ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




24-05-2551 (1571)

Michael Hardt and Antonio Negri, "Preface" in Empire
บทนำ: ว่าด้วยอภิจักรภพยุคหลังสมัยใหม่ (Preface: Empire)
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการเรื่องความรุนแรงต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

ลำดับหัวข้อ บทนำว่าด้วยอภิจักรภพ : Preface in Empire ประกอบด้วย
- องค์อธิปัตย์เปลี่ยนไปและสวมรูปแบบใหม่
- อภิจักรภพ"(Empire) แตกต่างจาก "จักรวรรดินิยม"(Imperialism)
- อภิจักรภพไร้ศูนย์กลาง และไร้อาณาเขต
- postmodern - biopolitical production
- สหรัฐอเมริกาเพียงเอาผ้าคลุมมหาอำนาจโลกที่ยุโรปทำตกไว้มาสวมแทน
- รัฐธรรมนูญเชิงพิธีการ รัฐธรรมนูญเชิงวัตถุ
- มโนทัศน์ของอภิจักรภพ (Empire) ๔ ประการ

- โลกาภิวัตน์ และพลังสร้างสรรค์ของมหาชน (multitude)
- แนวทางสหวิทยาการของหนังสือ Empire
คลิกอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษได้จากที่นี้
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๗๑
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๗ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Michael Hardt and Antonio Negri, "Preface" in Empire
บทนำ: ว่าด้วยอภิจักรภพยุคหลังสมัยใหม่ (Preface: Empire)
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
แปลจาก: Michael Hardt and Antonio Negri, "Preface" in Empire
Harvard University Press, 2001.

หากถืออย่างถูกต้อง เครื่องมือทุกชนิดย่อมกลายเป็นอาวุธได้
Ani DiFranco

มนุษย์ต่อสู้และพ่ายแพ้ แต่สิ่งที่พวกเขามุ่งหวังกลับได้มาทั้งๆ ที่พ่ายแพ้ และแล้วการณ์กลับปรากฏว่า สิ่งที่ได้มา
มิใช่สิ่งที่มุ่งหวัง มนุษย์คนอื่นๆ จึงต้องมาต่อสู้เพื่อสิ่งที่พวกเขามุ่งหวังภายใต้ชื่ออีกชื่อหนึ่ง
William Morris

คำนำ
อภิจักรภพ(Empire) กำลังก่อรูปก่อร่างขึ้นเบื้องหน้าสายตาของเรา ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ระบอบอาณานิคมถูกล้มล้าง และหลังจากกำแพงโซเวียตที่คอยสกัดขวางตลาดโลกทุนนิยมพังทลายลงทันใด เราก็ได้เป็นประจักษ์พยานต่อการเกิดขึ้นของโลกาภิวัตน์แห่งการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ซึ่งเกิดขึ้นอย่างมิอาจขัดขืนและไม่มีทางย้อนกลับคืนอีกแล้ว พร้อมกับการเกิดขึ้นของตลาดโลกและวงจรการผลิตระดับโลก ระเบียบโลกแบบหนึ่งก็อุบัติขึ้นมาด้วย มันคือตรรกะและโครงสร้างของการปกครองชุดใหม่ กล่าวสั้นๆ คือ องค์อธิปัตย์รูปแบบใหม่ อภิจักรภพ(Empire) คือประธานทางการเมืองที่กำกับการแลกเปลี่ยนระดับโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ มันคืออำนาจอธิปไตยที่ปกครองโลก

คนจำนวนมากโต้แย้งว่า เมื่อการผลิตและการแลกเปลี่ยนในระบบทุนนิยมก้าวเข้าสู่ความเป็นโลกาภิวัตน์ นั่นหมายถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจย่อมเป็นอิสระจากการควบคุมทางการเมืองมากกว่าเดิม ดังนั้น จึงหมายความว่า องค์อธิปัตย์ทางการเมืองเสื่อมอำนาจลงแล้ว บ้างก็เฉลิมฉลองเชิดชูว่า ยุคสมัยใหม่นี้คือ การปลดปล่อยระบบเศรษฐกิจทุนนิยมจากข้อจำกัดและการบิดเบือนที่กลุ่มพลังทางการเมืองเคยยัดเยียดให้ บ้างก็คร่ำครวญตีโพยตีพายว่า นี่คือการปิดฉากของช่องทางเชิงสถาบัน ที่แรงงานและพลเมืองเคยใช้กดดันหรือต่อสู้กับตรรกะอันเย็นชาของกำไรในระบบทุนนิยม

จริงอยู่ เมื่อก้าวไปตามขั้นตอนของกระบวนการโลกาภิวัตน์ ถึงแม้อำนาจอธิปไตยของรัฐชาติอาจยังมีประสิทธิภาพอยู่บ้าง แต่มันก็เสื่อมถอยลงเรื่อย ๆ ปัจจัยพื้นฐานในการผลิตและการแลกเปลี่ยน กล่าวคือ เงิน เทคโนโลยี คน และสินค้า เคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนแห่งชาติได้ง่ายขึ้น รัฐชาติจึงมีอำนาจกำกับการเคลื่อนย้ายเหล่านี้น้อยลง รวมทั้งใช้อำนาจบังคับเหนือระบบเศรษฐกิจได้น้อยลงไปด้วย แม้กระทั่งรัฐชาติที่มีอำนาจมากที่สุด ก็ไม่ควรจัดว่ามันมีอำนาจอธิปไตยสูงสุดอีกต่อไป ไม่ว่านอกหรือแม้แต่ในพรมแดนของรัฐชาตินั้นเอง

องค์อธิปัตย์เปลี่ยนไปและสวมรูปแบบใหม่
กระนั้นก็ตาม ความเสื่อมถอยในการดำรงอำนาจอธิปไตยของรัฐชาติ มิได้หมายความว่า ความเป็นองค์อธิปัตย์เสื่อมถอยตามไปด้วย (1) ตลอดเวลาของการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าในปัจจุบัน การควบคุมทางการเมือง กลไกรัฐ และกลไกกำกับดูแล ยังคงปกครองปริมณฑลของการผลิตและการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและสังคมอยู่ สมมติฐานเบื้องต้นของเราก็คือ องค์อธิปัตย์เปลี่ยนไปและสวมรูปแบบใหม่ ซึ่งมีองคาพยพทั้งในระดับชาติและเหนือชาติผนึกประสานกันภายใต้ตรรกะการปกครองหนึ่งเดียว รูปแบบระดับโลกขององค์อธิปัตย์ใหม่นี้เองคือสิ่งที่เราเรียกว่า อภิจักรภพ (Empire)

