ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




23-08-2551 (1646)

Reinventing Geography: An Interview with the Editors of New Left Review
David Harvey: บทสัมภาษณ์จากบรรณาธิการนิตยสารซ้ายใหม่ (ตอน ๑)
ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ : แปลและเรียบเรียง
คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (นักแปล-โครงการสื่อเพื่อสิทธิมนุษยชน)
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ
สื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

บทแปลบนหน้าเว็บเพจนี้ นำมาจากต้นฉบับเรื่อง
Reinventing Geography:
An Interview with the Editors of New Left Review By David Harvey

ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์ถึงชีวประวัติบางช่วงตอน และความเป็นมาของหนังสือเล่มสำคัญ
ที่สะท้อนถึงพัฒนาการทางความคิดของ David Harvey ในเรื่องเกี่ยวกับภูมิศาสตร์การเมือง
คำถามที่สำคัญในที่นี้ สะท้อนถึงแนวคิดภูมิศาสตร์การเมืองในแบบสหวิทยาการ ซึ่งสัมพันธ์กับ
แนวคิดเศรษฐศาสตร์ การเมืองและสังคม โดยเฉพาะผู้ถูกสัมภาษณ์มีความสนใจในคำอธิบาย
และการวิพากษ์ทุนนิยมของตามคิดมาร์กซ์ ซึ่งเขาได้นำมาเป็นองค์ประกอบในการอธิบายความ
เปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิศาสตร์ มากกว่าที่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๔๖
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๖.๕ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Reinventing Geography: An Interview with the Editors of New Left Review
David Harvey: บทสัมภาษณ์จากบรรณาธิการนิตยสารซ้ายใหม่ (ตอน ๑)
ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ : แปลและเรียบเรียง
คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (นักแปล-โครงการสื่อเพื่อสิทธิมนุษยชน)
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

Reinventing Geography: An Interview with the Editors of New Left Review
By David Harvey

อภิธานคำศัพท์

Exceptionalism "ลักษณะเฉพาะพิเศษ" ซึ่งไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ทั่วไป ในที่นี้ใช้ในความหมายเกี่ยวกับประเทศ สังคม สถาบัน การเคลื่อนไหว หรือในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งที่มี "ลักษณะเฉพาะ" ในทางใดทางหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นแบบไม่อิงอยู่กับกฎเกณฑ์ข้อปฎิบัติทั่วไป ซึ่งการเน้นถึง "ลักษณะเฉพาะ" นี้ สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อที่เกิดขึ้นมาจากประสบการณ์ตรง อุดมการณ์ กรอบความคิดบางอย่าง หรือมุมมองที่ได้รับอิทธิพลจาก ความรู้ในเชิงประวัติศาสตร์ที่ไม่เหมือนใคร เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษในช่วงที่เป็นจุดสูงสุดของสหราชอาณาจักร จักรวรรดิ์ญี่ปุ่น อิหร่าน อิสราเอล รัสเชีย และ นาซีเยอรมัน เป็นต้น
(ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Exceptionalism)

Fabian Progressivism สำหรับคำว่า Fabian เป็นคำที่เกี่ยวกับการปลดปล่อยหรือทำให้เป็นอิสระ เช่น การปลดปล่อยทาส ซึ่งรากศัพท์มาจากการเรียกครอบครัวโรมัน Fabius ส่วนคำว่า Progressivism เป็นคำที่ใช้ในการอ้างถึงสกุลความคิดทางปรัชญาการเมืองและสังคม ที่เริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่อ้างอิงถึงแนวคิดทางการเมืองที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการอันยิ่งใหญ่ ซึ่งเกิดจากกระบวนการการกลายเป็นอุตสาหกรรม
(ดูเพิ่มเติมได้ที่)
http://en.wikipedia.org/wiki/Fabian,
http://en.wikipedia.org/wiki/Progressivism

Fabian Society หมายถึง การเคลื่อนไหวทางสังคมที่เกิดขึ้นท่ามกลางกลุ่มนักคิดในประเทศอังกฤษ ซึ่งมีความมุ่งหวังที่จะผลักดันให้เกิดแนวทางของสังคมนิยมประชาธิปไตย โดยอาศัยการค่อยเป็นค่อยไปในการผลักดันและผ่านการปรับเปลี่ยนโครงสร้างมากกว่าการใช้แนวทางการปฎิวัติ
(ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Fabian_Society)

McCarthyism อธิบายถึงแนวคิดที่เกิดขึ้นจากข้อสงสัยอย่างรุนแรงต่อคนที่เป็นคอมมิวนิสต์โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายของปี 1940 ไปจนถึงช่วงปลายของปี 1950 ช่วงเวลาดังกล่าวยังสามารถเรียกได้ว่าเป็น the Second Red Scare (ความหวาดกลัวภัยคอมมิวนิสต์ช่วงที่สอง) ซึ่งเกิดขึ้นจากความกลัวที่เพิ่มมากขึ้นต่ออิทธิพลดังกล่าวในสถาบันต่างๆ ของอเมริกันและการแทรกซึมของรัสเชีย คำๆ นี้ได้ถูกใช้ในการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของวุฒิสมาชิกสหรัฐ โจเซฟ แมคคาร์ที (Joseph McCarthy) ในช่วงต่อมาคำว่า "McCarthyism" ถูกใช้ในความหมายทั่วไป (ดูเพิ่มเติมที่)
(http://en.wikipedia.org/wiki/McCarthyism)

ตั้งแต่ในช่วงสงครามเป็นต้นมา ขอบเขตการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมาร์กซ์ซิสต์ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นอดีตไปแล้ว แต่สำหรับเส้นทางของคุณดูจะเป็นต้นแบบมากกว่า เราอยากจะรู้ว่าคุณได้กลายมาเป็นนักภูมิศาสตร์ได้อย่างไร

มันมีคำตอบหลักๆ ประกอบอยู่ด้วยกันสามประเด็น ซึ่งทั้งสามประเด็นนี้ค่อนข้างที่จะเป็นสิ่งที่โดดเด่น คือเมื่อผมยังเป็นเด็ก ผมชอบที่จะหนีออกจากบ้านและทุกๆ ครั้งที่ผมพยายามจะทำ ผมพบว่ามันทำให้ผมรู้สึกไม่สบายใจ จึงจบลงด้วยการย้อนกลับบ้านทุกครั้งไป ดังนั้นผมจึงตัดสินใจที่จะหนีออกจากบ้านโดยอาศัยจินตนาการ อย่างน้อยมันมีโลกภายนอกที่เปิดกว้างอยู่ตรงนั้น ซึ่งตั้งแต่ผมมีงานอดิเรกในการเก็บสะสมแสตมป์ บนแสตมป์เหล่านั้นมักจะแสดงภาพประเทศต่างๆ ที่มีสัญลักษณ์ของสหราชอาณาจักรประทับอยู่บนดวงแสตมป์นั้นๆ ดูเหมือนว่าประเทศเหล่านั้นเป็นของเราทุกคน หรือให้ระบุอย่างเฉพาะเจาะจงคือเป็นของ ผม [เน้นโดยผู้ให้สัมภาษณ์]

พ่อของผมทำงานในตำแหน่งผู้คุมงานในโรงงานอุตสาหกรรมการต่อเรือที่ เชดแฮม (Chatham) ที่ซึ่งมีจารีตประเพณีของกะลาสีที่โดดเด่น พวกเราอาศัยอยู่ใน กิลลิงค์แฮม (Gillingham) ทุกๆ ปีในช่วงสงครามเรามักจะไปนั่งจิบน้ำชาในโรงงานอุตสาหกรรมต่อเรือนั้น ความโรแมนติกท่ามกลางคลื่นทะเลสูงและความเป็นผู้นำทางสงครามได้ทิ้งร่องรอยความประทับใจไว้ในตัวผม ในความมุ่งมาดปรารถนาอันรุนแรง ของผมคือการเข้าร่วมกับทหารเรือนาวิกโยธิน แม้ว่าจะเป็นในช่วงหลังสงครามประมาณปี 1946-1947 ผมยังคงมีจินตนาการถึงการเดินทางไปยังดินแดนต่างๆ ในการปกครองของสหราชอาณาจักร การอ่านถึงประเทศเหล่านั้น การเขียนแผนที่ถึงประเทศเหล่านั้น กลายมาเป็นความหลงไหลในวัยเด็กของผม

