสร้างความสัมพันธ์ต่างๆ ที่เป็นไปได้กับเพื่อนบ้านทั้งหลายของเราในปัจจุบัน มากกว่าที่จะพนันขันต่อถึงวันพรุ่งนี้ที่มีความสุขกว่า"(12). แต่อย่างไรก็ตาม Bishop ยังได้ตั้งคำถามว่า "ถ้า"ศิลปะเกี่ยวเนื่อง"ได้สร้างความสัมพันธ์ของมนุษย์ หากเป็นเช่นนั้น คำถามในเชิงตรรกต่อมาก็คือ แบบฉบับชนิดไหนของความสัมพันธ์ที่กำลังจะได้รับการสร้างขึ้นมา และทำเพื่อใคร และทำไปทำไม ?"

คำวิจารณ์สุนทรียศาสตร์เกี่ยวเนื่อง : การไม่ยอมรับความเป็นปรปักษ์ และไม่เป็นประชาธิปไตย
เธอยังกล่าวต่อไปว่า "ความสัมพันธ์ต่างๆ ได้รับการเริ่มต้นขึ้นจาก"สุนทรียศาสตร์เกี่ยวเนื่อง" ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้ว ไม่ได้เป็นประชาธิปไตย ดังที่ Bourriaud เสนอ. Bishop ยืนยันว่า ความคิดของ Bourriaud ในสุนทรียศาสตร์เกี่ยวเนื่อง"(Relational Aesthetics) เกี่ยวกับ the Microtopia, ไม่ยอมรับความเป็นไปได้เกี่ยวกับความเป็นปรปักษ์. Bishop ได้ใช้ความคิดของ Chantel Mouffe ในเรื่องประชาธิปไตยแบบถกเถียงเอาชนะ เพื่อให้เหตุผลถึงผลงานต่างๆ เกี่ยวกับบรรดาศิลปินแนววิพากษ์ ที่ถูกเพิกเฉยหรือไม่ได้รับความเอาใจใส่อย่างชัดเจนจาก Bourriaud ในเรื่อง"สุนทรียศาสตร์เกี่ยวเนื่อง" (Relational Aesthetics) และ "หลังผลผลิต"(Postproduction) : Santiago Sierra และ Thomas Hirschorn (12)

ศิลปะเกี่ยวเนื่องยังคงอยู่ในปริมณฑลของสถาบันต่างๆ แนวจารีต
ในเชิงผกผัน ตัวอย่างศิลปินและกิจกรรมจำนวนมากของ Bourriaud นับจากช่วงกลางจนถึงปลาย 1990s ยังคงอยู่ในอาณาเขตหรือปริมณฑลของสถาบันต่างๆ แนวจารีตของศิลปะ (พิพิธภัณฑ์, ศูนย์การแสดงต่างๆ เป็นอาทิ) ทั้งๆ ที่เจตจำนงของพวกเขา ก็เพื่อวิจารณ์และแสดงข้อคิดเห็น และ/หรือ ฝ่าทะลุพรมแดนต่างๆ ที่ได้รับการนิยามทางสังคมเหล่านี้เกี่ยวกับเรื่องพื้นที่. ยิ่งไปกว่านั้น "ศิลปะเกี่ยวเนื่อง"ทุกวันนี้ ปรากฏตัวขึ้นจากผลกระทบอันลึกซึ้งและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของเทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆ. เทคโนโลยีสามารถนำพาเราไปสู่พื้นที่ซึ่งอาศัยอยู่โดยบุคคลนิรนาม, ผู้คนต่างๆ ที่ไร้สำนึกทางจิตวิญญาน - ความดี ความชั่ว ความน่าเกลียด - แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาเป็นบุคคลที่เราสามารถเกี่ยวข้องด้วยได้โดยผ่านเทคโนโลยีนี้

ปัจจุบัน ในฐานะศัพท์คำหนึ่ง"ศิลปะเกี่ยวเนื่อง"(Relational Art - ศิลปะสัมพันธ์) กลายเป็นที่ยอมรับมากกว่า"สุนทรียศาสตร์เกี่ยวเนื่อง"(Relational Aesthetics - สุนทรียศาสตร์สัมพันธ์) โดยโลกศิลปะ. ดังตัวอย่าง วิทยาลัยศิลปะของมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก ได้เชื่อมโยงโครงการวิจิตรศิลป์กับความคิดเกี่ยวกับ"ศิลปะเกี่ยวเนื่อง"

