ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




24-06-2551 (1595)

Empire and the multitude. A dialogue on the new order of globalisation
จักรวรรดิและมหาชน: บทสนทนาระเบียบโลกใหม่ยุคโลกาภิวัตน์
(ตอน ๑)
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเชิงอรรถ
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทแปลการสนทนาเรื่อง"จักรวรรดิ"ต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่ง
ในโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

สาระสำคัญของบทสนทนาต่อไปนี้ ตั้งอยู่บนประเด็นปัญหาเกี่ยวกับ
๑. ข้อถกเถียงเกี่ยวกับขอบเขตพิเศษ
๒. จักรวรรดิ, ไม่ใช่จักรพรรดินิยม
๓. วิภาษวิธีจักรพรรดินิยม: จักรวรรดิในฐานะพัฒนาการอีกก้าวหนึ่ง
๔. การปฏิวัติของการเมืองมหาชน
โดยเนื้อหาของการสนทนาจะเกี่ยวข้องกับหนังสือเรื่อง"จักรวรรดิ"(Empire)

การประยุกต์นำเอาลัทธิมาร์กซ์และฟูโกต์มาใช้ในสังคมร่วมสมัย-หลังสมัยใหม่
มีการพูดถึงการเข้ามาแทนที่จักรพรรดินิยมโดยจักรวรรดิที่ปราศจากดินแดน
แต่มีอำนาจมหาศาล และสุดท้ายเป็นการให้ความหมายอย่างชัดเจนในเรื่อง
"มหาชน"(multitude)ซึ่งเป็นปัญหาในการทำความเข้าใจถึงศัพท์คำนี้
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา

ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๙๕
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๗.๕ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Empire and the multitude. A dialogue on the new order of globalisation
จักรวรรดิและมหาชน: บทสนทนาระเบียบโลกใหม่ยุคโลกาภิวัตน์
(ตอน ๑)
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเชิงอรรถ
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทสนทนาระหว่าง Antonio (Tony) Negri, Danilo Zolo

1. ข้อถกเถียงเกี่ยวกับขอบเขตพิเศษ
(A debate of exceptional scope)


D.Z. ผมสารภาพว่า นานมาแล้วที่ผมต่อต้านข้อเรียกร้องซึ่งมาจากหลายๆ ด้านในการเปิดให้มีการถกเถียงสาธารณะเกี่ยวกับเรื่อง"จักรวรรดิ", หนังสือที่คุณและ Hardt ได้ตีพิมพ์ในสหรัฐฯ เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ซึ่งมีการส่งเสริมมาจากสองฝากฝั่งของแอตแลนติกให้มีการทุ่มเถียงเกี่ยวกับความพิเศษและความเข้มข้นของมัน. สิ่งที่มาหยุดยั้งผมไว้ในตอนนั้นก็คือ ความรู้สึกอ่อนระโหยโรยแรงต่อความสลับซับซ้อน และการที่ต้องใช้ความพยายามอย่างหนักต่อขนาดที่ใหญ่โตของหนังสือเล่มนี้

ในความพยายามใดๆ ที่จะประเมินผลในเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับงานนี้ ซึ่งคุณนิยามมันว่าเป็นงานทางด้านสหวิทยาการที่กว้างขวาง เป็นความพยายามอย่างหนักในเชิงทฤษฎีที่กระตุ้นให้คุณเขียนมันขึ้นมา ด้วยเหตุใดก็ตามในการแบ่งปันเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมได้เอาชนะความลังเลที่มีมาแต่เดิมเพราะผมเชื่อมั่นว่า หลังจากเหตุการณ์ 11 กันยา (การถล่มตึกเวริล์ดเทรด - S11) จะขาดความรับผิดชอบและไม่ให้ความใส่ใจอย่างจริงจังในหนังสือเรื่อง "จักรวรรดิ" ไม่ได้แล้ว. มันเป็นหนังสือที่มีการประเมิน มีการลงทุนลงแรงไปกับทรัพยากรทางสติปัญญาอย่างขนานใหญ่ ในความพยายามที่จะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกที่เราอาศัยอยู่ เป็นการประณามถึงความโหดร้ายและความสุ่มเสี่ยงเกี่ยวกับการนำเสนอระเบียบโลกใหม่ขึ้นมา และพยายามที่จะชี้ไปถึงทิศทางเพื่อที่จะเอาชนะมัน. ถ้าไม่มีเหตุผลอื่นใด หนังสือเรื่อง"จักรวรรดิ"ในทัศนะของผม คือหนังสือที่ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติ ซึ่งผู้คนกำลังอ่านมันอยู่

T.N. ขอบคุณสำหรับการประเมินหนังสือเล่มนี้ไปในเชิงบวกเอามากๆ และการที่มันมีผลกระทบในระดับนานาชาติ ข้อเท็จจริงดังกล่าวยังคงเป็นเช่นนั้นอยู่กระทั่งปัจจุบัน ที่เคียงข้างผิวหน้าอันน่าเบื่อซึ่งหนังสือเล่มนี้มีนับจากเริ่มต้นอ่านเลยทีเดียว (ดูเหมือนว่า สำหรับผมเกือบเหมือนภาพยนตร์เรื่องหนึ่งซึ่งอธิบายถึง"จักรวรรดิ" มากกว่าจะเป็นหนังสือ)

ยังมีข้อเท็จจริงอีกอย่างหนึ่งคือ มันค่อนข้างจะเก่าไปเสียแล้วในประเด็นคำพูดเกี่ยวกับเหตุการณ์ทั้งหลาย คำบรรยายที่ยิ่งใหญ่ที่ทำความสำเร็จให้กับหนังสือ การตอบรับมันโดยบรรดานักศึกษามหาวิทยาลัยอเมริกันทั่วซีแอตเติล และหลังจากนั้นอีกเล็กน้อยเกือบทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยอรมนี คำบรรยายที่ยิ่งใหญ่นี้ได้ถูกเรียกร้องต้องการ. หลังจากทศวรรษที่ 80 หลังความพ่ายแพ้ในการต่อสู้, หลังชัยชนะของ"ความคิดที่อ่อนระโหยโรยแรง", การสั่นสะเทือนเป็นที่ต้องการ นั่นคือ "จักรวรรดิ"เป็นผู้ตระเตรียมมันขึ้นมานั่นเอง

D.Z. "จักรวรรดิ"เป็นหนังสือที่อ่านยากเล่มหนึ่ง มิใช่แค่ขนาดของมันและความกว้างขวางของเนื้อหาเรื่องราว แต่หมายถึงโครงสร้างทางทฤษฎีการเมือง และเรื่องทางปรัชญาที่ค่อนข้างเป็นแบบแผนที่แปรเปลี่ยนไปในการจัดหมวดหมู่แนวคิดมาร์กซ์ขั้นพื้นฐานบางประการ โดยการสานเข้ากับองค์ประกอบต่างๆ ที่หยิบมาจากความหลากหลายมากมายในงานเขียนปรัชญาตะวันตก ทั้งคลาสสิค สมัยใหม่ และปรัชญาร่วมสมัย

ในการแปรผันนี้ บทบาทอย่างแรกสุดแสดงออกโดยบรรดานักเขียนหลังโครงสร้างนิยม อย่าง Gilles Deleuze (*), Jacques Derrida(**) และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Michel Foucault. ความประทับใจของผมคือ การอ่านอย่างระมัดระวังและเรียกร้องในแต่ละหน้าของเรื่อง"จักรวรรดิ". แน่นอน เป็นหนังสือที่สมควรได้รับการเอาใจใส่จดจ่อ และกระตุ้นให้ทำเช่นนั้น ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม มันได้น้อมนำเราสู่การตีความที่ก่อให้เกิดการกเถียงอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้. ทั้งที่บ่อยทีเดียว มุมมองและโทนเสียงที่เป็นการยืนยันของมัน มันเป็นหนังสือที่สุ่มเสี่ยงต่อการถ่ายทอดตีความที่ค่อนจะมีความไม่แน่นอนในเชิงทฤษฎี ยิ่งกว่าความแน่นอน

(*)Gilles Deleuze, (January 18, 1925 - November 4, 1995) was a French philosopher of the late 20th century. From the early 1960s until his death, Deleuze wrote many influential works on philosophy, literature, film, and fine art. His most popular books were the two volumes of Capitalism and Schizophrenia: Anti-Oedipus (1972) and A Thousand Plateaus (1980), both co-written with F?lix Guattari. His books Difference and Repetition (1968) and The Logic of Sense (1969) led Michel Foucault to declare that "one day, perhaps, this century will be called Deleuzian."

