ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




06-08-2551 (1631)

Half a brain is better than none: A whole brain would be better
การเขียนรูปด้วยสมองซีกขวา: มีสมองเพียงครึ่งหนึ่งดีกว่าไม่มีเลย
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทต่อเนื่องจากบทความลำดับที่ ๑๖๒๙
บทความแปลชิ้นนี้เรียบเรียงมาจาก
Your Brain : The Right and Left of It
From : Drawing on the Right Side of the Brain
by : Dr. Betty Edwards

หัวข้อสำคัญ: กรอบของงานแปลวิชาการ
- มีสมองเพียงครึ่งหนึ่งดีกว่าไม่มี: แต่มีสมองทั้งสองซีกดีกว่าอย่างแน่นอน
- จินตนาการ และมโนภาพในสมองซีกขวา (Imaging in the right mode)
- เครื่องทอผ้าที่วิเศษ: (The enchanted loom)

- จ้องมองที่เครื่องทอผ้า (Watching the loom)
- การตระเตรียมหรือการสร้างเงื่อนไขต่างๆ สำหรับการสับเปลี่ยนสมองซีก ซ้าย-ขวา
- ความถนัด ซ้าย-ขวา (Handedness , Left or Right)
- ประวัติสังเขปเกี่ยวกับ Betty Edwards

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๓๑
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๐ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Half a brain is better than none: A whole brain would be better
การเขียนรูปด้วยสมองซีกขวา: มีสมองเพียงครึ่งหนึ่งดีกว่าไม่มีเลย
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทต่อเนื่องจากบทความลำดับที่ ๑๖๒๙

มีสมองเพียงครึ่งหนึ่งดีกว่าไม่มี: แต่มีสมองทั้งสองซีกดีกว่าอย่างแน่นอน
(Half a brain is better than none: A whole brain would be better)

ด้วยลำดับการที่เรียงร้อยกันอย่างต่อเนื่องของคำพูดและตัวเลข (verbal and numerical) โรงเรียนต่างๆ ที่คุณและผมเคยเรียนเขียนอ่านกันมา ไม่เคยเลยที่จะเตรียมการฝึกปรือเพื่อที่จะสอนอะไรให้กับสมองซีกขวาของเรา. สมองซีกขวา เมื่อพิจารณาดูแล้วอย่างถึงที่สุด มิได้อยู่ภายใต้ความดีเลิศของการบังคับควบคุมของคำพูด (verbal control) เราไม่สามารถมีเหตุผลกับมัน เราไม่สามารถให้มันสร้างเรื่องราวหรือญัตติในเชิงตรรกะขึ้นมาได้ อย่างเช่น "นี่เป็นสิ่งที่ดี นั่นเป็นสิ่งที่เลว ด้วยเหตุผล ก. ข. และ ค. ตามลำดับ" เป็นต้น

ในเชิงอุปมาอุปมัย สมองซีกขวาคือ "มือซ้าย" ตามความคิดทั้งหมดของคนโบราณเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะ สมองซีกขวา เป็นสมองที่ไม่มีคุณภาพในการเรียงลำดับหรือการใช้เหตุผล เช่น ทำสิ่งนี้เป็นอันดับแรก แล้วค่อยทำในสิ่งนั้นในลำดับต่อไป แล้วก็ต่อไป. สมองซีกขวาอาจจะเริ่มต้นที่ใดก็ได้ หรือนำเอาทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นมาในเวลาเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้น สมองซีกขวายังไม่มีคุณภาพในเรื่องของเวลาด้วย (hasn't a good sense of time) และดูเหมือนว่ามันจะไม่เข้าใจอะไรที่มีความหมายในเรื่องของคำว่า "เสียเวลา". ในขณะที่สมองซีกซ้ายจะมีความรู้สึกเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ได้ดีทีเดียว. สมองซีกขวาไม่ค่อยจะเก่งในเรื่องการจัดลำดับหมวดหมู่ การแบ่งแยกประเภท หรือการระบุชื่อ ดูเหมือนว่ามันจะยอมรับหรือให้ความเคารพกับสิ่งนั้นในชั่วขณะแห่งปัจจุบัน สมองซีกขวามองดูสิ่งต่างๆ อย่างที่ที่มันเป็นง่ายๆ ในความซับซ้อนยุ่งเหยิง น่ายำเกรง งดงามและมีเสน่ห์ นอกจากนี้สมองซีขวายังไม่มีความสามารถในเรื่องของการวิเคราะห์และการย่อสรุปอะไรต่างๆ ทำนองนั้น