ในเดือนพฤษภาคม 2007, Bourriaud ได้รับการเสนอชื่อ ณ the Tate Britain ในฐานะภัณฑารักษ์ของ the fourth Tate Triennial ในลอนดอน (3 กุมภาพันธ์ 2009 - 26 พฤษภาคม 2009). The fourth Tate Triennial จะสำรวจถึงคำว่า "สมัยใหม่"(modern) มีความหมายว่าอย่างไรในปัจจุบัน ซึ่งกำลังอยู่ในท่ามกลางยุควัฒนธรรมโลกา(globalised culture)ของต้นคริสตศตวรรษที่ 21. เขาได้นำเสนอแนวความคิดใหม่ Altermodern (สมัยใหม่ที่เปลี่ยนไป) ซึ่งเขาใช้เพื่ออธิบายถึงงานศิลปะที่ถูกสร้างขึ้นในบริบทสังคมโลกทุกวันนี้ ที่เป็นปฏิกริยาหนึ่งซึ่งมีต่อความเป็นมาตรฐานและลัทธิพาณิชยนิยม. ชุดหนึ่งของบทนำหรืออารัมภบท (เหตุการณ์ต่างๆ วันเดียว) ที่กำลังเกิดขึ้นหรือถูกหยิบยกในรายการโชว์ ทั้งนี้เพื่อนำเสนอและปลุกเร้าให้เกิดการถกเถียงในแนวเรื่องของ Triennial นี้. แต่ละบทนำ ประกอบด้วย ภาพยนตร์, การแสดง และการพูดคุย และพยายามที่จะนิยามให้แจ่มชัดขึ้น ถึงแต่ละด้านของมุมมองทั้งสี่เกี่ยวกับ"สมัยใหม่ที่เปลี่ยนไป"(Altermodern) นั่นคือ

- วาระสุดท้ายของลัทธิหลังสมัยใหม่ (the end of postmodernism)
- การทำให้มีการผสมผสานกันทางวัฒนธรรม (cultural hybridization)
- การเดินทางในฐานะช่องทางใหม่ในการผลิตรูปแบบต่างๆ (travelling as a new way to produce forms) และ
- แบบแผนที่ขยายตัวออกไปของศิลปะ (the expanding formats of art)

ในการเขียนอัตชีวประวัติขนาดสั้นเกี่ยวกับ Nicolas Bourriaud, Claire Bishop ได้ตบท้ายคำอธิบายเกี่ยวกับตัวเขาด้วยคำพูดที่ว่า "บางทีจะเป็นการเหมาะควรแล้วที่ว่า งานเขียนของเขาได้กล่าวอย่างชัดถ้อยชัดคำถึงการมาบรรจบกันของ "ปฏิบัติการทางศิลปะ" กับ "บทบาทความเป็นสื่อกลางของภัณฑารักษ์" - ส่วนผสมใหม่ในเชิงสัมพันธ์ ซึ่งเท่ากับความดีเลิศ" (13)

เชิงอรรถ

(1) Relational Aesthetics and Altermodern are two concepts created by Nicolas Bourriaud.

(2) The Palais de Tokyo is a contemporary art museum in Paris, France. This museum, an art deco building that dates from 1937, reopened in 2001 after new interior design by French architects Anne Lacaton and Jean-Philippe Vassal. The idea is to have no permanent collections, but to let experimental artists have somewhere in central Paris to express themselves, hence an opening full of "installation" and "interactive" art. In "Antagonism and Relational Aesthetics", published in 2004 in October, Claire Bishop describes the aesthetic of Palais de Tokyo as a "laboratory", the "curatorial modus operandi" of art produced in the 1990s.