(**)Jacques Derrida, (July 15, 1930 - October 8, 2004) was an Algerian-born French philosopher, known as the founder of deconstruction. His voluminous work has had a profound impact upon literary theory and continental philosophy. His best known work is Of Grammatology.

T.N. ผมคิดว่า การบ่งชี้ที่คุณแสดงออกมาในการจัดหมวดหมู่ทางปรัชญาที่มีอยู่ในหนังสือเป็นเรื่องถูกต้องทีเดียว บนคำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่า หนังสือเล่มนี้ได้ถ่ายทอดความไม่แน่นอนต่างๆ ยิ่งกว่าความแน่นอนทั้งหลายในเชิงทฤษฎี ผมสารภาพว่า นั่นล่ะที่ผมชอบ. หนังสือเรื่อง"จักรวรรดิ", ผมกับ Michael Hardt ไม่ต้องการนำผู้อ่านไปสู่ข้อสรุปใดๆ นั่นคือ กระบวนการประกอบสร้างจักรวรรดิขึ้นมา ซึ่งยังคงเปิดกว้างมาก. พวกเราสนใจสิ่งที่อยู่ใต้บรรทัด ความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงบันทึกหรือหมายเหตุ นั่นคือ ปรัชญาการเมืองของสมัยใหม่ (และอย่างชัดเจน สถาบันต่างๆ ซึ่งมันมีปฏิกริยาด้วย). ทฤษฎีดังกล่าวที่สืบทอดจาก Marsilio (*) ถึง Hobbes (**) และจาก Althusius (***) ถึง Schmitt (****) ถูกทำให้จบลงแล้ว. "จักรวรรดิ"เป็นธรณีประตูหรือจุดเริ่มต้นทฤษฎีใหม่

(*)Marsilio Ficino (Latin name: Marsilius Ficinus; Figline Valdarno, October 19, 1433 - Careggi, October 1, 1499) was one of the most influential humanist philosophers of the early Italian Renaissance, an astrologer, a reviver of Neoplatonism who was in touch with every major academic thinker and writer of his day, and the first translator of Plato's complete extant works into Latin. His Florentine Academy, an attempt to revive Plato's school, had enormous influence on the direction and tenor of the Italian Renaissance and the development of European philosophy.

(**)Thomas Hobbes (5 April 1588 - 4 December 1679) was an English philosopher, whose famous 1651 book Leviathan established the foundation for most of Western political philosophy. Hobbes is remembered today for his work on political philosophy, although he contributed to a diverse array of fields, including history, geometry, physics of gases, theology, ethics, general philosophy, and political science. But nonetheless Hobbes's account of human nature as self-interested cooperation has proved to be an enduring theory in the field of philosophical anthropology.

(***)Johannes Althusius (1557 - August 12, 1638) [1] was a Calvinist philosopher and theologian. He is most famous for his 1603 work, "Politica Methodice Digesta, Atque Exemplis Sacris et Profanis Illustrata" (Latin for "Politics Methodically Digested, Illustrated with Sacred and Profane Examples"); revised editions were published in 1610 and 1614. The ideas expressed therein have led many to consider him the first true federalist,[1] as the intellectual father of modern federalism and also an advocate of popular sovereignty.

(****)Carl Schmitt (July 11, 1888 - April 7, 1985) was a German jurist, political theorist, and professor of law. Schmitt's ideas have attracted the attention of numerous philosophers and political theorists, including Walter Benjamin, Leo Strauss, Jacques Derrida, Giorgio Agamben, Slavoj Zizek, Alain Badiou, Jacob Taubes, Chantal Mouffe, and Paul Gottfried. Much of his work remains controversial today, in part due to his involvement with Nazism.

D.Z. ปรัชญาของมาร์กซ์และฟูโกต์ต์ - กล่าวได้ว่าโดยหลักการค่อนข้างมีลักษณะทั่วไป - มีทิศทางในเชิงทฤษฎีที่แตกต่าง นั่นคือ ลัทธิมาร์กซ์คาดการณ์ถึงสังคมอินทรีย์หรือสังคมมีชีวิตที่แข็งกระด้าง, เป็นเรื่องของความเสมอภาค, มีวินัย, ขณะที่ฟูโกต์ต์เป็นนักวิจารณ์สุดขั้วและฉลาดมีไหวพริบเกี่ยวกับอำนาจและวินัย ในนามของปัจเจกนิยมและมานุษยวิทยาเสรีนิยม

A.N. พวกเราเก็บเอาทั้งฟูโกต์และมาร์กซ์ไว้ด้วยกัน ในส่วนที่ผมเข้าไปเกี่ยวพันค่อนข้างกล่าวได้ว่า ผมซักเสื้อผ้าในแม่น้ำ Seine (แม่น้ำที่ไหลผ่านปารีส), ทำการผสมผสานลัทธิมาร์กซ์กับมุมมองหลังโครงสร้างนิยมเข้าด้วยกันแบบโอเปร่า. ผมเริ่มต้นทำมันตั้งแต่ปีที่ผมอยู่ในคุกแล้ว (ระหว่างปี ค.ศ.1979 และ 1983) ขณะที่ทำงานเกี่ยวกับ Spinoza (*), ภูมิประเทศที่สมบูรณ์อันหนึ่งของการเผชิญหน้าในเชิงภววิทยา(ontological)สำหรับปฏิบัติการนี้.

(*)Baruch or Benedict de Spinoza (November 24, 1632 - February 21, 1677) was a Dutch philosopher of Portuguese Jewish origin. Revealing considerable scientific aptitude, the breadth and importance of Spinoza's work was not fully realized until years after his death. Today, he is considered one of the great rationalists of 17th-century philosophy, laying the groundwork for the 18th century Enlightenment and modern biblical criticism. By virtue of his magnum opus, the posthumous Ethics, Spinoza is also considered one of Western philosophy's definitive ethicists.

กับ Hardt ในปารีส พวกเราลงลึกในการวิเคราะห์เรื่องดังกล่าว และอาบทาตัวของเราเองในรัศมีดังกล่าว โดยไม่รู้ตัว มานับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 60 โดยเชื่อม operaismo (แนวคิดทางการเมืองเกี่ยวกับชนชั้นแรงงาน) (*) กับ post-structuralism (หลังโครงสร้างนิยม) และยังเชื่อมมันเข้ากับแนวโน้มต่างๆ เป็นจำนวนมากในพื้นที่ส่วนใหญ่ของการศึกษาการกดทับ(subaltern studies) (**) และการศึกษาแนวคิดหลังอาณานิคมอื่นๆ

(*)Operaismo - The Italian theoretical and political movement, Operaismo was fundamentally active during the 1960s and the beginning of the 1970s. In an epoch when the crisis of the workers movement was dominated by excessively "ideological" debates, Operaismo was essentially characterised by the proposition of a "return to the working class".

(**)The Subaltern Studies Group (SSG) or Subaltern Studies Collective are a group of South Asian scholars interested in the postcolonial and post-imperial societies of South Asia in particular and the developing world in general. The term Subaltern Studies is sometimes also applied more broadly to others who share many of their views. Their approach is one of history from below, focused more on what happens among the masses at the base levels of society than among the elite. The term "subaltern" in this context is an implied reference to an essay by Italian Marxist Antonio Gramsci (1881-1937). Literally, it refers to any person or group of inferior rank and station, whether because of race, class, gender, sexual orientation, ethnicity, or religion.

แน่นอน นี่เป็นช่วงขณะที่สำคัญอันหนึ่งสำหรับผม อย่างน้อยที่สุด เมื่อผมตระหนักว่า operaismo อิตาเลียนคือทั้งหมด แต่มันก็เป็นเพียงปรากฏการณ์ในลักษณะท้องถิ่น. โดยการตีพิมพ์งานรวบรวมเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องการกดทับ (subaltern studies), Spivak (*) ได้ตระเตรียมข้อพิสูจน์โดยตรงเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นมาในทศวรรษที่ 80; งานของ Deleuze และ Guattari (**) ในเรื่อง Mille Plateaux ยอมรับถึงอิทธิพลนี้แล้ว. ในกรอบงานดังกล่าว เราเข้าใจพื้นฐานการอ่านงานฟูโกต์ที่ทำขึ้นจากมาร์กซ์ ขยายวงศ์วานวิทยาของกระบวนการตักตวงผลประโยชน์จากโรงงานไปสู่สังคม

(*)Gayatri Chakravorty Spivak (born February 24, 1942) is an Indian literary critic and theorist. She is best known for the article "Can the Subaltern Speak?", considered a founding text of postcolonialism, and for her translation of Jacques Derrida's Of Grammatology. Spivak teaches at Columbia University, where she was tenured as University Professor-Columbia's highest rank-in March 2007. A prolific scholar, she travels widely and gives lectures around the world. She is also a visiting faculty member at the Centre for Studies in Social Sciences, Calcutta.

