ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




17-06-2551 (1589)

ทุนนิยมการตลาดกับการแปลงอาหารอินทรีย์และอาหารท้องถิ่นเป็นสินค้า
Global Tastes: อาหารท้องถิ่นก็แค่โวหาร หากไม่พัฒนาให้เป็นการเมือง
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

คลิกอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษ

บทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

บทความนี้แปลมาจาก Global Tastes เขียนโดย John Feffer
Washington, DC: Foreign Policy In Focus, October 15, 2007.
Web location: http://fpif.org/fpiftxt/4643

การลิ้มรสอาหารแปลกๆ ในสมัยก่อนเป็นสิทธิของพระราชา ปัจจุบันลัทธิทุนนิยม
เปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ให้เป็นเรื่องธรรมดา มีความเสมอภาค และยังมีการเพิ่มมูลค่า
สินค้าอาหารด้วยความต่าง ความเป็นอาหารอินทรีย์ และความเป็นท้องถิ่น
บทแปลชิ้นนี้จะนำเสนอข้อมูลที่น่าพิจารณาในประเด็นข้างต้น ดังหัวข้อต่อไปนี้
- สมัยใหม่: ลิ้นของพระราชาและสามัญชนเสมอภาคกัน
- สมัยใหม่: มูลค่าวัตถุดิบทางการเกษตรตกต่ำลง
- สมัยใหม่: การเล่นแร่แปรธาตุกับความต่าง
- รสชาติแบบอินทรีย์ จากความยั่งยืนของผืนดินสู่การกลายเป็นสินค้า
- กลับไปหาท้องถิ่น และกลุ่ม Locavore
- กินอย่างท้องถิ่น การพลิกกลับสมการมูลค่า
- การวิพากษ์การผลิตอาหารเป็นแค่โวหาร หากไม่พัฒนาให้เป็นการเมือง
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา

ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๘๙
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๖ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ทุนนิยมการตลาดกับการแปลงอาหารอินทรีย์และอาหารท้องถิ่นเป็นสินค้า
Global Tastes: อาหารท้องถิ่นก็แค่โวหาร หากไม่พัฒนาให้เป็นการเมือง
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

คลิกอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษ

สมัยใหม่: ลิ้นของพระราชาและสามัญชนเสมอภาคกัน
ดังที่ซูเอโตเนียส [1] บันทึกไว้ ในสมัยก่อน ข้าราชบริพารเก็บรวบรวมเครื่องปรุงรสพิเศษ "ที่มีอยู่ในทุกซอกมุมของจักรวรรดิ จากชายแดนเมืองพาร์เธีย [2] ไปจนถึงช่องแคบยิบรอลตาร์" เพื่อนำมาใช้ประกอบพระกระยาหารเลิศรสถวายจักรพรรดิโรมัน. ฮ่องเต้ของจีนก็ไม่น้อยหน้า พระองค์มีพระประสงค์เครื่องเสวยแปลกลิ้นเปลี่ยนรสที่ส่งมาไม่ขาดสายจากแดนไกลตามเส้นทางสายไหม. ในปัจจุบัน ประเพณีแบบนี้ยังคงมีให้โจษจันกันเป็นครั้งคราว เช่น เมื่อคิมจองอิล ผู้นำเกาหลีเหนือ ต้องการลิ้มเบียร์เช็คและพิซซาอิตาเลียน

[1] หมายถึง Gaius Suetonius Tranquillus (ค.ศ. 69-150) นักประวัติศาสตร์และนักเขียนชีวประวัติชาวโรมัน งานเขียนที่เหลือมาถึงยุคปัจจุบันคือ Live of the Caesars ซึ่งเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ในยุคจักรวรรดิโรมัน ตั้งแต่จูเลียส ซีซาร์มาจนถึงจักรพรรดิโดมิเชียน

[2] Parthia ชื่อประเทศโบราณในภาคตะวันตกของเอเชีย ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอิหร่าน

ถ้าเราเป็นในสิ่งที่เรากิน จักรพรรดิจะได้ชื่อว่าเป็นจักรพรรดิก็คงไม่ใช่แค่เพราะสืบสายพระโลหิต แต่เพราะพระกระยาหารอีกโสตหนึ่ง จะครองจักรวรรดิไปไยหากไม่สามารถ "เสวย" บ้านเมืองของตัวเองลงไปด้วย? ถ้ายกเว้นคิมจองอิลผู้โดดเดี่ยวสักคน เดี๋ยวนี้อาหารนำเข้าแปลกรสที่มีแต่ราชสำนักได้เสพ กับอาหารพื้นๆ จำเจของสามัญชนแทบไม่มีความแตกต่างหลงเหลือมากนัก ของกินที่เมื่อก่อนถวายให้แก่ราชาและราชินีเท่านั้น เดี๋ยวนี้มีตั้งขายตามตู้แช่แข็งในซูเปอร์มาร์เก็ตท้องถิ่นของเรา ตามศูนย์อาหารในห้างสรรพสินค้าทั่วโลก มีร้านขายอาหารยุโรป เอเชียและละตินอเมริกาเป็นเรื่องปรกติ รวมไปจนถึงอาหารลูกผสมพันทาง เช่น อาหารจีนผสมเคจัน [3] (อาทิ ไก่บูร์บอง) และอาหารเม็กซิกันผสมอิตาเลียน (อาทิ พิซซาฮาลาเปนโญ) เครื่องเทศจากแดนไกลอย่างพริกไทย จันทน์เทศ วานิลาและสับปะรด กลายเป็นของธรรมดาสามัญ

[3] Cajun หมายถึงชุมชนทางตอนใต้ของรัฐลุยเซียนา คนที่นี่สืบเชื้อสายมาจากชาวฝรั่งเศสที่มาตั้งรกรากในแคนาดา อาหารท้องถิ่นของคนที่นี่มีลักษณะเฉพาะคือ มีรสชาติจัดจ้านด้วยเครื่องเทศ

ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะในโลกอุตสาหกรรมเท่านั้น, แฮมเบอร์เกอร์ ฟาสต์ฟู้ดนำรสชาติแบบอเมริกาเข้าไปถึงกระทั่งในดินแดนที่วัวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ (โดยใช้เนื้อแกะแทนเนื้อวัว) เกษตรกรเพาะปลูกเพื่อยังชีพ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ยากจนที่สุดในโลก ต้องสูญสิ้นวิถีดำรงชีวิตสังเวยสินค้าเกษตรนำเข้าราคาถูก พวกเขาจำใจเข้าไปเบียดเสียดแออัดตามมหานครใหญ่ ต้องกินอาหารที่ทำจากข้าวโพด ข้าวสาลีและถั่วเหลืองที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมักปลูกด้วยการใช้ปุ๋ยเคมีเข้มข้น การค้าวัตถุดิบอาหารระดับโลกทำให้เราทุกคนกลายเป็นนักกินที่ไม่ถูกผูกมัดด้วยชาติหรือวัฒนธรรมอีกต่อไป

สมัยใหม่: มูลค่าวัตถุดิบทางการเกษตรตกต่ำลง
แค่แหล่งกำเนิดจากต่างประเทศเพียงอย่างเดียว ไม่มีมูลค่าเพิ่มเพียงพอให้ผู้บริโภคยอมรับตัวเลขสูงๆ บนป้ายราคาเสียแล้ว มูลค่าการค้าที่ตกต่ำลง โดยเฉพาะวัตถุดิบที่เป็นผลิตผลทางการเกษตรมีมูลค่าตกต่ำลงเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ราคาที่ตกต่ำลงของกระเพาะหมู น้ำเชื่อมที่ทำจากแป้งข้าวโพดและมันฝรั่ง แทบจะทำให้ผู้ผลิตเอาตัวไม่รอด ตรรกะทางการตลาดแบบเดียวกันยังใช้ได้กับอาหารคัดสรรที่ราคาสูงขึ้นมา เช่น กาแฟพันธุ์พิเศษ ผักชีและสาลี่ กล่าวสั้นๆ คือ เฉพาะผลผลิตที่หายากจริงๆ เท่านั้น เช่น เห็ดทรัฟเฟิลหรือเนื้อจิงโจ้ จึงรอดพ้นจากกระบวนการผลิตแบบอุตสาหกรรม การเข้ามายุ่มย่ามของวิทยาศาสตร์ (เช่น พันธุวิศวกรรม) หรือแม้แต่การแข่งขันข้ามพรมแดนที่กดราคาให้ตกต่ำลง

ในสมัยก่อน ระยะทางกำหนดมูลค่าของอาหาร นายวานิชขนผลิตผลจากดินแดนอุดมสมบูรณ์มาขายแก่ดินแดนที่ขาดแคลน เดี๋ยวนี้ตลาดโลกและการแข่งขันด้านราคาอย่างเอาเป็นเอาตายทำลายมูลค่าแบบนั้นไปเกือบหมดสิ้น อุตสาหกรรมอาหารจึงต้องพยายามสรรหาวิธีการอื่นๆ มาเพิ่มมูลค่าให้วัตถุดิบและอาหารแปรรูปเพื่อรักษาผลกำไรเอาไว้

สมัยใหม่: การเล่นแร่แปรธาตุกับความต่าง
การเล่นแร่แปรธาตุของตลาดเนรมิตให้การแสวงหากำไรอันเป็นสันดานหยาบ แปลงโฉมกลายเป็นสิ่งอื่นที่ดูดีมีรสนิยมสูงส่ง นั่นคือ การแสวงหาความแตกต่าง. ความแตกต่างในความหมายของ ปิแอร์ บูร์ดิอู [4] เพื่อให้ได้มาซึ่งความแตกต่างนี้ ผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูงในตลาดโลกจึงหันไปหาทางเลือกพิเศษอื่นๆ เพื่อสร้างความรู้สึกถึงความเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร เดี๋ยวนี้แค่กินเนื้อแกะนิวซีแลนด์ หรือส้มบราซิลตอนหน้าหนาว มันไม่พิเศษพอเสียแล้ว ของกินพวกนี้กลายเป็นของพื้นๆ เช่นเดียวกับสมัยก่อนที่น้ำตาลและชาสูญสิ้นความเป็นของพิเศษของชนชั้นสูงในยุคกลาง และกลายเป็นเครื่องดื่มเครื่องปรุงหลักของคนจนอังกฤษในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม

[4] Pierre Bourdieu (1930-2002) นักสังคมวิทยาชื่อดังชาวฝรั่งเศส ได้รับการยกย่องว่ามีความสำคัญเทียบเท่าฟูโกต์, บาร์ธส์ และลาก็อง หนังสือของเขาที่ชื่อ Distinction: A Social Critique of the Judgment of Taste ได้รับการยกย่องจากสมาคมนักสังคมวิทยานานาชาติว่า เป็นหนังสือทางด้านสังคมวิทยาที่สำคัญที่สุดหนึ่งในสิบเล่มของศตวรรษที่ 20 เขายังเป็นปัญญาชนฝ่ายซ้ายที่มีบทบาททางการเมือง และต่อต้านระบบทุนนิยมเสรีนิยมใหม่

ผู้บริโภคที่ต้องการความแตกต่าง ต้องการแสดงให้เห็นว่าตนมีรสนิยม ซึ่งเปรียบไปก็ไม่ต่างจากการยืนยันถึงสถานะและชนชั้นทางเศรษฐกิจของตัวเอง ผู้บริโภคกลุ่มนี้หันไปหาตราประทับความแตกต่างใหม่ๆ กลยุทธ์นี้หมายถึงการเปลี่ยนโฉมหน้าของ "อาหารสุขภาพ" จากอาหารทางเลือกที่ไม่เน้นรสชาติ เช่น เบอร์เกอร์เต้าหู้ธรรมดาๆ ให้กลายเป็นอาหารจานเด็ดรสอร่อย อุดมด้วยวิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระและกรดไขมันโอเมกา-3.
ในสมัยก่อน คำว่า "อาหารสุขภาพ" กับ "ความอร่อย" คืออะไรที่ไปด้วยกันไม่ได้เลยในจินตภาพของผู้บริโภคส่วนใหญ่ แต่ทุกวันนี้ ดังที่นักโฆษณาอาหารแช่แข็งยี่ห้อ Healthy Choice เตือนเราอยู่เรื่อยว่า ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องเลือกอีกต่อไป