(3) Jerome Sans is known for rethinking the curatorial practice and approach, first as an independent curator, then as a creator of a new model of institution, such as the world acclaimed Palais de Tokyo in Paris that he co-founded and directed until January 2006. Appointed as the Ullens Center for Contemporary Art Director in March 2008, Jerome Sans is leading the institution towards new territories. UCCA is a non-profit, comprehensive art center founded in Beijing by collectors Guy and Myriam Ullens in November 2007. UCCA presents exhibitions of established and emerging artists and develops a trusted platform to share knowledge through education and research.

(4) Fred Forest (born July 6, 1933) is a French new media artist making use of text, photography, video, installation, the internet and other objects from media networks.

(5) Herve Fischer was born in Paris, France in 1941. He is an artist, sociologist and philosopher.

(6) The CAPC museum of contemporary art is a museum of international reputation, at the heart of the Chartrons district of Bordeaux, in an old colonial warehouse. This year it celebrates its 35th Years.

(7) Bishop, Claire, Antagonism and Relational Aesthetics, p 54-55.

(8) Bourriaud, Nicolas, Relational Aesthetics , p.13

(9) Chris Cobb is also an artist and writer based in San Francisco.

(10) Award-winning writer and director Ben Lewis, a self-confessed "art geek", takes an off-beat tour around the fringes of contemporary art. While all eyes in Nineties Britain focused on our own Young British Artists, a different global art movement was evolving. The leading French critic Nicolas Bourriaud, described it as 'Relational Art'. Armed with Bourriaud's book Relational Aesthetics, Ben goes in search of what he hopes might be a new 'ism'. But trouble lies ahead: many of the artists whose reputations were advanced by Bourriaud's exhibitions and writings, refuse to be interviewed, deny they are relational, or once interviewed, try to ban Art Safari from showing their work.

(11) Claire Bishop is associate Professor in the Department of History of Art at Warwick University, and visiting Professor in the Curating Contemporary Art department at the Royal College of Art of London. Claire was also an art critic for the London Evening Standard (2000-2002) and regularly contributes to art magazines, including Artforum, October and Tate Etc.

(12) Bishop, Claire, ?Antagonism and Relational

เกี่ยวกับผู้เขียน: Sebastien Tayac ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษอยู่ที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

2. ความลับในประวัติศาสตร์ - The Secret History
Rene Smith : เขียน
www.renesmith.net ([email protected])


"ความลับในประวัติศาสตร์"(The Secret History) ได้ถูกนำมาใช้เป็นชื่อนวนิยายขายดีเมื่อเร็วๆ นี้ของ Donna Tartt (*) ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการฆาตกรรมและพฤติกรรมที่ผิดศีลธรรม ณ วิทยาลัยเล็กๆ แห่งหนึ่งในเวอร์มอนท์. เดิมทีมันเป็นชื่อของหนังสือเล่มหนึ่งที่เขียนโดย Procopius (**) นักประวัติศาสตร์คนสุดท้ายของโลกโบราณ และเจ้าหน้าที่อาลักษณ์ของราชสำนักแห่งกษัตริย์จัสติเนียนและธีโอเดรา ทั้งคู่เป็นผู้ปกครองจักรวรรดิโรมันในราวคริสตศตวรรษที่ 6. สำหรับหนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องราวส่วนตัวที่ไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการให้มีการเปิดเผย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระจักรพรรดิและพระมเหสีของพระองค์ - หนังสือดังกล่าวได้ทำการสำรวจลึกลงไปในรายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ที่มีมลทินและด่างพร้อยซึ่งดำเนินคู่ขนานกันไปกับประวัติศาสตร์ที่เป็นทางการ

(*) Donna Tartt (born December 23, 1963) is an American writer who received critical acclaim for her two novels, The Secret History (1992) and The Little Friend (2002). Tartt was the 2003 winner of the WH Smith Literary Award for The Little Friend. The daughter of Don and Taylor Tartt, she was born in Greenwood, Mississippi but raised 32 miles away in Grenada, Mississippi. At age five, she wrote her first poem, and she first saw publication in a Mississippi literary review when she was 13 years old.

(**)Procopius of Caesarea (c. 500 - c. 565) was a prominent Eastern Roman scholar of the family Procopius. A participant himself in the wars of the Emperor Justinian I, he was the major historian of the 6th century, writing the Wars of Justinian, the Buildings of Justinian and the celebrated Secret History. He is commonly held to be the last major historian of the ancient world.

