ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




16-06-2551 (1588)

Meat wars with South Korea และ ความปลอดภัยของอาหารกับข้อตกลงการค้าเสรี
สงครามเนื้อวัวสหรัฐฯ กับเกาหลีใต้: สัญญานอันตรายตั้งแต่ปีกลาย
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

บทความนี้เดิมชื่อ: ความปลอดภัยของอาหารกับข้อตกลงการค้าเสรี
จากต้นฉบับ: "Food Safety on the Butcher's Block"
Christine Ahn and GRAIN, Web location: http://fpif.org/fpiftxt/5158
คลิกอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษ

การประท้วงการนำเข้าเนื้อวัวสหรัฐฯ ที่เกาหลีใต้เดือนนี้ ได้ก่อตัวขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้วตั้งแต่ปีกลาย
ทั้งนี้เพราะมาตราฐานอนามัยและความปลอดภัยด้านอาหารระหว่างสองประเทศไม่เท่ากัน
สหรัฐฯ มักบีบบังคับให้ประเทศคู่ค้ายอมรับมาตรฐานต่ำของตนผ่านการเจรจาเอฟทีเอ.
วิธีการเดียวกันได้ใช้กับลาตินอเมริกาและเอเชียอาคเนย์ด้วย รายละเอียดต่างๆ เหล่านี้จะอธิบายให้เห็นถึง
การที่บรรษัทต่างๆ ของสหรัฐฯ มีอิทธิพลต่อนักการเมืองอย่างไร และผู้บริโภคปลายทางต้องแบกรับ
ความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน อีกทั้งยังโยงไปถึงเรื่องของจีเอ็มโอ. และอธิปไตยด้านอาหารด้วย
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา

ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๘๘
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๑ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Meat wars with South Korea และ ความปลอดภัยของอาหารกับข้อตกลงการค้าเสรี
สงครามเนื้อวัวสหรัฐฯ กับเกาหลีใต้: สัญญานอันตรายตั้งแต่ปีกลาย
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

คลิกอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษ

ความปลอดภัยของอาหารกับข้อตกลงการค้าเสรี
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปลและเรียบเรียง
Christine Ahn and GRAIN, "Food Safety on the Butcher's Block"
(Washington, DC: Foreign Policy In Focus, April 18, 2008).

Web location: http://fpif.org/fpiftxt/5158

เมื่อวันที่ 11 เมษายน ศกนี้ ศูนย์ควบคุมโรค (CDC) (*) ของสหรัฐฯ เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับความพยายามระดับชาติที่จะปรับปรุงความปลอดภัยของอาหารในสหรัฐอเมริกา โดยมีข้อสรุปว่า "ไม่บรรลุเป้าหมายใดที่ตั้งไว้เลยใน ค.ศ. 2007" ตามรายงานของ CDC ทุก ๆ ปี มีชาวอเมริกัน 76 ล้านคน หรือหนึ่งในสี่ ที่เกิดอาการอาหารเป็นพิษ เชื้อที่พบบ่อยที่สุดคือ อี.โคลี (E. coli) ซึ่งเป็นผลพวงของระบบธุรกิจปศุสัตว์แบบอุตสาหกรรม ชาวอเมริกันส่วนใหญ่มักมีความเข้าใจร่วมกันว่า ปัญหานี้เกิดจากอาหารที่นำเข้ามาจากนอกประเทศ เช่น จากจีน หรือเม็กซิโก ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว อาหารที่ผลิตในสหรัฐฯ นั่นแหละคือตัวปัญหา

(*)The Centers for Disease Control and Prevention (or CDC) is an agency of the United States Department of Health and Human Services based in unincorporated DeKalb County, Georgia adjacent to the campus of Emory University and east of the city of Atlanta. It works to protect public health and safety by providing information to enhance health decisions, and it promotes health through partnerships with state health departments and other organizations. The CDC focuses national attention on developing and applying disease prevention and control (especially infectious diseases), environmental health, occupational safety and health, health promotion, prevention and education activities designed to improve the health of the people of the United States.

แทนที่จะกวาดบ้านตัวเองให้สะอาดเสียก่อน อุตสาหกรรมเนื้อของอเมริกากลับผลักความรับผิดชอบให้แก่ผู้บริโภค ไม่ใช่แค่ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่รวมถึงในประเทศที่สหรัฐฯ ส่งออกเนื้อไปขายด้วย สหรัฐอเมริกาใช้ข้อตกลงการค้าทวิภาคีบีบบังคับกลุ่มประเทศที่อ่อนแอกว่าให้ยอมรับมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารตามแบบของตน โดยใช้เป็นเครื่องมือขยายอำนาจการควบคุมตลาดให้ตกอยู่ในกำมือของบรรษัทสัญชาติสหรัฐฯ ประเทศเกาหลีใต้ตกเป็นเหยื่อรายล่าสุด

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 สหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้ลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรีหรือเอฟทีเอ. ซึ่งตอนนี้กำลังรอการให้สัตยาบันในสมัชชาแห่งชาติของสาธารณรัฐเกาหลี (ROK - Republic of Korea ) และสภาคองเกรสของสหรัฐฯ เงื่อนไขเบื้องต้นสำหรับการเจรจาครั้งนี้ก็คือ เกาหลีใต้ต้องยกเลิกการสั่งห้ามนำเข้าเนื้อวัวจากสหรัฐฯ ซึ่งบังคับใช้มาตั้งแต่ ค.ศ. 2003 หลังจากตรวจพบลูกวัวในสหรัฐฯ ที่มีเชื้อวัวบ้า เพื่อให้การเจรจาเอฟทีเอ.เดินหน้าต่อไป อดีตประธานาธิบดีโรมูฮุนของเกาหลีใต้ยอมยกเลิกการสั่งห้ามเป็นบางส่วน โดยอนุญาตให้เนื้อวัวไร้กระดูกและเนื้อสัตว์ที่อายุต่ำกว่า 30 เดือนเข้าถึงตลาดเกาหลีได้ อย่างไรก็ตาม เนื้อวัวสหรัฐฯ ที่ขนส่งมาสู่เกาหลีใต้หลังจากนั้นถูกกักไว้และถูกส่งคืน เพราะมีเศษกระดูกติดมาด้วย รวมทั้งเนื้อวัวอีกรอบหนึ่งที่ขนส่งมาเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้วก็เผชิญชะตากรรมเดียวกัน เพราะมีกระดูกสันหลังทั้งชิ้นติดมา

ในเกาหลีใต้ การค้นพบข้างต้น บวกกับความไร้มาตรฐานในระยะหลัง เช่น การเจอหนูในผักแช่แข็งที่ส่งมาจากสหรัฐอเมริกา อีกทั้งการเผยแพร่วิดีโอที่แสดงถึงการทำร้ายวัวที่ล้มแล้วในโรงฆ่าสัตว์ของบริษัทเวตส์แลนด์/ฮอลล์มาร์กมีท จนส่งผลให้บริษัทต้องยอมเรียกคืนเนื้อวัวครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ยิ่งตอกย้ำความวิตกในหมู่สาธารณชนชาวเกาหลี ปัญหานี้น่าจะสร้างความยุ่งยากแก่กลุ่มล้อบบี้ที่สนับสนุนเอฟทีเอ. ในเมื่อประธานคณะกรรมาธิการการเงินของวุฒิสภา นายแม็กซ์ บอคัส (เดโมแครต-มอนตานา) บอกว่า เขาจะไม่ยอมแม้แต่พิจารณาข้อตกลงเอฟทีเอ. ตราบที่เกาหลีใต้ยังไม่ยอมยกเลิกการสั่งห้ามนำเข้าเนื้อวัวจากสหรัฐฯ กระนั้นก็ตาม อุตสาหกรรมเนื้อของสหรัฐฯ และพันธมิตรในรัฐบาลบุชกำลังขะมักเขม้นกับการล้อบบี้เกาหลีใต้ทุกวิถีทางให้ยกเลิกคำสั่งห้ามดังกล่าว