(1) ประเด็นเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของรัฐชาติที่เสื่อมถอยลง และความเปลี่ยนแปลงขององค์อธิปัตย์ในระบบโลกปัจจุบัน โปรดดู Saskia Sassen, Losing Control? Sovereignty in an Age of Globalization (New York: Columbia University Press, 1996)

อภิจักรภพ"(Empire) แตกต่างจาก "จักรวรรดินิยม"(Imperialism)
การที่รัฐชาติมีอำนาจอธิปไตยเสื่อมถอยลง และไร้ความสามารถมากขึ้นในการกำกับการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม จริง ๆ แล้ว นี่คืออาการพื้นฐานประการหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการอุบัติของอภิจักรภพ(Empire) อำนาจอธิปไตยของรัฐชาติคือเสาหลักของระบบจักรวรรดินิยม(imperialisms) ซึ่งกลุ่มประเทศมหาอำนาจยุโรปสร้างขึ้นในยุคสมัยใหม่ อย่างไรก็ตาม คำว่า "อภิจักรภพ"(Empire) มีความหมายที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากคำว่า "จักรวรรดินิยม"(Imperialism)

พรมแดนที่นิยามด้วยระบบรัฐชาติสมัยใหม่ คือฐานรากของระบอบอาณานิคมยุโรปและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ พรมแดนอาณาเขตของชาติคือขอบเขตของศูนย์กลางอำนาจ ศูนย์กลางนั้นใช้อำนาจการปกครองเหนืออาณาเขตดินแดนต่างชาติที่อยู่ภายนอก โดยอาศัยระบบช่องทางการถ่ายเทและกำแพงกีดขวางที่อำนวยความสะดวกและขัดขวางกระแสการผลิตและการหมุนเวียนสินค้าสลับกันไป แท้ที่จริงแล้ว ระบบจักรวรรดินิยม(Imperialism) ก็คือการขยายอำนาจอธิปไตยของรัฐชาติในยุโรปออกไปนอกเหนือพรมแดนของชาติตน กระทั่งในที่สุด อาณาเขตบนโลกเกือบทั้งหมดก็สามารถแบ่งออกเป็นส่วน ๆ และแผนที่โลกก็ถูกระบายด้วยรหัสสีของประเทศมหาอำนาจในยุโรป เช่น

- สีแดงสำหรับดินแดนใต้อาณัติอังกฤษ
- สีฟ้าของฝรั่งเศส
- สีเขียวของโปรตุเกส ฯลฯ

ที่ใดก็ตามที่องค์อธิปัตย์สมัยใหม่หยั่งรากลงตั้งมั่น มันจะสร้างอสุรกายเลวีอาธาน (Leviathan--อสุรกายที่ถูกกล่าวถึงในพระคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความใหญ่โตและมีอำนาจมหาศาล ในที่นี้ออกเสียงชื่ออสุรกายตามพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลเป็นไทย) ที่แผ่อำนาจครอบคลุมปริมณฑลทางสังคม และยัดเยียดพรมแดนอาณาเขตที่มีการบังคับบัญชาเป็นลำดับชั้น ทั้งนี้เพื่อคอยตรวจเฝ้าความบริสุทธิ์ในอัตลักษณ์ของตนเอง รวมทั้งกีดกันทุกอย่างที่เป็น "อื่น" ออกไป

อภิจักรภพไร้ศูนย์กลาง และไร้อาณาเขต
การอุบัติของอภิจักรภพ(Empire) เกิดขึ้นจากสนธยาของอำนาจอธิปไตยยุคสมัยใหม่ ในทางตรงกันข้ามกับระบบจักรวรรดินิยม(Imperialism) อภิจักรภพมิได้สถาปนาศูนย์กลางอำนาจที่มีอาณาเขตบนพื้นที่โลก และไม่อิงกับพรมแดนที่แน่นอนหรือกำแพงกีดขวางใด ๆ อภิจักรภพคือกลไกการปกครองที่ ไร้ศูนย์กลาง และ ไร้อาณาเขต ซึ่งค่อย ๆ ผนวกปริมณฑลของโลกทั้งโลกไว้ภายในชายแดนเปิดที่ขยายออกไปเรื่อย ๆ อภิจักรภพจัดการกับอัตลักษณ์พันทาง ลำดับชั้นที่ยืดหยุ่น และการแลกเปลี่ยนมากมายมหาศาล โดยอาศัยการปรับเปลี่ยนควบคุมเครือข่ายของการบังคับบัญชา รหัสสีของชาติต่าง ๆ ที่แตกต่างกันบนแผนที่โลกยุคจักรวรรดินิยมจึงผสมกลมกลืนกลายเป็นสีรุ้งของจักรวรรดิโลก

การเปลี่ยนโฉมหน้าของภูมิศาสตร์โลกในระบบจักรวรรดินิยมสมัยใหม่และการเกิดขึ้นจริงของตลาดโลก ส่งสัญญาณให้ตระหนักถึงการเปลี่ยนผ่านภายในวิถีการผลิตแบบทุนนิยม ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือ การแบ่งแยกเชิงเทศะของสามโลก (โลกที่หนึ่ง, โลกที่สอง, และโลกที่สาม) เริ่มปนกันอย่างยุ่งเหยิง จนเราพบโลกที่หนึ่งอยู่ในโลกที่สาม พบโลกที่สามอยู่ในโลกที่หนึ่ง และโลกที่สองแทบไม่มีเหลืออยู่ที่ไหนเลย ดูประหนึ่งทุนค้นพบโลกที่ราบรื่น

