ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




25-08-2551 (1647)

Reinventing Geography: An Interview with the Editors of New Left Review
David Harvey: บทสัมภาษณ์จากบรรณาธิการนิตยสารซ้ายใหม่ (ตอน ๒)
ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ : แปลและเรียบเรียง
คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (นักแปล-โครงการสื่อเพื่อสิทธิมนุษยชน)
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ
สื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

บทแปลบนหน้าเว็บเพจนี้ นำมาจากต้นฉบับเรื่อง
Reinventing Geography:
An Interview with the Editors of New Left Review By David Harvey

ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์ถึงชีวประวัติบางช่วงตอน และความเป็นมาของหนังสือเล่มสำคัญ
ที่สะท้อนถึงพัฒนาการทางความคิดของ David Harvey ในเรื่องเกี่ยวกับภูมิศาสตร์การเมือง
คำถามที่สำคัญในที่นี้ สะท้อนถึงแนวคิดภูมิศาสตร์การเมืองในแบบสหวิทยาการ ซึ่งสัมพันธ์กับ
แนวคิดเศรษฐศาสตร์ การเมืองและสังคม โดยเฉพาะผู้ถูกสัมภาษณ์มีความสนใจในคำอธิบาย
และการวิพากษ์ทุนนิยมของตามคิดมาร์กซ์ ซึ่งเขาได้นำมาเป็นองค์ประกอบในการอธิบายความ
เปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิศาสตร์ มากกว่าที่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๔๗
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๕ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Reinventing Geography: An Interview with the Editors of New Left Review
David Harvey: บทสัมภาษณ์จากบรรณาธิการนิตยสารซ้ายใหม่ (ตอน ๒)
ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ : แปลและเรียบเรียง
คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (นักแปล-โครงการสื่อเพื่อสิทธิมนุษยชน)
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

ผมว่าสิ่งที่เป็นอุปสรรคในเชิงลึกที่จะยอมรับงานเขียนของคุณคือ ความคิดที่นักนิยมมาร์กซิสต์มีต่อแนวคิดของภูมิศาสตร์ เพราะพวกเขามักจะมองว่ามันเป็นศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากพื้นฐานทางธรรมชาติ การปรับเปลี่ยนมุมมอง และแนวคิดที่มีต่อขอบเขตทางพื้นที่ ซึ่งทำให้เกิดความลำบากในการยอมรับจากพวกเขา ข้อเสนอหลักของแนวคิดวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์เป็นการลดทอนโครงสร้างที่มีความเกี่ยวข้องยึดโยงกันไม่เป็นอิสระของตำแหน่งแห่งที่ต่างๆ ซึ่งพวกเขาไม่เคยคิดและคำนึงถึงมิติดังกล่าว

สิ่งที่น่าสนใจในงานทฤษฏีที่คุณเขียนใน "ข้อจำกัดต่างๆ ต่อเรื่องทุนนิยม" (The Limits to Capital) ในมุมหนึ่งคือการพิจารณาอย่างละเอียดต่อแนวคิดที่กลายเป็นประเพณีอย่างต่อเนื่อง มันนำเสนอการพัฒนาอย่างสวยงามต่อโครงสร้างที่ลดรูป แต่ในขณะเดียวกันมันก็นำเอาความสำคัญเรื่องที่ว่างเข้ามาสู่เรื่องทางโครงสร้างในฐานะองค์ประกอบที่ไม่สามารถลดทอนได้ แนวคิดนี้ค่อนข้างใหม่ การแบ่งประเภทที่ไม่นำเสนอถึงความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ของ ทุนนิยม ทำให้เกิดการกระตุ้นความคิดทั้งด้านประวัติศาสตร์และความเป็นธรรมชาติของพื้นที่ การผสมผสานและผนวกรวมเข้าด้วยกันก่อให้เกิดการคาดการณ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น

จุดกำเนิดเบื้องต้นเกี่ยวกับความคิดความต้องการของผมแล้ว ต้องการที่จะนำเอาการค้นหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปในพื้นที่ของกระบวนการที่ก่อให้เกิดเมืองขึ้นในงานเขียนเรื่อง "ข้อจำกัดต่างๆ ต่อเรื่องทุนนิยม" (The Limits to Capital) แต่มันกลายเป็นโครงการขนาดใหญ่ สุดท้ายผมเลยจำเป็นต้องแบ่งแยกโครงการดังกล่าวออกเป็นสองส่วน เกี่ยวกับการเขียนซึ่งปรากฏในปี 1985 "จิตสำนึกและประสบการณ์ในเมืองใหญ่" (Consciousness and the Urban Experience) และ "กระบวนการที่ก่อให้เกิดความเป็นเมืองของระบบทุนนิยม" (The Urbanization of Capital) มีข้อมูลบางส่วนในนั้นที่ผมได้เขียนเอาไว้ก่อนหน้าหนังสือ ข้อจำกัด (Limits) ด้วยซ้ำ ในปี 1976-1977 ผมได้ใช้เวลาหนึ่งปีที่กรุงปารีส เพื่อที่จะต้องการเรียนรู้จากการถกเถียงของกลุ่มมาร์กซิสต์ฝรั่งเศส โดยเฉพาะเมื่อผมติดขัดในงานเขียน ข้อจำกัด (Limits) แต่มันไม่ได้คลี่คลายออกมาอย่างที่ผมคาดเอาไว้ ถ้าจะให้ผมพูดความจริง ผมว่ากลุ่มนักคิดฝรั่วเศสค่อนข้างอหังการ์ โอ้อวด ไม่สามารถที่จะรองรับคนที่มาจากทวีปอเมริกาเหนือได้ ผมรู้สึกถึงความเห็นอกเห็นใจเมื่อ เอ็ดวาร์ด ทอมส์สัน (Edward Thompson) ออกหนังสือที่มีชื่อเสียงของเขาในการโต้แย้งกับ อัลทูแซร์ (Althusser) ในสองสามปีถัดมา

ในอีกมุมหนึ่งผมคงจะต้องกล่าวถึง คาสเทล (Castells) ผู้ซึ่งไม่ได้อยู่ในกลุ่มคนที่มีชื่อเสียง แต่เขาเป็นคนที่อบอุ่นมากและช่วยเหลือผมเป็นอย่างมาก และอีกทั้งกลุ่มนักสังคมวิทยาที่สนใจเรื่องเกี่ยวกับเมืองอีกหลายคน ดังนั้นผมคิดว่าการที่ผมใช้เวลาในปารีสช่วงนั้นไม่ได้เป็นการเสียเวลาแต่อย่างใด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก เพราะผมได้กลายเป็นส่วนหนึ่งมากขึ้นมากขึ้นที่สนใจปารีสในฐานะเมืองๆ หนึ่ง มันเป็นเสมือนการผจญภัยที่สนุกสนานกับแนวคิดในเรื่องของการผลิตซ้ำ เมื่อผมได้กลับไปฝรั่งเศสอีกครั้งในช่วงของความยิ่งใหญ่ครั้งที่สองของปารีส แนวคิดเรื่องเมืองกลายเป็นประเด็นที่ผมสนใจมากที่สุด และนั่นจึงกลายมาเป็นบทความขนาดยาวที่แบ่งออกเป็นสองส่วน สิ่งที่ผมสนใจคือ จะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดที่กรอบทฤษฏีที่ผมสนใจใน "ข้อจำกัดต่างๆ ต่อเรื่องทุนนิยมนิยม" จะสามารถปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ในสถานการณ์จริง

มันดูเหมือนว่าจะมีการเตรียมการต่อการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของคุณเพื่อตระเตรียมงาน เงื่อนไขของหลังสมัยใหม่ (The Condition of Postmodernity) น่าจะประมาณกลางๆ ของปี 1980 ซึ่งเป็นช่วงที่เสาอากาศของคุณเริ่มที่จะมีการบิดเบียวนิดหน่อย เริ่มมีการพูดถึง ความเป็นหลังสมัยใหม่ แต่อะไรคือจุดที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้

แรงกระตุ้นแรกๆ ของผมคือความไม่อดทน เพราะในตอนนั้นจู่ๆ ทุกคนต่างพูดถึงความเป็นหลังสมัยใหม่นิยมในฐานะหมวดหมู่ของสิ่งที่จะทำให้เข้าใจความเป็นไปของโลก เป็นการปรับย้ายตำแหน่งแห่งที่และการลดทอนอำนาจของระบบทุนนิยม ดังนั้นผมคิดว่า ในเมื่อผมเขียน "ข้อจำกัดต่างๆ ต่อเรื่องทุนนิยม" ผมได้ทำการบ้านรวบรวมข้อมูลมากมายจากการเขียนถึงปารีสในความรุ่งโรจน์ครั้งที่สอง ผมรู้หลายอย่างเกี่ยวกับจุดกำเนิดของสมัยใหม่นิยม และรู้อะไรหลายอย่างจากกระบวนการการกลายเป็นเมือง ซึ่งผมเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเสมือนวัตถุดิบที่ดีต่อการกระจายตัว ดังนั้นทำไมผมไม่นั่งและผลิตงานในลักษณะนั้นออกมาบ้างล่ะ