ในส่วนเนื้องานผลงานจิตรกรรมของดิฉันเมื่อเร็วๆ นี้ ได้นำเอาชื่อเรื่อง"ความลับในประวัติศาสตร์"(The Secret History)มาใช้อีกครั้ง เพื่อน้อมนำเรากลับไปสู่ความหมายที่ Procoppius ตั้งใจ - นั่นคือ เรื่องราวเกี่ยวกับชั่วขณะส่วนตัวที่พร้อมไปกับการสร้างประวัติศาสตร์ขึ้นมา และคงเป็นสิ่งที่ยังคลุมเครือในตัวมันเอง

งานศิลปะชุดนี้ซึ่งมีทั้งภาพจิตรกรรม งานวาดเส้น และภาพถ่ายได้ทำการสำรวจลึกลงไปในแง่มุมต่างๆ ที่ซ่อนเร้นอยู่ใต้ผิวหน้า และความใกล้ชิดต่างๆ ที่ถูกถักทอเข้ากับประวัติศาสตร์และภาพประวัติศาสตร์. ผลงานของดิฉันเป็นการอ้างอิงถึงภาพที่เป็นทางการ เช่นเดียวกับภาพถ่ายส่วนตัวจากห้วงเวลาที่แตกต่างของประวัติศาสตร์ซึ่งได้รับการสถาปนาขึ้น. โครงการนี้ยังอยู่ในระยะเริ่มแรก และได้รับการวางพื้นฐานอยู่บนแหล่งข้อมูลและเนื้อหา 2 กลุ่มเมื่อเร็วๆ นี้

กลุ่มแรก, นำมาจากไฟล์ภาพถ่าย(ย้อนอดีต)นับไม่ถ้วนในช่วงทศวรรษ 1950 ซึ่งเป็นของสมาชิกต่างๆ ในครอบครัวผู้ที่ถึงแก่กรรมด้วยโรคเอดส์ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 ภาพเหล่านี้เป็นภาพเกี่ยวกับการลาพักร้อน หรือช่วงปิดเทอมที่ถูกหลงลืม และห้องหับอันว่างเปล่า ซึ่งเน้นที่ช่วงขณะของคนธรรมดา ความงดงามส่วนตัวที่ถูกทำให้หดหายไปด้วยโรคดังกล่าว. ในนิวยอร์ค เราต่างจดจำได้อย่างชัดเจนถึงความสำเร็จของบรรดาศิลปินที่มีพรสวรรค์ ซึ่งต่างประสบกับเคราะห์กรรมด้วยโรคเอดส์ แต่ผู้คนธรรมดา ชีวิตอันงดงามของสามัญชนทั้งหลายกลับมิได้ถูกจดจำไว้

amnesia 2

กลุ่มที่สอง, แหล่งข้อมูลและเนื้อหากลุ่มนี้นำมาจากภาพถ่ายประวัติศาสตร์ของทหารที่ตายในสงคราม. ในงานจิตรกรรมเหล่านี้ดิฉันได้สร้างภาพทหารต่างๆ ใหญ่กว่าชีวิตจริง เนื้อตัวของพวกเขาอ่อนนุ่มและอมสีชมพู การระบายสีเช่นนี้ก็เพื่อจะทำให้ความตายของปัจเจกชนเหล่านี้ดูเหนือไปกว่าความเป็นจริง และต้องการเน้นถึงความต่อเนื่องและความคล้ายคลึงของความตายเหล่านี้ซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลา

Secret History

ในสหรัฐอเมริกา เราแทบไม่เคยเห็นภาพของผู้บาดเจ็บหรือล้มตายของทหารและพลเรือนเหล่านี้ในสื่อต่างๆ เลย. เมื่อเราต้องไปรบในสงครามอิรัก รัฐบาลได้สนับสนุนความคิดให้กับชนอเมริกันว่า นี่เป็นสงครามที่มีความรุนแรงน้อยมาก และแทบปราศจากความโหดร้ายใดๆ. แน่นอน สงครามอิรัก และสงครามอื่นๆ ทั้งหมด มีศูนย์กลางของมันอยู่ที่การทำลายร้างชีวิตมนุษย์. เป็นเรื่องสำคัญที่จะระลึกและจดจำสิ่งเหล่านี้ดังที่มันเป็น. ผลงานจิตรกรรมเหล่านี้ไกลจากชีวิตความเป็นอยู่ แต่เป็นภาพที่สร้างความวุ่นวายปั่นป่วนมากที่สุดจากสงครามต่างๆ - แทนที่ดิฉันจะเลือกสรรภาพต่างๆ ที่ผู้ดูสามารถรู้สึกได้ถึงความเป็นมนุษย์เกี่ยวกับความตาย ดิฉันกลับถอยกลับไปสู่ภาพฉากของเลือดที่หลั่งรินและความรุนแรง

ดังที่ชุดงานเขียนนี้ได้พัฒนาขึ้น ดิฉันยังจะทำอย่างต่อเนื่องจากแหล่งต้นตอข้อมูลเหล่านี้และอื่นๆ เพื่อสร้างสรรค์กลุ่มความสัมพันธ์อย่างหลวมๆ ของภาพต่างๆ ซึ่งความหมายของมันได้ถูกแปรเปลี่ยนและขยายความผ่านความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับงานจิตรกรรมอื่นๆ และผลงานวาดเส้นในชุดนี้. ทั้งหมดของผลงานจะถูกนำไปเชื่อมโยงกับภาพสะท้อนของมันที่มีต่อชั่วขณะของปัจเจกชน หรือประสบการณ์ส่วนตัวที่สัมพันธ์ร้อยรัด และถักทอเข้ากับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เกี่ยวกับผู้เขียน: Rene Smith ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษอยู่ที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Rene Smith was born in Philadelphia and received her M.F.A. in Painting from Tyler School of Art in Philadelphia and Rome and her B.A. in Painting from Bennington College in Vermont. She has recently shown her work at The Chiang Mai University Art Museum in Thailand, Aljira Contemporary Art Center in New Jersey, Deiglan Gallery in Akureyri, Iceland, The Brooklyn Arts Council in New York, Project Diversity Queens at KoreaVillage in New York, and The Courthouse Gallery at Anthology Film Archives in New York. She has attended residencies at the Gil-Society in Iceland and Vermont Studio Center, and was a visiting artist at Eastern Oregon University in Fall 2007. Her work was featured in the 2007 northeastern edition of New American Paintings and she is a recipient of a 2007 grant from The George Sugarman Foundation. Rene Smith is currently a Visiting Lecturer in Painting at Chiang Mai University in Thailand. She is also based in Long Island City, Queens, New York.

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๑ : Release date 13 December 2008 : Copyleft MNU.

เนื้องานผลงานจิตรกรรมของดิฉันเมื่อเร็วๆนี้ได้นำเอาเรื่อง"ความลับในประวัติศาสตร์"(The Secret History)มาใช้อีกครั้ง เพื่อน้อม นำเรากลับไปสู่ความหมายที่ Procoppius ตั้งใจ - นั่นคือ เรื่องราวเกี่ยวกับชั่วขณะส่วนตัว ที่พร้อมไปกับการสร้างประวัติศาสตร์ขึ้นมา และคงเป็นสิ่งที่ยังคลุมเครือในตัวมันเอง งานศิลปะชุดนี้ซึ่งมีทั้งภาพจิตรกรรม งานวาดเส้น และภาพถ่ายได้ทำการสำรวจลึกลงไปในแง่มุมต่างๆ ที่ซ่อนเร้นอยู่ใต้ผิวหน้า และความใกล้ชิดต่างๆ ที่ถูกถักทอเข้ากับประวัติศาสตร์ และภาพประวัติศาสตร์. ผลงานของดิฉันเป็นการอ้างอิงถึงภาพที่เป็นทางการ เช่นเดียวกับภาพถ่ายส่วนตัวจากห้วงเวลาที่แตกต่างของประวัติศาสตร์ซึ่งได้รับการสถาปนาขึ้น. โครงการนี้ยังอยู่ในระยะเริ่มแรก และวางพื้นฐานอยู่บนแหล่งข้อมูล ๒ กลุ่ม

H