"มีผลประโยชน์อยู่มากมายในตลาดนี้ที่ถูกเก็บกดไว้" ผู้ช่วยผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ นางเวนดี คัตเลอร์กล่าวถึงบรรษัทเนื้อวัวของสหรัฐฯ ถึงแม้ประธานาธิบดีสายอนุรักษ์นิยมคนใหม่ของเกาหลีใต้ นายลีเมียงบัก ไปเยือนกรุงวอชิงตันเมื่อกลางเดือนที่แล้ว เพื่อยืนยันว่าเกาหลีใต้ยังยึดมั่นในเอฟทีเอ.และการเป็นพันธมิตรระหว่างกองทัพสหรัฐฯ กับเกาหลีใต้ แต่เขาก็อาจไม่มีเสียงสนับสนุนในสมัชชาแห่งชาติ ROK มากพอที่จะยกเลิกกฎหมายคุ้มครองสุขภาพภายในประเทศของเกาหลี เพียงเพื่อเอื้ออำนวยแก่ผลประโยชน์ของภาคธุรกิจสหรัฐฯ

บริบทของเนื้อวัว
สงครามที่อุตสาหกรรมเนื้อวัวสหรัฐฯ กำลังโจมตีผู้บริโภคชาวเกาหลี เป็นส่วนหนึ่งของวาระการโจมตีด้านความปลอดภัยของอาหารที่บรรษัทสหรัฐฯ กำลังรุกคืบหน้าผ่านช่องทางข้อตกลงทวิภาคี ยุทธศาสตร์นี้มีรหัสที่ใช้คำอย่างเช่น "พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์", "ความเทียบเท่า" (equivalence) และ "การปรับมาตรฐานให้เป็นหนึ่งเดียว" (harmonization) ประเทศมหาอำนาจกำลังใช้ข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีมาบีบให้กลุ่มประเทศที่อ่อนแอกว่าต้องยอมรับมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารตามแบบของตน และขยายการควบคุมตลาดให้อยู่ในเงื้อมมือบรรษัท

ในการเจรจากับเกาหลี สหรัฐอเมริกายืนกรานว่า ข้อตกลงการค้าเสรีไม่มีทางเป็นไปได้ หากเกาหลีใต้ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงข้อบังคับความปลอดภัยของอาหารนำเข้าที่ใช้กับเนื้อวัว. สหรัฐฯ ต้องการบีบให้เกาหลีใต้ยอมรับการตรวจเนื้อวัวของสหรัฐฯ ว่ามีมาตรฐานเทียบเท่ากับของเกาหลีใต้เอง และเปิดตลาดให้เนื้อวัวนำเข้าราคาถูกจากสหรัฐอเมริกา ชาวเกาหลีส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ อย่างสิ้นเชิง. จากการสำรวจความคิดเห็นเมื่อไม่นานมานี้พบว่า แม่บ้านชาวเกาหลีถึง 87% เชื่อว่า เนื้อวัวอเมริกัน "ไม่ปลอดภัย" ชาวเกาหลีไม่เพียงต้องการปกป้องเกษตรกรท้องถิ่นของตน ซึ่งหากมีการบังคับใช้เอฟทีเอ.เมื่อไร พวกเขาจะต้องเผชิญการแข่งขันจากเนื้อวัวสหรัฐฯ ที่ได้รับทุนอุดหนุนจากรัฐบาลและไม่มีกำแพงภาษีมาขวางกั้น นอกจากนี้ ชาวเกาหลียังมีเหตุผลไม่น้อยที่จะรู้สึกวิตกต่อความปลอดภัยของเนื้อจากสหรัฐฯ โดยเฉพาะปัญหาเชื้อโรค BSE หรือเชื้อวัวบ้า

เช่นเดียวกับอีกหลาย ๆ ประเทศ เกาหลีใต้สั่งห้ามนำเข้าเนื้อวัวจากสหรัฐฯ อย่างเด็ดขาด หลังจากตรวจพบเชื้อ BSE ในสหรัฐอเมริกาเมื่อ ค.ศ. 2003 นับแต่นั้นมา สหรัฐอเมริกาพยายามอย่างหนักที่จะเจาะเข้าสู่ตลาดเนื้อวัวส่งออกอันมีค่ามหาศาลในเกาหลีใต้และประเทศอื่น ๆ อีกครั้ง โดยอาศัยกระบวนการสองด้านควบคู่กันไป นั่นคือ กำหนดนิยามระบบตรวจสอบเชื้อ BSE ของตัวเองขึ้นมา พร้อม ๆ กับหาทางบีบให้ทั่วทั้งโลกต้องยอมรับว่าระบบนี้มีความปลอดภัย เนื่องจากสหรัฐฯ ไม่สามารถสร้างความเชื่อถือแก่รัฐบาลในตลาดใหญ่ เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ให้มั่นใจในระบบควบคุมเชื้อ BSE ของตน สหรัฐฯ จึงพยายามหาแรงสนับสนุนจากที่อื่น โดยเฉพาะจากองค์การอนามัยสัตว์โลก (World Animal Health Organization--OIE) (*) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานอนามัยสัตว์ระหว่างประเทศ ซึ่ง WTO ให้การรับรอง

(*)The World Organisation for Animal Health (OIE)
The need to fight animal diseases at global level led to the creation of the Office International des Epizooties through the international Agreement signed on January 25th 1924. In May 2003 the Office became the World Organisation for Animal Health but kept its historical acronym OIE.

The OIE is the intergovernmental organisation responsible for improving animal health worldwide.
It is recognised as a reference organisation by the World Trade Organization (WTO) and as of January 2008, had a total of 172 Member Countries and Territories. The OIE maintains permanent relations with 36 other international and regional organisations and has Regional and sub-regional Offices on every continent.

ยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ที่ดำเนินการกับ OIE คือ หาทางเปลี่ยนแปลงแนวทางปฏิบัติที่ใช้กับการค้าเนื้อสัตว์จากประเทศที่มีเชื้อ BSE ระบาด เพื่อให้สถานะของประเทศผู้ส่งออกไม่ต้องตั้งอยู่บนการมีเชื้อ BSE ระบาดในประเทศหรือไม่ แต่ตั้งอยู่บน "การประเมินความเสี่ยงทางวิทยาศาสตร์" ของระบบป้องกันแทน กล่าวคือ ประเทศนั้น ๆ มีระบบป้องกันอย่างไรบ้างในการป้องกันไม่ให้เชื้อ BSE เข้าไปอยู่ในเนื้อวัวส่งออก สหรัฐอเมริกาผลักดันกระบวนการนี้ไปพร้อม ๆ กันใน ค.ศ. 2003 โดยสร้างสถานะใหม่ของประเทศที่มี "ความเสี่ยงต่ำสุด" ในการส่งออกสินค้าไปสู่สหรัฐฯ หลังจากนั้น สหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการผลักดันให้ OIE มีมติออกมาใน ค.ศ. 2005 โดยนำมาใช้ใน ค.ศ. 2006