แม้จนกระทั่งทุกวันนี้ ผู้ศึกษาเรื่องสมองหลายคนจะได้ผนวกเอาความสำคัญเกี่ยวกับความคิดเรื่องสหัชญาณและการสร้างสรรค์เข้าไปด้วยก็ตาม แต่ระบบการศึกษาตามโรงเรียนและสถานศึกษาต่างๆ โดยทั่วไปยังคงลักษณะโครงสร้างการเรียนการสอนที่เป็นเรื่องของสมองซีกซ้ายอยู่ การเรียนการสอนได้ถูกทำให้เป็นเรื่องของลำดับต่อเนื่อง นักเรียน นักศึกษา จะต้องได้เกรดที่ก้าวหน้าขึ้นไป เป็น หนึ่ง สอง สาม อะไรเหล่านี้ ซึ่งเป็นไปตามทิศทางของเส้นตรง. หัวข้อสำคัญส่วนใหญ่ในการศึกษาและการเรียนรู้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำพูดและการคิดคำนวณ (verbal and numerical) เช่น การอ่าน การเขียน เรียนเลขหรือคณิตศาสตร์ ตารางสอนก็เป็นไปตามกำหนดเวลา แถวที่นั่งของนักเรียนก็จัดเป็นแถวๆ ในแนวเส้นตรง ผู้เรียนจะได้รับคำตอบต่างๆ ในลักษณะที่เป็นคำตอบที่บรรจบกัน(convergence) ครูบาอาจารย์ให้เกรดต่างๆ ออกมา และทุกๆ คนรู้สึกขึ้นมาว่า มีบางสิ่งบางอย่างที่ผิดปกติ

สมองซีกขวาของคนเรา คนที่ช่างฝัน นักสร้างสรรค์หรือศิลปิน ได้หดหายไปจากโรงเรียนและระบบการศึกษาของพวกเรา ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ทำการสอนเลยในด้านนี้ เราอาจจะพบชั้นเรียนศิลปะเพียงเล็กน้อยหรือชั้นเรียนที่เป็นห้องปฏิบัติการนิดหน่อย หรือบางสิ่งบางอย่างที่เรียกว่า "การเรียนเขียนสร้างสรรค์" (creative writing) หรือไม่บางทีก็กระบวนวิชาที่เกี่ยวกับดนตรีบ้าง แต่ก็ไม่เหมือนกับที่เราต้องการจะพบกับกระบวนวิชาที่เกี่ยวข้องกับจินตนาการ, การทัศนา, การสัมผัสรับรู้, หรือทักษะความชำนาญต่างๆ ในเรื่องเกี่ยวกับทักษะต่างๆ ในเรื่องที่ว่าง(spatial skills). ในการสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นหัวข้อที่แยกออกมา เป็นเรื่องของสหัชญาณ(intuition) เป็นเรื่องของการประดิษฐ์คิดค้น บรรดานักศึกษาทั้งหลายยังคงให้คุณค่าแก่ทักษะความชำนาญเหล่านี้ และมีความหวังว่านักศึกษาทั้งหลายจะได้รับการพัฒนาในเรื่องของจินตนาการ การสัมผัสรู้ และสหัชญาณอย่างเป็นรูปเป็นร่าง ดั่งกับผลลัพธ์ที่ตามมาโดยธรรมชาติเกี่ยวกับการฝึกฝนในเรื่องของคำพูด เรื่องของทักษะทางด้านการวิเคราะห์ เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ตาม ยังนับว่าโชคดีที่การพัฒนาเช่นนั้น บ่อยครั้งมักจะทำให้เกิดขึ้นได้แม้กระทั่งในระบบโรงเรียน ซึ่งถือว่าเป็นบรรณาการอันหนึ่งของประสิทธิภาพที่เหลือรอดมาเกี่ยวกับสมองซีกขวา ทว่าการเน้นย้ำในวัฒนธรรมของพวกเรา มักจะมีความโน้มเอียงอย่างยิ่งไปในทิศทางการให้รางวัลแก่ทักษะความสามารถต่างๆ ของสมองซีกซ้าย ซึ่งพวกเรามั่นใจได้เลยว่า เรากำลังสูญเสียศักยภาพ และความสามารถส่วนใหญ่ที่สุดของสมองของบรรดาเด็กๆ ของเราอีกส่วนหนึ่งไป

นักวิทยาศาสตร์ Jerry Levy เคยกล่าวเอาไว้ว่า อาจเป็นเพียงเรื่องตลกที่ว่า การฝึกฝนแบบวิทยาศาสตร์ของอเมริกัน(American scientific training) ต่อผู้ที่จบการศึกษาในระบบโรงเรียน อาจเป็นการทำลายสมองซีกขวาของชนชาวอเมริกันจนหมดสิ้น แน่นอน พวกเราต่างก็รู้กันอยู่แล้วถึงผลลัพธ์ตางๆ เกี่ยวกับการฝึกฝนที่ไม่เหมาะสมในเรื่องของทักษะความชำนาญที่เกี่ยวกับคำพูดและการคิดคำนวณนี้ อันนี้ดูเหมือนว่า สมองซีกซ้ายที่เกี่ยวกับถ้อยคำ มันไม่เคยเลยที่จะครอบคลุมได้ทั้งหมด และผลกระทบของมันอาจทำให้เกิดข้อบกพร่องที่เป็นอุปสรรคต่อชีวิตของพวกเด็กนักเรียน นักศึกษาโดยทั่วไป. จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง หากว่าสมองซีกขวาจะได้รับการฝึกปรือขึ้นมาอย่างเข้มข้น

บางทีในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ทางด้านประสาทวิทยาอาจได้มีการตระเตรียมเกี่ยวกับพื้นฐานแนวคิดเพื่อที่จะฝึกสมองซีกขวาขึ้นมาบ้าง พวกเราอาจเริ่มต้นที่จะสร้างระบบการศึกษาขึ้นมาสักระบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการศึกษาในระบบที่จะสอนให้มีการใช้สมองทั้งหมด(ทั้งสองซีก) การศึกษาในระบบนั้น มั่นใจได้เลยว่า ได้ผนวกเอาการฝึกปรือในเรื่องของทักษะเกี่ยวกับการวาดเส้น (drawing skills) เข้าไปด้วย ซึ่งจะเป็นหนทางที่ได้ผลและมีประสิทธิภาพในการบรรลุเข้าไปถึงหน้าที่ต่างๆ ของสมองซีกขวา

จินตนาการ และมโนภาพในสมองซีกขวา (Imaging in the right mode)

สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นความสามารถหรือสมรรถนะอันน่าพิศวงของสมองซีกขวาของมนุษย์เราก็คือ เรื่องของ"จินตภาพ" การเห็นภาพในจินตนาการด้วยสายตาแห่งจิตใจ (mind's eye) สมองที่จะร่ายเวทย์มนต์ให้เป็นภาพขึ้นมา และต่อจากนั้นก็ "มองดู" และ "เห็น" มันดูราวกับว่า "เป็นจริงอยู่ที่นั่น". ถึงแม้ว่าสำหรับตัวผู้เขียนแล้ว คำว่า"การเห็นภาพ"(visualizing) จะมีแนวโน้มนำพาความนึกคิดของจินตภาพอันหนึ่งที่ "เคลื่อนไหว" (moving), ในขณะที่ที่คำว่า "จินตภาพ" (imaging) ดูเหมือนว่ามีความหมาย เป็นภาพที่ "คงที่" (still) หรือ "หยุดนิ่ง" มากกว่า

ทั้ง "การเห็นภาพ" และ "จินตภาพ" ต่างก็มีความสำคัญที่ส่งเสริมกันเกี่ยวกับทักษะของการวาดเส้น เพื่อที่จะวาดบางสิ่งบางอย่าง เมื่อศิลปินคนหนึ่งจ้องมองไปที่วัตถุหรือคน "จับเอา" ภาพในจินตภาพหนึ่ง ยึดครองจินตภาพนั้นเข้าไปในความทรงจำ ต่อจากนั้นก็ก้มมองลงไปที่กระดาษเพื่อที่จะวาด เงยหน้าขึ้นมามองอีกครั้งหนึ่ง แล้วก็ยึดครองภาพนั้นเข้าไปในความทรงจำอีกหน วาดต่อไปและทำเช่นนี้อีนับครั้งไม่ถ้วน จนภาพนั้นเสร็จสมบูรณ์

"ซ้าย"และ"ขวา" แตกต่างกัน

- แบบอย่างของซ้าย คือ "มือขวา" เป็นกระบวนการของสมองซีกซ้าย ข้างซ้ายนั้นประกอบด้วยสี่มุมฉาก, ตั้งตรง,
ความรู้สึกไว, เส้นตรง, จริง, ขอบคม, ไม่เพ้อฝัน, และมีพลัง

- แบบอย่างของข้างขวา คือ "มือซ้าย" เป็นกระบวนการของสมองซีกขวา ข้างขวาเป็นเรื่องของเส้นโค้ง, เกี่ยวกับความยืดหยุ่น, มีลักษณะเล่นๆ มากกว่าในสิ่งที่สลับซับซ้อนคดเคี้ยวที่ไม่คาดฝัน, มีความสับสนยุ่งเหยิงกว่า, เป็นเส้นทแยงมุม และเพ้อฝัน

จากที่ยกมาเป็นตัวอย่างข้างต้น มุ่งหมายที่จะกำหนดลักษณะของกระบวนการที่แตกต่างกัน ซึ่งแบบฉบับอันหนึ่งหรือกระบวนการข้อมูลที่ดูเหมือนว่าจะมีอิทธิพลเหนือกว่าอีกอันหนึ่ง ในกิจกรรมต่างๆ ทุกประเภท สมองได้ถูกใช้งานด้วยกันทั้งสองซีก บางครั้งสมองแต่ละซีกก็ทำหน้าที่มีบทบาทนำ หรือบางเวลาสมองแต่ละซีกก็มีส่วนร่วมนำพาภาระหน้าที่ต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน กระบวนการของสมองซีกซ้ายได้รับการลงความเห็นว่ามีอิทธิพลเหนือกว่าในด้านที่เกี่ยวกับเส้นตรง, คำพูด, สัญลักษณ์, และการวิเคราะห์. ส่วนกระบวนการของสมองซีกขวา ได้รับการสรุปว่ามีอิทธิพลเหนือกว่าในด้านที่เกี่ยวกับที่ว่าง, เกี่ยวกับส่วนประกอบทั้งหมด, ไม่เกี่ยวกับคำพูด (nonverbal) และเกี่ยวโยงกับสหัชญาณ (intuitive)



(ภาพตัว L)