คำว่า "อินทรีย์" (organic) คือความพยายามที่จะผลักอาหารบางจำพวกให้ไต่ห่วงโซ่มูลค่าขึ้นไป ด้วยวิธีการนี้ อุตสาหกรรมอาหารประสบความสำเร็จในการทำให้ผู้บริโภคจำนวนเพิ่มขึ้นยอมจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อซื้อหาอาหารสดและสินค้าบรรจุเสร็จ แต่พออาหารอินทรีย์เข้าสู่ตลาดแบบมวลชน ผู้บริโภคระดับไฮเอนด์กลับมองหาความแตกต่างอีกแบบหนึ่ง กระแสนิยมใน "อาหารท้องถิ่น" ซึ่งพลิกกลับหัวกลับหางความสัมพันธ์เก่าแก่ของมูลค่ากับระยะทางเสียใหม่ กำลังจะมาแทนที่อาหารอินทรีย์ในแง่ของความแตกต่างที่สร้างมูลค่าเพิ่มแบบหวือหวา

รสชาติแบบอินทรีย์
บริษัท NRE World Bento ผลิตอาหารกล่องอินทรีย์สำหรับผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น ในกล่องประกอบด้วยข้าวและผักปลอดสารที่ผลิตในแคลิฟอร์เนีย เนื้อหมูที่เลี้ยงและเชือดอย่างมีมนุษยธรรมจากเม็กซิโก ปลาแซลมอนที่เติบโตตามธรรมชาติจากอะแลสกา และวัตถุดิบอื่นๆ ที่ได้จากตลาดอาหารอินทรีย์. ถึงแม้ว่าสินค้า 90% ของบริษัทนี้จะขายให้ลูกค้าในสถานีรถไฟของญี่ปุ่น แต่โรงงานไม่ได้ตั้งอยู่ในญี่ปุ่นหรือแม้กระทั่งประเทศจีนที่อยู่ใกล้ๆ

โรงงานของ NRE World Bento ตั้งอยู่ที่เมืองแฟร์ฟิลด์ เมืองขนาดกลางในรัฐแคลิฟอร์เนีย ห่างจากเมืองแซนแฟรนซิสโกไปไม่ไกล โรงงานตั้งอยู่ใกล้ๆ กับโรงงานผลิตขนมยี่ห้อ Jelly Belly และ Thompson Candy
มีปัจจัยสองประการที่กำหนดที่ตั้งของโรงงาน

- ปัจจัยประการแรกคือแหล่งวัตถุดิบ ญี่ปุ่นไม่สามารถผลิตข้าว ผักและเนื้ออินทรีย์ป้อนบริษัท World Bento ได้เพียงพอ บริษัทจึงต้องหาวัตถุดิบจากที่อื่น ถึงแม้ปลาไหลที่ใช้ผลิตเบนโตะอุนาหงิ ต้องเดินทางอ้อมรอบโลกจากจีนมาที่สหรัฐอเมริกาแล้วย้อนกลับไปญี่ปุ่นอีกที แต่วัตถุดิบที่ใช้ประกอบอาหารส่วนใหญ่ปลูกและเลี้ยงในแคลิฟอร์เนีย ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโกทำให้เนื้อสัตว์ราคาถูกจากเม็กซิโกเข้ามาอยู่ในห่วงโซ่การจัดหาวัตถุดิบของบริษัท World Bento

- ตามปรกติแล้ว เนื่องจากญี่ปุ่นมีระเบียบข้อบังคับการนำเข้าข้าวอย่างเข้มงวด สหรัฐอเมริกาน่าจะเป็นประเทศสุดท้ายที่บริษัทจะไปจ้างผลิต ผู้ปลูกข้าวในสหรัฐฯ พยายามทะลวงเข้าไปในตลาดญี่ปุ่นมาหลายปี แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จสักเท่าไร ตรงนี้เองที่เป็นปัจจัยประการที่สอง บริษัท World Bento ค้นพบรูโหว่ในระเบียบข้อบังคับสินค้านำเข้าของญี่ปุ่น ซึ่งอนุญาตให้นำเข้าข้าวโดยมีกำแพงภาษีต่ำได้ หากข้าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบที่ไม่ใช่ข้าวอย่างน้อย 20%

เรื่องราวของบริษัท NRE World Bento สะท้อนให้เห็นพัฒนาการที่น่าสนใจหลายประการในตลาดอาหารอินทรีย์ สิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นปรากฏการณ์ทวนกระแสที่เหมาะกับการบริโภคในท้องถิ่นเท่านั้น เดี๋ยวนี้กลับกลายเป็นกระแสหลักไปเสียแล้ว ตลาดอาหารอินทรีย์ทะลุมูลค่า 23 พันล้านดอลลาร์ใน ค.ศ. 2002 ในหลายๆ ประเทศ มันเป็นภาคเกษตรกรรมที่มีการเติบโตมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกา ตลาดอาหารอินทรีย์เติบโตประมาณ 20% ต่อปีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1997 ตลาดนี้มีความน่าดึงดูดใจถึงขนาดดึงวอลมาร์ทเข้ามาเล่นได้ วอลมาร์ทกำลังจะกลายเป็นผู้ค้าอาหารอินทรีย์รายใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

การค้าผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์ระหว่างประเทศ ก็ขยายตัวชนิดยั้งไม่หยุดฉุดไม่อยู่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ออสเตรเลีย บราซิล จีนและบรรดาประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรกรรมรายใหญ่ ต่างรุกตลาดให้ผลผลิตอาหารอินทรีย์ของตนขนานใหญ่ แต่อุปสงค์ยังขยายตัวจนอุปทานไล่ตามไม่ทันอยู่ดี ทั้งๆ ที่สหรัฐฯ เป็นผู้ผลิตอาหารอินทรีย์หนึ่งในสามอันดับต้นของโลก แต่สหรัฐอเมริกายังต้องนำเข้าอาหารอินทรีย์มากกว่าที่ส่งออกถึง 8 เท่า "การขาดแคลนสินค้าในอเมริกาเหนือและยุโรปทำให้ต้องนำเข้าอาหารอินทรีย์จากทุกส่วนในโลก" ตามข้อมูลขององค์กร Organic Monitor (*) จีน ตุรกีและบราซิล คือแหล่งของถั่ว อินเดีย ปารากวัยและเอธิโอเปียเป็นแหล่งสมุนไพรและเครื่องเทศ ประเทศในแอฟริกาและเอเชียเป็นแหล่งผลไม้และผักสด ส่วนละตินอเมริกาและออสเตรเลเชีย [5] คือแหล่งเนื้ออินทรีย์

(*)Organic Monitor PROFILE (http://www.organicmonitor.com/profile.htm)
Organic Monitor was established in 2001 with the mission to assist operators in the organic products supply chain by providing accurate and timely business information. The first service Organic Monitor launched was Industry Watch, providing news updates on the international organic products industry via our website and e-newsletter.