(**)Pierre-F?lix Guattari (April 30, 1930 - August 29, 1992) was a French militant, institutional psychotherapist and philosopher, a founder of both schizoanalysis and ecosophy. Guattari is best known for his intellectual collaborations with Gilles Deleuze, most notably Anti-Oedipus (1972) and A Thousand Plateaus (1980).

ไม่เหมือนคุณ พวกเราตีความฟูโกต์ในฐานะนักเขียนทางด้านมานุษยวิทยา แน่นอน ในสายเสรีนิยมซึ่งมิใช่สายปัจเจกนิยม ซึ่งได้สร้างสิ่งที่อยู่ภายในชีวการเมือง(biopolitics)ขึ้น ที่ไม่ใช่เรื่องปัจเจกอีกต่อไป แต่เป็นอัตตะ(ตัวตน)(subject) [with such singularity - ด้วยความมีลักษณะเฉพาะตัว เป็นคนๆ] ที่ถูกหล่อหลมอหรือพิมพ์ออกมา. เท่าที่เราถูกนำเข้าไปเกี่ยวข้อง, ในปารีส, ระหว่างช่วงทศวรรษที่ 80 และ 90 เราได้สร้างการรับรู้อันหนึ่งขึ้นแล้วเกี่ยวกับการดำรงอยู่ในความเป็นหลังสมัยใหม่(postmodernity) นั่นคือ ยุคสมัยแห่งความงามใหม่(a new epoque) (*) และพวกเราดำรงอยู่พร้อมทั้งถูกทำให้รู้สึกมั่นใจว่า มาร์กซ์สามารถได้รับการนำมาบูรณาการใหม่ได้อย่างเต็มที่ในระเบียบวิธีวิเคราะห์หลังสมัยใหม่. มันมักจะเป็นประเด็นหนึ่งเมื่อมีการตัดสินใจเกี่ยวกับการปะทุครั้งใหม่และรุนแรง กล่าวคือ สิ่งซึ่งเป็นความปิติยินดีที่สามารถหยุดมันได้ด้วยเรื่องราวที่ปราศจากสีสรรของสมัยใหม่, ด้วยงานของ Rawls หรือ Habermases... สิ่งที่เป็นความกระตือรือร้นในการยอมรับ, กับ Machiavelli (**) (และคนอื่นๆ ทั้งหมด) ที่เป็นเรื่องการต่อสู้ทางชนชั้น, mutatis mutandis (The necessary changes having been made - การเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น ได้ถูกกระทำ)

(*)The Belle ?poque (French for "Beautiful Era") was a period in European history that began during the late 19th century and lasted until World War I. Occurring during the time of the French Third Republic and the German Empire, the Belle ?poque was considered a "golden age" as peace prevailed between the major powers of Europe, new technologies improved people's lives, and the commercial arts adopted modern forms.

(**)Niccol? di Bernardo dei Machiavelli (May 3, 1469 - June 21, 1527) was an Italian diplomat, political philosopher, musician, poet and playwright. Machiavelli was a figure of the Italian Renaissance, and a central figure of its political scene. He is best known for his treatises on realist political theory (The Prince, which he considered his Magnum opus) on the one hand and republicanism (Discourses on Livy) on the other. These two written works, in addition to his History of Florence (which was commissioned by the Medici family), were published posthumously in 1531. His philosophical views on politics were such that his surname has since passed into common dialect, referring to any political move that is devious or cunning in nature

D.Z. ผมต้องสารภาพอีกเรื่อง ก่อนสนทนากับคุณในประเด็นสำคัญของหนังสือ"จักรวรรดิ". ความคิดในการเผชิญหน้ากับตำราเล่มหนึ่งซึ่งผู้เขียนเรื่องดังกล่าวประกาศว่าเป็นคอมมิวนิสท์ ยังคงทำให้ผมรู้สึกไม่สบายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการแถลงว่าได้รับเอาเรื่อง Capital ของคาร์ล มาร์กซ์มาเป็นกระบวนทัศน์การอธิบาย. โดยส่วนตัว ผมให้ความเคารพอย่างสูงสุดต่อสิ่งที่เป็นลัทธิมาร์กซ์ในเชิงทฤษฎีนำเสนอและดำรงอยู่ในคริสตศตวรรษที่ผ่านมา - โดยมีประสบการณ์น้อยมากกับ"ลัทธิสังคมนิยมจริง"ที่อ้างอิงถึง - แต่ผมไม่ได้ก้มหัวในทุกวันนี้ในการให้เครดิตต่อการกลับมาหรือการรื้อฟื้นรากฐานปรัชญามาร์กเซียน ไม่ว่าจะในเเชิงนวัตกรรมหรือในเชิงวิพากษ์ก็ตาม. โดยส่วนตัว ผมไปเกี่ยวข้องกับลัทธิมาร์กซ์ในเชิงทฤษฎีเกือบ 30 ปีมาแล้ว - และยังจำได้ถึงการถกเถียงเรื่องนี้อย่างเข้มข้นกับคุณด้วยเช่นกัน - และผมคิดว่าได้ทำมันอย่างจริงจัง. เหตุผลที่ผมละทิ้งลัทธิมาร์กซ์ก็คือ ผมไม่อาจเห็นด้วยกับเสาหลักทางทฤษฎี 3 ต้นของมัน นั่นคือ

- ปรัชญาวิภาษวิธีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โดย"กฎวิทยาศาสตร์"ของมันเกี่ยวกับพัฒนาการ
- ทฤษฎีเกี่ยวกับมูลค่าแรงงาน ในฐานะพื้นฐานการวิจารณ์ทุนนิยมการผลิต และในฐานะสมมุติฐานของการปฏิวัติคอมมิวนิสท์
- ทฤษฎีเกี่ยวกับการทำให้รัฐค่อยๆ เหี่ยวเฉาร่วงโรยไป และเกี่ยวกับการปฏิเสธรัฐในเรื่องสิทธิต่างๆ และเกี่ยวกับคำสอนเรื่องสิทธิของประชาชน

ลัทธิคอมมิวนิสม์ของคุณ ทั้งๆ ที่มั่งคั่งไปด้วยแรงกระตุ้น แต่ดูเหมือนว่ายังเกาะติดกับหลักการเก่าๆ ที่คร่ำครึของมาร์กซิสท์(marxist orthodoxy)

A.N. นับจากการพูดคุยกันเมื่อ 30 ปีที่แล้ว เป็นไปได้ว่าหลายสิ่งหลายอย่างได้เปลี่ยนแปลงไป แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเราสามารถลดทอนลัทธิมาร์กซ์ลงเหลือแค่เสาหลักทางทฤษฎี 3 ต้นได้ ดังที่คุณกล่าว ผมคงจะไม่ใช่มาร์กซิสท์แน่ (และผมคิดว่า ผมคงไม่ใช่เป็นคนๆ เดียวกันนั้นเมื่อ 30 ปีที่แล้วด้วย). แต่อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าคุณได้โยนเด็กสกปรกลงน้ำ แต่ผมอยู่ในทิศทางตรงข้ามซึ่งต้องการฟื้นคืนลัทธิมาร์กซ์กลับขึ้นมาใหม่ สำหรับผมเป็นเรื่องที่เหมือนหรือพ้องกันกับลัทธิวัตถุนิยมสมัยใหม่ มันเป็นการแสดงออกเกี่ยวกับแนวโน้มในเชิงวิพากษ์ที่ขัดขวางต่อความเป็นสมัยใหม่ และมักจะต่อสู้กับมันเสมอ นั่นคือหนทางที่นับจาก Machiavelli ถึง Spinoza และจนกระทั่งถึง Marx

สำหรับผม การฟื้นคืนกลับมาของลัทธิมาร์กซ์ และการเริ่มต้นใหม่นี้มีนัยสำคัญอย่างเข้มข้น คล้ายกับการแสดงความเสียใจทางศาสนาที่มีอยู่ในศตวรรษแรกๆ ของประวัติศาสตร์คริสตศาสนา กล่าวคือ มันคือการย้อนกลับไปสู่หลักการในความหมายที่ Machiavelli ได้ให้เหตุผลถึงเรื่องนี้. เพื่อที่จะปฏิบัติการในทิศทางดังกล่าว เราต้องรุดหน้าต่อไปยังประเด็นสาระสำคัญทั้งหลายของทฤษฎีมาร์กซิสท์ นั่นคือ ตีความ, ย้อนทวนวิภาษวิธีประวัติศาสตร์, ทฤษฎีที่ไม่ใช่การศึกษาถึงสาเหตุของการต่อสู้ทางชนชั้น, ไปให้พ้นจากมูลค่าแรงงาน, วิเคราะห์เกี่ยวกับการกำหนดราคาโดยผ่านสติปัญญาทั่วๆ ไป