ผลที่เกิดขึ้นเป็นหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งผมคิดว่าง่ายที่สุดในงานเขียนของผม ผมใช้เวลาประมาณหนึ่งปีในการเขียน ไม่มีปัญหากลัดกลุ้มต่างๆ แต่อย่างใด และเมื่อผมได้ผลิตมันเสร็จ การตอบสนองของผมจำเป็นต้องมีความละเอียดอ่อนมากยิ่งขึ้น ผมไม่คิดว่าจะปฎิเสธแนวคิดที่เกี่ยวกับความเป็นหลังสมัยใหม่ ในทางตรงกันข้าม ผมกลับมองว่าแนวคิดดังกล่าว พุ่งออกไปได้ในหลายทิศทางซึ่งน่าสนใจและน่าจะให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ ในทางตรงกันข้าม สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เป็นสิ่งที่เรายอมจำนนต่อความฟุ้งเฟ้อ และการพูดถึงแนวคิดดังกล่าวที่เกิดขึ้นอยู่รอบๆ แนวคิดนี้มากจนเกินไป

หนังสือเล่มดังกล่าวเป็นเสมือนการนำเอาศาสตร์หลายๆ อย่าง ความสนใจหลายๆ ด้าน มาบูรณาการเข้าด้วยกันในแนวทางที่น่าสนใจมาก ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามองในฐานะของการนำเอาตรรกะเข้ามาร่วมจากแนวคิดเรื่องเกี่ยวกับเมือง ในมุมมองที่ค่อนข้างเป็นประเพณีอย่างเช่นการพัฒนาเมืองใหม่ของบัลติมอร์ ที่นำเสนอสองประเด็นหลักๆ อันเป็นประเด็นในการต่อต้านมุมมองของหลังสมัยใหม่นิยมที่ไม่ได้ผ่านการคิดพิจารณาอย่างถ่องแท้ ในฐานะผลลัพธ์ของการเสื่อมสลายของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่นิยม ซึ่งเป็นข้อโต้แย้งหลักๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น ซึ่งเป็นส่วนผสมของคำพูดของ จาคอบและเจงส์ (Jacobs and Jencks) นั่นคือ ความเป็นสมัยใหม่ก่อให้เกิดการล่มสลายของเมืองของเรา ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่ไม่ได้สนใจความเป็นมนุษย์ในการออกแบบวางผังเมือง ความน่าเบื่อหน่ายของการออกแบบ ในทางตรงกันข้าม แนวคิดแบบหลังสมัยใหม่นิยม ให้ความสนใจต่อคุณค่าของความเป็นเมืองในฐานะที่เกิดขึ้นมาเอง มีความโกลาหล และมีความหลากหลายของรูปแบบต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นในงานออกแบบสถาปัตยกรรม

สิ่งที่คุณทำคือการแทนที่การอ้างของคนทั้งสอง ที่ชี้ให้เห็นว่ามันไม่ใช่การพุ่งโจมตีแต่เฉพาะแนวคิดของการวางผังที่ส่งผลให้เกิดการผลิตการพัฒนาที่น่าเกลียด แต่กระบวนการที่เกิดขึ้นกับนักวางผังหรือการยอมจำนนต่อการควบคุมทางการตลาด ส่งผลต่อการวางและการกำหนดขอบเขตต่างๆ ของเนื้อเมือง ในความเข้าใจว่าเป็นข้อแม้ของสมัยใหม่นิยม ในขณะที่ความหลากหลายที่เกิดขึ้นกับรูปแบบกลับเป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยี ซึ่งเอื้อให้เกิดการใช้วัสดุใหม่ๆ ภายใต้รูปทรงและรูปร่างใหม่ ซึ่งคลี่คลายและปรากฏให้เห็นความงามในรูปแบบใหม่ๆ

ใช่ ผมคิดว่ามันมีความสำคัญมากทีเดียวที่จะต้องแสดงให้เห็นว่า ข้อโต้แย้งที่เป็นไปในทางเดียวกันที่เกิดขึ้นจากรูปแบบของงานสถาปัตยกรรมหรือความคิดแบบซื่อๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกันของเหล่านักหลังสมัยใหม่นิยม เป็นสิ่งที่หรือเป็นคำพูดที่คนในกลุ่มนั้นกระหาย ผมยังมีความต้องการที่จะชี้ให้เห็นและทำให้เข้าใจว่า ทำไมรูปแบบลักษณะเหล่านี้ถึงได้มีอำนาจอย่างมากในการที่จะอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น สิ่งจำเป็นคือคุณจะต้องหันกลับไปมองที่การเคลื่อนไหวและความเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ ซึ่งนั่นทำให้ผมได้เข้าไปเรียนรู้จากกลุ่มทฤษฏีที่มีชื่อเสียงมาก

Regulation School ในฝรั่งเศส เป็นแนวคิดที่ว่า อะไรคือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบความสัมพันธ์ระหว่างทุนนิยมและแรงงาน และระหว่างทุนนิยมด้วยกันเองตั้งแต่ต้นปี 1970 ยกตัวอย่างเช่น เราจะสามารถพูดถึงยุคใหม่ของ "การสะสมที่ยืดหยุ่น" (Flexible Accumulation) ซึ่งตั้งอยู่บนฐานคิดของตลาดแรงงานในปัจจุบัน ใช่หรือไม่ว่าเราสามารถมองเห็นวัตถุดิบพื้นฐานของความหลากหลายในเนื้อเมืองรอบๆ ตัวเรา นักคิดในสำนักกำหนดกฎเกณฑ์ (Regulationists) นี้ ทำให้ผมได้คิดถึงการมุ่งมองให้ตรงประเด็น โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในค่าจ้างและการจ้างงาน การเข้าใจในกระบวนการจ้างงาน บางคนสามารถมองเห็นประเด็นเหล่านี้ได้ แต่ไม่ใช่แนวคิดที่ว่า ระบบทุนนิยมโดยตัวมันเองแล้ว เกิดการถูกกระทำให้เปลี่ยนรูปด้วย สิ่งเหล่านี้กำลังนำเสนอว่าในช่วงก่อนหน้าทางประวัติศาสตร์

แนวคิดการประกอบสร้างแบบฟอร์ด (Fordism) ได้เปิดทางให้เกิด "การสะสมที่มีการยืดหยุ่น" (Flexible Accumulation) ซึ่งบางครั้งเกิดขึ้นที่โน่นบ้างที่นี่บ้าง ในระดับท้องถิ่นบ้าง ชั่วครั้งชั่วคราวบ้าง แต่เราไม่สามารถพูดได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ สำหรับแนวคิดแบบฟอร์ดแล้วมันเป็นการอธิบายถึงปรากฏการณ์ในขอบเขตที่กว้างใหญ่ในระบบอุตสาหกรรมทั้งระบบ ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว จะไม่สามารถทำให้คงอยู่ได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เลย. ในบัลติมอร์ ในที่ที่โรงงานถลุงเหล็ก Bethlehem Steel เคยจ้างงานถึง 30,000 อัตรา แต่ในปัจจุบันนี้มีการผลิตเหล็กในปริมาณที่เท่ากันแต่ใช้คนงานน้อยกว่า 5,000 คน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าถึงแม้ในระบบการจ้างงานในแนวคิดแบบฟอร์ดเดิมก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน

การเพิ่มขึ้นของการลดขนาดองค์กร การแผ่ขยายตัวของการจ้างงานชั่วคราวในกลุ่มที่ไม่อิงอยู่กับระบบฟอร์ดเดิม ได้ก่อให้เกิดข้อแม้ใหม่ๆ ของสังคม ก่อให้เกิดการเลื่อนไหลและอัตลักษณ์ที่ไม่มั่นคงมีการปรับเปลี่ยนได้เสมอ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ก่อให้เกิดสิ่งซึ่งเรียกว่า ความเป็นหลังสมัยใหม่ แต่นั่นคือเรื่องเพียงด้านเดียว เพราะจริงๆ แล้วการได้มาซึ่งผลประโยชน์และกำไรมีหลากหลายวิธี วิธีไหนสามารถก่อให้เกิดการเพิ่มคุณค่า มันกลายเป็นการทดลองต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดการ "การรวบรวมที่มีการเปลี่ยนแปลงได้" แต่อย่างไรก็ตามมันก็มีความพิเศษบางอย่างที่เป็นข้อจำกัดของกระบวนการดังกล่าว ลองคิดดูว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นต่อการประสานงานร่วมกันในสังคม ถ้าทุกคนกลายเป็นแรงงานชั่วคราวกันหมด อะไรจะเป็นผลที่จะตามมาสำหรับชีวิตในเมืองและความมั่นคงในระบบ เราคงได้เห็นแล้วสำหรับผลกระทบที่ก่อให้เกิดความเสียหายสำหรับการเติบโตไปในทางนี้ การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นสากล จะก่อให้เกิดความลักลั่นและอันตรายสำหรับความมั่นคงของระบบทุนนิยม ในฐานะโครงสร้างหรือกฏเกณฑ์ทางสังคม