ในมตินี้ การจำแนกประเทศผู้ส่งออกเนื้อวัว จากเดิมที่เคยมี 5 ประเภท ถูกลดลงเหลือ 3 ประเภท และปรับชื่อเรียกใหม่เป็น "มีความเสี่ยงของเชื้อ BSE ที่ละเว้นได้" "มีความเสี่ยงของเชื้อ BSE ที่ควบคุมได้" และ "มีความเสี่ยงของเชื้อ BSE ที่ระบุแน่ชัดไม่ได้" ยิ่งกว่านั้น เมื่อก่อน OIE สามารถวินิจฉัยชี้ขาดได้เพียงอย่างเดียวว่า ประเทศหนึ่ง ๆ ปลอดเชื้อ BSE หรือไม่ แต่ตอนนี้ OIE สามารถชี้ขาดได้ด้วยว่า ประเทศนั้น ๆ ควรจัดอยู่ในประเภท "ความเสี่ยงที่ควบคุมได้" หรือไม่ ซึ่งเท่ากับอำนวยความสะดวกอย่างมากให้ประเทศนั้น ๆ สามารถส่งออกได้ ในสมัยประชุมใหญ่เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007 ที่กรุงปารีส ขณะที่ชาวเกาหลีชุมนุมประท้วงอยู่ตามท้องถนน OIE ก็ประกาศรายชื่อประเทศที่จัดอยู่ใน "ความเสี่ยงที่ควบคุมได้" เป็นครั้งแรก ไม่น่าแปลกใจเลยที่สหรัฐอเมริกาอยู่ในรายชื่อดังกล่าว

สหรัฐอเมริกาใช้คำวินิจฉัยจาก OIE มาผลักดันการเปิดตลาดแก่เนื้อวัวสหรัฐฯ ทันที "เราจะใช้มติสากลนี้มากระตุ้นให้ประเทศคู่ค้าของเราเปิดตลาดนำเข้าแก่ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และเนื้อวัวของสหรัฐฯ อย่างเต็มอัตราอีกครั้ง" ไมค์ โจฮันส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ กล่าว "เราจะใช้ทุกวิถีทางเพื่อให้มั่นใจว่า ประเทศต่าง ๆ จะรีบดำเนินการปรับกฎข้อบังคับให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล"

ถึงแม้มติของ OIE ไม่มีทางบังคับให้เกาหลีเปลี่ยนแปลงระเบียบข้อบังคับของตน แต่เกาหลีใต้ก็เผชิญแรงเสียดทานจากการเจรจาเอฟทีเอ.อีกโสดหนึ่ง ในที่สุด เกาหลีใต้ก็ยอมเปิดตลาดอีกครั้งโดยมีข้อกำหนดเป็นเงื่อนไข ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของ OIE นั่นคือ เนื้อวัวต้องปลอดจากชิ้นส่วนที่มีความเสี่ยงตามที่ระบุไว้ เช่น เศษกระดูก เป็นต้น เมื่อเจ้าหน้าที่เกาหลีตรวจพบเศษกระดูกในเนื้อวัวสหรัฐฯ สามล็อตแรกที่ส่งมา (รวมทั้งตรวจพบไดออกซินเกินระดับที่ยอมรับได้ในล็อตที่สาม) เกาหลีใต้จึงไม่ยอมรับเนื้อที่ส่งมา จากนั้น ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 เกาหลีใต้ตัดสินใจระงับใบอนุญาตส่งออกทั้งหมดที่ให้แก่บริษัทซัพพลายเออร์สหรัฐฯ หลังจากผลิตภัณฑ์เนื้อวัวสองล็อตที่มีแหล่งผลิตต้นทางจากบริษัทคาร์กิลล์และไทสันถูกนำส่งมาเกาหลีใต้โดยไม่มีใบรับรองการกักกันโรค แทนที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น บริษัทเนื้อวัวสหรัฐฯ ซึ่งมีวอชิงตันหนุนหลัง กลับยืนกรานให้เกาหลีใต้เปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานเกี่ยวกับเศษกระดูกและยอมให้เนื้อวัวสหรัฐฯ เข้าสู่ตลาดแต่โดยดี ไม่ว่าจะติดเศษกระดูกไปด้วยก็ตาม มิฉะนั้น จะไม่มีข้อตกลงเอฟทีเอ.อีก

เนื้อวัวกับการค้าเสรี
มีอีกหลายประเทศที่จำใจยอมสละสิทธิ์ในการสั่งห้ามนำเข้าเนื้อจากสหรัฐฯ การสั่งห้ามนี้เกิดขึ้น ไม่เพียงเพราะความวิตกเกี่ยวกับเชื้อ BSE ในเนื้อวัว แต่ไม่ไว้ใจความปลอดภัยของอาหารและอนามัยสัตว์ในกระบวนการทั้งหมดของอุตสาหกรรมเนื้อในสหรัฐฯ อุตสาหกรรมเนื้อของสหรัฐฯ พยายามยืนกรานเสมอมาว่า เอฟทีเอ.ไม่ใช่แค่การลดกำแพงภาษีลง แต่ต้องยกเลิกสิทธิของประเทศต่าง ๆ ในอันที่จะมีนิยามมาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยของพืชและสัตว์ (Sanitary and Phytosanitary Standards: SPS) (*) ของตัวเอง ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันให้เนื้อจากสหรัฐฯ เข้าถึงตลาดได้อย่างแน่นอน บริษัทเนื้อสัตว์ปีกรายใหญ่ของสหรัฐฯ ค่อนข้างแข็งกร้าวในประเด็นนี้เป็นพิเศษ เพราะสำหรับบริษัทกลุ่มนี้ การส่งออกมีความสำคัญอย่างใหญ่หลวง เนื่องจากภายในประเทศสหรัฐฯ มีความต้องการเฉพาะเนื้ออกขาวเป็นหลัก จึงทำให้มีเนื้อน่องไก่ (เนื้อดำ) เหลือเป็นจำนวนมากและเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ

(*)Sanitary and phytosanitary standards
The WTO SPS agreement recognizes that countries can regulate crops and food products to protect health and the environment, and it allows domestic measures to be higher than international standards. Invoking a need for "sufficient scientific evidence," however, the agreement is being used to restrict countries' ability to independently set such measures and approval procedures. Meanwhile, some Southern food exporting countries accuse the North of using differing SPS norms as a new way to block their products, even as they claim to be improving

แต่ตลาดส่งออกส่วนใหญ่ไม่ยอมรับเนื้อน่องไก่นี้ เนื่องจากวิตกเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารและอนามัยของสัตว์ เช่น สารตกค้างที่เป็นฮอร์โมนและยาปฏิชีวนะ อีกทั้งบริษัทสหรัฐฯ ยังตัดราคาผู้ผลิตท้องถิ่นด้วยราคาที่ต่ำอย่างไร้เหตุผล ดังนั้น บริษัทผลิตเนื้อสัตว์ปีกอย่างไทสันและคาร์กิลล์จึงมองว่า การเจรจาเอฟทีเอ.น่าจะเป็นเครื่องมือช่วยง้างเปิดตลาด โดยอาศัยทั้งการลดหรือยกเลิกกำแพงภาษี พร้อม ๆ กับมัดมือประเทศต่าง ๆ ให้ยอมรับมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารที่สหรัฐฯ เป็นผู้กำหนด