ในยุคของการจัดกลุ่มแยกย่อย (อย่างสมบูรณ์) ของสังคมภายใต้ระบบทุนนิยม ตราบเท่าที่ทฤษฎีเกี่ยวกับรัฐถูกนำเข้ามาเกี่ยวข้อง มันมีคำถามหนึ่งถึงเรื่องการจับกุม ในการวิจารณ์อำนาจอธิปไตย (ในฐานะประเด็นหนึ่งของความสอดคล้องต้องกันทางด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง) ช่วงขณะที่สำคัญของการปฏิบัติการในการตักตวงผลประโยชน์ เท่าๆ กันกับความลึกลับ และการทำลายสิทธิต่างๆ ของประชาชน ขณะที่มีการเสนอให้ทำเช่นนั้น มาร์กซ์ไม่เคยทอดทิ้งเราในหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ทางชนชั้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับหนังสือเกี่ยวกับรัฐ

ตามข้อเท็จจริงหนังสือของเขาในเรื่อง the State เว้นจากเรื่อง Capital ได้ถูกเขียนขึ้นมาอีกครั้งเกี่ยวกับพื้นที่อธิปไตยที่กลายเป็นความยิ่งใหญ่เท่ากันกับโลก และด้วยเหตุนี้ มันจึงเป็นไปได้ที่จะเผชิญหน้ากันระหว่าง"มหาชน"(multitude)และ"จักรวรรดิ"(empire). รัฐชาติเพียงหนึ่งเดียวที่มาร์กซ์ได้พูดถึงก็คือ การผสมผสานระหว่างยุคกลางกับความเป็นสมัยใหม่ ที่กระทั่งพัฒนาการทุนนิยมก็ยากที่จะโจมตี… เพียงความเป็นสากลและชนชั้นกรรมาชีพสากลเท่านั้น ที่สามารถกำหนดประเด็นปัญหาเกี่ยวกับ the State. คนจำนวนมากรู้สึกรีรอ ในแนวคิดลัทธิมาร์กซ์ในเรื่องรัฐและทฤษฎีทางกฎหมาย ซึ่งได้ถูกนำไปเชื่อมโยงกับข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวกับพัฒนาการทุนนิยมมากกว่าตัวมาร์กซ์เอง นั่นคือ ณ วันนี้ เมื่อทุนรุดหน้าไป และประกอบสร้างตัวมันเองในตลาดโลก ทฤษฎีปฏิวัติสามารถที่จะหยิบยกประเด็นปัญหาของรัฐขึ้นมาได้อย่างถูกต้อง

2. จักรวรรดิ, ไม่ใช่จักรพรรดินิยม
(Empire, not Imperialism)


D.Z.
ส่วนหนึ่งของหนังสือเรื่อง"จักรวรรดิ"(Empire) ดูเหมือนว่า สำหรับผมแล้วเป็นเรื่องที่ดีเยี่ยม และได้กำหนดความต้องการเกี่ยวกับการสะท้อนยุทธศาสตร์ใหม่ในเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ต่างๆ ของกระบวนการบูรณาการโลกเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งเกี่ยวข้องกับความคิดเรื่อง"จักรวรรดิ". ดังที่เราทราบกัน คุณและ Hardt คิดว่า ระเบียบโลกใหม่ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยโลกาภิวัตน์ ซึ่งได้น้อมนำไปสู่การสาบสูญของระบบ Westphalian system (*) (แนวคิดเกี่ยวกับรัฐชาติ) เกี่ยวกับรัฐต่างๆ ที่มีอธิปไตย

(*)Westphalian sovereignty is the concept of nation-state sovereignty based on two principles: territoriality and the exclusion of external actors from domestic authority structures. Many academics have asserted that the international system of states, multinational corporations and organizations which exists today began in 1648 at the Peace of Westphalia.

มันไม่มีรัฐชาติอีกต่อไปแล้ว นอกจากโครงสร้างต่างๆ ที่เป็นทางการที่กำลังตายลง คงเหลือรอดแต่ระเบียบวิธีทางกฎหมายของสถาบันต่างๆ ระหว่างประเทศ. โลกมิได้ถูกปกครองโดยระบบการเมืองแบบรัฐอีกต่อไปแล้ว แต่มันถูกปกครองโดยโครงสร้างอำนาจอันหนึ่ง ที่ไม่ได้นำเสนอสิ่งที่มีความคล้ายคลึงอย่างสำคัญใดๆ กับรัฐสมัยใหม่ที่ให้กำเนิดโดยชาวยุโรป. มันเป็นระบบการเมืองหนึ่งที่กระจายอำนาจจากศูนย์กลาง และละลายเรื่องอาณาเขต ซึ่งนี่ไม่ได้อ้างถึงจารีตต่างๆ เกี่ยวกับชาติและเผ่าพันธุ์และคุณค่าต่างๆ. นี่เป็นแก่นแท้ของชาติพันธุ์และการเมืองลัทธิสากลนิยม เป็นเรื่องของความคละเคล้า(ไม่มีชาติหรือภาษา). ด้วยเหตุผลเหล่านี้ คุณเชื่อว่า"จักรวรรดิ" เป็นคำตรงที่เหมาะสมที่สุดสำหรับอำนาจโลกยุคใหม่นี้…

T.N. ใครสักคนจะเพิ่มเติมว่า พวกเรามิได้หวนหาอดีตเกี่ยวกับรัฐชาติอีกต่อไปแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น ดูเหมือนสำหรับพวกเรา การพัฒนาดังกล่าว ทั้งความเป็นจริงและในเชิงมโนคติที่คุณเขียนภาพขึ้นมาอย่างดี ได้ถูกปลุกเร้าโดยเครื่องจักรอันหนึ่ง ซึ่งการต่อสู้ดิ้นรนของแรงงานทั้งหลาย เช่น การต่อสู้กับอาณานิคม และท้ายที่สุด การต่อสู้ดิ้นรนกับการจัดการของทุนในเชิงสังคมนิยม"เป็นไปเพื่ออิสรภาพ" ในบรรดาประเทศสังคมนิยมทั้งหลาย. ในไตรมาตรสุดท้ายของคริสตศตวรรษที่ 20 เราได้ถูกครอบงำโดยขบวนการต่างๆ เหล่านี้

D.Z. จะเป็นการผิดพลาดไปเลยทีเดียวที่จะคิดว่า"จักรวรรดิ" - หรือแกนที่เป็นศูนย์กลางและมีการขยายตัวออกไปของมัน - ได้ถูกสร้างขึ้นโดยสหรัฐอเมริกา และพันธมิตรตะวันตกที่ใกล้ชิดที่สุดของพวกเขา. ไม่ใช่ทั้งสหรัฐฯ และรัฐชาติใด ที่คุณและ Hardt ได้ยืนยันอย่างแข็งขันในหนังสือว่า "ที่สร้างขึ้นในปัจจุบันเป็นแกนกลางของโครงการจักรพรรดินิยม"(p. 15 italian edition). ตามความคิดของคุณ "จักรวรรดิโลกา"(global Empire) คือบางสิ่งบางอย่างยิ่งไปกว่าลัทธจักรพรรดินิยมคลาสสิค และจะเป็นการผิดพลาดในเชิงทฤษฎีเอามากๆ หากปฏิเสธเรื่องนี้ เท่าที่ผมตีความจุดยืนของคุณนี้ ถูกต้องไหม?

T.N. ตีความได้ถูกต้อง และผมขอเสริมว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เมือง Porto Alegre (*) ของบราซิล อาจรู้สึกถึงขนาด และแรงดึงดูดของอันตรายที่ขบวนการหนึ่งในขบวนการทั้งหลายสร้างขึ้น อาจเป็นการไม่ไว้วางใจต่อรัฐชาติ ในกรณีดังกล่าว ไม่มีความคิดเกี่ยวกับโลกที่จะจบลงด้วยการรับเอารูปแบบอันกำกวมเกี่ยวกับลัทธิชาตินิยมและประชานิยมมาใช้. การต่อต้านอเมริกันนิยม(Anti-americanism)และความศรัทธาดังกล่าว มักจะจับมือไปด้วยกันเสมอ กล่าวคือ ความสับสนอลหม่านล่าสุดนี้ เราสืบทอดมาจากสังคมนิยมโลกที่สาม - ซึ่งดูเหมือนว่า สำหรับผมแล้วมักจะเบี่ยงเบนหรือหันเหไปอย่างชัดเจนเท่าๆ กับลัทธิมาร์กซ์โซเวียต

(*)Porto Alegre is one of the largest cities in Brazil, and the capital city of the Brazilian state of Rio Grande do Sul. Porto Alegre is one of the most important cultural, political and economic centers of Southern Brazil.