หรือกล่าวให้ถูกคือ โลกที่ถูกนิยามด้วยระบอบใหม่อันซับซ้อน ซึ่งมีทั้งการแบ่งแยกและความเป็นหนึ่งเดียว การสลายอาณาเขตและการจัดอาณาเขตใหม่ การสร้างเส้นทางและขีดจำกัดของกระแสไหลเวียนระดับโลกที่เกิดขึ้นใหม่นี้ มาพร้อมกับการเปลี่ยนโฉมหน้าของกระบวนการผลิตที่สำคัญเลยทีเดียว โดยส่งผลให้บทบาทของแรงงานโรงงานอุตสาหกรรมลดลง และความสำคัญไปตกอยู่ที่แรงงานด้านการสื่อสาร การร่วมมือและอารมณ์ความรู้สึกแทน

postmodern - biopolitical production
ในระบบเศรษฐกิจโลกที่กลายเป็นแบบหลังสมัยใหม่ (postmodern) การสร้างความมั่งคั่งมีแนวโน้มนำไปสู่สิ่งที่เราเรียกว่า การผลิตเชิงชีวการเมือง (biopolitical production) นั่นคือ การผลิตชีวิตทางสังคม ซึ่งภาคเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม เหลื่อมซ้อนกันและลงทุนซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ

สหรัฐอเมริกาเพียงเอาผ้าคลุมมหาอำนาจโลกที่ยุโรปทำตกไว้มาสวมแทน
มีหลายคนเห็นว่า อำนาจสูงสุดที่ปกครองกระบวนการโลกาภิวัตน์และระเบียบโลกใหม่มีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา ผู้สนับสนุนสหรัฐฯ ยกย่องสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำโลกและมหาอำนาจเดี่ยว ส่วนฝ่ายคัดค้านก็ประณามว่า สหรัฐฯ เป็นจักรวรรดิจอมกดขี่ ทัศนะของทั้งสองฝ่ายตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า สหรัฐอเมริกาเพียงแค่รับเอาผ้าคลุมความเป็นมหาอำนาจโลกที่ยุโรปทำตกไว้มาสวมต่อแทน หากศตวรรษที่ 19 คือศตวรรษอังกฤษ ศตวรรษที่ 20 ย่อมเป็นศตวรรษอเมริกัน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ หากยุคสมัยใหม่คือยุโรป ยุคหลังสมัยใหม่ก็คืออเมริกัน

ดังนั้น ข้อกล่าวหาร้ายแรงที่สุดที่นักวิจารณ์จะสรรหามาโจมตีสหรัฐฯ ได้ก็คือ สหรัฐอเมริกากำลังปฏิบัติซ้ำรอยเดิมที่นักจักรวรรดินิยมยุโรปเก่าเคยทำมาแล้ว ส่วนฝ่ายสนับสนุนสหรัฐฯ ก็ยกย่องเชิดชูสหรัฐอเมริกาว่าเป็นผู้นำโลกที่มีประสิทธิภาพและมีเมตตามากกว่า และสหรัฐฯ กำลังแก้ไขสิ่งที่ยุโรปทำผิดให้กลายเป็นถูก แต่สมมติฐานเบื้องต้นของเราก็คือ องค์อธิปัตย์ในรูปแบบจักรวรรดิใหม่ได้อุบัติขึ้นแล้ว นี่เป็นสมมติฐานที่ขัดแย้งกับทั้งสองทัศนะข้างต้น ในวันนี้ ไม่ว่าสหรัฐอเมริกาหรือรัฐชาติไหน ๆ ก็ไม่สามารถวางตัวเป็นศูนย์กลางของแผนการอภิจักรภพได้ ยุคจักรวรรดินิยมสิ้นสุดไปแล้ว ไม่มีชาติไหนสามารถเป็นผู้นำโลกแบบเดียวกับที่กลุ่มมหาอำนาจยุโรปในยุคสมัยใหม่เคยทำได้อีกต่อไป

องค์ประกอบของรัฐธรรมนูญ
ถึงแม้สหรัฐอเมริกาครองสถานะอภิสิทธิ์ในอภิจักรภพก็จริง แต่อภิสิทธิ์นี้มิใช่ได้มาเพราะสหรัฐฯ มีความคล้ายคลึงกับมหาอำนาจจักรวรรดินิยมยุโรปในยุคก่อน แต่ได้มาเพราะสหรัฐฯ แตกต่างออกไปต่างหาก ความแตกต่างหลายประการนี้สามารถเข้าใจได้ชัดเจนที่สุด หากเราเพ่งความสนใจไปที่รากฐานแบบจักรวรรดิ(Imperial) (ไม่ใช่จักรวรรดินิยม - Imperialism) ของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา คำว่า "รัฐธรรมนูญ" เราหมายถึงทั้ง

- รัฐธรรมนูญเชิงพิธีการ (formal constitution) ซึ่งเป็นเอกสารลายลักษณ์อักษรตลอดจนบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมและกลไกทางกฎหมาย รวมทั้ง
- รัฐธรรมนูญเชิงวัตถุ (material constitution) กล่าวคือ การจัดองค์ประกอบของกลุ่มพลังทางสังคมและการจัดองค์ประกอบใหม่อย่างต่อเนื่อง

โธมัส เจฟเฟอร์สัน กลุ่มผู้เขียน Federalist* และบิดาแห่งอุดมการณ์คนอื่น ๆ ของสหรัฐอเมริกา ล้วนแล้วแต่ได้รับแรงบันดาลใจจากรูปแบบจักรวรรดิในสมัยโบราณ พวกเขาเชื่อว่า ตนกำลังสร้างจักรวรรดิใหม่บนอีกฟากหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก โดยมีชายแดนเปิดที่ขยายออกไปได้เรื่อย ๆ และมีการกระจายอำนาจในลักษณะเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิดเกี่ยวกับจักรวรรดินี้คงอยู่และสุกงอมมากขึ้นตลอดประวัติศาสตร์ของรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา กระทั่งคลี่คลายเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นจริงระดับโลกในปัจจุบัน

(*)* หมายถึง Federalist Papers ซึ่งเป็นบทความ 85 บทความที่เขียนขึ้นในช่วง ค.ศ. 1787-8 บทความเหล่านี้สนับสนุนให้มีการลงสัตยาบันในร่างรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา ผู้เขียนมีทั้งหมด 3 คนคือ Alexander Hamilton, James Madison และ John Jay โดยตอนแรกทั้งสามใช้นามปากการ่วมกันว่า "Publius" เจมส์ เมดิสันได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งรัฐธรรมนูญและต่อมาเป็นประธานาธิบดีคนที่สี่ของสหรัฐฯ อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตันเป็นผู้แทนที่มีบทบาทในสภาร่างรัฐธรรมนูญและต่อมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลังคนแรกของสหรัฐฯ ส่วนจอห์น เจย์เป็นผู้พิพากษาสูงสุดคนแรกของสหรัฐฯ