1. ภาพตัว L ที่ประกอบด้วยมุมฉากสี่มุม หนา ใหญ่ มองเห็นมันได้ด้วยดวงตา ประกอบด้วยเส้นตรงด้านข้างและเป็นมุมฉาก ตอนนี้ได้ขยายภาพขึ้นมาผนวกกับรูปทรงอีกอันหนึ่งซึ่งเราสามารถมองเห็นในลักษณะเปรียบเทียบในเรื่องของขนาด ภาพแบบฉบับของ L เป็นเรื่องของ: คำพูด ตัวเลข เวลา คณิตศาสตร์ ความเท่ากัน (equation) แผนภาพต่างๆ แผนที่ หนังสือ; ถ้าเป็นเรื่องของบุคคล กระบวนการของ L (สมองด้านซ้าย) บางทีก็เห็นภาพต่างๆ ของพวกนักคณิตศาสตร์ นักกฎหมาย นักวิทยาศาสตร์ นักบัญชีต่างๆ เป็นต้น ภาพเหล่านี้ทำให้เราสามารถที่จะตัดสินอะไรก็ได้ เราจะต้องจำไว้ว่า ภาพต่างๆ ที่จะยกมายังมีอีกมาก และจะกระจ่างชัดกว่านี้ ถ้าเราปรุงปั้นมันขึ้นมาด้วยตัวของเราเองต่อไปอีกในทำนองเดียวกันกับข้างต้น สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ สถานที่ตั้งของกระบวนการของ L (ซ้าย) ในกะโหลกศีรษะของเราที่ควบคุมไปถึงมือขวาของเรา

(ภาพตัว R)

2. ข้อพิจารณาในภาพต่อมา เป็นภาพของตัวอักษร R ที่งดงามอ่อนช้อย มองตัวอักษรดังกล่าว เราจะเห็นถึงความโค้งอันงดงาม ขยายมันขึ้นมาให้ใหญ่ หรือลดขนาดของมันให้เล็กลงตามที่เราปรารถนา เพิ่มเติมรูปทรงแบบอื่นๆ ตามที่เราสามารถที่จะเปรียบเทียบถึงความสัมพันธ์ของมัน ต่อจากนั้นให้เราพิจารณาถึงหน้าที่ต่างๆ ที่มีลักษณะเฉพาะของแบบฉบับของสมองซีกขวา ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นภาพของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสมองซีกขวา ส่วนใหญ่แล้วจะได้แก่ บรรดาจิตรกร ศิลปิน คนที่กำลังเล่นดนตรี ประติมากร หรือนักฝันเฟื่อง ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงเวลา เพราะว่าภาระหน้าที่เหล่านี้มันมีลักษณะที่มีความชัดเจน แจ่มแจ้ง หรือเฉพาะเจาะจงน้อยมาก ในแบบฉบับหรือสไตล์ของสมองซีกขวาที่แท้แล้ว มีลักษณะดังกล่าวน้อยกว่ากระบวนการต่างๆ ของสมองซีกซ้าย ซึ่งอาจเป็นการประเมินค่าพลังจินตภาพต่างๆ ของเรา. มัน"ไม่มีเวลา" หรือ"ไม่เกี่ยวกับเวลา" อันนี้หมายความว่าอย่างไร?

(ภาพประกอบ Dali)

บางทีดังเช่นศิลปินลัทธิเหนือจริง (surrealist artist) อย่างเช่น Dali (*) เขียนภาพนาฬิกาขึ้นมาโดยไม่มีหน้าปัด เราจะเปรียบเทียบภาพหรือสิ่งของต่างๆ ที่เหมือนกันอย่างไร? เราจะนึกภาพปฏิกิริยาตอบโต้ที่หลุดออกมาเป็นคำพูดว่า "อะ ฮ้า" อย่างไร? ลองใช้เวลาไปอย่างไม่รีบเร่งกับสิ่งเหล่านี้ จนกระทั่งเราสามารถที่จะเรียกภาพๆ หนึ่งขึ้นมาจากจิตใจของเราในหนทางของกระบวนการทางด้าน R (ขวา) ต่อจากนั้นให้นำมือของเราไปวางบนกะโหลกศีรษะข้างขวาของเรา และจินตภาพขึ้นมาอีกครั้งถึงกระบวนการ R ในสมองซีกขวา

(*)Salvador Dali (May 11, 1904 - January 23, 1989), was a Spanish Catalan surrealist painter born in Figueres, Catalonia, Spain. Dali was a skilled draftsman, best known for the striking and bizarre images in his surrealist work. His painterly skills are often attributed to the influence of Renaissance masters. His best known work, The Persistence of Memory, was completed in 1931. Salvador Dali's artistic repertoire also included film, sculpture, and photography. He collaborated with Walt Disney on the unfinished Academy Award-nominated short cartoon Destino, which was completed and released posthumously in 2003. He also collaborated with Alfred Hitchcock on the dream sequence from his 1945 film Spellbound.

Dali insisted on his "Arab lineage", claiming that his ancestors were descended from the Moors who occupied Southern Spain for nearly 800 years (711-1492), and attributed to these origins, "my love of everything that is gilded and excessive, my passion for luxury and my love of oriental clothes."

(*)Surrealism is a cultural movement that began in the early-1920s, and is best known for the visual artworks and writings of the group members. Surrealist works feature the element of surprise, unexpected juxtapositions and non sequitur; however many Surrealist artists and writers regard their work as an expression of the philosophical movement first and foremost, with the works being an artifact. Leader Andre Breton was explicit in his assertion that Surrealism was above all a revolutionary movement.