ข้อตกลงเอฟทีเอ.กับโมรอกโคถือเป็นตัวอย่างเบื้องต้น โมรอกโคยอมลดกำแพงภาษีลงขนานใหญ่ จากนั้นก็ตกลงยอมรับใบรับรองสินค้าส่งออกจากผู้ตรวจของสหรัฐฯ "โดยถือเป็นวิธีการรับรองการปฏิบัติตามมาตรฐานเกี่ยวกับฮอร์โมน ยาปฏิชีวนะและสารตกค้างอื่น ๆ" สำหรับเนื้อวัวและเนื้อสัตว์ปีก รายต่อมาคือปานามา ภายใต้ข้อตกลง SPS ที่เป็นส่วนแยกต่างหากภายในข้อตกลงเอฟทีเอ.กับสหรัฐอเมริกา ปานามาตกลงยอมรับว่า การตรวจสอบเนื้อและระบบการคัดเนื้อของสหรัฐฯ มีความเทียบเท่ากับประเทศของตน เท่ากับยอมให้เนื้อวัวส่งออกของสหรัฐฯ ทั้งหมดที่สอดคล้องกับมาตรฐานของ OIE สามารถเข้าถึงตลาดได้ ตลอดจนยกเลิกการใช้ใบรับรองการนำเข้าและเงื่อนไขการออกใบอนุญาตที่เข้มงวดที่เคยใช้มาก่อนหน้านี้

ข้อตกลง CAFTA (*) ซึ่งค่อย ๆ เปิดตลาดกลุ่มประเทศอเมริกากลางให้แก่เนื้อน่องไก่จากสหรัฐฯ ที่นำเข้าโดยไม่ต้องมีกำแพงภาษี เป็นชัยชนะสำคัญอีกครั้งของกลุ่มบริษัทเนื้อสัตว์ปีกอเมริกัน บริษัทเนื้อไก่ในอเมริกากลางเติบโตขึ้นมาภายใต้การปกป้องทางการค้าและมีสายสัมพันธ์ทางการเมืองที่เข้มแข็ง สหรัฐอเมริกาตระหนักดีเป็นพิเศษว่า การลดพิกัดอัตราภาษีศุลกากรดังที่ตกลงไว้ภายใต้เอฟทีเอ. อาจกระตุ้นให้เกิด "ความเคลื่อนไหวในหมู่ผู้ผลิตเนื้อไก่ในอเมริกากลาง ที่พยายามขัดขวางการเข้ามาของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ปีกจากสหรัฐฯ โดยอาศัยอุปสรรคทางการค้าที่เป็นประเด็นเชิงเทคนิคด้านอนามัยสัตว์"

(*)The Dominican Republic-Central America Free Trade Agreement, commonly called DR-CAFTA, is a free trade agreement (legally a treaty under international law, but not under US law). Originally, the agreement encompassed the United States and the Central American countries of Costa Rica, El Salvador, Guatemala, Honduras, and Nicaragua, and was called CAFTA. In 2004, the Dominican Republic joined the negotiations, and the agreement was renamed DR-CAFTA.

ความไม่พอใจในประเด็น SPS เกี่ยวกับเนื้อสัตว์ปีกส่วนใหญ่เกิดจากฝ่ายสหรัฐอเมริกา นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ ประเทศเอลซัลวาดอร์ ฮอนดูรัสและคอสตาริกามีนโยบายไม่ยอมรับเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลา (Salmonella) อย่างเด็ดขาดมานานแล้ว ซึ่งเท่ากับการสั่งห้ามนำเข้าเนื้อไก่ดิบจากสหรัฐอเมริกาโดยปริยายนั่นเอง เนื่องจากเชื้อซัลโมเนลลาระบาดในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกของสหรัฐฯ ฮอนดูรัสยังมีนโยบายเข้มงวดเกี่ยวกับเชื้อไข้หวัดนกที่สร้างความไม่พอใจแก่อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ปีกของสหรัฐฯ ด้วย

ฝ่ายอเมริกันมักโวยวายว่า มาตรการเหล่านี้กำหนด "ตามอำเภอใจ" และไม่ได้ตั้งอยู่บนวิทยาศาสตร์ แต่ถึงจะโวยวายแค่ไหนก็ไม่มีประโยชน์ เนื่องจากประเทศเหล่านี้ผลิตเนื้อสัตว์ปีกพอแก่การบริโภคในประเทศ ทว่าการเจรจาเอฟทีเอ.อาจทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป สหรัฐอเมริกาก่อตั้งกลุ่มทำงานคู่ขนานเกี่ยวกับประเด็น SPS เพื่อ "ใช้แรงผลักดันจากการเจรจาทางการค้ามาหนุนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในระบบ SPS ของประเทศต่าง ๆ ที่ไม่เต็มใจเปลี่ยนเอง" ด้วยการใช้กลุ่มทำงานนี้ ทุกประเทศในกลุ่มอเมริกากลางจึงตกลง "ยอมรับว่า ระบบตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารของสหรัฐฯ มีความเทียบเท่ากับของตน ซึ่งเท่ากับยกเลิกความจำเป็นในการตรวจสอบทีละโรงงานอีก"

เอฟทีเอ.สหรัฐฯ-เปรู ถือเป็นชัยชนะครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมเนื้อไก่ ดังที่ ซารา ลิลีเกรน รองประธานฝ่ายรัฐบาลสัมพันธ์ของบริษัทไทสันฟูดส์ กล่าวว่า นี่เป็น "การเปิดตลาดสินค้าเนื้อไก่ที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีการเจรจามาในข้อตกลงการค้าเสรี" ไทสันและบริษัทเนื้อไก่อื่น ๆ ของสหรัฐฯ ได้การเข้าถึงตลาดปลอดกำแพงภาษีสำหรับเนื้อน่องไก่ รวมทั้งเปรูพร้อมที่จะยอมรับระบบกำหนดสถานะเชื้อโรคและระบบตรวจสอบโรงเชือดและโรงแปรรูปเนื้อไก่ของสหรัฐฯ ด้วย

"ในอดีต เนื้อไก่ที่สหรัฐฯ ส่งออกไปเปรูมักถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมของเปรูขัดขวางไว้ ด้วยเหตุผลว่าผลิตภัณฑ์ของสหรัฐฯ มีเชื้อไข้หวัดนก เชื้อไข้นิวคาสเซิล หรือแม้กระทั่งเชื้อซัลโมเนลลา" ลิลีเกรนแห่งบริษัทไทสันกล่าว "สัญญาณที่ดีในตอนนี้คือ การที่เปรูยอมรับที่จะเคารพการตัดสินของเจ้าหน้าที่ควบคุมอนามัยสัตว์ของสหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นหลักประกันว่า อุตสาหกรรมสหรัฐฯ จะได้ประโยชน์ทันทีจากเงื่อนไขการเข้าถึงตลาดในข้อตกลงนี้ และผลประโยชน์ดังกล่าวจะไม่ถูกขัดขวาง ด้วยการใช้อุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่กำแพงภาษี โดยมาในรูปของเงื่อนไข SPS ที่คลุมเครือ"