ที่คุณกล่าวมาเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง ทุนนิยมและแรงงาน แล้วสำหรับความสัมพันธ์ระหว่าง ทุนนิยมและทุนนิยมล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น

สิ่งที่เราพบเห็นคือ ความไม่สมดุลย์ในอำนาจของรัฐ รัฐ-ชาติยังคงเป็นพื้นฐานของการควบคุมดูแลกฎเกณฑ์ของการจ้างงาน แนวคิดที่ว่า จะมีความบางเบาลงหรือเกิดการหายไปของอำนาจในการควบคุม เมื่อเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตรนั้นผมคิดว่าเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างไม่ฉลาด ในความเป็นจริงแล้ว มันเป็นการหลอกล่อให้เกิดการเบี่ยงเบนจุดสนใจว่ารัฐชาติเองในปัจจุบันนี้ มีความต้องการเป็นอย่างมากที่จะสร้างให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการลงทุน นั่นคือเป็นความหมายถึงการควบคุมและการกดขี่การเคลื่อนไหวของตลาดแรงงานในทุกๆ ทาง เช่น การลดค่าจ้างแรงงานในระดับสังคม การปรับย้ายกลุ่มคนอพยพย้ายถิ่น ฯลฯ รัฐสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้เป็นอย่างดีในขอบเขตของความสัมพันธ์ระหว่างทุนนิยมและแรงงาน

แต่เมื่อเราหันไปดูความสัมพันธ์ระหว่างทุนนิยมด้วยกันเองแล้ว ภาพที่เกิดขึ้นค่อนข้างมีความแตกต่าง ในภาพนั้นรัฐจะสูญเสียอำนาจในการควบคุมกลไกทางด้านกำหนดจุดยืนและการแข่งขัน ดังเช่นการเคลื่อนไหวของการเงินโลก ได้เข้ามาครอบงำกฎกติกาทางการเงินในระดับชาติ ข้อโต้แย้งหนึ่งของผมใน "เงื่อนไขของความเป็นหลังสมัยใหม่" (The Condition of Postmodernity) คือ เนื้อหาอย่างหนึ่งของการเกิดขึ้นของระบบทุนนิยมในปี 1970 ที่ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของการปรับเปลี่ยนของตลาดแรงงาน ดังเช่นการที่มีแหล่งเงินที่ไม่เปิดเผยที่มาของเงินทุนโลก ที่เกิดจากโครงข่ายของวัตถุดิบการผลิต การโตขึ้นอย่างผิดปกติของการเงิน ซึ่งกลายเป็นพื้นฐานของประสบการณ์หลังโครงสร้างนิยมและการใช้ภาพตัวแทนของมัน การมีอยู่ทั่วไปและการไม่แน่นอนของเม็ดเงินในฐานะพื้นฐานที่ยากจะเข้าใจต่อการมีตัวตนในช่วงเวลาดังกล่าว นั่นคือกุญแจสำคัญของเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้

"เงื่อนไขของความเป็นหลังสมัยใหม่" (The Condition of Postmodernity) แท้จริงแล้วเป็นเหมือนการเดินตามรอยของซาร์ต (Sartre) สำหรับการปรับปรุงแนวคิดมาร์กซิสต์อย่างใกล้เคียงมาก สำหรับซาร์ตแล้วการปรับปรุงนี้ คือความจำเป็นที่จะต้องหลอมละลายการวิเคราะห์ในเชิงโครงสร้างเข้ากับการบทบาทของประสบการณ์ส่วนตัว และการกำหนดใช้ภาพตัวแทนของมัน การหลอมละลายนี้เพื่อให้ทั้งสองส่วนผสานเข้ามาด้วยกันให้อยู่ในความเป็นเอกภาพหนึ่งเดียว นั่นถือว่าเป็นคำอธิบายที่ดีของสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ อะไรคือสิ่งที่คุณคิดว่าเป็นจุดสำคัญที่สุดของหนังสือเล่มนี้

"เงื่อนไขของความเป็นหลังสมัยใหม่" (The Condition of Postmodernity) ถือว่าเป็นงานที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของผมที่ได้ตีพิมพ์ มันสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้อ่านขนาดใหญ่ ซึ่งกลุ่มนี้ถือว่าใหญ่กว่ากลุ่มของคนอ่านหนังสือของผมหลายๆ เล่มรวมกัน เมื่อหนังสือเข้าสู่กลุ่มผู้อ่านที่แตกต่างกัน ได้สะท้อนให้เห็นสิ่งที่กลุ่มแต่ละกลุ่มได้รับจากหนังสือนี้แตกต่างกันไป สำหรับตัวผมเองแล้ว สิ่งที่ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมสำคัญของหนังสือเล่มนี้คือในส่วนที่เป็นบทสรุป เป็นส่วนที่ผมได้ทำการสำรวจประสบการณ์ของคนแต่ละคนที่มีต่อหลังสมัยใหม่ ในลักษณะที่พวกเขาใช้ชีวิต จินตนาการ กาละเทศะที่แตกต่างกันไป ซึ่งมีชื่อของส่วนนี้ว่า "การควบแน่นของกาละเทศะ" (Time-Space Compression) ซึ่งผมมองปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายๆ มุมในบทสุดท้ายนี้ อันนี้ผมถือว่าเป็นจุดสำคัญที่สุดของหนังสือเล่มดังกล่าว

"เงื่อนไขของความเป็นหลังสมัยใหม่" (The Condition of Postmodernity) ตีพิมพ์ออกมาในปี 1989 สองปีก่อนหน้านี้ คุณได้ย้ายจากบัลติมอร์ไปอ๊อกฟอร์ด อะไรที่ทำให้คุณต้องเดินทางกลับไปที่อังกฤษอย่างเร่งด่วน

ผมรู้สึกว่าการทำงานของผมมีการขับเคลื่อนค่อนข้างมากที่บัลติมอร์ในช่วงเวลานั้น ดังนั้นเมื่อผมถูกถามว่าสนใจที่จะรับตำแหน่งเป็นประธานของ Mackinder ที่อ๊อกฟอร์ดไหม? ผมยินดีเป็นอย่างมากที่จะได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป ผมมีความอยากรู้ว่ามันจะเป็นอย่างไร ผมอยู่ที่อ๊อกฟอร์ดประมาณหกปีแต่ผมได้ทำการสอนที่ ฮอบกินส์ (Hopkins) ไปด้วยในเวลาเดียวกัน สำหรับในสายอาชีพของผมแล้ว ถือว่าผมค่อนข้างหัวเก่าเมื่อเทียบกับคนอื่นๆ ในแวดวงวิชาการ ผมมีความจงรักภักดีต่อจุดที่ผมยืน ในอ๊อกฟอร์ดผู้คนมักจะปฎิบัติกับผมเหมือนว่าผมเพิ่งจะย้ายมากจากแคมบริสต์ (Cambridge) ซึ่งจริงๆ แล้วผมย้ายออกมาจากที่นั่นตั้งแต่ปี 1960 แล้ว เหมือนว่ายี่สิบเจ็ดปีที่ผ่านมาแค่เป็นเวลาที่ใช้ในการนั่งรอในห้องนั่งเล่น ก่อนที่ผมจะกลับมาที่อ๊อกฟอร์ดนั้นมันทำให้ผมแทบบ้า ผมมีรากเหง้าที่ชัดเจนสำหรับวัฒนธรรมอังกฤษซึ่งเป็นสิ่งที่ผมภูมิใจทุกวันนี้ เมื่อผมเดินทางกลับไปที่ชนบทในย่านเคนติสท์ (Kentish Countryside) ที่ๆ ผมเคยขี่รถจักรยาน ผมยังคงรู้ทิศทางต่างๆ เหมือนอย่างหลังมือผมของผมเอง ในความคิดที่ว่าผมได้เอานิ้วเท้าของผมฝังจมลงไปในเนื้อดินบ้านเกิด มันมีความเที่ยงแท้ที่ผมไม่ต้องการที่จะปฎิเสธมัน แต่มันก็มีสิ่งอื่นๆ ที่สนับสนุมผมให้ไปผจญภัยในที่อื่นๆ เช่นกัน