ต่อมาเมื่อผมย่างเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นผมได้ขี่จักรยานไปรอบๆ แคว้นเคนส์ทางเหนือ (Kent) ได้เรียนรู้ถึงเรื่องต่างๆ ในทางภูมิศาสตร์ เกษตรกรรม และภูมิทัศน์ทางพื้นที่ท้องถิ่นของเราเอง ผมมีความสุขมากในการเรียนรู้เรื่องต่างๆ พวกนี้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผมมักจะถูกดึงดูดเข้าไปสู่ความสนใจในภูมิศาสตร์ ในโรงเรียนผมเองมีความสนใจอย่างมากต่อการศึกษาวรรณกรรม เมื่อผมเข้าไปเรียนต่อที่แคมบริสต์ (Cambridge) ซึ่งมันค่อนข้างจะไม่ธรรมดาสำหรับเด็กที่มาจากพื้นเพแบบผม ผมเลือกที่จะเรียนภูมิศาสตร์มากกว่าที่จะเรียนทางด้านวรรณกรรมศึกษา ในบางส่วนผมคิดว่าผมเคยมีครูที่จบมาจากแคมบริสต์ผู้ซึ่งทำให้ผมมีความกระจ่างแจ้งว่าถ้าคุณอยากจะเรียนภาษาอังกฤษที่นี่ คุณไม่จำเป็นต้องอ่านวรรณกรรมมากเท่ากับการได้เรียนกับ เอฟ อาร์ ลีฟวีสต์ (F.R. Leavis) (*) ผมรู้สึกว่าผมสามารถอ่านวรรณกรรมเองได้ และไม่จำเป็นต้องเรียนรู้กับ ลีฟวีสต์ เพื่อที่จะให้เขามาบอกว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง ดังนั้นผมจึงปราถนาที่จะไปต่อในทางของภูมิศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่เคยที่จะละเลย หรือเลิกให้ความสนใจในประวัติศาสตร์และวรรณกรรม

(*) Frank Raymond Leavis CH (14 July 1895 - 14 April 1978) was an influential British literary critic of the early-to-mid-twentieth century. He taught and studied for nearly his entire life at Downing College, Cambridge.

ภูมิศาสตร์ค่อนข้างจะใหญ่และก่อตั้งอย่างมั่นคงยาวนานในแคมบริสต์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการกำหนดแนวทางในระดับปฎิบัติการ สำหรับนักภูมิศาสตร์ที่ทำงานในสหราชอาณาจักรในตอนนั้น ผมได้เรียนต่อในระดับปริญญาเอก ศึกษาเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ในเชิงประวัติศาสตร์ของแคว้นเคนส์ในศตวรรษที่ 19 ศึกษาอย่างเฉพาะเจาะจงในแง่ของการเพาะปลูก ผลงานตีพิมพ์เรื่องแรกปรากฏในวารสารของสำนักพิมพ์ วิชเบรตส์ (Whitbread) ในฐานะของนักศึกษาปริญญาเอกนั้น ผมมีความภาคภูมิใจมาก เพราะได้ตีพิมพ์เคียงคู่กับงานเขียนของ จอห์น อาร์ลอต (John Arlott) (*)

(*) Leslie Thomas John Arlott (February 25, 1914 - December 14, 1991) was a freelance author, whose main subjects were sport and wine, a poet, and a radio producer and broadcaster, best known for his cricket commentary as a member of the BBC Radio 3 Test Match Special team.

ในงานเขียนเล่มแรกของคุณ "คำอธิบายเกี่ยวกับภูมิศาสตร์" (Explanation in Geography) ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 1969 ดูเป็นงานเขียนที่แสดงออกถึงความมั่นใจ และมีความมุ่งมั่นในการแทรกแซงองค์ความรู้ แต่มันดูเหมือนว่าสิ่งที่ปรากฏออกมานั้นค่อนข้างจะอยู่ภายใต้กรอบการคิดแบบปฎิฐานนิยม (Positivist Setting) พื้นฐานของการอ้างอิงตั้งอยู่บนแนวคิดของ แองโก-แซกซั่น โดยปราศจากการผนวกรวมหรือการนำเสนอถึงความหลากหลายที่มีพลังอื่นๆ ในสายภูมิศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศสและเยอรมัน

"คำอธิบายเกี่ยวกับภูมิศาสตร์" (Explanation in Geography) เป็นการทำงานเพื่อค้นหาคำตอบของปัญหาที่ผมคิดว่าเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดในองค์ความรู้ทางสายนี้ ตามปกติแล้ว ความรู้ที่มองในเชิงภูมิศาสตร์แล้วค่อนข้างที่จะแบ่งแยกออกเป็นส่วนๆ เป็นเศษเล็กเศษน้อย ซึ่งนำไปสู่แนวคิดที่มีความชัดเจนมั่นคงที่เรียกว่า "แนวคิดลักษณะเฉพาะพิเศษ" (Exceptionalism) ที่ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ทั่วไป. ในการก่อตั้งทฤษฏีและหลักการต่างๆ นั้นจะเห็นได้ว่า ความรู้ที่ถูกล้อมกรอบไว้ด้วยการทำความเข้าใจในเชิงภูมิศาสตร์ที่ไม่เหมือนกับความรู้แบบอื่นๆ คุณไม่สามารถที่จะทำให้มันเป็นเรื่องทั่วไป คุณไม่สามารถสร้างให้มันกลายเป็นระบบสากล มันไม่มีกฎเกณฑ์กฎหมายในเชิงภูมิศาสตร์ มันไม่มีกฎระเบียบทั่วไปที่คุณจะต้องยอมรับและปฎิบัติตาม สิ่งที่คุณจะต้องทำคือเดินทางออกไปและศึกษามัน

เช่น ถ้าพูดถึงส่วนที่แห้งแล้งในประเทศศรีลังกา คุณก็ต้องออกไปและใช้ชีวิตอยู่ที่นั้นเพื่อทำความเข้าใจมัน ผมต้องการต่อต้านแนวคิดในเชิงภูมิศาสตร์แบบนี้ ซึ่งผมต้องการจะชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการศึกษาและทำความเข้าใจความรู้ในเชิงภูมิศาสตร์ในมุมที่เป็นระบบมากขึ้น ในช่วงเวลานั้น สิ่งเดียวที่ผมคิดว่าเป็นวัตถุดิบที่ชัดเจนคือความรู้ในสาขาปรัชญาแนวคิดที่เกี่ยวกับปฎิฐานนิยม ซึ่งในช่วงปี 1960 นั้นยังคงให้ความรู้สึกถึงการผนวกแนบแน่นอยู่กับวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่มากจาก คาแนบ (Carnap) (*) นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ผมเลือกศึกษางานของ แฮมเพล (Hempel) หรือ ปอปเปอร์ (Popper) อย่างลึกซึ้ง

(*) Rudolf Carnap (May 18, 1891 - September 14, 1970) was an influential German-born philosopher who was active in Europe before 1935 and in the United States thereafter. He was a leading member of the Vienna Circle and a prominent advocate of logical positivism.