Surrealism developed out of the Dada activities of World War I and the most important center of the movement was Paris. From the 1920s on, the movement spread around the globe, eventually affecting the visual arts, literature, film, and music, of many countries and languages, as well as political thought and practice, and philosophy and social theory.

มาถึงตอนนี้ ให้สับเปลี่ยนไปยังสมองด้านตรงข้าม; นักคณิตศาสตร์ และคนอื่นๆ ฯลฯ สามารถที่จะเคลื่อนข้ามโดยผ่านเส้นใยประสาท corpus callosum ไปยังกระบวนการของสมองซีกขวาได้เช่นกัน ทั้งนี้เพราะ เพื่อที่จะจินตภาพและนึกฝันไปถึงสิ่งประดิษฐ์อย่างใหม่ๆ ขึ้นมานั่นเอง. ศิลปินและคีตกวี นักดนตรี ก็สามารถกระทำสิ่งตรงข้ามนี้ได้เช่นเดียวกัน เมื่อพวกเขาต้องการที่เคลื่อนข้ามเส้นใยประสาทไปยังสมองซีกซ้าย ทั้งนี้เพราะจะวิเคราะห์ถึงปัญหาทางสุนทรีย์ของพวกเขานั่นเอง
(โปรดดูแผนภาพ) การเปรียบเทียบกระบวนการที่เป็นลักษณะเฉพาะของสมองซีกซ้ายและขวา
A Comparison of Left-Mode and Right-Mode Charecteristics.

สมองซีกซ้าย
verbal เกี่ยวกับการใช้คำพูด การอธิบาย และการนิยามความหมาย
analytic การแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ยังเป็นขั้นเป็นตอนทีละส่วนทีละขั้นไป เกี่ยวกับการวิเคราะห์
symbolic เป็นการใช้สัญลักษณ์เพื่อทดแทนบางสิ่งบางอย่าง ยกตัวอย่างเช่น การเขียนรูปลูกตาอย่างง่ายๆ หรือ รูปลูกศรป้ายจราจร เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนดวงตา หรือเครื่องหมายให้เลี้ยว เครื่องหมาย + การแทนกระบวนการเกี่ยวกับสิ่งที่เพิ่มเข้าไป

abstract การดึงเอาข้อมูลเพียงบางส่วนซึ่งมีความสำคัญ มาใช้เป็นตัวแทนสิ่งทั้งหมดในทำนองสรุป)
temporal ดำเนินตามเวลา เป็นลำดับต่อกันจากสิ่งหนึ่งไปยังอีกสิ่งหนึ่ง: การกระทำสิ่งหนึ่งเป็นอันดับแรก และสิ่งที่สองเป็นลำดับต่อมา
rational การดึงเอาข้อสรุปต่างๆที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและความจริง
digital การใช้ตัวเลขต่างๆ เช่น ในการนับ ระบบที่เป็นดิจิตอล
logical ข้อสรุปต่างๆ ที่วางอยู่บนพื้นฐานของตรรกะ; สิ่งหนึ่งดำเนินไปตามอีกสิ่งหนึ่งตามกฎแห่งตรรกะ ตัวอย่างเช่น หลักเกณฑ์ของคณิตศาสตร์หรือข้อถกเถียงที่มีเหตุผล
linear เกี่ยวกับความนึกคิดเชิงเส้นที่เชื่อมต่อกัน จากความคิดหนึ่งติดตามด้วยความคิดอีกอันหนึ่งอย่างตรงๆ มักจะนำไปสู่ข้อสรุปที่บรรจบกันในที่สุด

สมองซีกขวา
nonverbal ความเข้าใจอย่างกระจ่างชัดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ แต่มีความเกี่ยวข้องกับคำพูดน้อยมาก
synthetic การนำเอาสิ่งต่างๆ มาสังเคราะห์รวมเข้าด้วยกันทั้งหมด
concreat ความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ที่เป็นไปในลักษณะชั่วขณะ การมีลักษณะเป็นรูปธรรม การคิดเห็นขึ้นมาเป็นภาพหรือรูปธรรม
analogic มองเห็นความเหมือนกันระหว่างสิ่งต่างๆ : ความเข้าใจความสัมพันธ์ในเชิงอุปมาอุปมัย
nontemporal ปราศจากสำนึกของเวลา
nonrational ไม่ได้มีความต้องการพื้นฐานทางด้านเหตุผลหรือความจริง
spatial เรื่องของที่ว่าง การมองไปยังสิ่งต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น และดูว่ามีส่วนใดบ้างที่ไปด้วยกันกับรูปทรงทั้งหมดนั้น
intuitive การก้าวกระโดดของความเข้าใจภายใน บ่อยครั้ง มักจะตั้งอยู่บนพื้นฐานแบบที่ไม่สมบูรณ์ เป็นการรู้ล่วงหน้า ความรู้สึกต่างๆ หรือการเห็นภาพต่างๆ
holistic การมองสิ่งต่างๆ ทั้งหมดในชั่วครั้งเดียว; การรับรู้แบบแผนและโครงสร้างทั้งหมดทุกด้าน ซึ่งมักจะนำไปสู่ข้อสรุปต่างๆ ที่แยกแตกต่างกัน


เครื่องทอผ้าที่วิเศษ: (The enchanted loom)

หนึ่งในคำพูดที่ทำให้มองให้เห็นภาพ ซึ่งมีชื่อเสียงมากเกี่ยวกับสมอง ถูกสร้างขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษผู้หนึ่ง คือ sir Charles Sharrington เขาได้ให้ภาพสมองประดุจดั่ง "เครื่องทอผ้าที่วิเศษซึ่งประกอบด้วยกระสวยต่างๆ นับจำนวนล้านๆ ที่ถักทอเป็นแบบลวดลายชั่วแวบหนึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วๆ ไป และมักจะเป็นแบบลวดลาย(ภาพ) ที่มีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ว่ามันจะไม่เคยคงอยู่ได้ตลอดไปก็ตาม..."