ด้วยเหตุนี้ เปรูและประเทศอื่น ๆ ที่ลงนามในข้อตกลงแบบเดียวกัน จำต้องยอมรับการที่สหรัฐฯ ส่งเนื้อคุณภาพต่ำเข้ามาทุ่มตลาด ผลกระทบจะเกิดขึ้นรุนแรงทันทีต่ออุตสาหกรรมท้องถิ่น โดยเฉพาะผู้ผลิตรายย่อย คงมีบริษัทท้องถิ่นไม่กี่แห่งที่เอาตัวรอดได้ ด้วยการควบรวมกิจการและขยายการดำเนินงานออกไปต่างประเทศ เช่น กลุ่มผลิตเนื้อไก่ Multi Inversiones ของกัวเตมาลา ซึ่งขยายกิจการเข้าไปในบราซิลและประเทศเพื่อนบ้าน ถึงแม้เอฟทีเอ..อาจช่วยให้ผู้ผลิตเนื้อไก่ท้องถิ่นเข้าถึงตลาดสหรัฐฯ ได้บ้าง แต่ในทางปฏิบัติ ระบบตรวจสอบของสหรัฐฯ มักอนุญาตเฉพาะผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดเท่านั้น มีโรงงานเนื้อไก่เพียง 3 แห่งที่ได้ใบรับรองให้ส่งออกไปสู่สหรัฐฯ นั่นคือ โรงในชิลี, โรงในคอสตาริกา, ในขณะที่เอลซัลวาดอร์ ฮอนดูรัส กัวเตมาลาและโมรอกโค ไม่ได้รับใบอนุญาตเลย ส่วนโรงงานเนื้อไก่ในเม็กซิโก ผู้ผลิตเนื้อไก่รายใหญ่ที่ตั้งอยู่ติดกับตลาดสหรัฐฯ แท้ ๆ กลับได้เพียงใบยินยอมให้ส่งออกเนื้อไก่แปรรูป ที่เชือดภายใต้การตรวจสอบของหน่วยงานรัฐบาลกลางสหรัฐฯ พร้อม ๆ กันนี้ บริษัทเนื้อไก่รายใหญ่ของสหรัฐฯ ก็ตามติดเข้าไปในตลาดที่เข้าถึงได้ใหม่ ด้วยการซื้อกิจการของผู้ผลิตท้องถิ่นและผนวกเข้าไปในสายโซ่การผลิตข้ามชาติของตน ดังที่คาร์กิลล์เพิ่งทำด้วยการเทคโอเวอร์บริษัทเนื้อไก่รายใหญ่สองรายในฮอนดูรัสและนิการากัว

อาหารจีเอ็มโอ.ก็มาด้วย
การโจมตีมาตรฐานความปลอดภัยอาหารของเกาหลีใต้ด้วยเอฟทีเอ..ของรัฐบาลบุช ไม่ได้จำกัดแค่เนื้อวัว การที่กรุงโซลขอผ่อนผันกฎเกณฑ์ต้นกำเนิดสินค้าเพื่อส่งออกสิ่งทอไปสหรัฐฯ นั้น เกาหลีใต้ต้องยอมแลกด้วยการลดมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพภายในประเทศลง ข้อตกลงนี้ลงนามนอกรอบในการเจรจาเอฟทีเอ.สหรัฐฯ-เกาหลีใต้รอบสุดท้าย เมื่อปลายเดือนมีนาคม ค.ศ. 2007 โดยมีชื่อเรียกว่า "บันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร" ระหว่างสหรัฐฯ-เกาหลีใต้ องค์การอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพในวอชิงตันออกมาโห่ร้องทันทีว่า นี่เป็นการทะลวงกรอบครั้งยิ่งใหญ่ แต่ชาวเกาหลีตอบรับข้อตกลงนี้ด้วยความประหลาดใจ และก่อให้เกิดปฏิกิริยาโกรธแค้นทั้งในเวทีการเมือง สื่อมวลชน และตามท้องถนน

ข้อตกลงเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรของสหรัฐฯ-เกาหลีใต้ มีข้อผูกมัดให้เกาหลีต้องจำกัดการประเมินความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอ..ที่นำเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นอาหาร อาหารสัตว์ หรือกระบวนการนำไปใช้ "ตามเจตนาที่ตั้งไว้" กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ ถ้าเกษตรกรท้องถิ่นนำเมล็ดข้าวโพดจีเอ็มโอ..จากสหรัฐอเมริกาไปหว่านเพาะ ทั้ง ๆ ที่ข้าวโพดนั้นวางขายเพื่อการบริโภค บริษัทสหรัฐฯ ที่รับผิดชอบการจำหน่ายเมล็ดข้าวโพดย่อมปลอดพ้นจากความรับผิดใด ๆ วิธีการเช่นนี้เองที่ทำให้พันธุ์ข้าวโพดพื้นเมืองของเม็กซิโกเกิดการปนเปื้อน

นอกจากนี้ ข้อตกลงยังผูกมัดให้เกาหลีต้องปฏิบัติตามกฎหมายการติดป้ายฉลากจีเอ็มโอ..ในลักษณะที่ "คาดการณ์ได้" เงื่อนไขที่คล้าย ๆ กันนี้ในข้อตกลงเอฟทีเอ..เกือบทุกฉบับของสหรัฐอเมริกา มักมีคำเรียกให้ไขว้เขวไปว่า นี่เป็นประเด็นของ "ความโปร่งใส" แต่แท้ที่จริงแล้ว มันทำให้วอชิงตันมีสิทธิ์เข้าไปก้าวก่ายการตัดสินใจเชิงนโยบายในกรุงโซลต่างหาก ในประการสุดท้าย หากเกาหลีจะปฏิบัติตามพิธีสารความปลอดภัยทางชีวภาพของสหประชาชาติ ซึ่งสหรัฐฯ ไม่ยอมลงนาม เกาหลีจำต้องยอมรับเงื่อนไขในข้อตกลงทวิภาคีที่ทำไว้กับวอชิงตัน ในกรณีนี้ เช่นเดียวกับในข้อตกลงเอฟทีเอ.ที่สหรัฐฯ ทำกับประเทศอื่น ๆ สหรัฐอเมริกาได้รับการยกเว้นจากข้อบังคับในการแสดงเอกสารหลักฐานสำหรับนำพืชจีเอ็มโอ.เข้าไปในเกาหลี

หมึกที่ลงนามในข้อตกลงยังไม่ทันแห้งสนิท พืชจีเอ็มโอ.อเมริกันก็เริ่มทะลวงเข้าไปในแหล่งอาหารของเกาหลีแล้ว ที่ผ่านมา กฎหมายจีเอ็มโอ.ของเกาหลี โดยเฉพาะกฎเกณฑ์ในการติดป้ายฉลาก ช่วยสกัดอาหารนำเข้าจีเอ็มโอ.ให้พ้นจากแหล่งอาหารในประเทศอย่างได้ผล ยกเว้นที่มีใช้บ้างในอาหารสัตว์ น้ำมันถั่วเหลืองและซีอิ๊ว (ผลิตภัณฑ์สองประเภทหลังนี้ได้รับการยกเว้นจากข้อบังคับการติดป้ายฉลาก เพราะเชื่อว่าโปรตีนจีเอ็มโอ.ถูกขจัดออกไปในกระบวนการผลิต)

แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 หลังจากลงนามในข้อตกลงเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรได้ไม่ถึงปี และหลังจากเกาหลีให้สัตยาบันและนำพิธีสารความปลอดภัยทางชีวภาพมาใช้เพียงสามเดือน สมาคมอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวโพดของเกาหลีก็สั่งซื้อข้าวโพดจีเอ็มโอ.จากสหรัฐฯ ถึง 697,000 เมตริกตัน โดยจะมีการขนส่งระหว่างเดือนเมษายน-สิงหาคม ค.ศ. 2008 นี่จะเป็นการนำเข้าข้าวโพดจีเอ็มโอ.เพื่อนำมาใช้เป็นอาหารคนครั้งแรกของเกาหลี นับตั้งแต่ใช้กฎหมายติดป้ายฉลากจีเอ็มโอ.ใน ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา

ในทำนองเดียวกัน สินค้าจีเอ็มโอ.ที่นำเข้าโดยได้รับความยินยอมจากรัฐบาลก็พุ่งสูงขึ้น ตั้งแต่มีการลงนามในข้อตกลงกับสหรัฐฯ ในวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2008 มีสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (living modified organisms--LMOs) ถึง 58 ชนิดที่นำเข้ามาเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรืออาหารคนในเกาหลี อีกหนึ่งเดือนต่อมา จำนวนเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า กล่าวคือ มี LMOs ถึง 102 ชนิดที่ได้รับอนุญาตนำเข้า โดย 70% มาจากบริษัทสัญชาติสหรัฐฯ (มอนซานโต ดูปองท์ และดาวเคมิคัล)