In 2001, Organic Monitor started producing business research publications on the European organic food industry. The following year, Organic Monitor geographic focus widened to other regions including Asia and North America. We are now the leading publisher of business research reports on the international organic products industry, producing reports that cover product categories as well as industry sectors.

[5] ภูมิภาคที่ประกอบด้วยออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ นิวกินี และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก

ในโลกอาหาร อาหารบรรจุเสร็จอย่างกล่องอาหารบนโตะ มีผลต่างของกำไรสูงกว่าการขายวัตถุดิบมาก ดังนั้น วงการอุตสาหกรรมจึงมีอุตสาหกรรมประกอบอาหารอินทรีย์ระหว่างประเทศเกิดขึ้น เพื่อผลิตและแปรรูปวัตถุดิบเป็นอาหารสำเร็จรูป ซึ่งสามารถขายปลีกได้ในราคาที่สูงขึ้นมาก. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่อุตสาหกรรมประกอบอาหารแบบนี้ หลายประเทศเริ่มปรับกลไกข้อบังคับและการติดฉลากให้สอดคล้องกัน การค้าเสรีกับการใช้ระเบียบข้อบังคับกลับไปด้วยกันได้ดีโดยไม่ขัดแย้งกันเลย

จากความยั่งยืนของผืนดิน สู่การกลายเป็นสินค้า
การค้าอาหารในปัจจุบันจะเป็นไปได้ จำต้องมีมาตรฐานที่นิยามวัดได้บางอย่าง (ข้อกำหนดด้านอนามัยและความปลอดภัย การประกันคุณภาพ ฯลฯ) ถึงแม้ยังมีข้อพิพาทอยู่บ้าง เช่น กรณีระหว่างสหรัฐอเมริกาและยุโรปเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม แต่หลักการทั่วไปของการปรับมาตรฐานการค้าอาหารให้สอดคล้องกันก็ยังคงอยู่และเดินหน้าต่อไป

กระบวนการปรับมาตรฐานสินค้าให้สอดคล้องกันนี้ สะท้อนข้อสรุปประการหนึ่งที่จูเลีย กูธแมน (Julia Guthman) นำเสนอในงานศึกษาวิเคราะห์ภาคเกษตรกรรมของแคลิฟอร์เนียที่เผยแพร่เป็นหนังสือชื่อ Agrarian Dreams กล่าวคือ ขบวนการอาหารอินทรีย์ในระยะหลังเสื่อมถอยลงจนเหลือแค่กิจกรรมการติดป้ายฉลาก. ในตอนเริ่มต้น ขบวนการอาหารอินทรีย์ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพิ่มมูลค่าให้สินค้าสำหรับผู้บริโภคระดับบน ในทศวรรษ 1950 เจ ไอ โรเดล (J. I. Rodale) วิตกต่อปัญหาความยั่งยืนของดิน

แต่เมื่อเวลาผ่านไป อีกทั้งมีการพัฒนาการออกประกาศนียบัตรโดยบุคคลภายนอก อาหารอินทรีย์จึงค่อยๆ กลายเป็นประเภทสินค้าที่ทำตลาดได้ไปในที่สุด ส่วนการแสวงหาทางเลือกใหม่ๆ ในการผลิตพืชผล การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้บริโภค และความเข้าใจเชิงนิเวศวิทยาในมุมกว้างต่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมโดยรวม กลับถูกบดบังด้วยประเด็นการกำกับดูแลและการทำตลาดที่ชั่งตวงวัดได้ง่ายกว่า นี่คือสิ่งที่หน่วยงานรัฐและหน่วยงานกำกับดูแลระหว่างประเทศ "มองเห็น" ดังนั้น องค์กรเหล่านี้จึงทำอย่างที่เจมส์ สกอต (James Scott) เรียกว่า การจัดการเกษตรกรรมแบบอินทรีย์

การผูกสมัครรักใคร่ระหว่างผู้บริโภคระดับสูงกับภาคเกษตรอินทรีย์ อาจคงอยู่เพียงชั่วระยะสั้นๆ เมื่อการผลิตและการจำหน่ายอาหารอินทรีย์กลายเป็นกระแสหลัก ซึ่งก็คือเหตุผลที่ทำให้บริษัท NRE World Bento สามารถตั้งโรงงานนอกเมืองแซนแฟรนซิสโก เมื่อประเทศอย่างบราซิลและจีนส่งเสริมการส่งออกผลิตผลอินทรีย์ และวอลมาร์ทเบียดเข้ามาในตลาดนี้ ผู้บริโภคที่ต้องการความแตกต่างก็จะเริ่มมองหามาตรวัดความเป็นของแท้ดั้งเดิมในแบบอื่น

กลับไปหาท้องถิ่น และกลุ่ม Locavore
กระแสล่าสุดในหมู่นักกิจกรรมด้านอาหารก็คือ ขบวนการที่เรียกกันว่า Locavores (*) ซึ่งเน้นไปที่การลด "ระยะทางที่อาหารเดินทาง" หรือ "ไมล์อาหาร" การอุ้มชูเกษตรกรรายย่อย ยกย่องผลผลิตที่เพาะปลูกหรือเลี้ยงในท้องถิ่นว่ามีรสชาติดีกว่า ขบวนการนี้ไม่ได้มีแค่ในยุโรป ชาวอเมริกาเหนือกำลังออกเดินตามรอยเท้าของชาวยุโรปในการเชิดชูคุณค่าของผลผลิตท้องถิ่น การระบุแหล่งผลิตท้องถิ่น ด้วยการใช้คำว่า terroir กับผลิตผลอื่นๆ นอกเหนือจากไวน์ (ฉลากข้างขวดไวน์มักมีคำว่า vin du terroir-ไวน์ท้องถิ่น เป็นการบอกคุณสมบัติของไวน์-ผู้แปล) ตลอดจนการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการขายสินค้าแบบเกษตรกรพบผู้บริโภคโดยตรงผ่านทางระบบเกษตรกรรมที่ผู้บริโภคให้การสนับสนุน (consumer-supported agriculture--CSAs) ที่เริ่มสร้างแรงท้าทายต่ออุตสาหกรรมเกษตรแบบโรงงาน ไม่ต่างจากที่ขบวนการอาหารอินทรีย์เคยทำมาแล้วในรุ่นก่อน เพียงแต่เสริมด้วยการวิพากษ์อุตสาหกรรมการประกอบอาหารระดับโลกไปด้วย นี่คือการพลิกกลับความสัมพันธ์เก่าแก่ระหว่างจักรพรรดิกับประเทศราช เดี๋ยวนี้เราให้คุณค่าแก่สิ่งที่ผลิตในท้องถิ่นมากกว่า