D.Z. นี่เป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนที่มีการหยิบยกเงื่อนไขจำนวนหนึ่งขึ้นมา ดังที่ผมได้แบ่งปันไปบางส่วนแล้ว ในหลายๆ หน้ากระดาษของเรื่อง"จักรวรรดิ"(Empire) ดูเหมือนว่าจะค่อยๆ ซึมลึกลงไปถึงการแบ่งแยกหมวดหมู่เกี่ยวกับจิตวิญญานดังกล่าว นั่นคือ คล้ายพระผู้เป็นเจ้า(God) กล่าวคือ มีอยู่ในทุกสถานที่ เพราะว่ามันเกิดขึ้นพร้อมกันกับมติใหม่ของความเป็นโลก

แต่อาจมีใครบางคนเห็นแย้งว่า ถ้าหากว่าทุกอย่างคือจักรพรรดิ ก็ไม่มีจักรพรรดิอีกต่อไป. เราจะทำให้ปัจเจกชนเป็นพลเมืองของมหาประชาชาติ(supra-national) โดยสัมพันธ์กับผลประโยชน์และความมุ่งมาดปรารถนานั้น ต่อสู้กับโลกในแบบนี้ได้อย่างไร ? คนที่ต่อต้านดังที่เราแสดงออกในเชิงวิพากษ์ความเป็นจักรพรรดินิยมและการต่อต้านมัน เราจะต่อสู้กับอะไร ถ้าหากว่ารัฐต่างๆ และอำนาจทางการเมืองของมันมิได้เป็นวัตถุที่ถูกเพ่งเล็งหรือโฟกัสอีกต่อไป ? มันคือจักรวรรดิ ที่มิได้ปฏิบัติการด้วยอำนาจทางการเมืองหรือทางการทหารมิใช่หรือ? มันแสดงตัวของมันเองเพียงผ่านเครื่องมือต่างๆ ทางเศรษฐกิจ หรือในท้ายที่สุด มันเป็นเพียงการบีบบังคับเชิงอุดมการณ์เท่านั้นใช่หรือไม่ ?

T.N. กระบวนการประกอบสร้างจักรพรรดินิยมนั้นดำรงอยู่แล้ว มันคือข้อจำกัดที่เครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ หมายถึง"ทุนโลก"(global capital) ได้ปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรมอยู่ในปัจจุบัน นั่นคือ พวกมันมีอำนาจสูงสุด ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและทางการทหาร รวมถึงในเรื่องวัฒนธรรม. ปัจจุบัน ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า บนดาวเคราะห์ดวงนี้ "จักรวรรดิ"(Empire) ถูกทำให้เป็นคุณลักษณ์ประจำตัวพื้นฐานไปแล้วโดยความตึงเครียดอันยิ่งใหญ่ระหว่าง "สถาบันหนึ่งซึ่งไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์" กับ เครื่องมือระดับโลกชุดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้โดยการรวมทุน (แม้ว่าบางส่วนจะมาจากความคิดเกี่ยวกับการมีอำนาจสูงสุดก็ตาม)

ถูกต้องทีเดียวที่คุณกล่าวว่า ถ้าทุกอย่างเป็นจักรพรรดิแล้ว มันก็จะไม่มีจักรพรรดิอีกต่อไป. แต่อย่างไรก็ตาม เราได้บ่งชี้ไว้ว่า โดยดำเนินรอยตามตัวอย่างของ Polybius (*) (นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก 203-120 BC.) พื้นที่หรือรูปแบบต่างๆ ของรัฐบาลจักรพรรดินิยม กล่าวคือ บทบาทหน้าที่ของราชาธิปไตยที่รัฐบาลสหรัฐ, กลุ่มประเทศ G8 (**) และสถาบันการเงินต่างๆ ได้อ้างหรือให้เหตุผลสนับสนุนตัวของพวกมันเอง อำนาจของพวกชนชั้นสูงของบรรดาชาติมหาอำนาจทั้งหลาย ที่ได้แผ่ขยายเครือข่ายของพวกมันไปยังตลาดโลก ขบวนการโลกของการเมืองมหาชน(multitude) (ซึ่งเกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ประท้วงที่ซีแอตเติล สหรัฐอเมริกา) แน่นอน มีข้อกังขามากมายในการพิสูจน์ถึงการสร้างสรรคอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับความทุกข์ยากและการถูกกีดกันออกไป และในการโต้กลับที่รุนแรงและการใช้กำลังทหารกับบรรดาผู้ประท้วงคัดค้าน ซึ่งได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้าน สิ่งเหล่านี้คือความจริงแท้และเกิดขึ้นมาในท่ามกลางการบิดเบือนไปเกี่ยวกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจ ในการทำลายล้างดาวเคราะห์โลก และในความพยายามที่กำลังเจริญเติบโตอย่างเหมาะสมกับสิ่งที่เป็นการร่วมมือกันของความเป็นมนุษย์, ในท่ามกลางผืนดินและท้องฟ้า

(*)Polybius (ca. 203-120 BC,) was a Greek historian of the Mediterranean Sea world noted for his book called The Histories covering in detail the period of 220-146 BC. He is also renowned for his ideas of political balance in the government, which was later used in Montesquieu's The Spirit of the Laws and the drafting of the United States Constitution.

(**)The Group of Eight (G8), also known as Group of Seven and Russia,[2] is an international forum for the governments of Canada, France, Germany, Italy, Japan, Russia, the United Kingdom, and the United States.

ลักษณะซึ่งดูเหมือนจะขัดแย้งกันเกี่ยวกับช่วงขณะที่เป็นอยู่ (และความน่าตื่นเต้นเร้าใจของมัน) ประกอบด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า "จักรวรรดิ"สามารถที่จะก่อเกิดโครงสร้างของมันขึ้นมาได้ โดยการตอบโต้กับการต่อสู้กับการเมืองมหาชน(multitude) นั่นคือ ทั้งหมดของอันนี้, a la Machiavelli, คือกระบวนการขัดแย้งและปะทะกับอำนาจต่างๆ. เราเพียงอยู่ในขั้นเริ่มต้นของ"สงครามแห่งความหิวโหย" รัฐสมัยใหม่ยังจะดำเนินต่อไปอีกยาวไกล ในการก่อรูปก่อร่างการเกิดขึ้นมาของมันนี้…

D.Z. การก่อตัวของจักรพรรดินิยม ซึ่งคุณอ้างว่าแตกต่างไปจากรัฐในเรื่องของบทบาทหน้าที่ กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของอำนาจอธิปไตยของจักรพรรดินิยม ไม่ใช่เรื่องขอบเขตทางการเมือง แต่เป็นไปในท่วงทำนองคล้ายๆ กับประเทศและประชากรที่ด้อยสถานะกว่า ดังที่มันเป็นในกรณีของลัทธิจักรพรรดินิยมและลัทธิอาณานิคมในช่วงคริสตศตวรรษที่ 19-20. อำนาจควบคุมของจักรพรรดินิยมใหม่จะปฏิบัติการโดยผ่านสถาบันทางการเมือง และเครื่องมือทางกฎหมาย ซึ่งวัตถุประสงค์ของมันโดยสาระแล้วก็คือ การธำรงรักษาระเบียบโลก ยกตัวอย่างเช่น สันติภาพสากลหรือสันติภาพอย่างมีเสถียรภาพที่จะเอื้อประโยชน์ต่อภาวะปกติของบรรยากาศทางการค้า การลงทุน และตลาดเสรี. คุณอ้างถึงสถานที่ต่างๆ ที่มันตอบรับกับ"ตำรวจสากล"(international police) และกระทั่งบทบาทของกฎหมายที่ปฏิบัติการโดยจักรวรรดิ. โดยพื้นฐานแล้ว ผมเห็นด้วยกับคุณในเรื่องนี้ แต่ก็มีเงื่อนไขบางอย่าง นั่นคือ ถ้าไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือทางการเมืองและการทหารของมหาอำนาจตะวันตก - อย่างสหรัฐฯ - ใครจะเป็นผู้ทำหน้าที่จักรพรรดิเหล่านี้?