เกาหลีใต้ไม่ใช่ประเทศแรกที่ยอมสละสิทธิอธิปไตยในการควบคุมอาหารเทคโนโลยีชีวภาพ โดยเป็นผลมาจากแรงกดดันของบรรษัทอเมริกันในการเจรจาทวิภาคี อินเดียและจีนก็ต้องยอมผ่อนปรนข้อจำกัดในการนำเข้าสินค้าจีเอ็มโอ. หลังจาก "หารือ" ทวิภาคีกับสหรัฐฯ ประเทศไทยยอมผ่อนปรนกฎหมายบังคับติดป้ายฉลากสินค้าจีเอ็มโอ.อย่างเข้มงวดใน พ.ศ. 2547 เมื่อสหรัฐอเมริกาเตือนว่า กฎหมายนี้อาจส่งผลกระทบต่อการเจรจาเอฟทีเอ. เมื่อไม่นานมานี้ บรรษัทอเมริกันเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐฯ ใช้ข้อเสนอเอฟทีเอ.บีบให้ประเทศไทยยอมอนุญาตให้ทดลองปลูกจีเอ็มโอ.ในไร่นา มาเลเซียก็ตกอยู่ในสภาพคล้าย ๆ กัน บรรษัทอเมริกันต้องการให้รัฐบาลมาเลเซียยกเลิกการพิจารณาบังคับติดป้ายฉลากสินค้าจีเอ็มโอ. โดยถือเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นในการลงนามข้อตกลงเอฟทีเอ.สหรัฐฯ-มาเลเซีย

การต่อสู้เพื่ออธิปไตยทางอาหาร
การใช้ข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีมาก่อกวนมาตรฐานความปลอดภัยของอาหาร เพื่ออวยประโยชน์แก่อุตสาหกรรมอาหารโลกที่กำลังควบรวมกิจการอย่างเข้มข้นและรวดเร็ว กลายเป็นประเด็นที่ก่อความวิตกไม่น้อย และยิ่งน่าวิตกมากขึ้นในสถานการณ์ที่โลกกำลังมีวิกฤตการณ์ทางอาหารร้ายแรงขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับคนส่วนใหญ่ ความปลอดภัยของอาหารควรเกี่ยวข้องกับสุขภาพเท่า ๆ กับสิทธิทางวัฒนธรรม แต่การกำหนดนโยบายถูกช่วงชิงไปแล้ว เมื่อกำแพงภาษีและโควตาถูกลดทอนลงเรื่อย ๆ ภายใต้คาถาการค้าเสรี ความปลอดภัยของอาหารก็ยิ่งกลายเป็นเครื่องมือโจมตีสำหรับประเทศอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกาหรือยุโรป ซึ่งไม่ได้ต้องการแค่การเข้าถึงตลาดสำหรับสินค้าส่งออกเท่านั้น แต่ต้องการลดการแข่งขันจากสินค้านำเข้าด้วย (เมื่อไม่มีกำแพงภาษีและโควตาแล้ว)

สมาชิก WTO ทุกประเทศต้องปฏิบัติตามหลักการความเทียบเท่าระหว่างมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารของประเทศต่าง ๆ ทว่าความเทียบเท่านี้ไม่ได้หมายถึงการปรับมาตรฐานของทุกประเทศให้สูงขึ้นเหมือน ๆ กัน มันหมายถึงการต้องทำให้มาตรฐานของทุกประเทศเท่าเทียมกับมาตรฐานของประเทศมหาอำนาจ ซึ่งส่วนใหญ่มักหมายถึงการปรับมาตรฐานให้เหลือแค่บรรทัดฐานต่ำสุดเหมือน ๆ กันหมด ข้อตกลงเอฟทีเอ.สหรัฐฯ-เกาหลีใต้ เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในประเด็นนี้

น่าเสียดายที่ต้องกล่าวว่า ความปลอดภัยของอาหารกลายเป็นเบี้ยต่อรองในการต่อสู้เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ของฝ่ายบรรษัท นี่คือความท้าทายสำคัญเบื้องหน้าขบวนการอธิปไตยทางอาหาร นอกจากการคว่ำบาตรและการเรียกคืนสินค้าที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวแล้ว การตัดสินใจเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารกลับไม่ได้อยู่ในมือของประชาชนคนธรรมดา ไม่ได้อยู่ในมือของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีความเชี่ยวชาญด้วยซ้ำ ในปัจจุบัน ความปลอดภัยของอาหารถูกกำหนดจากห้องประชุมของบรรษัท และการเจรจาทางการค้ามากขึ้นเรื่อย ๆ บางที บทเรียนที่ได้จากประสบการณ์การต่อสู้กับเอฟทีเอ.ในหลาย ๆ ประเทศ อาจช่วยนำเราไปสู่การรณรงค์ที่เข้มแข็งกว่าเดิม เพื่อทวงคืนอำนาจในการควบคุมความปลอดภัยของอาหาร โดยถือเป็นประเด็นหนึ่งในสงครามใหญ่ เพื่อชิงอธิปไตยทางอาหารที่แท้จริงกลับคืนมา

+++++++++++++++++++++++++++++

เกี่ยวกับผู้เขียน
Christine Ahn นอกจากเขียนบทความให้ Foreign Policy In Focus และเป็นนักวิเคราะห์นโยบายของ Korea Policy Institute แล้ว เขายังเป็นสมาชิกคนหนึ่งขององค์กร Korean Americans for Fair Trade

GRAIN (http://www.grain.org/) เป็นองค์กรเอกชนสากลที่มีเจ้าหน้าที่ 13 คนอยู่ใน 9 ประเทศที่กระจายอยู่ทั้ง 5 ทวีป GRAIN ส่งเสริมการจัดการและการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพของภาคเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน โดยมีหลักการพื้นฐานว่า ประชาชนต้องมีอำนาจควบคุมแหล่งพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น GRAIN มีการประสานงานกับ www.bilaterals.org และมีส่วนร่วมในการผลิตเว็บไซท์ www.fightingftas.org.

+++++++++++++++++++++++++++++

Food Safety on the Butcher's Block
Christine Ahn and GRAIN | April 18, 2008

On April 11, the Center for Disease Control (CDC) released a report that found that of the national efforts to improve U.S. food safety, "none of the targets were reached in 2007." According to the CDC, 76 million Americans - one in four - come down with food poisoning every year. Among the most common is E. coli, a byproduct of the system of industrialized animal agribusiness. Americans have a common perception that the problem stems from food coming from outside the country - from China, say, or Mexico. Instead, it's our food that's the problem.

Instead of cleaning up its own act, the American meat industry has shifted responsibility to the consumer - not just in the United States, but also in countries where U.S. meat is exported. The United States is using bilateral trade agreements to arm-twist weaker countries into accepting its food safety standards as a tool to expand the market control of U.S. corporations. South Korea is the latest victim.

In June 2007, the United States and South Korea signed a free trade agreement (FTA) that now awaits ratification in the ROK National Assembly and the U.S. Congress. A pre-condition for negotiations was a commitment from South Korea to lift its ban on U.S. beef, which had gone into effect in 2003 after the discovery of a U.S. calf with mad-cow disease. In order to get the FTA talks rolling, South Korea's former president Roh Moo Hyun partially lifted the ban, allowing boneless beef and meat from cattle aged under 30 months to reach Korean markets. However, subsequent shipments of U.S. beef have been quarantined and returned for containing bone fragments, including a beef shipment last July that contained an entire spine.