เราขอย้ำว่า คำว่า "อภิจักรภพ"(Empire) ที่ใช้ในที่นี้ ไม่ได้ใช้ในลักษณะของ คำอุปมา (metaphor) ซึ่งเป็นเรื่องของการสาธกให้เห็นความคล้ายคลึงระหว่างระเบียบโลกวันนี้กับจักรวรรดิโรมัน จีน อเมริกา ฯลฯ แต่เราใช้ในฐานะ มโนทัศน์ (concept) มากกว่า ดังนั้น การศึกษาเชิงทฤษฎีจึงมีความสำคัญเป็นอันดับแรก (2)

(2) มโนทัศน์เกี่ยวกับจักรภพหรือ Empire โปรดดู Maurice Duverger, "Le concept d'empire," in Maurice Duverger, ed., Le concept d'empire (Paris: PUF, 1980), pp. 5-23. Duverger แบ่งตัวอย่างในประวัติศาสตร์ออกเป็นรูปแบบพื้นฐานสองแบบ แบบแรกคือจักรวรรดิโรมัน ส่วนอีกแบบหนึ่งคือจักรวรรดิจีน อาหรับ เมโสอเมริกา และจักรวรรดิอื่น ๆ การวิเคราะห์ของเราถือเอาจักรวรรดิโรมันเป็นพื้นฐาน เพราะนี่คือรูปแบบที่เป็นต้นแบบของจารีตยุโรป-อเมริกัน ซึ่งตกทอดมาเป็นระเบียบโลกในปัจจุบัน

มโนทัศน์ของอภิจักรภพ (Empire) ๔ ประการ
มโนทัศน์ของอภิจักรภพ (Empire) มีลักษณะเฉพาะพื้นฐานคือ การไร้พรมแดน การปกครองของอภิจักรภพไม่มีขอบเขตจำกัด ดังนั้น

ในประการแรกสุด มโนทัศน์ของอภิจักรภพจึงหมายถึงระบอบการปกครองที่ครอบคลุมเทศะทั้งหมดอย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ หรืออย่างน้อยก็ปกครองโลก "ศิวิไลซ์" ทั้งหมด ไม่มีพรมแดนอาณาเขตใด ๆ มาจำกัดอำนาจการปกครองของอภิจักรภพ

ประการที่สอง มโนทัศน์ของอภิจักรภพ ไม่ได้นำเสนอตัวเองเป็นระบอบการปกครองในประวัติศาสตร์ที่เกิดมาจากการพิชิตดินแดน แต่เป็นระบอบที่หยุดประวัติศาสตร์ไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้จึงธำรงสภาพที่เป็นอยู่ไว้ชั่วกัลปาวสาน เมื่อมองจากสายตาของอภิจักรภพ สิ่งต่าง ๆ จะเป็นอยู่เช่นนี้เสมอไปและตั้งใจให้มันเป็นเช่นนี้ตลอดไป กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ อภิจักรภพไม่ได้นำเสนอการปกครองของตนในฐานะชั่วขณะเปลี่ยนผ่าน ท่ามกลางกระแสเคลื่อนไหวของประวัติศาสตร์ แต่นำเสนอในฐานะระบอบที่ไม่มีพรมแดนเชิงกาละ ในแง่นี้ มันจึงอยู่นอกประวัติศาสตร์หรือ ณ จุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์

ประการที่สาม การปกครองของอภิจักรภพตัดผ่าลงไปในทุกส่วนประกอบของระเบียบสังคม ลึกลงไปจนถึงห้วงล่างของโลกสังคม อภิจักรภพไม่เพียงจัดการกับอาณาเขตและประชากร แต่ยังสร้างโลกสำหรับอยู่อาศัยให้ด้วย อภิจักรภพไม่เพียงกำกับปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ แต่พยายามเข้าไปควบคุมธรรมชาติมนุษย์โดยตรง วัตถุภายใต้การปกครองของอภิจักรภพก็คือ ชีวิตสังคมทั้งหมดทั่วทุกด้าน ดังนั้น อภิจักรภพจึงนำเสนอรูปแบบกระบวนทัศน์ของชีวอำนาจ

ประการสุดท้าย ถึงแม้การดำเนินงานของอภิจักรภพ อาจอาบนองชุ่มโชกไปด้วยเลือดอยู่เนือง ๆ แต่มโนทัศน์ของอภิจักรภพย่อมผูกติดกับสันติภาพเสมอ สันติภาพสากลชั่วนิรันดร์ที่อยู่นอกประวัติศาสตร์

โลกาภิวัตน์ และพลังสร้างสรรค์ของมหาชน (multitude)
อภิจักรภพที่เราเผชิญหน้าอยู่ในขณะนี้ มันมีพลานุภาพล้นเหลือในการกดขี่และทำลายล้าง ทว่าข้อเท็จจริงนี้ไม่พึงทำให้เราโหยหาระบบการปกครองรูปแบบเก่า ๆ แต่อย่างใด การเปลี่ยนผ่านไปสู่อภิจักรภพและกระบวนการโลกาภิวัตน์ เปิดช่องให้เกิดความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ที่จะนำมาซึ่งพลังแห่งการปลดปล่อย

แน่นอน โลกาภิวัตน์ไม่ได้มีความเป็นหนึ่งเดียว กระบวนการซับซ้อนหลากหลายที่เราเรียกว่าโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่สิ่งที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือมีเพียงความหมายเดียว เราจะแสดงเหตุผลให้เห็นว่า ภารกิจทางการเมืองของเราไม่ใช่แค่ต่อต้านขัดขืนกระบวนการเหล่านี้ แต่น่าจะเป็นการจัดการกระบวนการเหล่านี้เสียใหม่ และหันเหมันให้มุ่งไปสู่จุดหมายปลายทางใหม่ พลังสร้างสรรค์ของมหาชน (multitude) ซึ่งค้ำจุนอภิจักรภพไว้ สามารถสร้างกระแสต่อต้านอภิจักรภพได้อย่างอิสระเช่นกัน โดยจัดการกับการเคลื่อนไหวและการแลกเปลี่ยนระดับโลกด้วยการเมืองทางเลือกใหม่ ความพยายามต่อสู้และบ่อนทำลายอภิจักรภพ รวมทั้งความพยายามสร้างทางเลือกใหม่ที่แท้จริง ย่อมเกิดขึ้นบนชัยภูมิของอภิจักรภพนั่นเอง