T.N. ในข้อเท็จจริง ดูเหมือนไม่เป็นที่ประหลาดใจสำหรับผมที่ว่า "จักรวรรดิ"นำเสนอตัวเองเพื่อให้การรับรองหรือเป็นหลักประกันต่อระเบียบโลกดังกล่าว โดยผ่านบรรยากาศสันติภาพสากลและการมีเสถียรภาพ ด้วยการอาศัยเครื่องมือทางการเมืองและการทหารซึ่งเข้ามาจัดการควบคุมสิ่งเหล่านี้. กลุ่มแก๊งของประธานาธิบดีบุชได้สร้างคำประกาศเกี่ยวกับสันติภาพ และพันผูกกับปฏิบัติการสงครามในชีวิตประจำวัน แต่อย่างไรก็ตาม เราจะต้องไม่ปฏิเสธกลุ่มแก๊งของบุช และเครื่องมือทางการเมืองและการทหารที่มันใช้โดยรัฐบาลของจักรวรรดิ จริงๆ แล้ว ผมคิดว่า อุดมการณ์จักรพรรดิที่ดำรงอยู่และปฏิบัติการของรัฐบาลบุช ค่อนข้างน้อมนำไปสู่การปะทะกันกับอำนาจทุนอื่นๆ ซึ่งในระดับโลก ทำงานเพื่อจักรวรรดิ

สถานการณ์ดังกล่าวกำลังเปิดตัวอย่างสมบูรณ์ ผมเชื่อว่าในห้วงเวลาในช่วงการสนทนานี้ เราน่าจะย้อนกลับไปตั้งคำถามกับสงคราม ในฐานะที่เป็นรูปแบบเฉพาะของการควบคุมแบบจักรพรรดิ นั่นคือ สำหรับตอนนี้ ผมเพียงต้องการที่จะยืนยันถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ทหารซึ่งมีหน้าและบทบาทในสงคราม และบรรดาตำรวจทั้งหลาย ในระดับของจักรวรรดิ ค่อนข้างสับสนเพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม นอกจากเหตุผลและการประเมินผลเฉพาะบางเรื่อง ผมปรารถนาที่จะยืนยันอีกครั้งบนความจริงที่ว่า ลัทธิต่อต้านอเมริกันยังคงมีท่าทีที่อ่อนปวกเปียกและยังสับสนอยู่ในขั้นตอนที่เป็นอยู่ตอนนี้ เกี่ยวกับนิยามความหมายและการวิพากษ์เกี่ยวกับการประกอบสร้างโลกใหม่

ลัทธิต่อต้านอเมริกัน(Anti-Americanism)ยังสับสน ระหว่าง"ประชาชนอเมริกัน"กับ"รัฐบาลอเมริกัน" ไม่ได้มีการตระหนักว่า รัฐนั้นได้ถูกแทรกแซงโดยตลาดโลก มากเท่าๆ กันกับที่เกิดขึ้นในอิตาลีและแอฟริกาใต้ ที่นโยบายของบุชก็คือ เสียงของคนกลุ่มน้อยที่เข้มแข็งมากในกลุ่มชนชั้นสูงของโลก ลัทธิทุนนิยมข้ามชาติ. ลัทธิต่อต้านอเมริกันนิยม เป็นภาวะที่อันตรายอย่างหนึ่งในใจ คืออุดมการณ์ที่สับสนและไม่เข้าใจข้อมูลการวิเคราะห์ต่างๆ และซ่อนเร้นความรับผิดชอบเกี่ยวกับทุนร่วม(collective capital). เราควรจะกำจัดมันออกไป ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วเราจะต้องขว้างทิ้งอเมริกันนิยม อย่างภาพยนตร์ต่างๆ ของ Alberto Sordi (นักสร้างภาพยนตร์ตลกสไตล์อเมริกัน [ตลกอ้วนผอม - Laurel & Hardy] ที่เป็นอิตาเลียน)

(*)Alberto Sordi, also known as Albertone, Cavaliere di Gran Croce OMRI[1] (June 15, 1920 - February 25, 2003) was an Italian actor and a film director. He was also the voice of Oliver Hardy in the Italian version of the Laurel & Hardy films. In a career that spanned seven decades, Sordi established himself as an icon of Italian cinema with his representative skill at both comedy and drama. His movie career began in the late 1930s with bit parts and seocondary characters in wartime movies. After the war he began working as a dubber for the Italian versions of Laurel and Hardy shorts, voicing Oliver Hardy.

D.Z. คุณเห็นพ้องว่า โดยสาระแล้ว มันไม่มีความสำคัญเลยแม้แต่น้อยที่ระเบียบทางด้านกฎหมายจักรพรรดิ จะถูกนำไปผูกพันในเชิงกฎหมาย หรือบทบาทหน้าที่คล้ายๆ กับอนุญาโตตุลาการ. พลังอำนาจจักรพรรดิได้ถูกปลุกขึ้นโดยเรื่องราวต่างๆ ของมัน สำหรับความสามารถเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งจากความคิดเห็นสากล ยกตัวอย่างเช่น มีความเป็นกลางและยุติธรรม. มันเกี่ยวข้องกับความสำคัญ - อันที่จริงคุณได้หมายเหตุในหนังสือว่า - หลังจากระยะเวลาอันยาวนานแห่งการสูญเสียความสำคัญ, หลักการเกี่ยวกับสงครามอันชอบธรรม bellum justum (*) (just war) ได้รับการหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งในทศวรรษหลังมานี้ นี่เป็นหลักการแบบสมัยกลาง

(*)Bellum iustum in Latin stands for "just war", or, a war that is a "justification for going to war, gathered under the ius ad bellum, and including ideas of just cause, right authority, last resort, right intention and the superior and final goal of achieving peace, or the other main component of just war tradition, the ius in bello, or law of war, that has to do with the restraint or limiting of war once begun, strongly appearing in terms of discrimination and proportionality, i.e. of the extent of harm, if any, that might be done to noncombatants and of the weapons used in war."

The concept was coined by Saint Augustine who used Cicero's work as a source for inspiration. [2] The term was often used in the Christian era by the Pope when calling for crusades.

โดยแบบฉบับแล้ว ลักษณะสากลนิยมและจักรพรรดิ กรณีนี้ใช่ไหม? ผมมีส่วนในการวิเคราะห์เรื่องดังกล่าวอย่างเต็มที่ และยังเห็นว่าพวกเขาได้รื้อฟื้นข้อสรุปเหล่านี้ที่ผมให้การสนับสนุนในหลายปีที่ผ่านมา. โดยเฉพาะในเรื่องสกลจักรวาล แต่ผมยืนยันโดยทัศนะส่วนตัวในฐานะมันมีความหมายแต่เพียงว่า ถ้าการก่อตัวจักรพรรดิถูกนึกคิดในฐานะการประกอบสร้างทางการเมือง และทุกวันนี้ ส่วนใหญ่มันยังคงหมายถึงการประกอบสร้างอันหนึ่ง และโครงสร้างอำนาจเกี่ยวกับแบบฉบับของรัฐ

ลักษณะเช่นนั้น มันไม่เพียงมีหน้าที่ในฐานะกระบวนการนำมาซึ่งสันติภาพที่ยึดโยง แต่มันรับเอารูปแบบคลาสสิคของสงครามที่ก้าวร้าวมาด้วย ผมคิดว่าไม่ต้องสงสัยเลยว่าสหรัฐฯ - เป็นตัวอย่าง กระบวนการรับรู้, ระบบการสื่อสาร, ระบบเศรษฐกิจ, อำนาจทางการเมืองและการทหาร, ที่ได้เพ่งความเอาใจใส่ไปยังพื้นที่ภูมิศาสตร์การเมืองเกี่ยวกับอภิมหาอำนาจอเมริกัน - ซึ่งทุกวันนี้ เป็นเครื่องจักรใหญ่เกี่ยวกับโครงการยุทธศาสตร์โลกอันนี้ ใครๆ ก็สามารถที่จะเรียกมันว่า"การมีอำนาจนำ[อำนาจความเป็นจ้าว] ซึ่งผมชอบที่จะเรียกมันว่าอย่างนั้น, หรือ"จักรพรรดิ"ดังที่คุณชอบใช้, หรือในชื่ออื่นๆ

T.N. ผมไม่เห็นด้วย ที่จริงแล้วผมไม่เข้าใจ (คนที่สอนเราเรื่อง, สกลจักรวาล และ Chi dice umanita ที่บางคนพูดถึงความเป็นมนุษยชาติ [humanity], การจัดหมวดหมู่แยกประเภทการเมือง และกฎหมายของความเป็นสมัยใหม่ ซึ่งไม่เพียงเป็นอุปสรรค แต่แน่นอนยังเป็นการเหยียบย่ำด้วย) คุณสามารถที่จะเสนอคำนิยามเกี่ยวกับกระบวนการของรัฐบาลปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับตลาดโลก ที่ยังคงเป็นแกนกลางรายรอบการจัดหมวดหมู่ของลัทธิจักรพรรดินิยมได้อย่างไร ?