(*) A locavore is someone who eats food grown or produced locally or within a certain radius such as 50, 100, or 150 miles. The locavore movement encourages consumers to buy from farmers' markets or even to produce their own food, with the argument that fresh, local products are more nutritious and taste better. Locally grown food is an environmentally friendly means of obtaining food, since supermarkets that import their food use more fossil fuels and non-renewable resources.

"Locavore" was coined by Jessica Prentice from the San Francisco Bay Area on the occasion of World Environment Day 2005 to describe and promote the practice of eating a diet consisting of food harvested from within an area most commonly bound by a 100 mile radius. "Localvore" is sometimes also used.

The New Oxford American Dictionary chose locavore, a person who seeks out locally produced food, as its word of the year 2007. The local foods movement is gaining momentum as people discover that the best-tasting and most sustainable choices are foods that are fresh, seasonal, and grown close to home. Some locavores draw inspiration from the 100-Mile Diet or from advocates of local eating like Barbara Kingsolver whose book Animal, Vegetable, Miracle chronicles her family's attempts to eat locally. Others just follow their taste buds to farmers' markets, community supported agriculture programs, and community gardens.

ลองพิจารณาดูกระแสท้าทายของ "กินอย่างท้องถิ่น" ที่ผุดขึ้นมาทั่วภูมิภาคอเมริกาเหนือ ในนิตยสาร Gourmet นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บิลล์ แมคคิบเบน (Bill McKibben) เขียนบันทึกเล่าถึงความพยายามที่จะอยู่รอดตลอดฤดูหนาวในรัฐเวอร์มอนต์ด้วยผักประเภทราก มะเขือเทศกระป๋องและเบียร์ที่ต้มในท้องถิ่น. นักพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน แกรี นาบาน (Gary Nabhan) จำกัดปีแห่งการกินอย่างท้องถิ่นของตนด้วยการกินเฉพาะอาหารที่หาได้ในรัศมี 200 ไมล์จากบ้านในภาคเหนือของรัฐแอริโซนา ทั้งๆ ที่ในภูมิประเทศแถบนั้นผลิตอาหารได้ค่อนข้างจำกัด

เครือร้านอาหาร Bon Appetit จัดกิจกรรมประจำปี "ท้ากินอย่างท้องถิ่น" ในรัศมี 150 ไมล์ ที่ร้านอาหารในมหาวิทยาลัยและบริษัทต่างๆ ทั่วสหรัฐอเมริกา. ขึ้นไปทางเหนือ สามีภรรยาชาวแคนาดาคู่หนึ่งใช้เวลาตลอดปีกินแต่มันฝรั่งที่หาได้ในรัศมี 100 ไมล์รอบบ้านในแวนคูเวอร์. และในหนังสือเล่มล่าสุดชื่อ Omnivore's Dilemma ไมเคิล พอลลัน (Michael Pollan) นักเขียนด้านอาหาร สร้างขีดจำกัดสูงขึ้นไปอีก ด้วยการนิยามคำว่า "ท้องถิ่น" ต้องไม่ไกลเกินมือเอื้อมถึง เขาต้องออกแรงยิ่งกว่าคนอื่น โดยหากินเอาเองจากธรรมชาติ แต่ละมื้อประกอบด้วยหมูป่าที่ล่าเอง เห็ดป่าที่เก็บเอง ผักกาดหอมที่ปลูกเองและผลไม้ที่เด็ดมาเอง

ในขณะนี้ ดูเหมือนขบวนการ locavore ยังไม่กลายเป็นสถาบันง่ายๆ เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับขบวนการอาหารอินทรีย์ โดยนิยามแล้ว การผลิตเพื่อการบริโภคในท้องถิ่นย่อมมีขนาดเล็ก มูลค่าเพิ่มย่อมสูงขึ้นเมื่อไต่ขึ้นไปตามห่วงโซ่อาหาร เกษตรกรท้องถิ่นขายมะเขือเทศท้องถิ่นได้ราคามากกว่าเดิม ภัตตาคารตั้งราคาสลัดมะเขือเทศท้องถิ่นแพงขึ้นนิดหน่อย ผู้บริโภคเต็มใจจ่ายส่วนเพิ่มเพื่ออาหารที่มีคำว่า "คัดพิเศษจากท้องถิ่น" ติดมาด้วย แต่การเพิ่มมูลค่าแบบนั้นย่อมสะดุดลงที่เส้นเขตแดนที่นิยามความเป็น "พื้นที่ท้องถิ่น" ไม่ว่าเส้นนั้นจะอยู่ที่รัศมี 200, 150, 100 หรือ 50 ไมล์ก็ตาม

จริงอยู่ อาหาร "ท้องถิ่น" บางอย่าง เช่น น้ำเชื่อมเมเปิลของเวอร์มอนต์ เบียร์พื้นบ้านของพิตต์สเบิร์ก หรือซอสบาร์บีคิวของเมมฟิส สามารถผลิตและวางตลาดนอกพื้นที่ได้ และผลผลิตเหล่านี้มีมูลค่าเพิ่มมาจากแหล่งผลิตเฉพาะของตน แต่นัก "กินอย่างท้องถิ่น" ขนานแท้ไม่สนใจอาหารท้องถิ่นของคนอื่น การกำหนดความเป็นท้องถิ่นของขบวนการ ไม่ใช่การกำหนดอาหารตามภูมิศาสตร์เหมือนในเอกสาร Codex Alimentarius [6] เช่น ข้าวบาสมาติ, แชมเปญ, กิมจิ, เพื่อทำให้ค้าขายได้สะดวกขึ้น แท้ที่จริงแล้ว ขบวนการ locavore กำหนดความเป็นท้องถิ่นเพื่อบั่นทอนการค้าต่างหาก เนื่องจากการค้าผลักดันผู้ผลิตให้ผลิตในปริมาณมากขึ้นเพื่อความคุ้มค่าในการลงทุน