ดูเหมือนว่าจะมีความหลากหลายในรายการหนังสืออ้างอิงในงานเขียนของคุณ ความยุติธรรม ธรรมชาติ และภูมิศาสตร์ของความแตกต่าง (Justice, Nature and the Geography of Difference) ไฮเดเกอร์และไวท์เฮด (Heidegger and Whitehead) กลายเป็นคนที่มีความสำคัญมากกว่า แฮมเพลหรือคาแนบ (Hempel or Carnap) มันปรากฏถึงความหลากหลายที่ปรากฏอยู่ในงานเขียน อะไรคือจุดมุ่งหมายหลักของคุณสำหรับสิ่งนี้

ความสอดคล้องกันมีน้อยมากสำหรับงานเขียนของผม ในบางครั้งมันมีความพิเศษที่เกิดจากการขาดความสอดคล้อง เพราะผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ การเปิดโอกาสให้ความเป็นไปได้อันหลากหลายที่สามารถเกิดขึ้นได้ สิ่งที่ผมอยากจะทำจริงๆ แล้วคือ การนำเอาแนวคิดพื้นฐานของภูมิศาสตร์ เช่น ที่ว่าง พื้นที่ เวลา สิ่งแวดล้อม และแสดงให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นศูนย์กลางของความเข้าใจเชิงประวัติศาสตร์และเชิงวัตถุของโลก หรือในอีกความหมายหนึ่ง ผมต้องคิดถึงวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์และเชิงภูมิศาสตร์ และเราจำเป็นต้องมีแนวคิดวิภาษวิธีสำหรับความคิดเหล่านี้ ในสามบทสุดท้ายของหนังสืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นตัวอย่างสำหรับผลที่อาจจะเกิดขึ้น เนื้อหาของภูมิศาสตร์ยังคงถูกนำเสนออย่างสม่ำเสมอ มันมีความจำเป็นในการนำเสนอเชิงวัตถุต่อแนวคิดด้านประวัติศาสตร์ แต่มันไม่เคยถูกคลี่คลายอย่างเป็นระบบ ผมต้องการที่จะชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นดังกล่าว ถึงแม้ว่ามันอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่อย่างน้อยที่สุดผมก็ได้ลองทำแล้ว

จุดยืนหนึ่งของหนังสือของคุณคือ การเข้าไปมีส่วนในเชิงวิพากษ์กับแนวคิดนิเวศวิทยาแบบสุดโต่ง คุณได้เตือนเพื่อต่อต้านความหายนะเชิงสภาพแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นกับฝ่ายซ้าย เราควรจะมองงานของคุณในฐานะเดียวกันกับทฤษฏีทางเศรษฐกิจแบบ Zusammembruch ของแนวคิดนิยมมาร์กซิสต์แบบเก่าหรือไม่

แท้จริงแล้วมีข้อถกเถียงที่ดีที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดย จอห์น เบลลามี ฟอสเตอร์ (John Bellamy Foster) ในนิตยสาร Monthly Review ซึ่งนำเสนอประเด็นนี้อย่างเรียบง่ายตรงไปตรงมา ผมรู้สึกเห็นใจเป็นอย่างมากต่อข้อโต้แย้งหลายๆ ข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้น แต่จากประสบการณ์การทำงานของผมในภาควิชาวิศวกรรมทำให้ผมได้รับแนวคิดในการหาทางออกในเชิงปฎิบัติ ซึ่งทำให้ผมกลายเป็นทางออกเป็นเสมือนผู้พยากรณ์ และแม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะมาจากคำพูดของนักวิทยาศาสตร์บางคน ผมใช้เวลาเป็นอย่างมากที่จะพยายามชักชวนให้วิศวกรหลายคนได้ยอมรับว่า ความรู้ซึ่งรวมถึงความรู้ในเชิงเทคนิคก็ยังเป็นความรู้ที่ถูกสร้างขึ้นมาทางสังคม แต่เมื่อผมทำการโต้แย้งกับคนจากสายมนุษย์ศาสตร์ ผมกลับกลายเป็นคนที่จะต้องชี้ประเด็นให้พวกเขาเห็นว่า เมื่อท่อทิ้งของเสียของคุณเกิดอุดตัน คุณไม่ได้โทรหานักทฤษฏีหลังสมัยใหม่นิยม แต่คุณโทรเรียกวิศวกร ดังเช่นที่มันเกิดขึ้นเพราะในภาควิชาที่ทำงานอยู่ด้วย เป็นภาควิชาที่มีแนวคิดที่สร้างสรรค์เป็นอย่างมากสำหรับระบบท่อทิ้งของเสียนี้ ดังนั้นผมจึงเหมือนอยู่ในบริเวณขอบเขตของทั้งสองวัฒนธรรม

บทที่ว่าด้วยวิภาษวิธีใน ความยุติธรรม ธรรมชาติ และภูมิศาสตร์ของความแตกต่าง (Justice, Nature and the Geography of Difference) ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อที่จะพยายามทำการอธิบายต่อวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายถึงความลึกลับที่เกิดขึ้นมาว่ามีความเกี่ยวกับอะไร? อันนี้จึงเป็นเหตุที่ว่า ทำไมงานเขียนชิ้นดังกล่าวจึงสนใจในกระบวนการทางธรรมชาติมากกว่าทางปรัชญา ถ้าผมได้ทำการสอนวิภาษวิธีในวิชาด้านมนุษย์ศาสตร์ แน่นอนว่าผมจะต้องสอนเกี่ยวกับแนวคิดของเฮเกล (Hegel) แต่ผมก็จะพูดเกี่ยวกับวิศวกรรม ซึ่งจะดูมีเหตุผลเป็นอย่างมากที่จะต้องอ้างอิงถึง ไวท์เฮดหรือโบล์มหรือโลวันติน (Whitehead or Bohm or Lewontin) คนเหล่านี้เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความคุ้นเคยต่อกิจกรรมที่เกิดขึ้นทางวิทยาศาสตร์ สิ่งนี้จะทำให้ข้อถกเถียงในเรื่องเกี่ยวกับวิภาษวิธีแตกต่างออกไป เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งคุ้นเคยเช่นในลักษณะของหลักปรัชญาต่างๆ

ในประเด็นหลักอื่นๆ ในหนังสือเล่มนี้ และแน่นอนว่ามันปรากฏในชื่อหนังสือ คือแนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรม แน่นอน สิ่งนี้ไม่ใช่แนวคิดที่ได้รับจากแนวคิดเชิงประเพณีของมาร์กซิสต์ที่สืบต่อกันมา. ในเชิงประวัติศาสตร์แล้ว มันเป็นความจริงที่ว่าเรื่องความไม่ยุติธรรมมีพลังอย่างมาก ถ้าความหลากหลายทางวัฒนธรรมเกิดเป็นไปได้ ซึ่งจะนำไปสู่การปฎิวัติทางสังคม ดังเช่นที่ บาร์ริงตัน มัวร์ (Barrington Moore) และอีกหลายๆ คนได้เคยพูดเอาไว้ มันดูเหมือนว่าจะไม่มีการเรียกร้องในเชิงทฤษฏีแต่อย่างใดเพื่อต้องการเข้าใจถึงสิทธิและความยุติธรรม โดยเฉพาะในช่วงสมัยใหม่ มีความพยายามอย่างมากมายที่จะก่อให้เกิดการตระหนักถึงสิ่งนี้ แต่บ่อยครั้งก็ไม่ประสบความสำเร็จ มาร์กซ์ (Marx) ตามมาด้วยเบนแทม (Bentham) ซึ่งทฤษฏีของพวกเขากำลังจะเหี่ยวเฉา ทำไมคุณถึงคิดว่าความรู้สึกคัดค้านนี้ ควรที่จะกลายเป็นสิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นๆ

มาร์กซ์มีปฎิกิริยาต่อต้านความคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมทางสังคม เพราะว่าเขาเห็นว่ามันคือความพยายามในระดับขั้นของการแก้ไขต่อปัญหาที่อยู่ในระบบการผลิต การจัดสรรการกระจายตัวของรายได้กันใหม่ภายในระบบทุนนิยม สามารถทำได้แค่การบรรเทาของปัญหาเท่านั้น ทางออกคือการปรับเปลี่ยนระบบการผลิต มันมีแรงขับเคลื่อนที่สูงในการต่อต้านและขัดขืนนี้ แต่เมื่อมาคิดถึงเรื่องนี้ ผมกลับมีความขับข้องใจสำหรับสิ่งที่มาร์กซ์ได้เขียนไว้ ในบทแทรกที่มีชื่อเสียงของเขาใน Grundrisse ที่ว่าการผลิต การแลกเปลี่ยน การกระจาย และการบริโภคคือการเคลื่อนไหวของทุกส่วนภายในเอกภาพเดียวกัน แต่ละส่วนประกอบเป็นภาพรวมทั้งหมด สำหรับผมแล้วมันดูเหมือนว่าเป็นการยากที่จะพูดถึงการเคลื่อนไหวในแบบอื่นๆ โดยปราศจากการอ้างถึงแนวคิดที่เกี่ยวกับความยุติธรรม หรือในอีกความหมายหนึ่งคือ พูดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระจายในรูปแบบใหม่ๆ ของการปรับเปลี่ยนระบบการผลิต