ตอนนี้ถึงเวลาที่ผมจะตั้งคำถามบางอย่างขึ้นมาบ้างว่า อะไรคือศักยภาพของรัฐตอนนี้ ในการเผชิญหน้ากับสิ่งที่เรียกว่า lex mercatoria (*) ?, ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงแก้ไขที่สำคัญเกี่ยวกับกฎหมายเอกชนระหว่างประเทศที่ถูกนำเข้ามาพันผูก นั่นคือ มันเป็นไปได้ไหมที่จะไม่รู้สึกสงสารในการเผชิญหน้ากับความพยายามอันน่าสมเพชดังกล่าว ต่อการริเริ่มใหม่ขององค์การสหประชาชาติในสถานการณ์นี้ ? ประเด็นคือว่า การพูดถึงสหรัฐอเมริกาในฐานะเครื่องจักรใหญ่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางเกี่ยวกับโครงการยุทธศาสตร์จักรพรรดินิยมโลก ส่งผลและนำมาซึ่งความขัดแย้งทุกอย่าง ช่วงที่รัฐบาลสหรัฐฯ อ้างตัวมันเองว่ามีความสามารถโดยเฉพาะแต่ผู้เดียวสำหรับการบัญชา (ดังที่ปรากฏอยู่ในทฤษฎีสมัยใหม่อย่างมีนัยยะ เกี่ยวกับการมีอธิปไตยแห่งชาติ และลัทธิจักรพรรดินิยม)

(*)The Law Merchant The history of the law merchant or Lex Mercatoria is therefore really the history of private international law which grew in great degree out of the transactions between different nations. And at one time, without doubt, it was the law of England simply because it was the law of other nations. Its Origin The exact place and time of its origin is uncertain. Many writers have stated that it began in Italy in the central part of the Middle Ages. But investigation of early documents show that it goes back much further. For instance, to the time when the Arabs (1) dominated the Mediterranean. But they invented little and many of the terms which they used came from the Romans, Greeks and Phoenicians, who for many hundreds of years monopolized the sea commerce.
(http://szabo.best.vwh.net/lex.html)

D.Z. ในทัศนะของผม ข้อเท็จจริงที่ว่าอำนาจคำบัญชาและอิทธิพลของสหรัฐฯ แผ่รัศมีไปทั่วโลกจนกลายเป็นอำนาจโลก เช่นเมื่อเร็วๆ นี้ดังที่ Quadrennial Defense Review Report ซึ่งเป็นรายงานทุกๆ รอบ 4 ปีของกระทรวงต่างประเทศอ้าง ซึ่งไม่ได้แย้งกับข้อเท็จจริงที่ว่า พลานุภาพดังกล่าวได้ถูกจัดวางในเชิงภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมในสหรัฐฯ และมันสามารถได้รับการระบุว่า เหมือนกับอภิมหาอำนาจอเมริกันในเชิงสัญลักษณ์ด้วย.

เหตุการณ์ก่อการร้าย 11 กันยา ได้โจมตีอัตลักษณ์ที่แสดงออกอย่างเปิดเผยนี้ด้วย กล่าวคือ เป็นความตั้งใจที่จะโจมตีลงบนสัญลักษณ์ต่างๆ ทางเศรษฐกิจ, การเมือง, และอำนาจทางการทหารของสหรัฐฯ ในฐานะพลังอำนาจจักรพรรดินิยมใหม่. สิ่งที่ไม่อาจลืมเลือนก็คือ สหรัฐฯ ยังเป็นศูนย์กลางของโทรทัศน์, ข้อมูลข่าวสาร, และเครือข่ายสืบราชการลับที่หุ้มห่อสภาวะแวดล้อมโลกทุกวันนี้

T.N. ผมไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อเท็จจริงข้างต้นที่ว่า สหรัฐฯ คือแสนยานุภาพของโลก เพียงแต่ต้องการยืนยันถึงแนวคิดอีกอันหนึ่งคือ ในทำนองเดียวกัน สหรัฐฯ ก็ถูกทำให้อยู่ใต้อำนาจ (หรือในบางกรณี ถูกบีบให้อยู่ภายใต้การแข่งขันและ/หรือต้องเจรจากับ) โครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเมืองยิ่งกว่าตัวของมันเอง. การโจมตีของผู้ก่อการร้ายวันที่ 11 กันยา, ท่ามกลางสิ่งอื่นๆ คือการสาธิตหรือแสดงให้เห็นถึงการเปิดสู่สงครามกลางเมืองระหว่างอำนาจต่างๆ ที่จงใจให้เป็นตัวแทนเชิงโครงสร้างในการก่อตัวขึ้นเป็นจักรพรรดินิยม. คนเหล่านั้นที่ทำลายตึกแฝด(World Trade) คือบรรดาผู้นำ เช่นเดียวกันกับบรรดาทหารรับจ้างซึ่งถูกจ้างมาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางด้านน้ำมันในตะวันออกกลาง. พวกเขาไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับ"มหาชน"(multitudes) นั่นคือ พวกเขาเป็นปัจจัยหรือองค์ประกอบภายในของโครงสร้างจักรพรรดินิยมที่มีอยู่แล้วนั้นเอง

แน่นอน เราจะต้องไม่ประเมินเรื่องสงครามกลางเมืองต่ำไป ซึ่งมันกำลังคลี่หรือเผยตัวออกมาในระดับที่กว้างขวาง ผมคิดว่าเราสามารถกล่าวได้ว่า ความเป็นผู้นำของอเมริกันถูกทำให้อ่อนแอลงอย่างลึกซึ้งค่อนข้างชัดเจนโดยแนวโน้มจักรพรรดินิยมที่มันแสดงตัวออกมาในบางโอกาส แน่นอน ไม่ใช่เพียงในกลุ่มชนอาหรับ แต่ในกลุ่มชนยุโรปด้วย และในโลกสังคมนิยม โดยไม่ต้องกล่าวถึงผืนแผ่นดินใหญ่ที่เรียกว่าจีน แนวโน้มต่างๆ เหล่านี้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป

มหาอำนาจทางการทหารของสหรัฐฯ อย่างที่เรารู้ ส่วนใหญ่แล้วถูกทำให้ไร้ผลโดยการเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้ศักยภาพทางนิวเคลียร์ และนี่ถือเป็นข่าวดี. จากมุมมองทางด้านการเงิน, สหรัฐฯ ถูกเปิดเผยมากขึ้นตามลำดับ และอ่อนแอลงในเรื่องตลาดการเงิน และนี่เป็นข่าวใหญ่อีกข่าวหนึ่ง. กล่าวอีกนัยหนึ่ง ด้วยความเป็นไปได้ทั้งหมด สหรัฐฯ ในไม่ช้าจะถูกบีบคั้นให้ยุติความเป็นจักรพรรดินิยม และยอมรับตัวของพวกเขาเองใน"จักรวรรดิ"

D.Z. อย่างชัดเจน เราทั้งหมดต่างรู้ว่าบรรษัทขนาดใหญ่ทั้งหลาย รวมถึงที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจใหม่ ล้วนปฏิบัติการซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ ที่ส่วนใหญ่แล้ว เป็นอิสระจากคำบัญชาทางการเมืองของรัฐต่างๆ และนี่คือความจริงด้วยเช่นกันสำหรับบรรษัทข้ามชาติต่างๆ ของสหรัฐฯ ที่กำลังกลายเป็นองค์กรที่มีแสนยานุภาพมากขึ้น เพราะพวกมันสามารถลดทอนต้นทุนทางด้านแรงงานลงได้อย่างน่าตกใจ เช่นเดียวกับการที่พวกมันสามารถรอดพ้นจากหน้าที่การเสียภาษีต่างๆ ให้กับรัฐชาติ แต่อย่างที่ Paul Hirst และ G. Thompson ได้ให้เหตุผลไว้อย่างจูงใจในเรื่อง Globalisation in Question (*) (โลกภิวัตน์ในเครื่องหมายคำถาม), มันยังคงมีการประสานงานกันอย่างซับซ้อนระหว่างนโยบายทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับพลังด้านอุตสาหกรรม กับ ยุทธศาสตร์ทางด้านเศรษฐกิจการเงินของบรรษัทต่างๆ ซึ่งสำนักงานใหญ่ต่างอยู่ในพื้นที่ภูมิศาสตร์การเมืองของพวกมัน

(*) Globalization in Question: The International Economy and the Possibilities of Governance
'Globalization' is one of the key concepts of our time. It is used by both the right and the left as the cornerstone of their analysis of the international economy and polity. In both political and academic discussions, the assumption is commonly made that the process of economic globalization is well under way and that this represents a qualitatively new stage in the development of international capitalism. But is there in fact such a thing as a genuinely global economy? Globalization in Question investigates this notion, providing a very different account of the international economy and stressing the possibilities for its continued and extended governance.