1. ภาพที่เห็นในดวงจิตของเรา เป็นเครื่องทอผ้าที่วิเศษอยู่ภายในหัวสมองของเราประกอบด้วยกระสวยที่นับจำนวนไม่ถ้วน ซึ่งมาหลอมรวมกันในสมองของเรา ละลายกระจายตัวอยู่ มืดๆ คลุมเครือๆ ต่อจากนั้นก็ไหลเวียนข้ามไปยังอีกส่วนหนึ่งในแบบลวดลายที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เรืองวาบขึ้นมาแล้วก็วูบดับไป เรืองวาบขึ้นมาแล้วก็วูบไป

2. จินตนาการว่า เราสามารถที่จะควบคุมลวดลายอันนี้ และสามารถทำให้มันเป็นเหตุให้กระสวยต่างๆ หลอมรวมขึ้นมา หลังจากนั้นก็ละลายและรวมมันอีก จินตนาการถึงการที่มันมารวมกัน ครั้งแรกให้มันอยู่ด้านหนึ่ง ต่อจากนั้นก็ให้มารวมกับอีกด้านหนึ่ง จินตนาการว่าการรวมกันอันนี้เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกสัมผัสที่เป็นจริงทางกายภาพภายในสมองของเรา แล้วค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นความบีบคั้นหรือกดดันทีละน้อยๆ ชั่วขณะก็เปลี่ยนไปเป็นเรื่องของน้ำหนักแล้วให้ค่อยๆ อุ่นหรือเย็นลง เป็นเสียงพึมพำหรือกระซิบกระซาบเบาๆ

จ้องมองที่เครื่องทอผ้า (Watching the loom)

นักจิตวิทยาหลายคนรายงานว่า มีผู้คนจำนวนไม่น้อยทีเดียวซึ่งดูเหมือนว่าสามารถจะถอยห่างออกไป และได้กลับกลายมาเป็นผู้ที่ล่วงรู้เกี่ยวกับสภาวะทางจิตอันหลากหลายของพวกเขา ราวกับว่าพวกเขากำลังจ้องมองไปที่สมองของตนเองซึ่งกำลังทำงานอยู่ สำหรับแบบฝึกหัดเกี่ยวกับจินตภาพและแบบฝึกหัดเกี่ยวกับการวาดเส้นบางอย่างเหล่านี้ จะสามารถช่วยทำให้เราพัฒนา "ความเป็นผู้สังเกตการณ์" ที่ซ่อนเร้นนี้ขึ้นมาได้. ซึ่งจะทำให้เราค่อยๆ กลายเป็นผู้ที่ล่วงรู้ในระดับจิตสำนึก ถึงการสลับปรับเปลี่ยนสภาวะทางด้านสมองอันนี้ ลำดับการดังกล่าวจะช่วยให้เรา "เปิด" เดินเครื่องกระบวนการของสมองซีกขวา (R-mode) ซึ่งเป็นสองด้านที่สามารถทำให้ศิลปินมองเห็นและวาดภาพของเขาขึ้นมาได้นั่นเอง

การตระเตรียมหรือการสร้างเงื่อนไขต่างๆ สำหรับการสับเปลี่ยนสมองซีก ซ้าย-ขวา
Setting up the conditions for the L-R shift

มีแบบฝึกหัดจำนวนมากที่ได้รับการออกแบบขึ้นมาโดยเฉพาะ ทั้งนี้เพื่อที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะทางสมองจากกระบวนการของสมองซีกซ้าย ไปสู่กระบวนการของสมองซีกขวา. สมมติฐานขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับแบบฝึกหัดต่างๆ คือ ธรรมชาติของภาระหน้าที่ดังกลาว สามารถมีอิทธิพลต่อการทำงานของซีกสมองได้และ"รับภาระ"งาน ในขณะเดียวกันก็สกัดกั้นสมองอีกส่วนหนึ่งออกไป ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า "บรรดานักวิทยาศาสตร์ต่างยืนยันว่า สมองสองซีก แต่ละซีกจะเลือก"เปิด"ทำการ - การเปิดทำการของสมองซีกหนึ่ง จะเป็นเหตุให้สมองอีกซีกหนึ่ง"ปิด"การทำงาน - หรือไม่ก็สมองทั้งสองซีก "เปิด" ทำการ แต่มีสมองซีกหนึ่งเท่านั้นทำหน้าที่ควบคุมปฏิบัติการนั้น (หรือควบคุมความประพฤติที่เปิดเผย) แต่อย่างไรก็ตาม คำถามก็คือ อะไรเล่าที่เป็นเงื่อนไขหรือปัจจัยในการตัดสินว่าสมองส่วนใดจะเป็นส่วนที่ "เปิด" ทำการ และหรือทำหน้าที่ควบคุม