อันที่จริง การต่อสู้ครั้งใหม่นี้เริ่มอุบัติให้เห็นแล้ว ด้วยการต่อสู้และความพยายามต่าง ๆ มหาชนจักต้องคิดค้นสร้างสรรค์รูปแบบประชาธิปไตยใหม่และอำนาจปวงชนใหม่ ซึ่งวันหนึ่งจะนำพาเราผ่านพ้นอภิจักรภพไปได้

ลำดับความเป็นมาที่เราไล่เรียงในการวิเคราะห์เส้นทางจากจักรวรรดินิยมสู่อภิจักรภพ จะเริ่มต้นที่ยุโรปก่อน จากนั้นจึงไปสู่ยุโรป-อเมริกัน ไม่ใช่เพราะเราเชื่อว่า สองภูมิภาคนี้เป็นแหล่งแนวคิดและนวัตกรรมทางประวัติศาสตร์ที่พิเศษเฉพาะหรือมีอภิสิทธิ์กว่าที่อื่น ๆ แต่เพียงเพราะนี่คือเส้นทางหลักทางภูมิศาสตร์ที่มโนทัศน์และการปฏิบัติต่าง ๆ พัฒนาขึ้นมาจนกลายเป็นแรงบันดาลใจของอภิจักรภพในวันนี้ อีกทั้งยังก้าวเคียงคู่มากับพัฒนาการของวิถีการผลิตแบบทุนนิยมด้วย (3)

(3) "ยุคสมัยใหม่ไม่ใช่ปรากฏการณ์ของยุโรปในฐานะระบบ ที่เป็นเอกเทศ แต่เป็นปรากฏการณ์ของยุโรปในฐานะศูนย์กลางต่างหาก" Enrique Dussel, "Beyond Eurocentrism: The World System and the Limits of Modernity," in Fredric Jameson and Masao Miyoshi, eds., The Cultures of Globalization (Durham: Duke University Press, 1998), pp. 3-31; quotation p.

ถึงแม้ลำดับความเป็นมาของอภิจักรภพในแง่นี้มียุโรปเป็นศูนย์กลาง แต่อำนาจในปัจจุบันของมันไม่ได้จำกัดอยู่ในภูมิภาคใด ตรรกะของการปกครองมีจุดกำเนิดจากยุโรปและสหรัฐอเมริกาในบางแง่ก็จริง แต่อำนาจครอบงำในปัจจุบันก็ครอบคลุมทั่วทั้งโลก ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น กลุ่มพลังที่ต่อสู้กับจักรวรรดิและสร้างนิมิตหมายถึงสังคมโลกแบบอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ไม่ได้จำกัดอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ใด ๆ ภูมิศาสตร์ของกลุ่มพลังทางเลือกเหล่านี้ หรือแผนที่โลกใหม่ ยังคงรอคอยการเขียนบันทึก หรือกล่าวให้ถูกก็คือ แผนที่นั้นกำลังถูกเขียนในวันนี้ ด้วยน้ำหมึกของการต่อต้านขัดขืน การต่อสู้และความใฝ่ฝันของมหาชน

แนวทางสหวิทยาการของหนังสือ Empire
ในการเขียนหนังสือเล่มนี้ เราพยายามใช้แนวทางสหวิทยาการที่กว้างขวางครอบคลุมอย่างสุดความสามารถ (4) ข้ออ้างเหตุผลของเราตั้งใจให้เป็นทั้งเชิงปรัชญาและประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ การเมืองและมานุษยวิทยา ส่วนหนึ่งเพราะวัตถุที่เป็นเป้าการศึกษาของเราจำต้องอาศัยความเป็นสหวิทยาการที่กว้างขวางแบบนี้ เนื่องจากในอภิจักรภพ พรมแดนที่เคยมีอยู่ ซึ่งเคยทำให้แนวทางการศึกษาเฉพาะสาขาวิชาแคบ ๆ เป็นไปได้ ตอนนี้พรมแดนเหล่านั้นกำลังพังทลายลงไปทุกขณะ

(4) งานเขียนเชิงสหวิทยาการสองเล่มที่เราถือเป็นต้นแบบในการเขียนหนังสือเล่มนี้ก็คือ Capital ของมาร์กซ์ และ A Thousand Plateaus ของ Deleuze และ Guattari

ยกตัวอย่างเช่น ในโลกของอภิจักรภพ นักเศรษฐศาสตร์จำต้องมีความรู้พื้นฐานด้านการผลิตเชิงวัฒนธรรม จึงจะทำความเข้าใจระบบเศรษฐกิจได้ ในทำนองเดียวกัน นักวิจารณ์วัฒนธรรมจำต้องมีความรู้พื้นฐานด้านกระบวนการเศรษฐกิจจึงจะเข้าใจวัฒนธรรมได้ นี่คือเงื่อนไขที่โครงการศึกษาของเราต้องการ สิ่งที่เรามุ่งหวังจะสร้างคุณูปการในหนังสือเล่มนี้ก็คือ กรอบใหญ่ในเชิงทฤษฎีและคลังมโนทัศน์สำหรับการสร้างทฤษฎีและวางแนวทางการปฏิบัติในการต่อต้านอภิจักรภพ (5)

(5) แน่นอน หนังสือเล่มนี้มิใช่ผลงานเพียงชิ้นเดียวที่จัดเตรียมชัยภูมิสำหรับการวิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์อภิจักรภพ ถึงแม้นักคิดเหล่านี้ไม่ได้ใช้คำว่า "อภิจักรภพ" ก็ตาม แต่เราก็เห็นผลงานของปัญญาชนหลายคนที่มุ่งมาในทิศทางนี้เช่นกัน อันประกอบด้วย Fredric Jameson, David Harvey, Arjun Appadurai, Gayatri Spivak, Edward Said, Giovanni Arrighi และ Arif Dirlik นี่ยกตัวอย่างเฉพาะบางชื่อที่คุ้นเคยกันดีเท่านั้น