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ถูกเลือกตั้งขึ้นมาเพราะเขาคือผู้ได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงินโดยบรรษัทข้ามชาติต่างๆ - ผมคิดถึงเรื่องของกิจการทางด้านน้ำมัน, อาวุธ และอุตสาหกรรมยาสูบ - และด้วยเหตุดังนั้น คนพวกนี้จึงมีอิทธิพลต่อข้อถกเถียงที่สำคัญในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหาร. แต่จากหลักฐานที่ปรากฏ บรรษัทขนาดใหญ่ล้วนมีบทบาทหน้าที่ทางการเมืองโดยตรงค่อนข้างมาก ซึ่งพวกเขาไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ โดยปราศจากความเป็นสื่อกลางของการบริหารทางการเมือง - และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง - อำนาจของรัฐต่างๆ

T.N. บรรษัทข้ามชาติเหล่านั้นมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ นี่เป็นข้อถกเถียงหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมในเรื่อง"จักรวรรดิ". สิ่งที่ได้รับการอธิบายในคำถามท้ายสุดของคุณ สำหรับผมแล้ว ส่วนใหญ่เป็นที่ยอมรับได้. ผมใคร่จะขอเพิ่มเติมลงไปในหนังสือของ Hirst และ Thompson เกี่ยวกับ Mittelman (*), เพื่อขีดเส้นใต้ถึงความสลับซับซ้อน ที่ไม่เพียงการประสานงานหรือร่วมมือกันท่ามกลางตัวแสดงต่างๆ เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงลำดับชั้นสูงต่ำท่ามกลางพื้นที่ที่เป็นอยู่ของจักรพรรดินิยม

(*)James Mittelman is University Professor of International Affairs at American University. He specializes in global political economy (with emphasis on sub-Saharan Africa and Eastern Asia), globalization studies, international relations theory, and development. Currently, he is writing a book on globalization and the changing macro dynamics of peace and conflict. (และ The Globalization Syndrome: Transformation and Resistance)

อย่างที่กล่าว ผมเชื่อว่าความเป็นอิสระเป็นตัวของตัวเองเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ทุนนิยมโลกยังคงมีอยู่อย่างกว้างขวาง หรืออย่างน้อยที่สุด ส่วนใหญ่เป็นอิสระจากรัฐชาติทั้งหลาย. ผมไม่ใช่พวกเลนินิสท์ ผมเป็นพวกแม็คเคียอาเวเลียน(Machiavellian)ธรรมดาๆ, เมื่อผมคิดถึงกรณีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมทุกวันนี้ มีความเป็นไปได้มากที่จะทำให้กลุ่มแก๊งของบุชล่วงหล่นลงมาได้ ซึ่งจะพบได้ในอำนาจของชนชั้นสูงของบรรดาบรรษัทข้ามชาติ. นี่คือฤกษ์งามยามดี เพราะมันจะตระเตรียมขบวนการการเมืองมหาชนโลกขึ้นมา ด้วยกาละและเทศะที่จะพัฒนาไปสู่กระบวนการ"โครงสร้างอำนาจประชาธิปไตยในจักรวรรดิ"

3. วิภาษวิธีจักรพรรดินิยม: จักรวรรดิในฐานะพัฒนาการอีกก้าวหนึ่ง
(Imperial dialectic: Empire as a 'step forward')


D.Z. ยังมีอีกแง่มุมหนึ่งเกี่ยวกับทฤษฎีของคุณในเรื่องจักรวรรดิ ที่นำสู่ข้อสงสัยบางอย่างสำหรับผม มันคือประเด็นที่ผมถือว่าเป็นเรื่องของภววิทยา(ontology)(*)ค่อนข้างชัดเจน ที่ทำงานในฐานะเป็นการรวมตัวกันของความขัดแย้งแตกต่างเชิงอภิปรัชญา(metaphysical counterpoint)ในการวิเคราะห์ของคุณ นั่นคือ วิภาษวิธีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์, ในการยอมรับว่านั่นคือแบบฉบับของ Hegelian-Marxism และ Leninism

(*)In philosophy, ontology is the most fundamental branch of metaphysics. It studies being or existence and their basic categories and relationships, to determine what entities and what types of entities exist. Ontology thus has strong implications for conceptions of reality. Some philosophers, notably of the Platonic school, contend that all nouns refer to entities. Other philosophers contend that some nouns do not name entities but provide a kind of shorthand way of referring to a collection (of either objects or events). In this latter view, mind, instead of referring to an entity, refers to a collection of mental events experienced by a person; society refers to a collection of persons with some shared characteristics, and geometry refers to a collection of a specific kind of intellectual activity.

ตามความเห็นของคุณ "จักรวรรดิโลกา"(global Empire)คือ ตัวแทนการมีชัยชนะในเชิงบวกเหนือระบบอธิปไตยแบบรัฐชาติหรือที่เรียกว่า Westphalian system of sovereign states (**). การสิ้นสุดของรัฐชาติและลัทธิชาตินิยม, จักรวรรดิยังได้ทำให้ลัทธิอาณานิคมและลัทธิจัรพรรดินิยมคลาสสิคสิ้นสุดลงด้วย และได้เปิดโอกาสให้กับ"ทัศนียภาพความเป็นสากล"(cosmopolitan perspective)ขึ้น ซึ่งจะต้องได้รับการต้อนรับอย่างชื่นชมยินดี

ความพยายามใดๆ ก็ตามในการที่จะทำให้รัฐชาติปรากฏตัวขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ถือว่าเป็นเรื่องที่ตรงข้ามต่อการประกอบสร้างจักรพรรดินิยมที่ดำรงอยู่ของโลก ซึ่งจัดว่าเป็นการแสดงออกที่ผิดพลาดและเป็นอุดมการณ์อันตราย. ด้วยเหตุนี้ ปรัชญาในลักษณะต่อต้านโลก(no-global philosophy)และรูปแบบใดๆ ของลัทธิสิ่งแวดล้อมธรรมชาตินิยม และท้องถิ่นนิยมจะต้องถูกปฏิเสธในฐานะที่เป็นความคิดยุคบุพกาล และต่อต้านท่าทีแบบวิภาษวิธี กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ มีลักษณะเป็นปฏิกริยาโดยสาระ นั่นเอง. คุณได้แสดงให้เห็นถึงความเห็นอกเห็นใจเพียงเล็กน้อย กระทั่งกับสิ่งที่เรียกว่า"ผู้คนที่ซีแอตเติล"(เหตุการณ์ประท้วงการประชุม WTO ที่เมืองซีแอตเติล) และเครือข่ายของ NGO (องค์กรพัฒนาเอกชนนอกภาครัฐ) ที่เชื่อมโยงกับผู้คนเหล่านั้นเข้าด้วยกัน

(**) Westphalian sovereignty is the concept of nation-state sovereignty based on two principles: territoriality and the exclusion of external actors from domestic authority structures.

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ (คลิกไปอ่านต่อตอนที่ ๒)

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

1550. แนะนำหนังสือ: Empire ประวัติอันโตนิโอ เนกรี และเชิงอรรถ
1571. บทนำ: ว่าด้วยอภิจักรภพยุคหลังสมัยใหม่ (Preface: Empire)
1576. อภิจักรภพ โลกาภิวัตน์ และประชาธิปไตย (Empire and Multitude)

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ : Release date 24 May 2008 : Copyleft by MNU.

ความหมายเกี่ยวกับมหาชน(multitude) ได้รับมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า เราต่อต้าน ไม่ให้การยอมรับเรื่องชนชั้น. ตามที่เป็นจริง จุดยืนของสังคมวิทยาที่รื้อสร้างกันใหม่เกี่ยวกับแรงงาน, คนงานได้นำเสนอตัวของเขาเองเพิ่มขึ้น ในฐานะคนที่มีภาระ และความสามารถที่ทำการผลิตสิ่งซึ่งไม่ใช่เรื่องวัตถุ. เขาได้ปรับใหม่เกี่ยวกับการเป็นเครื่องมือหรือแรงงาน. ในการเป็นแรงงานผลิตที่มิใช่วัตถุ เครื่องไม้เครื่องมือนี้คือสมอง (และในหนทางนี้ หลักวิภาษวิธีเฮเกเลียนเกี่ยวกับเครื่องมือ ได้ถูกทำให้สิ้นสุดลง). ความสามารถพิเศษนี้สำหรับแรงงาน ได้สร้างคนงานทั้งหลายขึ้นมาในความเป็น"มหาชน" มากกว่าเป็นเรื่อง"ชนชั้น". ผลที่ตามมา ในที่นี้ เราได้พบภูมิประเทศที่สามของนิยามความหมาย ซึ่งเป็นเรื่องการเมืองโดยเฉพาะมากกว่า

H