ผมไม่อยากที่จะล้มเลิกความคิดที่ว่า พื้นฐานหลักของความคิดนี้ก็คือ"การปรับเปลี่ยน"นี่แหละ แต่ถ้าคุณยึดติดอยู่กับมันเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ให้ความสนใจต่อสิ่งที่เรียกว่าโลกของการบริโภค โลกของการกระจายผลผลิต และโลกของการแลกเปลี่ยนแล้วละก็ คุณกำลังพลาดในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับแรงขับเคลื่อนทางการเมืองของความคิดนี้ ดังนั้นผมคิดว่าแนวคิดของผมคือ การนำเสนอแนวคิดเรื่องความยุติธรรมอีกครั้ง แต่ไม่ใช่นำเสนอ ณ ตรงที่จุดมุ่งหมายพื้นฐานเดิมในการปรับเปลี่ยนระบบการผลิต แน่นอนว่าในการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตพื้นฐานนั้น เป็นผลงานอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นของประชาธิปไตยทางสังคม (Social Democracy) หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่าสังคมนิยมเชิงการกระจาย (Distributive Socialism) ในประเทศแถบสแนกดิเนเวีย ถึงแม้สิ่งที่เกิดขึ้นนี้มีข้อจำกัดแต่ก็ก่อให้เกิดผลลัพธ์มากมายเช่นกัน ในท้ายที่สุดแล้วมันฟังดูแล้วเป็นเหมือนกลยุทธ์ของทางฝ่ายซ้ายที่จะอ้างถึงเรื่องเกี่ยวกับความยุติธรรม และสิทธิซึ่งผมได้นำเสนอในหนังสือเล่มล่าสุดของผม "ที่ว่างของความหวัง" (Spaces of Hope) ถ้ามีความขัดแย้งหลักในอุดมการณ์ของเหล่าชนชั้นกลางในโลกปัจจุบันนี้ มันจะอยู่ในประเด็นเรื่องของสิทธินั่นเอง

ผมมีความประทับใจมากเมื่อหันมองย้อนกลับไปในการประกาศสิทธิมนุษยชนของยูเอ็น (UN Declaration Rights) ในปี 1948 ในประเด็นที่ 21 - 24 ที่ว่าด้วยสิทธิของแรงงาน คุณลองถามตัวของคุณดูสิว่า โลกที่เราอยู่ทุกวันนี้ มันจะเปลี่ยนไปแค่ไหนถ้าประเด็นเรื่องนี้จะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ แทนที่จะถูกทำให้เกิดการละเมิดของกลุ่มประเทศผู้มีอำนาจทุนนิยม ถ้ามาร์กซ์ละทิ้งแนวคิดเรื่องเกี่ยวกับสิทธิ แนวคิดของเขาก็จะสูญเสียอำนาจที่จะก่อให้เกิดการขัดแย้งขึ้น

คุณสามารถที่จะมีรายการบัญชีหางว่าวที่เกี่ยวกับสิทธิทางสังคม สิ่งเหล่านั้นนั่งรอคอยคุณอยู่แล้วเป็นสิ่งที่พยายามจะอ้างถึงสิทธินั้นมามากกว่า 50 ปี แต่สิ่งที่เกิดขึ้น ดูเหมือนทำให้มองไม่เห็นถึงความแตกต่าง สิทธิเป็นแนวคิดเชิงสถาบันที่มีความเบาบาง ใครก็ได้สามารถที่จะประดิษฐ์มันขึ้นมาเพื่อที่จะตอบสนองต่อความพึงพอใจของแต่ละคน สิ่งที่พวกเขาแสดงให้เห็นคือความสนใจ และความสนใจนี้ที่ก่อให้เกิดเป็นประดิษฐ์กรรมที่มีพลังในการครอบงำ สุดท้ายอะไรเล่าที่ถูกทำให้เข้าใจอย่างทั่วกันว่านั้นคือสิทธิมนุษยชน ภายหลังจากอิสรภาพในการแสดงความคิดเห็น การแสดงออกกันทุกวันนี้ สิทธิต่อการครอบครองกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ทุกๆ คนควรจะได้อิสรภาพเพื่อที่จะได้เป็นกำไรต่อความสามารถพิเศษของพวกเขาเอง เพื่อที่จะโอนย้ายผลผลิตของแรงงานที่ตัวเองทำได้ไปสู่รุ่นต่อไปโดยปราศจากการเข้ามาแทรกแซงจากคนอื่น สิ่งเหล่านี้มันเป็นสิทธิที่ไม่สามารถโอนย้ายหรือถ่ายเทกกันได้ ทำไมเราถึงมีความคิดและจินตนาการไปว่า สิทธิต่อสุขภาพและต่อการจ้างงานเป็นเพียงแค่ภาพลวงตา ในความหมายนี้ ใช่หรือไม่ว่ามันไม่มีวาทกรรมของสิทธิ แต่กลับมีความขัดแย้งอยู่เต็มไปหมดภายในโครงสร้างอันว่างเปล่านี้

ไม่ มันไม่ใช่ความว่างเปล่าแต่ทว่ากับเต็มล้น แต่มันเต็มไปด้วยอะไรล่ะ สิ่งนั้นคือแนวคิดของชนชั้นกลางที่เกี่ยวกับสิทธิที่มาร์กซ์ได้พยายามพูดถึงมัน ข้อเสนอแนะของผมคือ เราสามารถที่จะเติมเต็มมันได้ด้วยสิ่งอื่น เช่น แนวคิดของนักสังคมนิยมที่เกี่ยวกับสิทธิ โครงสร้างทางการเมืองนี้จำเป็นที่จะต้องปรับจุดหมายปลายทางให้ตรงกัน อยู่ในทิศทางเดียวกัน เพื่อที่จะสามารถต่อสู้กับศัตรูคู่ตรงข้ามได้ และความรู้สึกถึงพลังและการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นจากสิทธิที่มีทางเป็นไปได้ที่เอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังเช่นที่ศัตรูไม่สามารถบุกเข้ามาในขอบเขตพื้นที่นี้ได้ ถ้าองค์กรดังเช่น Amnesty International ซึ่งทำงานอย่างมากเกี่ยวกับสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมืองผลักดันสิทธิในเชิงเศรษฐกิจด้วยอย่างต่อเนื่อง โลกของเราจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทุกวันนี้ ดังนั้น ผมคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญมากทีเดียว ที่แนวคิดประเพณีนิยมแบบมาร์กซิสต์นั้นจะต้องมีการสื่อสารกับภาษาทางด้านสิทธิ ซึ่งเป็นศูนย์กลางแห่งชัยชนะด้านข้อโต้แย้งทางการเมืองของโลกทุกวันนี้ ให้การเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นการตอบสนองต่อแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน

ในบทแรกจากหนังสือเล่มใหม่ของคุณ "ที่ว่างของความหวัง" (Spaces of Hope) "ความแตกต่างเกิดขึ้นจากรุ่นสู่รุ่น" ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณสร้างสถานการณ์ความแตกต่างให้เกิดขึ้นกับกลุ่มคนอ่านของคุณใน ทุนนิยม (Capital) ในช่วงต้นปี 1970 กับกลุ่มที่นำมาเปรียบเทียบกันวันนี้ แล้วคุณก็เน้นว่า มันมีความจำเป็นที่จะต้องมีความพยายามเป็นอย่างมากที่จะเชื่อมโยงกลุ่มทฤษฏีเชิงนามธรรมที่เกี่ยวกับระบบการผลิตกับโลกในความเป็นจริงในชีวิตประจำวันภายนอก ที่ซึ่คุณกล่าวว่า โลกของความเป็นจริงภายนอกนี้เป็นการตระหนักถึงความสำคัญของเลนิน (Lenin) มากกว่ามาร์กซ์ (Marx) ที่ได้ทำการยึดโยงเอากลุ่มทฤษฏีเชิงนามธรรมดังกล่าวเอาไว้ ดังเช่นที่กลุ่มต่อต้านจักรวรรดินิยมและการเคลื่อนไหวปฎิวัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก

ในทางตรงกันข้ามในช่วงปี 1990 แทบจะไม่มีหรือมีก็น้อยมากสำหรับการปฎิวัติที่สร้างความปั่นป่วนจากฝ่ายซ้าย ไม่มีหัวข้อข่าวปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ มีแต่เรื่องของเศรษฐกิจ ข่าวของธุรกิจใหญ่ๆ ราคาหุ้นที่เข้ามาครอบงำข่าวอย่างต่อเนื่อง ดังเช่นการอ่านข้อความอ้างอิงโดยตรงจาก "ทฤษฏีอันหลากหลายของมูลค่าเพิ่ม" (Theories of Surplus Value) อ่านสิ่งที่คุณได้เขียนเอาไว้ตอนท้ายของบทความที่คุณได้วิพากษ์วิจารณ์การใช้คติพจน์ของ กรัมซี่ (Gramsci) มากเกินไป ดังที่เขียนไว้ว่า "มองโลกในแง่ดีของความตั้งใจ มองโลกในแง่ร้ายของความฉลาดเฉลียว" เป็นการโต้แย้งให้เห็นถึงมุมมองที่ดีของความฉลาดเฉลียวเหมือนกัน บทสรุปดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยถูกผลักดันมากนัก มันเหมือนจะลงตัวของมันเองอย่างเป็นธรรมชาติ แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของคุณ สิ่งที่นำเสนอคือประสบการณ์คอมมิวนิสต์ทั้งหมด ที่ได้คลี่คลายตัวเองผ่านพื้นที่หนึ่งในสามของพื้นที่โลกจากสายตาของคุณ ที่ไม่ใช่ทั้งคนที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์และไม่ใช่คนที่นิยมชมชอบคอมมิวนิสต์ แต่คุณได้พัฒนาความคิดของคุณเอง ก่อให้เกิดเป็นแนวคิดนิยมมาร์กซิสต์ในเชิงสร้างสรรค์ ในขณะที่ได้ข้ามผ่านสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดในเวลาเดียวกัน ถ้าการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและความคาดหวังที่มีอยู่คือเบื้องหลังของการมองโลกในแง่ร้ายของฝั่งซ้าย สิ่งนี้ถือได้ว่าเป็นตรรกะที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบอะไรต่อคุณ แต่ก่อให้เกิดคำถามว่า คุณสามารถที่จะหลีกเลี่ยงที่จะไม่คิดถึงวัตถุขนาดใหญ่ [การล่มสลายของสหภาพโซเวียต] นี้ ที่วางขว้างเอาไว้ที่เส้นขอบฟ้าได้อย่างไร

บางส่วนของคำตอบนี้คือเหตุการณ์ สำหรับตัวผมเองแล้ว ผมไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ของสหภาพโซเวียต และถึงแม้ที่จริงแล้วผมมีความสนใจในประเทศจีน แต่ผมก็ไม่ได้มีส่วนเข้าร่วมอะไรกับประเทศนี้เลย แต่ถ้าในความบังเอิญแล้ว มันมีบางส่วนที่สามารถอ้างอิงได้เหมือนกัน มาร์กซ์คือจุดหมายแรกและสิ่งที่มาร์กซ์เขียนคือ การวิพากษ์วิจารณ์ระบบทุนนิยม มีบางอย่างที่เกิดขึ้นมาจากคำวิพากษ์วิจารณ์นั้น ผมสนใจมากกว่าที่จะนำเอาคำวิพากษ์วิจารณ์นั้นมาปรับใช้และมองหาความเป็นไปได้อื่นๆ ในที่อื่นๆ เช่นในเมืองบัลติมอร์หรืออ๊อกฟอร์ด หรือที่ใดก็ตามที่ผมได้ไปอยู่ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของความนิยมชมชอบในความมีลักษณะเฉพาะ ในมุมหนึ่ง ผมพัฒนาทฤษฏีทั่วไป แต่ในอีกมุมหนึ่ง ผมมีความจำเป็นที่จะต้องรู้สึกถึงความเป็นไปเกี่ยวกับการหยั่งรากลึกนี้ในพื้นที่ของผมเอง

แนวคิดมาร์กซิสต์นี้ หลักๆ แล้ว มักจะเข้าใจว่าเกี่ยวกับสหภาพโซเวียตและประเทศจีน และสิ่งที่ผมต้องการจะพูดคือ มันเกี่ยวกับระบบทุนนิยมซึ่งรุนแรงมากในสหรัฐอเมริกา ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ส่งผลกระทบทำให้ผมมีการเตรียมการป้องกันจากหลุดออกไปนอกวงโคจรของการล่มสลายของระบบคอมมิวนิสต์ แต่ผมควรที่จะยอมรับว่าสิ่งนี้คือจุดอ่อนในงานของผม สำหรับความสนใจในภูมิศาสตร์ของผม มันคงอยู่แต่เพียงศูนย์กลางที่ยุโรป และมุ่งให้ความสนใจแต่เฉพาะเมืองใหญ่ๆ ผมยังไม่ได้ไปสำรวจมากนักในส่วนอื่นๆ ของโลก

ในงานเขียนช่วงหลังๆ ของคุณ หลายๆ ครั้งที่คุณหันไปหาแนวคิดเรื่องการวิวัฒนาการ ซึ่งเหมือนกับการเข้าไปมีส่วนร่วมกับงานของ อี โอ วิลสัน (E.O. Wilson) ซึ่งเป็นมุมมองในแง่ดี ถ้าพูดถึงในแง่ของการวิพากษ์วิจารณ์ ไม่เหมือนกับหลายๆ ความคิดเห็นที่ตอบสนองต่องานเขียนในกลุ่มฝ่ายซ้ายของเขา แนวคิดของ "การเกิดและการดำเนินต่อเนื่องกัน" (Consilience) ของวิทยาศาสตร์ซึ่งอาจจะปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนสำหรับคนที่ชื่นชอบงานของ คาแนบ (Carnap) แน่นอนว่าคุณก็มีแนวทางของคุณเอง แต่สิ่งที่วิลสันได้เน้นย้ำคือ การละทิ้งพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตหลายชนิดและปรากฏการณ์ดังกล่าวก็ส่งผลให้เกิดภาพสะท้อนต่อการวิวัฒนาการของมนุษย์ ซึ่งข้อเสนอของคุณได้ทำให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตหลายๆ ชนิดมีขอบเขตของความสามารถและอำนาจ เช่น การแข่งขัน การปรับเปลี่ยนตัวเอง การร่วมมือกัน การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม การจัดการในเชิงเวลาและเชิงพื้นที่ ชนทุกชาติได้ใช้สิ่งเหล่านี้เพื่อก่อให้เกิดภาพรวมของสังคม ดังเช่นที่คุณนำเสนอ

ระบบทุนนิยมเรียกร้องทุกสิ่งที่ได้กล่าวมาในรูปแบบที่เฉพาะตัว ได้ให้ความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อ"ระบบ"ของการแข่งขัน แต่ถ้าการแข่งขันไม่สามารถที่จะถูกกำจัดออกไปได้เพราะมันเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ติดตัวมาของมนุษย์ ความสัมพันธ์กับอำนาจอื่นๆ จะไม่สามารถมีการปรับเปลี่ยนได้เลย ระบบสังคมนิยมได้ถูกรับรู้อย่างกว้างขวางว่า เป็นการเข้าไปปรับพื้นฐานขอบเขตของมนุษย์ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งเป็นที่ที่ถูกประกอบสร้างจากองค์ประกอบต่างๆ เพื่อสร้างให้เกิดความสมดุลย์ที่ดีกว่าเดิม เหมือนว่าเป็นมุมมองและการตอบสนองที่น่าสนใจต่อการอ้างอิงถึงแนวคิดเรื่องพันธุกรรมเชิงสังคม แต่ผู้ที่มีชัยชนะเหนือระบบที่มีอยู่อาจจะตอบโต้ว่า ใช่ ดังเช่นถ้าผู้ที่แข็งแรงที่สุดจะอยู่รอดในธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นในสังคมใดก็ตาม ดังนั้นในสังคม นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมระบบทุนนิยมถึงสามารถเอาชนะคู่แค่งของตัวมันเองได้ การแข่งขันนั่นแหละที่เป็นหัวใจหลักของระบบ ที่ซึ่งเปิดโอกาสให้พลวัตรใหม่ๆ ทางนวัตกรรมซึ่งไม่ได้มีผลต่อแรงของการขับเคลื่อนหรือก่อกวนการแข่งขันนี้ คุณเองก็อาจจะลองพยายามที่จะก่อให้เกิดการแข่งขันกันในระบบสังคมนิยม แต่คุณก็ไม่อยากที่จะยอมลดบทบาทและความสำคัญของระบบ [สังคมนิยม] เพียงเพื่อให้อยู่ใต้กฎเกณฑ์ภายใต้กรอบที่ใหญ่ขึ้นและซับซ้อนขึ้น ซึ่งจุดยืนของเราไม่ยอมตกไปอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์และกรอบที่ว่า เพราะนั่นคือจุดแข็งของเรา สำหรับคุณแล้วคุณมีสิ่งที่ตอบโต้ต่อข้อสิ่งที่ขัดแย้งกันนี้อย่างไร