[6] Codex Alimentarius (ภาษาละติน หมายถึง "food code" หรือ "food book") คือเอกสารที่รวบรวมมาตรฐานและคำแนะนำเกี่ยวกับอาหาร การผลิตอาหารและความปลอดภัยของอาหาร โดยมีเป้าหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและความเป็นธรรมในการค้าอาหารระหว่างประเทศ เอกสารนี้จัดทำโดย Codex Alimentarius Commission องค์กรที่ก่อตั้งขึ้นมาใน ค.ศ. 1963 โดยองค์การอาหารและเกษตรกรรม (FAO) ของสหประชาชาติร่วมกับองค์การอนามัยโลก. เอกสาร Codex Alimentarius ได้รับการยอมรับจากองค์การการค้าโลกให้เป็นเอกสารอ้างอิงในการแก้ไขข้อพิพาทเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารและการคุ้มครองผู้บริโภค

กินอย่างท้องถิ่น การพลิกกลับสมการมูลค่า
การที่ผู้บริโภคซื้ออาหารท้องถิ่น ทำให้เขาหรือเธอบรรลุความแตกต่างแบบเดียวกับที่จักรพรรดิจีนเสวยลูกพีชจากเมืองซามาร์คันด์ หรือนักช็อประดับบนซื้อลูกท้ออินทรีย์จากร้าน Whole Foods หรือไม่? ขบวนการ "กินอย่างท้องถิ่น" พลิกกลับสมการของมูลค่า-ระยะทางเสียใหม่ เดี๋ยวนี้มีแต่คนจนที่ต้องกินอาหารราคาถูกจากซูเปอร์มาร์เก็ต เช่น ขนมปังขาวที่ผลิตห่างไปหลายมลรัฐ น้ำส้มแช่แข็งจากบราซิล เนื้อแซนด์วิชจากหมูตอนที่เชือดในเม็กซิโก

ผู้บริโภคฐานะดี มักแสดงออกถึงความกังวลที่อยู่นอกเหนือการกินเพื่ออยู่ ไม่ว่าจะแสดงออกด้วยความปรารถนาที่จะลดการบริโภคโดยรวมลงไป ช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย หรือรักษาสุขภาพด้วยอาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อยลง ด้วยการยอมจ่ายมากขึ้นอีกหน่อยเพื่อผลิตผลจากท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นผัก เบียร์พื้นบ้าน หรือขนมปังจากเบเกอรีท้องถิ่น กระบวนการสร้างมูลค่าเช่นนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามอำเภอใจ และเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในระบบเศรษฐกิจของเรา เมื่อขบวนการ locavore ยกย่องรสชาติของมะเขือเทศที่ปลูกในท้องถิ่น พวกเขากำลังยืนยันว่า รสชาตินี้มีความสำคัญและเป็นอะไรมากกว่าแคลอรีที่จำเป็นในการดำรงชีวิต พวกเขากำลังสร้างอภิสิทธิ์ให้รสนิยมของตน สุขภาพของตน และสมมติฐานทางสังคมเศรษฐกิจที่แฝงฝังอยู่ในอาหารคัดสรรเหล่านี้

การวิพากษ์การผลิตอาหารเป็นแค่โวหาร หากไม่พัฒนาให้เป็นการเมือง
เนื่องจากขบวนการกินอย่างท้องถิ่นมีธรรมชาติโน้มเอียงไปทาง "คิดให้เล็ก" ขบวนการจึงต่อต้านความเป็นสถาบันอย่างที่ขบวนการอาหารอินทรีย์เคยประสบมาแล้ว กระนั้นก็ตาม ขบวนการกินอย่างท้องถิ่นก็อาจติดกับดักของการเพิ่มมูลค่าแบบเดียวกัน เช่นเดียวกับการเมืองแบบอาหารอินทรีย์ของร้าน Whole Foods ปรากฏการณ์กินอย่างท้องถิ่นอาจเสื่อมถอยลงจนเหลือแค่ประเด็นตื้นๆ ในหนังสือพอกเก็ตบุ๊ก เช่น ผักแบบไหนมีต้นทุนน้อยกว่ากัน แบบที่ปลูกในท้องถิ่นหรือนำเข้ามา?

การวิพากษ์การผลิตอาหารอาจกลายเป็นแค่โวหาร หากขบวนการไม่ยอมพัฒนาตัวเองเป็นขบวนการทางการเมือง แล้วเสื่อมถอยลงเป็นแค่ขบวนการผู้บริโภคทั่วๆ ไป การกินอย่างท้องถิ่นก็จะเป็นแค่ป้ายฉลากชุดหนึ่งในการสร้างความแตกต่างแก่ผลิตผลและผู้บริโภคให้ไม่เหมือนคนอื่น และโอกาสอีกครั้งในการเปลี่ยนแปลงโลกย่อมถูกกัดกร่อนจากสภาพของตลาดในปัจจุบัน

เกี่ยวกับผู้เขียน John Feffer เป็นผู้อำนวยการร่วมของเว็บไซท์ Foreign Policy In Focus (www.fpif.org)
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน Institute for Policy Studies บทความชิ้นนี้ตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือ
Alphabet City's FOOD Anthology, edited by John Knechtel และมีสำนักพิมพ์ MIT Press เป็นผู้ร่วมจัดพิมพ์

ข้อมูลนอกเหนือจากนี้ โปรดดู www.alphabet-city.org
ที่มา: http://alphabet-city.org/issues/food/articles/global-tastes

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Global Tastes
John Feffer | October 16, 2007

According to Suetonius, courtiers once collected special flavors for the famous banquets of the Roman emperors "in every corner of the Empire from the Parthian frontier to the Straits of Gibraltar." The Chinese emperors, too, demanded a succession of unusual and exotic treats from distant lands opened up by the Silk Road. Today, this tradition still lives on, fitfully, in North Korean leader Kim Jong Il's requests for Czech beer and Italian pizza.