จากการศึกษาวิจัยกับบรรดาสัตว์ทดลองต่างๆ คนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดสมองทั้งหลาย และบรรดาบุคคลต่างๆ ที่มีสมองปกติ (ไม่บุบสลาย) นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า คำถามเกี่ยวกับว่าสมองส่วนใดจะทำหน้าที่ควบคุมนั้น อาจได้รับการตัดสินใน 2 ทางหลักๆ ด้วยกันคือ

1."ความเร็ว"(speed) ซึ่งขึ้นอยู่กับสมองซีกใดสามารถจะไปจับงานนั้นได้เร็วที่สุด
2. "แรงกระตุ้น"หรือ"แรงจูงใจ" (motivation) ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าสมองซีกใดจะเอาใจใส่หรือชอบภาระงานนั้นๆ มากกว่ากัน และในทางกลับกันก็ขึ้นอยู่กับว่า สมองซีกใดจะเอาใจใส่หรือชอบในภาระงานนั้นน้อยที่สุดด้วย

เนื่องจากรูปทรงที่รับรู้ด้วยการวาดเส้น เป็นหน้าที่ของสมองซีกขวาเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นในขณะที่เรากำลังทำการวาดเส้นอยู่ เราจะต้องกันเอาสมองซีกซ้ายออกไปจากกิจกรรมนั้น ปัญหาของพวกเราก็คือ สมองซีกซ้ายเป็นสมองที่มีอำนาจเหนือกว่าและชอบทำหน้าที่ครอบงำ อีกทั้งมันยังมีความรวดเร็วและพรวดพราดในเรื่องที่เกี่ยวกับคำพูดและสัญลักษณ์ด้วย แม้ว่ามันจะทำหน้าที่เกี่ยวกับงานนั้นๆ ไม่ได้ดีเท่าที่ควรก็ตาม. จากการศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับศัลยกรรมสมองได้บ่งชี้ว่า สมองซีกซ้ายนั้นชอบที่จะทำตัวเป็นนายคอยควบคุม (boss) อยู่เสมอ อย่างเช่นการพูด และชอบที่จะไม่ปล่อยให้ภาระหน้าที่หรืองานต่างๆ แก่หุ้นส่วนหรือคู่หูที่เป็นใบ้ของมัน (สมองซีกขวา) นอกเสียจากว่ามันไม่ชอบงานหรือภาระนั้นๆ เลยจริงๆ หรือไม่ก็เป็นเพราะว่างานนั้นต้องใช้เวลามาก มีรายละเอียดเต็มไปหมด และเป็นงานที่ค่อนข้างชักช้า อย่างใดอย่างหนึ่ง. หรือเป็นเพราะว่าสมองซีกซ้ายไม่สามารถที่จะจัดการกับภาระงานดังกล่าวให้บรรลุถึงความสำเร็จได้อย่างง่ายดายนั่นเอง แน่นอน นั่นเป็นสิ่งที่เราต้องการ ในภาระงานเช่นนั้นที่สมองซีกซ้ายซึ่งส่วนใหญ่มีอำนาจเหนือกว่าจะปล่อยวางหรือปฏิเสธ ไม่ยอมรับ ในแบบฝึกหัดจำนวนมากจึงถูกออกแบบขึ้นเพื่อเสนองานให้กับสมอง ซึ่งสมองซีกซ้ายไม่สามารถที่จะทำได้ หรือไม่ก็ไม่ต้องการที่จะทำมันนั่นเอง

ความถนัด ซ้าย-ขวา (Handedness , Left or Right)

มันจะช่วยเราได้มากทีเดียวหากจะหยิบเอาคำถามที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของความถนัดซ้าย ในการวาดภาพและหน้าที่ของซีกสมองก่อนที่เราจะเข้าไปสู่สาระการสอน นักศึกษาต่างไต่ถามปัญหามากมายที่เกี่ยวกับเรื่องความถนัดในห้องเรียนที่ข้าพเจ้าสอน ข้าพเจ้าจะพยายามครอบคลุมคำถามหลักๆ ส่วนใหญ่ ซึ่งแม้ว่างานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับเรื่องความถนัดนั้น ปรากฏว่ายังไม่มีข้อยุติและค่อนข้างจะขัดแย้งกันอยู่ก็ตาม

แม้จะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก แต่ก็ดูเหมือนค่อนข้างจะกระจ่างชัดที่ว่า ในโลกตะวันตกนั้น ระหว่าง 5-12 % ของประชากร เป็นคนที่ใช้มือซ้ายหรือบุคคลที่ถนัดซ้าย (มีมือซ้ายแข็งแรง และเป็นมือที่สำคัญ) อันนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นจริงอย่างเดียวกันสำหรับในวัฒนธรรมอื่นๆ ด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีหลักฐานบางอย่างว่า ในช่วงต้นหรือก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์มีคนที่ถนัดขวาซึ่งมีอำนาจเหนือกว่า หรือมีอิทธิพลมากกว่า (คนที่ถนัดซ้าย)อยู่น้อย