These discoveries in South Korea - coupled with more recent episodes such as a rat found last month in frozen vegetables imported into Korea from the United States and the release of a video showing abuse of downer cows at a Westland/Hallmark Meat Company slaughtering house that resulted in the largest recall of beef in U.S. history - have reinforced concerns within the Korean public. This would normally spell trouble for the pro-FTA lobby since Senate Finance Committee Chairman Max Baucus (D-Montana) has said that he wouldn't even entertain the FTA unless South Korea lifts its ban on U.S. beef. However, the U.S. meat industry, and its allies in the Bush administration, is lobbying Korea with all its might to lift the ban before week's end.

"There is a lot of pent-up interest in the market," said Assistant U.S. Trade Representative Wendy Cutler of these U.S. beef corporations. Although the new conservative president, Lee Myung-bak, visits Washington this week to affirm South Korea's commitment to the FTA and the U.S.-ROK military alliance, he may not have enough votes in the National Assembly to dismantle Korea's domestic health laws to accommodate U.S. corporate interests.

Beef in Context
The U.S. beef industry's battle against Korean consumers is part of a larger corporate food safety agenda advanced increasingly through bilateral channels. The strategy is codified in terms like "science-based," "equivalence," and "harmonization". Powerful countries are using bilateral agreements to compel weaker countries into accepting their food safety standards and expand the market control of their own corporations.

With Korea, the United States has been insisting that no free trade deal is possible unless Korea changes its food safety import regulations for beef, recognizes U.S. beef inspections as equivalent, and opens its market to cheap U.S. beef imports. Most Koreans are dead set against these U.S. demands: a recent poll found that 87% of Korean housewives believe American meat is "unsafe." Koreans not only want to protect their local farmers, who will, with the implementation of the FTA, face competition from tariff-free subsidized U.S. beef imports. They are also justifiably concerned about the safety of U.S. meat, especially when it comes to BSE or Mad Cow Disease.

Korea, like many other countries, enacted a complete ban on U.S. beef when a case of BSE was detected in the United States in 2003. Ever since, the United States has pushed hard to regain valuable beef export markets in Korea and elsewhere through a twin process of defining its own BSE inspection system and getting the rest of the world to accept this system as safe. Not being able to convince authorities in key markets like Japan and Korea about the merits of its BSE control efforts, the United States has looked for leverage elsewhere, mainly with the World Animal Health Organization (OIE), the international standard setting body for animal health recognized by the WTO.

The U.S. strategy at the OIE has been to change the guidelines covering trade from countries with BSE so that a country's status is based not on the presence of BSE but on a "scientific risk assessment" of the safeguards that a country adopts to keep BSE out of exports. The United States moved this process along in 2003 by creating a new status of "minimal risk" for countries exporting to the United States. It then successfully pushed for a resolution at the OIE in 2005, which was adopted in 2006, where the five original categories for classifying a country were reduced to three and modified into the new categories of "negligible BSE risk,"
"controlled BSE risk," and "undetermined BSE risk." Moreover, where the OIE previously only ruled on a country's claim to be BSE-free, now the OIE could rule on whether a country should be considered a "controlled risk", greatly facilitating that country's ability to export. At its May 2007 General Session in Paris, with Korean protestors outside in the streets, the OIE issued its first list of "controlled risk" counties, with the United States not surprisingly making the cut.

The United States immediately used this ruling from the OIE to push hard for the opening of markets to U.S. beef. "We will use this international validation to urge our trading partners to reopen export markets to the full spectrum of U.S. cattle and beef products," said Mike Johanns, U.S. secretary of agriculture. "We will use every means available to us to ensure that countries rapidly take steps to align their requirements with international standards."

Although the OIE ruling in no way forced it to change its regulations, Korea faced the added pressure of the FTA negotiations. It ultimately reopened its markets with the proviso, well within OIE guidelines, that the beef be free of specified risk material, such as bone fragments. When Korean authorities detected such bone fragments in the first three shipments of U.S. beef (as well as trace levels of dioxin exceeding approved levels in the third shipment), they rejected the meat. Then, in June 2007, Korea decided to suspend all export permits to U.S. suppliers when two shipments of beef products originating from Cargill and Tyson were exported to Korea without the necessary quarantine certificates. Rather than deal with the problem, U.S. beef corporations, backed by Washington, insist that Korea change its criteria on bone fragments and start letting U.S. beef in, bone fragments and all. Otherwise there would be no FTA.

Beef and Free Trade
Other countries have already signed away the right to block U.S. meat exports, not only for BSE concerns in beef but for a whole range of food safety and animal health concerns that afflict the U.S. meat industry. The U.S. meat industry has been very careful to insist that the FTAs cannot only deal with lowering tariffs; they have to also strip countries of their rights to define their own sanitary and phytosanitary (SPS) standards in order for U.S. meat to get guaranteed market access. The big U.S. poultry companies have been particularly ferocious in this regard. For these companies, exports are critical because, with domestic demand mainly for white meat, they generate an enormous and growing surplus of chicken leg quarters (dark meat).

But most export markets refuse to take their chicken leg quarters because of food safety and animal health concerns, such as hormone and antibiotic residues, and because they undercut domestic producers with ridiculously low prices. So big U.S. poultry corporations like Tyson and Cargill look to the FTA processes as leverage to push open markets-- by simultaneously reducing or eliminating tariffs and locking countries into U.S. food safety standards.

The FTA with Morocco set an early precedent. The country drastically reduced tariffs and then agreed to accept export certificates from U.S. inspectors "as the means for certifying compliance with standards on hormones, antibiotics, and other residues" for beef and poultry. Subsequently, under a separate SPS agreement within its FTA with the United States, Panama agreed to recognize the equivalence of U.S. meat inspections and the U.S. beef grading system, to grant access to all U.S. beef exports consistent with OIE standards, and to lift its formerly strict import certification and licensing requirements.

The CAFTA agreement, which is gradually opening Central American countries to tariff-free imports of chicken leg quarters from the United States., was another important victory for U.S. poultry corporations. Given the strong, politically-connected Central American poultry companies that had grown up under trade protections, the United States was particularly concerned that the openings on tariffs agreed to under the FTA would spark "a movement among Central American poultry producers to block entry of U.S. poultry and products through the use of sanitary technical barriers."

Most of the SPS complaints coming from the United States concerning poultry are not new. El Salvador, Honduras and Costa Rica have long-standing zero tolerance policies on Salmonella, which effectively prohibits imports of raw poultry from the United States, where Salmonella is rampant in the poultry industry. Honduras also has strict policies on avian influenza that have raised the ire of the U.S. poultry industry. U.S. complaints about these measures being "arbitrary" and not based on science have not had much traction though, given that these countries are self-sufficient in poultry production. But the FTA negotiations changed the dynamic. The United States used a parallel working group on SPS to "leverage the impetus of active trade negotiations to seek difficult changes to the countries' SPS regimes." By way of this working group, all the countries agreed to "recognize the equivalence of the U.S. food safety and inspection system - eliminating the need for plant-by-plant inspection."

The U.S.-Peru FTA was a particularly crushing win for corporate chicken. Sara Lilygren, vice president for federal government relations for Tyson Foods, called it "the best market access arrangements for poultry ever negotiated in a free trade agreement." Tyson and other U.S. poultry corporations won immediate and expanding tariff-free market access for chicken leg quarters and a specific commitment from Peru to recognize both the U.S. system for determining disease status and the U.S. inspection system for poultry slaughter and processing facilities.