สำหรับคำตอบของผม จริงๆ แล้วคุณก็ยอมตกเป็นเบี้ยล่างในการแข่งขันในหลายๆ สนามเหมือนกัน ในประวัติศาสตร์ทั้งหมดที่ผ่านมาของระบบทุนนิยม จะไม่สามารถคิดถึงมันได้ถ้าปราศจากการสร้างเพื่อที่จะควบคุม ชี้นำ และจำกัดคู่แข่งขัน โดยปราศจากอำนาจจากทางรัฐเพื่อที่จะควบคุมดูแลกรรมสิทธิ์และกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการจ้างงานในสังคม ไม่จำเป็นต้องพูดถึงระบบการขนส่งและระบบการสื่อสาร ตลาดสมัยใหม่จะไม่สามารถทำกิจการใดๆ ได้เลย. ครั้งต่อไปที่คุณจะเดินทางไปลอนดอน หรือนิวยอร์ก ลองคิดดูสิว่าถ้านักบินต่างก็มีความมุ่งมั่นของตัวเองที่จะตั้งอยู่บนกฎเกณฑ์การแข่งขันอยู่ตลอดเวลา ใครต่อใครต้องการที่จะเป็นคนแรกที่ลงสู่พื้นดิน ใครจะเป็นคนที่ทำคะแนนยอดเยี่ยม คุณคิดว่ามีนักธุรกิจและนายทุนชื่นชมความคิดนี้กันกี่คน แน่นอนว่าไม่มีใครเลย

เมื่อคุณเข้ามามองอย่างละเอียดถี่ถ้วนถึงการทำงานของเศรษฐกิจสมัยใหม่ พื้นที่ซึ่งมีการแข่งขันเป็นกฎเกณฑ์มักจะถูกจำกัด ถ้าคุณคิดถึงการพูดถึง"การสะสมที่มีความยืดหยุ่น" หลายๆ สิ่งของแนวคิดนี้เกิดขึ้นรอบๆ กระบวนการสร้างความแตกต่างของทิศทางและตลาด ประวัติศาสตร์ของระบบทุนนิยมจะเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีกระบวนการสร้างความแตกต่าง แต่สิ่งที่เป็นพลวัตรที่อยู่เบื้องหลังกระบวนการสร้างความแตกต่างเป็นเสมือนการเดินทางออกจุดเริ่มต้นการแข่งขัน เป็นภารกิจสำหรับตลาดที่มีความพิเศษซึ่งโดยทั่วไปแล้วพบว่า มักจะเป็นการหลบเลี่ยงความกดดัน [จากกระบวนการสร้างความแตกต่าง] ตามความจริงแล้ว มันจะเป็นความน่าสนใจมากที่จะเขียนถึงประวัติศาสตร์ของระบบทุนนิยมโดยสำรวจผ่านการใช้ส่วนประกอบต่างๆ ทั้ง 6 ส่วนที่ได้กล่าวไปแล้ว เป็นการตรวจสอบย้อนกลับไปถึงทิศทางที่เกิดการเปลี่ยนแปลง และอะไรที่ทำให้องค์ประกอบทุกส่วนรวมเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้เกิดการปฎิบัติในทิศทางที่แตกต่างกัน

ความก้าวหน้าทางด้านชีววิทยาสอนหลายๆ สิ่งที่เกี่ยวกับสิ่งที่เราสร้างขึ้น รวมทั้งการเชื่อมโยงทางกายภาพทางจิตและสมอง และจะบอกอะไรเรามากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต ผมไม่เห็นว่าคนที่เรียกตัวเองว่านักวัตถุนิยมจะไม่สนใจกับสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นในกรณีของนักชีวสังคม ผมย้อนกลับไปความเชื่อที่สามารถก่อให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ จากการที่นำเอาความไม่เหมือนกันมาทำปฎิกิริยาต่อกัน เช่นการที่ผมนำเอา อี โอ วิลสัน (E.O. Wilson) เข้าไว้ในการสนทนาเดียวกันกับ มาร์กซ์ (Marx) แน่นอนว่ามันมีข้อแตกต่างอย่างมากแต่ในขณะเดียวกันก็มีความเหมือนกันอย่างน่าประหลาดใจด้วย ดังนั้นลองเอาแนวคิดของทั้งสองคนเข้ามาทำปฎิกิริยาต่อกัน ผมจะไม่อ้างว่าสิ่งที่ผมทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องแต่สิ่งที่ผมทำคือการตัดสินใจที่ผมต้องการ ในส่วนของงานเขียน "ที่ว่างของความหวัง" (Spaces of Hope) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่พูดถึงสิ่งที่เรียกว่า "การสนทนาบนความหลากหลายของทางเลือก" (Conversations on the Plurality of Alternatives) และนั่นคือทิศทางที่เราจะมุ่งหน้าต่อไป สิ่งที่ผมมีคือคำถามอันมากมาย แต่ไม่ใช่ทางแก้ปัญหา

อะไรคือมุมมองของคุณเกี่ยวกับภาพปัจจุบันของระบบทุนนิยม ในงานเขียน ข้อจำกัด (Limits) ได้สร้างขอบเขตของทฤษฏีทั่วไปของกลไกที่ก่อให้เกิดวิกฤต นั่นคือการสะสมอย่างมากเกินไป การผูกรวมกับความแข็งกระด้างของระบบที่ไม่สามารถก่อให้เกิดการปรับตัวของทุน และการแก้ปัญหาทั่วๆ ไป เช่น การเพิ่มขยายเครดิตการลงทุน การปรับเปลี่ยนองค์กรในเชิงพื้นที่ ในงานเขียน "ความเป็นหลังสมัยใหม่" (Postmodernity) ได้ทำการสำรวจสิ่งที่เกิดขึ้นนี้บนผิวหน้าของสิ่งต่างๆ ที่เกิดการปรับเปลี่ยนตั้งแต่ในช่วงปี 1970 ถึง 1980 แล้วเราอยู่ตรงไหนในปัจจุบัน ดูเหมือนว่าจะมีอยู่สองทางที่เป็นไปได้ในการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ในทิศทางตรงกันข้ามกันโดยอ้างอิงจากกรอบการคิดของคุณ แต่อาจจะมีทางที่สามแต่ว่าอยู่ไกลเกินไป

หนทางแรก อ้างถึงจุดสังเกตเริ่มแรกของคุณในงานเขียน "เงื่อนไขของความเป็นหลังสมัยใหม่" (The Condition of Postmodernity) ความจำเป็นในการลดค่าเงิน เพื่อที่จะกำจัดการขยายตัวเกินไปของทุน เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากเมื่อมันเกิดขึ้น ไม่ใช่ในการเกิดขึ้นแบบกระทันหัน แต่ทว่าค่อยๆ เป็นไปและเป็นไปอย่างช้าๆ อย่างต่อเนื่อง เป็นการชำระล้างความสะอาดให้แก่ระบบโดยที่ไม่ไปกระตุ้นให้เกิดปัญหาปะทุขึ้นมาจากภายใน ในมุมมองนี้ ไม่ใช่หรือที่สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นไปอย่างไม่มีใครรู้ตัว เกิดขึ้นจากคลื่นปรากฏการณ์ของการลดขนาดองค์กร และการปรับเปลี่ยนสายการทำงาน ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 1970 เป็นการปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างที่คุณได้อ้างถึงใน "โรงงานถลุงเหล็กเบ็ลเลเฮม" (Bethlehem Steel) แต่ต่อมามีปรับเปลี่ยนอย่างมีพลวัตรครั้งใหม่ในกลางปี 1990 ด้วยการฟื้นคืนด้วยผลกำไร ราคาที่คงที่ มีการลงทุนด้วยเครื่องจักรเทคโนโลยีสมัยใหม่ และการเพิ่มความสามารถในการผลิต เป็นการมอบชีวิตใหม่ให้กับระบบอีกครั้ง

ในอีกมุมหนึ่ง ซึ่งมีความใกล้เคียงกับกรอบความคิดของคุณ สิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งที่ซ่อนอยู่เบื้องล่าง แต่ทว่ากลับเป็นสิ่งที่พบเห็นอย่างชัดเจน นั่นคือ การเพิ่มขึ้นอย่างพุ่งทยานของระบบสินเชื่อ ส่งผลให้เกิดอัตราการขยายตัวของมูลค่า หรือในอีกความหมายหนึ่งคือ การก่อตัวของทุนฟองสบู่หรือเงินทุนที่ไม่มีอยู่จริง และนั่นได้นำเราไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อเมื่อเกิดภาวะฟองสบู่แตก นำเรากลับมายังความเป็นจริงของความต่อเนื่องและไม่สามารถแก้ไขได้ของการสะสมที่มากเกินไป และ