บุคคลที่ถนัดซ้ายนั้นถูกคิดว่า เป็นพวกที่ตรงกันข้ามกับพวกที่ถนัดขวา ในกรณีของการจัดระบบของสมอง หน้าที่ที่เกี่ยวกับคำพูด (คำพูด การเขียน และอื่นๆ) ดำรงอยู่ที่สมองซีกซ้ายของคนที่ถนัดมือขวา และในทำนองเดียวกัน สำหรับคนที่ถนัดมือซ้ายนั้นถูกคิดว่าหน้าที่เกี่ยวกับคำพูด ของพวกเขาอยู่ที่สมองซีกขวา. แต่อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ได้บ่งชี้ว่า คนที่ถนัดมือซ้ายส่วนใหญ่ สมองซีกซ้ายของพวกเขาทำหน้าที่เกี่ยวกับคำพูด เช่นเดียวกับคนที่ถนัดขวา มีข้อยกเว้นอันหนึ่งสำหรับการค้นพบอันนี้คือ คนที่ถนัดซ้ายซึ่งแม่ของพวกเขาก็เป็นคนที่ถนัดซ้ายเช่นเดียวกันนั้น อาจเป็นไปได้ที่จะมีสมองซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับคำพูดอยู่ที่สมองซีกขวา

หรือพวกที่ถนัดซ้ายนั้น เป็นพวกที่ได้รับการปรับปรุงความสามารถส่วนบุคคลให้บรรลุถึงหน้าที่ของสมองซีกขวา อย่างเช่นการวาดภาพแล้วใช่หรือไม่ ซึ่งอันนี้ยังคงไม่เป็นที่ชัดเจนนัก จุดหนึ่งซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นที่แจ่มแจ้งแล้ว และบ่อยครั้ง มักจะมีนักศึกษาในห้องเรียนถามไถ่ข้าพเจ้าอยู่เสมอก็คือ การวาดภาพด้วยมือซ้าย โดยคนที่ตามธรรมชาติแล้วเป็นคนถนัดขวาจะทำให้เขาสามารถเปิดเข้าไปสู่กระบวนการของสมองซีกขวาได้ใช่หรือไม่? คำตออันนี้คือ ดูเหมือนว่าจะไม่


ประวัติสังเขปเกี่ยวกับ Betty Edwards

Betty Edwards (born in 1926 in San Francisco, California) is an American art teacher and author, best known for her 1979 book, Drawing on the Right Side of the Brain. She taught and did research at the California State University, Long Beach until she retired in the late '90s. While there, she founded the Center for the Educational Applications of Brain Hemisphere Research.

She received a Bachelor's in Art from the University of California, Los Angeles (UCLA, 1947), a Master's of Art from California State University, Northridge, and a Doctorate in Art, Education, and Psychology from UCLA (1978).

Betty Edwards' major publications include: Drawing on the Right Side of the Brain, 1979 (revised and reprinted in 1989 and 1999), Penguin Putnam; Drawing on the Artist Within, 1986, Simon & Schuster; Drawing on the Right Side of the Brain Workbook, 1998, Penguin Putnam; and Color: Mastering the Art of Mixing Colors, 2004, Penguin Putnam. Drawing on the Right Side of the Brain has remained the dominant book on its subject, used as a standard text in many art schools, and has been translated and published in many foreign languages, including French, Spanish, German, and Japanese. Her company, Drawing on the Right Side of the Brain, develops special drawing tools, materials, and videos to help individuals learn to draw.

Edwards uses the findings of brain research as an organizing principle for her system, and is especially guided by Cerebral hemisphere and split-brain research which suggests that the two hemispheres of the brain have different functions. She proposes exercises to bring out the creative abilities of the right side of the brain, as opposed to the analytic and logical abilities of the left brain. Some[who?] consider her underlying theory to have elements of pseudoscience.

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++ คลิกไปอ่านบทความที่เกี่ยวเนื่อง

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๐๖ สิงหาคม ๒๕๕๑ : Release date 06 August 2008 : Copyleft by MNU.

ผลงานของ Jerry Levy ในการศึกษาของเธอระดับปริญญาเอก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า วิธีการของกระบวนการใช้สมองซีกขวานั้นเป็นกระ บวนการที่รวดเร็ว (repid) ซับซ้อน (complex) เป็นไปในแบบทั้งหมด (whole) เกี่ยวกับพื้นที่ว่าง (spatial) เกี่ยวกับประสาทรับรู้ (perceptual) กระบวนการนั้นไม่เพียงแต่แตกต่างไปเท่านั้น แต่ในเชิงเปรียบเทียบกับความซับซ้อนของสมองซีกซ้ายแล้ว สมองซีกซ้ายเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้คำพูดและการวิเคราะห์. มากยิ่งไปกว่านั้นอีก Levy ยังได้ค้นพบข้อบ่งชี้ว่า วิธีการสมองสองซีกมีแนวโน้มในการสอดแทรกการทำงานซึ่งกันและกันด้วย ซึ่งมีการคาดเดาในเชิงปฏิบัติ และเธอได้เสนอว่า มันอาจจะเป็นเรื่องของวิวัฒนาการทางด้านเหตุผล ซึ่งพัฒนาให้สมองสองซีกของมนุษย์มีความมสมมาตรกัน

H