If we are what we eat, then emperors have been defined not just by bloodline but by diet as well. What good was it to have an empire if you couldn't "eat" it too?

The isolated Kim Jong Il aside, such distinctions between the imported exotica available only to royalty and the routine local fare of commoners have largely faded. What was once available only to kings and queens is now sitting on your local supermarket's freezer shelves. Food courts in malls throughout the world routinely offer European, Asian, and Latin American fare alongside such hybrids as Chinese Cajun (bourbon chicken) and Mexican Italian (jalape?o pizza). Exotic flavors such as pepper, nutmeg, vanilla, and pineapple are now commonplace. Nor is this phenomenon confined to the industrialized world. Fast-food hamburgers bring the taste of America even to the lands of the sacred cow (where lamb substitutes for beef). The world's poorest subsistence farmers, losing their livelihoods to cheap agricultural imports, crowd into the cities where they eat foreign corn, wheat, and soy products that have often been chemically augmented. The global trade in foodstuffs has made cosmopolitan eaters of us all.

Exotic provenance alone no longer supplies sufficient added value to justify higher price tags. The declining terms of trade -- by which raw materials such as agricultural produce have declined in value relative to manufactured goods -- have affected producers and consumers alike. The declining value of pork bellies and corn syrup and potatoes can barely keep their producers afloat, and the same market logic applies to more upscale choices like specialty coffee, cilantro, and Asian pears. In short, only products that are in scarce supply, such as truffles or kangaroo meat, escape being subjected to industrial-style production, scientific manipulation (such as genetic engineering), or just plain cross-border competition that drives down prices.

Whereas distance once conferred value on food as traders brought items from a land of abundance to a land of scarcity, the global market and ferocious price competition have largely eliminated that value. To maintain profit, the food industry has sought other methods of adding value to both raw and finished products.

The alchemy of the marketplace transforms this vulgar pursuit of profit into something more high-minded: a quest for distinction. To acquire this distinction, in Pierre Bourdieu's sense of the term, wealthier global consumers have drifted toward other designations to reinforce their sense of exclusivity. It is no longer enough to eat New Zealand lamb or Brazilian oranges in the wintertime. These products have become d?class?, much as sugar and tea lost their distinction as elite comestibles in the Middle Ages to become the mainstay of the British poor by the time of the Industrial Revolution. Discriminating consumers, who want to show that they have taste -- which is so much about asserting status and economic class -- gravitate toward other marks of distinction. This campaign has also involved the transformation of "health foods" from flavor-challenged options -- the lowly tofu burger -- into flavor-enhanced superfoods full of vitamins, antioxidants, and omega-3 fatty acids. "Healthy" once battled "tasty" in the popular imagination. Today, as the advertisers for Healthy Choice frozen dinners remind us, the consumer doesn't have to choose.

The "organic" designation has for some time been one such attempt to push a certain class of food up the value chain. In this way, the industry has succeeded in getting a growing number of consumers to pay more for fresh produce and packaged goods. But as organic food goes mass market, higher-end consumers are looking for other distinctions. The "local food" movement, by turning the age-old relationship of value and distance on its head, is poised to replace organic as the value-added distinction du jour.

The Taste of Organic
The firm NRE World Bento produces organic box lunches for the Japanese consumer. The boxes contain organic rice and vegetables produced in California, humanely raised pork from Mexico, wild salmon from Alaska, and other staples of the organic trade. Although 90% of the product is sold to Japanese railway customers, the factory is not located in Japan or even in nearby China. Rather, NRE World Bento is located just outside of San Francisco in the mid-sized California city of Fairfield, not far from the Jelly Belly and Thompson Candy factories.

Two factors have determined the factory's location. One is the source of the raw materials. Japan simply doesn't produce the volume of organic rice, vegetables, and meat that World Bento needs. The company had to look elsewhere. Although the eel for the unagi bento makes a long round trip from China to the United States and back to Japan, most of the remaining ingredients are grown and raised in California. The free trade agreement between the United States and Mexico brings the cheaper Mexican livestock into World Bento's supply chain.

Ordinarily, given Japan's import regulations governing rice, the United States would be the last place that the company could outsource. U.S. growers have been trying to break into the Japanese market for years with little success. Herein lies the second factor: NRE Bento discovered a loophole in Japanese import regulations that permits a low tariff for imported rice if it is part of a product containing at least 20% non-rice ingredients.

The NRE World Bento story illustrates several interesting developments in the organic market. What was once largely a countercultural phenomenon geared to local consumption has gone mainstream. The market for organic food reached $23 billion in 2002. In many countries it is the largest growth sector in agriculture. In the United States, for instance, the organic market has grown by roughly 20% a year since 1997. This market has become attractive enough to lure Wal-Mart, which is poised to become the largest purveyor of organic produce in the country.

The international trade in organic products has also inexorably expanded over the years. Australia, Brazil, China, and several other key agricultural producers are aggressively marketing their organic produce. But demand continues to outstrip supply. One of the top three organic producers in the world, the United States imports eight times more organic food than it exports. "Product shortages in North America and Europe are resulting in organic food imports from across the globe," according to Organic Monitor, which identifies China, Turkey, and Brazil as sources for beans and nuts; India, Paraguay, and Ethiopia for herbs and spices; African and Asian countries for fresh fruit and vegetables; and Latin America and Australasia for organic meat products.

In the food world, a packaged item like a bento box has a much higher profit margin than the raw materials alone. And so an inter-national organic assembly line has emerged to produce and transform the inputs into finished products that can then retail at a much higher price. To facilitate the creation of this assembly line, countries have begun to harmonize their regulatory and labeling mechanisms. Rather than being at cross-purposes, free trade and regulation go hand in hand. The contemporary food trade is only possible with certain quantifiable standards (health and safety requirements, quality assurances, and so on). Disputes continue, for instance between the United States and Europe over genetically modified organisms, but the general principle of harmonizing food trade standards endures.