เช่นเดียวกับหนังสือเล่มใหญ่ทั่ว ๆ ไป หนังสือเล่มนี้สามารถอ่านได้หลายวิธี จากหน้าไปหลัง จากหลังไปหน้า อ่านเป็นส่วน ๆ อ่านกระโดดไปกระโดดมา หรืออ่านแบบจับคู่บท บทต่าง ๆ ใน

ภาค 1 แนะนำประเด็นปัญหาทั่วไปของอภิจักรภพ
ภาค 2 ช่วงกลางของหนังสือ และ
ภาค 3 เราเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนผ่านจากยุคสมัยใหม่มาสู่ยุคหลังสมัยใหม่ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ
จากจักรวรรดินิยม(Imperialism) มาสู่อภิจักรภพ(Empire)

ภาค 2 เล่าถึงเส้นทางการเปลี่ยนผ่านจากจุดยืนของประวัติศาสตร์ความคิดและวัฒนธรรม จากยุคสมัยใหม่ตอนต้นมาจนถึงปัจจุบัน เส้นด้ายสีแดงที่ร้อยรัดตลอดส่วนนี้คือลำดับความเป็นมาของมโนทัศน์เกี่ยวกับองค์อธิปัตย์ ภาค 3 เล่าถึงเส้นทางเดียวกันจากจุดยืนของการผลิต คำว่า "การผลิต" ในที่นี้มีความหมายกว้างมาก ครอบคลุมตั้งแต่การผลิตเชิงเศรษฐกิจไปจนถึงการผลิตความเป็นอัตวิสัย การเล่าเรื่องในภาคนี้ครอบคลุมช่วงเวลาที่สั้นกว่าและเน้นการเปลี่ยนโฉมหน้าของการผลิตในระบบทุนนิยมจากปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงปัจจุบัน โครงสร้างเรื่องเล่าภายในภาค 2 และภาค 3 จึงสอดรับกัน กล่าวคือ ช่วงแรกพรรณนาถึงยุคจักรวรรดินิยมสมัยใหม่ ช่วงกลางกล่าวถึงกลไกของการเปลี่ยนผ่าน และช่วงสุดท้ายวิเคราะห์โลกอภิจักรภพยุคหลังสมัยใหม่ของเรา

เราวางโครงสร้างหนังสือไว้แบบนี้ เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของการเคลื่อนย้ายจากปริมณฑลของความคิดไปสู่ปริมณฑลของการผลิต บทคั่นสั้น ๆ (Intermezzo) ระหว่างภาค 2 กับภาค 3 ทำหน้าที่เป็นบานพับสำหรับเชื่อมต่อการเคลื่อนย้ายจากจุดยืนหนึ่งไปสู่อีกจุดยืนหนึ่ง เราตั้งใจให้มีการเคลื่อนย้ายจุดยืนเช่นนี้เพื่อให้มันทำหน้าที่คล้ายกับช่วงหนึ่งในหนังสือ Capital เมื่อมาร์กซ์เชิญชวนเราให้ละจากโลกการค้าที่เอะอะอึกทึก และก้าวไปสู่แหล่งการผลิตที่ซ่อนเร้นจากสายตา

ปริมณฑลของการผลิตคือสถานที่ที่ความไม่เท่าเทียมทางสังคมเปิดเผยให้เห็นอย่างแจ่มแจ้ง และยิ่งกว่านั้น มันคือบ่อเกิดของการต่อต้านขัดขืนที่มีประสิทธิภาพที่สุด รวมทั้งการแสวงหาทางเลือกอื่นที่พ้นไปจากอำนาจของอภิจักรภพ ในภาค 4 เราจึงพยายามชี้ให้เห็นทางเลือกต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งกำลังค้นหาเส้นทางของการเป็นขบวนการที่ก้าวพ้นอภิจักรภพ

เราเริ่มเขียนหนังสือเล่มนี้หลังจากสงครามอ่าวเปอร์เซียเพิ่งสิ้นสุดลง และเสร็จสมบูรณ์ก่อนเกิดสงครามในโคโซโวพอดี ผู้อ่านจึงควรวางตำแหน่งของข้ออ้างเหตุผลในหนังสือเล่มนี้ ณ ตรงจุดกึ่งกลางระหว่างสองเหตุการณ์ ที่บ่งบอกสัญญาณบางอย่างท่ามกลางการสถาปนาของอภิจักรภพ

แนะนำหนังสือ จักรวรรดิและชีวประวัติอันโตนิโอ เนกรี

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Empire
Michael Hardt / Antonio Negri

Every tool is a weapon if you hold it right.
Ani DiFranco

Men fight and lose the battle, and the thing that they fought for comes about
in spite of their defeat, and then it turns out not to be what they meant, and
other men have to fight for what they meant under another name.
William Morris


ACKNOWLEDGMENTS

We would like to thank the friends and colleagues who read parts of this manuscript and from whose comments we benefited: Robert Adelman, Etienne Balibar, Denis Berger, Yann Moulier Boutang, Tom Conley, Arif Dirlik, Luciano Ferrari-Bravo, David Harvey, Fred Jameson, Rebecca Karl, Wahneema Lubiano, Saree Makdisi, Christian Marazzi, Valentin Mudimbe, Judith Revel, Ken Surin, Christine Thorsteinsson, Jean-Marie Vincent, Paolo Virno, Lindsay Waters, and Kathi Weeks.


PREFACE

Empire is materializing before our very eyes. Over the past several decades, as colonial regimes were overthrown and then precipitously after the Soviet barriers to the capitalist world market finally collapsed, we have witnessed an irresistible and irreversible globalization of economic and cultural exchanges. Along with the global market and global circuits of production has emerged a global order, a new logic and structure of rule-in short, a new form of sovereignty. Empire is the political subject that effectively regulates these global exchanges, the sovereign power that governs the world.