ผมคิดว่ามันน่าจะมีหนทางบางอย่างที่จะสามารถใช้ปรัชญาทางวิทยาศาสตร์เพื่อที่จะสนับสนุนการสร้างพื้นฐานองค์ความรู้ในเชิงภูมิศาสตร์อย่างเป็นระบบ มันคือช่วงเวลาของการเคลื่อนไหวที่สำคัญภายในสายภูมิศาสตร์เองที่นำเอาเทคนิคการใช้สถิติและการค้นคว้าในเชิงการใช้เครื่องมือวัดด้านปริมาณชนิดใหม่ๆ เข้ามา คุณสามารถพูดได้ว่าโครงการที่ผมพยายามจะทำคือ การพัฒนาและเพิ่มเนื้อหาทางด้านปรัชญาในการปฎิวัติของการศึกษาเชิงปริมาณ

อะไรคืออิทธิพลที่มาจากภายนอกสาขาวิชา ดังเช่นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายใน ถ้ามองในเชิงประวัติศาสตร์แล้ว ภูมิศาสตร์ดูเหมือนจะมีตำแหน่งแห่งที่ในวัฒนธรรมทางสติปัญญาของฝรั่งเศสและเยอรมันมากกว่าอังกฤษ เพราะว่ามันมีเนื้อหาที่เชื่อมโยงไปยังความเป็นสาธารณะอยู่ในนั้น ในสายการศึกษาภูมิศาสตร์ ของ วิเดอร์ เดอ ลา บารางส์ (Vidal de la Blache) ค่อนข้างที่จะอยู่ภายใต้แนวคิดแอนเนตส์ (Annales School) ซึ่งค่อนข้างเน้นหนักไปเรื่องปัญหาของการรวมและการสร้างชาติ, การศึกษาถึงกระบวนการกลายเป็นอุตสาหกรรมของ วอน ทูนิน (Von Thunen) ในเยอรมัน, สำหรับ ฮัสฮอปเฟอร์ (Haushofer) ที่ศึกษาถึงยุทธวิถีของการแผ่ขยายตัวของจักรวรรดิ์ซึ่งมันก็มีแนวทางการศึกษาของ แมคคินเดอร์ (Mackinder) ในแนวคิดที่เรียกว่า เอดเวิร์ดเดียน (Edwardian) อยู่ในนั้นด้วย ซึ่งโดยมากแล้วจะถูกมองว่าเป็นการศึกษาแนวกระแสรอง คุณคิดว่าภูมิศาสตร์อังกฤษภายหลังสงครามนั้นควรจะตั้งอยู่ตรงจุดไหน

ในช่วงปี 1960 ภูมิศาสตร์ได้ถูกทำให้ต่อเชื่อมเข้ากับการวางผัง ทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับเมือง และในช่วงเวลาเดียวกันนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นคือความอับอายขายหน้าในแนวคิดเรื่องประวัติศาสตร์ของทั้งจักรวรรดิ์ [แนวคิดเรื่องการล่าอาณานิคมเริ่มเสื่อมถอยและเปลี่ยนตำแหน่งแห่งที่ในมุมมองขององค์ความรู้] ความคิดที่ว่าภูมิศาสตร์ควรและจำเป็นต้องมีบทบาทที่เป็นสากลนั้นเริ่มเปลี่ยนไป ยังไม่จำเป็นต้องพูดถึงยุทธวิถีทางภูมิศาสตร์การเมือง ผลที่เกิดขึ้นปรากฏอย่างเด่นชัดในระดับปฎิบัติการ และกลายเป็นความพยายามที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ของทางภูมิศาสตร์ในฐานะเครื่องมือของรัฐ ในการกำหนดและวางแผนต่างๆ ในประเทศอังกฤษ ในมุมมองดังกล่าวเห็นว่า สาขาองค์ความรู้นี้กลายเป็นองค์ความรู้ที่เน้นหนักไปในเชิง "หน้าที่ใช้สอย" ไปเลยทีเดียว

เพื่อที่จะให้ภาพที่ชัดเจนขึ้นสำหรับการปรับเปลี่ยนนี้ ผมคิดว่ามันแทบจะไม่มีที่ใดเลย ในกรณีที่คุณนำเอาคำที่ว่า "คุณลักษณะของเมือง" ไปไว้หน้างานวิจัย คุณอาจจะพูดได้ว่านี่คือศูนย์กลางที่เกิดขึ้น เพราะในประวัติศาสตร์ของเมืองมีความสำคัญเท่าๆ กับรูปทรงที่อยู่ชายขอบ เศรษฐกิจของเมืองมีความสำคัญเท่าๆ กับสิ่งที่เกิดขึ้นในบริเวณรอบๆ มันคือมิติในเชิงการเมืองของความเป็นเมือง ในขณะที่ภูมิศาสตร์เมืองกลายเป็นศูนย์กลางของหลายๆ สิ่งที่เกิดขึ้นภายในสาขาวิชานี้ เช่นเดียวกันในด้านกายภาพ การดูแลและควบคุมสภาพแวดล้อมมักจะกลายเป็นการดูแลควบคุมวัตถุดิบในท้องถิ่น. ในอังกฤษ ภาพปรากฏในเชิงสาธารณะของภูมิศาสตร์มีการทำงานในสามแนวทางหลักๆ คือ: มันไม่ได้มุ่งไปยังแนวคิดและทฤษฏีที่ยิ่งใหญ่ที่เรามักจะพบในนักคิดสายฝรั่งเศส เราจำเป็นที่จะต้องพูดว่า ในช่วงเวลายุคนั้น ความมุ่งมาดปราถนาในเชิงการเมืองที่ปรากฏกับพวกเราหลายๆ คนการมุ่งเข้าสู่การวางผังในเชิงเหตุผล (Rational Planning) ก็ไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ มันเป็นช่วงเวลาของ ฮาโรท์ วิวสัน (Harold Wilson) (*) ที่มีคำกล่าวถึง "ความร้อนสีขาวของเทคโนโลยี" (White Heat of Technology) เมื่อผลสัมฤทธิ์ของการวางผังระดับภูมิภาคและระดับเมืองแสดงให้เห็นถึงการยกระดับทำให้สังคมดีขึ้นสำหรับประชากรทั้งหมด

(*) James Harold Wilson, Baron Wilson of Rievaulx, KG, OBE, FRS, PC (11 March 1916 - 24 May 1995) was one of the most prominent British politicians of the later 20th century. He served as Prime Minister of the United Kingdom from 1964 to 1970, and again from 1974 to 1976.

อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่ไม่ปรากฏใน "คำอธิบายเกี่ยวกับภูมิศาสตร์" คือข้อความหรือบันทึกการเมือง มันสามารถถูกอ่านในฐานะเป็นบทควาทหรือความเรียงในเชิงวิทยาศาสตร์โดยปราศจากข้อพิจารณาหรือการคิดคำนึงถึงมิติอื่นๆ เลย คนอ่านไม่สามารถจะคาดเดาได้ว่า เขากำลังอ่านจากคนเขียนที่อาจกลายเป็นคนหนึ่งที่มีแนวคิดสุดโต่งต่อมา

สำหรับมิติทางการเมืองที่ผมสนใจในช่วงเวลานั้นเรียกได้ว่า มีความใกล้เคียงกับ แนวคิดที่เรียกว่า "Fabian Progressivism" [เป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาทางสังคมและการเมืองที่เน้นการปลดปล่อยให้คนหรือสังคมเป็นอิสระจากกระบวนการการกลายเป็นอุตสาหกรรม หรือระบบทุนนิยม โดยมีนัยยะของแนวคิดทางสังคมนิยม ผู้แปล] นั่นคือเหตุผลที่ว่า ทำไมผมจึงเลือกแนวคิดของการวางผัง ผลสัมฤทธิ์ และความมีเหตุมีผล ผมอาจจะอ่านงานของนักเศรษฐศาสตร์เช่น ออสการ์ แลงก์ (Oskar Lange) (*) ผู้ซึ่งคิดในทำนองเดียวกันนี้

(*) Oskar Ryszard Lange (July 27, 1904 in Tomaszow Mazowiecki, then Vistulan Country - October 2, 1965 in London, United Kingdom) was a Polish economist and diplomat. He was most known for advocating the use of market pricing tools in socialist systems and providing the earliest model of market socialism.