ในความเป็นไปได้หนทางที่สาม ซึ่งสามารถให้คำอธิบายได้ถึงการล้มสลายของสหภาพโซเวียต ในยุโรปตะวันออก และรัสเชีย และการเปิดประตูต่อการค้าข้ามชาติและการลงทุนในเมืองจีน การพัฒนาเหล่านี้ก่อให้เกิดคำถามที่ว่า ไม่ใช่หรือที่ระบบทุนนิยมคือระบบของการแผ่ขยายของตัวเองในสนามของการปฎิบัติการที่เป็นไปได้ หรือถ้าใช้ตามคำพูดของคุณคือ "การคงรูปของที่ว่าง" ขนาดใหญ่ (A Gigantic Spatial Fix) สิ่งนี้อาจจะยังอยู่ในช่วงต้นๆ ของมัน ดังเช่นที่ประเทศสหรัฐฯ เสียดุลย์การค้าอย่างมากให้กับจีน แต่ไม่ใช่หรือที่เรากำลังมองดูการก่อร่างขององค์กรการค้าโลก (WTO) ที่ได้ส่งให้เกิดสัญญาในการสร้างให้เกิดการเท่าเทียมในศตวรรษใหม่ที่กำลังจะถึงนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนแรกของการแผ่ขยายขอบเขตของทุนนิยมไปยังสุดขอบโลก มีภาพให้เห็นได้สามหนทาง และทั้งสามทางนั้นสามารถอ้างอิงอยู่กับงานเขียนของคุณได้ คุณมีความคิดและคาดการณ์อย่างไรกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้

ผมไม่คิดว่าจะมีตัวเลือกอย่างง่ายๆ ให้เลือก ระหว่างปรากฏการณ์ที่ได้ถูกอธิบายนี้ ทั้งระบบของความต่อเนื่องของกระบวนการการลดมูลค่าลง ไม่ว่าจะเป็นการลดขนาดองค์กร การปรับเปลี่ยน หรือการใช้แหล่งการผลิตอื่นนอกองค์กร และกระบวนของการแปลงรูปในเชิงพื้นที่ ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการยึดครองอาณานิคม ทั้งสองเป็นส่วนสำคัญของภาพรวมทั้งหมด แต่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงนี้ จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าปราศจากพลังอำนาจที่น่าเกรงขามของจินตภาพของทุนนิยมในทุกวันนี้

ในทุกๆ กระบวนการที่เกิดการลดมูลค่า หรือการแผ่ขยายทางภูมิศาสตร์ ได้รับการเดินตามรอยโดยบทบาทของสถาบันทางการเงิน ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดพลวัตรของทุนที่ไม่มีอยู่จริง ดังนั้นทุนคือสิ่งที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งของจินตนาการ มันนำมาซึ่งการการแปลงรูปเพื่อให้ได้กำไรสูงสุดในวิธีการผลิต กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นวงจรของเงินและการลงทุน ซึ่งถูกแปลงออกมาในรูปสินค้า และกลับไปอยู่ในรูปของกำไรมูลค่าเพิ่ม มันค่อยๆ เปลี่ยนจากความเป็นภาพลวงตามาสู่ความเป็นจริง แต่การเกิดขึ้นในลักษณะนี้ได้ มันจำเป็นต้องพึ่งพาสิ่งที่เป็นความคาดหวัง และนั่นคือเป็นสิ่งที่สังคมสร้างมันขึ้น ผู้คนเชื่อในความร่ำรวย กองทุน บำเหน็จ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีวันหยุดยั้ง การป้องกันความคาดหวังนี้คือ การครอบงำซึ่งจำเป็นต้องเป็นหน้าที่ของรัฐและพึ่งพาสื่อต่างๆ สิ่งนี้เป็นปรากฏการณ์ที่นักทฤษฏีสองท่านมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง มันมีประโยชน์อย่างมากในการอ่าน กรัมซี่ (Gramsci) และ เคนส์ (Keynes) ไปด้วยกัน มันอาจจะมีกระบวนการที่สร้างให้เกิดการชะงักงันต่อกระบวนการลดมูลค่า หรือการต่อต้านการร่วมมือกันเชิงภูมิศาสตร์ แต่ระบบเหล่านั้นก็ยังคงไม่เสถียรพอต่อตัวบุคคลท่ามกลางจินตภาพของทุน

สำหรับเคนส์แล้ว คำถามที่ว่า เราจะทำให้จิตวิญญาณดั่งเดิมของผู้ลงทุนยืนหยัดอยู่ได้อย่างไร การต่อสู้ทางอุดมการณ์เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีความมั่นคงอยู่ในระบบ มีคนที่เขียนเกี่ยวกับสิ่งนี้อย่างละเอียดลึกซึ้งคือ ชีเช็ค (Zizek) ดังนั้นคำอธิบายทั้งสามแนวทางไม่ใช่เป็นสิ่งที่แยกจากกันได้ มันจะต้องประกอบเข้ามาด้วยกัน ภายใต้สัญญะของการครอบงำ สิ่งนี้คือระบบซึ่งก่อให้เกิดการสั่นคลอนของเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกระหว่างปี 1998-1999 และการพังทะลายของกองทุนหลักที่มีฐานในนิวยอร์ก คือ Long-Term Capital Management (การจัดการเรื่องทุนในระยะยาว) ซึ่งมีหนี้สิ้นอยู่หลายพันล้านดอลล่าร์ สิ่งเหล่านี้จะเกิดนานเท่าไหร่ไม่มีใครสามารถจะบอกได้

แต่ในขณะที่การปรับตัวของระบบทุนนิยมเสมือนว่าเป็นอาวุธที่สำคัญในการกดขี่ทางชนชั้น เราไม่ควรที่จะประมาทสิ่งที่ห่อหุ้มมันอยู่ในทางตรงกันข้ามซึ่งมีการก่อตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง สิ่งที่อยู่ตรงกันข้ามนั้นเป็นเหมือนสะเก็ดเล็กๆ ซึ่งบ่อยครั้งมักจะอยู่อย่างเฉพาะที่เฉพาะทาง และมีความหลากหลายอย่างมากเมื่อมองถึงจุดมุ่งหมายและวิธีการของพวกมัน เราจำเป็นต้องช่วยกันคิดถึงทางที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ และจัดการให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าสิ่งตรงกันข้ามนี้ขึ้น และมันจะก่อให้เกิดขึ้นในระดับใหญ่และกลายเป็นระดับโลก

สัญลักษณ์ของการรวมตัวกันนี้ ในระดับทฤษฏี เราจำเป็นต้องหาทางที่จะระบุถึงความคล้ายคลึงร่วมกันภายในความแตกต่าง และพัฒนาให้เกิดการเมืองในลักษณะที่มีส่วนร่วมของกันและกัน มันมีความละเอียดอ่อนมากที่จะไม่สามารถลดทอนความแตกต่างและความเฉพาะเจาะจงนั้นได้อีกในโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะความเฉพาะเจาะจงในด้านภูมิศาสตร์ ซึ่งนั่นเป็นกุญแจสำคัญที่สุดในความหวังของผม

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++ กลับไปทบทวนตอนที่ ๑

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๑ : Release date 25 August 2008 : Copyleft MNU.

จากประสบการณ์การทำงานของผมในภาควิชาวิศวกรรม ทำให้ผมได้รับแนวคิดการหาทางออกในเชิงปฎิบัติ ซึ่งทำให้ผมกลายเป็นดั่งกับผู้พยากรณ์ ผมใช้เวลาเป็นอย่างมากที่จะพยายามชักชวนให้วิศวกรหลายคนได้ยอมรับว่า ความรู้ซึ่งรวมถึงความรู้ในเชิงเทคนิคก็ยังเป็นความรู้ที่ถูกสร้างขึ้นมาทางสังคม แต่เมื่อผมทำการโต้แย้งกับคนจากสายมนุษย์ศาสตร์ ผมกลับกลายเป็นคนที่จะต้องชี้ประเด็นให้พวกเขาเห็นว่า เมื่อท่อทิ้งของเสียของคุณเกิดอุดตัน คุณไม่อาจจะโทรหานักทฤษฏีหลังสมัยใหม่นิยม แต่คุณโทรเรียกวิศวกร ดังเช่นที่มันเกิดขึ้นเพราะในภาควิชาที่ทำงานอยู่ด้วย เป็นภาควิชาที่มีแนวคิดที่สร้างสรรค์เป็นอย่างมากสำหรับระบบท่อทิ้งของเสียนี้ ดังนั้นผมจึงเหมือนอยู่ในบริเวณขอบเขตของทั้งสองวัฒนธรรม

H