Many argue that the globalization of capitalist production and exchange means that economic relations have become more autonomous from political controls, and consequently that political sovereignty has declined. Some celebrate this new era as the liberation of the capitalist economy from the restrictions and distortions that political forces have imposed on it; others lament it as the
closing of the institutional channels through which workers and citizens can influence or contest the cold logic of capitalist profit. It is certainly true that, in step with the processes of globalization, the sovereignty of nation-states, while still effective, has progressively declined. The primary factors of production and exchange-money, technology, people, and goods-move with increasing ease across national boundaries; hence the nation-state has less and less power to regulate these flows and impose its authority over the economy. Even the most dominant nation-states should no longer be thought of as supreme and sovereign authorities, either outside or even within their own borders. The decline in sovereignty of nationstates, however, does not mean that sovereignty as such has declined.

Throughout the contemporary transformations, political controls, state functions, and regulatory mechanisms have continued to rule the realm of Economic and social production and exchange.
Our basic hypothesis is that sovereignty has taken a new form, composed of a series of national and supranational organisms united under a single logic of rule. This new global form of sovereignty is what we call Empire.

The declining sovereignty of nation-states and their increasing inability to regulate economic and cultural exchanges is in fact one of the primary symptoms of the coming of Empire. The sovereignty of the nation-state was the cornerstone of the imperialisms that European powers constructed throughout the modern era. By "Empire," however, we understand something altogether different from "imperialism." The boundaries defined by the modern system of nation-states were fundamental to European colonialism and economic expansion: the territorial boundaries of the nation delimited the center of power from which rule was exerted over external foreign territories through a system of channels and barriers that alternately facilitated and obstructed the flows of production and circulation. Imperialism was really an extension of the sovereignty of the European nation-states beyond their own boundaries. Eventually nearly all the world's territories could be parceled out and the entire world map could be coded in European colors: red for British territory, blue for French, green for Portuguese, and so forth. Wherever modern sovereignty took root, it constructed a Leviathan that overarched its social domain and imposed hierarchical territorial boundaries, both to police the purity of its own identity and to exclude all that was other.

The passage to Empire emerges from the twilight of modern sovereignty. In contrast to imperialism, Empire establishes no territorial center of power and does not rely on fixed boundaries or barriers. It is a decentered and deterritorializing apparatus of rule that progressively incorporates the entire global realm within its open, expanding frontiers. Empire manages hybrid identities, flexible hierarchies, and plural exchanges through modulating networks of command. The distinct national colors of the imperialist map of the world have merged and blended in the imperial global rainbow. The transformation of the modern imperialist geography of the globe and the realization of the world market signal a passage within the capitalist mode of production. Most significant, the spatial divisions of the three Worlds (First, Second, and Third) have been scrambled so that we continually find the First World in the Third, the Third in the First, and the Second almost nowhere at all. Capital seems to be faced with a smooth world-or really, a world defined by new and complex regimes of differentiation and homogenization, deterritorialization and reterritorialization. The construction of the paths and limits of these new global flows has been accompanied by a transformation of the dominant productive processes themselves, with the result that the role of industrial factory labor has been reduced and priority given instead to communicative, cooperative, and affective labor. In the postmodernization of the global economy, the creation of wealth tends ever more toward what we will call biopolitical production, the production of social life itself, in which the economic, the political, and the cultural increasingly overlap and invest one another.

Many locate the ultimate authority that rules over the processes of globalization and the new world order in the United States. Proponents praise the United States as the world leader and sole superpower, and detractors denounce it as an imperialist oppressor. Both these views rest on the assumption that the United States has simply donned the mantle of global power that the European nations have now let fall. If the nineteenth century was a British century, then the twentieth century has been an American century; or really, if modernity was European, then postmodernity is American. The most damning charge critics can level, then, is that the United States is repeating the practices of old European imperialists, while proponents celebrate the United States as a more efficient and more benevolent world leader, getting right what the Europeans got wrong. Our basic hypothesis, however, that a new imperial form of sovereignty has emerged, contradicts both these views. The United States does not, and indeed no nation-state can today, form the center of an imperialist project. Imperialism is over. No nation will be world leader in the way modern European nations were.

The United States does indeed occupy a privileged position in Empire, but this privilege derives not from its similarities to the old European imperialist powers, but from its differences. These differences can be recognized most clearly by focusing on the properly imperial (not imperialist) foundations of the United States constitution, where by "constitution" we mean both the formal
constitution, the written document along with its various amendments and legal apparatuses, and the material constitution, that is, the continuous formation and re-formation of the composition of social forces. Thomas Jefferson, the authors of the Federalist, and the other ideological founders of the United States were all inspired by the ancient imperial model; they believed they were creating on the other side of the Atlantic a new Empire with open, expanding frontiers, where power would be effectively distributed in networks. This imperial idea has survived and matured throughout the history of the United States constitution and has emerged now on a global scale in its fully realized form.

We should emphasize that we use "Empire" here not as a metaphor, which would require demonstration of the resemblances between today's world order and the Empires of Rome, China, the Americas, and so forth, but rather as a concept, which calls primarily for a theoretical approach. The concept of Empire is characterized fundamentally by a lack of boundaries: Empire's rule has no limits. First and foremost, then, the concept of Empire posits a regime that effectively encompasses the spatial totality, or really that rules over the entire "civilized" world. No territorial boundaries limit its reign. Second, the concept of Empire presents itself not as a historical regime originating in conquest, but rather as an order that effectively suspends history and thereby fixes the existing state of affairs for eternity. From the perspective of Empire, this is the way things will always be and the way they were always meant to be. In other words, Empire presents its rule not as a transitory moment in the movement of history, but as a regime with no temporal boundaries and in this sense outside of history or at the end of history. Third, the rule of Empire operates on all registers of the social order extending down to the depths of the social world. Empire not only manages a territory and a population but also creates the very world it inhabits. It not only regulates human interactions but also seeks directly to rule over human nature. The object of its rule is social life in its entirety, and thus Empire presents the paradigmatic form of biopower. Finally, although the practice of Empire is continually bathed in blood, the concept of Empire is always dedicated to peace-a perpetual and universal peace outside of history.