ในความคิดของผม มันไม่มีความขัดแย้งที่แท้จริงระหว่างแนวทางในการใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องราวเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ และการประยุกต์อย่างมีผลสัมฤทธิ์ของการวางผังในเรื่องราวเกี่ยวกับการเมือง แต่ผมกลับถูกดูดกลืนเข้าไปสู่งานเขียนของตน ซึ่งผมไม่เคยคิดว่ามันจะมีผลกระทบต่อความคิดผมในเวลาต่อมา ผมได้นำงานเขียน 'Magnum Opus' ไปให้สำนักพิมพ์ในเดือนพฤษภาคม 1968 เพียงเพื่อที่จะพบถึงความอับอายขายหน้าที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิทางการเมืองในช่วงนั้น มันทำให้ผมสามารถขจัดสิ่งลวงตาออกไปสิ่งซึ่งอยู่ในแนวคิดสังคมนิยมในแบบที่ ฮาโรท์ วิวสัน กล่าวไว้

ในช่วงเวลานั้นผมได้รับข้อเสนองานในประเทศสหรัฐอเมริกา และผมได้เดินทางมาถึง บัลติมอร์ (Baltimore) ในหนึ่งปีถัดจากความร้อนระอุที่เกิดขึ้นภายในเมืองที่เกิดจากการลอบสังหาร มาร์ติน ลูเธอร์ คิงส์ (Martin Luther King) ในประเทศสหรัฐอเมริกา การเคลื่อนไหวในการต่อต้านสงครามและสงครามกลางเมืองกำลังครุกรุ่น และสำหรับผมแล้ว ผมกำลังเขียนหนังสือเล่มหนาเล่มหนึ่งที่อาศัยความเป็นกลางซึ่งดูเหมือนว่าจะไม่สามารถเข้ากับบริบทรอบๆ ได้เลย ผมตระหนักดีว่าถึงเวลาแล้วที่ผมควรจะต้องคิดทบทวนใหม่ในหลายๆ สิ่งที่ผมเคยคิดว่าผมเข้าใจในช่วงปี 1960 ที่ผ่านมา

อะไรที่ทำให้คุณตัดสินใจเดินทางไปสหรัฐอเมริกา

ในช่วงเวลานั้น มหาวิทยาลัยในสหรัฐกำลังขยายตัวโดยเฉพาะในสาขาภูมิศาสตร์ การเรียนในสาขาวิชานี้ในประเทศอังกฤษมีความชัดเจนและเข้มข้นมากกว่าในประเทศอเมริกา ดังนั้นจึงมีความพยายามที่จะดึงเอานักภูมิศาสตร์ชาวอังกฤษหลายคนมาบรรจุตำแหน่งใหม่ที่นี่ ผมได้รับการว่าจ้างให้มาสอนในลักษณะของการสอนพิเศษหลายครั้ง และเมื่อผมได้รับการหยิบยื่นตำแหน่งในมหาวิทยาลัย จอห์น ฮอบกิ้น (Johns Hopkins) ผมรู้สึกว่ามันเป็นโอกาสพิเศษ มันเป็นสาขาวิชาที่เป็นการสอนแบบบูรณาการข้ามศาสตร์ ซึ่งรวมเอาภูมิศาสตร์ (Geography) เข้ากับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering) มีแนวคิดในการนำเอากลุ่มคนทั้งจากสาขาวิทยาศาสตร์สังคมและวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเข้ามาด้วยกัน เพื่อทำการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในหลายๆ ทาง หลากหลายมิติ ผมเป็นหนึ่งในกลุ่มแรกๆ ที่เข้ามาสู่โครงการนี้ สำหรับผมแล้ว มันเป็นสถานการณ์ที่มีความน่าตื่นเต้นมากโดยเฉพาะในช่วงปีแรกๆ ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิศวกรว่าพวกเขาคิดอย่างไร เกี่ยวกับกระบวนการทางการเมือง เกี่ยวกับปัญหาทางเศรษฐกิจ ผมไม่มีความรู้สึกเหมือนถูกกรอบหรือถูกบีบจากความรู้ทางสาขาภูมิศาสตร์แต่อย่างใด

ในช่วงนั้น บรรยากาศทางการเมืองเป็นอย่างไร

ในมหาวิทยาลัยฮอบกินส์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ค่อนข้างหัวเก่า แต่ในขณะเดียวกันก็มีประวัติศาสตร์อันยาวนานเกี่ยวกับคนที่มีหัวคิดก้าวหน้าที่เกิดขึ้นจากสถานที่แห่งนี้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น มีคนๆ หนึ่งที่ผมสนใจมาก โดยเฉพาะเมื่อผมเพิ่งจะมาถึงที่นี่ หนังสือของเขาที่มีชื่อว่า 'Inner Frontiers of Asia' คนๆ นี้คือ โอเวนต์ ละติมอลต์ (Owen Lattimore) (*) ผู้ซึ่งสอนอยู่ที่บัลติมอร์เป็นเวลาหลายปีแล้ว ก่อนหน้านี้เขาถูกกล่าวหาว่าเป็นหนึ่งใน "McCarthyism" [ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ผู้แปล] ผมใช้เวลาในการพูดคุยกับคนอื่นๆ ผู้ซึ่งอยู่ที่นั่นเพื่อที่จะให้เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับเขา และเดินทางไปพบกับ ละติมอร์ด้วยตัวเอง สุดท้ายผมสามารถเชื่อมโยงไปถึง วิวโฟเกล (Wittfogel) ผู้ซึ่งเป็นคนกล่าวหาเขา เพื่อที่จะหาคำอธิบายว่าทำไมเขาถึงกล่าวหาละติมอร์อย่างรุนแรงแบบนั้น

(*)Owen Lattimore (July 29, 1900 - May 31, 1989) was a distinguished U.S. author, educator, and influential scholar of both China and its borderlands in Central Asia, especially Mongolia.

Early life: Although born in America, Lattimore was raised in Tianjin, China, where his parents, David and Margaret Lattimore, were teachers of English at a Chinese university. (His brother was the classics translator Richmond Lattimore. One of his sisters was the children's author Eleanor Frances Lattimore.) He left China at the age of twelve and attended schools in Switzerland and England, but returned in 1919 when it turned out that he would not have enough funds for attending university. He worked first for a newspaper, and then for a British import/export related business. This gave him the opportunity to travel extensively in China. His travels also laid the ground for his life-long interest in all matters related to the Mongols and other peoples of the Silk Road, and for his later reputation as expert on these areas.

ผมมีความสนใจในประวัติศาสตร์การเมืองภายในมหาวิทยาลัย เช่นเดียวกันกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับการเมืองภายในเมือง มันเป็นมหาวิทยาลัยเล็กๆ ซึ่งยังคงสภาพของความเป็นหัวเก่าอย่างชัดเจน แต่เพราะเหตุผลดังกล่าว แม้ว่าจะเกิดสิ่งที่เรียกได้ว่าสุดโต่งในเหตุการณ์เล็กๆ มันสามารถที่จะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากมาย เช่นในช่วงเปลี่ยนเข้าสู่ปี 1970 ซึ่งเป็นช่วงการต่อต้านสงคราม เช่นเดียวกันกับการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิที่เกิดขึ้นภายในรั้วมหาวิทยาลัย บัลติมอร์สร้างความสนใจให้กับผมตั้งแต่เริ่มต้น ในความเป็นจริงแล้ว มันกลายเป็นพื้นที่ที่น่าสนใจมากๆ ในการทำงานภาคสนาม ผมกลายเป็นคนหนึ่งซึ่งมีส่วนร่วมกับการศึกษาเกี่ยวกับการเลือกปฎิบัติในโครงการบ้านจัดสรรต่างๆ และตั้งแต่นั้นมา ความเป็นเมือง ก็ได้กลายเป็นเสมือนพื้นฐานที่อยู่ภายในความคิดของผมตลอดมา

อะไรคือความเฉพาะเจาะจงของเมือง บัลติมอร์ ในฐานะเมืองหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกา

เมื่อพิจารณาในหลายๆ มุมมองแล้ว มันทำหน้าที่สะท้อนให้เห็นกระบวนการในการกลายเป็นเมืองภายใต้แนวคิดระบบทุนนิยมได้ถูกบรรจุลงในเมือง เสมือนตัวของมันเองกลายเป็นตัวอย่างในการค้นหาทดลองแนวคิดของความเป็นเมืองร่วมสมัย แต่แน่นอนว่ามันมีความแตกต่างภายในตัวเอง ในเมืองหลายๆ เมืองทางเหนือ ซึ่งมีโครงสร้างอำนาจอย่างง่ายๆ เช่นในบัลติมอร์ ภายหลังปี 1900 เป็นต้นมา อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้ย้ายออกไปจากเมือง ปล่อยให้การควบคุมดูแลตกอยู่ภายใต้กำมือของกลุ่มคนรวยผู้ซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธนาคาร ทุกวันนี้ ไม่มีสำนักงานใหญ่ในเมืองบัลติมอร์ และเมืองเองก็ถูกมองว่าเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ในภาคใต้ของประเทศ เพราะว่ามันมีการจัดการเหมือนโครงสร้างโดยสถาบันทางการเงินไม่กี่สถาบันที่ควบคุมดูแลเมืองอยู่

และในความเป็นจริงแล้ว ในโครงสร้างทางสังคมในเมืองประกอบไปด้วยครึ่งหนึ่งเป็นคนเหนืออีกครึ่งหนึ่งเป็นคนใต้ สองในสามของประชากรเป็น แอฟริกัน-อเมริกัน แต่ไม่มีทางที่คุณจะพบจำนวนคนดำที่มีอยู่ในส่วนของกองทัพเท่ากับใน ฟิลลาเดลเฟีย นิวยอร์ก หรือ ชิคาโก ความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของคนทางใต้ ผู้นำของรัฐมักจะเป็นแอฟริกัน-อเมริกันแต่ยังคงต้องมีการพึ่งพากับสถาบันทางการเงิน และยังคงถูกล้อมรอบด้วยกลุ่มชาวผิวขาวที่อยู่ตามชานเมืองผู้ซึ่งไม่ต้องการที่จะมีส่วนร่วมใดๆ กับเมือง

ในทางวัฒนธรรมแล้ว มันเป็นเหมือนศูนย์กลางของรสนิยมที่แย่ของชาวอเมริกัน ในหนังของ จอห์น วอลเตอร์ (John Walter) หลายๆ เรื่องมันสะท้อนภาพให้เห็นความเป็นบัลติมอร์ คุณไม่สามารถจินตนาการถึงอย่างอื่นหรือที่อื่นๆ ได้เลย. ในทางสถาปัตยกรรมแล้ว ไม่ว่าเมืองจะทำอะไรก็ตามดูเหมือนว่าจะต้องมีความผิดพลาดเสมอๆ เหมือนสถาปนิกผู้ซึ่งสร้างบ้านที่มีการคำนวณองศาผิดพลาด และในหลายๆ ปีถัดมา ผู้คนกลับพูดกันว่า "นั่นไม่ใช่ หรือเป็นโครงสร้างที่น่าสนใจ" กลายเป็นสิ่งที่ดำเนินไปสู่ความรักใคร่ชอบพอในที่สุด ครั้งหนึ่งผมมีความคิดที่จะเขียนเรื่องเกี่ยวกับเมือง บัลติมอร์ : เมืองแห่งการพลิกผัน (Baltimore: City of Quirks)

หนังสือเล่มที่สองของคุณ "ความยุติธรรมทางสังคมและเมือง" (Social Justice and the City) ซึ่งพิมพ์ออกมาในปี 1973 ถูกแบ่งออกเป็นสามส่วน: แนวทางของเสรีนิยม (Liberal Formulations - หลักการเสรีนิยม), แนวทางของมาร์กซ์ซิสต์ (Marxist Formulations), และ การสังเคราะห์ (Syntheses) คุณเขียนมันในลักษณะที่เป็นระบบแบบนี้ตั้งแต่ต้นหรือเปล่า เป็นการตรวจสอบเส้นทางของการวิวัฒนาการทางความคิดของคุณด้วยหรือไม่ หรือว่ามันเกิดขึ้นเองในระหว่างการเดินทางบนเส้นทางของความรู้

ลำดับที่ได้กล่าวถึงนั้นมันค่อนข้างที่จะเกิดขึ้นโดยบังเอิญมากกว่าที่จะมีการวางแผนเอาไว้ เมื่อผมเริ่มเขียนหนังสือ ผมอยากจะเรียกตัวผมเองว่าเป็น Fabian Socialist [เป็นกลุ่มของนักเคลื่อนไหวทางสังคม เกิดขึ้นท่ามกลางกลุ่มนักคิดในประเทศอังกฤษ ผู้ซึ่งมีความมุ่งหวังที่จะผลักดันให้เกิดแนวทางของสังคมนิยมประชาธิปไตย โดยอาศัยการค่อยเป็นค่อยไปในการผลักดันและผ่านการปรับเปลี่ยนโครงสร้างมากกว่าการใช้แนวทางของการปฎิวัติ] แต่นั้นเป็นเพียงแค่ฉลากเท่านั้น เพราะมันไม่ค่อยมีบทบาทอะไรมากนักในบริบทของประเทศสหรัฐฯ ไม่มีคนเข้าใจว่ามันหมายถึงอะไร ในอเมริกา ผมกลายเป็นเพียงแค่คนถือฉลากที่ว่าด้วยการปลดปล่อยให้เป็นอิสระ(เสรีนิยม) ซึ่งผมพบว่ามันไม่มีประโยชน์ใดๆ ดังนั้นผมจึงเลือกที่จะหันไปสู่แนวทางของมาร์กซ์ซิสต์ เพื่อที่จะลองดูว่ามันจะทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้างไหม การเปลี่ยนจากแนวทางหนึ่งไปสู่อีกแนวทางหนึ่งไม่ใช่เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดมาก่อนล่วงหน้า มันเป็นการค้นพบโดยบังเอิญ

แต่คุณก็เข้าไปมีส่วนร่วมกับกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อการอ่านและศึกษางาน Capital ของมาร์กซ์ซ์ ตั้งแต่ในปี 1971 เป็นต้นมา ไม่นานหลังจากที่คุณย้ายมาที่บัลติมอร์ มันคือประสบการณ์ที่คุณกล่าวถึงเมื่อตอนที่ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาการทางความคิดหรือไม่ คุณเป็นตัวหลักของกลุ่มนั้นหรือไม่?

ไม่ใช่ การจัดตั้งขึ้นเกิดจากกลุ่มของนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ซึ่งต้องการอ่าน Capital. ดิกซ์ เวอกเกอร์ (Dick Walker) เป็นหนึ่งในนั้น และผมเป็นคนจากคณะฯ ผู้ซึ่งช่วยในการจัดการเท่านั้น ในช่วงเวลาดังกล่าว ผมไม่เรียกตัวเองว่าเป็นมาร์กซ์ซิสต์ (Marxist) และที่จริงรู้น้อยมากเกี่ยวกับงานของมาร์กซ์ ในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาที่งานของมาร์กซ์ยังไม่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษมากนัก ต่อมา พวกคุณ [ในที่นี้คือกลุ่มของ New Left Review] ได้นำเอางานเขียนภาษาฝรั่งเศสและเยอรมันเข้ามา และที่สำคัญห้องสมุด Penguin Marx Library โรงพิมพ์ Grundrisse คือผลผลิตที่ได้จากความก้าวหน้าในสิ่งที่เกิดขึ้น ประสบการณ์ที่ได้จากกลุ่มของการอ่านเป็นประสบการณ์ที่ดี แต่ผมไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่จะชี้แนะใครได้ในกลุ่ม มันเหมือนคนตาบอดช่วยนำคนตาบอด ซึ่งสิ่งที่ได้มันเป็นเรื่องที่น่าประทับใจมาก