"In the past, U.S. poultry exports to Peru have been blocked by Peruvian regulators on grounds that the U.S. product allegedly posed a threat of avian influenza and Newcastle disease or even Salmonella," said Tyson's Lilygren. "Hopefully, the commitments that Peru has now made to respect decisions of U.S. animal health regulators will ensure that the U.S. industry will benefit immediately from the market access provisions of the agreement and will not have those benefits blocked by the imposition of non-tariffs barriers in the form of dubious SPS requirements."

As a result, Peru and other countries that have signed similar agreements will have to accept the dumping of poor-quality U.S. meat into their markets. The impacts will be immediate and brutal for local industries, especially for the small producers. A few local companies may survive, by consolidating and expanding their operations internationally, such as the Multi Inversiones poultry group of Guatemala, which has expanded into neighboring countries and Brazil. While FTAs may conceivably give local poultry producers some access to U.S. markets, in practice the U.S. inspection system tends to block out all but the biggest. Only three poultry plants are certified for export to the U.S. in Chile, two in Costa Rica, and zero in El Salvador, Honduras, Guatemala, and Morocco. Poultry plants in Mexico, a large poultry producer sitting next door to the U.S. market, can only get approval to export processed poultry products slaughtered under federal inspection in the United States. Meanwhile, the big U.S. poultry companies are following-up on this new market access by buying up local producers and directly integrating them into their transnational production chains, as Cargill has recently done with the take over of two important poultry companies in Honduras and Nicaragua.

GM Food, Too
The Bush administration's attack on Korea's food safety standards through the FTA was not limited to beef. In a reported swap for Seoul easing its rules of origin for U.S. textile exports, Korea agreed to lower its domestic biosafety standards. The deal, signed on the sidelines of the final round of U.S.-Korea FTA negotiations in late March 2007, is called the U.S.-Korea "Memorandum of Understanding on Agricultural Biotechnology." Immediately hailed as a great breakthrough by the Washington-based Biotechnology Industry Organization, the agreement took Koreans by surprise, generating angry reactions in the formal political arena, in the mass media, and on the streets.

The U.S.-Korea ag-biotech agreement obliges Korea to restrict its risk assessment of imported GM products for food, feed, or processing to their "intended" use. In other words, if local farmers sow GM maize kernels from the United States that were meant for cooking, the U.S. companies responsible for the transfer of the kernels are free of any liability. This is precisely how Mexico's indigenous maize crop got contaminated. The agreement also commits Korea to act on its GM labeling laws in a "predictable" manner. This common aspect of most U.S. FTAs, which goes under the misleading label of "transparency," in fact grants Washington the right to meddle in policy decisions in Seoul. Finally, Korea's implementation of the UN Biosafety Protocol, which the United States refuses to sign, is bound to the terms of this bilateral agreement with Washington. In this case, as in other FTAs, the United States is exempt from the Protocol's documentation requirements for the entry of GM crops.

With the ink on the agreement barely dry, American GM crops began to penetrate Korea's food supply. Until recently, Korean GM laws, particularly the rules on labeling, had essentially shut GM imports out of the country's food supply, except for some use in animal feed, soybean oil, and soy sauce (the latter two products deemed exempt from mandatory labeling requirements because their production processes are said to remove the GM proteins). But in February 2008, less than a year after the signing of the ag-biotech agreement and just three months after Korea ratified and brought into force the Biosafety Protocol, the Korean Corn Processing Industry Association purchased 697,000 metric tons of U.S. GM maize for shipment between April-August 2008: the first major shipment of GM maize destined for food use to arrive in Korea since the adoption of the GM labeling law in 2000. Similarly, Korean approvals of GM imports have skyrocketed since the U.S. agreement. By January 10, 2008, there were 58 living modified organisms (LMOs) approved for import as feed or food into Korea. One month later, the number had nearly doubled: 102 approvals, 70% of them from U.S. firms (Monsanto, DuPont, and Dow).

Korea is not the first country to cede its sovereign right to control biotech foods under pressure from U.S. corporations in bilateral negotiations. India and China both backed down from GM import restrictions after bilateral "discussions" with the United States. Thailand pulled back from strict GM labeling legislation in 2004 when the United States warned that the legislation would affect their FTA negotiations. More recently, U.S. corporations have called on the U.S. government to use the proposed FTA with Thailand to force it to start allowing for field testing of GMOs. The same goes for Malaysia, where U.S. corporations want the Malaysian government to back down from consideration of mandatory labeling of GM products as a prerequisite for the proposed U.S.- Malaysia FTA. ,

Battle for Food Sovereignty
The use of bilateral free trade agreements to rig food safety standards in favor of a rapidly concentrating global food industry is cause for concern -- all the more so during a deepening world food crisis. To most people, food safety should have something to do with health, as well as cultural prerogatives. That agenda, however, has been hijacked. As tariffs and quotas are torn down under the mantra of trade liberalization, food safety is becoming a major offensive tool for industrial titans like the United States or Europe to not only get market access for exports but to reduce competition from imports (in the absence of tariff and quotas).
Equivalence, which all WTO members are supposed to implement, between different countries' food safety standards doesn't mean harmonizing up to higher standards. It means equivalence with those of the more powerful country, which frequently means harmonizing down to the lowest common denominator. The U.S.-Korea FTA bears this out dramatically.

Sad to say, food safety has become a bargaining chip in the struggle for corporate control. This raises an important challenge for the food sovereignty movement. Aside from some boycotts and recalls, real decision-making on food safety standards is not in the hands of ordinary people or even competent regulators. Instead, food safety is determined more and more in corporate boardrooms and trade negotiations. Perhaps the lessons being learned from different experiences fighting FTAs in different countries will lead to stronger campaigns to regain control over the issue of food safety within the larger battle for real food sovereignty.

Christine Ahn is a contributor to Foreign Policy In Focus, a policy analyst with the Korea Policy Institute, and a member of the Korean Americans for Fair Trade. GRAIN is an international non-governmental organization with 13 staff in nine countries spread across five continents to promote the sustainable management and use of agricultural biodiversity based on people's control over genetic resources and local knowledge. GRAIN also collaborates with www.bilaterals.org and helped produce www.fightingftas.org.

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๑ : Release date 16 May 2008 : Copyleft by MNU.

ในการเจรจากับเกาหลี สหรัฐอเมริกายืนกรานว่า ข้อตกลงการค้าเสรีไม่มีทางเป็นไปได้ หากเกาหลีใต้ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงข้อบังคับความปลอดภัยของอาหารนำเข้าที่ใช้กับเนื้อวัว. สหรัฐฯ ต้องการจะบีบให้เกาหลีใต้ยอมรับการตรวจเนื้อวัวของสหรัฐฯ ว่ามีมาตรฐานเทียบเท่ากับของเกาหลีใต้เอง และเปิดตลาดให้เนื้อวัวนำเข้าราคาถูกจากสหรัฐอเมริกา ชาวเกาหลีส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ อย่างสิ้นเชิง. จากการสำรวจความคิดเห็นเมื่อไม่นานมานี้พบว่า แม่บ้านชาวเกาหลีถึง 87% เชื่อว่า เนื้อวัวอเมริกัน "ไม่ปลอดภัย" ชาวเกาหลีไม่เพียงต้องการปกป้องเกษตรกรท้องถิ่นของตน ซึ่งหากมีการบังคับใช้เอฟทีเอ.เมื่อไร พวกเขาจะต้องเผชิญการแข่งขันจากเนื้อวัวสหรัฐฯ ที่ได้รับทุนอุดหนุนจากรัฐบาลและไม่มีกำแพงภาษีมาขวางกั้น

H