The Empire we are faced with wields enormous powers of oppression and destruction, but that fact should not make us nostalgic in any way for the old forms of domination. The passage to Empire and its processes of globalization offer new possibilities to the forces of liberation. Globalization, of course, is not one thing, and the multiple processes that we recognize as globalization are not unified or univocal. Our political task, we will argue, is not simply to resist these processes but to reorganize them and redirect them toward new ends. The creative forces of the multitude that sustain Empire are also capable of autonomously constructing a counter-Empire, an alternative political organization of global flows and exchanges. The struggles to contest and subvert Empire, as well as those to construct a real alternative, will thus take place on the imperial terrain itself-indeed, such new struggles have already begun to emerge. Through these struggles and many more like them, the multitude will have to invent new democratic forms and a new constituent power that will one day take us through and beyond Empire.

The genealogy we follow in our analysis of the passage from imperialism to Empire will be first European and then Euro-American, not because we believe that these regions are the exclusive or privileged source of new ideas and historical innovation, but simply because this was the dominant geographical path along which the concepts and practices that animate today's Empire developed-in step, as we will argue, with the development of the capitalist mode of production. Whereas the genealogy of Empire is in this sense Eurocentric, however, its present powers are not limited to any region. Logics of rule that in some sense originated in Europe and the United States now invest practices of domination throughout the globe. More important, the forces that contest Empire and effectively prefigure an alternative global society are themselves not limited to any geographical region. The geography of these alternative powers, the new cartography, is still waiting to be written-or really, it is being written today through the resistances, struggles, and desires of the multitude.

In writing this book we have tried to the best of our abilities to employ a broadly interdisciplinary approach. Our argument aims to be equally philosophical and historical, cultural and economic, political and anthropological. In part, our object of study demands this broad interdisciplinarity, since in Empire the boundaries that might previously have justified narrow disciplinary approaches are increasingly breaking down. In the imperial world the economist, for example, needs a basic knowledge of cultural production to understand the economy, and likewise the cultural critic needs a basic knowledge of economic processes to understand culture. That is a requirement that our project demands. What we hope to have contributed in this book is a general theoretical framework and a toolbox of concepts for theorizing and acting in and against Empire.

Like most large books, this one can be read in many different ways: front to back, back to front, in pieces, in a hopscotch pattern, or through correspondences. The sections of Part 1 introduce the general problematic of Empire. In the central portion of the book, Parts 2 and 3, we tell the story of the passage from modernity to postmodernity, or really from imperialism to Empire. Part 2 narrates the passage primarily from the standpoint of the history of ideas and culture from the early modern period to the present. The red thread that runs throughout this part is the genealogy of the concept of sovereignty. Part 3 narrates the same passage from the standpoint of production, whereby production is understood in a very broad sense, ranging from economic production to the production of subjectivity. This narrative spans a shorter period and focuses primarily on the transformations of capitalist production from the late nineteenth century to the present. The internal structures of Parts 2 and 3 thus correspond: the first sections of each treat the modern, imperialist phase; the middle sections deal with the mechanisms of passage; and the final sections analyze our postmodern, imperial world.

We structured the book this way in order to emphasize the importance of the shift from the realm of ideas to that of production. The Intermezzo between Parts 2 and 3 functions as a hinge that articulates the movement from one standpoint to the other. We intend this shift of standpoint to function something like the moment in Capital when Marx invites us to leave the noisy sphere of exchange and descend into the hidden abode of production. The realm of production is where social inequalities are clearly revealed and, moreover, where the most effective resistances and alternatives to the power of Empire arise. In Part 4 we thus try to identify these alternatives that today are tracing the lines of a movement beyond Empire.

This book was begun well after the end of the Persian Gulf War and completed well before the beginning of the war in Kosovo. The reader should thus situate the argument at the midpoint between those two signal events in the construction of Empire.

แนะนำหนังสือ จักรวรรดิและชีวประวัติอันโตนิโอ เนกรี

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๑ : Release date 24 May 2008 : Copyleft by MNU.

พรมแดนที่นิยามด้วยระบบรัฐชาติสมัยใหม่ คือฐานรากของระบอบอาณานิคมยุโรปและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ พรมแดนอาณาเขตของชาติคือขอบเขตของศูนย์กลางอำนาจ ศูนย์กลางนั้นใช้อำนาจการปกครองเหนืออาณาเขตดินแดนต่างชาติที่อยู่ภายนอก โดยอาศัยระ บบช่องทางการถ่ายเทและกำแพงกีดขวางที่อำนวยความสะดวกและขัดขวางกระแสการผลิตและการหมุนเวียนสินค้าสลับกันไป แท้จริงแล้ว ระบบจักรวรรดินิยม (Imperialism) ก็คือ การขยายอำนาจอธิปไตยของรัฐชาติในยุโรปออกไปนอกเหนือพรมแดนของชาติตน กระทั่งในที่สุด อาณาเขตบนโลกเกือบทั้งหมดก็สามารถแบ่งออกเป็นส่วน ๆ และแผนที่โลกก็ถูกระบายด้วยสีของประเทศมหาอำนาจในยุโรป เช่น สีแดงของอังกฤษ สีฟ้าของฝรั่งเศส เป็นต้น

H

Leviathan - อสุรกาย
ที่ใดก็ตามที่องค์อธิปัตย์สมัยใหม่หยั่งรากลงตั้งมั่น มันจะสร้างอสุรกายเลวีอาธาน (Leviathan - อสุรกายที่ถูกกล่าวถึงในพระคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความใหญ่โต และมีอำนาจมหาศาล ในที่นี้ออกเสียงชื่ออสุรกายตามพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลเป็นไทย) ที่แผ่อำนาจครอบคลุมปริมณฑลทางสังคม และยัดเยียดพรมแดนอาณาเขตที่มีการบังคับบัญชาเป็นลำดับชั้น ทั้งนี้เพื่อคอยทำหน้าที่ตรวจเฝ้าความบริสุทธิ์ในอัตลักษณ์ของตนเอง รวมทั้งกีดกันทุกอย่างที่เป็น "อื่น" ออกไป

postmodern - biopolitical production
ในระบบเศรษฐกิจโลกที่กลายเป็นแบบหลังสมัยใหม่ (postmodern) การสร้างความมั่งคั่งมีแนวโน้มนำไปสู่สิ่งที่เราเรียกว่า การผลิตเชิงชีวการเมือง (biopolitical production) นั่นคือ การผลิตชีวิตทางสังคม ซึ่งภาคเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม เหลื่อมซ้อนกันและลงทุนซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