บทสรุปของคุณในงาน "ความยุติธรรมทางสังคมและเมือง" (Social Justice and the City) คุณอธิบายว่าได้มีโอกาสศึกษางานของ ฮองรี เลอแฟร์ (Henri Lefebvre) ในมุมที่เกี่ยวกับแนวคิดของเมืองหลังจากที่คุณเขียนงานไปเกือบจบแล้ว และยังมีการตั้งข้อคิดที่น่าสนใจเอาไว้อีกด้วย ในขณะนั้นคุณมีความคิดเกี่ยวกับแนวคิดที่มาจากฝรั่งเศสในเรื่องที่ว่าง(พื้นที่)ขนาดไหน เมื่อมองย้อนกลับไปมีคนเคยกล่าวว่า มีแนวคิดสองสายที่อยู่ในแนวคิดของ มาร์กซ์ซิสต์ฝรั่งเศส ซึ่งอาจจะมีผลเกี่ยวเนื่องมายังคุณ: ภูมิศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์ของ อีฟ ลาครอส (Yves Lacoste) และเพื่อนร่วมคิดของเขาที่ Herodote, และทฤษฏีร่วมสมัยเกี่ยวกับเมืองของเลอแฟร์ ซึ่งเป็นเหมือนผลผลิตที่น่าประทับใจของกลุ่มนักคิดแนวเหนือจริง (Surrealism) ที่เกี่ยวกับเมืองในฐานะภูมิทัศน์ในชีวิตประจำวันที่ไม่สามารถคาดเดาได้

(*) Henri Lefebvre (16 June 1901 - 29 June 1991) was a French sociologist, intellectual and philosopher who was generally considered a Neo-Marxist.

Henri Lefebvre, the most prolific of French Marxist intellectuals.During his long career, his work has gone in and out of fashion several times, and has influenced the development not only of philosophy but also of sociology, geography, political science and literary criticism. http://www.sociologyprofessor.com/socialtheorists/henrilefebvre.php

แท้จริงแล้วมันมีอีกเส้นทางหนึ่งในฝรั่งเศส ซึ่งมีความสำคัญมากกว่าแนวคิดทั้งสองแนวที่คุณกล่าวถึง เป็นแนวคิดที่มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีผู้ที่เป็นตัวแทนคือ แพรรี่ จอร์ส (Pierre Georges) (*) กลุ่มดังกล่าวมีอิทธิพลอย่างมากในระบบของมหาวิทยาลัย มีการควบคุมอย่างมากที่อยู่นอกเหนือจากสิ่งที่ปรากฏ ภูมิศาสตร์ในลักษณะนี้ไม่ได้มีนัยยะทางการเมืองมากมายนัก มันมุ่งเน้นถึงพื้นฐานทางขอบเขตและพื้นที่ซึ่งสังคมของมนุษย์สร้างขึ้นมาบนมัน ผลจากการเปลี่ยนแปลงนี้ในฐานะแรงงานของการผลิต เกิดขึ้นโดยการถูกทำให้เคลื่อนไหวบนพื้นดิน ผู้คนไม่ได้มอง เลอแฟร์ ในฐานะของนักภูมิศาสตร์ แต่จอร์สถือได้ว่าเป็นจุดอ้างอิงที่สำคัญในแนวคิดแบบนี้

(*) Pierre Georges (1919-1944), better known as Colonel Fabien, was one of the two members of the French Communist Party who perpetrated the first assassinations of German personnel during the Occupation of France during the Second World War.

การตอบสนองของคุณต่อแนวคิดของ เลอแฟร์ ค่อนข้างน่าสนใจ ซึ่งเกิดขึ้นในงานช่วงหลังๆ ในมุมหนึ่ง คุณต้อนรับแนวคิดสุดโต่งของเลอแฟร์อย่างอบอุ่น ซึ่งเห็นได้จากความชื่นชมงานเขียนของเขาที่เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องดินแดนอุดมคติ แต่ในอีกมุมหนึ่ง คุณกลับชี้ให้เห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องทำให้เกิดความเสมอภาคและเท่าเทียมกับความเป็นจริง สองมุมที่ผมกล่าวถึงนี้กลายเป็นลักษณะการเขียนในงานของคุณ คือผู้คนคิดเกี่ยวกับทั้งในแง่ของจินตนาการและข้อจำกัดของกรอบในแง่มุมของสิ่งที่ปรากฏ แนวคิดที่ว่าด้วย "การสะสมที่มีพลวัตร" (Flexible Accumulation) ในหนังสือ "เงื่อนไขของหลังสมัยใหม่นิยม" (The Condition of Postmodernity) มองว่าเป็นสิ่งที่คุณตอบโต้กลับ เพื่อทำการเปิดเผยให้เห็นถึงตรรกะทางเศรษฐกิจในงานเขียนของคุณ มันจึงกลายเป็นการผสมผสานที่ไม่ปกติธรรมดาของความมุ่งมาดปราถนาในการเข้าร่วมและความใจเย็นสำหรับคนที่คิดไตร่ตรอง

บทเรียนหนึ่งที่ผมได้จากการเขียนเรื่อง ความยุติธรรมทางสังคมและเมือง (Social Justice and the City) ซึ่งยังคงเตือนสติผมถึงความสำคัญอยู่ตลอดมา ผมสามารถที่จะนำเสนอโดยผ่านคำพูดที่มาร์กซ์ชอบใช้ คือ เมื่อเราพูดถึงการที่เรานำเอาแนวคิดสองแนวคิดที่มีความแตกต่างกันมาถูนวดกันเพื่อที่จะสร้างให้เกิดประกายความคิด นวัตกรรมเชิงทฤษฏีมันจะออกมาในรูปของการขัดแย้งระหว่างเส้นสายของแนวคิดที่มีความแตกต่างกัน ในความขัดแย้งตรงนี้เองมันไม่ควรที่จะทำให้เกิดการยอมแพ้ หรือยกเลิกจุดเริ่มต้นของแนวคิดใดแนวคิดหนึ่ง ความคิดใหม่จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อวัตถุดิบที่เป็นจุดเริ่มต้นนั้นจะไม่ถูกทำให้กลืนเข้าไปกับสิ่งใหม่อย่างสมบูรณ์ แนวทางเรื่องเสรีนิยมที่อยู่ใน "ความยุติธรรมทางสังคมและเมือง" (Social Justice and the City) ยังไม่ศูนย์หายไปไหน มันยังคงปรากฏในเนื้อหาที่ตามมา

เมื่อผมอ่านงานของมาร์กซ์ (Marx) ผมมีความตระหนักอยู่เสมอว่านี้คือแนวคิดที่วิพากษ์เศรษฐกิจการเมือง มาร์กซ์ไม่เคยกล่าวว่า สมิทซ์ (Smith) หรือ ริคาโด (Ricardo) เต็มไปด้วยความไร้สาระ เขาเคารพในสิ่งที่คนอื่นๆ คิดและกล่าว แต่มาร์กซ์ก็สร้างแนวคิดที่จะต่อต้านแนวคิดของพวกเขาด้วย จาก เฮเกล (Hegel) ไปสู่ เฟอร์ริเออร์ (Fourier) ในกระบวนการของการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นมันจึงกลายเป็นแนวทางในการทำงานของผม เลอแฟร์อาจจะมีแนวคิดที่วิเศษ นักคิดที่นิยมคิดเกี่ยวกับการสร้างกฎเกณฑ์ (Regulationists) ได้พัฒนาแนวคิดที่น่าสนใจ ซึ่งสมควรที่จะได้รับเคารพในแนวทางดังกล่าว แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณควรจะต้องยกเลิกหรือยอมแพ้ต่อสิ่งที่คุณยึดถือ คุณต้องพยายามที่จะถูแนวคิดทั้งสองเข้าด้วยกันและตั้งคำถามว่า มันจะมีอะไรเกิดขึ้นหรือไม่ซึ่งอาจจะเป็นแนวความคิดใหม่ก็เป็นได้