This harmonizing process bears out one of the conclusions of Julia Guthman's penetrating study of the California organic sector, Agrarian Dreams: the organic movement has devolved largely into a practice of labeling. At the outset, the organic movement was not about adding value to products for upscale consumers. In the 1950s, J. I. Rodale was concerned about the sustainability of the soil. Only gradually, with the development of third-party certification, did organic become a marketable category. The more radical approaches to crop production, the reconfigured relationship with the consumer, and the more ecological understanding of overall sustainability have subsequently been overshadowed by the more easily quantifiable questions of regulation and marketability. This is how states and international regulatory agencies "see" -- and thus organize, in James Scott's formulation -- organic agriculture.

The love affair between high-end customers and the organic sector may well be brief. With the institutionalization of the production and distribution of organics-which enabled NRE World Bento to set up shop outside San Francisco, countries like Brazil and China to boost their exports of organic produce, and Wal-Mart to shoulder its way into the market-discriminating consumers are beginning to look for a different measure of authenticity.

Going Local
Locavores -- the latest trend in dietary activists -- speak of reducing "food miles," of sustaining small farms, of the better taste of produce grown or raised locally. It's not just Europeans. North Americans are beginning to follow the European lead in prizing local products. Local sourcing -- with its application of the term terroir to products other than wine and the rapid growth of direct farmer-to-consumer marketing through consumer-supported agriculture (CSAs) -- has taken up the same radical challenge to factory farming that the organics movement raised a generation ago, but with an additional critique of the global agro-assembly line. In a reversal of the old relationship between emperors and their dominions, people are nowadays assigning greater value to items produced locally.

Consider the various "eat local" challenges that have sprouted up throughout North America. In Gourmet magazine, environmentalist Bill McKibben chronicled his effort to survive a Vermont winter on root vegetables, canned tomatoes, and locally brewed beer. Ethnobotanist Gary Nabhan confined his year of eating locally to within 200 miles of his northern Arizona home where a rather narrow range of food can be coaxed from the landscape. The food service Bon Appetit conducts an annual 150-mile "eat local challenge" at its caf?s in universities and corporate campuses across the United States. Further north, a Canadian couple spent a year eating a whole lot of potatoes in the 100-mile circle they drew around their Vancouver home. And, in his latest book, The Omnivore's Dilemma, food writer Michael Pollan set the bar even higher by defining local as no further than hand's reach, as his progressively more demanding effort to eat off the land culminated with a meal of wild pig that he shot, wild mushrooms that he gathered, lettuce that he grew, and fruit that he gleaned.

At the moment, the locavore movement seems impervious to the institutionalization that has afflicted organics. Production for local consumption is by definition small-scale. A certain amount of added value can rise up through the food chain: the local farmer charging more for the local tomato, the restaurateur charging a little more for the local tomato salad, the consumer willing to pay extra for something that has a local "distinction" attached. But such a value-adding exercise by definition stops at the boundary of the defined "local space," whether it is 200, 150, 100, or 50 miles. True, "local" Vermont maple syrup or Pittsburgh microbrew or Memphis barbecue sauce can be produced and marketed on a large scale, and these products derive much of their value from their specific locale. But the "eat local" purist is not interested in someone else's local food. The local designation is not comparable to a Codex Alimentarius geographic designation -- basmati, champagne, kimchi -- that facilitates trade. The movement is designed to discourage trade because trade pushes producers to greater economies of scale.

Does the consumer, by buying local, acquire distinction in the same way that the Chinese emperor did by consuming Samarkand peaches or the upscale shopper does by buying organic plums at Whole Foods? The "eat local" movement has reversed the value-distance equation. It becomes the poor who are condemned to eat the cheap food in the supermarket -- white bread produced several states away, frozen orange juice from Brazil, sandwich meat from hogs butchered in Mexico. The wealthier consumers demonstrate their extradietary concerns -- whether expressed in the desire to reduce overall consumption, help small farmers, or improve their own health with less-processed food -- by paying a little more for locally produced products, whether vegetables or microbrewed beer or bread from a local bakery. This process of creating value, often arbitrary, is inescapable in our economic system. When locavores praise the flavor of a locally grown tomato, they are asserting that taste -- as opposed to merely the calories needed to sustain life -- is important. They are privileging their own tastes, their own health, and the socioeconomic assumptions embedded in these choices.

Although the eat-local movement will, by its very think-small nature, resist the institutionalization that the organic sector has experienced, it may nevertheless fall into the same value-laden trap. Like the organic politics of Whole Foods, the eat-local phenomenon may devolve into a simple pocketbook issue -- which vegetable, the locally grown or the imported, costs less? -- and its fundamental critique of food production will remain largely rhetorical. If it stops evolving into a political movement and instead devolves into a mere consumer movement, eating local will become little more than a set of distinctions to distinguish one type of product and one type of consumer from another, and another opportunity to change the world will be eaten away by the exigencies of the market.

John Feffer is the co-director of Foreign Policy In Focus (www.fpif.org) at the Institute for Policy Studies.
This essay was first published in Alphabet City's FOOD anthology, edited by John Knechtel and copublished with The MIT Press. For more information visit www.alphabet-city.org

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ : Release date 17 May 2008 : Copyleft by MNU.

ผู้บริโภคฐานะดี มักแสดงออกถึงความกังวลที่อยู่นอกเหนือการกินเพื่ออยู่ ไม่ว่าจะแสดงออกด้วยความปรารถนาที่จะลดการบริโภคโดยรวมลงไป ช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย หรือรักษาสุขภาพด้วยอาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อยลง ด้วยการยอมจ่ายมากขึ้นอีกหน่อยเพื่อผลิตผลจากท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นผัก เบียร์พื้นบ้าน หรือขนมปังจากเบเกอรีท้องถิ่น กระบวนการสร้างมูลค่าเช่นนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามอำเภอใจ และเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในระบบเศรษฐกิจของเรา เมื่อขบวนการที่เรียกว่า locavore ยกย่องรสชาติของมะเขือเทศที่ปลูกในท้องถิ่น พวกเขากำลังยืนยันว่า รสชาตินี้มีความสำคัญและเป็นอะไรมากกว่าแคลอรีที่จำเป็นในการดำรงชีวิต พวกเขากำลังสร้างอภิสิทธิ์ให้รสนิยมของตน สุขภาพของตน และสมมติฐานทางสังคมเศรษฐกิจที่แฝงฝังอยู่...

H