อะไรคือการตอบรับของแนวคิดที่คุณเสนอใน "ความยุติธรรมทางสังคมและเมือง" (Social Justice and the City) เมื่อเข้าสู่ภูมิศาสตร์ ในช่วงต้นปี 1970 เป็นช่วงที่เกิดการเปลี่ยนข้างของนักคิดก้าวเข้าไปสู่ฝ่ายซ้ายมากขึ้น มันได้รับการเห็นอกเห็นใจบ้างหรือไม่

ในสหรัฐ มีการเคลื่อนไหวอย่างสุดโต่งเกิดขึ้นก่อนหน้านั้นแล้วโดยเฉพาะในสายภูมิศาสตร์ ซึ่งเกิดขึ้นจากการวารสาร Antipode ซึ่งเป็นวารสารที่ผลิดโดยมหาวิทยาลัยคลากซ์ (Clark University) ในวอรเชสเตอร์ (Worcester) แมตซาซูเสท (Massachusetts) ซึ่งเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สอนภูมิศาสตร์ในประเทศนี้ มันก่อตั้งจากแนวคิดที่ต่อต้านแนวคิดอาณานิคม จักรวรรดิ์ เป็นประวัติศาสตร์ของภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากการต่อรองกับอาณานิคมชาวตะวันตก วารสารดังกล่าวแพร่กระจายอย่างมากและมีผลต่อการแทรกแซงแนวคิดในระดับชาติ และได้ก่อตั้งกลุ่มที่เรียกว่า นักภูมิศาสตร์สังคมนิยม (Socialist Geographers) ในประเทศอังกฤษ. ดอเรียน แมทซี่ (Doreen Massey) (*) และคนอื่นๆ เป็นเสมือนตัวแทนของกลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวในทิศทางใกล้เคียงกันนี้

(*) Doreen Massey FRSA FBA (born 1944), is a contemporary British social scientist and geographer, and currently serving as Professor of geography at the Open University.

ผมว่าช่วงเวลานั้นประมาณปี 1970 มันมีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวางท่ามกลางคนหนุ่มสาวในสายภูมิศาสตร์ เพื่อที่จะทำการสำรวจมิติดังกล่าว "ความยุติธรรมทางสังคมและเมือง" (Social Justice and the City) กลายเป็นหนังสือเล่มหนึ่ง ที่บันทึกถึงการเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงนั้น กลายเป็นจุดอ้างอิงเมื่อเวลาล่วงเลยไป หนังสือเล่มดังกล่าวถูกอ่านในและนอกสาขาภูมิศาสตร์เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะท่ามกลางพวกนักสังคมวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับเมือง และนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจเกี่ยวกับการเมือง แน่นอนว่า นักเศรษฐศาสตร์ที่มีแนวคิดแบบสุดโต่งย่อมจะสนใจในคำถามที่เกี่ยวข้องกับเมืองเช่นเดียวกัน สิ่งเหล่านี้กลายเป็นเนื้อหาทางการเมืองที่สำคัญในประเทศสหรัฐ ดังนั้นผมอาจจะกล่าวได้ว่าจากปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมันกลายเป็นผลดีต่อการตอบรับที่ดีของหนังสือเล่มดังกล่าว

"ข้อจำกัดต่างๆ ต่อเรื่องทุนนิยม" (The Limits to Capital) ปรากฏขึ้นในช่วงเก้าปีต่อมา ในปี 1982 มันมีเนื้อหาหลักที่เกี่ยวข้องกับทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งแน่นอนว่ามันปรากฏขึ้นตั้งแต่ในงานเขียนก่อนหน้าของคุณ อะไรคือประวัติศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงตรงนี้

ผมมีพื้นความรู้ที่เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจพื้นฐานใหม่ และทฤษฏีของการวางผังจากแคมบริสต์ สำหรับนักภูมิศาสตร์ ทฤษฏีที่ว่าด้วยตำแหน่งของ วอน ทูนนิน (Von Thunen) (*) เป็นจุดอ้างอิงที่สำคัญมากตั้งแต่แรกเริ่ม และแน่นอนว่าในการเขียน "คำอธิบายในภูมิศาสตร์" (Explanation in Geography) ผมได้นำพาตัวผมเองเข้าสู่การถกเถียงของนักประจักษ์นิยม ซึ่งใช้หลักการเหตุผลทางคณิตศาสตร์เป็นตัวอธิบาย หลังจากนั้นผมมีโอกาสศึกษางานของนักเศรษฐศาสตร์สายมาร์กซิสต์เช่น มอริสชิมา (Morishima) หรือ ดีทราย (Desai) ผมไม่มีปัญหาในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น งานของมอริสชิมาและสวีซี่ (Sweezy) ทฤษฏีที่ว่าด้วยการพัฒนาระบบทุนนิยม (Theory of Capitalist Development) ซึ่งมีประโยชน์ต่อผมเป็นอย่างมาก แต่ด้วยความสัตย์จริง ในการเขียน "ข้อจำกัดต่างๆ ต่อเรื่องทุนนิยม" (The Limits to Capital) ผมมีปัญหาต่อการอ่านงานเขียนของมาร์กซ์เป็นอย่างมาก

(*) Johann Heinrich von Thunen (24 June 1783 - 22 September 1850) was a prominent nineteenth century economist. Von Th?nen was a Mecklenburg (north German) landowner, who in the first volume of his treatise, The Isolated State (1826), developed the first serious treatment of spatial economics, connecting it with the theory of rent. The importance lies less in the pattern of land use predicted than in its analytical approach.

สิ่งที่ผมได้ตระหนักถึงหลังจากที่ได้เขียน ความยุติธรรมทางสังคมและเมือง (Social Justice and the City) คือผมไม่ได้เข้าใจงานของมาร์กซ์ และจำเป็นอย่างมากที่จะต้องทำให้มีความกระจ่างมากขึ้นสำหรับตัวผมเอง ซึ่งผมพยายามจะทำด้วยตัวเอง จุดมุ่งหมายของผมคือ การที่จะสามารถชี้ให้เห็นถึงจุดที่ทฤษฏีสามารถช่วยให้ผมเข้าใจเรื่องราวที่เกี่ยวกับเมือง เช่นผมจะไม่สามารถทำความเข้าใจได้ ถ้าผมไม่ได้ตั้งคำถามต่อระบบทุนนิยมที่ไม่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยมีคนกล่าวถึงเขียนถึงมากนักในช่วงนั้น มีปัญหาที่เกี่ยวกับระบบการเงินของทุนนิยม ซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานในตลาดของบ้านจัดสรร ซึ่งผมได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้จากบัลติมอร์ ถ้าผมเพียงแค่หยุดที่จะพูดถึงมันในช่วงแรกของหนังสือ มันก็จะเป็นเหมือนกับงานเขียนชิ้นอื่นๆ ที่นำเอาทฤษฏีของมาร์กซ์ไปใช้ในช่วงนั้น

ในช่วงหลังของหนังสือ เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกี่ยวกับระบบทุนนิยมแบบคงที่ และค้นหาว่าสิ่งเหล่านี้มีความเชื่อมโยงอย่างไรสู่ระบบการเคลื่อนไหวทางการเงิน ระบบการเงินทุนนิยม และมิติในเชิงที่ว่าง [หรือในความหมายทางภูมิศาสตร์ ผู้แปล] ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้ ซึ่งทำให้หนังสือที่ออกมามีความแตกต่างมากกว่าปกติ มันเป็นสิ่งที่ยากที่จะทำการเขียน "ข้อจำกัดต่างๆ ต่อเรื่องทุนนิยม" ซึ่งเกือบจะทำให้ผมเสียสติ ผมประสบปัญหามากที่จะเขียนมันให้จบ และในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามเขียนให้มันอ่านง่ายด้วย ซึ่งสิ่งนี้กินเวลาผมอย่างมากในช่วงสิบปีที่ผ่านมา หนังสือเล่มนี้เป็นเหมือนข้อสรุปของสิ่งที่ผมทำมาตลอด มันเป็นงานเขียนชิ้นโปรดของผม แต่อาจจะเป็นเล่มที่มีคนอ่านน้อยที่สุด

มีการตอบสนองอย่างไรในช่วงเวลานั้น เพราะสำหรับ "วารสารซ้ายใหม่" (New Left Review) ไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก แต่สำหรับส่วนของพวกซ้ายอื่นๆ ล่ะ มีการตอบสนองอย่างไร?

เท่าที่ผมจำความได้ ผมเชื่อว่าไม่มีใครที่เรียกตัวเองว่า นักเศรษฐศาสตร์มาร์กซิสต์ อ่านมันอย่างจริงจัง ผมมีความแปลกใจอยู่เหมือนกัน เพราะมันช่างไม่เหมือนกับวิธีการของมาร์กซ์ในการพัฒนาแนวคิดหรือสร้างข้อถกเถียง แน่นอนว่ามันมีคำอธิบายหลายหลากที่สามารถอธิบายถึงการไม่มีการตอบสนอง ข้อขัดแย้งที่มีขึ้นระหว่างแนวคิดของสตาฟฟ่า (Sraffa) และแนวคิดของมาร์กซ์ที่เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องของมูลค่า (the Concept of Value) ยังคงดำเนินอยู่ ซึ่งผมคิดว่าทำให้หลายๆ คนได้เปลี่ยนท่าทีที่พยายามพิจารณาทฤษฏีของมาร์กซ์ว่าเป็นทฤษฏีของการพัฒนาการระบบทุนนิยม ในขณะเดียวกันมันมีทฤษฏีที่เป็นปัญหาถกเถียงเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น ทฤษฏีของ จิม โอ คอนเนอร์ (Jim O'Connor) และ จอห์น วีค (John Week) ในส่วนท้ายของหนังสือ มันเกือบเหมือนสงครามภายในกลุ่มนักล่าอาณานิคม มีเพียงการโต้แย้งที่ชัดเจนที่เกี่ยวกับหนังสือเกิดขึ้นเมื่อ ไมเคล ลีโบวิส (Michael Lebowitz) (*) ได้โจมตีมันในวารสาร Monthly Review และผมได้ตอบกลับภายหลังที่ข้อโต้แย้งนี้ปรากฏ โดยภาพรวมแล้ว ดูเหมือนว่าจะไม่มีการโต้เถียงกันเกี่ยวกับหนังสือมากนัก

(*) Michael Lebowitz is a founding member of the Socialist Studies Society and a Professor Emeritus of Economics at Simon Fraser University. He delivers his speech "Socialism for the 21st Century" at the Humanities Congress 2008 held at the University of British Columbia. He compares the past of Socialism to the current applications in Venezuela and its applicability in the North America.

คุณดูเหมือนว่าจะมีเพื่อนในทำนองเดียวกันนี้เยอะ มาร์กซ์ก็ไม่ค่อยมีข้อโต้แย้งสำหรับงานเขียนของเขา ทุนนิยม (Capital) เขาถูกเรียกร้องให้เขียนคำวิจารณ์เกี่ยวกับมันภายใต้นามปากกาอื่น เมื่อมองกลับไป สิ่งที่น่าสนใจมากคือ งานทฤษฏีของคุณที่ว่าด้วยวิกฤตได้ถูกตอบรับจากคนในวงนอกสายนักเศรษฐศาสตร์ คนหนึ่งคือ โรเบิร์ต เบรนเนอร์ (Robert Brenner) จากสายประวัติศาสตร์ และอีกคนหนึ่งคือ จีโอวานี่ อาริชไฮ (Giovanni Arrighi) จากสายสังคมวิทยา จากความเข้าใจของทั้งคู่ ที่ว่าง(พื้นที่)กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานในการอธิบาย ซึ่งไม่สามารถพบได้ในแนวคิดแบบมาร์กซิสต์ก่อนหน้าหนังสือของคุณ สิ่งที่พบเจอเป็นส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเชิงประจักษ์

ในทางหนึ่งเหมือนเป็นการเข้าไปตรวจสอบเศรษฐกิจแห่งชาติภายหลังช่วงสงคราม ในอีกทางหนึ่งเหมือนเป็นการตรวจสอบการแผ่ขยายของโลกาภิวัฒน์ด้วย แต่ในโครงสร้างนี้และในอีกหลายๆ ปัจจัยของข้อสรุป มีความคล้ายคลึงกันอยู่ งานเขียนของคุณได้ให้แนวคิดที่ชัดเจนสำหรับคำอธิบาย มันเป็นการวิเคราะห์แบบไตรภาคี ที่ชี้ให้เห็นถึงระบบทุนนิยมที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือมีโอกาสที่จะนำไปสู่ วิกฤต เช่น โครงสร้างที่ไม่มีความยืดหยุ่น คุณลักษณะเชิงที่ว่างที่ไม่มีความยืดหยุ่น และเวลาที่ไม่มีความยืดหยุ่น ซึ่งถูกเขียนขึ้นโดยที่ไม่มีตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นอย่างชัดแจ้ง

เมื่อมองกลับไป คุณอาจจะกล่าวได้ว่ามันเป็นเสมือนการทำนาย แต่สิ่งที่ผมหวังเอาไว้คือการนำเสนองานเขียนที่สามรถต่อยอดได้ สิ่งที่ปรากฏกลับเป็นว่ามันไม่ได้เป็นไปแบบนั้น มันถูกทิ้งเอาไว้และไม่มีการต่อยอดอย่างที่หวัง แน่นอนว่ามันมีการเคลื่อนไหวอยู่ท่ามกลางกลุ่มนักคิดภูมิศาสตร์หัวก้าวหน้าหลายคน และมีบางส่วนที่เป็นนักสังคมวิทยา แต่ไม่มีใครที่จะใช้มันอย่างจริงๆ จังๆ ดังที่ผมต้องการให้มันเป็น ดังนั้นในวันนี้ ผมอยากจะนำมันกลับมาใหม่ เพื่อที่จะทำการคิดทบทวนกับระบบทฤษฏีของโลกอีกครั้ง ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่ผมจะทำในปีข้างหน้านี้

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++ คลิกไปอ่านต่อตอนที่ ๒

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๑ : Release date 23 August 2008 : Copyleft MNU.

จากประสบการณ์การทำงานของผมในภาควิชาวิศวกรรม ทำให้ผมได้รับแนวคิดการหาทางออกในเชิงปฎิบัติ ซึ่งทำให้ผมกลายเป็นดั่งกับผู้พยากรณ์ ผมใช้เวลาเป็นอย่างมากที่จะพยายามชักชวนให้วิศวกรหลายคนได้ยอมรับว่า ความรู้ซึ่งรวมถึงความรู้ในเชิงเทคนิคก็ยังเป็นความรู้ที่ถูกสร้างขึ้นมาทางสังคม แต่เมื่อผมทำการโต้แย้งกับคนจากสายมนุษย์ศาสตร์ ผมกลับกลายเป็นคนที่จะต้องชี้ประเด็นให้พวกเขาเห็นว่า เมื่อท่อทิ้งของเสียของคุณเกิดอุดตัน คุณไม่อาจจะโทรหานักทฤษฏีหลังสมัยใหม่นิยม แต่คุณโทรเรียกวิศวกร ดังเช่นที่มันเกิดขึ้นเพราะในภาควิชาที่ทำงานอยู่ด้วย เป็นภาควิชาที่มีแนวคิดที่สร้างสรรค์เป็นอย่างมากสำหรับระบบท่อทิ้งของเสียนี้ ดังนั้นผมจึงเหมือนอยู่ในบริเวณขอบเขตของทั้งสองวัฒนธรรม

H